ที่กัมพูชา นายหวันอ้างว่าธุรกิจที่เขามีส่วนเกี่ยวข้องมีแค่โรงเรียนที่เขาก่อตั้งขึ้นเพื่อให้ผู้คนสามารถเรียนรู้ “วัฒนธรรมจีน” เท่านั้น แต่ว่าทางกระทรวงการคลังสหรัฐฯระบุในแถลงการณ์เมื่อวันที่ 20 ธ.ค.2563 บ่งชี้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นดูเหมือนว่าจะตรงกันข้ามกับคำกล่าวอ้างของนายหวันโดยสิ้นเชิง ซึ่งในแถลงการณ์อ้างว่านายหวันยังคงเป็นผู้นำของกลุ่มอั้งยี่ 14K ที่ทำกิจกรรมเกี่ยวกับการค้ายาเสพติด,การพนันผิดกฎหมาย,การข่มขู่,การให้สินบน,การทุจริต และการฉ้อโกงต่างๆ
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สัปดาห์นี้ขอนำเสนอกรณีทุนจีนสีเทา กับความไม่โปร่งใสในประเทศเมียนมา
โดยสำนักข่าวอิรวดีของเมียนมาได้นำเสนอรายงานข่าวเกี่ยวกับชาวจีนชื่อว่าหวัน ค็อกคอย หรือที่มีฉายาว่า “ฟันหลอ” (Broken Tooth) และธุรกิจที่เขาได้เป็นผู้บริหารร่วมกับหุ้นส่วนอยู่ ซึ่งธุรกิจของนายหวันนั้นถือได้ว่าเป็นธุรกิจหน้าใหม่ของจีนที่ผงาดขึ้นจากการลงทุนในประเทศเมียนมา อย่างไรก็ตาม สำนักข่าวอิรวดีของเมียนมาได้รายงานว่าธุรกิจดังกล่าวนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมอาชญากรรมในเมียนมาภายใต้การนำของเผด็จการทหาร
สำหรับประวัติของนายหวันพบว่าเขาเคยถูกจับกุมเมื่อเดือน พ.ค. 2541 ด้วยข้อหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการระเบิดรถมินิแวน และต้องถูกจองจำในสถานที่คุมขังความมั่นคงระดับสูงในพื้นที่โคโลอาน บนเกาะมาเก๊า
แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานในชั้นการพิจารณาของศาลที่ระบุว่านายหวันมีส่วนร่วมในการโจมตี แต่เขาก็ถูกนําตัวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมในข้อหาเก่าที่เกี่ยวข้องกับการข่มขู่พนักงานที่ลิสบอนคาสิโน บนเกาะมาเก๊า,ข้อหาเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินนอกระบบ และข้อหาว่ามีพฤติกรรมต้องสงสัยว่าเป็นสมาชิกของ "องค์กรที่ผิดกฎหมาย" ซึ่งเทียบได้กับกลุ่มมาเฟียของจีน
ข่าวการปล่อยตัวนายหวัน ค็อกคอย เมื่อปี 2556 โดยตอนนั้นทนายของนายหวันอ้างว่าหลังจากนี้เขาต้องการใช้ชีวิตอย่างสงบ (อ้างอิงวิดีโอจากอัลจาซีร่า)
ในช่วงการพิจารณาคดีที่ยาวนานและซับซ้อน ก็พบว่ามีพยานคนหนึ่งและตามมาด้วยอีกคน อ้างว่าเกิดภาวะ “ความจำเสื่อมอย่างกะทันหัน” และจำอะไรไม่ได้เลย แต่นายหวันก็ยังคงถูกตัดสินให้จำคุกเป็นเวลา 15 ปี และถูกยึดทรัพย์ทั้งหมดในเดือน พ.ย. 2542
โดยการพิพากษาและลงโทษนายหวันนั้นเกิดขึ้นในระยะเวลาหนึ่งเดือนก่อนที่มาเก๊าจะกลับเข้าสู่การปกครองของประเทศจีนและกลายเป็นเขตบริหารพิเศษของจีนหรือว่า SAR เช่นเดียวกับเขตปกครองพิเศษฮ่องกง
ในบรรดาหลายๆธุรกิจของนายหวันที่ดูไม่โปร่งใส หนึ่งในธุรกิจที่ถูกเปิดโปงในระหว่างกระบวนการพิจารณาคดี ก็คือธุรกิจการค้าอาวุธในกัมพูชา ซึ่งเขาถูกกล่าวหาว่าได้ค้าอาวุธทั้งจรวด,จรวดนำวิถี,รถถัง,รถหุ้มเกาะ และอุปกรณ์ทางทหารอื่นๆหลายรายการ ในช่วงเวลาที่ประเทศกัมพูชาต้องเผชิญหน้ากับสงครามกลางเมือง
