ยิ่งไปกว่านั้นในรายงานยังมีระบุว่ามีคำสั่งให้ PLSB ดำเนินการชำระเงินล่วงหน้าสำหรับการจัดหาเครื่องช่วยหายใจ เนื่องจากความสัมพันธ์ที่บริษัทเคยมีกับกระทรวงสาธารณสุข แม้ว่าบริษัทจะไม่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์และเครื่องช่วยหายใจมาก่อนเลยก็ตาม
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สัปดาห์นี้ขอนำเสนอประเด็นความไม่โปร่งใสเรื่องการจัดซื้อเครื่องช่วยหายใจที่ประเทศมาเลเซียในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19
โดยสำนักข่าวเดอะสตาร์ของมาเลเซียรายงานข่าวกรณีที่กระทรวงสาธารณสุขของประเทศมาเลเซียได้จัดซื้อเครื่องช่วยหายใจที่ไม่สามารถใช้งานได้เป็นจำนวนมากกว่าร้อยเครื่องในช่วงที่ไวรัสโควิด-19 ได้ระบาดอย่างรุนแรงในปี 2563 แต่ปัญหาตอนนี้ก็คือว่าทางการมาเลเซียไม่สามารถจะหาใครหรือว่ากลุ่มใดมารับผิดชอบได้ เพราะว่าไม่มีการเขียนรายละเอียดเอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในข้อตกลงการจัดซื้อ
ข้อตกลงการจัดซื้อเครื่องช่วยหายใจช่วงโควิดที่เป็นปัญหาดังกล่าวนั้นพบว่าเป็นการจัดซื้อผ่านแอปพลิเคชัน WhansApp ซึ่งสาเหตุที่ต้องจัดซื้อกันในรูปแบบนี้ก็เพราะว่าความเร่งด่วนของสถานการณ์ โดยข้อมูลการจัดซื้อนี้ถูกเปิดโปงในรายงานคณะกรรมการบัญชีสาธารณะ (PAC) เกี่ยวกับการจัดการการระบาดของ Covid-19
คณะกรรมการตรวจสอบพบว่าเครื่องช่วยหายใจจำนวน 104 เครื่อง จากทั้งหมด 136 เครื่อง ซึ่งถูกจัดหาโดยบริษัท Pharmaniaga Logistics Sdn Bhd (PLSB) เพื่อส่งมอบให้กับกระทรวงสาธารณสุขในช่วงการระบาดของโควิด-19 นั้นไม่สามารถใช้งานได้ ทว่ากลับไม่สามารถจะนำเอากลุ่มบุคคลใดมาแสดงความรับผิดชอบได้เลย เนื่องจากว่าไม่มีการลงข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษาเอาไว้ระหว่างบริษัท PLSB และกระทรวงสาธารณสุข
ข่าวเครื่องช่วยหายใจจำนวน 104 เครื่องใช้การไม่ได้ (อ้างอิงวิดีโอจาก Sinar Harian)
ยิ่งไปกว่านั้นในรายงานยังมีระบุว่ามีคำสั่งให้ PLSB ดำเนินการชำระเงินล่วงหน้าสำหรับการจัดหาเครื่องช่วยหายใจ เนื่องจากความสัมพันธ์ที่บริษัทเคยมีกับกระทรวงสาธารณสุข แม้ว่าบริษัทจะไม่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์และเครื่องช่วยหายใจมาก่อนเลยก็ตาม
"เนื่องจากสถานการณ์พิเศษที่โลกกําลังเผชิญอยู่ในขณะนั้น จึงมีการจัดซื้อฉุกเฉินเพื่อจัดหาเวชภัณฑ์ เช่น วัคซีน เครื่องช่วยหายใจ อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) และอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของ Covid-19" คณะกรรมการระบุ
ทั้งนี้กระบวนการหารือ การประเมิน และการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดซื้อเครื่องช่วยหายใจ ทั้งหมดล้วนกระทำผ่านแอปพลิเคชัน WhansApp ซึ่งการกระทำนี้ไม่ใช่ขั้นตอนมาตรฐานแต่อย่างใด โดยเหตุผลที่ต้องมีการเจรจากันในรูปแบบนี้ก็เพราะว่าการล็อกดาวน์ในช่วงโควิด และความเร่งด่วนอันเนื่องมาจากความร้ายแรงของสถานการณ์ ณ เวลานั้น
คณะกรรมการระบุต่อไปว่าการไม่มีข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและบริษัท PLSB หมายความว่าไม่มีฝ่ายใดที่สามารถแสดงความรับผิดชอบต่อกรณีที่เครื่องช่วยหายใจ 104 เครื่องใช้งานไม่ได้
