บริษัท IAI ของอิสราเอลได้ส่งสินค้าอีกสองเที่ยวในช่วงเดือน มี.ค.และเดือน เม.ย. 2563 ขนส่งอีกสองเที่ยวในช่วงเดือน มี.ค.และ พ.ย. 2564 และขนส่งสินค้ายุทธภัณฑ์สองเที่ยวสุดท้ายไปเมื่อเดือน ก.พ.และเดือน มี.ค. 2565 ซึ่งในช่วงเวลาการขนส่งสินค้าดังกล่าว พบว่าเป็นช่วงเดียวกับที่กองทัพเมียนมาได้ดำเนินปฏิบัติการทางทหารเพื่อปราบปรามฝ่ายตรงข้ามอย่างโหดเหี้ยม
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สัปดาห์นี้ขอนำเสนอประเด็นเรื่องการขายยุทธภัณฑ์ให้กับกองทัพเมียนมา โดยสำนักข่าว Fronter Myanmar ซึ่งเป็นสำนักข่าวที่รายงานข่าวเชิงลึกเกี่ยวกับความขัดแย้งในประเทศเมียนมา ได้รายงานกรณีที่บริษัทในประเทศอิสราเอลได้ขายยุทธภัณฑ์ให้กับกองทัพเมียนมาระบุว่า
ประเทศอิสราเอลเป็นอีกประเทศที่ได้มีการจัดหายุทธภัณฑ์ให้กับกองทัพเมียนมา แม้กระทั่งหลังจากการรัฐประหารในปี 2564 โดยข้อมูลนี้มาจากจากพลอากาศโทกองทัพอากาศเมียนมารายหนึ่ง ที่ขอไม่เปิดเผยชื่อของตัวเอง
รัฐวิสาหกิจสัญชาติอิสราเอล ชื่อว่าบริษัท Israel Aerospace Industries Ltd ซึ่งทำหน้าที่ออกแบบและผิดอุปกรณ์การบินเพื่อใช้กับทั้งในการทหารและในพลเรือน พบข้อมูลว่ารัฐวิสาหกิจแห่งนี้ได้เคยส่งสินค้าเป็นจำนวนสี่เที่ยวไปยังเมียนมา นับตั้งแต่เดือน ก.พ. 2564 เป็นต้น ซึ่งสินค้าสี่เที่ยวถูกสำแดงรายการสินค้าว่าเป็นชิ้นส่วนอากาศยาน
ขณะที่ข้อมูลการค้าระบุว่าการขนส่งสินค้าจำนวนสี่ครั้งนี้เป็นไปตามการฝากขายที่เริ่มตั้งแต่ปี 2562 อย่างไรก็ตามการกระทำดังกล่าวถือว่าผิดข้อตกลงการห้ามขนส่งอาวุธไปยังเมียนมา ซึ่งออกโดยสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปหรืออียู
บริษัท IAI ได้ส่งสินค้าสองเที่ยวแรกไปยังประเทศเมียนมา เริ่มตั้งแต่เดือน ก.ค.และ ส.ค. 2562 ตามลำดับ ซึ่งการส่งสินค้าเกิดขึ้นหนึ่งเดือนหลังจากที่บุคลากรทางทหารของเมียนมาหลายนายได้เข้าร่วมงานมหกรรมด้านกลาโหมและความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของอิสราเอล (Israel Defense and Homeland Security Expo) โดยงานนี้ถือเป็นงานแสดงอาวุธครั้งใหญ่ที่สุดที่จัดขึ้น ณ กรุงเทลอาวีฟ
งานมหกรรมด้านกลาโหมและความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของอิสราเอลที่จัดขึ้นในปี 2562 (อ้างอิงวิดีโอจาก DefenseWeb TV)
ต่อมาบริษัท IAI ของอิสราเอลได้ส่งสินค้าอีกสองเที่ยวในช่วงเดือน มี.ค.และเดือน เม.ย. 2563 ขนส่งอีกสองเที่ยวในช่วงเดือน มี.ค.และ พ.ย. 2564 และขนส่งสินค้ายุทธภัณฑ์สองเที่ยวสุดท้ายไปเมื่อเดือน ก.พ.และเดือน มี.ค. 2565 ซึ่งในช่วงเวลาการขนส่งสินค้าดังกล่าว พบว่าเป็นช่วงเดียวกับที่กองทัพเมียนมาได้ดำเนินปฏิบัติการทางทหารเพื่อปราบปรามฝ่ายตรงข้ามอย่างโหดเหี้ยม เป็นเหตุให้สหรัฐอเมริกา,สหภาพยุโรป,แคนาดา และสหราชอาณาจักรออกมาตรการคว่ำบาตรต่อการจัดซื้ออุปกรณ์ด้านกลาโหมทั้งหมดของเมียนมา
