นายอับเดลบาซิต ฮัมซา (Abdelbasit Hamza) นักธุรกิจจากประเทศซูดาน และเขายังเป็นพันธมิตรคนสำคัญกับนายโอมาร์ อัล-บาชีร์ อดีตประธานาธิบดีซูดาน ทั้งนี้นายฮัมซาถูกคว่ำบาตรโดยสหรัฐอเมริกาหลังจากเหตุโจมตีอิสราเอลของกลุ่มฮามาสเมื่อวันที่ 7 ต.ค.ด้วยข้อกล่าวหาว่าเป็นผู้จัดการลงทุนให้กับกลุ่มฮามาส และเขายังมีส่วนร่วมในการโอนเงินกว่า 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (692,600,000 บาท) ซึ่งเงินจำนวนนี้รวมไปถึงเงินที่ส่งตรงไปยังเจ้าหน้าที่การเงินอาวุโสของกลุ่มฮามาส
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สัปดาห์นี้ขอนำเสนอกรณีที่บุคคลสำคัญของกลุ่มก่อการร้ายฮามาสปรากฎว่ามีธุรกิจมากมายอยู่ในทวีปยุโรป
โดยเว็บไซต์สมาคมผู้สื่อข่าวสืบสวนสอบสวนนานาชาติ (ICIJ) ได้รายงานข่าวว่าพบข้อมูลว่านักการเงินของกลุ่มฮามาสมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจอย่างกว้างขวางทั้งในยุโรปและเป็นเจ้าของหุ้นของบริษัทในไซปรัสที่มีความมั่งคั่งมาจากการขุดเหมืองทองในประเทศอียิปต์ ตามการรายงานข่าวสืบสวนร่วมกันของสำนักข่าว Shomrim ของประเทศอิสราเอล
นักการเงินคนดังกล่าวนั้นก็คือนายอับเดลบาซิต ฮัมซา (Abdelbasit Hamza) นักธุรกิจจากประเทศซูดาน และเขายังเป็นพันธมิตรคนสำคัญกับนายโอมาร์ อัล-บาชีร์ อดีตประธานาธิบดีซูดาน ทั้งนี้นายฮัมซาถูกคว่ำบาตรโดยสหรัฐอเมริกาหลังจากเหตุโจมตีอิสราเอลของกลุ่มฮามาสเมื่อวันที่ 7 ต.ค.ด้วยข้อกล่าวหาว่าเป็นผู้จัดการลงทุนให้กับกลุ่มฮามาส และเขายังมีส่วนร่วมในการโอนเงินกว่า 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (692,600,000 บาท) ซึ่งเงินจำนวนนี้รวมไปถึงเงินที่ส่งตรงไปยังเจ้าหน้าที่การเงินอาวุโสของกลุ่มฮามาส
กระทรวงการคลังสหรัฐฯ กล่าวหานายฮัมซาว่า "มีความสัมพันธ์อันยาวนานกับการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย" รวมถึงความเชื่อมโยงในอดีตกับบริษัทที่เชื่อมโยงกับกลุ่มก่อการร้ายอัลกออิดะฮ์และนายโอซามา บิน ลาเดน เขายังถูกคว่ำบาตรโดยสหราชอาณาจักรในเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา
ICIJ และสำนักข่าว Shomrim ได้วิเคราะห์ข้อมูลเอกสารที่มีการรั่วไหลออกมา ซึ่งเปิดโปงว่านายฮัมซาได้เข้าไปเป็นเจ้าของบริษัทโฮลดิ้งแห่งหนึ่งในไซปรัสนานแล้ว โดยบริษัทนี้มีความร่วมมือกับบริษัทสวิสและสินทรัพย์ของบริษัทในไซปรัสก็มีมูลค่ารวมประมาณ 35 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (1,212,050,000 บาท) ในปี 2561 และในตอนนี้นายฮัมซาก็ยังไม่ถูกคว่ำบาตรจากสหภาพยุโรปหรืออียูแต่อย่างใด
ข้อมูลเอกสารที่รั่วไหลนั้นเป็นข้อมูลเอกสารชั้นความลับในไซปรัสหรือที่เรียกกันว่า Cyprus Confidential Leak อันประกอบไปด้วยเอกสารจำนวนกว่า 3.6 ล้านแผ่น ที่ถูกวิเคราะห์จาก ICIJ และพันธมิตรสำนักข่าวอีกจำนวน 68 แห่ง รวมถึงสำนักข่าว Shomrim ในปฏิบัติการณ์ทำข่าวสืบสวนระดับโลก
เอกสารลับบริษัทในไซปรัสจากเว็บไซต์ ICIJ
