ข้อมูลเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่รั่วไหลจากดูไบได้เปิดเผยให้เห็นว่านับตั้งแต่ที่นายโอโบลาชวิลีได้รับการเลือกตั้งเข้ารัฐสภา เขาไม่เคยระบุรายละเอียดเลยว่าได้เป็นเจ้าของอพาร์ทเม้นท์หรูสองแห่งในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึงมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ทั้งสองแห่งนี้อยู่ที่ 1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (42,170,400 บาท)
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สัปดาห์นี้ขอนำเสนอกรณีการซุกทรัพย์สินของนักการเมืองจากประเทศจอร์เจีย ในนครดูไบสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
โดยสำนักข่าว Organized Crime and Corruption Reporting Project (OCCRP) เครือข่ายผู้สื่อข่าวที่รายงานเกี่ยวกับองค์กรอาชญากรรมและการทุจริต ได้รายงานข่าวเมื่อวันที่ 8 ก.ค.ที่ผ่านมา ระบุเกี่ยวกับเอกสารที่หลุดรั่วแสดงข้อมูลว่านายแอนทอน โอโบลาชวิลี สมาชิกรัฐสภาจากพรรคความฝัน ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลปัจจุบันของประเทศจอร์เจียไม่ได้มีการแจ้งบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินประจำปีในส่วนที่ระบุถึงรายละเอียดอสังหาริมทรัพย์มูลค่าสูงที่อยู่ในนครดูไบ ขณะที่เจ้าตัวให้การว่าเป็นความผิดพลาดของบุคคล (human error)
ย้อนไปเมื่อปี 2563 นายแอนทอน โอโบลาชวิลี นักธุรกิจผู้ร่ำรวยได้รับการเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดพรรคความฝัน ที่เป็นพรรครัฐบาล
สำหรับประวัติการทำงาน นายโอโบลาชวิลี เคยมีประสบการณทำงานสั้นๆที่กระทรวงกิจการภายในของประเทศในช่วงปลายยุค 90 ต่อมาเมื่ออายุได้ 46 ปีเขาก็ได้ออกจากงานราชการแล้วไปสร้างความมั่งคั่งมูลค่ามหาศาลด้วยการทำธุรกิจยา พอหลังจากรับการเลือกตั้ง นายโอโบลาชวิลีก็ได้โอนหุ้นบริษัทยาในส่วนของเขาให้หมดให้กับภรรยา เพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
แน่นอนว่าในฐานะการเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ นายโอโบลาชวิลี มีหน้าที่ต้องกรองข้อมูลยื่นบัญชีทรัพย์สินในทุกๆปี
ในปี 2564 นายโอโบลาชวิลี ได้ประกาศว่ามีรายได้ต่อปีอยู่ที่ 4.5 แสนดอลลาร์สหรัฐฯ (15,813,900 บาท) ซึ่งรายได้ที่มาจากธุรกิจหลายรายการของเขานั้นทำให้เขาได้เป็นนักการเมืองที่มีรายได้สูงสุดในรัฐสภาจอร์เจีย
ส่วนรายละเอียดทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูงก็มีอาทินาฬิกาหรูหลายเรือน รถยนตร์ปอร์เช่ คาเยนน์ ของผู้เป็นภรรยา อย่างไรก็ตามสำนักข่าว Studio Monitori ซึ่งเป็นเครือข่ายของ OCCRP ในประเทศจอร์เจียกลับตรวจสอบพบว่านายโอโบลาชวิลีไม่ได้เปิดเผยทรัพย์สินของตัวเองทั้งหมด
ข้อมูลเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่รั่วไหลจากดูไบได้เปิดเผยให้เห็นว่านับตั้งแต่ที่นายโอโบลาชวิลีได้รับการเลือกตั้งเข้ารัฐสภา เขาไม่เคยระบุรายละเอียดเลยว่าได้เป็นเจ้าของอพาร์ทเม้นท์หรูสองแห่งในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึงมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ทั้งสองแห่งนี้อยู่ที่ 1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (42,170,400 บาท) นอกจากนี้เขายังไม่ได้แจ้งบัญชีทรัพย์สินในส่วนของรายได้อันมาจากค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์เหล่านี้