ยิ่งไปกว่านั้นการขนส่งยุทธภัณฑ์สามเที่ยวสุดท้ายของรัฐวิสาหกิจแห่งนี้ไปยังประเทศเมียนมา เกิดขึ้นหลังจากที่อิสราเอลได้โหวตสนับสนุนแนวทางของที่ประชุมสหประชาชาติในปี 2564 ซึ่งเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกสหประชาชาติป้องกันการหลั่งไหลของอาวุธเข้าสู่ประเทศเมียนมา
พลอากาศโทของกองทัพอากาศเมียนมายังได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว Frontier เมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ระบุว่าประเทศต่างๆเช่นอิสราเอลกำลังขายชิ้นส่วน อะไหล่เครื่องบิน และยุทธภัณฑ์อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเครื่องบินให้กับกองทัพเมียนมา ซึ่งการจัดส่งมีขึ้นทั้งก่อนและหลังการรัฐประหาร ทว่าพลอากาศโทคนนี้ไม่ได้บอกว่ายุทธภัณฑ์เหล่านี้ถูกใช้อย่างไรบ้าง และหลังจากนั้น สำนักข่าวก็ไม่สามารถติดต่อพลอากาศโทคนนี้ได้อีกเลย
จากข้อมูลการค้าที่สำนักข่าว Frontier ได้รับมา พบว่าการขนส่งยุทธภัณฑ์เป็นจำนวนทั้งแปดครั้ง ล้วนมีต้นทางออกจากท่าเรืออัชโดด (Ashdod) ที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของกรุงเทลอาวีฟ บนชายฝั่งตะวันตกของอิสราเอล และมีปลายทางการขนถ่ายสินค้าที่นี้นครย่างกุ้ง โดยบันทึกจัดส่ง ระบุว่าบริษัท DHL เป็นผู้ที่จัดส่งและดำเนินการจอง แม้ว่าโฆษกของบริษัท DHL Group จะเคยให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว Frontier ว่าไม่สามารถจะระบุการขนส่งใดๆทีได้ดำเนินการกับบริษัท DHL ได้ก็ตาม
สินค้าที่มีการจัดส่ง ถูกอธิบายบนบันทึกการจัดส่งว่าเป็น “แผ่นโลหะ” แต่ไม่มีข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติม ทว่าบนเว็บไซต์ของบริษัท IAI ที่อิสราเอล กลับมีการโฆษณาการขายแผ่นเหล็กและเครื่องจักรเอาไว้ ระบุว่าเป็นชิ้นส่วนสําหรับ "ผลิตภัณฑ์การบินและอวกาศ" แต่ก็ไม่ชัดเจนว่าแผ่นโลหะที่ได้มีการจัดส่งกับแผ่นเหล็กที่ถูกโฆษณาบนเว็บไซต์บริษัท IAI เป็นสิ่งเดียวกันหรือไม่
บันทึกการส่งออกยุทธภัณฑ์จากอิสราเอลไปยังประเทศเมียนมา โดยเฉพาะหลังจากรัฐประหารแล้ว
บริษัทเองก็ไม่ได้ตอบคำถามของสำนักข่าว Frontier แต่ว่าในรายงานข่าวของสำนักข่าว Haaretz ของประเทศอิสราเอล ได้มีการอ้างอิงข้อมูลการค้าในชุดเดียวกัน และอ้างอิงคำชี้แจงของบริษัทด้วยที่ระบุว่า “บริษัท IAI ไม่มีธุรกรรมกับพม่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้” และระบุต่อไปอีกว่าบริษัทได้ดำเนินการตามนโยบายของหน่วยงานควบคุมการส่งออกของกระทรวงกลาโหมอิสราเอล
