มีรายงานอีกว่าซัพพลายเออร์ที่อยู่ในประเทศสิงคโปร์นั้นมีทั้งสิ้น 138 แห่ง ซึ่งตัวเลขนี้ถือว่ามากกว่าซัพพลายเออร์ในอีก 4 ประเทศรวมกันเสียอีก ขณะที่นายแอนดรูวส์ที่ได้พยายามเข้าหาประเทศที่ระบุไว้ก็ได้มีการเน้นย้ำถึงนิติบุคคลในประเทศสิงคโปร์ที่ไม่ได้ระบุชื่อว่าคือนิติบุคคลอะไร เพื่อที่จะให้เวลากับรัฐบาลสิงคโปร์ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งกับนิติบุคคลเหล่านี้
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สัปดาห์นี้ขอนำเสนอกรณีที่บริษัทในประเทศสิงคโปร์ อาจกลายเป็นเส้นทางการเงิน หรือการสนับสนุนอาวุธให้กับรัฐบาลเผด็จการทหารเมียนมา
โดยองค์การสหประชาชาติหรือยูเอ็นได้เผยรายงานเมื่อวันที่ 17 พ.ค. ระบุว่าเมียนมาได้มีการนำเข้าอาวุธวัตถุดิบมูลค่าอย่างน้อย 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (34,319,000,000 บาท) นับตั้งแต่ที่มีการรัฐประหารในเดือน ก.พ. 2564 ซึ่งนายทอม แอนดรูว์ส ผู้รายงานพิเศษของยูเอ็นได้มีการระบุถึง 5 รายชื่อประเทศที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้าอาวุธในเมียนมา แล้วปรากฏว่ามีประเทศสิงคโปร์อยู่ในอันดับที่ 3 รองจากประเทศรัสเซียและจีน และนำหน้าประเทศอินเดียและไทย
รายงานระบุอีกว่ามีนิติบุคคลที่ดำเนินงานในประเทศสิงคโปร์ได้มีการจัดส่งอาวุธและวัสดุที่เกี่ยวข้องคิดเป็นมูลค่ากว่า 342.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (11,754,257,500 บาท) ไปยังกองทัพเมียนมา
@การค้าอาวุธและวัสดุที่เกี่ยวข้องซึ่งไม่ได้เชื่อมโยงกับรัฐบาลสิงคโปร์หรือรัฐบาลไทย
มีรายงานอีกว่าซัพพลายเออร์ที่อยู่ในประเทศสิงคโปร์นั้นมีทั้งสิ้น 138 แห่ง ซึ่งตัวเลขนี้ถือว่ามากกว่าซัพพลายเออร์ในอีก 4 ประเทศรวมกันเสียอีก ขณะที่นายแอนดรูวส์ที่ได้พยายามเข้าหาประเทศที่ระบุไว้ก็ได้มีการเน้นย้ำถึงนิติบุคคลในประเทศสิงคโปร์ที่ไม่ได้ระบุชื่อว่าคือนิติบุคคลอะไร เพื่อที่จะให้เวลากับรัฐบาลสิงคโปร์ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งกับนิติบุคคลเหล่านี้
นายแอนดรูวส์เน้นย้ำอีกว่ายังไม่มีข้อมูลที่จะระบุว่ารัฐบาลไทยหรือสิงคโปร์หรือว่าหน่วยงานที่อยู่ภายใต้กำกับดูแลของรัฐบาลทั้งสองประเทศนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการซื้อขายอาวุธให้กับกองทัพเมียนมาแต่อย่างใด ไม่เหมือนกับในอีกสามประเทศที่ปรากฎว่าหน่วยงานที่รัฐบาลเป็นเจ้าของหรือควบคุมนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งอาวุธไปยังเมียนมา
@สิงคโปร์เป็นจุดศูนย์กลาง
มีรายงานอ้าวว่ามีชิ้นส่วนที่สำคัญและวัตถุดิบได้ถูกส่งไปยังเมียนมา ซึ่งวัตถุที่ว่านี้มีตั้งแต่ชิ้นส่วนอะไหล่สำหรับระบบอาวุธไปจนถึงวัตถุดิบที่ทำให้โรงงานผลิตอาวุธในเมียนมาชื่อว่าโรงงาน KaPaSa สามารถดำเนินการผลิตอาวุธต่อไปได้
โดยการส่งออกเหล่านี้เกิดขึ้นตั้งแต่เดือน ก.พ. 2564 และยังมีรายงานเน้นถึงการนำเข้าชิ้นส่วนที่น่ากังวล สามารถแบ่งออกเป็นสี่ประเภทด้วยกันได้แก่