"เนื่องจากความไม่แน่นอนของบทบาทของบริษัท PLSB อันเกี่ยวข้องกับการจัดซื้อนี้ จึงไม่สามารถดําเนินการทางกฎหมายได้"” คณะกรรมการระบุ
อนึ่งผลการตรวจสอบของคณะกรรมการ PAC อันเกี่ยวข้องกับกรณีวัคซีนหมดอายุ เครื่องช่วยหายใจที่ใช้งานไม่ได้และชุดป้องกันการติดเชื่อหรือชุด PPE ส่วนเกินนั้นถูกเผยแพร่ลงบนเว็บไซต์ของรัฐสภาเมื่อวันที่ 30 ต.ค.ที่ผ่านมา
คณะกรรมการระบุในรายงานด้วยว่าพบว่ามีความคลาดเคลื่อนในข้อมูลระหว่างคําแถลงของกระทรวงสาธารณสุขและ ข้อมูลของบริษัท PLSB เกี่ยวกับการรับประกันเครื่องช่วยหายใจทั้ง 136 เครื่อง
ในการตรวจสอบเอกสารใบเสนอราคาที่บริษัท PLSB ส่งไปให้กับคณะกรรมการ PAC ระบุว่าทางบริษัทซัพพลายเออร์ได้มีการรับประกันสินค้าแล้ว
อย่างไรก็ตามคณะกรรมการ PAC ตรวจสอบพบว่าเอกสารดังกล่าวไม่ได้มีการลงรายละเอียดว่ารวมถึงเครื่องช่วยหายใจจำนวน 136 เครื่อง และก็ไม่มีการลงละเอียดรับทราบไว้ในใบเสร็จแต่อย่างใด
ย้อนไปเมื่อวันที่ วันที่ 25 มี.ค. 2563 คณะรัฐมนตรีมาเลเซียได้รับแจ้งเกี่ยวกับความต้องการเครื่องช่วยหายใจ 800 เครื่อง โดย 300 เครื่องเพื่อทดแทนอุปกรณ์ที่มีอยู่และ 500 เครื่องเพื่อตอบสนองความต้องการครั้งใหม่
หลังจากนั้นผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุขได้ขอความช่วยเหลือจากบริษัท PLSB เพื่อให้บริษัทดำเนินการจัดหาเครื่องช่วยหายใจจากประเทศผู้ผลิตต่างๆรวมถึงจากประเทศจีน
จากข้อมูลการสืบค้นของคณะกรรมการ PAC พบว่านี่เป็นครั้งแรกที่ทางกระทรวงสาธารณสุขมาเลเซียได้จัดหาเครื่องช่วยหายใจที่มียี่ห้อเฉพาะเจาะจงซึ่งผลิตในประเทศจีน
โดยรายละเอียดความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง พบว่ากระทรวงสาธารณสุขได้มีการอนุมัติการจ่ายเงินล่วงหน้าคิดเป็นมูลค่า 30 ล้านริงกิต (225,398,082 บาท) ให้กับบริษัท PLSB เพื่อให้บริษัทดำเนินการจัดซื้อเครื่องช่วยหายใจกว่า 500 เครื่อง ซึ่งตามข้อตกลง ยอดเงินเต็มจะถูกชำระให้กับบริษัทหลังจากที่เครื่องช่วยหายใจทั้งหมดมาถึงแล้ว
หน้าเว็บบริษัท Pharmaniaga Logistics Sdn Bhd (PLSB)
ต่อมาจึงได้มีการจัดส่งเครื่องช่วยหายใจจำนวน 136 เครื่อง คิดเป็นมูลค่า 20.1 ล้านริงกิต (151,016,715 บาท) ไปให้กับหน่วยงานต่างๆภายใต้สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในช่วงระหว่างวันที่ 1 เม.ย.-19 พ.ค. 2563
หลังจากที่เครื่องช่วยหายใจดังกล่าวมาถึง พวกมันกลับไม่ผ่านเกณฑ์ตามกระบวนการทดสอบและการว่าจ้างหรือ T&C แต่อย่างใด อย่างไรก็ตามในโบรชัวร์ผลิตภัณฑ์อ้างว่าการตรวจสอบตามข้อกำหนดนั้นจะถูกดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญของกระทรวงสาธารณสุข
โดยผลจากกระบวนการ T&C พบว่ามีแค่เครื่องช่วยหายใจจำนวน 28 เครื่องเท่านั้นที่สามารถใช้งานได้ อีก 93 เครื่อง ใช้งานไม่ได้ และอีก 15 เครื่องที่เหลือถูกส่งคืนกลับไปยังประเทศผู้ผลิตเพื่อให้จัดหาเครื่องใหม่มาทดแทน
ยิ่งไปกว่านั้นยังพบว่ามีการอนุมติเงินอีกจำนวน 3.97 ล้านริงกิต (29,827,679 บาท) เพื่อว่าจ้างให้บริษัท PLSB ดำเนินการปรับปรุงเครื่องช่วยหายใจที่มีอยู่ นี่ส่งผลทำให้ต้นทุนการจัดซื้อจัดจ้างโดยรวมสำหรับเครื่องช่วยหายใจจำนวน 136 เครื่องอยู่ที่ 24.07 ล้านริงกิต (180,844,394 บาท)
ส่วนเครื่องช่วยหายใจจำนวน 15 เครื่องที่ถูกส่งไปเปลี่ยนเพื่อหาเครื่องใหม่ทดแทน พบว่ามีแค่ 4 เครื่องเท่านั้นที่ใช้การได้ สรุปตัวเลขก็คือว่าจากเครื่องช่วยหายใจจำนวน 136 เครื่อง พบว่ามี 104 เครื่องที่ใช้การไม่ได้
