มีตัวอย่างที่โดดเด่นได้แก่นายไอวาน ฮเต็ต (Ivan Htet) ลูกชายของ พลอากาศเอก หม่องหม่องจ่อ อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศเมียนมา พบว่าเขาคนนี้ได้ก่อตั้งบริษัทชื่อว่า Alliance Engineering เพื่อให้ทำหน้าที่จัดส่งสิ่งต่างๆให้กับกองทัพอากาศ ส่วนหลานชายและหลานสาวของ พลอากาศเอก หม่องหม่องจ่อ ได้แก่ นายอู หลิน ฮเต็ต และนางดอว์ ม่อน ยี นั้นก็หาความมั่งคั่งให้ตัวเองผ่านการจัดหาและดำเนินการซ่อมบำรุงการให้บริการต่างๆกับกองทัพอากาศเช่นกัน
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สัปดาห์นี้ขอนำเสนอความมั่งคั่งของเหล่าบรรดาผู้นำกองทัพอากาศเมียนมา ที่เคยมีประวัติในการสั่งการให้บินล้ำแดนเข้ามาในประเทศไทยเพื่อทิ้งระเบิดใส่ชนกลุ่มน้อย เมียนมา
โดยสำนักข่าวอิรวดีของเมียนมาได้รายงานว่างบประมาณว่าด้วยกองทัพของเมียนมาในช่วงเวลาที่ผ่านมานั้นเพิ่มขึ้นทุกปีนับตั้งแต่ที่ พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ได้เข้ามาเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดในปี 2554 ทว่างบประมาณที่เกี่ยวกับกองทัพอากาศนั้นพบว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ดังจะเห็นได้ว่ามีการซื้อเครื่องบินรบลำใหม่ๆ อีกทั้ง ณ เวลานี้เผด็จการทหารก็ต้องพึ่งพาการโจมตีทางอากาศมากขึ้นเพื่อจะต้อสู้กับกลุ่มต่อต้าน
โดยในช่วงปีงบประมาณ 2566-2564 พบว่าเผด็จการทหารได้มีการอนุมัติงบประมาณด้านกลาโหมกว่า 2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (91,233,000,000 บาท) เพิ่มขึ้นกว่า 920 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (31,086,800,000 บาท) เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
อย่างไรก็ดีในช่วงเวลาก่อนหน้านี้ การอนุมัติงบประมาณให้กับกองทัพอากาศนั้นค่อนข้างน้อย โดยข้อมูลบันทึกรายจ่ายของกองทัพที่สำนักข่าวอิรวดีสามารถรวบรวมมาได้ ซึ่งข้อมูลนี้ไม่ได้ถูกส่งไปยังรัฐสภา พบว่าในช่วงปีงบประมาณ 2562-2563 กองทัพอากาศเมียนมาได้รับงบประมาณเพียงแค่ 376 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (12,705,040,000 บาท) ซึ่งงบประมาณตรงนี้ยังไม่รวมกับค่าน้ำมันและเงินเดือนบุคลากรในกองทัพอากาศ
ทว่าครึ่งหนึ่งของเงินงบประมาณดังกล่าวมักจะตกไปอยู่ที่ความมั่งคั่งของเหล่าบรรดานายพล,เจ้าหน้าที่ และบุคคลที่มีอิทธิพลต่างๆ
ยกตัวอย่างเช่นนายอู คยอ มิน อู เจ้าของบริษัท Sky Aviator ซึ่งเขาคนนี้เกิดในครอบครัวธรรมดา ในเมืองมะละแหม่ง ภูมิภาคอิรวดี แต่กลับสามารถสั่งสมความมั่งคั่งได้เป็นจำนวนมหาศาล รวมถึงสามารถจัดหารถเมอร์ซีเดส เบนซ์รุ่นหายากได้ในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมานี้ หลังจากที่บริษัทเขาได้รับอนุญาตในการจัดหาอะไหล่ต่างๆให้กับกองทัพอากาศ
นายอู คยอ มิน อู เจ้าของบริษัท Sky Aviator
