กรณีการกระทำความผิดของโรยซ์รอยส์ปรากฏสู่สาธารณะเมื่อปี 2555 จากการรายงานของสื่ออังกฤษและสื่อยุโรป ที่รายงานข้อกล่าวหาเกี่ยวกับกรณีการทุจริตของโรลส์รอยซ์ในการทำธุรกิจในเอเชีย ส่งผลทำให้ในเวลาต่อมา สำนักงานต่อต้านทุจริตของอังกฤษหรือว่า SFO ในกรุงลอนดอนได้ดำเนินการสืบสวนบริษัทโรลส์รอยซ์เกี่ยวกับการทำธุรกิจทั้งในอินเดีย,อินโดนีเซีย,มาเลเซีย,ไทย และจีน
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้ขอเสนอการดำเนินคดีกรณีสินบนโรลส์รอยซ์อันโด่งดังที่ประเทศอินเดีย ซึ่งเชื่อมโยงถึงการจัดหายุทโธปกรณ์ของกองทัพอินเดีย
โดยสำนักข่าวในประเทศอินเดียได้รายงานว่าเป็นเวลานานกว่า 6 ปี ที่สํานักงานสอบสวนกลางของอินเดีย หรือว่า CBI ได้ดำเนินการสืบสวน จนกระทั่งในที่สุดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็ได้มีคำสั่งให้ฟ้องในสำนวนแรกในข้อหาที่ว่าได้มีการจ่ายเงินสินบนภายใต้การดำเนินงานโครงการทางด้านกลาโหม ได้แก่โครงการจัดซื้อเครื่องบินฝึกสำหรับบินรบยี่ห้อ HAWK ที่ผลิตโดยบริษัททางด้านกลาโหมยักษ์ใหญ่ของอังกฤษชื่อว่าบริษัท BAE Systems
โดยโครงการดังกล่าวจัดทำกันภายใต้ข้อตกลงแบบรัฐต่อรัฐหรือที่เรียกกันว่าจีทูจีระหว่างรัฐบาลอินเดียและรัฐบาลสหราชอาณาจักร
ทั้งนี้ที่ผ่านมา การจัดซื้อในด้านกลาโหมของอินเดียมักจะมีข้อครหาอยู่เป็นประจำว่ามีนายหน้า,พ่อค้าคนกลางเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งคนกลางเหล่านี้ก็จะเป็นผู้จ่ายเงินสินบนให้กับนักการเมือง,ข้าราชการระดับสูงทั้งในสายทหารและในสายพลเรือน
ซึ่งไม่ใช่แค่โครงการจัดซื้อเครื่องบินรุ่น HAWK เท่านั้นที่มีข้อครหา โครงการทางด้านกลาโหมอื่นๆก็มีข้อครหาการให้เงินสินบนเป็นใบเบิกทางเช่นกัน จนถูกนำไปสู่ประเด็นการเมืองและประเด็นโจมตีในช่วงระหว่างหาเสียงเลือกตั้ง อาทิ กรณีการจัดซื้อปืนใหญ่โบฟอร์จากสวีเดน ในสมัยนายกรัฐมนตรีนาจีฟ คานธี แล้วต่อมาก็เป็นการจัดซื้อเครื่องบินรบราฟาลจากฝรั่งเศสในสมัยนายกรัฐมนตรีนเรนธรา โมดี
ดังนั้นเพื่อควบคุมการทุจริตและการมีบทบาทของคนกลางในข้อตกลงด้านความมั่นคง ทางการอินเดียจึงได้มีการสอดแทรกข้อตกลงคุณธรรม หรือหลักการว่าจะต้องไม่มีคนกลางในสัญญาด้านกลาโหม และถ้าหากพบว่าข้อกล่าวหาเรื่องคนกลางนั้นกลายเป็นเรื่องจริง ก็จะส่งนำไปสู่การยกเลิกข้อตกลงได้ เช่นในกรณีของความไม่โปร่งใสในเรื่องการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์จากบริษัทลีโอนาร์โดจากอิตาลี
โดยกรณีอื้อฉาวเฮลิคอปเตอร์ดังกล่าวมีชื่อว่ากรณีการฉ้อโกงการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์วีวีไอพี AgustaWestland และผลของการสืบสวนเรื่องนี้นำไปสู่การยกเลิกการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์เพื่อโดยสารสำหรับบุคคลระดับวีวีไอพีในอินเดียในที่สุด
CBI ยื่นฟ้องต่อบริษัทโรลส์รอยซ์อินเดียและผู้ถูกกล่าวหารายอื่นที่เกี่ยวข้อง (อ้างอิงวิดีโอจาก Economic Times)
@กรณีการยื่นฟ้องของ CBI ต่อข้อตกลงการจัดซื้อเครื่องบินฝึกรุ่น HAWK