“ปัญหาของเครื่องช่วยหายใจทั้งหมดคือจุดเสียบปลั๊กของเครื่องช่วยหายใจแตกต่างจากเต้าเสียบที่ใช้ในมาเลเซีย” รายงานของ PAC ตอนหนึ่งระบุและระบุต่อไปว่าดังนั้นการจะทำให้สามารถเสียบปลั๊กเครื่องช่วยหายใจได้ก็จะต้องมีการอัปเกรดจุดเสียบปลั๊กของเครื่องช่วยหายใจนั่นเอง
“อย่างไรก็ตามเครื่องช่วยหายใจแต่ละเครื่องมีปัญหาที่แตกต่างกันในแง่ของฮาร์ดแวร์อุปกรณ์เสริมและซอฟต์แวร์” รายงานระบุทิ้งท้าย
เรียบเรียงจาก:https://www.thestar.com.my/news/nation/2023/11/01/no-accountability-not-acceptable-in-ventilator-procurement,https://bnn.network/world/faulty-ventilators-and-whatsapp-procurements-malaysias-covid-19-purchasing-scandal/
อ่านประกอบ:
- ส่องคดีทุจริตโลก: นักธุรกิจบำบัดน้ำเสียจ่ายสินบน จนท.รัฐฮาวาย แลกผูกขาดสัญญานานนับปี
- ส่องคดีทุจริตโลก: ศาลสิงคโปร์ไม่ให้ประกันจีนเทา เหตุมีพาสปอร์ต ตปท.เพียบ หวั่นหลบหนี
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตนายกฯจอร์แดนถือสัญชาติโดมินิกาหลังพ้นตำแหน่ง ทนายยันทำเรื่องถูกต้อง
- ส่องคดีทุจริตโลก:นักธุรกิจจีนเทาขายน้ำวิเศษอ้างนาซารับรอง จ่ายสินบนนักการทูต แลกทำงาน UN
- ส่องคดีทุจริตโลก:สว.สหรัฐฯ ถูกสอบรับสินบน แลกอนุมัติงบช่วยเหลือทางทหาร รบ.อียิปต์หมื่นล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: กห.เดนมาร์กจัดซื้อปืนใหญ่ 8.9 พัน ล.ไม่โปร่งใส แลกบ.อิสราเอลถอนฟ้องคดี
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉทุนจีนสีเทา ถูกจับข้อหาฟอกเงินที่สิงคโปร์ ซื้ออสังหาฯ พันล. ณ ลอนดอน
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉเอกชนอิสราเอล ส่งยุทธภัณฑ์ลอตใหญ่ให้เมียนมา หลังรัฐประหาร
- ส่องคดีทุจริตโลก: จนท.ยูเครนจับอดีตผู้สนับสนุน ปธน.เซเลนสกี โยงทุจริต-ฟอกเงินนับ พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:โครงการพาสปอร์ตทองคำ โยงผู้ต้องสงสัย คดีฟอกเงิน 2.5 หมื่น ล.ที่สิงคโปร์
- ส่องคดีทุจริตโลก:ชี้เป็น ปย.ต่อประชาชน-ศาลสูงสั่ง สธ.แอฟริกาใต้ เปิดทุกสัญญาวัคซีนโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก:คนใกล้ชิด รมว.กห.ยูเครน เอี่ยวจัดซื้อชุดทหารฤดูหนาวด้อยคุณภาพ พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ตร.ออสซี่สั่งสอบ ปมสินบนนักการเมืองนาอูรู แลกสัญญาศูนย์กักกันหมื่นล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉเส้นเงินผิด กม.ผ่านภูมิภาคบอลข่านตะวันตก หลังสงครามรัสเซีย-ยูเครนปะทุ
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตอั๊งยี่จากมาเก๊า สู่นักธุรกิจทุนจีนสีเทา เจ้าของคาสิโนที่เมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ที่ปรึกษาออสซี่ใช้ความลับ รบ.ให้คำแนะนำเอื้อเอกชนยักษ์ใหญ่เลี่ยงภาษี
- ส่องคดีทุจริตโลก:ส.ส.ดังจอร์เจีย อ้างข้อผิดพลาด-ไร้เจตนาซุกอพาร์ทเมนท์หรู ณ ดูไบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: ทหารรับจ้างแวกเนอร์ยึดแอฟริกากลาง หนุนเผด็จการ แลกผลประโยชน์นับแสนล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:อาวุธสวีเดน ถูกอินเดียส่งออกให้ทัพเมียนมา ใช้ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปงเอกชนสวิส ตั้ง บ.ย่อย หลบคว่ำบาตร แอบขายน้ำมันรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมปัญหาการใช้กฎหมายใหม่แคนาดา รับมือโอลิการ์ชลงทุนสินทรัพย์มหาศาล