สำนักข่าว Haaretz รายงานต่อไปอีกว่าพบว่ามีอีกบริษัทชื่อว่าบริษัท Elbit Systems ซึ่งเป็นบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ด้านการป้องกันประเทศที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์อิสราเอล ได้ขายระบบทางการทหารให้กับกองทัพอากาศเมียนมา รวมไปถึงเครื่องมือติดตั้งเพื่อใช้ในการเคลื่อนที่เพื่อการรบทางอากาศ,ชิ้นส่วนสำหรับอากาศยานไร้คนขับหรือยูเอวี และชิ้นส่วนสำหรับป้อมปืนเรือที่สามารถบังคับจากระยะไกลได้ แต่ว่าตอนนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่าสินค้าของบริษัท Elbit Systems เหล่านี้ถูกขายให้กับกองทัพเมียนมาในช่วงก่อนหรือหลังรัฐประหารกันแน่
การส่งของของบริษัท IAI ถูกรายงานทันทีว่าเป็นการค้าของประเทศอิสราเอลกับกองทัพประเทศเมียนมาที่เกิดขึ้น หลังจากเหตุการณ์ทหารยึดอำนาจ ทั้งๆที่อิสราเอลก็เป็นประเทศพันธมิตรกับสหรัฐฯ โดยนอกเหนือจากอิสราเอลแล้ว ก็ยังมีประเทศอื่นๆที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับตะวันตก อาทิ จีนและรัสเซีย ก็ยังคงดำเนินการส่งยุทธภัณฑ์ให้กับกองทัพเมียนมา หลังจากเหตุรัฐประหารรัฐบาลพลเรือนและปฏิบัติการอันโหดร้องของกองทัพทั่วประเทศเมียนมา
ขณะที่สถานทูตของประเทศอิสราเอลประจำนครย่างกุ้งก็ปฏิเสธจะให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว Frontier ในประเด็นเหล่านี้เช่นกัน
@ความผูกพันอันยาวนาน
ประเทศเมียนมากับประเทศอิสราเอลมีความผูกพันทางทหารที่ยาวนาน โดยเมียนมาเป็นประเทศแรกๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนที่ให้การรับรองประเทศอิสราเอลนับตั้งแต่ก่อตั้งประเทศในปี ค.ศ. 1948 ซึ่งการก่อตั้งประเทศอิสราเอลนี้เกิดขึ้นไม่กี่เดือนหลังจากที่เมียนมาเป็นเอกราชจากสหราชอาณาจักร และหลังจากนั้นหลายปี กองทัพเมียนมาก็มักส่งเจ้าหน้าที่ไปอิสราเอลเป็นประจำเพื่อติดต่อซื้ออาวุธและสร้างอาวุธของตัวเองขึ้นมา
ตามข้อมูลงานวิจัยของนายแอนดรูว์ เซลท์ นักวิชาการด้านความมั่นคง ระบุว่าความสัมพันธ์เหล่านี้อ่อนแอลงมากเมื่อนายพลเนวินได้เข้ามาปกครองและทำให้เมียนมาโดดเดี่ยวจากประชาคมโลกในช่วงปี ค.ศ. 1962-1988 แต่ความสัมพันธ์ที่ว่าก็กลับมาแข็งแกร่งเหมือนเดิมในช่วงที่เผด็จการทหารเมียนมาปกครองประเทศในปี ค.ศ.1988-2011
ความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นนี้ยังคงดําเนินต่อไปในช่วงทศวรรษต่อมาภายใต้การปกครองรัฐบาลทหารกึ่งพลเรือน ไม่นานก่อนการรัฐประหารปี 2564 ในช่วงปี 2563 บริษัท Cognyte Software ของอิสราเอลชนะการประกวดราคาเพื่อขายสปายแวร์สกัดกั้นให้กับบริษัท Myanma Posts and Telecommunications ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้กระทรวงคมนาคมและการสื่อสารของเมียนมา
และในปี 2565 ที่ผ่านมา บริษัทอิสราเอลอีกแห่งชื่อว่า CAA Industries Ltd ซึ่งเป็นบริษัทผลิตอาวุธได้ขายยุทธภัณฑ์เพื่อใช้อัพเกรดปืนเล็กยาวให้กับกองทัพเมียนมาคิดเป็นมูลค่ากว่า 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (178,887,500 บาท) ให้กับบริษัทชื่อว่าสตาร์แซฟไฟร์เทรดดิ้งหรือ Star Sapphire Trading ซึ่งเป็นบริษัทที่ถูกควบคุมโดยนายทุน มิน ลัต นายหน้าค้าอาวุธให้กับกองทัพเมียนมา