โดยนายหวันได้ใช้เส้นสายที่เขามีอยู่แต่ก่อน กลับเข้าสู่ธุรกิจคาสิโนที่มาเก๊า แล้วหลังจากนั้นไม่กี่ปีก็เปิดตัวสกุลเงินดิจิทัลที่มีชื่อว่า Dragon Coin
นายหวันยังได้จัดตั้งนิติบุคคลอีกสามแห่งนอกเหนือจากที่กัมพูชา ได้แก่สมาคมประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมหงเหมิน และบริษัทตงเหมยกรุ๊ป (Dongmei Group) ที่ตั้งอยู่ในฮ่องกง และสมาคมวัฒนธรรมปาเลา-จีนฮุงมุน ที่ตั้งอยู่ในประเทศปาเลา ในมหาสมุทรแปซิฟิก
ต่อมาในวันที่ 9 ธ.ค. 2563 ทางกระทรวงการคลังของสหรัฐอเมริกาได้มีการออกแถลงการณ์ระบุว่าสมาคมประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมหงเหมินกำลังจะแพร่กระจายอิทธิพลไปอย่างรวดเร็วทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเริ่มตั้งแต่กัมพูชาและจากนั้นในเมียนมา
สำหรับบริษัทตงเหมยกรุ๊ปของนายหวันพบว่าเป็นผู้ลงทุนรายหลักในคาสิโนในพื้นที่ศูนย์คาสิโนใกล้กับเมืองเมียวดีในเมียนมา โดยศูนย์คาสิโนนั้นถูกจัดตั้งไม่นานหลังจากที่กองทัพสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยงและกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNLA) ได้ทำข้อตกลงหยุดยิงกับกองทัพเมียนมา แล้วหลังจากนั้นกองทัพสหภาพฯและกองทัพปลดปล่อยฯจึงได้ผันตัวกลายเป็นกองกำลังพิทักษ์ชายแดนเมียนมาหรือ BGF
มีรายงานว่านายหวันยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการในเมืองหม่องพอก ที่ตั้งอยู่ทางตอนตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองปางคำ อันเป็นที่ตั้งของกองบัญชาการกองทัพสหรัฐว้าที่ตั้งอยู่บริเวณชายแดนระหว่างเมียนมาและจีน
ตามการรายงานเมื่อเดือน ก.ค.2563 โดยสถาบันสันติภาพแห่งสหรัฐอเมริกาหรือ United States Institute of Peace ระบุว่าบริษัทตงเหมยกรุ๊ปที่จดทะเบียนในฮ่องกงเมื่อวันที่ 3 มี.ค.2563 กำลังดำเนินกิจการนอกกรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยนายหวันได้เป็นผู้กำกับโครงการนี้ผ่านการสนทนาผ่านแอปพลิเคชัน Wechat ของสมาคมหงเหมิน รวมถึงทำหน้าที่ร่วมมือกับบริษัทฮัวกวนโฮลดิ้งที่ตั้งอยู่ในเมืองกวนตง
“มีหลักฐานอีกว่านายหวันมีเส้นสายที่มีอิทธิพลมาก และยังได้รับความคุ้มครองจากบุคคลระดับสูงในประเทศจีน” รายงานระบุ
ขณะที่สำนักข่าวอิรวดีได้รายงานอ้างอิงจากรายงานของสหรัฐฯ ระบุว่า “เป็นที่แน่ชัดว่านายหวัน ค็อกคอยมีอิทธิพลทั่วทั้งจีน,ฮ่องกงและมาเก๊า รวมถึงมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับรัฐบาลท้องถิ่นในมณฑลกวนตงและมีความผูกพันอันลึกซึ้งกับองค์กรแนวร่วมของพรรคคอมมิวนิสต์จีนและสมาคมชาวจีนโพ้นทะเล
ในทัศนะของผม พรรคมองเห็นว่านายหวันมีประโยชน์อย่างยิ่งในแง่ของการทำงานการเมืองให้กับพรรค ทั้งในฮ่องกงและในมาเก๋า และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ในวงกว้าง”
