มีรายงานว่าเครื่องแต่งกายเหล่านี้ ตอนที่ข้ามพรมแดนมอลโดวา มีราคาอยู่ที่ 27,500 ดอลลาร์สหรัฐฯ (964,425 บาท) แต่พอข้ามพรมแดนยูเครนเข้ามา ปรากฏว่าเครื่องแต่งกายเหล่านี้มีราคาอยู่ที่ 367,500 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,888,225 บาท) และยิ่งไปกว่านั้น ในตอนนี้เสื้อเหล่านี้ถูกนำไปขายต่อบนเว็บไซต์ OLX ซึ่งเป็นเว็บไซต์ขายของออนไลน์ของยูเครน
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สัปดาห์นี้ขอนำเสนอการความไม่โปร่งใสในกรณีการจัดซื้อของกระทรวงยูเครนในช่วงระหว่างสงครามยูเครนและรัสเซีย ซึ่งการจัดซื้อนี้พัวพันไปถึงนายวยาเชสลาฟ ชาโปวาลอฟ รัฐมนตรีช่วงว่าการกระทรวงกลาโหม และนายโบดาน คามิลนิตสกี้ หัวหน้าฝ่ายจัดซื้อ
ทั้งสองคนนี้เคยมีข้อครหาไปแล้วครั้งหนึ่งในประเด็นเรื่องการจัดซื้ออาหารที่มีราคาแพงกว่าความเป็นจริง แต่ล่าสุดจากการเปิดโปงของสำนักข่าว ZN.UA พบว่ามีกรณีการจัดซื้อชุดเกราะระดับ 4 มูลค่า 43,000 ฮริฟเนียยูเครน หรือประมาณ 40,727 บาท ซึ่งราคาดังกล่าวถือว่าแพงกว่าหลายเท่าถ้าหากเทียบกับราคาปกติ โดยเป็นการจัดซื้อในช่วงแรกๆที่เกิดการรุกรานขึ้น ขณะที่นายโอเล็กซีย์ เรซนิคอฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมก็ได้ออกมาช่วยพูดปกป้องัฐมนตรีช่วยของตัวเอง
โดยนายเรซนิคอฟกล่าวว่า “สัญญาที่ระบุเอาไว้เมื่อเดือน มี.ค. 2565 ตรงนี้ผมอยากจะถามว่าทุกคนอยู่ที่ไหนเมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้ว ในตอนที่เราไม่มีชุดเกราะเลยในโกดัง แต่มีความจำเป็นยิ่งที่จะต้องซื้อชุดเกราะเป็นจำนวนนับแสนตัว ดังนั้นเรื่องนี้สำหรับผม ผมอยากรอผลการสอบสวนให้แล้วเสร็จ และรอให้เสร็จกระบวนการพิพากษาของศาลก่อน เพราะว่าท้ายที่สุดผู้ถูกกล่าวหาอาจจะหลุดพ้นจากข้อกล่าวหาก็เป็นได้“
อย่างไรก็ตาม ก็มีประเด็นที่น่าสงสัย เพราะนายเรซนิคอฟดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมตั้งแต่เดือน พ.ย. 2564 แต่ว่าทำไมถึงไม่มีชุดเกราะเหลือเลยในช่วงเดือน มี.ค. 2565 ทั้งๆที่สหรัฐอเมริกาได้ออกมาเตือนตลอดถึงความเป็นไปได้ว่ารัสเซียจะบุกยูเครน ซึ่งตามหลักการแล้วแม้ในช่วงเวลาสงบ ก็ควรที่จะมีชุดเกราะกันกระสุนเหลือคงคลังเอาไว้บ้าง เหตุการณ์แบบนี้รับได้หรือไม่
@เครื่องแบบสำหรับฤดูหนาวจากตุรเคียมูลค่ากว่า 33 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
มีอีกกรณีหนึ่งที่เป็นที่น่าสงสัย โดยในช่วงเดือน มิ.ย. 2565 พบว่านายชาโปวาลอฟได้มีส่วนในการจัดซื้อชุดทหารสำหรับใช้รบในฤดูหนาวจากประเทศตุรเคียมูลค่ารวมกว่า 33 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (1,157,310,000 บาท) แต่ทางสำนักข่าว ZN.UA ตรวจสอบพบว่าการจัดซื้อครั้งนี้อาจจะเป็นการฉ้อโกงครั้งใหญ่
โดยในช่วงฤดูร้อนปี 2565 บริษัทผลิตเสื้อผ้าในประเทศยูเครนได้ส่งคำเตือนไปยังกระทรวงกลาโหมของประเทศ เพราะกระทรวงไม่ได้มีการประกาศการจัดซื้อชุดทหารสำหรับรบในฤดูหนาว ซึ่งทางกระทรวงควรจะมีการเร่งประกาศการจัดซื้อเพราะว่าการจัดส่งวัตถุดิบผ้าจากเอเชียจะต้องใช้เวลาหลายเดือน และต้องใช้เวลาอีกเป็นเดือนเพื่อที่จะเย็บผ้าให้กลายเป็นชุดสำหรับทหารได้ ซึ่งเดือนที่เสียไปนั้นถือว่าเป็นความผิดพลาดของกระทรวงฯและเจ้าหน้าที่รัฐถ้าหากไม่สามารถใช้เวลาที่มีอยู่แก้ปัญหาได้