ย้อนไปเมื่อวันที่ 23 พ.ค. ที่ผ่านมา CBI ได้ลงทะเบียนฟ้องคดีทั่วไปที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในกรุงเดลี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 154 ที่กำหนดให้เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องลงทะเบียนคดีต่อความผิดอันรู้เท่าไม่ถึงการ
โดยการยื่นฟ้องนั้นอยู่ภายใต้มาตราที่ 120B,มาตราที่ 420 และมาตรา 201 ของประมวลกฎหมายอาญาของอินเดีย และอยู่ภายใต้มาตราที่ 13(2) ควบคู่กับมาตราที่ 13 (1) มาตราที่ 8 และมาตราที่ 9 ของกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามทุจริตของอินเดีย
ทั้งนี้กฎหมายมาตราที่ 120B ตามประมวลกฎหมายอาญานั้นระบุเกี่ยวกับการลงโทษสําหรับผู้สมรู้ร่วมคิดทำผิดทางอาญา,มาตราที่ 201 เกี่ยวข้องกับ 'การทําให้หลักฐานการกระทําความผิดหายไปหรือให้ข้อมูลเท็จ' และมาตราที่ 420 เกี่ยวกับการทำข้อตกลงที่ไม่ถูกต้องและชักจูงให้มีการส่งมอบอย่างไม่สุจริต
ทาง CBI ได้ตั้งข้อสงสัยว่ามีการกระทำความผิดฐานใช้ตําแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ สมคบกันกระทําความผิดทางอาญา ฉ้อโกง ได้ประโยชน์เกินควรจากการชักจูงให้ข้าราชการ ทําให้พยานหลักฐานหายไปในคดีนี้
@ใครคือผู้ถูกกล่าวหาในข้อตกลงการจัดซื้อเครื่องบินฝึก Hawk
แม้ว่าเครื่องบินฝึกชั้นสูง Hawk จะถูกผลิตโดยบริษัท BAE Systems แต่อย่างไรก็ตามผู้ถูกกล่าวหารายแรกจากทาง CBI ได้แก่นายทิมโจนส์ ผู้อำนวยการบริษัทโรลส์รอยซ์ สาขาย่อยประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าบริษัทโรลส์รอยซ์นั้นเป็นบริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์อากาศยานของอังกฤษที่จัดหาเครื่องยนต์เจ็ทสําหรับเครื่องบินรุ่น Hawk AJT
ผู้ถูกกล่าวหารายที่สองและสามจากทาง CBI ได้แก่นายสุธีร์ ชูดรี (Sudhir Choudhrie) และลูกชายของเขา นายภาณุ ชูดรี (Bhanu Choudhrie) ซึ่งพ่อลูกเชื้อสายอินเดียคู่นี้ปัจจุบันพำนักอยู่ในกรุงลอนดอน
นอกจากนี้ชื่อของสองพ่อลูกยังอยู่ในสำนวนการสอบสวนอื่นๆ อาทิ คดีค้าอาวุธที่กำลังถูกสอบโดย CBI และกองบังคับการปราบปราม หรือ Enforcement Directorate
ผู้ถูกกล่าวหารายที่สี่และห้าได้แก่บริษัทจำนวนสองแห่งคือบริษัท โรลส์รอยซ์ จํากัด (มหาชน) และบริษัท British Aerospace Systems หรือ BAE ส่วนผู้ถูกกล่าวหารายที่หกได้แก่บุคคลที่ไม่ปรากฏชื่อที่เป็นทั้งข้าราชการและก็มีเอกชนประกอบกัน
CBI ระบุว่าในช่วงเวลาตั้งแต่ปี 2546-2555 มีบุคคลนิรนามจากกระทรวงกลาโหมได้ร่วมกันกระทำผิดกับนายทิมโจนส์,นายสุธีร์ ชูดรี,นายภาณุ ชูดรี,บริษัท โรลส์รอยซ์ จํากัด (มหาชน)และกลุ่มบริษัทร่วมอันประกอบด้วยบริษัท Rolls Royce Turbomeca Limited (บริษัทนี้เป็นบริษัทร่วมกันระหว่างบริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์ไอพ่นของอังกฤษและฝรั่งเศส) และบริษัท British Aerospace Systems UK นอกจากนี้ก็ยังมีข้าราชการและเอกชนอื่นๆที่ยังไม่ระบุชื่อดำเนินการฉ้อโกงรัฐบาลอินเดียด้วยเช่นกัน