นายอูดี เลวี อดีตหัวหน้าหน่วยข่าวกรองมอสสาดที่ติดตามข้อมูลการจัดหาเงินทุนขององค์กรก่อการร้าย ซึ่งถูกกำหนดโดยสหรัฐฯ กล่าวกับสำนักข่าว Shomrim ว่านายฮัมซาถือเป็นบุคคลสําคัญในพอร์ตการลงทุนของกลุ่มฮามาส การที่สหรัฐฯและอิสราเอลไม่ได้ขัดขวางความพยายามของนายฮัมซาก่อนหน้านี้ ถือว่าเป็นการละเลยอย่างยิ่งสำหรับหน่วยงานความมั่นคงของทั้งสองประเทศ
ขณะที่การติดต่อนายฮัมซาเพื่อขอให้ชี้แจงข้อสงสัยของ ICIJ และสำนักข่าว Shomrim นายฮัมซาได้ปฏิเสธและยืนยันว่าเขาไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องเชื่อมโยงใดๆกับทั้งกลุ่มฮามาสหรืออัลกออิดะฮ์ โดยเขากล่าวว่าเขาไม่เคยโอนเงินไปให้กับเจ้าหน้าที่กลุ่มฮามาส และไม่เคยได้ยินชื่อแม้แต่บุคคลในกลุ่มมาก่อน ก่อนที่จะมีการคว่ำบาตรเกิดขึ้น
นายฮัมซากล่าวด้วยว่าเขาไม่มีความสัมพันธ์กับบริษัทที่ทางการสหรัฐฯ ได้กล่าวอ้างถึงว่ามีส่วนช่วยกลุ่มฮามาสในการฟอกเงินแต่อย่างใด อีกทั้งเขายังรู้สึกแปลกใจมากที่เขาถูกคว่ำบาตรโดยกระทรวงการคลังสหรัฐฯ และเขาก็ได้ส่งอีเมลโต้แย้งไปยังกระทรวงการคลังฯแล้ว ระบุว่าข้อมูลของพวกเขานั้นไม่ถูกต้อง
ICIJ และ Shomrim สืบพบด้วยว่านายฮัมซายังคงมีความสัมพันธ์กับธุรกิจในยุโรปเป็นเวลานานเกือบ 20 ปีแล้ว โดยเขาเป็นเจ้าของบริษัท Matz Holdings ซึ่งเป็นบริษัทในไซปรัส จดทะเบียนตั้งแต่เมื่อเดือน ก.พ.2548 โดยบริษัทนี้ถือสัมปทานอันมั่งคั่งในเรื่องของการขุดเหมืองทองคำจำนวนสองแห่งในประเทศอียิปต์
พอมาถึงช่วงเวลาที่นายอัล-บาชีร์ อดีตประธานาธิบดีซูดานต้องหลุดออกจากอำนาจในปี 2562 นายฮัมซาก็ได้ขายหุ้นจำนวนมากของบริษัท Matz Holdings ออกไป โดยตอนนี้เขามีหุ้นในบริษัทนี้อยู่ที่ 10 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่หุ้นส่วนอื่นๆก็มีบริษัทคู่ค้าสัญชาติสวิสเข้ามาถือหุ้น
นอกจากนี้นายฮัมซายังเป็นเจ้าของบริษัทอสังหาริมทรัพย์สัญชาติสเปนที่ถูกคว่ำบาตรโดยกระทรวงการคลังสหรัฐฯในช่วงเวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์หลังจากที่ตัวนายฮัมซาถูกคว่ำบาตร
อนึ่งการถือครองหุ้นในบริษัท Matz Holdings ของนายฮัมซานั้นเป็นการถือครองหุ้นผ่านกลุ่มบริษัท Zawaya Group for Development and Investment ซึ่งบริษัทนี้เป็นบริษัทในประเทศซูดานที่ถูกคว่ำบาตรโดยกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ในช่วงเดือน ต.ค. ด้วยคำกล่าวอ้างว่าบริษัทในซูดานมีความเชื่อมโยงกับพอร์ตการลงทุนของกลุ่มฮามาสผ่านนายฮัมซา
ข้อมูลบริษัท Matz Holdings ที่ไซปรัส
สำหรับเงื่อนไขข้อตกลงสัมปทานเหมืองทองคำของบริษัท Matz Holdings กับรัฐบาลอียิปต์ระบุว่าทั้งสองฝ่ายจะได้รับส่วนแบ่งผลกำไรที่เกือบจะเท่ากันจากทองคำที่ถูกขุดได้จากเหมืองทอง
ทางการซูดานเคยจับกุมนายฮัมซาในช่วงเดือน เม.ย.2562 หรือก็คือในช่วงไม่กี่วันหลังจากที่อดีตประธานาธิบดีอัล-บาชีร์ถูกโค่นลงจากอำนาจ โดยนายฮัมซาถูกตัดสินว่ามีความผิดข้อหาทุจริตในเดือน เม.ย. 2564 และต้องโทษจำคุกเป็นเวลา 10 ปี
