หน้าที่การตรวจสอบนี้ตกเป็นของนายวิลเฟรโด ซาเวลลา หัวหน้างานซ่อมบํารุง ซึ่งปรากฏว่านายซาเวลลาได้รับเงินจากนายชอยกว่า 40,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (1,444,800 บาท) และเขาออกมายอมรับผิดในช่วงเดือน ธ.ค.2565 ว่าได้รับสิทธิประโยชน์จากนายชอยทั้งในรูปแบบของเงินสินบนและตั๋วเครื่องบินเฟิร์สคลาสไปยังเมืองลาสเวกัส แลกเปลี่ยนกับการช่วยเหลือนายชอยให้ได้รับสัญญาการบำบัดน้ำเสีย ส่งผลให้ตอนนี้นายซาเวลลาต้องโทษจำคุกกว่า 16 เดือนในเรือนจำ
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ขอนำเสนอกรณีปัญหาการจัดซื้อจ้างที่เกี่ยวข้องกับเหตุไฟป่าที่หมู่เกาะฮาวายเมื่อต้นเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา
โดยสำนักข่าวนิวยอร์กไทม์รายงานข่าวกรณีการทุจริจการจัดซื้อระบุว่า หลังจากที่มีเหตุอื้อฉาวเกี่ยวกับการทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างเมื่อปี 2565 ที่ผ่านมา นายกเทศมนตรีเขตเมาอิ (Maui County) ก็ได้ปรากฎตัวต่อหน้าโทรทัศน์แสดงความไม่พอใจและประกาศว่าจะมีการตรวจสอบสัญญาจัดซื้อจัดจ้างที่มอบให้กับนักธุรกิจที่มีพฤติกรรมทุจริตซึ่งมีพฤติกรรมผูกขาดสัญญารัฐนานหลายปี
อย่างไรก็ตาม ประเด็นเรื่องการตรวจสอบนี้ไม่เคยไปถึงผู้ตรวจสอบประจำเขตเลย โดยตัวผู้ตรวจสอบประจำเขตระบุว่าเขาได้ยินว่าเขตจะดำเนินการตรวจสอบการจัดซื้อที่มีปัญหา ก็แค่แต่ในข่าวเท่านั้น ท้ายที่สุดกระบวนการตรวจสอบก็ไม่เคยเสร็จสมบูรณ์ และระบบในการตรวจสอบสัญญาของเขตก็ได้กลายมาเป็นระบบที่มีปัญหาและถูกทำลายประสิทธิภาพจากการติดสินบนและการขาดโครงสร้างการแข่งขันประกวดราคาอย่างที่ควรจะเป็น
กลับมาที่ปัจจุบัน เขตเมาอิกำลังอยู่ในสภาพฟื้นตัวจากเหตุไฟป่าที่รุนแรงเมื่อเดือน ก.ค. คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 99 ราย และต้องงบประมาณกว่าหลายล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในการฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญขึ้นมาใหม่ แต่ปัญหาสำคัญก็คือว่าระบบการตรวจสอบสัญญาจัดซื้อจัดจ้างก็จะยังคงเป็นระบบเดิมไม่เปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด
กรณีปัญหาเรื่องสินบนนั้นเกี่ยวข้องกับนักธุรกิจรายหนึ่งชื่อว่านายมิลตัน ชอย ซึ่งหลังจากเกิดเรื่องอื้อฉาว เจ้าหน้าที่เขตบางคนเริ่มที่จะดำเนินการเปลี่ยนแปลง (ทีละน้อย) กระบวนการมอบสัญญารัฐ จากเดิมที่จะมอบสัญญาให้กับแหล่งเดียว โดยไม่ต้องมีการเสนอราคาแข่งขันแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามหลักปฏิบัติเดิมๆก็ยังคงใช้กันอยู่ในเขตนี้หรือสรุปก็คือคดีของนายชอยเปิดโปงปัญหา แต่กลับมีการเปลี่ยนแปลงที่น้อยมากนั่นเอง
ณ เวลานี้ เขตเมาอิ ได้มีการออกสัญญามูลค่ากว่า 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (108,360,000 บาท) ซึ่งสัญญาจำนวนหลายสัญญานี้ออกมาในช่วงหลายสัปดาห์หลังจากเกิดไฟไหม้ และคาดว่าในอนาคตจะมีสัญญาอีกหลายสัญญามูลค่านับหลายล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ออกตามมา โดยตัวเลขความเสียหายจากเหตุไฟไหม้นั้นอยู่ที่ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (180,600,000,000 บาท)