แต่ผลที่เกิดขึ้นก็คือว่ามีแนวคิดว่าถ้าหากว่ามีการบ่อนทำลายกระบวนการได้มาซึ่งชุดเกราะที่ราคาถูกและคุณภาพดี การกระทำเช่นนี้จะทำให้บุคคลระดับสูงในยูเครนบางคนได้ประโยชน์ นี้จึงเป็นเหตุทำให้ในช่วงเวลาที่ถดูหนาวใกล้เข้ามา ทางกระทรวงกลาโหมยูเครนได้มีการเซ็นสัญญาจัดซื้อกับบริษัทสัญชาติตุรเคียแห่งหนึ่งชื่อว่าบริษัท Vector avia hava yukleteri เพื่อให้บริษัทแห่งนี้ดำเนินการจัดส่งเครื่องแบบทหารสำหรับใช้รบในฤดูหนาวมาให้
ข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ไม่ระบุนามจากกรมศุลกากร พบว่าบริษัทแห่งนี้ได้มีการนำเข้าเสื้อแจ็คเก็ต 233,000 ตัวจากตุรเคียเข้าไปสู่ยูเครน คิดเป็นมูลค่า 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (701,400,000 บาท) ในช่วงเดือน ต.ค.-ธ.ค. และต่อมาก็มีการซื้อกางเกงอีก 202,000 คู่ มูลค่ากว่า 13 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (455,910,000 บาท)
ราคาดังกล่าวนั้นถือว่ารับได้สำหรับเสื้อผ้าในฤดูหนาว แต่ปัญหาก็คือว่าสิ่งที่สิ่งมากลับไม่ใช่เสื้อแจ็คเก็ตในฤดูหนาว แต่กลับเป็นเสื้อในฤดูร้อนที่คุณภาพแย่มาก
จากข้อมูลของสำนักข่าวพบว่าน้ำหนักของเสื้อแจ็คเก็ตฤดูหนาวที่มาจากจีนจะอยู่ที่ 2 กิโลกรัม ส่วนเสื้อที่ถูกสั่งมาจากตุรเคียจะมีน้ำหนักอยู่ที่ 1.1 กิโลกรัม ซึ่งความแตกต่างของน้ำหนักดังกล่าวมีลักษณะคล้ายกับความแตกต่างของเสื้อในฤดูหนาวและในฤดูร้อน ที่เสื้อในฤดูหนาวจะต้องหนักกว่า
สำนักข่าว ZN.UA ได้ข้อมูลแพ็คเกจบรรจุภัณฑ์สำหรับชุดแจ็คเก็ตที่ส่งมาจากบริษัท Vector avia ซึ่งแสดงข้อมูลให้เห็นชัดเจนวาเสื้อแจ็คเก็ตจำนวน 4,900 ตัว ที่มีราคาอยู่ที่ 142,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (4,979,940 บาท) กลายมาเป็นแพคเกจเสื้อแจ็คเก็ตจำนวน 4,900 ตัว มูลค่า 421,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,764,470 บาท) ได้อย่างไร
โดยในขั้นตอนระหว่างศุลกากรจากตุรเคียมายังยูเครน พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงลักษณะคำบรรยายสินค้าจากเสื้อแจ็คเก็ตลายพรางไปเป็นเสื้อกันลมในฤดูหนาว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลทำให้ได้เงินเพิ่มไปอีกตัวละ 29-86 ดอลลาร์สหรัฐฯ
ยิ่งไปกว่านั้นจากข้อมูลบริคนสนธิก็ปรากฏว่าหนึ่งในผู้อำนวยการของบริษัท Vector avia hava yukleteri จากตุรเคีย แท้จริงแล้วก็คือนายโรมัน เพลตเนฟ นักธุรกิจยูเครน จากซาโปริซเซีย
ข้อมูลจากบันทึกของทางศาลเองก็มีการระบุเกี่ยวกับการดำเนินคดีกับการสั่งเสื้อผ้าเหล่านี้เอาไว้เช่นกัน โดยตอนหนึ่งเป็นข้อมูลจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ว่าด้วยการตรวจสอบทางนิติวิทยาศาสตร์ของกรุงเคียฟระบุว่า “เสื้อกันหนาวกันลมและกางเกงกันหนาวกันลมที่จัดหาภายใต้สัญญาเลขที่ VV2022-M1908 นั้นไม่สามารถใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์”
โดยมีรายงานว่าเครื่องแต่งกายเหล่านี้ ตอนที่ข้ามพรมแดนมอลโดวา มีราคาอยู่ที่ 27,500 ดอลลาร์สหรัฐฯ (964,425 บาท) แต่พอข้ามพรมแดนยูเครนเข้ามา ปรากฏว่าเครื่องแต่งกายเหล่านี้มีราคาอยู่ที่ 367,500 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,888,225 บาท) และยิ่งไปกว่านั้น ในตอนนี้เสื้อเหล่านี้ถูกนำไปขายต่อบนเว็บไซต์ OLX ซึ่งเป็นเว็บไซต์ขายของออนไลน์ของยูเครน
