สำนักข่าว AFR ระบุถึงตอนเดือน ธ.ค.2558 ว่าบริษัทอย่างอูเบอร์และเฟซบุ๊กได้ดำเนินการจัดตั้งโครงสร้างบริษัทใหม่ ซึ่งนี่ช่วยทำให้บริษัทสามารถหลบเลี่ยงจากกฎหมายฉบับใหม่ของออสเตรเลียที่จะมีผลบังคับใช้ในเดือน ม.ค.2559 ขณะที่โฆษกของบริษัทอูเบอร์กล่าวยืนยันกับ AFR ว่าบริษัทได้รับคำแนะนำจาก PwC Australia แต่กล่าวต่อไปด้วยว่าบริษัทนั้นไม่ได้มีส่วนรับรู้ด้วยเลยว่าคำแนะนำของ PwC นั้นอาจจะมาจากข้อมูลที่ได้รับมาอย่างไม่เหมาะสม
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สัปดาห์นี้ขอนำเสนอกรณีการเลี่ยงภาษีในประเทศออสเตรเลียโดยมีบริษัทที่ปรึกษาแห่งหนึ่งเป็นผู้นำเอาข้อมูลลับจากทางรัฐบาลไปใช้ประโยชน์เพื่อช่วยให้บริษัทข้ามชาติสามารถปรับโครงสร้างเพื่อเลี่ยงภาษีได้
โดยเว็บไซต์สมาคมผู้สื่อข่าวสืบสวนสอบสวนนานาชาติ (ICIJ) ได้รายงานข่าวการเปิดโปงกรณีที่บริษัทขนาดใหญ่อย่างเฟซบุ๊กและอูเบอร์นั้นหลบเลี่ยงภาษี เนื่องจากทั้งสองบริษัทมีส่วนนเรื่องอื้อฉาวอันเกี่ยวกับกรณีของบริษัท PwC Australia และการที่บริษัทนี้ได้ใช้ข้อมูลลับของทางรัฐบาลออสเตรเลีย ตามข้อมูลที่ถูกเปิดเผยของสำนักข่าว Australian Financial Review หรือ AFR
สำหรับบริษัท PWC นั้นเป็นบริษัทที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา และผลของการให้คำปรึกษา ก็ทำให้เฟซบุ๊กและอูเบอร์ได้ดำเนินการจัดตั้งโครงสร้างบริษัทแห่งใหม่เพียงไม่กี่สัปดาห์ก่อนที่กฎหมายเพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีสำหรับบริษัทข้ามชาติฉบับใหม่จะมีผลบังคับใช้ในออสเตรเลียในช่วงต้นปี 2559 ตามข้อมูลของ AFR ระบุว่า สํานักงานสรรพากรออสเตรเลียนั้นต้องเผชิญกับเรื่องน่าตกใจเป็นอย่างยิ่ง เมื่อได้รับทราบว่าเหตุใดบริษัทข้ามชาติเหล่านี้จึงสามารถดำเนินการปรับโครงสร้างบริษัทได้อย่างรวดเร็วนักเพื่อหลบเลี่ยงต่อกฎหมายฉบับใหม่
ข้อมูลที่ยืนยันแล้วระบุว่านายปีเตอร์ คอลลินส์ อดีตบุคลากรระดับอาวุโส ของบริษัท PWC ซึ่งเคยทำหน้าที่เป็นหัวหน้าทีมงานที่ให้คำปรึกษาในด้านข้อมูลอันเป็นความลับ ซึ่งตำแหน่งนี้ถูกแต่งตั้งโดยรัฐบาลออสเตรเลีย ได้ทำการปล่อยข้อมูลและรายละเอียดของกฎหมายฉบับใหม่ก่อนที่จะมีผลบังคับใช้ไปให้กับบริษัทที่ร่วมงานกับ PwC
โดยการกระทำอันมิชอบของนายคอลลินส์ถูกเปิดโปงขึ้นเมื่อตอนต้นปี หลังจากที่คณะกรรมการผู้ปฏิบัติงานด้านภาษีได้มีการปลดนายคอลลินส์ออกเมื่อเดือน ธ.ค. ปีที่แล้ว และหลังจากนั้นสำนักข่าว AFR ที่เป็นพันธมิตรกับ ICIJ ก็ได้ดำเนินการเปิดเผยข้อมูลจนนำไปสู่การที่คณะกรรมการของวุฒิสภาได้ดำเนินการไต่สวนกรณีความไม่โปร่งใสหลายกรณีอันเกี่ยวกับบริษัท PwC Australia
ในตอนแรกนั้นมีการมองกันว่ากรณีความไม่โปร่งใสของบริษัท PwC Australia แต่ปรากฏว่าในเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา มีการเปิดโปงเอกสารกว่า 144 หน้าซึ่งมีการคาดแถบดำเอาไว้ โดยเป็นเอกสารที่รับส่งกันระหว่างอีเมลในบริษัท PWC ในอีเมลพบว่ามีการสื่อสารกันพบว่าบุคคลกรระดับสูงของบริษัทจำนวนหลายรายมีส่วนกับเรื่องนี้ นี่ทำให้เกิดคำถามตามมาว่าบุคคลระดับอาวุโสรายอื่นๆของบริษัทนอกเหนือจากนายคอลลินส์ได้นำเอาข้อมูลทีรั่วไหลนี้เปิดเผยไปไกลแค่ไหน
ในอีเมลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าบริษัท PwC ได้ให้คำแนะนำที่มีรายละเอียดส่วนหนึ่งเป็นข้อมูลลับ โดยคำแนะนำนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการตลาดในการให้บริการบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายภาษีฉบับใหม่ของออสเตรเลีย โดยบริษัทข้ามชาติเหล่านี้ก็รวมไปถึงบริษัทเทคโนโลยีจากสหรัฐอเมริกาอย่างเช่นแอปเปิล,กูเกิล และไมโครซอฟท์ ซึ่งเชื่อกันว่าบริษัททั้งสามแห่งนั้นเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทเทคโนโลยีสหรัฐฯ อีกกว่า 23 แห่งที่บริษัท PwC ได้ดำเนินการติดต่อด้วย
สำหรับกฎหมายภาษีตัวใหม่ของออสเตรเลียนั้นถูกประกาศเป็นระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปี หลังจากที่ ICIJ ได้ทำข่าวเปิดโปงที่ประเทศลักเซมเบิร์กในปี 2557 โดยข้อมูลเอกสารที่รั่วไหลของ PwC ระบุว่าสืบเนื่องจากที่บริษัทยักษ์ใหญ่อย่างเช่นเป๊ปซี่, อิเกีย, เฟดเอ็กซ์ สามารถจะหลบเลี่ยงภาษีได้เป็นมูลค่ากว่าพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ด้วยการโอนเงินผ่านไปยังประเทศลักเซมเบิร์ก กรณีดังกล่าวส่งผลทำให้หน่วยงานในต่างประเทศหลายแห่งรวมถึงหน่วยงานด้านภาษีของออสเตรเลียต้องออกมาให้คำมั่นว่าจะดำเนินการป้องกันเรื่องภาษีหลังจากกรณีการเปิดโปงที่ลักเซมเบิร์ก
รายงานเมื่อไม่นานมานี้จากสำนักข่าว AFR ระบุถึงตอนเดือน ธ.ค.2558 ว่าบริษัทอย่างอูเบอร์และเฟซบุ๊กได้ดำเนินการจัดตั้งโครงสร้างบริษัทใหม่ ซึ่งนี่ช่วยทำให้บริษัทสามารถหลบเลี่ยงจากกฎหมายฉบับใหม่ของออสเตรเลียที่จะมีผลบังคับใช้ในเดือน ม.ค.2559 ขณะที่โฆษกของบริษัทอูเบอร์กล่าวยืนยันกับ AFR ว่าบริษัทได้รับคำแนะนำจาก PwC Australia แต่กล่าวต่อไปด้วยว่าบริษัทนั้นไม่ได้มีส่วนรับรู้ด้วยเลยว่าคำแนะนำของ PwC นั้นอาจจะมาจากข้อมูลที่ได้รับมาอย่างไม่เหมาะสม
PwC ปลดผู้บริหารในออสเตรเลียจำนวน 8 ราย เนื่องมาจากกรณีการรั่วไหลเรื่องภาษี (อ้างอิงวิดีโอจาก 10 News First)
ส่วนเฟซบุ๊กกล่าวกับ AFR ว่าได้มีการติดต่อกับสำนักงานภาษีของออสเตรเลียมาสักพักแล้วและรู้สึกแปลกใจกับกรณีการกระทำผิดของบริษัท PwC
โดยทั้งสองบริษัทนั้นบรรลุข้อตกลงกับสำนักงานภาษีของออสเตรเลียไปตั้งแต่ปี 2560 ตามรายงานของ AFR
เมื่อประมาณสองสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักข่าวรอยเตอร์สเองก็ได้ยืนยันว่าบริษัทกูเกิลเป็นอีกบริษัทที่ได้รับทราบข้อมูลอันเป็นความลับเกี่ยวกับกฎหมายต่อต้านการหลีกเลี่ยงภาษีจากบริษัท PwC
ขณะที่โฆษกกูเกิลก็ได้กล่าวในแถลงการณ์ระบุว่าการกระทำของบริษัท PwC ทำให้เราผิดหวัง และไม่มีผลต่อการดำเนินงานของเราในการที่จะปฏิบัติตามกฎหมายออสเตรเลีย
ส่วนโฆษกบริษัท PwC Australia ออกมากล่าวว่าลูกค้าของบริษัทไม่ได้ทำผิดกฎหมายแต่อย่างใด และไม่ได้มีการใช้ในส่วนของข้อมูลลับเพื่อทำให้ลูกค้าเสียภาษีน้อยลง
