เมื่อเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา กระทรวงกลาโหมของเดนมาร์กออกมายอมรับว่าข้อเสนอของบริษัท Elbit จะหมดอายุในเดือน มิ.ย.นอกจากนี้บริษัท Nexter Systems ระบุว่าจะสามารถส่งมอบระบบอาวุธที่เดนมาร์กร้องขอได้ในช่วงปลายปี 2566 ไม่ใช่ในระยะเวลาสองปี ตามที่กระทรวงกลาโหมเดนมาร์กได้เคยกล่าวอ้างก่อนหน้านี้
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สัปดาห์นี้ขอนำเสนอความไม่โปร่งใสกรณีการจัดซื้อของกระทรวงกลาโหมประเทศเดนมาร์ก ที่ได้จัดซื้อยุทโธปกรณ์จากบริษัท Elbit Systems ประเทศอิสราเอล
เรื่องนี้สืบเนื่องจากที่ผ่านมา มีผู้ให้ความเห็นว่าบริษัท Elbit กำลังทำสิ่งที่ผิดอยู่ ในช่วงเวลาที่ประเทศสมาชิกองค์การนาโต อาทิ เดนมาร์กมีความจำเป็นต้องเติมคลังอาวุธของตัวเองซึ่งร่อยหรอลงหลังจากส่งอาวุธไปช่วยยูเครนรบรัสเซีย
แน่นอนว่าประเทศเหล่านี้ก็รวมไปถึงเดนมาร์ก โดยช่วงเดือน ม.ค. รัฐบาลเดนมาร์กทำสิ่งที่หลายคนค่อนข้างตกใจ ก็คือการประกาศข้อตกลงมูลค่า 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (8,992,500,000 บาท) กับบริษัท Elbit เพื่อจัดหาปืนใหญ่ฮาวอิตเซอร์ (Howitzer) จำนวน 19 กระบอก เพื่อทดแทนปืนใหญ่ที่ส่งไปยังยูเครน
ที่บอกว่าเป็นเรื่องน่าตกในเพราะว่าข้อตกลงนี้ย้อนแย้งกับในช่วงเวลาหลายปีก่อนที่เดนมาร์กแสดงจุดยืนต่อต้านข้อตกลงด้านอาวุธกับอิสราเอล เนื่องจากอิสราเอลได้ดำเนินสิ่งที่ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ และละเมิดสิทธิมนุษยชนปาเลสไตน์
สำหรับบริษัท Elbit กองทุนบำเหน็จบำนาญของเดนมาร์กได้ขึ้นบัญชีดำบริษัทนี้เป็นเวลาหลายปีแล้ว เพราะประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชน เนื่องจากบริษัทนี้ได้จัดหาโดรนกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ที่ถูกใช้กับพลเรือนในฉนวนกาซาและเขตเวสแบงก์ และเหตุการณ์เหล่านี้ก็ยังเป็นสิ่งที่บริษัท Elbit นำไปโฆษณาว่าเป็นสิ่งที่ถูกนำไปใช้แก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
งานแสดงอาวุธของบริษัท Elbit