ในเดือนถัดมานายฮัมซาได้ลาออกจากตำแหน่งในบอร์ดบริหารของบริษัท Matz Holdings แต่พอมาถึงเดือน ต.ค. 2564 ได้เกิดรัฐประหารขึ้นในประเทศซูดานขึ้น ทางสำนักข่าวรอยเตอร์สได้รายงานข่าวว่านายฮัมซาเป็นหนึ่งในพันธมิตรของอดีตประธานาธิบดีอัล-บาชีร์จำนวนหลายคนที่ถูกปล่อยตัวจากเรือนจำหลังเหตุรัฐประหาร
ทว่าในช่วงเวลาก่อนที่นายฮัมซาจะได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำ ปรากฎข้อมูลว่าเขาสามารถทำงานเพื่อปกป้องผลประโยชน์ทางการเงินของเขาในบริษัท Matz Holdings ได้
โดยข้อมูลเอกสารที่รั่วไหลออกมารวมถึงจดหมายจากนายฮัมซาที่ส่งเมื่อวันที่ 31 พ.ค.2564 พบว่าตัวนายฮัมซาและหุ้นส่วนทางธุรกิจสัญชาติสวิสชื่อว่านายจาค็อบ เฟลิกซ์ บลิกเกนสตอร์เฟอร์ (Jakob Felix Bliggenstorfer) ได้ขู่ว่าจะดำเนินคดีกับอีกแห่งในไซปรัส โดยอ้างว่าบริษัทนี้เป็นหนี้พวกเขาอยู่เกือบ 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับการซื้อหุ้นส่วนใหญ่ในบริษัท Matz Holdings
ข้อมูลของนายจาค็อบ เฟลิกซ์ บลิกเกนสตอร์เฟอร์ บนเว็บไซต์ linkedin
นายบลิกเกนสตอร์เฟอร์ได้เข้าไปถือหุ้นในบริษัท Matz Holdings ผ่านบริษัท Kaloa AG โดยเขาได้ออกมาปฏิเสธและกล่าวยืนยันว่านายฮัมซาไม่ได้มีส่วนเชื่อมโยงกับกลุ่มฮามาสแต่อย่างใด โดยกรณีการคว่ำบาตรต่อนายฮัมซานั้น นายบลิกเกนสตอร์เฟอร์กล่าวว่าเป็นเรื่องของความผิดพลาดของตัวอัตลักษณ์บุคคล ตามการรายงานข่าวของสำนักข่าว Tamedia ซึ่งเป็นอีกหนึ่งพันธมิตรสำนักข่าวของ ICIJ ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
รายงานข่าวย้อนหลังไปกว่าสองทศวรรษได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับความเชื่อมโยงของนายฮัมซากับกลุ่มหัวรุนแรงต่างๆ บทความของวอลล์สตรีทเจอร์นัลเมื่อปี 2541 รายงานบทความเกี่ยวกับนายฮัมซาระบุว่าว่าเขาดูแลการก่อสร้างโครงการถนนให้กับบริษัทของนายบินลาเดนในช่วงที่ผู้นําอัลกออิดะฮ์ถูกเนรเทศในซูดานและนายฮัมซาได้พยายามโน้มน้าวให้นายบินลาเดนลงทุนในโรงงานผลิตอาวุธ
ส่วนสื่อซูดานเรียกนายฮัมซาว่า "ผู้จัดการการเงินของครอบครัวโอมาร์ อัล-บาชีร์" ขณะที่คณะทํางานเฉพาะกิจต่อต้านการทุจริตของซูดานซึ่งจัดตั้งขึ้นหลังจากอดีตประธานาธิบดีอัล-บาชีร์ถูกโค่นอำนาจยังระบุด้วยว่านายฮัมซาถือครองทรัพย์สินมูลค่าสูงถึง 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (41,544,000,000 บาท)
ในช่วงเดือนเดียวกับที่อดีตประธานาธิบดีอัล-บาชีร์ลงจากอำนาจ นายฮัมซาก็ได้ขายหุ้นส่วนใหญ่ของเขาในบริษัท ไปให้กับบริษัทในไซปรัสอีกแห่งชื่อว่าบริษัท Matz Dungash ผลจากการซื้อขายทำให้บริษัท Matz Dungash เข้าไปถือหุ้นบริษัท Matz Holdings อยู่ที่มากกว่า 80% ในช่วงเดือน เม.ย.2562
ผู้อำนวยการบริษัท Matz Dungash ก็คือนายเฮแชม เอลฮาเซค (Hesham ElHazek) ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเผด็จการอียิปต์ที่ถูกโค่นลงจากอำนาจ ซึ่งก็คืออดีตประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค ที่ลาออกจากตำแหน่งในปี 2554