1.อาวุธ เช่นชิ้นส่วนอะไหล่สำหรับเครื่องบินและอุปกรณ์เรดาร์เป็นต้น
2.อุปกรณ์ทางทหารที่สามารถใช้ได้สองทาง (สามารถใช้ในทางพลเรือนได้ด้วย) เช่นอุปกรณ์วิทยุและซอฟต์แวร์ต่างๆ
3.อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตต่างๆ อาทิ เครื่องกลึง CNC (Computer Numerical Control) หรือเครื่องจักรกลอัตโนมัติที่ทำงานได้ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และเครื่องตัดเลเซอร์
4.วัตถุดิบ เช่นเหล็กกล้าและอุปกรณ์การก่อสร้าง
โดยมูลค่าการส่งออกทั้งหมดนั้นอยู่ที่ 253,908,769 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,713,895,043 บาท)
ชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทหารที่มีการส่งผ่านจากประเทศสิงคโปร์ไปเมียนมานับตั้งแต่การรัฐประหาร
ผู้รายงานพิเศษของยูเอ็นยังได้เน้นย้ำถึงบทบาทของสถาบันการเงินหลายแห่งในสิงคโปร์ที่มีส่วนในการอำนวยความสะดวกในการค้าอาวุธด้วยเช่นกัน
ในรายงานระบุต่อไปว่าในปัจจุบันมีแต่สหรัฐอเมริกาเท่านั้นที่ดำเนินการอายัดเงินทุนสำรองของเมียนมาในประเทศตัวเอง เนื่องจากพบว่ามีธนาคารพาณิชย์ยักษ์ใหญ่สามแห่งในสิงคโปร์ได้แก่ธนาคารดีบีเอส ธนาคารยูโอบี และธนาคารโอซีบีซี ถูกสงสัยว่ามีเงินทุนสำรองเมียนมาเป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้ยังมีการอ้างด้วยว่าธนาคารที่สิงคโปร์ถูกใช้อย่างกว้างขวางโดยกลุ่มผู้ค้าอาวุธที่ดำเนินงานทั้งในและนอกสิงคโปร์ โดยใช้สำหรับการชำระเงินและการโอนเงินค่าอาวุธกว่าหลายร้อยล้านดอลาร์สหรัฐฯผ่านธนาคาร
นายแอนดรูว์ยังได้เข้าพบรัฐบาลสิงคโปร์เพื่อเรียกร้องให้สิงคโปร์ทบทวนการค้ากับเมียนมาอย่างเร่งด่วน รวมทั้งดำเนินการกับนิติบุคคล หน่วยงานที่ใช้สิงคโปร์เป็นช่องทางการส่งมอบอาวุธและวัสดุให้กับเมียนมา
ทางสิงคโปร์ก็ได้ตอบสนองดังต่อไปนี้
“เราขอขอบคุณที่คุณให้ข้อมูลที่จะช่วยเหลือการสืบสวนของสิงคโปร์ว่ามีการละเมิดต่อกฎหมายสิงคโปร์ในกรณีที่มีการขนส่งสินค้าและวัตถุดิบไปเมียนมาหรือไม่”
รัฐบาลสิงคโปร์ระบุต่อไปว่าได้มีการทบทวนประสิทธิภาพของการควบคุมการส่งออกไปยังเมียนมาและจะนำเอาข้อมูลจากทางยูเอ็นไปพิจารณา โดยสิงคโปร์อาจจะมีการตอบสนองและติดต่อไปยังสำนักงานยูเอ็นสำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่ออำนวยความสะดวกในการตรวจสอบทางธุรกรรมที่ได้มีการกล่าวหา
ย้อนไปเมื่อปี 2564 ทางธนาคารกลางสิงคโปร์หรือว่า MAS ได้ออกมากล่าวว่าจากการใช้มาตรการเฝ้าระวังระบบธนาคารที่มีการใช้งานอยู่เป็นประจำไม่พบว่ามี “เงินทุนที่สำคัญ” จากทั้งบริษัท และบุคคลเมียนมาอยู่ในธนาคารสิงคโปร์
ทางการยังได้เน้นย้ำด้วยว่าคาดว่าสถาบันการเงินจะดำเนินการอย่างระมัดระวังในการทำธุรกรรมใดๆที่อาจจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อตัวสถาบัน ซึ่งรวมไปถึงการทำธุรกรรมและบุคคลที่อยู่ภายใต้การคว่ำบาตรทางการเงินโดยเขตอำนาจศาลในต่างประเทศ