- ส่องคดีทุจริตโลก: จากปมสินบนโรลซ์รอยส์โยงกรณีอื้อฉาว จัดซื้อ บ.ฝึก ทอ.อินเดียนับหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เส้นทางทองคำ แสน ล.จาก 'รัสเซีย' สู่ UAE หลบมาตรการคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก: ยูเอ็นเผย 'สิงคโปร์' ส่งออกชิ้นส่วนให้กองทัพเมียนมา 8 พัน ล. หลัง รปห.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เผยความมั่งคั่งบิ๊ก ทอ.เมียนมา ให้เครือญาติตั้งบริษัทรับงานนับพันล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตลูกจ้างฟ้องศาล แฉ บ.แคนาดา จ่ายสินบน แลกสัญญารถเกราะยูเครน พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัทพลังงานเยอรมนี เอี่ยวส่งเชื้อเพลิง เอื้อกองทัพรัสเซีย บุกยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: สกอตแลนด์ทำสัญญาจ้างตุรเคีย ต่อเรือ 9 พัน ล. ท้องถิ่นไม่ได้ประโยชน์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกสารหลุดเพนตากอน แฉความสัมพันธ์ รัสเซีย- UAE ช่วยหลบมาตรการคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เจาะลึกระบบธนาคารใต้ดินจีน เอี่ยวฟอกเงินพันล้านแก๊งยาเสพติดยุโรป
- ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการ EU สั่งสอบ งบฟื้นฟูเมืองหลวงบัลแกเรียไม่โปร่งใส เสียหาย ร้อย ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.เซอร์เบีย ส่อใช้งานนักจารกรรมข้อมูลการเงินอิสราเอลโจมตีฝ่ายตรงข้าม
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกชนใกล้ชิดพรรคการเมือง ได้สัญญาส่งอาหารกองทัพลัตเวีย 8 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการสวิสสั่งฟัน 4 นายธนาคาร เอื้อประโยชน์คนสนิทปูตินฝากเงินนับพัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง 3 เอกชนเยอรมนี นำเข้าไม้สักผิด กม.จากเมียนมานานนับปี
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉ หน.ทหารรับจ้างวากเนอร์ หลบคว่ำบาตรตะวันตก หารายได้ พัน ล.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉคอร์รัปชั่นวงการก่อสร้างตุรเคีย ต้นเหตุยอดตายแผ่นดินไหว 4.6 หมื่นศพ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปม บ.เกลมาโต้ถูกกล่าวหาจ่ายคอมมิชชั่นเอื้อทำสัญญาหลาย รบ.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง บ.พลังงานยักษ์ใหญ่ตะวันตก ทำธุรกิจหนุนเส้นเงินเผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมฉาว กห.ยูเครนจัดซื้ออาหารไม่โปร่งใส กระทบความเชื่อมั่นต่างชาติ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ขมวดปมอื้อฉาว ATK สะเทือนพรรคคอมฯเวียดนามอย่างไร หลัง ปธน.ลาออก
- ส่องคดีทุจริตโลก: ตามรอยบุหรี่จีนนับล้านมวนสูญหาย หลังเดินทางออกจากโรงงานในโรมาเนีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงเอกชนรับงานบูรณะถนนยูเครนพันล้าน เชื่อมโยงผู้ต้องหาหนีคดี FBI
- ส่องคดีทุจริตโลก: ประมวลข่าวคอร์รัปชันโลกปี 65 จากโอลิการ์ชรัสเซียถึงเอกสารแพนโดรา