เสื้อแจ็คเก็ตระบุหมายเลขสัญญา VV2022-M1908 ถูกนำไปขายด้วยบนโลกออนไลน์ด้วยราคา 1,000 ฮริฟเนีย (947 บาท)
ขณะที่เมื่อวันที่วันที่ 11 ส.ค.ที่ผ่านมา ทางกระทรวงกลาโหมยูเครนได้ออกแถลงการณ์ต่อสื่อมวลชนออกมาแล้ว โดยแถลงการณ์ระบุแค่ว่า
“หน่วยงานของกระทรวงกลาโหมไม่ได้มีส่วนร่วมในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ไม่ได้มีส่วนในการระบุความต้องการการหาผู้รับเหมา,การสรุปสัญญาและการตรวจสอบการปฏิบัติตามเงื่อนไขทางเทคนิค" แถลงการณ์ต่อสื่อมวลชนกล่าวโดยเน้นด้วยว่ากระทรวงจะไม่อดทนต่อการทุจริตอย่างเด็ดขาด
อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีกรณีอื้อฉาวเกี่ยวกับการจัดซื้อของกระทรวงกลาโหมยูเครน โดยที่ผ่านมามีรายงานว่าคนของนายเรซนิคอฟได้เคยมีการสั่งและจ่ายเงินให้กับสิ่งที่ถูกระบุในเอกสารว่าเป็นหมวกกันกระสุนสำหรับทหารราบที่ทำในสหรัฐฯ ที่เรียกกันว่าหมวกแบบ PASGT (Personnel Armor System for Ground Troops) ซึ่งตามคุณลักษณะแล้วหมวกทีว่านี้จะมีระดับการป้องกันกระสุนอยู่ที่ระดับ NIJ IIIA หรือก็คือสามารถป้องกันกระสุนปืนสั้นแบบ .44 และ .357 แม็กนั่มได้ แต่ปรากฎว่าคุณภาพหมวกที่แท้จริงกลับต่ำกว่าหรือเทียบเท่ากันระดับ NIJ 2 ที่สามารถกันกระสุนขนาด 9 มม.และขนาด .40 ได้
ระดับ NIJ กับการป้องกันกระสุนแต่ละประเภท
โดยในช่วงปีที่ผ่านมา สำนักข่าวเชิงสืบสวนชื่อว่า Our Money ได้ทำข่าวเชิงสืบสวนรายงานว่ากระทรวงกลาโหมได้ทำสัญญาจัดซื้อหมวกกันกระสุนเหล่านี้ด้วยราคา 348 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,204 บาท) และราคา 468 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,412 บาท) ต่อชิ้น
แต่ปรากฏว่าทางกระทรวงฯและรัฐวิสาหกิจที่ชื่อว่า Spetstechnoexport กลับได้นำเข้าหมวกเหล่านี้มาด้วยราคาประมาณ 132-293 ดอลลาร์สหรัฐฯ (4,629- 10,275 บาท) เท่านั้น
โดยกรณีการนำเสนอข่าวความไม่โปร่งใสเรื่องการจัดซื้อเครื่องแบบทหารในยูเครน ยั่งส่งผลทำให้เกิดข่าวลื่อว่าประธานาธิบดีโวโลโดเมียร์ เซเลนสกี จะดำเนินการปลดนายเรซนิคอฟ ออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แต่ล่าสุด ประธานาธิบดีเซเลนสกีได้กล่าวยืนยันแล้วว่านายเรซนิคอฟจะยังคงดำรงตำแหน่งต่อไป
เรียบเรียงจาก:https://kyivindependent.com/media-defense-ministry-purchases/,https://zn.ua/ukr/anticorruption/khorosha-i-pohana-novini-pro-koruptsiju-v-minoboroni.html?fbclid=IwAR2kJYZ7Add1rEhQ2h_b-2ZRWaCStfh2xID92EvC2ZewTcvVFfD19-7-4jU
อ่านประกอบ:
- ส่องคดีทุจริตโลก:ตร.ออสซี่สั่งสอบ ปมสินบนนักการเมืองนาอูรู แลกสัญญาศูนย์กักกันหมื่นล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉเส้นเงินผิด กม.ผ่านภูมิภาคบอลข่านตะวันตก หลังสงครามรัสเซีย-ยูเครนปะทุ
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตอั๊งยี่จากมาเก๊า สู่นักธุรกิจทุนจีนสีเทา เจ้าของคาสิโนที่เมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ที่ปรึกษาออสซี่ใช้ความลับ รบ.ให้คำแนะนำเอื้อเอกชนยักษ์ใหญ่เลี่ยงภาษี
- ส่องคดีทุจริตโลก:ส.ส.ดังจอร์เจีย อ้างข้อผิดพลาด-ไร้เจตนาซุกอพาร์ทเมนท์หรู ณ ดูไบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: ทหารรับจ้างแวกเนอร์ยึดแอฟริกากลาง หนุนเผด็จการ แลกผลประโยชน์นับแสนล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:อาวุธสวีเดน ถูกอินเดียส่งออกให้ทัพเมียนมา ใช้ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปงเอกชนสวิส ตั้ง บ.ย่อย หลบคว่ำบาตร แอบขายน้ำมันรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมปัญหาการใช้กฎหมายใหม่แคนาดา รับมือโอลิการ์ชลงทุนสินทรัพย์มหาศาล
