ผู้สื่อข่าวพบข้อมูลในช่วงวันที่ 11 พ.ย. ว่ามีเรือจำนวน 253 ลำแล่นจากตุรเคียไปยังอิสราเอลนับตั้งแต่วันที่ 7 ต.ค.เป็นต้นมา และเรือเหล่านี้ก็บรรทุกสินค้าอาทิน้ำมันดิบ,เชื้อเพลิง,เหล็กและเหล็กกล้า และการขนส่งก็ยังคงดำเนินต่อไป
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สัปดาห์นี้ขอนำเสนอกรณีการสืบสวนบริษัทที่เกี่ยวข้องกับประธานาธิบดีตุรเคียซึ่งไปหาผลประโยชน์จากสงครามระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาส
โดยสำนักข่าว Turkish Minute ของตุรเคียได้รายงานข่าวสืบสวนอ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ข้อมูลติดตามการเดินเรือ พบว่าบริษัทขนส่งทางทะเลที่มีส่วนเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับนายบินาลี ยิลดิริม อดีตนายกรัฐมนตรีตุรเคีย และยังเป็นคนสนิทของนายเรเซป เทย์ยิป เออร์โดกัน ประธานาธิบดีตุรเคียคนปัจจุบันยังคงขนส่งสินค้าทั้งขาเข้าและขาออกจากอิสราเอลในช่วงเดือน ต.ค.และเดือน พ.ย. แม้ว่ารัฐบาลตุรเคียจะออกมาต่อว่าและต่อต้านการกระทำของอิสราเอลอย่างรุนแรงก็ตาม
ระหว่างวันที่ 16 ต.ค. และวันที่ 7 พ.ย. เรือชื่อว่า Hazar S และ Sun ซึ่งเป็นเรือของบริษัท Oras Denizcilik พบว่ายังคงแล่นเข้าออกท่าเรือไฮฟาของอิสราเอลจำนวนหลายครั้ง ตามข้อมูลการรายงานข่าวของนาย Metin Cihan ซึ่งเขาได้โพสต์รายละเอียดเหล่านี้ลงบนทวิตเตอร์
โดยข้อมูลจดทะเบียนบริษัทพบว่าบริษัท Oras Denizcilik นั้นมีเจ้าของคือนายซาลิห์ เซกิ คาคีร์ เพื่อนสนิทของอดีตนายกรัฐมนตรีตุรเคีย และนายคาคีร์ยังพบว่าเป็นเคยเป็นนายจ้างของนายยิลดริมเป็นระยะเวลาสั้นๆก่อนที่นายยิลดริมจะเข้ามามีตำแหน่งในรัฐบาลตุรเคีย
และปรากฏข้อมูลด้วยว่าบุตรชายของนายยิลดริมมีบริษัทนอกอาณาเขตจดทะเบียนที่ประเทศมอลตา แต่ที่อยู่ของบริษัทนั้นกลับระบุว่าเป็นที่อยู่ของบริษัท Oras Denizcilik ในตุรเคีย
การทำข่าวสืบสวนทำให้พบข้อมูลเพิ่มเติมว่ามีอีกบริษัทหนึ่งซึ่งเชื่อมโยงไปถึงนายบูรัค เออร์โดกัน บุตรชายประธานาธิบดีเออร์โดกัน โดยบริษัทนี้ก็ทำหน้าที่ขนส่งสินค้าในอิสราเอลในช่วงที่ความขัดแย้งในฉนวนกาซ่าทวีความรุนแรงสูงสุดในเดือน ต.ค.เช่นกัน
บริษัทนี้ชื่อว่า Manta Denizcilik โดยมีเจ้าของบริษัทได้แก่นายเมิร์ต เซทินคายา และเขายังเป็นเจ้าของบริษัทอีกแห่งชื่อว่า MB Denizcilik ร่วมกับนายบูรัค เออร์โดกัน ซึ่งบริษัท Manta Denizcilik ก็ได้ส่งเรือไปยังอิสราเอลเช่นเดียวกับบริษัท Oras Denizcilik.