ทางประเทศแคนาดาได้คว่ำบาตรนายเอลฮาเซคในข้อหาทุจริตและทางการอียิปต์ก็ได้อายัดทรัพย์สินของเขา แต่ว่านายเอลฮาเซคกลับดูเหมือนว่าจะได้ประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง ในช่วงเวลาที่ทหารเข้ามาปกครองประเทศอียิปต์ และเขายังคงดำรงตำแหน่งเป็นคณะกรรมการของบริษัท Matz Holdings
นายฮัมซาชี้แจงกับ ICIJ และสำนักข่าว Shomrim ผ่านอีเมลระบุว่านายเอลฮาเซคนั้นเป็นเจ้าของบริษัท Matz Dungash และบริษัทเครือญาติที่เกี่ยวข้องซึ่งตั้งอยู่ในหมู่เกาะเคย์แมน โดยตัวเขา (นายฮัมซา) และนายบลิกเกนสตอร์เฟอร์ไม่เคยได้รับเงินส่วนแบ่งจากหุ้นของบริษัท Matz Dungash ที่เข้าไปถือหุ้นในบริษัท Matz Holdings แต่อย่างใด และนายเอลฮาเซคก็ไม่เคยติดต่อพวกเขานับตั้งแต่ได้เข้าควบคุมกิจการบริษัท Matz Holdings
ขณะที่นายเอลฮาเซคก็ไม่ได้ตอบคำถามของผู้สื่อข่าวแต่อย่างใดเกี่ยวกับการสืบค้นในกรณีนี้
ในปี 2565 บริษัท Matz Holdings ประกาศแผนการลงทุนมากกว่า 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (865,125,000 บาท)เพื่อขยายการผลิตที่เหมืองทองคํา Hammash ซึ่งเป็นหนึ่งในสองเหมือง และปัจจุบันบริษัท Matz Holdings ก็ยังคงดูแลการผลิตที่นั่น ขณะที่เว็บไซต์ของรัฐบาลอียิปต์อธิบายว่าการบริหารเหมืองนี้เป็นการถือครองสัมปทานกับบริษัท ส่วนสถานทูตอียิปต์ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ไม่ได้ตอบคําถามที่ส่งโดย ICIJ ส่งไปถามเกี่ยวกับบริษัท Matz Holdings และบทบาทของของนายฮัมซาในบริษัท
ปัจจุบันนายฮัมซาดำเนินการผ่านการถือหุ้นส่วนน้อยของเขาในบริษัท Matz Holdings ซึ่งบริษัทแห่งนี้ยังคงทํากําไรจากการผลิตของเหมืองทอง
เมื่อปีที่แล้วสื่ออียิปต์รายงานว่าคณะกรรมการบริหารของ บริษัท ได้อนุมัติงบการเงินที่แสดงให้เห็นว่าเหมืองผลิตทองคําได้ครึ่งตันในปี 2563 และ 2564 โดยมีมูลค่ารวมประมาณ 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หากเหมืองยังคงรักษาระดับการผลิตนั้นรายได้จากการดําเนินงานอาจนี้ก็จะตกไปสู่นักการเงินที่มีข้อครหาได้
อ่านประกอบ:
- ส่องคดีทุจริตโลก: แคนาดาส่อสูญเงิน 8.4 พัน ล. หลังลงทุน รง.ไร้ผลงานผลิตวัคซีนต้านโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก: ไฟเซอร์ฟ้องฮังการี-โปแลนด์ โยงสัญญาวัคซีนยุโรป 4.6 หมื่น ล.ไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกชนเดินเรือใกล้ชิดอดีตนายกฯตุรเคีย ส่งของให้อิสราเอลช่วงวิกฤตกาซ่า
- ส่องคดีทุจริตโลก:จนท.สอบสวนธนาคารเวียดนามรับสินบน เอื้อ ปย.นักธุรกิจอสังหาฯยักยอกแสนล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.ไซปรัสเอี่ยวสัญญาชุด PPE สุดฉาว 8.8 พัน ล.โยงนักการเมืองดังที่อังกฤษ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกชนชนะสัญญาพันล.จ้าง 2บ.ไซปรัส จัดหาหน้ากากด้อยคุณภาพให้ สธ.ออสซี่