เงินส่วนใหญ่ที่ใช้ไปจนถึงตอนนี้ ถูกใช้โดยบริษัทที่ได้รับการว่าจ้างให้ชะล้างเศษซากออกจากถนนและจัดการการจราจรในพื้นที่ที่ถูกไฟไหม้ นอกจากนี้เงินยังถูกใช้ไปกับการว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อประเมินความเสียหายต่อระบบน้ำของเมืองลาไฮนาและพัฒนาสถานที่กักเก็บชั่วคราวสําหรับเศษซากที่เป็นพิษจากเหตุไฟไหม้
และแน่นอนสัญญาเหล่านี้ ส่วนมากแล้วก็ไม่มีกระบวนการแข่งขันเสนอราคาเช่นกัน
กรณีการมอบสัญญาให้กับเอกชนแหล่งเดียวยังคงเป็นปัญหาสำคัญ และเรื่องอื้อฉาวเหล่านี้ก็เกี่ยวข้องกับนายชอย เนื่องจากว่าบริษัทของเขาชนะสัญญารัฐทั้งในพื้นที่เขตเมาอิ,เขตเคาไอ (Kauai) และเขตโออาฮู (Oahu) ซึ่งทั้งหมดถือว่าเป็นแหล่งรายได้เป็นจำนวนมากของนายชอย
ข้อมูลระบบการวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์ที่มีต่อบันทึกของเขตแสดงให้เห็นว่าบริษัทของนายชอยชื่อว่า H2O Process Systems ได้รับสัญญากว่า 12.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (458,724,000 บาท) ในช่วงระหว่างปี 2558-2565 ซึ่งมากกว่าผู้ประกอบการรายอื่นจะได้รับสัญญาจากหน่วยงานรัฐ และมูลค่าของสัญญาที่บริษัทของนายชอยได้รับยังมีมูลค่ามากกว่า 13 เปอร์เซ็นต์ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดของเขตในสัญญาดังกล่าว
โดยอัยการกลางได้ระบุตัวเลขว่าจำนวนสัญญาซึ่งบริษัท H2O Process Systems ได้รับจากเขตเมาอินับตั้งแต่ปี 2555 นั้นอยู่ที่ 19.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (697,116,000 บาท)
ยิ่งไปกว่านั้นเขตเมาอิยังใช้จ่ายเงินผ่านสัญญากับเอกชนเพียงแหล่งเดียวคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าที่รัฐฮาวายได้กระทำสัญญาในลักษณะนี้ โดยนับตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมาพบว่าเขตเมาอิได้ใช้เงินคิดเป็นอัตรา 7 เปอร์เซ็นต์ไปกับสัญญาซึ่งมาจากเอกชนเพียงแหล่งเดียว
ขณะที่คณะกรรมการจริยธรรมของเขตเมาอิซึ่งรับผิดชอบในการตรวจสอบการกระทําผิดที่อาจเกิดขึ้นโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐกลับไม่มีทั้งงบประมาณหรือเจ้าหน้าที่ที่จําเป็นในการดําเนินการสอบสวน แม้ว่าตอนนี้เจ้าหน้าที่เขตซึ่งมีส่วนในการรับเงินสินบนและเจ้าหน้าที่สภานิติบัญญัติในระดับท้องถิ่นจำนวนสองรายจะติดคุกในข้อหารับสินบนจากนายชอยไปแล้วก็ตาม
สำหรับนายชอย เขาถูกตั้งข้อหาติดสินบนหนึ่งครั้งเมื่อปีที่แล้วและถูกตัดสินจําคุกมากกว่าสามปี ในระหว่างการพิจารณาคดีเขาขอโทษบริษัทคู่แข่ง ขอโทษชาวเมาอิ และขอโทษต่อครอบครัวของเขาสำหรับพฤติกรรมอาชญากรรมที่เขาได้กระทำจนทำให้เกิดปัญหา
สภาพเขตเมาอิหลังได้รับความเสียหายจากไฟป่า (อ้างอิงวิดีโอจาก Maui Now)
@เจ้าพ่อธุรกิจบำบัดน้ำเสีย
สำหรับประวัติของนายชอย อดีตเพื่อนร่วมงานของเขาเล่าให้ฟังว่านายชอยเป็นพนักงานขายที่มีเสน่ห์ มีทักษะในการโน้มน้าวผู้คนให้ซื้อสินค้าและบริการของเขาได้อย่างช่ำชอง โดยผลิตภัณฑ์ที่เขาขายก็ได้แก่อุปกรณ์บำบัดน้ำเสียซึ่งผลิตบนแผ่นดินใหญ่