“แม้ว่าความเข้มงวดของกฎระเบียบเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวจะเปลี่ยนแปลงไปจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง แต่ความจริงที่ว่า บริษัท มีผู้ถือหุ้นที่คล้ายกัน มีที่อยู่จดทะเบียนเดียวกัน มีพื้นที่กิจกรรมเดียวกันบ่งบอกถึงการเชื่อมโยงระหว่าง บริษัท เหล่านี้” นายอาลี ยิลดิซ ทนายความจากกรุงบรัสเซลล์ให้สัมภาษณ์
@อาณาจักรขนส่งของครอบครัวยิลดริม
ย้อนไปเมื่อปี 2560 ข้อมูลจากการตรวจสอบของหน่วยงาน European Investigative Collaborations (EIC) ของสหภาพยุโรปหรืออียูระบุว่าครอบครัวนายกรัฐมนตรียิลดริมในขณะนั้นครอบครองธุรกิจการขนส่งทางเรือและมีทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องมากกว่าร้อยล้านยูโร
ธุรกิจของพวกเขารวมไปถึงเรือขนส่งซึ่งติดธงต่างประเทศจำนวน 11 ลำ โดยธุรกิจเหล่านี้ดำเนินการผ่านโครงข่ายบริษัทที่จดทะเบียนในมอลต้า,เนเธอร์แลนด์,เนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส และอาจจะรวมไปถึงบริษัทที่อยู่ในเกาะมาร์แชลและในปานามา หรือก็คือปฏิบัติการณ์ขนส่งทางเรือเหล่านี้ถูกดำเนินการผ่านบริษัทที่อยู่ในพื้นที่ภาษีต่ำและทึบแสง ยากแก่การตรวจสอบ โดยได้รับการสนับสนุนจากธนาคารสวิสและธนาคารตุรเคีย
นายยิลดริมเริ่มต้นธุรกิจขนส่งทางเรือตอนปี 2537 กับบริษัท Istanbul Fast Ferries โดยบริษัทนี้เป็นรัฐวิสาหกิจมีเจ้าของคือเมืองอิสตันบูล ซึ่งในช่วงปีนั้นนายเออร์โดกันเป็นนายกเทศมนตรีอยู่ และต่อมาในปี 2543 นายยิลดริลก็ต้องออกจากตำแหน่งเนื่องจากการทุจริตเอื้อประโยชน์ต่อผู้เป็นลุงของเขา แต่นั่นก็ไม่ทำให้เขามีปัญหาในการเล่นการเมืองแต่อย่างใด
โดยในปี 2544 นายยิลดริลได้เป็นสมาชิกพรรคการเมือง Justice and Development Party (AKP) ของนายเออร์โดกัน และต่อมาก็ได้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงการคมนาคม ภายหลังจากที่พรรค AKP ชนะการเลือกตั้งในปี 2545
แม้จะมีการซักถามจากรัฐสภานายยิลดริลก็รู้สึกลังเลที่จะพูดถึงเกี่ยวกับการดําเนินธุรกิจของครอบครัวโดยระบุว่าเขาส่งมอบธุรกิจการขนส่งให้กับลูก ๆ ของเขาเมื่อเป็นรัฐมนตรีช่วยในปี 2545
การสอบสวนของ EIC ได้ติดตามเครือข่ายธุรกิจการขนส่งของครอบครัวนายยิลดริล โดยตามไปจนถึงบริษัทที่ก่อตั้งในประเทศมอลตา อาทิ บริษัท Dertel Shipping Limited, Nova Ponza Limited ,Rory Malta Limited และบริษัท Nova Warrior Limited โดยบริษัทเหล่านี้มีผู้ดำเนินการจัดการคือนายสุเลมาน วูรัล หลานของนายยิลดริม และนายเออร์กัน ยิลดริม ผู้เป็นบุตร
แน่นอนว่าบริษัทเหล่านี้รวมถึงบริษัทอื่นๆที่อยู่ในดินแดนโพ้นทะเลของประเทศเนเธอร์แลนด์ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างที่ซับซ้อนที่ออกแบบมาเพื่อปกปิดความเป็นเจ้าของบริษัทที่แท้จริงและลดภาระด้านภาษี