ประวัติของนายหวัน ค็อกคอย (อ้างอิงวิดีโอจาก Luxury Drop)
โดยเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะน่าแปลกใจว่าอดีตผู้ต้องหาคดีอาญาและผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้นำของกลุ่มอาชญากรรมจะกลายเป็นผู้ประกอบการธุรกิจที่มีอิทธิพลและดูเหมือนจะแตะต้องไม่ได้
ความเชื่อมโยงกันระหว่างทางการจีนกับองค์กรลับนั้นเริ่มเป็นที่ประจักษ์ชัดต่อโลกภายนอก ในช่วงที่ฮ่องกงกลับคืนสู่จีนแผ่นดินใหญ่ ในปี 2540 โดยในวันที่ 8 ก.พ. 2536 นายเต๋า ซีจู หัวหน้าสํานักความมั่นคงสาธารณะของจีน แถลงข่าวอย่างไม่เป็นทางการต่อผู้สื่อข่าวท้องถิ่นที่พื้นที่การปกครองของสหราชอาณาจักรในเวลานั้น ระบุว่ากลุ่มผู้ประท้วงที่จตุรัสเทียนอันเหมินในปี 2532 จะได้รับโทษเป็นระยะเวลาไม่นานนัก และตัวเขายังได้กล่าวต่อถึงกลุ่มอั้งยี่ในฮ่องกงด้วยเช่นกัน
“สำหรับองค์กรอย่างเช่นกลุ่มอั้งยี่ในฮ่องกง ตราบใดก็ตามที่พวกเขายังเป็นผู้รักชาติ ตราบเท่าที่พวกเขาอยู่เคียงข้างเสถียรภาพและความมั่งคั่งของฮ่องกง เราก็ควรร่วมมือกับพวเขา” นายเต๋ากล่าวและกล่าวต่อด้วยว่าเขาจะเชิญกลุ่มอั้งยี่ผู้รักชาติ มาที่ประเทศจีนเพื่อให้จดทะเบียนธุรกิจที่นั่น
คำแถลงของนายเต๋าถือว่าส่งคลื่นกระแทกที่รุนแรงมากต่อตำรวจฮ่องกง และทำให้สื่ออิสระนำเอาคำพูดเหล่านี้ไปพาดหัว ในช่วงเวลาก่อนที่ฮ่องกงจะถูกส่งคืนกลับแผ่นดินจีน ผู้คนในฮ่องกงนั้นสามารถประท้วง และแสดงการสนับสนุนกลุ่มผู้สนับสนุนประชาธิปไตยได้อย่างอิสระ
ดังนั้นกลุ่ม “ผู้รักชาติ” เหล่านี้ก็เปรียบเสมือนกับหูและตาของรัฐบาลจีนแผ่นดินใหญ่ที่อยู่ในฮ่องกง โดยพวกเขาแทรกซึมเข้าไปทั้งในสหภาพแรงงานและแม้แต่ในสื่อฮ่องกง และได้รายงานสิ่งที่พวกเขาค้นพบกลับไปยังรัฐบาลจีนแผ่นดินใหญ่
กลับมาที่ห้วงเวลาปัจจุบัน ในเดือน ก.ค. 2562 หลังจากที่ฮ่องกงได้เป็นเขตปกครองพิเศษมานานกว่าสองปี ประชาชนท้องถิ่นได้เรียกร้องให้มีการปฏิรูปประชาธิปไตยเกิดขึ้น ก็มีรายงานว่าพบเห็นกลุ่มชายสวมหน้ากาก มีกระบองและแท่งเหล็กในมือ เข้าทำร้ายผู้คนที่กำลังกลับบ้านหลังจากไปชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย และแน่นอนว่าไม่มีการดำเนินการทางกฎหมายกับกลุ่มคนที่ว่ามานี้
สำหรับตัวของนายหวันเองก็มีลักษณะคล้ายกับบุคคลสำคัญในองค์กรอาชญากรรมจีน โดยนายหวันเกิดที่เกาะมาเก๊าในปี 2498 หลังจากนั้นเขาก็เข้าร่วมกับแก๊งวัยรุ่นหัวรุนแรงท้องถิ่น ซึ่งมีหลายแก๊งมาก และมีรายงานว่าในปัจจุบัน นายหวังยังคงมีแผลเป็นจากวันที่เขาทะเลาะวิวาทบนท้องถนน เขาเคยถูกยิงได้รับบาดเจ็บสองครั้งและได้รับบาดเจ็บสาหัสเมื่อแก๊งคู่แข่งใช้มีดปังตอทำร้ายเขา
สำหรับที่มาของฉายาฟันหลอก็มาจากการที่นายหวันต้องสูญเสียฟันในระหว่างการวิวาท ในเวลาต่อมา นายหวังก็ได้ก้าวขึ้นสู่อันดับหนึ่งของแก๊งข้างถนนและกลายเป็นสมาชิกเต็มตัวของกลุ่มอั้งยี่ 14K ตามมาด้วยการเป็นหัวหน้าแก๊งในสาขามาเก๊า และมีลูกน้องเป็นจำนวนนับร้อยคนทำหน้าที่คุ้มครองธุรกิจและกรรโชกทรัพย์ต่างๆ ส่งผลทำให้เกิดสงครามกับแก๊งคู่แข่ง