CBI กล่าวว่าผู้ถูกกล่าวหาเหล่านี้ได้อนุมัติและจัดหาเครื่องบิน Hawk 115 AJT จำนวนกว่า 24 ลำ คิดเป็นมูลค่า 734.21 ล้านปอนด์ (31,809,806,178 บาท ตามค่าเงินปัจจุบัน) แล้วก็ยังมีกรณีที่การจัดหาใบอนุญาตเพื่อให้บริษัท HAL ซึ่งเป็นบริษัทของอินเดียได้สิทธิในการผลิตเครื่องบินเพิ่มเติมอีกกว่า 42 ลำ ซึ่งกรณีการผลิตเครื่องบินจำนวนดังกล่าว ก็ต้องมีการจัดซื้อวัตถุดิบจากบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินรายเดิมคิดเป็นมูลค่า 308.24 ล้านปอนด์ (13,354,564,302 บาท)
เครื่องบินฝึกรุ่น Hawk ที่อินเดียซื้อใบอนุญาตดำเนินการผลิต (อ้างอิงวิดีโอจาก Defence Matrix)
CBI ระบุต่อไปอีกว่าบริษัท HAL ต้องจ่ายเงินเพิ่มอีกกว่า 7.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (260,985,000 บาท) ให้กับบริษัทโรลซ์รอยส์เพื่อเป็นค่าธรรมเนียมแลกกับการได้รับใบอนุญาตผลิตเครื่องบิน
หน่วยงานสอบสวนกล่าวกล่าวว่าพบว่ากรณีนี้การจ่ายเงินต่างตอบแทนเป็นมูลค่ามหาศาล ทั้งค่าคอมมิชชั่น เงินค่าสินบน จากทางฝ่ายบริษัทผู้ผลิต,เจ้าหน้าที่ของบริษัท และคนกลาง แม้ว่าในข้อตกลงคุณธรรมจะห้ามไม่ให้มีการจ่ายเงินให้กับคนกลางก็ตาม
โดยการสอบสวนได้เปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมว่าเอกสารสำคัญเกี่ยวกับการทำธุรกรรมเหล่านี้ได้ถูกยึดหมดแล้โดยกรมสรรพากรในระหว่างการตรวจสอบสำนักงานบริษัทโรลซ์รอยส์สาขาอินเดีย
@คดีนี้ปรากฏสู่สาธารณะได้อย่างไร
กรณีการกระทำความผิดของโรยซ์รอยส์ปรากฏสู่สาธารณะเมื่อปี 2555 จากการรายงานของสื่ออังกฤษและสื่อยุโรป ที่รายงานข้อกล่าวหาเกี่ยวกับกรณีการทุจริตของโรลส์รอยซ์ในการทำธุรกิจในเอเชีย ส่งผลทำให้ในเวลาต่อมา สำนักงานต่อต้านทุจริตของอังกฤษหรือว่า SFO ในกรุงลอนดอนได้ดำเนินการสืบสวนบริษัทโรลส์รอยซ์เกี่ยวกับการทำธุรกิจทั้งในอินเดีย,อินโดนีเซีย,มาเลเซีย,ไทย และจีน
หลังจากนั้นโรลส์รอยซ์ก็ส่งคำชี้แจงไปยัง SFO และก็สามารถบรรลุข้อตกลงการเลื่อนดำเนินคดีได้ ต่อมาในเดือน ม.ค. 2560 ก็มีคำพิพากษาที่อ้างถึงแถลงการณ์ของบริษัทโรลส์รอยซ์ ยืนยันว่าบริษัทได้มีการจ่ายเงินกว่า 1.85 ล้านปอนด์ (80,151,647 บาท) ให้กับคนกลางเพื่อให้ดึงเอกสารข้อกล่าวหาที่ถูกยึดกรมสรรพากรอินเดียในเดือน ม.ค. 2549 ออกไปจากระบบ ซึ่งเอกสารนี้ก็รวมไปถึงรายชื่อคนกลางด้วยเช่นกัน
คําพิพากษาของศาลอังกฤษยังเปิดเผยว่าโรลส์รอยซ์ว่าจ้างคนกลางระหว่างปี 2548 ถึง 2550 เพื่อดําเนินธุรกิจในอินเดียแม้ว่ารัฐบาลอินเดียจะห้ามใช้ตัวแทนและพ่อค้าคนกลางก็ตาม คําพิพากษายังกล่าวถึงการจ่ายเงิน 1 ล้านปอนด์ (43,325,215 บาท)โดยโรลส์รอยซ์ให้กับคนกลาง เพื่อเพิ่มค่าธรรมเนียมการผลิตใบอนุญาตที่ HAL จะจ่ายให้กับ บริษัท จาก 4 ล้านปอนด์ (173,300,860 บาท) เป็น 7.5 ล้านปอนด์
@กรณีอันน่าสงสัยเกี่ยวกับการชำระเงินโดยบริษัทรัสเซีย
ในการลงทะเบียนข้อกล่าวหาของ CBI ยังได้มีการอ้างถึงเงินจำนวนกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (3,479,800,000 บาท) ที่จ่ายโดยบริษัทค้าอาวุธจากรัสเซียให้กับบริษัทที่เกี่ยวข้องกับนายสุธีร์ ชูดรี พ่อค้าอาวุธ ซึ่งรายละเอียดของการจ่ายเงินก็เกี่ยวข้องกับการทำข้อตกลงด้านกลาโหมกับรัสเซียเพื่อจะจัดซื้อเครื่องบินขับไล่มิก
ในข้อกล่าวหาระบุอีกว่าการจ่ายเงินจำนวนนับร้อยล้านดังกล่าวจ่ายให้กับบริษัทสามแห่งที่เชื่อมโยงกับนายสุธีร์ในช่วงระหว่างปี 2550-2551