อนึ่งการเปิดโปงว่าเครื่อข่ายวงในใกล้ชิดกับประธานาธิบดีเออร์โดกันยังคงค้าขายกับอิสราเอลให้เกิดความโกรธแค้อย่างมาก โดยนักวิจารณ์ถึงกับกล่าวว่านายเออร์โดกันพูดอย่างแต่ทำอีกอย่าง เพราะว่าได้ออกมาประณามปฏิบัติการณ์ทางทหารของอิสราเอลที่มีต่อฉนวนกาซา ทว่าเอกชนที่เกี่ยวข้องยังคงร่ำรวยได้เพราะทำการค้ากับอิสราเอล
ประธานาธิบดีเออร์โดกันวิจารณ์เหตุอิสราเอลโจมตีฉนวนกาซ่า (อ้างอิงวิดีโอจากอัลจาซีร่า)
โดยผู้สื่อข่าวพบข้อมูลในช่วงวันที่ 11 พ.ย. ว่ามีเรือจำนวน 253 ลำแล่นจากตุรเคียไปยังอิสราเอลนับตั้งแต่วันที่ 7 ต.ค.เป็นต้นมา และเรือเหล่านี้ก็บรรทุกสินค้าอาทิน้ำมันดิบ,เชื้อเพลิง,เหล็กและเหล็กกล้า และการขนส่งก็ยังคงดำเนินต่อไป
เรียบเรียงจาก:https://www.turkishminute.com/2023/12/01/ship-linked-former-turkish-pm-continue-deliver-good-to-israel-during-gaza-conflict-journalist/
อ่านประกอบ:
- ส่องคดีทุจริตโลก:จนท.สอบสวนธนาคารเวียดนามรับสินบน เอื้อ ปย.นักธุรกิจอสังหาฯยักยอกแสนล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.ไซปรัสเอี่ยวสัญญาชุด PPE สุดฉาว 8.8 พัน ล.โยงนักการเมืองดังที่อังกฤษ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกชนชนะสัญญาพันล.จ้าง 2บ.ไซปรัส จัดหาหน้ากากด้อยคุณภาพให้ สธ.ออสซี่
- ส่องคดีทุจริตโลก: สธ.มาเลย์ซื้อเครื่องช่วยหายใจช่วงโควิดมีปัญหาเกือบหมด-เอาผิดใครไม่ได้
- ส่องคดีทุจริตโลก: นักธุรกิจบำบัดน้ำเสียจ่ายสินบน จนท.รัฐฮาวาย แลกผูกขาดสัญญานานนับปี
- ส่องคดีทุจริตโลก: ศาลสิงคโปร์ไม่ให้ประกันจีนเทา เหตุมีพาสปอร์ต ตปท.เพียบ หวั่นหลบหนี
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตนายกฯจอร์แดนถือสัญชาติโดมินิกาหลังพ้นตำแหน่ง ทนายยันทำเรื่องถูกต้อง
- ส่องคดีทุจริตโลก:นักธุรกิจจีนเทาขายน้ำวิเศษอ้างนาซารับรอง จ่ายสินบนนักการทูต แลกทำงาน UN
- ส่องคดีทุจริตโลก:สว.สหรัฐฯ ถูกสอบรับสินบน แลกอนุมัติงบช่วยเหลือทางทหาร รบ.อียิปต์หมื่นล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: กห.เดนมาร์กจัดซื้อปืนใหญ่ 8.9 พัน ล.ไม่โปร่งใส แลกบ.อิสราเอลถอนฟ้องคดี
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉทุนจีนสีเทา ถูกจับข้อหาฟอกเงินที่สิงคโปร์ ซื้ออสังหาฯ พันล. ณ ลอนดอน
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉเอกชนอิสราเอล ส่งยุทธภัณฑ์ลอตใหญ่ให้เมียนมา หลังรัฐประหาร
- ส่องคดีทุจริตโลก: จนท.ยูเครนจับอดีตผู้สนับสนุน ปธน.เซเลนสกี โยงทุจริต-ฟอกเงินนับ พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:โครงการพาสปอร์ตทองคำ โยงผู้ต้องสงสัย คดีฟอกเงิน 2.5 หมื่น ล.ที่สิงคโปร์
