กระทรวงความมั่นคงสาธารณะของเวียดนามได้เปิดเผยผลการสอบสวนที่พบว่านาง Truong My Lan ประธานของกลุ่มบริษัทอสังหาริมทรัพย์ Van Thinh Phat Group หรือว่ากลุ่มบริษัท VTP ได้มีการยักยอกเงินไปกว่า 1.25 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (4.415 แสนล้านบาท) โดยใช้กลไกที่เรียกกันว่าบริษัทผี และใช้ธนาคารไซง่อนร่วมหุ้นเพื่อการพาณิชย์ (Saigon Joint Stock Commercial Bank)
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สัปดาห์นี้ขอนำเสนอความไม่โปร่งในระบบการธนาคารที่ประเทศเวียดนาม จนนำไปสู่การยักยอกเงินจำนวนมหาศาล โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
สำนักข่าวเรดิโอฟรีเอเชียของสหรัฐอเมริการายงานว่าที่ประเทศเวียดนามมีเหตุอื้อฉาว การยักยอกเงินเป็นจำนวนหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่อย่างไรก็ตามการยักยอกนี้ถือว่าเป็นส่วนน้อยของระบบการธนาคารของประเทศเวียดนามที่เต็มไปด้วยเรื่องของการทุจริต และรัฐบาลเวียดนามเองก็ไม่ได้มีการติดตั้งกลไกที่เพียบพร้อมจะรับมือกับปัญหาเหล่านี้แต่อย่างใด
ย้อนไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา กระทรวงความมั่นคงสาธารณะของเวียดนามได้เปิดเผยผลการสอบสวนที่พบว่านาง Truong My Lan ประธานของกลุ่มบริษัทอสังหาริมทรัพย์ Van Thinh Phat Group หรือว่ากลุ่มบริษัท VTP ได้มีการยักยอกเงินไปกว่า 1.25 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (4.415 แสนล้านบาท) โดยใช้กลไกที่เรียกกันว่าบริษัทผี และใช้ธนาคารไซง่อนร่วมหุ้นเพื่อการพาณิชย์ (Saigon Joint Stock Commercial Bank) หรือตัวย่อว่าธนาคาร SCB (ไม่เกี่ยวข้องกับธนาคารไทยพาณิย์) ประกอบกัน
คดีดังกล่าวถือเป็นหนึ่งในคดีทุจริตที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนามและมูลค่าของกองทุนที่ยักยอกนั้นมีมูลค่าประมาณ 6% ของ GDP ของเวียดนาม
มีการรายงานเมื่อวันที่ 17 พ.ย.2566 จากสํานักงานสืบสวนสอบสวนตํารวจ โดยเสนอให้สั่งฟ้องบุคคลที่เกี่ยวข้องจำนวน 86 คนรวมถึงนาง Lan ซึ่งเห็นควรให้ตั้งข้อหาติดสินบน ยักยอกและละเมิดกฎระเบียบของธนาคาร
สรุปพฤติการณ์การยักยอกของนาง Truong My Lan (อ้างอิงวิดีโอจาก Tom Peng)
รายงานตำรวจยังได้เสนอให้ดำเนินคดีกับพนักงานหลายสิบคนจากธนาคารไซง่อนฯและบริษัทในกลุ่ม VTP ในข้อหายักยอกและฝ่าฝืนกฎระเบียบของธนาคาร โดยให้ดำเนินคดีกับพนักงานธนาคารไซง่อนฯ 2 คน และอดีตรักษาการหัวหน้าแผนกกํากับดูแลภายใต้ธนาคารแห่งรัฐเวียดนาม ในข้อหาละเว้นความรับผิดชอบ
และนอกจากนี้ยังพบข้อมูลด้วยว่าผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบความผิดปกติก็โดนติดสินบนเช่นกันเพื่อให้ส่งรายงานอันเป็นเท็จ
@ปัญหาเชิงโครงสร้าง
ทางด้านของนาย Bui Kien Thanh ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว RFA ว่าในปัจจุบันธนาคารประเทศเวียดนามยังคงมีปัญหาในเรื่องของโครงสร้าง