@ผลกระทบจากการรั่วไหลข้อมูลเรื่องภาษีของ PwC
ย้อนไปเมื่อเดือน พ.ค. พบว่ามีผู้บริหารระดับสูงของ PwC Australia รวมไปถึงนายทอม ซีมัวร์ ประธานผู้บริหารต้องออกจากตำแหน่ง อันเนื่องมาจากว่ามีกรณีการเปิดโปงความไม่โปร่งใสเรื่องการปล่อยข้อมูลเกี่ยวกับภาษี บริษัท PwC Network ในระดับโลกจึงได้เข้ามาควบคุมสถานการณ์ในเดือน มิ.ย. โดยได้มีการตั้งประธานผู้บริหารบริษัทคนใหม่ เปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชนระบุว่าผู้บริหารคนเก่าล้มเหลวในการรักษาความเป็นมืออาชีพและมาตรฐานทางจริยธรรมของบริษัทเอาไว้
“การกระทําของผู้บริหารบริษัทที่ผ่านมา ไม่ได้เป็นเสมือนตัวแทนและพฤติกรรมของบริษัท PwC ทั่วโลกและผมรู้สึกเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อลูกค้าของเราผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในวงกว้างและพนักงานของเรา” นายบ็อบ มอริตซ์ ผู้บริหารบริษัท PwC กล่าวในแถลงการณ์
ในปัจจุบันบริษัทตรวจสอบบัญชีแห่งนี้ได้ขายกิจการในส่วนที่เป็นที่ปรึกษากับรัฐบาลออสเตรเลียไปแล้ว โดยขายให้กับบริษัทลงทุนชื่อว่า Allegro Funds ด้วยมูลค่าแค่ 1 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (23.67 บาท) ซึ่งก่อนหน้าที่มีมีกรณีอื้อฉาว บริษัท PwC มีมูลค่าสัญญากับรัฐบาลออสเตรเลีบคิดเป็นมูลค่านับหลายร้อยล้านดออลาร์ออสเตรเลีย
ในขณะเดียวกันมี ก็มีการตรวจสอบจากทั้งรัฐบาลและเจ้าหน้าที่จำนวนหลายครั้งอันเป็นผลมาจากการรั่วไหลของกรณีข้อมูลภาษีรวมถึงการสอบสวนของตํารวจสหพันธรัฐออสเตรเลีย การตรวจสอบเพิ่มเติมโดยคณะกรรมการผู้ปฏิบัติงานด้านภาษีและการตรวจสอบของรัฐสภาและรัฐบาลกลางเกี่ยวกับบทบาทของบริษัทที่ปรึกษาและรูปแบบความร่วมมือของบริษัท ที่ปรึกษารายใหญ่สี่แห่ง
ข้อมูลบริษัท PwC ในประเทศไทย (อ้างอิงข้อมูลส่วนนี้จาก https://www.pwc.com/th/en/about-us.html)
PwC Australia ยังได้รายงานรายละเอียดของเรื่องอื้อฉาวต่อหน่วยงานกํากับดูแลของสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นคณะกรรมการกํากับดูแลการบัญชีของบริษัทมหาชน
ทางด้านของผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจอย่างนายเจมส์ กูธรี บอกกับ AFR ว่ามีความเสี่ยงที่เรื่องอื้อฉาวอาจทําให้พันธมิตรในสหรัฐฯ ของบริษัทเสียหายได้เช่นกัน
"นี่เป็นเรื่องใหญ่เพราะมันจะมีผลต่อชื่อเสียงของ PwC ในสหรัฐอเมริกา" นายกูธรีกล่าว
- ส่องคดีทุจริตโลก:ส.ส.ดังจอร์เจีย อ้างข้อผิดพลาด-ไร้เจตนาซุกอพาร์ทเมนท์หรู ณ ดูไบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: ทหารรับจ้างแวกเนอร์ยึดแอฟริกากลาง หนุนเผด็จการ แลกผลประโยชน์นับแสนล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:อาวุธสวีเดน ถูกอินเดียส่งออกให้ทัพเมียนมา ใช้ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปงเอกชนสวิส ตั้ง บ.ย่อย หลบคว่ำบาตร แอบขายน้ำมันรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมปัญหาการใช้กฎหมายใหม่แคนาดา รับมือโอลิการ์ชลงทุนสินทรัพย์มหาศาล