- ส่องคดีทุจริตโลก: สธ.มาเลย์ซื้อเครื่องช่วยหายใจช่วงโควิดมีปัญหาเกือบหมด-เอาผิดใครไม่ได้
- ส่องคดีทุจริตโลก: นักธุรกิจบำบัดน้ำเสียจ่ายสินบน จนท.รัฐฮาวาย แลกผูกขาดสัญญานานนับปี
- ส่องคดีทุจริตโลก: ศาลสิงคโปร์ไม่ให้ประกันจีนเทา เหตุมีพาสปอร์ต ตปท.เพียบ หวั่นหลบหนี
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตนายกฯจอร์แดนถือสัญชาติโดมินิกาหลังพ้นตำแหน่ง ทนายยันทำเรื่องถูกต้อง
- ส่องคดีทุจริตโลก:นักธุรกิจจีนเทาขายน้ำวิเศษอ้างนาซารับรอง จ่ายสินบนนักการทูต แลกทำงาน UN
- ส่องคดีทุจริตโลก:สว.สหรัฐฯ ถูกสอบรับสินบน แลกอนุมัติงบช่วยเหลือทางทหาร รบ.อียิปต์หมื่นล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: กห.เดนมาร์กจัดซื้อปืนใหญ่ 8.9 พัน ล.ไม่โปร่งใส แลกบ.อิสราเอลถอนฟ้องคดี
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉทุนจีนสีเทา ถูกจับข้อหาฟอกเงินที่สิงคโปร์ ซื้ออสังหาฯ พันล. ณ ลอนดอน
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉเอกชนอิสราเอล ส่งยุทธภัณฑ์ลอตใหญ่ให้เมียนมา หลังรัฐประหาร
- ส่องคดีทุจริตโลก: จนท.ยูเครนจับอดีตผู้สนับสนุน ปธน.เซเลนสกี โยงทุจริต-ฟอกเงินนับ พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:โครงการพาสปอร์ตทองคำ โยงผู้ต้องสงสัย คดีฟอกเงิน 2.5 หมื่น ล.ที่สิงคโปร์
- ส่องคดีทุจริตโลก:ชี้เป็น ปย.ต่อประชาชน-ศาลสูงสั่ง สธ.แอฟริกาใต้ เปิดทุกสัญญาวัคซีนโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก:คนใกล้ชิด รมว.กห.ยูเครน เอี่ยวจัดซื้อชุดทหารฤดูหนาวด้อยคุณภาพ พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ตร.ออสซี่สั่งสอบ ปมสินบนนักการเมืองนาอูรู แลกสัญญาศูนย์กักกันหมื่นล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉเส้นเงินผิด กม.ผ่านภูมิภาคบอลข่านตะวันตก หลังสงครามรัสเซีย-ยูเครนปะทุ
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตอั๊งยี่จากมาเก๊า สู่นักธุรกิจทุนจีนสีเทา เจ้าของคาสิโนที่เมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ที่ปรึกษาออสซี่ใช้ความลับ รบ.ให้คำแนะนำเอื้อเอกชนยักษ์ใหญ่เลี่ยงภาษี
- ส่องคดีทุจริตโลก:ส.ส.ดังจอร์เจีย อ้างข้อผิดพลาด-ไร้เจตนาซุกอพาร์ทเมนท์หรู ณ ดูไบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: ทหารรับจ้างแวกเนอร์ยึดแอฟริกากลาง หนุนเผด็จการ แลกผลประโยชน์นับแสนล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:อาวุธสวีเดน ถูกอินเดียส่งออกให้ทัพเมียนมา ใช้ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปงเอกชนสวิส ตั้ง บ.ย่อย หลบคว่ำบาตร แอบขายน้ำมันรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมปัญหาการใช้กฎหมายใหม่แคนาดา รับมือโอลิการ์ชลงทุนสินทรัพย์มหาศาล