ในที่สุด ข้อตกลงที่ถูกประกาศเมื่อเดือน ม.ค. ก็ถูกคว่ำบาตรโดยรัฐบาลผสมกลางซ้ายของเดนมาร์กซึ่งนําโดยพรรคสังคมประชาธิปไตย นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากพรรคฝ่ายซ้ายสองพรรค ได้แก่ SF (ฝ่ายซ้ายสีเขียวในภาษาอังกฤษ) และ De Radikale (พรรคเสรีนิยมสังคม) และย้อนไปเมื่อปี 2558 พรรค SF ก็เคยออกแสดงจุดยืนยกเลิกข้อตกลงด้านอาวุธที่มีลักษณะคล้ายๆกัน โดยยกเลิกในนาทีสุดท้ายหลังจากที่สาธารณชนออกมาแสดงความไม่พอใจต่อการจัดซื้ออาวุธจากอิสราเอล
@จุดอ่อน
ข้อตกลงที่ถูกยกเลิกดังกล่าวดูเหมือนจะเป็นข้อบ่งชี้อันสำคัญว่ามีกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างที่เร่งรีบ และทำให้เกิดความสับสนในครั้งนี้
ก่อนหน้าการทำข้อตกลงในเดือน ม.ค. เจ้าหน้าที่จากกระทรวงกลาโหมเดนมาร์กได้ให้การต่อรัฐสภาว่าข้อตกลงการจัดหายุทโธปกรณ์มีความจำเป็นต้องดำเนินการอย่างเร่งรีบ เพราะข้อเสนอของบริษัท Elbit จะสิ้นสุดในสิ้นเดือน ม.ค.แล้ว และเจ้าหน้าที่อ้างต่อว่าบริษัทผู้ผลิตอาวุธรายใหญ่อื่นๆ รวมถึงบริษัท Nexter Systems ของฝรั่งเศสและ Hanwha Systems ของเกาหลีใต้ไม่สามารถส่งมอบอาวุธให้กับเดนมาร์กได้ทันเวลา
อย่างไรก็ตาม คำกล่าวอ้างนี้ดูเหมือนจะไม่เป็นความจริง
เพราะเมื่อเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา กระทรวงกลาโหมของเดนมาร์กออกมายอมรับว่าข้อเสนอของบริษัท Elbit จะหมดอายุในเดือน มิ.ย.นอกจากนี้บริษัท Nexter Systems ระบุว่าจะสามารถส่งมอบระบบอาวุธที่เดนมาร์กร้องขอได้ในช่วงปลายปี 2566 ไม่ใช่ในระยะเวลาสองปี ตามที่กระทรวงกลาโหมเดนมาร์กได้เคยกล่าวอ้างก่อนหน้านี้
สิ่งที่ทำให้กระทรวงกลาโหมเดนมาร์กอับอายยิ่งขึ้นไปอีกก็คือว่าระบบอาวุธของ Elbit ที่เดนมาร์กได้จัดซื้อมา ไม่สามารถเข้ากันได้กับระบบอาวุธของนาโต ซึ่งเรื่องนี้ถูกระบุในรายงานของนาย เจมส์ ฮิปพีย์ (James Heappey) รัฐมนตรีกระทรวงกิจการกองกำลังและทหารผ่านศึกสหราชอาณาจักร
ในเดือน ก.พ. นายฮิปพีย์ กล่าวกับสื่อของรัฐบาลเดนมาร์กชื่อว่า DR ตอนหนึ่งว่าการจัดซื้ออาวุธของเดนมาร์ก เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้เลยว่ายังมีจุดอ่อนอยู่ในระบบป้องกันของนาโต และอาจจะทำให้เดนมาร์กต้องสูญเสียทั้งในแง่ของการเงินและความสามารถในการป้องกันประเทศ
“ไม่ว่าระบบอาวุธแต่ละระบบจะมีประสิทธิภาพเพียงใด แต่บทเรียนในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา นับตั้งแต่รัสเซียบุกยูเครน นั่นก็คือโลจิสติกส์ที่เป็นตัวกําหนดความสําเร็จในสนามรบ” นายฮิปพีย์กล่าวเมื่อเดือน ก.พ.