โดยปัจจุบันทั้งตัวบริษัทสตาร์แซฟไฟร์เทรดดิ้ง ,นายทุน มิน ลัต นั้นถูกคว่ำบาตรจากทางสหรัฐฯ และนายทุน มิน ลัต ก็ถูกควบคุมตัวโดนทางการไทยนับตั้งแต่เดือน ก.ย. ปี 2565 ด้วยข้อหาลักลอบค้ายาเสพติดและฟอกเงิน (อ่านประกอบ:ปิด 3 บ.เครือข่าย 'ทุน มิน ลัต' หนีคว่ำบาตร-NGO จี้ไทยยึดทรัพย์ลูก 'มิน อ่อง หล่าย')
บริษัท IAI เคยถูกกล่าวหาอีกว่าได้จัดหาเรือเร็วโจมตีรุ่น Super-Dvora Mk III ให้กับกองทัพเรือเมียนมาในช่วงเดือน เม.ย. 2562 ซึ่งเป็นช่วงเวลาไม่ถึงหนึ่งปีหลังจากที่กองทัพเมียนมาได้เปิดปฏิบัติการทางทหารอันโหดร้ายในพื้นที่รัฐยะไข่ เพื่อตอบโต้การโจมตีของกลุ่มติดอาวุธโรฮิงญาในเดือน ต.ค. 2559
เรือSuper-Dvora Mk III ของกองทัพเรือเมียนมา (อ้างอิงวิดีโอจาก Asian Defense)
ในช่วงเวลาไม่นานก่อนที่เรือเร็วของบริษัท IAI จะถูกส่งไปเมียนมา มีการยื่นคำร้องต่อศาลยุติธรรมของอิสราเอลเพื่อขอคำสั่งห้ามไม่ให้มีความร่วมมือด้านกลาโหมกับประเทศเมียนมา
ทว่าคำสั่งปิดปากตามกฎหมายอิสราเอล ทำให้คำตัดสินของศาลไม่เคยถูกเปิดเผยสู่สาธารณะ อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่ปี 2561 รัฐบาลอิสราเอลได้ออกมาปฏิเสธซ้ำแล้วซ้ำเล่าในเรื่องประเด็นการส่งออกยุทโธปกรณ์ทางทหารไปยังประเทศเมียนมา
รัฐบาลอิสราเอลยังอ้างอีกว่าอิสราเอลได้เข้าร่วมกับอีกหลายประเทศ รวมถึงออสเตรเลีย เยอรมนี และเกาหลีใต้ ในการลดระดับตัวแทนในเมียนมาจากเอกอัครราชทูตไปเป็นอุปทูตหลังการรัฐประหาร
ทางด้านของนางมา ยาดานาร์ หม่อง (Ma Yadanar Maung) โฆษกจากกลุ่มเคลื่อนไหว Justice For Myanmar ได้ออกมากล่าวว่าทางการอิสราเอลควรสอบสวนธุรกิจของบริษัท IAI กับกองทัพเมียนมาอย่างเร่งด่วน และรับรองความรับผิดชอบต่อการละเมิดคําตัดสินของศาลสูงของอิสราเอลและความรับผิดชอบภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ
“ถึงเวลาแล้วที่อิสราเอลจะยืนหยัดเคียงข้างประชาชนเมียนมาและยุติการสนับสนุนรัฐบาลทหารนอกกฎหมายทั้งหมด” นางมากล่าว
ส่วนนายเอเตย์ แม็ค นักสิทธิมนุษยชนอิสราเอลได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว Frontier ว่าแม้ว่าอิสราเอลไม่ได้หยุดส่งออกยุทโธปกรณ์ทางการทหารไปที่ประเทศเมียนมา แต่คำสั่งศาลสูงอิสราเอลก็ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง เพราะจากเดิมอิสราเอลได้ส่งออกยุทโธปกรณ์ อาวุธ และยานพาหนะขนาดใหญ่ ไปยังประเทศเมียนมา แต่พอหลังศาลมีคำตัดสิน อิสราเอลก็เปลี่ยนไปส่งชิ้นส่วน ยุทธภัณฑ์ขนาดเล็กแทน อย่างไรก็ตาม การส่งออกยุทธภัณฑ์ขนาดเล็ก ก็ยังส่งผลทำให้เมียนมาสามารถผลิตอาวุธของตัวเองได้อยู่
