“เรื่องนี้กลายเป็นประเด็นเมื่อบุคคลหนึ่งต้องสาบานตนเป็นครั้งที่สองว่าจะจงรักภักดีต่อประเทศอื่นซึ่งไม่สอดคล้องกับคําสาบานที่มีลักษณะแบบเดียวกันพวกเขาให้ไว้ก่อนหน้านี้” บริษัทในกรุงลอนดอนระบุและระบุต่อไปว่าโพสต์เฟซบุ๊กของนายริฟาอีมีขึ้นก่อนการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญล่าสุดที่อนุญาตให้ผู้ถือสองสัญชาติสามารถเป็นข้าราชการระดับสูงได้
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สัปดาห์นี้ขอกลับไปนำเสนอรายงานเกี่ยวกับโครงการหนังสือเดินทางทองคำในต่างประเทศ ที่ประเทศหนึ่งเอื้อให้พลเมืองอีกประเทศสามารถซื้อหนังสือเดินทางประเทศนั้นๆได้
โดยสำนักข่าว Organized Crime and Corruption Reporting Project (OCCRP) หรือเครือข่ายผู้สื่อข่าวที่รายงานเกี่ยวกับองค์กรอาชญากรรมและการทุจริต ได้รายงานข่าวกรณีปี 2559 สมาชิกฝ่ายนิติบัญญัติของประเทศจอร์แดนได้รวมหัวกันเพื่อวางแผนยกเลิกกฎหมายที่จะห้ามไม่ให้ชาวจอร์แดนที่ถือสองสัญชาติดำรงตำแหน่งการเมืองในระดับสูง
ประเด็นดังกล่าวทำให้เกิดการถกเถียงในระดับชาติ ซึ่งนายซาเมียร์ ริฟาอี (Samir Rifai) อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตรองประธานวุฒิสภาได้แสดงจุดยืนในเรื่องนี้ชัดเจนแล้ว
“จากมุมมองของผม ผมไม่ชอบที่จะให้ชาวจอร์แดนถือสัญชาติอื่น ดังนั้นสิ่งนี้มันจะมีผลบังคับใช้กับทั้งครอบครัวและคนใกล้ชิดของผมด้วย อย่างไรก็ตาม มันไม่ได้หมายความว่านี่จะเป็นการห้ามและจำกัดสิทธิชาวจอร์แดนในการถือสัญชาติต่างประเทศ” นายรีฟาอีเขียนบนเฟซบุ๊กในปี 2559
อย่างไรก็ตามการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายริฟาอีมีอันต้องสิ้นสุดลงเพราะเขาลงจากตำแหน่งในเดือน ม.ค. 2554 อันเนื่องมาจากการประท้วงอาหรับสปริง แต่นายริฟาอีก็ยังคงเป็นนักการเมือง โดยดำรงตำแหน่งเป็น สว.นับตั้งแต่ปี 2556 และปัจจุบันเขาถือเป็นหนึ่งในพันธมิตรที่ใกล้ชิดที่สุดของกษัตริย์อับดุลลาห์ของจอร์แดน
ไม่นานหลังจากเขาโพสต์เฟซบุ๊กดังกล่าว ฝ่ายนิติบัญญัติของจอร์แดนก็ได้ยกเลิกกฎหมายซึ่งห้ามไม่ให้บุคคลสองสัญชาติเป้นนักการเมือง
สองปีถัดมานายราฟาอีก็ได้แอบซื้อสัญชาติที่สองที่ประเทศโดมินิกา ซึ่งเป็นประเทศหมู่เกาะแคริบเบียนให้กับทั้งตัวเอง,อดีตภรรยา และลูกๆทั้งสามคน ตามการรายงานของสื่อพันธมิตรของ OCCRP
นายซาเมียร์ ริฟาอี (อ้างอิงวิดีโอจากTakingWiki)
ในอดีตประเทศโดมินิกาเคยมีโครงการลงทุนสัญชาติ ซึ่งโครงการนี้จะอนุญาตให้ครอบครัวจ่ายเงินสองแสนดอลลาร์สหรัฐฯหรือประมาณ 7.2 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนกองทุนเพื่อการพัฒนาหรือการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ในท้องถิ่น โดยแลกกับการได้รับสัญชาติโดมินิกา
นายริฟาอีซึ่งได้รับเอกสารเหล่านี้ เอื้อให้เขาสามารถเดินทางโดยไม่ต้องขอวีซ่าไปยังหลายประเทศทั่วโลก โดยบริษัทที่ช่วยเหลือนายริฟาอีได้แก่บริษัท Range Developments ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำหน้านี้เน้นเฉพาะในการเป็นนายหน้าซื้อขายหนังสือเดินทางประเทศแถบแคริบเบียนและการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