“นอกเหนือจากเรื่องอื้อฉาวของธนาคารไซง่อนฯ แล้วกรณีอสังหาริมทรัพย์ยังเป็นฟองสบู่อีกฟองหนึ่งที่สามารถผุดขึ้นมาได้ตลอดเวลาในเวียดนาม" นาย Thanh กล่าวและกล่าวต่อไปว่า "ธนาคารให้สินเชื่อจํานวนมากแก่บริษัทอสังหาริมทรัพย์ บริษัทกลุ่มใหญ่มักจะกู้ยืมเงินที่มีมูลค่ามากกว่ามูลค่าสินทรัพย์เจ็ดหรือแปดเท่า ซึ่งไม่มีระบบธนาคารของประเทศใดดําเนินการในลักษณะนั้น”
นาย Thanh กล่าวต่อไปว่าการมีฟองสบู่เกิดขึ้นเป็นข้อบ่งชี้ว่ารัฐบาลกำลังบริหารงานธนาคารอย่างผิดพลาด
เหตุการณ์นี้ทำให้เมื่อฟองสบู่แตก ธนาคารไซง่อนฯก็ต้องเสียเงินไปกว่า 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ว่านั่นเป็นแค่ส่วนยอดของเรื่องราวทั้งหมดเท่านั้น
ตามสรุปผลการสืบสวน บริษัท Van Thinh Phat Group พบว่าได้มีการจัดตั้งบริษัทอื่นๆเพิ่มเติมอีกกว่าหนึ่งพันบริษัท ซึ่งรวมไปถึงบริษัทย่อยและบริษัทสมาชิกทั้งในและนอกประเทศเวียดนาม และหลายบริษัทระบุว่ามีจุดประสงค์เพื่อการธนาคาร,การลงทุนในหุ้น และในอสังหาริมทรัพย์
แต่ปรากฏว่ามีจำนวนมากที่กลายเป็นบริษัทผี เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งบริษัทจริงๆนั้นมีแค่เพื่อเอาเงินจากธนาคารไซง่อนฯไปใช้เท่านั้น
ทางด้านของนาย Nguyen Huy Vu ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าธนาคารไซง่อนฯ กับกลุ่มบริษัทย่อยของ Van Thinh Phat Group จึงได้มีความเชื่อมโยงกันผ่านรูปแบบการเป็นเจ้าของข้ามกลุ่ม
“ผ่านระบบของธนาคารไซง่อนฯ พบว่ามีการระดมทุนและพันธบัตรของกลุ่มบริษัทย่อยในกลุ่มบริษัท Van Thinh Phat Group สำหรับโครงการของกลุ่มบริษัท นี่ส่งผลทำให้เกิดความเสี่ยงสูงมากกับผู้ฝากเงินของธนาคารและผู้ลงทุนในพันธบัตร” นาย vu กล่าว
หน้าเว็บธนาคารไซง่อนร่วมหุ้นเพื่อการพาณิชย์ (Saigon Joint Stock Commercial Bank)
โดยหลังจากที่ได้มีการดำเนินคดีและกับจับกุมนาง Lan และกลุ่มผู้บริหารกลุ่มบริษัท VTP พบว่ามีผู้ฝากเงินธนาคารไซง่อนฯ ผู้ที่ซื้อพันธบัตรและบริการอื่นๆของกลุ่มบริษัท VTP ได้ออกมาชุมนุมตามต้องถนนและรวมตัวกันที่หน้าสำนักงานธนาคารไซง่อนฯ เพื่อเรียกร้องให้เอาเงินของพวกเขาคืนมา
เหล่าบรรดาเหยื่อกลุ่มบริษัท VTP ยังได้มีการชุมนุมอย่างต่อเนื่องและสร้างกลุ่มบนโซเชียลมีเดียทั้งเฟซบุ๊กและ Zalo
@เหมือนกับโรงรับจำนำ
นาย Thanh อธิบายว่ากรณีนี้แสดงให้เห็นถึงจุดอ่อนในระบบธนาคารของเวียดนามอย่างชัดเจน
“เวียดนามมีธนาคารกว่า 30 แห่ง แต่ว่าธนาคารเหล่านี้ไม่ได้ให้การอบรมวิชาชีพกับพนักงานของตนเลย” นาย Thanh กล่าวและกล่าวต่อไปว่าการดําเนินการส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่การให้กู้ยืมเงินจํานอง แต่จริงๆแล้วทําหน้าที่ธนาคารกลับเหมือนโรงรับจํานํา อีกทั้งพนักงานธนาคารไม่ได้ศึกษาว่าโครงการที่มาขอกู้เงินมันเป็นไปได้หรือไม่ และสามารถชําระคืนเงินกู้ได้หรือไม่ แต่ดูเฉพาะรายละเอียดการจํานองในใบคําขอกู้ยืม
นาย Thanh กล่าวว่าการกํากับดูแลที่หละหลวมดังกล่าวเป็นเรื่องปกติในระบบธนาคารของเวียดนาม
"ด้วยเหตุนี้ การสูญเสียอาจไม่ใช่แค่ 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่เป็นอีกหลายหมื่นล้านดอลลาร์ที่ยังไม่ถูกตรวจพบ" นาย Thanh กล่าว