นายแม็ค ซึ่งเป็นผู้ยื่นคําขอต่ออัยการสูงสุดของอิสราเอลเมื่อต้นปีที่ผ่านมาเพื่อสอบสวนบริษัท CAA ได้กล่าวอีกว่า"ถ้าเป็นแค่ชิ้นส่วนบางชิ้นส่วน การกระทำเช่นนี้ก็เหมือนกับเป็นการเลี่ยงบาลี เราเห็นรูปแบบนี้กับบริษัท Cognyte กับบริษัท CAA แล้ว และตอนนี้ก็มีกรณีชิ้นส่วนจากบริษัท IAI”
นักสิทธิมนุษยชนอิสราเอลยังได้ตั้งข้อสังเกตต่อไปอีกว่าเหตุใด อิสราเอลถึงเลือกที่จะแสดงตัวชัดเจนว่ายังเป็นผู้ส่งออกยุทธภัณฑ์ไปที่ประเทศเมียนมา แทนที่จะเป็นการใช้งานประเทศที่สาม
“บางที นี่อาจเป็นแถลงการณ์ทางการเมือง เพื่อจะสื่อไปยังรัฐบาลทหารเมียนมาก็เป็นได้ ว่าตอนนี้เรามีปัญหาเกี่ยวกับการมีความสัมพันธ์ที่เปิดเผยกับคุณ แต่เราจะยังคงสนับสนุนคุณอยู่” นายแม็คกล่าว
เรียบเรียงจาก:https://www.frontiermyanmar.net/en/sources-reveal-israeli-shipments-to-myanmar-military-after-coup/
อ่านประกอบ:
- ส่องคดีทุจริตโลก: จนท.ยูเครนจับอดีตผู้สนับสนุน ปธน.เซเลนสกี โยงทุจริต-ฟอกเงินนับ พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:โครงการพาสปอร์ตทองคำ โยงผู้ต้องสงสัย คดีฟอกเงิน 2.5 หมื่น ล.ที่สิงคโปร์
- ส่องคดีทุจริตโลก:ชี้เป็น ปย.ต่อประชาชน-ศาลสูงสั่ง สธ.แอฟริกาใต้ เปิดทุกสัญญาวัคซีนโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก:คนใกล้ชิด รมว.กห.ยูเครน เอี่ยวจัดซื้อชุดทหารฤดูหนาวด้อยคุณภาพ พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ตร.ออสซี่สั่งสอบ ปมสินบนนักการเมืองนาอูรู แลกสัญญาศูนย์กักกันหมื่นล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉเส้นเงินผิด กม.ผ่านภูมิภาคบอลข่านตะวันตก หลังสงครามรัสเซีย-ยูเครนปะทุ
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตอั๊งยี่จากมาเก๊า สู่นักธุรกิจทุนจีนสีเทา เจ้าของคาสิโนที่เมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ที่ปรึกษาออสซี่ใช้ความลับ รบ.ให้คำแนะนำเอื้อเอกชนยักษ์ใหญ่เลี่ยงภาษี
- ส่องคดีทุจริตโลก:ส.ส.ดังจอร์เจีย อ้างข้อผิดพลาด-ไร้เจตนาซุกอพาร์ทเมนท์หรู ณ ดูไบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: ทหารรับจ้างแวกเนอร์ยึดแอฟริกากลาง หนุนเผด็จการ แลกผลประโยชน์นับแสนล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:อาวุธสวีเดน ถูกอินเดียส่งออกให้ทัพเมียนมา ใช้ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปงเอกชนสวิส ตั้ง บ.ย่อย หลบคว่ำบาตร แอบขายน้ำมันรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมปัญหาการใช้กฎหมายใหม่แคนาดา รับมือโอลิการ์ชลงทุนสินทรัพย์มหาศาล