การกระทำดังกล่าวถือว่าขัดต่อกฎหมายจอร์เจียที่กำหนดให้เจ้าหน้าที่รวมไปถึงสมาชิกครอบครัวต้องเปิดเผยการครอบครองอสังหาริมทรัพย์และรายได้ที่เกิดขึ้น มิฉะนั้นจะต้องเผชิญโทษปรับ
สำหรับข้อมูลที่รั่วไหลออกมาตั้งแต่ปี 2563 ดังกล่าวนี้ เป็นข้อมูลที่มาจากศูนย์ข้อมูล Center for Advanced Defense Studies อันเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรในกรุงวอชิงตันดีซี
เมื่อสำนักข่าว Studio Monitori ได้พยายามสอบนายโอโบลาชวิลี เกี่ยวกับทรัพย์สินในดูไบ เขาดูเหมือนกับว่าจะตกใจและถามกลับมาว่า “ทรัพย์สินเหล่านี้ไม่ได้ถูกเปิดเผยหรือ”
นายแอนทอน โอโบลาชวิลี ส.ส.จอร์เจียตอบคำถามผู้สื่อข่าว
ในเวลาต่อมานายโอโบลาชวิลีได้ตอบคำถามทางอีเมลกับสำนักข่าว OCCRP ยอมรับว่าเขาเป็นเจ้าของทรัพย์สินเหล่านี้และได้จากทรัพย์สินจริง และมันไม่เคยถูกเปิดเผย
“การประกาศบัญชีทรัพย์สินของผมนั้นถูกกรอกรายละเอียดโดยกลุ่มผู้ที่เป็นทนายความ แล้วหลังจากนั้นผมก็จะตรวจสอบรายละเอียดอีกทีหนึ่ง” นายโอโบลาชวิลีกล่าวและกล่าวต่อว่า “ผมรับทราบเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้ผ่านทางสำนักข่าว Studio Monitor และผมต้องยอมรับว่าผมแปลกใจที่พบว่ามีการละเว้นการเปิดเผยทรัพย์สินที่ผมเป็นเจ้าของ ซึ่งหลังจากนั้นผมได้ปรึกษากับทนายความ และแน่นอนว่าการแจ้งบัญชีทรัพย์สินไม่ได้รวมไปถึงทรัพย์สินของผมที่ถูกกล่าวถึง เหตุผลที่เกิดเรื่องแบบนี้ก็เป็นเพราะว่าเป็นความผิดพลาดโดยมนุษย์เท่านั้น และไม่มีเจตนาที่น่าสงสัยแต่อย่างใด”
นายโอโบลาชวิลีระบุว่าทรัพย์สินที่ไม่ได้ประกาศไปนั้นมีมูลค่าเท่ากับจำนวนที่ผู้สื่อข่าวได้รายงานไว้ และรับปากว่าจะเปิดเผยรายละเอียดทรัพย์สินเหล่านี้ในการประกาศบัญชีทรัพย์สินในปีหน้า
หนึ่งในอสังหาริมทรัพย์ของเขาได้แก่อพาร์ทเมนต์ขนาดสองห้องนอนมีมูลค่า 440,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,462,480 บาท) ตั้งอยู่ ณ ชั้น 56 อาคาร Elite Residence ที่เป็นตึกระฟ้าสูง โดยข้อมูลที่ได้รับจากผู้สื่อข่าวแสดงให้เห็นว่า นายโอโบลาชวิลีได้รับรายได้เป็นค่าเช่าในทรัพย์สิน ในอีเมล เขายืนยันว่าค่าเข้าที่เขาได้รับมีมูลค่า 20,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (702,840 บาท) ต่อปี
ตึก Elite Residence ตั้งอยู่ในย่านดูไบมารีน่า สามารถมองเห็นเกาะต้นปาล์มอันโด่งดังของดูไบได้อย่างชัดเจน ซึ่งที่ตรงนี้เองพบว่านายโอโบลาชวิลีมีอพาร์ทเมนต์ขนาดหนึ่งห้องนอนอีกแห่ง
อาคาร Elite Residence ในนครดูไบ
อสังหาริมทรัพย์แห่งนี้พบว่ามีมูลค่า 760,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,707,920 บาท) ตั้งอยู่บนชั้นสองของโรงแรม Kempinski & Residences Palm Jumeirah เป็นรีสอร์ทสไตล์พาเลซพร้อมชายหาดส่วนตัวห้องอาหารและบาร์สี่แห่งและสระว่ายน้ํากลางแจ้ง
ยิ่งไปกว่านั้น แม้ว่านายโอโบลาชวิลีจะประกาศว่าเขาและภรรยาได้ครอบครองอพาร์ทเมนต์หรู ณ กรุงปารีส แต่ผู้สื่อข่าวกลับตรวจสอบพบว่าเขาไม่เคยแจ้งบัญชีทรัพย์สินในส่วนของที่จอดรถที่เขาได้ซื้อคิดในปี 2562 คิดเป็นมูลค่ากว่า 58,000 ยูโร (2,235,944 บาท)