โดยผลประโยชน์ที่ชายแดนเมียนมานั้นก็เป็นอีกหนึ่งในเครือข่ายธุรกิจที่ซับซ้อนในต่างแดนของนายหวัง แต่เจ้าหน้าที่ผู้สืบสวนทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ ต่างก็ไม่เชื่อคำกล่าวอ้างของนายหวันที่เคยอ้างว่า “การทำธุรกิจของผม เป็นการแสวงหาความสุขอย่างมีเมตตา”
ที่กัมพูชา นายหวันอ้างว่าธุรกิจที่เขามีส่วนเกี่ยวข้องมีแค่โรงเรียนที่เขาก่อตั้งขึ้นเพื่อให้ผู้คนสามารถเรียนรู้ “วัฒนธรรมจีน” เท่านั้น แต่ว่าทางกระทรวงการคลังสหรัฐฯระบุในแถลงการณ์เมื่อวันที่ 20 ธ.ค.2563 บ่งชี้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นดูเหมือนว่าจะตรงกันข้ามกับคำกล่าวอ้างของนายหวันโดยสิ้นเชิง ซึ่งในแถลงการณ์อ้างว่านายหวันยังคงเป็นผู้นำของกลุ่มอั้งยี่ 14K ที่ทำกิจกรรมเกี่ยวกับการค้ายาเสพติด,การพนันผิดกฎหมาย,การข่มขู่,การให้สินบน,การทุจริต และการฉ้อโกงต่างๆ
กระทรวงการคลังสหรัฐฯยังได้กล่าวหานายหวันด้วยว่ามีพฤติกรรมการทุจริต รวมไปถึงการยักยอกทรัพย์สินของรัฐ,การเวนคืนทรัพย์สินภาคเอกชนเพื่อประโยชน์ส่วนตัว และการทุจริตอันเกี่ยวกับสัญญารัฐหรือการเก็บเกี่ยวทรัพยากรธรรมชาติโดยมิชอบขณะที่สำนักข่าวอิรวดีได้รายงานว่าในช่วงเวลาเดียวกันนี้กระทรวงการคลังสหรัฐฯได้มีการขึ้นแบล็คลิสต์ และคว่ำบาตรนิติบุคคลของนายหวันจำนวนสามแห่งได้แก่ สมาคมประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมหงเหมินระดับโลก,สมาคมวัฒนธรรมปาเลา-จีนฮุงมุน และบริษัทตงเหมยกรุ๊ป
ต่อมาไม่นานหลังจากที่มีแถลงการณ์จากกระทรวงการคลังสหรัฐฯ พื้นที่ชเว ก็อกโก ก็ได้กล่าวเป็นศูนย์รวมของกิจกรรมที่ผิดกฎหมายต่างๆ และเครือข่ายของนายหวันได้มีส่วนร่วมในการแสวงหาผลกำไรในพื้นที่เขตเมืองใหม่หวันหยาอินเตอร์แนชั่นแนล (Huanya International City) ใกล้กับ จ.ตาก และเขตอุตสาหกรรมไซซีกัง (Saixigang Industrial Zone) ที่อยู่ใกล้กับ จ.ตาก เช่นกัน
คาสิโนถือว่าเป็นเครื่องมือที่ยอดเยี่ยมสําหรับการฟอกเงินและการลักลอบขนเงินข้ามพรมแดนที่กำลังแพร่หลาย การเติบโตของกิจกรรมทั้งหมดที่ว่านี้ควรเป็นคําเตือนต่อฝ่ายรัฐบาลตะวันตกที่ยกย่องการทำข้อตกลงหยุดยิงต่างๆ ระหว่างองค์กรติดอาวุธชาติพันธุ์ (EAOs) และกองทัพเมียนมาที่เกิดขึ้นหลายครั้ง ซึ่งครั้งที่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายที่สุดคือ "ข้อตกลงหยุดยิงทั่วประเทศ" ที่มีข้อสรุปในปี 2558
“ข้อตกลงหยุดยิงที่มีเพียงสัญญาของโอกาสทางธุรกิจเท่านั้นในขณะนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่กองทัพเมียนมาได้ให้คํามั่นสัญญากับ EAOs และไม่มีการระบุว่าจะให้ตั้งฐานทางการเมืองใด ๆ ซึ่งนําไปสู่สิ่งเดียวเท่านั้น ก็คือการที่กลุ่มกบฏริมชายแดนได้กลายสภาพเป็นอาชญากร เป็นกลุ่มโจรที่ปฏิบัติการริมชายแดน” สำนักข่าวอิรวดีระบุและรายงานต่อว่าบทบาทของจีนต่อความมิชอบในครั้งนี้ยังคงคลุมเครือ