ผู้สื่อข่าวได้ติดต่อสอบถามไปยังทนายความของนายริฟาอีในจอร์แดน ซึ่งทนายความตอบกลับมาว่านายริฟาอีและครอบครัวของเขาได้ดำเนินการอย่างถูกต้องและเป็นไปตามระเบียบปฏิบัติและขั้นตอนที่เหมาะสมตลอดเวลา" ในการซื้อหนังสือเดินทางโดมินิกา
ทนายความกล่าวต่อไปว่าเหตุผลของนายริฟาอีในการได้รับหนังสือเดินทางโดมินิกาก็คือว่าเพื่อให้ผู้ติดตามของเขาได้รับประโยชน์จากหนังสือเดินทางเล่มนั้นเพื่อความสะดวกในการเดินทางหรือตัวเลือกสําหรับการทํางานทั่วโลก โดยครอบครัวของนายริฟาอีได้ลงทุนในโรงแรมบนเกาะซึ่งบริหารงานโดยบริษัทจัดการโรงแรมหรูชื่อว่า Kempinski Hotels
ทนายความกล่าวย้ำว่านายริฟาอีผ่านมาตรการการตรวจสอบอย่างละเอียด เพื่อให้ได้มาซึ่งหนังสือเดินทาง และเขาไม่เคยใช้มัน หรือเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อประเทศโดมินิกาแต่อย่างใด
“โปรดทราบว่าโครงการลงทุนสัญชาติของโดมินิกา ไม่ได้เรียกร้องให้ผู้ที่ลงทุนสาบานว่าจะจงรักภักดีต่อประเทศโดมินิกา” จดหมายชี้แจงกล่าว
อย่างไรก็ตาม มีข้อมูลที่ย้อนแย้ง เพราะตามรายงานอ้างอิงจากนายหน้าหนังสือเดินทางหลายราย รวมไปถึงจากรัฐบาลโดมินิกา มีการระบุบนเว็บไซต์เหล่านี้ชัดเจนว่ากระบวนการให้คำสัตย์สาบานนั้นเป็นขั้นตอนที่จำเป็นในกระบวนการ
“บุคคลนั้นจะไม่ได้รับใบรับรองการแปลงสัญชาติจนกว่าเขาจะสาบานหรือยืนยันความจงรักภักดีก่อน ตามพระราชบัญญัติสัญชาติเครือจักรภพโดมินิกา
นายเมห์ดี มอนฟาเรด นายหน้าขายหนังสือเดินทางโดมินิกาให้สัมภาษณ์ OCCRP ว่ากระบวนการให้คำสาบานจะดำเนินการหลังจากใบสมัครได้รับการอนุมัติแล้ว และจะต้องทำก่อนที่บุคคลนั้นจะได้รับการจดทะเบียนอย่างเป็นทางการในฐานะพลเมืองโดมินิกา
“ถ้าหากไม่ทำ การขอสิทธิเป็นพลเมืองจะถูกปฏิเสธ ไม่มีข้อยกเว้นใดๆทั้งสิ้น การสาบานตนถือเป็นข้อบังคับ” นายมอนฟาเรดกล่าว
ส่วนทางด้านของบริษัทกฎหมายแห่งหนึ่งในกรุงลอนดอนที่ไม่ได้กล่าวโดยตรงว่านายริฟาอีได้ดำเนินกระบวนการให้คำสาบานหรือไม่ และบริษัทระบุต่อไปว่านายริฟาอีไม่เคยพูดเลยว่าเจ้าหน้าที่รัฐควรจะต้องสละสิทธิ์การถือสองสัญชาติในทุกกรณี
“เรื่องนี้กลายเป็นประเด็นเมื่อบุคคลหนึ่งต้องสาบานตนเป็นครั้งที่สองว่าจะจงรักภักดีต่อประเทศอื่นซึ่งไม่สอดคล้องกับคําสาบานที่มีลักษณะแบบเดียวกันพวกเขาให้ไว้ก่อนหน้านี้” บริษัทในกรุงลอนดอนระบุและระบุต่อไปว่าโพสต์เฟซบุ๊กของนายริฟาอีมีขึ้นก่อนการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญล่าสุดที่อนุญาตให้ผู้ถือสองสัญชาติสามารถเป็นข้าราชการระดับสูงได้
“ไม่มีความแตกต่างระหว่างสองประเทศ ซึ่งประเทศหนึ่งระบุว่าต้องการคำสาบานจงรักภักดี และอีกประเทศบอกว่าไม่ต้องการ ลูกค้าของเราได้สาบานว่าจะรักษารัฐธรรมนูญจอร์แดนแล้ว ดังนั้นเขาจึงไม่จำเป็นที่จะต้องแสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ ณ เวลานี้” ทนายความระบุ