ย้อนไปเมื่อปี 2560 จอร์เจียได้เริ่มใช้กลไกในการตรวจสอบ ด้วยการประกาศทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งกําหนดให้พวกเขาเปิดเผยทรัพย์สินและการเงินรวมถึงชื่อของสมาชิกในครอบครัวและผู้คนที่อาศัยอยู่กับพวกเขาเป็นประจําทุกปี ซึ่งก่อนหน้านี้พวกเขาไม่ได้รับการตรวจสอบแต่อย่างใด
ทรัพย์สินที่อยู่ในประกาศของนายโอโบลาชวิลีเองก็ไม่เคยได้รับการตรวจสอบจากทางการจอร์เจียมาก่อนเช่นกัน มีรายงานว่าในแต่ละปีมีการเลือกบัญชีทรัพย์สินเพื่อให้เข้าสู่กระบวนการยืนยันไม่ถึงสิบเปอร์เซ็นต์ แต่สำหรับนายโอโบลาชวิลี นั้นเขาถูกเลือกให้เข้าสู่กระบวนการยืนยันในทุกๆปี
เห็นได้ชัดว่ากลไกการตรวจสอบในประเทศจอร์เจีย ค่อนข้างประสบความสําเร็จในวงที่ค่อนข้างจํากัดในการต่อต้านการทุจริต ด้วยเหตุผลที่ว่าสํานักงานข้าราชการพลเรือนของจอร์เจียไม่มีทรัพยากรเพียงพอในการตรวจสอบทรัพย์สินที่บุคคลเป็นเจ้าของในต่างประเทศ
“ณ จุดนี้ เราต้องพึ่งพาเจตนาที่ดีของบุคคลนั้นเท่านั้น หากปรากฎว่าบุคคลใดมีทรัพย์สินในดูไบ แต่ไม่ได้เขียนไว้ในคําให้การ นั่นเป็นเหตุผลเพียงพอที่จะเริ่มการสอบสวน และสํานักงานอัยการจะตรวจสอบเรื่องนี้” นายอเล็กซานเดอร์ เคฟคิชวิลี ผู้จัดการโครงการประจำองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติประเทศจอร์เจียกล่าว
ข้อมูลจากองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติระบุอีกว่าพบว่ามีคนอื่นๆที่มีปัญหานอกเหนือจากนายโอโบลาชวิลี โดยกว่าครึ่งหนึ่งของการประกาศบัญชีทรัพย์สินกว่า 346 การประกาศ ที่ประกาศโดยสํานักงานข้าราชการพลเรือนในช่วงปีที่แล้วพบว่ามีความไม่ถูกต้อง หรือไม่ได้ประกาศรายละเอียดในส่วนของสมาชิกครอบครัว
รายงานระบุว่า มีการกําหนดค่าปรับบังคับใช้กับเจ้าหน้าที่รัฐจำนวน 136 คนที่แจ้งบัญชีทรัพย์สินเหล่าผิดพลาด ในขณะที่คนอื่นๆ ได้รับคําเตือน ไม่มีการส่งคดีไปยังสํานักงานอัยการในปีนั้น (มีเพียง 11 คนเท่านั้นที่ถูกส่งตัวไปให้อัยการตั้งแต่เริ่มตรวจสอบในปี 2560)
ขณะที่สำนักงานข้าราชการพลเรือนได้ตอบคำถามกับผู้สื่อข่าวว่าสํานักงานข้าราชการพลเรือนได้ดำเนินการตรวจสอบอสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศ "ผ่านการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับพันธมิตรระหว่างประเทศรวมถึงบนพื้นฐานของข้อมูลที่ได้รับจากโอเพ่นซอร์ส" และยืนยันว่าระบบได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
สำหรับบทลงโทษของบุคคลที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินผิดพลาดนั้นมีแค่โทษปรับไม่เกิน 20 เปอร์เซ็นต์ ของเงินเดือนข้าราชการเท่านั้น หรือปรับเป็นเงินเดือนขั้นต่ำของข้าราชการอยู่ที่ 195 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,852 บาท)
“พวกเขาจ่ายครั้งเดียวและนั่นคือพวกเขาปฏิบัติตามภาระผูกพันของพวกเขาแล้ว” นายเคฟคิชวิลีกล่าว
- ส่องคดีทุจริตโลก: ทหารรับจ้างแวกเนอร์ยึดแอฟริกากลาง หนุนเผด็จการ แลกผลประโยชน์นับแสนล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:อาวุธสวีเดน ถูกอินเดียส่งออกให้ทัพเมียนมา ใช้ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปงเอกชนสวิส ตั้ง บ.ย่อย หลบคว่ำบาตร แอบขายน้ำมันรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมปัญหาการใช้กฎหมายใหม่แคนาดา รับมือโอลิการ์ชลงทุนสินทรัพย์มหาศาล