นี่ทำให้คำถามและข้อสงสัยด้านการจัดซื้ออาวุธที่ปรากฏตามสื่อของเดนมาร์กทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
ข่าวเดนมาร์กส่งปืนใหญ่ไปให้ยูเครนเมื่อเดือน พ.ค. (อ้างอิงวิดีโอจาก Military TV)
ต่อมาในเดือน ส.ค. นายจาคอบ เอลเลแมน-เจนเซ่น (Jakob Elleman-Jensen) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมที่เป็นผู้ดูแลการเซ็นสัญญาข้อตกลง ซึ่งเพิ่งจะกลับมาปฏิบัติหน้าที่เพราะลางานตั้งแต่เดือน ก.พ. ด้วยเหตุผลเรื่องความเครียด ก็ได้ไล่ข้าราชการระดับสูงของกระทรวงของกระทรวงออก เพราะประเด็นข้อตกลงไม่โปร่งใสในครั้งนี้ และเขาได้ขอโทษต่อรัฐสภา ในประเด็นเรื่องการให้ข้อมูลอันสับสนและชวนให้เข้าใจผิดต่อฝ่ายนิติบัญญัติ
จากนั้น ก็มีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งรัฐมนตรี โดยนายเอลเลแมน-เจนเซ่น ถูกโยกจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ไปนั่งตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ แต่ประเด็นคำถามว่าเขารู้อะไรเกี่ยวกับข้อตกลง และข้อมูลอะไร รวมไปถึงเมื่อใดที่เขาได้ให้ข้อมูลต่อรัฐสภา ยังคงอยู่ต่อไป
@คดีหลุด
หน่วยงานกลาโหมของเดนมาร์ก ยังคงไม่หลุดพ้นจากภาระในประเด็นข้อตกลงนี้
เพราะเมื่อวันที่ 31 ส.ค. สำนักข่าวออนไลน์ของเดนมาร์กชื่อว่า Altinget รายงานข่าวกรณีสัญญาซึ่งถูกผลักดันให้ผ่านรัฐสภาเพียงไม่กี่วันหลังจากที่บริษัท Elbit ตกลงจะถอนคดีที่มีต่อรัฐเดนมาร์ก ในประเด็นเรื่องการยกเลิกข้อตกลงอาวุธในปี 2558 นี่ทำให้เกิดคำถามว่าทั้งสองกรณีเกี่ยวข้องกันหรือไม่
เพียงไม่กี่สัปดาห์ก่อนที่ข้อตกลงจะถูกนําเสนอต่อคณะกรรมการรัฐสภา สำนักข่าว Altinget พบว่าบริษัท Elbit ได้เรียกร้องให้เดนมาร์กดำเนินการมากขึ้นเพื่อจัดซื้ออาวุธของอิสราเอลและให้ดำเนินการหลีกเลี่ยงขั้นตอนปกติเพื่อเร่งข้อตกลงดังกล่าว แลกกับการที่บริษัทจะยุติการฟ้องร้อง
แต่ฝ่ายจัดซื้อของกระทรวงกลาโหมเดนมาร์กปฏิเสธ และยืนยันว่าการถอนฟ้องคดีกับข้อตกลงจัดซื้ออาวุธนั้นไม่มีความเกี่ยวข้องกัน
“ข้อเรียกร้องของบริษัท Elbit ไม่ได้ถูกรวมอยู่ในข้อสรุปของคดีความนี้” ฝ่ายจัดซื้อกระทรวงกลาโหมระบุ
แต่ฝ่ายค้านเดนมาร์กดูจะไม่เชื่อคำกล่าวอ้างเหล่านี้
“จากคําอธิบายอย่างเป็นทางการดูเหมือนว่ามีความพยายามโดยพฤตินัยของ Elbit เพื่อให้แน่ใจว่าเดนมาร์กจะให้คํามั่นว่าจะดําเนินการซื้อค่าตอบแทนที่เรียกว่าการจัดซื้อเพื่อชดเชยความเสียหาย” นายคาร์สเตน บาค (Carsten Bach) โฆษกด้านกลาโหม กลุ่มพันธมิตรเสรีนิยมซึ่งเป็นกลุ่มฝ่ายขวาของพรรคในรัฐสภาเดนมาร์กให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว Altinget
ขณะที่นายโทรล ลันด์ โพลเซน (Troels Lund Poulsen) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมคนใหม่ ให้คํามั่นว่าจะดำเนินการสอบสวนที่เป็นอิสระ ในเรื่องนี้ และในเดือน ก.ย. พรรคฝ่ายค้านได้ออกมาเรียกร้องให้มีการชี้แจงว่าสำนักนายกรัฐมนตรีของนางเมตต์ เฟรเดอริกเซ่น (Mette Frederiksen) ทราบเกี่ยวกับข้อตกลงนี้มากแค่ไหน ก่อนที่ข้อตกลงจะเดินหน้า