เมื่อผู้สื่อข่าวถามไปยังบริษัท Range Developments ว่านายริฟาอีได้ให้คำสัตย์สาบานหรือไม่ บริษัทกล่าวว่าไม่ทราบ และอ้างว่าให้ไปสอบถามกับทางการโดมินิกา อย่างไรก็ตามทางการโดมินิกาไม่ได้ตอบคำถามผู้สื่อข่าวว่ากระบวนการให้คำสัตย์สาบานเป็นเรื่องที่จำเป็นหรือไม่
@การสาบานตนสองครั้ง
เรื่องการถือสองสัญชาติได้กลายเป็นประเด็นในประเทศจอร์แดนนับตั้งแต่หลังจากเหตุการณ์อาหรับสปริง โดยผู้ประท้วงได้เรียกร้องให้ยุตินโยบายเสรีนิยมใหม่ดังกล่าว ซึ่งพวกเขามองว่านโยบายนี้มีผู้ที่มีส่วนร่วมในการออกนโยบายได้แก่นายบาสเซม อวาดัลลาห์ ผู้ถือสัญชาติสหรัฐอเมริกาและจอร์แดน และยังเป็นอดีตประมุขแห่งราชสํานักของจอร์แดน
ทั้งนี้หลังจากการลาออกริฟาอี อันเนื่องมาจากเหตุประท้วง คณะรัฐมนตรีใหม่ของจอร์แดนได้ผ่านการแก้กฎหมายอยู่หลายครั้งเพื่อตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของผู้ประท้วงที่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลง
เหตุประท้วงในจอร์แดนเมื่อเดือน ก.พ. 2554 (อ้างอิงวิดีโอจาก:SistasReZist)
หนึ่งในการแก้ไขกฎหมายได้ส่งผลกระทบต่อผู้ที่ถือสองสัญชาติ โดยกฎหมายใหม่ระบุชัดเจนว่าพลเมืองสองสัญชาติไม่สามารถมีตำแหน่งในรัฐบาลได้อีกต่อไป
ส่งผลให้นักการเมืองหลายคนรวมถึง สว.อีกสองคน ได้แก่นายทาลาล อาบู-กาซาเลห์ นักธุรกิจชาวจอร์แดน-แคนาดา และ นพ.คาเล็ด ชารีฟ ศัลยแพทย์คนดังชาวอังกฤษ-จอร์แดนต้องลาออกจากตำแหน่ง
“ผมเป็นเจ้าหน้าที่รัฐคนแรกที่ลาออกหลังจากมีการออกร่างแก้ไขใหม่เพราะผมเคารพกฎหมายไม่ว่าผมจะอนุมัติหรือปฏิเสธมันก็ตาม” นายอาบู-กาซาเลห์ ประธานบริษัท Talal Abu-Ghazaleh Global กล่าว
ส่วนคนอื่นๆก็ได้มีการสละสัญชาติที่สองของตัวเองเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย อาทิ นายเอแมด บานี ยูเนส ออกมาประกาศว่าเขาได้สละสัญชาติอเมริกันแล้ว แต่เขาก็แสดงความไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรง โดยบอกว่ากฎหมายนี้ถือเป็นความอยุติธรรมที่ยิ่งใหญ่สำหรับชาวจอร์แดน
ประเทศโดมินิกา
แต่ห้าปีผ่านไปหลังจากการประท้วงอาหรับสปริง ผู้มีอำนาจบางคนแสดงความกังวลว่ากฎหมายนี้กำลังทำให้จอร์แดนเสียผลประโยชน์ อาทิ นายบาสซิม ฮัดดาดิน สว. ซึ่งเคยเป็นอดีต สส.ให้สัมภาษณ์กับ OCCRP ว่าจอร์แดนกําลังสูญเสียผู้มีความรู้ความสามารถ เพราะการกีดกันพลเมืองสองสัญชาติออกจากตําแหน่งบริหารระดับสูง
การถกเถียงเรื่องนี้ส่งผลทำให้ประเทศจอร์แดนถูกแบ่งออกเป็นสองฝั่งระหว่างผู้ที่เชื่อว่าการผ่อนคลายกฎจะนําไปสู่การรวมกลุ่มและความก้าวหน้ามากขึ้นและผู้ที่รู้สึกว่าการยกเลิกกฎหมายดังกล่าวจะคุกคาม "ความศักดิ์สิทธิ์ของคําสาบาน" ต่อพระพักตร์กษัตริย์ของจอร์แดน
กลับมาที่โพสต์เฟซบุ๊กของนายริฟาอีในปี 2559 เขามองว่ามีพลเมืองจอร์แดนที่ถือสองสัญชาติอยู่สองประเภทด้วยกันได้แก่ชาวจอร์แดนที่มีสองสัญชาติเพราะพวกเขาเกิดในต่างประเทศหรือได้รับสิทธิดังกล่าวจากเครือญาติ โดยพวกเขาไม่ควรถูกกีดกันจากตําแหน่งบริหารระดับสูง
นายริฟาอีกล่าวต่อผ่านโซเชียลมีเดียในตอนนั้นว่าปัญหาอยู่ตรงที่ว่าผู้ที่ขอสัญชาติจากประเทศอื่นและผู้ที่ต้อง "สาบานตน" ว่าจะจงรักภักดีต่อประเทศนั้น