- ส่องคดีทุจริตโลก: จากปมสินบนโรลซ์รอยส์โยงกรณีอื้อฉาว จัดซื้อ บ.ฝึก ทอ.อินเดียนับหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เส้นทางทองคำ แสน ล.จาก 'รัสเซีย' สู่ UAE หลบมาตรการคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก: ยูเอ็นเผย 'สิงคโปร์' ส่งออกชิ้นส่วนให้กองทัพเมียนมา 8 พัน ล. หลัง รปห.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เผยความมั่งคั่งบิ๊ก ทอ.เมียนมา ให้เครือญาติตั้งบริษัทรับงานนับพันล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตลูกจ้างฟ้องศาล แฉ บ.แคนาดา จ่ายสินบน แลกสัญญารถเกราะยูเครน พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัทพลังงานเยอรมนี เอี่ยวส่งเชื้อเพลิง เอื้อกองทัพรัสเซีย บุกยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: สกอตแลนด์ทำสัญญาจ้างตุรเคีย ต่อเรือ 9 พัน ล. ท้องถิ่นไม่ได้ประโยชน์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกสารหลุดเพนตากอน แฉความสัมพันธ์ รัสเซีย- UAE ช่วยหลบมาตรการคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เจาะลึกระบบธนาคารใต้ดินจีน เอี่ยวฟอกเงินพันล้านแก๊งยาเสพติดยุโรป
- ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการ EU สั่งสอบ งบฟื้นฟูเมืองหลวงบัลแกเรียไม่โปร่งใส เสียหาย ร้อย ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.เซอร์เบีย ส่อใช้งานนักจารกรรมข้อมูลการเงินอิสราเอลโจมตีฝ่ายตรงข้าม
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกชนใกล้ชิดพรรคการเมือง ได้สัญญาส่งอาหารกองทัพลัตเวีย 8 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการสวิสสั่งฟัน 4 นายธนาคาร เอื้อประโยชน์คนสนิทปูตินฝากเงินนับพัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง 3 เอกชนเยอรมนี นำเข้าไม้สักผิด กม.จากเมียนมานานนับปี
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉ หน.ทหารรับจ้างวากเนอร์ หลบคว่ำบาตรตะวันตก หารายได้ พัน ล.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉคอร์รัปชั่นวงการก่อสร้างตุรเคีย ต้นเหตุยอดตายแผ่นดินไหว 4.6 หมื่นศพ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปม บ.เกลมาโต้ถูกกล่าวหาจ่ายคอมมิชชั่นเอื้อทำสัญญาหลาย รบ.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง บ.พลังงานยักษ์ใหญ่ตะวันตก ทำธุรกิจหนุนเส้นเงินเผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมฉาว กห.ยูเครนจัดซื้ออาหารไม่โปร่งใส กระทบความเชื่อมั่นต่างชาติ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ขมวดปมอื้อฉาว ATK สะเทือนพรรคคอมฯเวียดนามอย่างไร หลัง ปธน.ลาออก
- ส่องคดีทุจริตโลก: ตามรอยบุหรี่จีนนับล้านมวนสูญหาย หลังเดินทางออกจากโรงงานในโรมาเนีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงเอกชนรับงานบูรณะถนนยูเครนพันล้าน เชื่อมโยงผู้ต้องหาหนีคดี FBI
- ส่องคดีทุจริตโลก: ประมวลข่าวคอร์รัปชันโลกปี 65 จากโอลิการ์ชรัสเซียถึงเอกสารแพนโดรา