ในช่วงเวลาที่เมียนมามีรัฐบาลที่มากการเลือกตั้ง การฉ้อโกงในชเว ก็อกโก ก็เพิ่มสูงขึ้นด้วยนักการเมืองที่มาจากภาคพลเรือน นำไปสู่การตั้งคำถามในกรุงเนปยีดอ
ต่อมาในเดือน มิ.ย. 2563 ก็มีการแต่งตั้งคณะสอบสวนขึ้นเพื่อตรวจสอบเมืองยาไต ที่เป็นเมืองใหม่ในชเว ก๊อกโก และโครงการพัฒนาที่อยู่ในพื้นที่นั้นมีอันต้องถูกระงับไปเป็นการชั่วคราว จนกระทั่งหลังเหตุรัฐประหารในปี 2564 นักลงทุนในเมืองยาไตก็ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการการโครงการพัฒนาและก่อสร้างต่อไปได้ ส่งผลทำให้เกิดการขยายตัวของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมของพวกเขาในหลายรายการ
วิดีโอโปรโมตโครงการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจชเว ก็อกโก (อ้างอิงวิดีโอจาก Grace King)
ทางสถานทูตจีนประจำนครย่างกุ้งเองก็แสดงจุดยืนสนับสนุนให้รัฐบาลในช่วงเวลาที่ผ่านมาดำเนินการตรวจสอบเมืองยาไต โดยกล่าวในแถลงการณ์ว่า “ประเทศจีนเสริมสร้างการบังคับใช้กฎหมายและความมั่นคงกับเมียนมา” ในการที่จะปราบปรามกิจกรรมที่ผิดกฎหมายระหว่างพรมแดน อาทิ การพนัน และการฉ้อโกงทางโทรศัพท์ แต่ก็แทบจะไม่เห็นความชัดเจนจากทางกรุงปักกิ่งเลยว่าได้มีเจตนาที่จะดำเนินการไล่ติดตามตรวจสอบธุรกิจของนายหวัน โดยเฉพาะในส่วนที่ถูกกล่าวหาจากทางกระทรวงการคลังสหรัฐฯ แต่อย่างใด
มีอดีตเพื่อนร่วมงานของนายหวันบางราย ที่ตอนนี้พบว่าถูกคุมขังในเรือนจำความมั่นคงสูงที่พื้นที่โคโลอาน ในมาเก๊า ด้วยข้อหาว่าเกี่ยวข้องกับการฟอกเงินและการกรรโชกทรัพย์ ทำให้นายหวันอาจจะต้องอยู่ห่างพื้นที่มาเก๊า เพราะเขาเป็นที่รู้จักมากเกินไปและพฤติกรรมของเขาที่ผ่านมา ก็เป็นที่น่าเสื่อมเสียสำหรับเจ้าหน้าที่เขตปกครองพิเศษที่นั่น แต่ว่าที่กัมพูชาและที่เมียนมา เขาไม่ได้มีปัญหาเหล่านี้ อีกทั้งผลประโยชน์ของเขาที่สองประเทศก็สอดคล้องกับผลประโยชน์ของจีนด้วยเช่นกัน
เรียบเรียงเนื้อหาจาก:https://www.irrawaddy.com/opinion/guest-column/broken-tooth-the-face-of-chinese-investment-in-myanmar-2.html
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ที่ปรึกษาออสซี่ใช้ความลับ รบ.ให้คำแนะนำเอื้อเอกชนยักษ์ใหญ่เลี่ยงภาษี
- ส่องคดีทุจริตโลก:ส.ส.ดังจอร์เจีย อ้างข้อผิดพลาด-ไร้เจตนาซุกอพาร์ทเมนท์หรู ณ ดูไบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: ทหารรับจ้างแวกเนอร์ยึดแอฟริกากลาง หนุนเผด็จการ แลกผลประโยชน์นับแสนล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:อาวุธสวีเดน ถูกอินเดียส่งออกให้ทัพเมียนมา ใช้ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปงเอกชนสวิส ตั้ง บ.ย่อย หลบคว่ำบาตร แอบขายน้ำมันรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมปัญหาการใช้กฎหมายใหม่แคนาดา รับมือโอลิการ์ชลงทุนสินทรัพย์มหาศาล