เป็นที่ชัดเจนว่าบริษัท Elbit รับทราบว่าสงครามยูเครนรัสเซียที่กำลังดำเนินไป ทำให้ความต้องการอาวุธเพิ่มมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากบประมาณทางทหารของยุโรปที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก
ในเดือน เม.ย. เนเธอร์แลนด์ได้ประกาศว่าจะซื้อระบบอาวุธของ Elbit แม้ว่าก่อนหน้านี้จะข้อตกลงอาวุธกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะครอบคลุมความต้องการอาวุธทั้งหมดของเนเธอร์แลนด์แล้วก็ตาม
อนึ่งข้อตกลงระหว่างบริษัท Elbit กับเดนมาร์กไม่ได้ถูกยกเลิก แม้ว่าจะมีปัญหาในเรื่องกระบวนการทำสัญญา โดยช่วงเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา Elbit ได้ส่งยุทโธปกรณ์ลอตแรกให้กับเดนมาร์กไปแล้ว
แต่เรื่องทั้งหมดก็ทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับความเป็นผู้นำของนางเมตต์ เฟรเดอริกเซ่น เพราะภายใต้การนำของเธอ เดนมาร์กดูเหมือนว่าจะทิ้งหลักการที่มีเกี่ยวกับการซื้ออาวุธจากอิสราเอล และแทนที่ด้วยสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
เรียบเรียงจาก:https://electronicintifada.net/blogs/omar-karmi/murky-israel-deal-embroils-denmark-scandal
อ่านประกอบ:
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉทุนจีนสีเทา ถูกจับข้อหาฟอกเงินที่สิงคโปร์ ซื้ออสังหาฯ พันล. ณ ลอนดอน
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉเอกชนอิสราเอล ส่งยุทธภัณฑ์ลอตใหญ่ให้เมียนมา หลังรัฐประหาร
- ส่องคดีทุจริตโลก: จนท.ยูเครนจับอดีตผู้สนับสนุน ปธน.เซเลนสกี โยงทุจริต-ฟอกเงินนับ พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:โครงการพาสปอร์ตทองคำ โยงผู้ต้องสงสัย คดีฟอกเงิน 2.5 หมื่น ล.ที่สิงคโปร์
- ส่องคดีทุจริตโลก:ชี้เป็น ปย.ต่อประชาชน-ศาลสูงสั่ง สธ.แอฟริกาใต้ เปิดทุกสัญญาวัคซีนโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก:คนใกล้ชิด รมว.กห.ยูเครน เอี่ยวจัดซื้อชุดทหารฤดูหนาวด้อยคุณภาพ พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ตร.ออสซี่สั่งสอบ ปมสินบนนักการเมืองนาอูรู แลกสัญญาศูนย์กักกันหมื่นล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉเส้นเงินผิด กม.ผ่านภูมิภาคบอลข่านตะวันตก หลังสงครามรัสเซีย-ยูเครนปะทุ
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตอั๊งยี่จากมาเก๊า สู่นักธุรกิจทุนจีนสีเทา เจ้าของคาสิโนที่เมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ที่ปรึกษาออสซี่ใช้ความลับ รบ.ให้คำแนะนำเอื้อเอกชนยักษ์ใหญ่เลี่ยงภาษี
- ส่องคดีทุจริตโลก:ส.ส.ดังจอร์เจีย อ้างข้อผิดพลาด-ไร้เจตนาซุกอพาร์ทเมนท์หรู ณ ดูไบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: ทหารรับจ้างแวกเนอร์ยึดแอฟริกากลาง หนุนเผด็จการ แลกผลประโยชน์นับแสนล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:อาวุธสวีเดน ถูกอินเดียส่งออกให้ทัพเมียนมา ใช้ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปงเอกชนสวิส ตั้ง บ.ย่อย หลบคว่ำบาตร แอบขายน้ำมันรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมปัญหาการใช้กฎหมายใหม่แคนาดา รับมือโอลิการ์ชลงทุนสินทรัพย์มหาศาล