โดยวิธีการของนายชอยก็จะเป็นการแนะนำข้อมูลต่างๆในช่วงรับประทานอาหารค่ำ ที่บางครั้งนายชอยมักจะโชว์รายชื่อผู้ติดต่อของเขาซึ่งมีทั้งนักการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ต่อมาก็มีคำสั่งจากกระทรวงสาธารณสุขและสํานักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกาออกมาในช่วงทศวรรษที่ 90 ระบุรายละเอียดว่าทางเขตต้องมีการปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานการบำบัดน้ำเสีย นี่จึงเป็นโอกาสทางธุรกิจที่สำคัญของนายชอย และครอบครัว
นายชอยเปิดบริษัทของตัวเองชื่อว่าบริษัท H2O Process Systems ในปี 2551 และหลังจากนั้นธุรกิจของเขาก็เจริญเติบโตอย่างรุ่งเรือง โดยคู่แข่งและอดีตผู้ซึ่งเคยทำงานร่วมกับนายชอยอธิบายลักษณะของนายชอยว่าเป็นผู้ที่สามารถหาแนวทางในการแก้ปัญหาเรื่องการจัดการคุณภาพน้ำและเป็นเซลล์ขายอุปกรณ์ชั้นยอด
คุณลักษณะแบบนี้จึงไม่เป็นการยากเลยที่นายชอยจะสามารถเชิญชวนเจ้าหน้าที่จากฮาวายและเพื่อนร่วมงานไปร่วมงานเลี้ยงสังสรรค์ที่เมืองลาสเวกัส ซึ่งที่นั่นแขกจะได้รับการดูแลอย่างดี มีทั้งได้รับชิปสำหรับเล่นพนัน อาหารและเครื่องดื่มในห้องสวีทส่วนตัวของนายชอย ในโรงแรมและคาสิโน Mirage ตามคำให้การของนายจอห์น เลสลี่ อดีตหุ้นส่วนธุรกิจของนายชอย ซึ่งเคยเข้าร่วมงานเลี้ยงเหล่านี้
นายชอยยอมรับกับอัยการว่าเขาได้รับสัญญารัฐโดยไม่ผ่านกระบวนการประกวดราคาในเขตเมาอิ ซึ่งการได้สัญญาดังกล่าวนั้นมาจากการที่เขาได้จ่ายเงินสินบนเป็นระยะเวลาอย่างน้อยหกปี
สำหรับกระบวนการตรวจสอบของรัฐบาลเทศมณฑลในฮาวายนั้นพึ่งพาแค่ผู้อำนวยการฝ่ายการเงินเพียงผู้เดียวในการทำหน้าที่ทบทวนสัญญาต่างๆซึ่งได้รับการแนะนำมาจากทางฝ่ายหัวหน้าหน่วยงาน ซึ่งการทบทวนสัญญาที่ว่านี้ก็รวมไปถึงสัญญาที่มีลักษณะมาจากเอกชนเพียงแห่งเดียวด้วย นี่จึงส่งผลทำให้นายสจ๊วต สแตนท์ อดีตหัวหน้าแผนกการจัดการสิ่งแวดล้อมของเขตเมาอิสามารถดำเนินการจ่ายเงินงบประมาณกว่า 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (722,400,000 บาท) ไปให้กับบริษัท H2O Process Systems ผ่านกระบวนการทำสัญญาแบบเจาะจงและไม่มีการประกวดราคาแต่อย่างใด
นายชอยได้จ่ายเงินสินบนให้กับนายสแตนท์ซึ่งถูกตัดสินจำคุกกว่า 10 ปี โดยสิทธิพิเศษและเงินสินบนที่ถูกจ่ายไปเป็นระยะเวลารวมกว่าหกปีนั้นมีมูลค่าอยู่ที่ 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (72,240,000 บาท)
ในระเบียบขั้นตอนของรัฐฮาวายยังได้ระบุด้วยว่าจะต้องมีการตรวจสอบถ้าหากมีคำร้องขอให้ตรวจสอบสัญญารัฐซึ่งมาจากเอกชนแหล่งเดียว โดยหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายให้ตรวจสอบจะต้องมีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการใช้จ่ายของเทศบาลต่างๆซึ่งจ่ายเงินให้กับเอกชนแหล่งเดียวกันอย่างเข้มงวด
หน้าที่การตรวจสอบนี้ตกเป็นของนายวิลเฟรโด ซาเวลลา หัวหน้างานซ่อมบํารุง ซึ่งปรากฏว่านายซาเวลลาได้รับเงินจากนายชอยกว่า 40,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (1,444,800 บาท) และเขาออกมายอมรับผิดในช่วงเดือน ธ.ค.2565 ว่าได้รับสิทธิประโยชน์จากนายชอยทั้งในรูปแบบของเงินสินบนและตั๋วเครื่องบินเฟิร์สคลาสไปยังเมืองลาสเวกัส แลกเปลี่ยนกับการช่วยเหลือนายชอยให้ได้รับสัญญาการบำบัดน้ำเสีย ส่งผลให้ตอนนี้นายซาเวลลาต้องโทษจำคุกกว่า 16 เดือนในเรือนจำ