รายต่อมาได้แก่พลอากาศจัตวา จ่อ หม่อ เทต ผู้ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการฐานทัพอากาศในเมืองทาดา-ยู ของมัณฑะเลย์ พบว่าเขาเป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับผลประโยชน์สูงสุดจากกรณีการมีข้อตกลงทางธุรกิจเกี่ยวกับกองทัพอากาศ
โดยพบว่าพลอากาศจัตวารายนี้เป็นผู้สนับสนุนหลักของศิลปินเมียนมาที่ชื่อว่านายโยเน่ เลย์ และนายเจ ไฟร์ และยังพบว่าเขามีที่ดินในมัณฑะเลย์อีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีมูลค่านับหลายแสนดอลลาร์สหรัฐฯ
ส่วนผู้ที่มั่งคั่งที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้นผู้บัญชาการทหารอากาศเมียนมา พล.อ.อ.ตุน ออง และเครือญาติที่สั่งคมความมั่งคั่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ เพื่อจะให้เข้าร่วมกับกลุ่มบุคคลผู้มีอิทธิพลของประเทศ
สำหรับโครงสร้างของกองทัพอากาศเมียนมานั้นถอดแบบมาจากกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร ซึ่งจะประกอบด้วยสามแผนกหลักได้แก่ 1.แผนกจัดซื้อ 2.แผนกวิศวกรรม และ 3.แผนกการบริหาร ซึ่งโครงสร้างนี้ถูกออกแบบเอาไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบและถ่วงดุลในการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ต่างๆ และเพื่อป้องกันการทุจริต ทว่ากองทัพอากาศเมียนมากลับมีการทุจริตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตั้งแต่ปี 2531
ภายใต้ระบอบเผด็จการทหารในช่วงเวลาที่เมียนมาถูกปกครองโดยสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (2531-2554) กองทัพอากาศได้ยุติการการเปิดประกวดราคาสำหรับการจัดซื้อเครื่องบิน,อะไหล่เครื่องบินใหม่ๆ และการทำสัญญาซ่อมบำรุงรักษาเครื่องบินต่างๆ แต่กลับใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มบุคคลที่มีความใกล้ชิดกับกลุ่มผู้นำในกองทัพอากาศให้ได้เป็นผู้รับสัญญาแทน โดยจะมีนางดอว์ เดซี่ พี่สะใภ้ของ พล.อง มองเอ้ อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุดเมียนมาทำหน้าที่เป็นคนกลางในกระบวนการจัดซื้อสำหรับกองทัพอากาศ
โดยในช่วงเวลานั้นเหล่าบรรดาเจ้าของธุรกิจต่างๆที่ชนะสัญญาจะต้องจ่ายเงินค่าคอมมิชชั่นให้กับนางดอว์ เดซี่ และเหล่าบรรดานายพล แต่ว่าพอมาถึงยุคของมิน อ่อง หล่าย ก็เปลี่ยนวิธีการใหม่ โดยเหล่าบรรดาลูกหลานของนายพลต่างๆจะดำเนินการจัดตั้งบริษัทของตัวเองเพื่อทำหน้าที่จัดหาให้กับกองทัพ
มีตัวอย่างที่โดดเด่นได้แก่นายไอวาน ฮเต็ต (Ivan Htet) ลูกชายของ พลอากาศเอก หม่องหม่องจ่อ อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศเมียนมา พบว่าเขาคนนี้ได้ก่อตั้งบริษัทชื่อว่า Alliance Engineering เพื่อให้ทำหน้าที่จัดส่งสิ่งต่างๆให้กับกองทัพอากาศ ส่วนหลานชายและหลานสาวของ พลอากาศเอก หม่องหม่องจ่อ ได้แก่ นายอู หลิน ฮเต็ต และนางดอว์ ม่อน ยี นั้นก็หาความมั่งคั่งให้ตัวเองผ่านการจัดหาและดำเนินการซ่อมบำรุงการให้บริการต่างๆกับกองทัพอากาศเช่นกัน
รูปภาพเฟซบุ๊กของนายไอวาน ฮเต็ต (Ivan Htet) ลูกชายของ พลอากาศเอก หม่องหม่องจ่อ และนางลิน เลต ทิรี ผู้เป็นภรรยา