- ส่องคดีทุจริตโลก: จากปมสินบนโรลซ์รอยส์โยงกรณีอื้อฉาว จัดซื้อ บ.ฝึก ทอ.อินเดียนับหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เส้นทางทองคำ แสน ล.จาก 'รัสเซีย' สู่ UAE หลบมาตรการคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก: ยูเอ็นเผย 'สิงคโปร์' ส่งออกชิ้นส่วนให้กองทัพเมียนมา 8 พัน ล. หลัง รปห.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เผยความมั่งคั่งบิ๊ก ทอ.เมียนมา ให้เครือญาติตั้งบริษัทรับงานนับพันล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตลูกจ้างฟ้องศาล แฉ บ.แคนาดา จ่ายสินบน แลกสัญญารถเกราะยูเครน พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัทพลังงานเยอรมนี เอี่ยวส่งเชื้อเพลิง เอื้อกองทัพรัสเซีย บุกยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: สกอตแลนด์ทำสัญญาจ้างตุรเคีย ต่อเรือ 9 พัน ล. ท้องถิ่นไม่ได้ประโยชน์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกสารหลุดเพนตากอน แฉความสัมพันธ์ รัสเซีย- UAE ช่วยหลบมาตรการคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เจาะลึกระบบธนาคารใต้ดินจีน เอี่ยวฟอกเงินพันล้านแก๊งยาเสพติดยุโรป
- ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการ EU สั่งสอบ งบฟื้นฟูเมืองหลวงบัลแกเรียไม่โปร่งใส เสียหาย ร้อย ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.เซอร์เบีย ส่อใช้งานนักจารกรรมข้อมูลการเงินอิสราเอลโจมตีฝ่ายตรงข้าม
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกชนใกล้ชิดพรรคการเมือง ได้สัญญาส่งอาหารกองทัพลัตเวีย 8 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการสวิสสั่งฟัน 4 นายธนาคาร เอื้อประโยชน์คนสนิทปูตินฝากเงินนับพัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง 3 เอกชนเยอรมนี นำเข้าไม้สักผิด กม.จากเมียนมานานนับปี
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉ หน.ทหารรับจ้างวากเนอร์ หลบคว่ำบาตรตะวันตก หารายได้ พัน ล.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉคอร์รัปชั่นวงการก่อสร้างตุรเคีย ต้นเหตุยอดตายแผ่นดินไหว 4.6 หมื่นศพ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปม บ.เกลมาโต้ถูกกล่าวหาจ่ายคอมมิชชั่นเอื้อทำสัญญาหลาย รบ.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง บ.พลังงานยักษ์ใหญ่ตะวันตก ทำธุรกิจหนุนเส้นเงินเผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมฉาว กห.ยูเครนจัดซื้ออาหารไม่โปร่งใส กระทบความเชื่อมั่นต่างชาติ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ขมวดปมอื้อฉาว ATK สะเทือนพรรคคอมฯเวียดนามอย่างไร หลัง ปธน.ลาออก
- ส่องคดีทุจริตโลก: ตามรอยบุหรี่จีนนับล้านมวนสูญหาย หลังเดินทางออกจากโรงงานในโรมาเนีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงเอกชนรับงานบูรณะถนนยูเครนพันล้าน เชื่อมโยงผู้ต้องหาหนีคดี FBI
- ส่องคดีทุจริตโลก: ประมวลข่าวคอร์รัปชันโลกปี 65 จากโอลิการ์ชรัสเซียถึงเอกสารแพนโดรา