- ส่องคดีทุจริตโลก: จากปมสินบนโรลซ์รอยส์โยงกรณีอื้อฉาว จัดซื้อ บ.ฝึก ทอ.อินเดียนับหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เส้นทางทองคำ แสน ล.จาก 'รัสเซีย' สู่ UAE หลบมาตรการคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก: ยูเอ็นเผย 'สิงคโปร์' ส่งออกชิ้นส่วนให้กองทัพเมียนมา 8 พัน ล. หลัง รปห.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เผยความมั่งคั่งบิ๊ก ทอ.เมียนมา ให้เครือญาติตั้งบริษัทรับงานนับพันล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตลูกจ้างฟ้องศาล แฉ บ.แคนาดา จ่ายสินบน แลกสัญญารถเกราะยูเครน พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัทพลังงานเยอรมนี เอี่ยวส่งเชื้อเพลิง เอื้อกองทัพรัสเซีย บุกยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: สกอตแลนด์ทำสัญญาจ้างตุรเคีย ต่อเรือ 9 พัน ล. ท้องถิ่นไม่ได้ประโยชน์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกสารหลุดเพนตากอน แฉความสัมพันธ์ รัสเซีย- UAE ช่วยหลบมาตรการคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เจาะลึกระบบธนาคารใต้ดินจีน เอี่ยวฟอกเงินพันล้านแก๊งยาเสพติดยุโรป
- ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการ EU สั่งสอบ งบฟื้นฟูเมืองหลวงบัลแกเรียไม่โปร่งใส เสียหาย ร้อย ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.เซอร์เบีย ส่อใช้งานนักจารกรรมข้อมูลการเงินอิสราเอลโจมตีฝ่ายตรงข้าม
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกชนใกล้ชิดพรรคการเมือง ได้สัญญาส่งอาหารกองทัพลัตเวีย 8 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการสวิสสั่งฟัน 4 นายธนาคาร เอื้อประโยชน์คนสนิทปูตินฝากเงินนับพัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง 3 เอกชนเยอรมนี นำเข้าไม้สักผิด กม.จากเมียนมานานนับปี
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉ หน.ทหารรับจ้างวากเนอร์ หลบคว่ำบาตรตะวันตก หารายได้ พัน ล.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉคอร์รัปชั่นวงการก่อสร้างตุรเคีย ต้นเหตุยอดตายแผ่นดินไหว 4.6 หมื่นศพ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปม บ.เกลมาโต้ถูกกล่าวหาจ่ายคอมมิชชั่นเอื้อทำสัญญาหลาย รบ.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง บ.พลังงานยักษ์ใหญ่ตะวันตก ทำธุรกิจหนุนเส้นเงินเผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมฉาว กห.ยูเครนจัดซื้ออาหารไม่โปร่งใส กระทบความเชื่อมั่นต่างชาติ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ขมวดปมอื้อฉาว ATK สะเทือนพรรคคอมฯเวียดนามอย่างไร หลัง ปธน.ลาออก
- ส่องคดีทุจริตโลก: ตามรอยบุหรี่จีนนับล้านมวนสูญหาย หลังเดินทางออกจากโรงงานในโรมาเนีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงเอกชนรับงานบูรณะถนนยูเครนพันล้าน เชื่อมโยงผู้ต้องหาหนีคดี FBI
- ส่องคดีทุจริตโลก: ประมวลข่าวคอร์รัปชันโลกปี 65 จากโอลิการ์ชรัสเซียถึงเอกสารแพนโดรา