กระทรวงการคลังเวียดนามประมาณการว่าหนี้เสียรวมของธนาคาร 28 แห่งเพิ่มขึ้น 52% ในไตรมาสที่สามของปี 2566 และหนี้เสียของธนาคารบางแห่งเพิ่มขึ้นสองหรือสามเท่าตามรายงานในสื่อชื่อว่า Inspection Newspaper ซึ่งเป็นสื่อที่ทำหน้าที่ตรวจสอบของทางรัฐบาล
รัฐบาลเวียดนามก็ตระหนักถึงหนี้เสียอย่างชัดเจน แต่ไม่สามารถจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือประสิทธิผล
“รัฐบาลส่งมอบเรื่องนี้ให้กับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเวียดนาม (Vietnam Asset Management Company) เป็นผู้จัดการแก้ปัญหา แต่พวกเขาก็ไม่สามารถจัดการได้ กล่าวโดยสรุปคือธนาคารแห่งรัฐเวียดนามไม่สามารถทำหน้าที่ได้เต็มบทบาทในการตรวจสอบ กำกับดูแลธนาคารต่างๆ”
@การทุจริตในระบบธนาคาร
คดีดังได้รับความสนใจจากสาธารณชนอย่างมากและทําให้หลายคนตั้งคําถามถึงบทบาทการจัดการของรัฐบาลเนื่องจากความใหญ่โตของการยักยอกที่เกิดขึ้นเป็นเวลานาน
“ข้อสรุปการสืบสวนแสดงให้เห็นถึงระดับอาชญากรรมที่น่ากลัวที่กระทําโดยบริษัท Van Thinh Phat Group” นาย Dang Dinh Manh ซึ่งทํางานเป็นทนายความในเวียดนามมานานกว่า 20 ปีและปัจจุบันอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกากล่าว
“อย่างไรก็ตามสิ่งที่ดึงดูดความสนใจมากที่สุดคือแง่มุมทางกฎหมายของคดี ในกรณีนี้พบว่ามีอุปสรรคทางกฎหมายหลายประการผ่านการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพของบริษัท Van Thinh Phat เพื่อให้แน่ใจว่าการควบคุมธุรกิจทั้งหมดนั้นเป็นโมฆะซึ่งแผนการดังกล่าวนั้นพบว่ามีสมรู้ร่วมคิดของเจ้าหน้าที่รัฐมากกว่าสองสามคน” นาย Manh กล่าว
จากข้อสรุปการสอบสวนเจ้าหน้าที่ตำรวจ พบว่าทีมงานสอบสวนของธนาคารแห่งรัฐเวียดนามจำนวน 18 นาย ซึ่งนำทีมโดยนาย Do Thi Nhan อดีตหัวหน้าแผนกตรวจราชการและกํากับดูแลภายใต้ธนาคารแห่งรัฐเวียดนามได้รับเงินสินบนไปกว่า 5.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (184,080,000 บาท)
“บางทีอดีตหัวหน้าแผนกตรวจราชการฯ ในคดีบริษัท Van Thinh Phat อาจเคยก่ออาชญากรรมในขณะที่ตรวจสอบองค์กรอื่นก่อนหน้านี้ แต่ไม่มีกลไกที่จะหยุดพวกเขาจากการทําเช่นนั้นจนกระทั่งพบคดีบริษัท Van Thinh Phat” นาย Manh กล่าว
ส่วนนาย Thanh กล่าวแสดงความกังวลเกี่ยวกับการติดตามตรวจสอบธนาคารของรัฐในเวียดนาม
“การปล่อยให้ธนาคารดําเนินการโดยไม่สุจริตโดย ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายนั้นเป็นอันตรายและอันตรายมาก การอนุญาตให้เจ้าของธนาคารใช้อำนาจในทางที่ผิดเพื่อให้กู้ยืมเงินโดยไม่มีข้อจํากัด ใด ๆ ถือว่าไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันสินเชื่อ” นาย Thanh กล่าวและกล่าวทิ้งท้ายว่าธนาคารอื่น ๆ หลายแห่งอาจอยู่ในสถานการณ์ที่คล้ายกัน แต่ยังไม่ถูกตรวจสอบพบ
ต่อมามีรายงานข่าวล่าสุดเมื่อวันที่ 11 เม.ย.ว่านาง Truong My Lan อาจจะถูกตัดสินประหารชีวิตจากคดีการยักยอกที่ว่ามานี้
เรียบเรียงจาก:https://www.rfa.org/english/news/vietnam/bank-11212023202811.html
อ่านประกอบ:
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.ไซปรัสเอี่ยวสัญญาชุด PPE สุดฉาว 8.8 พัน ล.โยงนักการเมืองดังที่อังกฤษ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกชนชนะสัญญาพันล.จ้าง 2บ.ไซปรัส จัดหาหน้ากากด้อยคุณภาพให้ สธ.ออสซี่
- ส่องคดีทุจริตโลก: สธ.มาเลย์ซื้อเครื่องช่วยหายใจช่วงโควิดมีปัญหาเกือบหมด-เอาผิดใครไม่ได้
- ส่องคดีทุจริตโลก: นักธุรกิจบำบัดน้ำเสียจ่ายสินบน จนท.รัฐฮาวาย แลกผูกขาดสัญญานานนับปี
- ส่องคดีทุจริตโลก: ศาลสิงคโปร์ไม่ให้ประกันจีนเทา เหตุมีพาสปอร์ต ตปท.เพียบ หวั่นหลบหนี
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตนายกฯจอร์แดนถือสัญชาติโดมินิกาหลังพ้นตำแหน่ง ทนายยันทำเรื่องถูกต้อง
- ส่องคดีทุจริตโลก:นักธุรกิจจีนเทาขายน้ำวิเศษอ้างนาซารับรอง จ่ายสินบนนักการทูต แลกทำงาน UN
- ส่องคดีทุจริตโลก:สว.สหรัฐฯ ถูกสอบรับสินบน แลกอนุมัติงบช่วยเหลือทางทหาร รบ.อียิปต์หมื่นล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: กห.เดนมาร์กจัดซื้อปืนใหญ่ 8.9 พัน ล.ไม่โปร่งใส แลกบ.อิสราเอลถอนฟ้องคดี
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉทุนจีนสีเทา ถูกจับข้อหาฟอกเงินที่สิงคโปร์ ซื้ออสังหาฯ พันล. ณ ลอนดอน
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉเอกชนอิสราเอล ส่งยุทธภัณฑ์ลอตใหญ่ให้เมียนมา หลังรัฐประหาร
- ส่องคดีทุจริตโลก: จนท.ยูเครนจับอดีตผู้สนับสนุน ปธน.เซเลนสกี โยงทุจริต-ฟอกเงินนับ พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:โครงการพาสปอร์ตทองคำ โยงผู้ต้องสงสัย คดีฟอกเงิน 2.5 หมื่น ล.ที่สิงคโปร์
- ส่องคดีทุจริตโลก:ชี้เป็น ปย.ต่อประชาชน-ศาลสูงสั่ง สธ.แอฟริกาใต้ เปิดทุกสัญญาวัคซีนโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก:คนใกล้ชิด รมว.กห.ยูเครน เอี่ยวจัดซื้อชุดทหารฤดูหนาวด้อยคุณภาพ พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ตร.ออสซี่สั่งสอบ ปมสินบนนักการเมืองนาอูรู แลกสัญญาศูนย์กักกันหมื่นล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉเส้นเงินผิด กม.ผ่านภูมิภาคบอลข่านตะวันตก หลังสงครามรัสเซีย-ยูเครนปะทุ
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตอั๊งยี่จากมาเก๊า สู่นักธุรกิจทุนจีนสีเทา เจ้าของคาสิโนที่เมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ที่ปรึกษาออสซี่ใช้ความลับ รบ.ให้คำแนะนำเอื้อเอกชนยักษ์ใหญ่เลี่ยงภาษี
- ส่องคดีทุจริตโลก:ส.ส.ดังจอร์เจีย อ้างข้อผิดพลาด-ไร้เจตนาซุกอพาร์ทเมนท์หรู ณ ดูไบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: ทหารรับจ้างแวกเนอร์ยึดแอฟริกากลาง หนุนเผด็จการ แลกผลประโยชน์นับแสนล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:อาวุธสวีเดน ถูกอินเดียส่งออกให้ทัพเมียนมา ใช้ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปงเอกชนสวิส ตั้ง บ.ย่อย หลบคว่ำบาตร แอบขายน้ำมันรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมปัญหาการใช้กฎหมายใหม่แคนาดา รับมือโอลิการ์ชลงทุนสินทรัพย์มหาศาล
