นายโคโลมอยสกีเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของโรงกลั่นน้ำมันแห่งหนึ่งชื่อว่า Ukrtatnafta โดยโรงกลั่นนี้ถูกกล่าวหาว่าเป็นแหล่งยักยอกเงินเป็นจำนวนมาก และยังได้ประโยชน์จากสัญญาของรัฐจากการใช้เส้นสายเพื่อเรียกเก็บเงินค่าขายน้ำมันในราคาที่สูงเกินจริง จึงเป็นเหตุทำให้ยูเครนได้แปรรูปโรงกลั่นน้ำมันนี้เป็นของรัฐไปเมื่อเดือน พ.ย.ปีที่แล้ว ด้วยเหตุผลที่ว่าน้ำมันนั้นเป็นทรัพย์สินในเชิงยุทธศาสตร์อันจำเป็นในช่วงเวลาสงคราม
ส่องคดีทจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สัปดาห์นี้ขอเสนอกรณีการจับกุมอดีตผู้สนับสนุนของประธานาธิบดีโวโลโดเมียร์ เซเลนสกี ของประเทศยูเครน ในข้อหาทุจริต
สำนักข่าวหลายแห่งในประเทศยูเครนได้รายงานข่าวกรณีที่นายอิฮอร์ โคโลมอยสกี โอลิการ์ชหรือมหาเศรษฐีผู้ทรงอิทธิพลชื่อดังของยูเครนถูกจับกุมเมื่อวันที่ 2 ก.ย.ในข้อหาว่าฉ้อโกงและยักยอกเงินจากโรงกลั่นน้ำมันที่เขาได้ถือหุ้นอยู่
เจ้าหน้าที่หน่วยงานความมั่นคงยูเครนได้เปิดเผยภาพแสดงให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังเผชิญหน้ากับนายโคโลมอยสกีที่บ้านพักของเขา โดยเจ้าหน้าที่ได้ตรวจค้นที่พักอาศัย ในระหว่างที่กำลังตั้งข้อหาฉ้อโกงและฟอกเงิน
แถลงการณ์ของเจ้าหน้าที่ระบุว่า นายโคโลมอยสกีเป็นผู้ต้องสงสัยว่าได้ฟอกเงินกว่า 500 ล้านฮริฟเนียยูเครน (476,535,281 บาท) ในช่วงระหว่างปี 2562-2563 ทั้งนี้การจับกุมเกิดขึ้นหลังจากที่สำนักงานอัยการยูเครนได้ตรวจสอบความน่าสงสัยเกี่ยวกับแผนการเงินต่างๆของนายโคโลมอยสกี
ก่อนหน้านี้ ทางสํานักงานต่อต้านการทุจริตแห่งชาติยูเครนหรือว่า NABU ได้เคยเรียกนายโคโลมอยสกีไปสอบปากคำแล้วในช่วงเดือน ต.ค. ปีที่ผ่านมา โดยการสอบปากคำของ NABU ในปีที่แล้วเกิดขึ้นหลังจากที่มีการค้นบ้านของเขาแห่งหนึ่งที่ตั้งบนสกีรีสอร์ทบูโคเวล (Bukovel) และต่อมาในช่วงเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ก็ได้เข้าตรวจค้นบ้านอีกแห่งหนึ่งของเขาที่เมืองดนิโปร
นายโคโลมอยสกีเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของโรงกลั่นน้ำมันแห่งหนึ่งชื่อว่า Ukrtatnafta โดยโรงกลั่นนี้ถูกกล่าวหาว่าเป็นแหล่งยักยอกเงินเป็นจำนวนมาก และยังได้ประโยชน์จากสัญญาของรัฐจากการใช้เส้นสายเพื่อเรียกเก็บเงินค่าขายน้ำมันในราคาที่สูงเกินจริง จึงเป็นเหตุทำให้ยูเครนได้แปรรูปโรงกลั่นน้ำมันนี้เป็นของรัฐไปเมื่อเดือน พ.ย.ปีที่แล้ว ด้วยเหตุผลที่ว่าน้ำมันนั้นเป็นทรัพย์สินในเชิงยุทธศาสตร์อันจำเป็นในช่วงเวลาสงคราม
หน้าเว็บไซต์ Ukrtatnafta
อีกเหตุผลที่ยูเครนต้องแปรรูปโรงกลั่นน้ำมันแห่งนี้ ก็เพราะว่าบริษัทปฏิเสธที่จะจ่ายเงินภาษีกว่า 3.2 พันล้านฮริฟเนียฯ (3,049,825,802 บาท) ในช่วงปี 2564 ซึ่งหลังจากการแปรรูป หุ้นในส่วนของนายโคโลมอยสกีก็ถูกยึดไปโดยทางการยูเครนเช่นกัน
ที่ผ่านมา เป็นที่รับทราบกันดีว่านายโคโลมอยสกีมักจะได้โครงการที่เอื้อประโยชน์ให้เขาสามารถเก็บค่าเช่าหรือทำกำไรด้วยวิธีการที่น่าสงสัย อย่างไรก็ตามเขายังไม่เคยถูกตั้งข้อหาหรือถูกสอบสวนจากการกระทำอันน่าสงสัยเหล่านี้