- ส่องคดีทุจริตโลก: จากปมสินบนโรลซ์รอยส์โยงกรณีอื้อฉาว จัดซื้อ บ.ฝึก ทอ.อินเดียนับหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เส้นทางทองคำ แสน ล.จาก 'รัสเซีย' สู่ UAE หลบมาตรการคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก: ยูเอ็นเผย 'สิงคโปร์' ส่งออกชิ้นส่วนให้กองทัพเมียนมา 8 พัน ล. หลัง รปห.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เผยความมั่งคั่งบิ๊ก ทอ.เมียนมา ให้เครือญาติตั้งบริษัทรับงานนับพันล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตลูกจ้างฟ้องศาล แฉ บ.แคนาดา จ่ายสินบน แลกสัญญารถเกราะยูเครน พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัทพลังงานเยอรมนี เอี่ยวส่งเชื้อเพลิง เอื้อกองทัพรัสเซีย บุกยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: สกอตแลนด์ทำสัญญาจ้างตุรเคีย ต่อเรือ 9 พัน ล. ท้องถิ่นไม่ได้ประโยชน์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกสารหลุดเพนตากอน แฉความสัมพันธ์ รัสเซีย- UAE ช่วยหลบมาตรการคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เจาะลึกระบบธนาคารใต้ดินจีน เอี่ยวฟอกเงินพันล้านแก๊งยาเสพติดยุโรป
- ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการ EU สั่งสอบ งบฟื้นฟูเมืองหลวงบัลแกเรียไม่โปร่งใส เสียหาย ร้อย ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.เซอร์เบีย ส่อใช้งานนักจารกรรมข้อมูลการเงินอิสราเอลโจมตีฝ่ายตรงข้าม
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกชนใกล้ชิดพรรคการเมือง ได้สัญญาส่งอาหารกองทัพลัตเวีย 8 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการสวิสสั่งฟัน 4 นายธนาคาร เอื้อประโยชน์คนสนิทปูตินฝากเงินนับพัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง 3 เอกชนเยอรมนี นำเข้าไม้สักผิด กม.จากเมียนมานานนับปี
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉ หน.ทหารรับจ้างวากเนอร์ หลบคว่ำบาตรตะวันตก หารายได้ พัน ล.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉคอร์รัปชั่นวงการก่อสร้างตุรเคีย ต้นเหตุยอดตายแผ่นดินไหว 4.6 หมื่นศพ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปม บ.เกลมาโต้ถูกกล่าวหาจ่ายคอมมิชชั่นเอื้อทำสัญญาหลาย รบ.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง บ.พลังงานยักษ์ใหญ่ตะวันตก ทำธุรกิจหนุนเส้นเงินเผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมฉาว กห.ยูเครนจัดซื้ออาหารไม่โปร่งใส กระทบความเชื่อมั่นต่างชาติ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ขมวดปมอื้อฉาว ATK สะเทือนพรรคคอมฯเวียดนามอย่างไร หลัง ปธน.ลาออก
- ส่องคดีทุจริตโลก: ตามรอยบุหรี่จีนนับล้านมวนสูญหาย หลังเดินทางออกจากโรงงานในโรมาเนีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงเอกชนรับงานบูรณะถนนยูเครนพันล้าน เชื่อมโยงผู้ต้องหาหนีคดี FBI
- ส่องคดีทุจริตโลก: ประมวลข่าวคอร์รัปชันโลกปี 65 จากโอลิการ์ชรัสเซียถึงเอกสารแพนโดรา