- ส่องคดีทุจริตโลก: จากปมสินบนโรลซ์รอยส์โยงกรณีอื้อฉาว จัดซื้อ บ.ฝึก ทอ.อินเดียนับหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เส้นทางทองคำ แสน ล.จาก 'รัสเซีย' สู่ UAE หลบมาตรการคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก: ยูเอ็นเผย 'สิงคโปร์' ส่งออกชิ้นส่วนให้กองทัพเมียนมา 8 พัน ล. หลัง รปห.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เผยความมั่งคั่งบิ๊ก ทอ.เมียนมา ให้เครือญาติตั้งบริษัทรับงานนับพันล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตลูกจ้างฟ้องศาล แฉ บ.แคนาดา จ่ายสินบน แลกสัญญารถเกราะยูเครน พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัทพลังงานเยอรมนี เอี่ยวส่งเชื้อเพลิง เอื้อกองทัพรัสเซีย บุกยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: สกอตแลนด์ทำสัญญาจ้างตุรเคีย ต่อเรือ 9 พัน ล. ท้องถิ่นไม่ได้ประโยชน์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกสารหลุดเพนตากอน แฉความสัมพันธ์ รัสเซีย- UAE ช่วยหลบมาตรการคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เจาะลึกระบบธนาคารใต้ดินจีน เอี่ยวฟอกเงินพันล้านแก๊งยาเสพติดยุโรป
- ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการ EU สั่งสอบ งบฟื้นฟูเมืองหลวงบัลแกเรียไม่โปร่งใส เสียหาย ร้อย ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.เซอร์เบีย ส่อใช้งานนักจารกรรมข้อมูลการเงินอิสราเอลโจมตีฝ่ายตรงข้าม
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกชนใกล้ชิดพรรคการเมือง ได้สัญญาส่งอาหารกองทัพลัตเวีย 8 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการสวิสสั่งฟัน 4 นายธนาคาร เอื้อประโยชน์คนสนิทปูตินฝากเงินนับพัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง 3 เอกชนเยอรมนี นำเข้าไม้สักผิด กม.จากเมียนมานานนับปี
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉ หน.ทหารรับจ้างวากเนอร์ หลบคว่ำบาตรตะวันตก หารายได้ พัน ล.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉคอร์รัปชั่นวงการก่อสร้างตุรเคีย ต้นเหตุยอดตายแผ่นดินไหว 4.6 หมื่นศพ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปม บ.เกลมาโต้ถูกกล่าวหาจ่ายคอมมิชชั่นเอื้อทำสัญญาหลาย รบ.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง บ.พลังงานยักษ์ใหญ่ตะวันตก ทำธุรกิจหนุนเส้นเงินเผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมฉาว กห.ยูเครนจัดซื้ออาหารไม่โปร่งใส กระทบความเชื่อมั่นต่างชาติ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ขมวดปมอื้อฉาว ATK สะเทือนพรรคคอมฯเวียดนามอย่างไร หลัง ปธน.ลาออก
- ส่องคดีทุจริตโลก: ตามรอยบุหรี่จีนนับล้านมวนสูญหาย หลังเดินทางออกจากโรงงานในโรมาเนีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงเอกชนรับงานบูรณะถนนยูเครนพันล้าน เชื่อมโยงผู้ต้องหาหนีคดี FBI
- ส่องคดีทุจริตโลก: ประมวลข่าวคอร์รัปชันโลกปี 65 จากโอลิการ์ชรัสเซียถึงเอกสารแพนโดรา