ในช่วงเดือน พ.ย. 2559 สำนักข่าว bne IntelliNews ได้เคยรายงานข่าวผ่านสกู๊ปข่าวสืบสวนชื่อว่า Privat Investigations ระบุข้อมูลจากธนาคารกลางยูเครนหรือ National Bank of Ukraine (NBU) ว่ามีมากกว่าครึ่งหนึ่งของสมุดบัญชีเงินกู้ของธนาคาร PrivatBank ได้ให้เงินสินเชื่อแก่บริษัทเปลือกหอยที่ถูกควบคุมโดยนายโคโลมอยสกี ซึ่งหลังจากรายการนี้ออกอากาศ ก็มีการสอบสวนตามมา
ต่อมาในเดือน ธ.ค. 2559 ธนาคาร NBU ก็ได้ยืนยันข้อมูลว่ามีธุรกรรมมูลค่ากว่า 5.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (194,463,500,000 บาท) ซึ่งไม่ถูกบันทึกลงไปในเอกสารงบดุลของธนาคาร PrivatBank และในเดือนเดียวกันนี้เองธนาคารแห่งนี้ก็ถูกแปรรูปเป็นของรัฐ
จากการตรวจสอบในภายหลังของธนาคาร NBU พบว่า 99 เปอร์เซ็นต์ของสมุดกู้เงินของธนาคาร PrivatBank แห่งนี้เป็นของปลอม และกระทรวงการคลังของยูเครนก็ถูกบังคับให้เข้าไปช่วยเหลือธนาคารแห่งนี้ โดยใช้เงินสาธารณะไปมากกว่าพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
จากการสอบสวนของสำนักข่าว Kroll พบว่าเงินให้กู้บางส่วนนั้นถูกส่งไปถึงต่างประเทศ แต่ว่านายโคโลมอยสกีซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งธนาคาร PrivatBank ก็ไม่เคยถูกสอบสวนแต่อย่างใด และยิ่งไปกว่านั้นเงินที่หายไปจำนวนกว่า 5.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไม่เคยได้รับการกู้คืนกลับมาเลยแม้แต่ก้อนเดียว
นางวาเลเรีย กอนตาเรวา อดีตผู้ว่าการธนาคาร NBU ในช่วงปี 2557-2560 ได้เคยให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว bne IntelliNews ว่าตัวเธอเองได้เคยปฏิเสธที่จะคืนการควบคุมธนาคาร PrivatBank ให้กับนายโคโลมอยสกี ผลก็คือว่าบ้านของเธอถูกเผา และรถของลูกสะใภ้ของเธอก็ถูกเผาด้วยระเบิดขวดโมโลทอฟเช่นกัน และในที่สุดเธอก็ทนไม่ไหวและต้องลาออกจากการเป็นผู้ว่าการธนาคาร NBU เมื่อมีโลงศพพร้อมด้วยหุ่นที่แต่งกายเหมือนเธอถูกส่งมาที่นอกที่ทำการธนาคาร NBU
ข่าวการแปรรูปธนาคาร PravatBank ในปี 2560 (อ้างอิงวิดีโอจาก Euronews)
เชื่อกันว่าต่อมาหลังจากนั้นก็มีผู้บริหารระดับสูงของ NBU หลายรายถูกโจมตีในลักษณะทำนองนี้ ซึ่งทั้งหมดก็กล่าวโทษไปยังนายโคโลมอยสกี ว่าได้ดำเนินการประทุษร้ายต่อพนักงาน NBU ตลอดปี 2562
ในตอนนี้ธนาคาร PrivatBank ที่เป็นของรัฐไปแล้วได้ดำเนินการฟ้องร้องทางแพ่งต่อนายโคโลมอยสกีในกรุงลอนดอน และในไซปรัส และกำลังทำงานร่วมกันกับศาลและผู้พิพากษาที่กรุงลอนดอนเพื่อจะอายัดทรัพย์สินของนายโคโลมอนสกีกว่า สองพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (70,714,000,000 บาท) จนกว่าคดีจะถูกตัดสิน
ขณะที่ในเดือน พ.ค. 2563 รัฐสภายูเครนก็ได้ผ่านกฎหมายที่มีชื่อเล่นว่ากฎหมายต่อต้านโคโลมอยสกี ซึ่งห้ามไม่ให้อดีตเจ้าของธนาคารซึ่งถูกแปรรูปเป็นของรัฐกลับมาควบคุมธนาคารได้อีก เพื่อจะต่อต้านความพยายามของนายโคโลมอยสกีในการกลับมาควบคุมธนาคาร PrivatBank
ที่สหรัฐอเมริกาเองก็ได้มีการเปิดการสอบสวนนายโคโลมอยสกีในข้อหาว่าฟอกเงิน เพราะว่าโอลิการ์ชคนนี้ได้ส่งเงินกว่าหลายร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไปยังรัฐคลีฟแลนด์ และในเวลาต่อมาเขาก็ถูกคว่ำบาตร