นายริฟาอีกล่าวว่าคําสาบานดังกล่าวอาจขัดแย้งกับคําสาบานที่จะเป็นรัฐมนตรีหรือสมาชิกวุฒิสภาในจอร์แดน
โพสต์เฟซบุ๊กของนายริฟาอียังได้อ้างถึงความรักชาติทั้งกับเขาและตัวผู้ติดตามของเขา โดยมีการกล่าวถึง "ความภักดี" และ "บ้านเกิดเมืองนอน"
อย่างไรก็ตาม กฎหมายสองสัญชาติของจอร์แดนถูกยกเลิกในเดือนถัดมาหลังจากโพสต์เฟซบุ๊กนี้ โดยนายกรัฐมนตรีจอร์แดนในขณะนั้น ได้แก่นายอับดุลเลาะห์ เอ็นซูร์กล่าวว่า "ไม่ควรกังวลเรื่องนี้ตราบใดที่มีคําสาบานว่าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์และต่อรัฐธรรมนูญจอร์แดน"
ผ่านไปสองปี ในปี 2561 นายริฟาอีก็ได้รับสัญชาติให้เป็นพลเมืองจอร์แดน
อ่านประกอบ:
- ส่องคดีทุจริตโลก:นักธุรกิจจีนเทาขายน้ำวิเศษอ้างนาซารับรอง จ่ายสินบนนักการทูต แลกทำงาน UN
- ส่องคดีทุจริตโลก:สว.สหรัฐฯ ถูกสอบรับสินบน แลกอนุมัติงบช่วยเหลือทางทหาร รบ.อียิปต์หมื่นล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: กห.เดนมาร์กจัดซื้อปืนใหญ่ 8.9 พัน ล.ไม่โปร่งใส แลกบ.อิสราเอลถอนฟ้องคดี
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉทุนจีนสีเทา ถูกจับข้อหาฟอกเงินที่สิงคโปร์ ซื้ออสังหาฯ พันล. ณ ลอนดอน
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉเอกชนอิสราเอล ส่งยุทธภัณฑ์ลอตใหญ่ให้เมียนมา หลังรัฐประหาร
- ส่องคดีทุจริตโลก: จนท.ยูเครนจับอดีตผู้สนับสนุน ปธน.เซเลนสกี โยงทุจริต-ฟอกเงินนับ พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:โครงการพาสปอร์ตทองคำ โยงผู้ต้องสงสัย คดีฟอกเงิน 2.5 หมื่น ล.ที่สิงคโปร์
- ส่องคดีทุจริตโลก:ชี้เป็น ปย.ต่อประชาชน-ศาลสูงสั่ง สธ.แอฟริกาใต้ เปิดทุกสัญญาวัคซีนโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก:คนใกล้ชิด รมว.กห.ยูเครน เอี่ยวจัดซื้อชุดทหารฤดูหนาวด้อยคุณภาพ พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ตร.ออสซี่สั่งสอบ ปมสินบนนักการเมืองนาอูรู แลกสัญญาศูนย์กักกันหมื่นล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉเส้นเงินผิด กม.ผ่านภูมิภาคบอลข่านตะวันตก หลังสงครามรัสเซีย-ยูเครนปะทุ
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตอั๊งยี่จากมาเก๊า สู่นักธุรกิจทุนจีนสีเทา เจ้าของคาสิโนที่เมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ที่ปรึกษาออสซี่ใช้ความลับ รบ.ให้คำแนะนำเอื้อเอกชนยักษ์ใหญ่เลี่ยงภาษี
- ส่องคดีทุจริตโลก:ส.ส.ดังจอร์เจีย อ้างข้อผิดพลาด-ไร้เจตนาซุกอพาร์ทเมนท์หรู ณ ดูไบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: ทหารรับจ้างแวกเนอร์ยึดแอฟริกากลาง หนุนเผด็จการ แลกผลประโยชน์นับแสนล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:อาวุธสวีเดน ถูกอินเดียส่งออกให้ทัพเมียนมา ใช้ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปงเอกชนสวิส ตั้ง บ.ย่อย หลบคว่ำบาตร แอบขายน้ำมันรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมปัญหาการใช้กฎหมายใหม่แคนาดา รับมือโอลิการ์ชลงทุนสินทรัพย์มหาศาล