ข่าวการจับกุมนายมิลตัน ชอย และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับกรณีสินบน (อ้างอิงวิดีโอจาก KITV)
ทั้งนี้ระบบการจัดซื้อในเขตเมาอิมีความแตกต่างจากระบบของรัฐบาลท้องถิ่นและและเทศมณฑลในเมืองอื่นๆของสหรัฐอเมริกา ซึ่งส่วนมากแล้วการจัดซื้อจะได้รับอนุมัติ ก็ต่อเมื่อผ่านความเห็นชอบจากสภาท้องถิ่นที่พิจารณาความเหมาะสมของขนาดสัญญาเสียก่อน
เมื่อนายสแตนต์สารภาพผิดเมื่อปีที่แล้ว เขายอมรับว่าได้รับเงินโดยตรงมากกว่า 1.3 ล้านดอลลาร์ (46,956,000 บาท) จากนายชอยระหว่างปี 2555 ถึง 2561 และนอกเหนือจากเงิน เขายังได้รับสินค้าราคาแพง ชิปการพนันที่ลาสเวกัสและบริการต่างๆอีกคิดเป็นมูลค่าหลายแสนดอลลาร์สหรัฐฯ
ข้อมูลจากบันทึกคำให้การของศาลสหรัฐฯ พบว่านายสแตนต์ไม่ได้รายงานประเด็นความผิดปกติลงไปในรายงานการเปิดเผยข้อมูลงบประมาณประจำปี ซึ่งระเบียบการนี้ถูกกำหนดโดย คณะกรรมการจริยธรรมของเขตเมาอิ
@แทบไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย
ไม่มีใครทราบเกี่ยวกับแผนการจ่ายสินบนที่เกี่ยวข้องกับนายชอยและนายสแตนท์ จนกระทั่งในปี 2561 เมื่อเจ้าหน้าที่ของเขตที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการบำบัดน้ำเสียหลายคนแสดงความกังวลเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติในการจัดซื้อจัดจ้างที่เกี่ยวข้องกับนายสแตนท์
พวกเขาได้นำเอาข้อกังวลเหล่านี้ไปให้กับนางแอลล์ โคชราน ส.ส.รัฐฮาวาย พรรคโดโมแครต ซึ่งในตอนนั้น เธอดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาเขตเมาอิ
ทีมงานของนางโคชรานจึงได้ไปพบกับกลุ่มพนักงานบำบัดน้ำเสียเป็นการส่วนตัวเพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการชำระเงินให้กับบริษัท H2O Process Systems และในที่สุดพวกเขาก็ได้นำเอาข้อมูลที่ได้ไปมอบให้กับสำนักสอบสวนกลางสหรัฐฯ หรือเอฟบีไอ
นี่จึงนำไปสู่การจับกุมนายชอยและนายสแตนท์ ซึ่งนายชอยตกลงที่จะให้ความร่วมมือในการสอบสวนการทุจริตอย่างต่อเนื่องและไม่ได้ถูกตั้งข้อหาในคดีติดสินบนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสมาชิกสภานิติบัญญัติของรัฐจำนวนสองคน
ความร่วมมือของนายชอยส่งผลทำใหนายเจ คาลานี อิงลิช อดีต สว.รัฐฮาวายจากพรรคเดโมแครต และนายไท คัลเลน อดีต สส.รัฐฮาวาย พรรคเดโมแครต ต้องออกมารับสารภาพในเดือน ก.พ. 2565 ในข้อหาเกี่ยวข้องกับสินบน
นายอิงลิชจึงถูกตัดสินจำคุกมากกว่าสามปีและนายคัลเลนถูกตัดสินจำคุกสองปี
อย่างไรก็ตาม มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยมากในระบบการตรวจสอบการจัดซื้อของเขตเมาอิ นับตั้งแต่เรื่องอื้อฉาวถูกเปิดโปง และดูเหมือนจะมีเจตจํานงเพียงเล็กน้อยที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านี้ แม้ว่าตอนนี้ความสนใจของรัฐฮาวายจะมุ่งเน้นไปที่การฟื้นฟูความเสียหายจากเหตุไฟป่าก็ตาม
นายแลนซ์ ทากูชิ เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบของเขตเมาอิกล่าวว่าเขาวางแผนที่จะทบทวนแนวทางปฏิบัติด้านการจัดซื้อจัดจ้างของเขต โดยจะมุ่งเน้นไปที่การใช้เงินฉุกเฉินของเขตว่าเป็นอย่างไร ในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 เพื่อดูว่าจะมีบทเรียนอะไรที่สามารถเรียนรู้ได้ และจะสามารถปรับปรุงกระบวนการให้ดีขึ้นได้อย่างไรบ้าง