@ธนาคารกลางสิงคโปร์:ธนาคารในสิงคโปร์จะไม่อำนวยความสะดวกในเรื่องการขายและขนย้ายอาวุธไปยังเมียนมา
มีรายงานว่าสำนักข่าว Mothership ของสิงคโปร์ได้ดำเนินการสอบถามไปยังธนาคารกลางสิงคโปร์เมื่อวันที่ 19 เม.ย.ที่ผ่านมา และธนาคารกลางสิงคโปร์ได้ตอบกลับมาว่าธนาคารในสิงคโปร์จะไม่อำนวยความสะดวกทั้งการขายและการโอนย้ายอาวุธใดๆไปสู่เมียนมา
“การดำเนินการสอดคล้องกับคำสั่งห้ามของรัฐบาลสิงคโปร์ในการทำธุรกรรมดังกล่าว” โฆษกธนาคารกลางสิงคโปร์ระบุและยืนยันว่าธนาคารมีความตื่นตัวมากขึ้นต่อความเสี่ยงอันเกิดจากสถานการณ์ที่เลวร้ายลงในเมียนมาและได้มีการวิเคราะห์สถานะและเพิ่มการตรวจสอบธุรกรรมที่เกี่ยวกับหน่วยงานและบุคคลของประเทศเมียนมาที่มีความเสี่ยง
การต่อสู้ของเยาวชนในเมียนมา (อ้างอิงวิดีโอจาก Mothership)
ธนาคารในสิงคโปร์ยังตื่นตัวต่อความเสี่ยงของบริษัทเชลล์และเครือข่ายที่ปกปิดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งถูกใช้เพื่อปิดบังความเชื่อมโยงกับกองทัพเมียนมา และได้เพิ่มความพยายามในการตรวจจับหน่วยงานและเครือข่ายดังกล่าวโดยการปรับใช้การวิเคราะห์ข้อมูลและแหล่งข่าวกรอง MAS ได้แบ่งปัน ธนาคารยังได้รับการแจ้งเตือนตามข้อมูลที่ได้จากรายงานดังกล่าวและหลายหน่วยงานที่กล่าวถึงในรายงานไม่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับธนาคารอีกต่อไปตามโฆษกของ MAS ธนาคารกําลังตรวจสอบธุรกรรมของหน่วยงานที่เหลืออย่างใกล้ชิดและจะดําเนินการเพิ่มเติมตามความจําเป็น
@ผลกระทบและคำแนะนำ
ในรายงานได้ระบุต่อไปอีกว่าผลกระทบของการนำเข้าชิ้นส่วนนั้นมีอาทิ ชิ้นส่วนอาวุธที่เมียนมานำเข้าจากต่างประเทศ ปรากฏว่าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในการโจมตีทางอากาศ เช่นกรณีการทิ้งระเบิดใส่หมู่บ้านปา จื่อ จี เมื่อเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา ก็ปรากฎว่าเป็นอาวุธที่ผลิตจากโรงงาน KaPaSa
รายงานระบุอีกว่าแม้จะเป็นเรื่องยากที่จะแยกผลกระทบที่มาจากชิ้นส่วนที่ส่งออกว่ามาจากที่ใดบ้าง แต่ถ้าหากสิงคโปร์ได้หยุดการส่งออกไปยังเมียนมา มันก็จะทำให้เกิดการชะงักงันอย่างรุนแรงสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตอาวุธในเมียนมา แม้ว่าจะเป็นระยะสั้นหรือว่าระยะกลางก็ตาม
ในท้ายรายงานได้ระบุเกี่ยวกับประเทศสิงคโปร์ว่ายังไม่มีข้อบ่งชี้ว่ารัฐบาลสิงคโปร์ได้อนุมัติหรือมีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดส่งอาวุธหรือวัสดุที่เกี่ยวข้องไปยังกองทัพเมียนมา แต่ได้เรียกร้องให้บังคับใช้มาตรการการห้ามส่งออกอย่างชัดเจน
โดยข้อเสนอแนะในรายงานนั้นรวมถึงการเรียกร้องให้ดําเนินการตรวจสอบสถานะที่เพิ่มขึ้นรวมถึงการตรวจสอบที่เข้มงวดมากขึ้นเพื่อให้มั่นใจถึงแหล่งเงินทุนหรือความมั่งคั่งอันไม่นับรวมรายได้จากอาชญากรรมจะไม่ตกไปสู่เผด็จการทหารเมียนมา ซึ่งการตรวจสอบนั้นรวมถึงการค้นหาเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับฝ่ายธุรกรรมจากแหล่งที่เชื่อถือได้และเป็นอิสระมากขึ้น