- ส่องคดีทุจริตโลก: จากปมสินบนโรลซ์รอยส์โยงกรณีอื้อฉาว จัดซื้อ บ.ฝึก ทอ.อินเดียนับหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เส้นทางทองคำ แสน ล.จาก 'รัสเซีย' สู่ UAE หลบมาตรการคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก: ยูเอ็นเผย 'สิงคโปร์' ส่งออกชิ้นส่วนให้กองทัพเมียนมา 8 พัน ล. หลัง รปห.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เผยความมั่งคั่งบิ๊ก ทอ.เมียนมา ให้เครือญาติตั้งบริษัทรับงานนับพันล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตลูกจ้างฟ้องศาล แฉ บ.แคนาดา จ่ายสินบน แลกสัญญารถเกราะยูเครน พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัทพลังงานเยอรมนี เอี่ยวส่งเชื้อเพลิง เอื้อกองทัพรัสเซีย บุกยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: สกอตแลนด์ทำสัญญาจ้างตุรเคีย ต่อเรือ 9 พัน ล. ท้องถิ่นไม่ได้ประโยชน์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกสารหลุดเพนตากอน แฉความสัมพันธ์ รัสเซีย- UAE ช่วยหลบมาตรการคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เจาะลึกระบบธนาคารใต้ดินจีน เอี่ยวฟอกเงินพันล้านแก๊งยาเสพติดยุโรป
- ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการ EU สั่งสอบ งบฟื้นฟูเมืองหลวงบัลแกเรียไม่โปร่งใส เสียหาย ร้อย ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.เซอร์เบีย ส่อใช้งานนักจารกรรมข้อมูลการเงินอิสราเอลโจมตีฝ่ายตรงข้าม
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกชนใกล้ชิดพรรคการเมือง ได้สัญญาส่งอาหารกองทัพลัตเวีย 8 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการสวิสสั่งฟัน 4 นายธนาคาร เอื้อประโยชน์คนสนิทปูตินฝากเงินนับพัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง 3 เอกชนเยอรมนี นำเข้าไม้สักผิด กม.จากเมียนมานานนับปี
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉ หน.ทหารรับจ้างวากเนอร์ หลบคว่ำบาตรตะวันตก หารายได้ พัน ล.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉคอร์รัปชั่นวงการก่อสร้างตุรเคีย ต้นเหตุยอดตายแผ่นดินไหว 4.6 หมื่นศพ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปม บ.เกลมาโต้ถูกกล่าวหาจ่ายคอมมิชชั่นเอื้อทำสัญญาหลาย รบ.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง บ.พลังงานยักษ์ใหญ่ตะวันตก ทำธุรกิจหนุนเส้นเงินเผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมฉาว กห.ยูเครนจัดซื้ออาหารไม่โปร่งใส กระทบความเชื่อมั่นต่างชาติ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ขมวดปมอื้อฉาว ATK สะเทือนพรรคคอมฯเวียดนามอย่างไร หลัง ปธน.ลาออก
- ส่องคดีทุจริตโลก: ตามรอยบุหรี่จีนนับล้านมวนสูญหาย หลังเดินทางออกจากโรงงานในโรมาเนีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงเอกชนรับงานบูรณะถนนยูเครนพันล้าน เชื่อมโยงผู้ต้องหาหนีคดี FBI
- ส่องคดีทุจริตโลก: ประมวลข่าวคอร์รัปชันโลกปี 65 จากโอลิการ์ชรัสเซียถึงเอกสารแพนโดรา