โดยในปี 2564สหรัฐฯ ได้ห้ามไม่ให้นายโคโลมอยสกีและครอบครัวเข้าสู่ประเทศอีกต่อไป ด้วข้อกล่าวหาว่านายโคโลมอยสกีมีพฤติกรรมที่ทุจริต และเป็นภัยคุกคามต่อศรัทธาของประชาชนและสถาบันประชาธิปไตยในยูเครน
ตามมาด้วยในเดือน ก.ค. 2565 ประธานาธิบดีเซเลนสกีได้ถอนสัญชาติประชาชนยูเครนของนายโคโลมอยสกี โดยระบุว่าการถอนสัญชาติเป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์ต่อต้านโอลิการ์ช ตามที่ได้เคยหาเสียงเอาไว้ในเดือน มี.ค. 2564 และต่อมาหลังจากนั้นในเดือน ก.ย. 2564 ก็มีการออกกฎหมายต่อต้านโอลิการ์ช ที่ห้ามไม่ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีส่วนยุ่งเกี่ยวใดๆกับกลุ่มโอลิการ์ช
อย่างไรก็ตาม เหล่าบรรดาผู้สังเกตการณ์กล่าวว่านายเซเลนสกีที่ผ่านมาเคยมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับนายโคโลมอยสกี เนื่องจากว่าสื่อที่อยู่ในอาณาจักรของนายโคโลมอยสกีนั้นได้ให้กับสนับสนุนนายเซเลนสกีในช่วงปี 2562 และคาดว่าด้วยการสนับสนุนนี้เองก็ทำให้นายเซเลนสกีชนะเลือกตั้งและเป็นประธานาธิบดียูเครน
นายอิฮอร์ โคโลมอยสกีที่ปรากฎเป็นข่าวว่าหนีจากยูเครนในช่วงปี 2562
นอกจากนี้ในการเลือกตั้งประธานาธิบดียูเครนในปี 2562 ก็ปรากฎข้อมูลว่า นายโคโลมอยสกีได้ออกมาพูดเชียร์นายเซเลนสกีอย่างชัดเจน โดยกล่าวว่านายเซเลนสกีเป็นผู้ที่ความสามารถ และสามารถต่อสู้กับปัญหาการทุจริตของยูเครนได้เป็นอย่างดี และยังเชื่อว่านายเซเลนกสีจะสามารถนำพาประเทศยูเครนพ้นจากปัญหาทางเศรษฐกิจได้
เรียบเรียงจาก:https://www.intellinews.com/ukrainian-oligarch-ihor-kolomoisky-charged-with-money-laundering-fraud-290920/?source=ukraine,https://www.washingtonpost.com/world/europe/ukraines-minister-incumbent-and-his-rival-bribe-voters/2019/03/29/77bf4610-51f9-11e9-bdb7-44f948cc0605_story.html?utm_term=.b8e6b86c69db
อ่านประกอบ:
- ส่องคดีทุจริตโลก:โครงการพาสปอร์ตทองคำ โยงผู้ต้องสงสัย คดีฟอกเงิน 2.5 หมื่น ล.ที่สิงคโปร์
- ส่องคดีทุจริตโลก:ชี้เป็น ปย.ต่อประชาชน-ศาลสูงสั่ง สธ.แอฟริกาใต้ เปิดทุกสัญญาวัคซีนโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก:คนใกล้ชิด รมว.กห.ยูเครน เอี่ยวจัดซื้อชุดทหารฤดูหนาวด้อยคุณภาพ พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ตร.ออสซี่สั่งสอบ ปมสินบนนักการเมืองนาอูรู แลกสัญญาศูนย์กักกันหมื่นล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉเส้นเงินผิด กม.ผ่านภูมิภาคบอลข่านตะวันตก หลังสงครามรัสเซีย-ยูเครนปะทุ
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตอั๊งยี่จากมาเก๊า สู่นักธุรกิจทุนจีนสีเทา เจ้าของคาสิโนที่เมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ที่ปรึกษาออสซี่ใช้ความลับ รบ.ให้คำแนะนำเอื้อเอกชนยักษ์ใหญ่เลี่ยงภาษี
- ส่องคดีทุจริตโลก:ส.ส.ดังจอร์เจีย อ้างข้อผิดพลาด-ไร้เจตนาซุกอพาร์ทเมนท์หรู ณ ดูไบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: ทหารรับจ้างแวกเนอร์ยึดแอฟริกากลาง หนุนเผด็จการ แลกผลประโยชน์นับแสนล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:อาวุธสวีเดน ถูกอินเดียส่งออกให้ทัพเมียนมา ใช้ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปงเอกชนสวิส ตั้ง บ.ย่อย หลบคว่ำบาตร แอบขายน้ำมันรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมปัญหาการใช้กฎหมายใหม่แคนาดา รับมือโอลิการ์ชลงทุนสินทรัพย์มหาศาล