ต้องยอมรับว่าสำหรับบรรดาเหล่านายพลและผู้ที่เป็นซัพพลายเออร์นั้นสามารถจะหาเงินได้โดยง่ายมาก เพียงแค่ม่ทำตามระเบียบด้วยการเก็บราคาที่สูงเกินจริงสำหรับบริการที่มอบให้กับกองทัพอากาศ ดังนั้นเหล่าบรรดานายพลจึงได้มอบสัญญาในการจัดหาให้กับบรรดาญาติๆของตัวเอง
โดยบริษัทก็จะต้องให้ค่าคอมมิชชั่นแก่ทั้งผู้นำกองทัพและผู้นำกองทัพอากาศเพื่อที่จะสามารถดำเนินธุรกิจกับกองทัพอากาศต่อไปได้ โดยผู้บัญชาการทหารอากาศก็จะได้อย่างน้อง 5 เปอร์เซ็นต์สำหรับการทำข้อตกลงในแต่ละครั้ง
ทั้งนี้ในบรรดาพ่อค้าคนกลางที่มีส่วนช่วยให้มีการจัดซื้ออากาศยาน,เฮลิคอปเตอร์ และชิ้นส่วนอะไหล่ต่างๆในช่วงเวลาที่ พล.อ.อาวุโสตานฉ่วย เป็นผู้นำเผด็จการทหารเมียนมานั้น พบว่าหนึ่งในนั้นคือนายอู เทย์ ซา ผู้ที่ดำเนินกิจการเครือบริษัท Htoo Group และนายหนาย ฮตุท ออง ผู้เป็นเจ้าของบริษัท Gate Way International และยังมีรายงานว่านายอู เทย์ ซา มีความใกล้ชิดกับ พลอากาศเอก เมียต ไฮน์ อดีตผู้บัญชาการกองทัพอากาศ โดยลูกชายของอดีตผู้บัญชาการกองทัพอากาศก็พบว่าทำงานในบริษัทของนายอู เทย์ ซา เช่นกัน
นั้บตั้งแต่ที่ พล.อ.อาวุโสมิน อ่อง หล่ายได้เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดในปี 2554 ลูกชายและลูกสาวของเขา, ลูกๆของพลอากาศเอก หม่องหม่องจ่อ และนายนายอู คยอ มิน อู ก็ได้มีการผูกขาดธุรกิจต่างๆของกองทัพเอาไว้ โดยนายอู คยอ มิน อูนั้นพบว่าเคยมีประวัติทำงานให้กับนายอู เทย์ ซา มาก่อน ในขณะที่น้องชายของนายอู คยอ มิน อูก็ได้ทำหน้าที่เป็นผู้บังคับบัญชาฝูงบิน MI17
นายหลิน ฮเท็ต หลายชาย และนางมอน ยี หลานสาวของ พลอากาศเอก หม่องหม่องจ่อ ขณะร่วมงานแอร์โชว์ในปี 2561
ส่วนบริษัท Mahar Sit Thu Gyi Co ที่ได้เคยมีประวัติการจัดหาให้กับกองทัพอากาศเมียนมา ก็พบว่าเป็นของลูกสาวมิน อ่อง หล่าย ชื่อว่านางขิ่น ทิริ เท็ต มอน เช่นกัน
โดยการที่เครื่องบินกองทัพอากาศต้องการการบำรุงรักษาในหลายประเภทหลังจากที่บินมาระยะเวลานานนั้นก็ถือว่าเป็นผลกำไรที่มีมูลค่ามหาศาล
อาทิการซ่อมบำรุงเครื่องบินรบรุ่นมิก-29 จะมีการระบุว่าค่าใช้จ่ายรายปีในด้านการบำรุงรักษาอยู่ที่ 4.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (155,434,000 บาท) เครื่องบินรบโจมตี YAK-130 จะมีค่าบำรุงรักษาอยู่ที่ปีละ 2.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (70,959,000 บาท) ทว่าเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานจริงกลับบอกว่าค่าใช้จ่ายจริงๆนั้นน้อยกว่านี้มาก
ย้อนไปในปีงบประมาณ 2562-2563 กองทัพเมียนมาใช้เงิน 2.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (81,096,000 บาท) ไปกับเฮลิคอปเตอร์จู่โจม Mi-35P สองลําจากเบลารุส หนึ่งในนั้นตกในปี 2564 เพราะว่าได้รับการดูแลที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ตามรายงานของเจ้าหน้าที่กองทัพอากาศ