อย่างไรก็ตาม CBI ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับขนาด และลักษณะข้อตกลงในการจัดหาเครื่องบินมิก รวมไปถึงไม่ระบุเช่นกันว่าจะมีการจัดหาเครื่องบินรบจำนวนกี่ลำ และใช้เวลาเท่าไร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เส้นทางทองคำ แสน ล.จาก 'รัสเซีย' สู่ UAE หลบมาตรการคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก: ยูเอ็นเผย 'สิงคโปร์' ส่งออกชิ้นส่วนให้กองทัพเมียนมา 8 พัน ล. หลัง รปห.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เผยความมั่งคั่งบิ๊ก ทอ.เมียนมา ให้เครือญาติตั้งบริษัทรับงานนับพันล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตลูกจ้างฟ้องศาล แฉ บ.แคนาดา จ่ายสินบน แลกสัญญารถเกราะยูเครน พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัทพลังงานเยอรมนี เอี่ยวส่งเชื้อเพลิง เอื้อกองทัพรัสเซีย บุกยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: สกอตแลนด์ทำสัญญาจ้างตุรเคีย ต่อเรือ 9 พัน ล. ท้องถิ่นไม่ได้ประโยชน์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกสารหลุดเพนตากอน แฉความสัมพันธ์ รัสเซีย- UAE ช่วยหลบมาตรการคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เจาะลึกระบบธนาคารใต้ดินจีน เอี่ยวฟอกเงินพันล้านแก๊งยาเสพติดยุโรป
- ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการ EU สั่งสอบ งบฟื้นฟูเมืองหลวงบัลแกเรียไม่โปร่งใส เสียหาย ร้อย ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.เซอร์เบีย ส่อใช้งานนักจารกรรมข้อมูลการเงินอิสราเอลโจมตีฝ่ายตรงข้าม
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกชนใกล้ชิดพรรคการเมือง ได้สัญญาส่งอาหารกองทัพลัตเวีย 8 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการสวิสสั่งฟัน 4 นายธนาคาร เอื้อประโยชน์คนสนิทปูตินฝากเงินนับพัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง 3 เอกชนเยอรมนี นำเข้าไม้สักผิด กม.จากเมียนมานานนับปี
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉ หน.ทหารรับจ้างวากเนอร์ หลบคว่ำบาตรตะวันตก หารายได้ พัน ล.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉคอร์รัปชั่นวงการก่อสร้างตุรเคีย ต้นเหตุยอดตายแผ่นดินไหว 4.6 หมื่นศพ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปม บ.เกลมาโต้ถูกกล่าวหาจ่ายคอมมิชชั่นเอื้อทำสัญญาหลาย รบ.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง บ.พลังงานยักษ์ใหญ่ตะวันตก ทำธุรกิจหนุนเส้นเงินเผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมฉาว กห.ยูเครนจัดซื้ออาหารไม่โปร่งใส กระทบความเชื่อมั่นต่างชาติ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ขมวดปมอื้อฉาว ATK สะเทือนพรรคคอมฯเวียดนามอย่างไร หลัง ปธน.ลาออก
- ส่องคดีทุจริตโลก: ตามรอยบุหรี่จีนนับล้านมวนสูญหาย หลังเดินทางออกจากโรงงานในโรมาเนีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงเอกชนรับงานบูรณะถนนยูเครนพันล้าน เชื่อมโยงผู้ต้องหาหนีคดี FBI
- ส่องคดีทุจริตโลก: ประมวลข่าวคอร์รัปชันโลกปี 65 จากโอลิการ์ชรัสเซียถึงเอกสารแพนโดรา