ส่วนนายเชย์น อากาวะ ซึ่งปัจจุบันดํารงตําแหน่งเดียวกับนายสแตนท์ได้เริ่มยกเลิกสัญญาที่มาจากแหล่งเดียวเมื่อต้นปีนี้ แต่ยอมรับว่ามีบางกรณีที่เป็นเรื่องยากลำบาก เพราะสินค้าหรือบริการบางรายการก็มีแค่ในเอกชนรายเดียวเท่านั้น แต่เขาก็ยอมรับว่าการทำให้กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างมีความโปร่งใสและเปิดกว้างต่อการแข่งขันจะดีกว่าสําหรับประชาชนในระยะยาว
เรียบเรียงจาก:https://www.nytimes.com/2023/10/25/us/hawaii-bribery-maui-fires-rebuild.html
อ่านประกอบ:
- ส่องคดีทุจริตโลก: ศาลสิงคโปร์ไม่ให้ประกันจีนเทา เหตุมีพาสปอร์ต ตปท.เพียบ หวั่นหลบหนี
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตนายกฯจอร์แดนถือสัญชาติโดมินิกาหลังพ้นตำแหน่ง ทนายยันทำเรื่องถูกต้อง
- ส่องคดีทุจริตโลก:นักธุรกิจจีนเทาขายน้ำวิเศษอ้างนาซารับรอง จ่ายสินบนนักการทูต แลกทำงาน UN
- ส่องคดีทุจริตโลก:สว.สหรัฐฯ ถูกสอบรับสินบน แลกอนุมัติงบช่วยเหลือทางทหาร รบ.อียิปต์หมื่นล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: กห.เดนมาร์กจัดซื้อปืนใหญ่ 8.9 พัน ล.ไม่โปร่งใส แลกบ.อิสราเอลถอนฟ้องคดี
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉทุนจีนสีเทา ถูกจับข้อหาฟอกเงินที่สิงคโปร์ ซื้ออสังหาฯ พันล. ณ ลอนดอน
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉเอกชนอิสราเอล ส่งยุทธภัณฑ์ลอตใหญ่ให้เมียนมา หลังรัฐประหาร
- ส่องคดีทุจริตโลก: จนท.ยูเครนจับอดีตผู้สนับสนุน ปธน.เซเลนสกี โยงทุจริต-ฟอกเงินนับ พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:โครงการพาสปอร์ตทองคำ โยงผู้ต้องสงสัย คดีฟอกเงิน 2.5 หมื่น ล.ที่สิงคโปร์
- ส่องคดีทุจริตโลก:ชี้เป็น ปย.ต่อประชาชน-ศาลสูงสั่ง สธ.แอฟริกาใต้ เปิดทุกสัญญาวัคซีนโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก:คนใกล้ชิด รมว.กห.ยูเครน เอี่ยวจัดซื้อชุดทหารฤดูหนาวด้อยคุณภาพ พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ตร.ออสซี่สั่งสอบ ปมสินบนนักการเมืองนาอูรู แลกสัญญาศูนย์กักกันหมื่นล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉเส้นเงินผิด กม.ผ่านภูมิภาคบอลข่านตะวันตก หลังสงครามรัสเซีย-ยูเครนปะทุ
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตอั๊งยี่จากมาเก๊า สู่นักธุรกิจทุนจีนสีเทา เจ้าของคาสิโนที่เมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ที่ปรึกษาออสซี่ใช้ความลับ รบ.ให้คำแนะนำเอื้อเอกชนยักษ์ใหญ่เลี่ยงภาษี
- ส่องคดีทุจริตโลก:ส.ส.ดังจอร์เจีย อ้างข้อผิดพลาด-ไร้เจตนาซุกอพาร์ทเมนท์หรู ณ ดูไบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: ทหารรับจ้างแวกเนอร์ยึดแอฟริกากลาง หนุนเผด็จการ แลกผลประโยชน์นับแสนล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:อาวุธสวีเดน ถูกอินเดียส่งออกให้ทัพเมียนมา ใช้ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปงเอกชนสวิส ตั้ง บ.ย่อย หลบคว่ำบาตร แอบขายน้ำมันรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมปัญหาการใช้กฎหมายใหม่แคนาดา รับมือโอลิการ์ชลงทุนสินทรัพย์มหาศาล