เรียบเรียงจาก:https://mothership.sg/2023/05/un-report-myanmar-arms-imports/
- ส่องคดีทุจริตโลก: เผยความมั่งคั่งบิ๊ก ทอ.เมียนมา ให้เครือญาติตั้งบริษัทรับงานนับพันล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตลูกจ้างฟ้องศาล แฉ บ.แคนาดา จ่ายสินบน แลกสัญญารถเกราะยูเครน พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัทพลังงานเยอรมนี เอี่ยวส่งเชื้อเพลิง เอื้อกองทัพรัสเซีย บุกยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: สกอตแลนด์ทำสัญญาจ้างตุรเคีย ต่อเรือ 9 พัน ล. ท้องถิ่นไม่ได้ประโยชน์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกสารหลุดเพนตากอน แฉความสัมพันธ์ รัสเซีย- UAE ช่วยหลบมาตรการคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เจาะลึกระบบธนาคารใต้ดินจีน เอี่ยวฟอกเงินพันล้านแก๊งยาเสพติดยุโรป
- ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการ EU สั่งสอบ งบฟื้นฟูเมืองหลวงบัลแกเรียไม่โปร่งใส เสียหาย ร้อย ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.เซอร์เบีย ส่อใช้งานนักจารกรรมข้อมูลการเงินอิสราเอลโจมตีฝ่ายตรงข้าม
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกชนใกล้ชิดพรรคการเมือง ได้สัญญาส่งอาหารกองทัพลัตเวีย 8 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการสวิสสั่งฟัน 4 นายธนาคาร เอื้อประโยชน์คนสนิทปูตินฝากเงินนับพัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง 3 เอกชนเยอรมนี นำเข้าไม้สักผิด กม.จากเมียนมานานนับปี
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉ หน.ทหารรับจ้างวากเนอร์ หลบคว่ำบาตรตะวันตก หารายได้ พัน ล.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉคอร์รัปชั่นวงการก่อสร้างตุรเคีย ต้นเหตุยอดตายแผ่นดินไหว 4.6 หมื่นศพ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปม บ.เกลมาโต้ถูกกล่าวหาจ่ายคอมมิชชั่นเอื้อทำสัญญาหลาย รบ.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง บ.พลังงานยักษ์ใหญ่ตะวันตก ทำธุรกิจหนุนเส้นเงินเผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมฉาว กห.ยูเครนจัดซื้ออาหารไม่โปร่งใส กระทบความเชื่อมั่นต่างชาติ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ขมวดปมอื้อฉาว ATK สะเทือนพรรคคอมฯเวียดนามอย่างไร หลัง ปธน.ลาออก
- ส่องคดีทุจริตโลก: ตามรอยบุหรี่จีนนับล้านมวนสูญหาย หลังเดินทางออกจากโรงงานในโรมาเนีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงเอกชนรับงานบูรณะถนนยูเครนพันล้าน เชื่อมโยงผู้ต้องหาหนีคดี FBI
- ส่องคดีทุจริตโลก: ประมวลข่าวคอร์รัปชันโลกปี 65 จากโอลิการ์ชรัสเซียถึงเอกสารแพนโดรา