- ส่องคดีทุจริตโลก: จากปมสินบนโรลซ์รอยส์โยงกรณีอื้อฉาว จัดซื้อ บ.ฝึก ทอ.อินเดียนับหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เส้นทางทองคำ แสน ล.จาก 'รัสเซีย' สู่ UAE หลบมาตรการคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก: ยูเอ็นเผย 'สิงคโปร์' ส่งออกชิ้นส่วนให้กองทัพเมียนมา 8 พัน ล. หลัง รปห.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เผยความมั่งคั่งบิ๊ก ทอ.เมียนมา ให้เครือญาติตั้งบริษัทรับงานนับพันล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตลูกจ้างฟ้องศาล แฉ บ.แคนาดา จ่ายสินบน แลกสัญญารถเกราะยูเครน พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัทพลังงานเยอรมนี เอี่ยวส่งเชื้อเพลิง เอื้อกองทัพรัสเซีย บุกยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: สกอตแลนด์ทำสัญญาจ้างตุรเคีย ต่อเรือ 9 พัน ล. ท้องถิ่นไม่ได้ประโยชน์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกสารหลุดเพนตากอน แฉความสัมพันธ์ รัสเซีย- UAE ช่วยหลบมาตรการคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เจาะลึกระบบธนาคารใต้ดินจีน เอี่ยวฟอกเงินพันล้านแก๊งยาเสพติดยุโรป
- ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการ EU สั่งสอบ งบฟื้นฟูเมืองหลวงบัลแกเรียไม่โปร่งใส เสียหาย ร้อย ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.เซอร์เบีย ส่อใช้งานนักจารกรรมข้อมูลการเงินอิสราเอลโจมตีฝ่ายตรงข้าม
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกชนใกล้ชิดพรรคการเมือง ได้สัญญาส่งอาหารกองทัพลัตเวีย 8 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการสวิสสั่งฟัน 4 นายธนาคาร เอื้อประโยชน์คนสนิทปูตินฝากเงินนับพัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง 3 เอกชนเยอรมนี นำเข้าไม้สักผิด กม.จากเมียนมานานนับปี
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉ หน.ทหารรับจ้างวากเนอร์ หลบคว่ำบาตรตะวันตก หารายได้ พัน ล.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉคอร์รัปชั่นวงการก่อสร้างตุรเคีย ต้นเหตุยอดตายแผ่นดินไหว 4.6 หมื่นศพ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปม บ.เกลมาโต้ถูกกล่าวหาจ่ายคอมมิชชั่นเอื้อทำสัญญาหลาย รบ.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง บ.พลังงานยักษ์ใหญ่ตะวันตก ทำธุรกิจหนุนเส้นเงินเผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมฉาว กห.ยูเครนจัดซื้ออาหารไม่โปร่งใส กระทบความเชื่อมั่นต่างชาติ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ขมวดปมอื้อฉาว ATK สะเทือนพรรคคอมฯเวียดนามอย่างไร หลัง ปธน.ลาออก
- ส่องคดีทุจริตโลก: ตามรอยบุหรี่จีนนับล้านมวนสูญหาย หลังเดินทางออกจากโรงงานในโรมาเนีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงเอกชนรับงานบูรณะถนนยูเครนพันล้าน เชื่อมโยงผู้ต้องหาหนีคดี FBI
- ส่องคดีทุจริตโลก: ประมวลข่าวคอร์รัปชันโลกปี 65 จากโอลิการ์ชรัสเซียถึงเอกสารแพนโดรา