- ส่องคดีทุจริตโลก: จากปมสินบนโรลซ์รอยส์โยงกรณีอื้อฉาว จัดซื้อ บ.ฝึก ทอ.อินเดียนับหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เส้นทางทองคำ แสน ล.จาก 'รัสเซีย' สู่ UAE หลบมาตรการคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก: ยูเอ็นเผย 'สิงคโปร์' ส่งออกชิ้นส่วนให้กองทัพเมียนมา 8 พัน ล. หลัง รปห.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เผยความมั่งคั่งบิ๊ก ทอ.เมียนมา ให้เครือญาติตั้งบริษัทรับงานนับพันล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตลูกจ้างฟ้องศาล แฉ บ.แคนาดา จ่ายสินบน แลกสัญญารถเกราะยูเครน พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัทพลังงานเยอรมนี เอี่ยวส่งเชื้อเพลิง เอื้อกองทัพรัสเซีย บุกยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: สกอตแลนด์ทำสัญญาจ้างตุรเคีย ต่อเรือ 9 พัน ล. ท้องถิ่นไม่ได้ประโยชน์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกสารหลุดเพนตากอน แฉความสัมพันธ์ รัสเซีย- UAE ช่วยหลบมาตรการคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เจาะลึกระบบธนาคารใต้ดินจีน เอี่ยวฟอกเงินพันล้านแก๊งยาเสพติดยุโรป
- ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการ EU สั่งสอบ งบฟื้นฟูเมืองหลวงบัลแกเรียไม่โปร่งใส เสียหาย ร้อย ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.เซอร์เบีย ส่อใช้งานนักจารกรรมข้อมูลการเงินอิสราเอลโจมตีฝ่ายตรงข้าม
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกชนใกล้ชิดพรรคการเมือง ได้สัญญาส่งอาหารกองทัพลัตเวีย 8 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการสวิสสั่งฟัน 4 นายธนาคาร เอื้อประโยชน์คนสนิทปูตินฝากเงินนับพัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง 3 เอกชนเยอรมนี นำเข้าไม้สักผิด กม.จากเมียนมานานนับปี
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉ หน.ทหารรับจ้างวากเนอร์ หลบคว่ำบาตรตะวันตก หารายได้ พัน ล.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉคอร์รัปชั่นวงการก่อสร้างตุรเคีย ต้นเหตุยอดตายแผ่นดินไหว 4.6 หมื่นศพ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปม บ.เกลมาโต้ถูกกล่าวหาจ่ายคอมมิชชั่นเอื้อทำสัญญาหลาย รบ.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง บ.พลังงานยักษ์ใหญ่ตะวันตก ทำธุรกิจหนุนเส้นเงินเผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมฉาว กห.ยูเครนจัดซื้ออาหารไม่โปร่งใส กระทบความเชื่อมั่นต่างชาติ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ขมวดปมอื้อฉาว ATK สะเทือนพรรคคอมฯเวียดนามอย่างไร หลัง ปธน.ลาออก
- ส่องคดีทุจริตโลก: ตามรอยบุหรี่จีนนับล้านมวนสูญหาย หลังเดินทางออกจากโรงงานในโรมาเนีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงเอกชนรับงานบูรณะถนนยูเครนพันล้าน เชื่อมโยงผู้ต้องหาหนีคดี FBI
- ส่องคดีทุจริตโลก: ประมวลข่าวคอร์รัปชันโลกปี 65 จากโอลิการ์ชรัสเซียถึงเอกสารแพนโดรา