ทั้งนี้รัฐบาลทหารมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพึ่งพากองทัพอากาศมากขึ้นเพื่อต่อสู้กับขบวนการต่อต้านที่เพิ่มขึ้น แต่ในขณะที่การโจมตีทางอากาศของรัฐบาลทหารทําให้พลเรือนเสียชีวิตมากขึ้น ก็ปรากฎว่าเหล่าบรรดาเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสของกองทัพอากาศเมียนมาและเหล่าผู้มีอิทธิพลกลับมีความมั่งคั่งมากขึ้นด้วยเช่นกัน
เรียบเรียงจาก:https://www.irrawaddy.com/opinion/analysis/myanmars-corrupt-air-force-gets-big-budget-raise-as-airstrikes-escalate.html
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตลูกจ้างฟ้องศาล แฉ บ.แคนาดา จ่ายสินบน แลกสัญญารถเกราะยูเครน พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัทพลังงานเยอรมนี เอี่ยวส่งเชื้อเพลิง เอื้อกองทัพรัสเซีย บุกยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: สกอตแลนด์ทำสัญญาจ้างตุรเคีย ต่อเรือ 9 พัน ล. ท้องถิ่นไม่ได้ประโยชน์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกสารหลุดเพนตากอน แฉความสัมพันธ์ รัสเซีย- UAE ช่วยหลบมาตรการคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เจาะลึกระบบธนาคารใต้ดินจีน เอี่ยวฟอกเงินพันล้านแก๊งยาเสพติดยุโรป
- ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการ EU สั่งสอบ งบฟื้นฟูเมืองหลวงบัลแกเรียไม่โปร่งใส เสียหาย ร้อย ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.เซอร์เบีย ส่อใช้งานนักจารกรรมข้อมูลการเงินอิสราเอลโจมตีฝ่ายตรงข้าม
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกชนใกล้ชิดพรรคการเมือง ได้สัญญาส่งอาหารกองทัพลัตเวีย 8 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการสวิสสั่งฟัน 4 นายธนาคาร เอื้อประโยชน์คนสนิทปูตินฝากเงินนับพัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง 3 เอกชนเยอรมนี นำเข้าไม้สักผิด กม.จากเมียนมานานนับปี
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉ หน.ทหารรับจ้างวากเนอร์ หลบคว่ำบาตรตะวันตก หารายได้ พัน ล.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉคอร์รัปชั่นวงการก่อสร้างตุรเคีย ต้นเหตุยอดตายแผ่นดินไหว 4.6 หมื่นศพ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปม บ.เกลมาโต้ถูกกล่าวหาจ่ายคอมมิชชั่นเอื้อทำสัญญาหลาย รบ.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง บ.พลังงานยักษ์ใหญ่ตะวันตก ทำธุรกิจหนุนเส้นเงินเผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมฉาว กห.ยูเครนจัดซื้ออาหารไม่โปร่งใส กระทบความเชื่อมั่นต่างชาติ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ขมวดปมอื้อฉาว ATK สะเทือนพรรคคอมฯเวียดนามอย่างไร หลัง ปธน.ลาออก
- ส่องคดีทุจริตโลก: ตามรอยบุหรี่จีนนับล้านมวนสูญหาย หลังเดินทางออกจากโรงงานในโรมาเนีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงเอกชนรับงานบูรณะถนนยูเครนพันล้าน เชื่อมโยงผู้ต้องหาหนีคดี FBI
- ส่องคดีทุจริตโลก: ประมวลข่าวคอร์รัปชันโลกปี 65 จากโอลิการ์ชรัสเซียถึงเอกสารแพนโดรา