- ส่องคดีทุจริตโลก: จากปมสินบนโรลซ์รอยส์โยงกรณีอื้อฉาว จัดซื้อ บ.ฝึก ทอ.อินเดียนับหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เส้นทางทองคำ แสน ล.จาก 'รัสเซีย' สู่ UAE หลบมาตรการคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก: ยูเอ็นเผย 'สิงคโปร์' ส่งออกชิ้นส่วนให้กองทัพเมียนมา 8 พัน ล. หลัง รปห.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เผยความมั่งคั่งบิ๊ก ทอ.เมียนมา ให้เครือญาติตั้งบริษัทรับงานนับพันล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตลูกจ้างฟ้องศาล แฉ บ.แคนาดา จ่ายสินบน แลกสัญญารถเกราะยูเครน พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัทพลังงานเยอรมนี เอี่ยวส่งเชื้อเพลิง เอื้อกองทัพรัสเซีย บุกยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: สกอตแลนด์ทำสัญญาจ้างตุรเคีย ต่อเรือ 9 พัน ล. ท้องถิ่นไม่ได้ประโยชน์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกสารหลุดเพนตากอน แฉความสัมพันธ์ รัสเซีย- UAE ช่วยหลบมาตรการคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เจาะลึกระบบธนาคารใต้ดินจีน เอี่ยวฟอกเงินพันล้านแก๊งยาเสพติดยุโรป
- ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการ EU สั่งสอบ งบฟื้นฟูเมืองหลวงบัลแกเรียไม่โปร่งใส เสียหาย ร้อย ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.เซอร์เบีย ส่อใช้งานนักจารกรรมข้อมูลการเงินอิสราเอลโจมตีฝ่ายตรงข้าม
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกชนใกล้ชิดพรรคการเมือง ได้สัญญาส่งอาหารกองทัพลัตเวีย 8 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการสวิสสั่งฟัน 4 นายธนาคาร เอื้อประโยชน์คนสนิทปูตินฝากเงินนับพัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง 3 เอกชนเยอรมนี นำเข้าไม้สักผิด กม.จากเมียนมานานนับปี
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉ หน.ทหารรับจ้างวากเนอร์ หลบคว่ำบาตรตะวันตก หารายได้ พัน ล.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉคอร์รัปชั่นวงการก่อสร้างตุรเคีย ต้นเหตุยอดตายแผ่นดินไหว 4.6 หมื่นศพ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปม บ.เกลมาโต้ถูกกล่าวหาจ่ายคอมมิชชั่นเอื้อทำสัญญาหลาย รบ.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง บ.พลังงานยักษ์ใหญ่ตะวันตก ทำธุรกิจหนุนเส้นเงินเผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมฉาว กห.ยูเครนจัดซื้ออาหารไม่โปร่งใส กระทบความเชื่อมั่นต่างชาติ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ขมวดปมอื้อฉาว ATK สะเทือนพรรคคอมฯเวียดนามอย่างไร หลัง ปธน.ลาออก
- ส่องคดีทุจริตโลก: ตามรอยบุหรี่จีนนับล้านมวนสูญหาย หลังเดินทางออกจากโรงงานในโรมาเนีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงเอกชนรับงานบูรณะถนนยูเครนพันล้าน เชื่อมโยงผู้ต้องหาหนีคดี FBI
- ส่องคดีทุจริตโลก: ประมวลข่าวคอร์รัปชันโลกปี 65 จากโอลิการ์ชรัสเซียถึงเอกสารแพนโดรา