- ส่องคดีทุจริตโลก: จากปมสินบนโรลซ์รอยส์โยงกรณีอื้อฉาว จัดซื้อ บ.ฝึก ทอ.อินเดียนับหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เส้นทางทองคำ แสน ล.จาก 'รัสเซีย' สู่ UAE หลบมาตรการคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก: ยูเอ็นเผย 'สิงคโปร์' ส่งออกชิ้นส่วนให้กองทัพเมียนมา 8 พัน ล. หลัง รปห.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เผยความมั่งคั่งบิ๊ก ทอ.เมียนมา ให้เครือญาติตั้งบริษัทรับงานนับพันล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตลูกจ้างฟ้องศาล แฉ บ.แคนาดา จ่ายสินบน แลกสัญญารถเกราะยูเครน พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัทพลังงานเยอรมนี เอี่ยวส่งเชื้อเพลิง เอื้อกองทัพรัสเซีย บุกยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: สกอตแลนด์ทำสัญญาจ้างตุรเคีย ต่อเรือ 9 พัน ล. ท้องถิ่นไม่ได้ประโยชน์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกสารหลุดเพนตากอน แฉความสัมพันธ์ รัสเซีย- UAE ช่วยหลบมาตรการคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เจาะลึกระบบธนาคารใต้ดินจีน เอี่ยวฟอกเงินพันล้านแก๊งยาเสพติดยุโรป
- ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการ EU สั่งสอบ งบฟื้นฟูเมืองหลวงบัลแกเรียไม่โปร่งใส เสียหาย ร้อย ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.เซอร์เบีย ส่อใช้งานนักจารกรรมข้อมูลการเงินอิสราเอลโจมตีฝ่ายตรงข้าม
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกชนใกล้ชิดพรรคการเมือง ได้สัญญาส่งอาหารกองทัพลัตเวีย 8 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการสวิสสั่งฟัน 4 นายธนาคาร เอื้อประโยชน์คนสนิทปูตินฝากเงินนับพัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง 3 เอกชนเยอรมนี นำเข้าไม้สักผิด กม.จากเมียนมานานนับปี
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉ หน.ทหารรับจ้างวากเนอร์ หลบคว่ำบาตรตะวันตก หารายได้ พัน ล.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉคอร์รัปชั่นวงการก่อสร้างตุรเคีย ต้นเหตุยอดตายแผ่นดินไหว 4.6 หมื่นศพ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปม บ.เกลมาโต้ถูกกล่าวหาจ่ายคอมมิชชั่นเอื้อทำสัญญาหลาย รบ.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง บ.พลังงานยักษ์ใหญ่ตะวันตก ทำธุรกิจหนุนเส้นเงินเผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมฉาว กห.ยูเครนจัดซื้ออาหารไม่โปร่งใส กระทบความเชื่อมั่นต่างชาติ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ขมวดปมอื้อฉาว ATK สะเทือนพรรคคอมฯเวียดนามอย่างไร หลัง ปธน.ลาออก
- ส่องคดีทุจริตโลก: ตามรอยบุหรี่จีนนับล้านมวนสูญหาย หลังเดินทางออกจากโรงงานในโรมาเนีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงเอกชนรับงานบูรณะถนนยูเครนพันล้าน เชื่อมโยงผู้ต้องหาหนีคดี FBI
- ส่องคดีทุจริตโลก: ประมวลข่าวคอร์รัปชันโลกปี 65 จากโอลิการ์ชรัสเซียถึงเอกสารแพนโดรา