- ส่องคดีทุจริตโลก: จากปมสินบนโรลซ์รอยส์โยงกรณีอื้อฉาว จัดซื้อ บ.ฝึก ทอ.อินเดียนับหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เส้นทางทองคำ แสน ล.จาก 'รัสเซีย' สู่ UAE หลบมาตรการคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก: ยูเอ็นเผย 'สิงคโปร์' ส่งออกชิ้นส่วนให้กองทัพเมียนมา 8 พัน ล. หลัง รปห.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เผยความมั่งคั่งบิ๊ก ทอ.เมียนมา ให้เครือญาติตั้งบริษัทรับงานนับพันล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตลูกจ้างฟ้องศาล แฉ บ.แคนาดา จ่ายสินบน แลกสัญญารถเกราะยูเครน พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัทพลังงานเยอรมนี เอี่ยวส่งเชื้อเพลิง เอื้อกองทัพรัสเซีย บุกยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: สกอตแลนด์ทำสัญญาจ้างตุรเคีย ต่อเรือ 9 พัน ล. ท้องถิ่นไม่ได้ประโยชน์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกสารหลุดเพนตากอน แฉความสัมพันธ์ รัสเซีย- UAE ช่วยหลบมาตรการคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เจาะลึกระบบธนาคารใต้ดินจีน เอี่ยวฟอกเงินพันล้านแก๊งยาเสพติดยุโรป
- ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการ EU สั่งสอบ งบฟื้นฟูเมืองหลวงบัลแกเรียไม่โปร่งใส เสียหาย ร้อย ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.เซอร์เบีย ส่อใช้งานนักจารกรรมข้อมูลการเงินอิสราเอลโจมตีฝ่ายตรงข้าม
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกชนใกล้ชิดพรรคการเมือง ได้สัญญาส่งอาหารกองทัพลัตเวีย 8 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการสวิสสั่งฟัน 4 นายธนาคาร เอื้อประโยชน์คนสนิทปูตินฝากเงินนับพัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง 3 เอกชนเยอรมนี นำเข้าไม้สักผิด กม.จากเมียนมานานนับปี
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉ หน.ทหารรับจ้างวากเนอร์ หลบคว่ำบาตรตะวันตก หารายได้ พัน ล.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉคอร์รัปชั่นวงการก่อสร้างตุรเคีย ต้นเหตุยอดตายแผ่นดินไหว 4.6 หมื่นศพ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปม บ.เกลมาโต้ถูกกล่าวหาจ่ายคอมมิชชั่นเอื้อทำสัญญาหลาย รบ.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง บ.พลังงานยักษ์ใหญ่ตะวันตก ทำธุรกิจหนุนเส้นเงินเผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมฉาว กห.ยูเครนจัดซื้ออาหารไม่โปร่งใส กระทบความเชื่อมั่นต่างชาติ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ขมวดปมอื้อฉาว ATK สะเทือนพรรคคอมฯเวียดนามอย่างไร หลัง ปธน.ลาออก
- ส่องคดีทุจริตโลก: ตามรอยบุหรี่จีนนับล้านมวนสูญหาย หลังเดินทางออกจากโรงงานในโรมาเนีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงเอกชนรับงานบูรณะถนนยูเครนพันล้าน เชื่อมโยงผู้ต้องหาหนีคดี FBI
- ส่องคดีทุจริตโลก: ประมวลข่าวคอร์รัปชันโลกปี 65 จากโอลิการ์ชรัสเซียถึงเอกสารแพนโดรา