- ส่องคดีทุจริตโลก:ชี้เป็น ปย.ต่อประชาชน-ศาลสูงสั่ง สธ.แอฟริกาใต้ เปิดทุกสัญญาวัคซีนโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก:คนใกล้ชิด รมว.กห.ยูเครน เอี่ยวจัดซื้อชุดทหารฤดูหนาวด้อยคุณภาพ พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ตร.ออสซี่สั่งสอบ ปมสินบนนักการเมืองนาอูรู แลกสัญญาศูนย์กักกันหมื่นล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉเส้นเงินผิด กม.ผ่านภูมิภาคบอลข่านตะวันตก หลังสงครามรัสเซีย-ยูเครนปะทุ
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตอั๊งยี่จากมาเก๊า สู่นักธุรกิจทุนจีนสีเทา เจ้าของคาสิโนที่เมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ที่ปรึกษาออสซี่ใช้ความลับ รบ.ให้คำแนะนำเอื้อเอกชนยักษ์ใหญ่เลี่ยงภาษี
- ส่องคดีทุจริตโลก:ส.ส.ดังจอร์เจีย อ้างข้อผิดพลาด-ไร้เจตนาซุกอพาร์ทเมนท์หรู ณ ดูไบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: ทหารรับจ้างแวกเนอร์ยึดแอฟริกากลาง หนุนเผด็จการ แลกผลประโยชน์นับแสนล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:อาวุธสวีเดน ถูกอินเดียส่งออกให้ทัพเมียนมา ใช้ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปงเอกชนสวิส ตั้ง บ.ย่อย หลบคว่ำบาตร แอบขายน้ำมันรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมปัญหาการใช้กฎหมายใหม่แคนาดา รับมือโอลิการ์ชลงทุนสินทรัพย์มหาศาล
- ส่องคดีทุจริตโลก: จากปมสินบนโรลซ์รอยส์โยงกรณีอื้อฉาว จัดซื้อ บ.ฝึก ทอ.อินเดียนับหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เส้นทางทองคำ แสน ล.จาก 'รัสเซีย' สู่ UAE หลบมาตรการคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก: ยูเอ็นเผย 'สิงคโปร์' ส่งออกชิ้นส่วนให้กองทัพเมียนมา 8 พัน ล. หลัง รปห.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เผยความมั่งคั่งบิ๊ก ทอ.เมียนมา ให้เครือญาติตั้งบริษัทรับงานนับพันล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตลูกจ้างฟ้องศาล แฉ บ.แคนาดา จ่ายสินบน แลกสัญญารถเกราะยูเครน พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัทพลังงานเยอรมนี เอี่ยวส่งเชื้อเพลิง เอื้อกองทัพรัสเซีย บุกยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: สกอตแลนด์ทำสัญญาจ้างตุรเคีย ต่อเรือ 9 พัน ล. ท้องถิ่นไม่ได้ประโยชน์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกสารหลุดเพนตากอน แฉความสัมพันธ์ รัสเซีย- UAE ช่วยหลบมาตรการคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เจาะลึกระบบธนาคารใต้ดินจีน เอี่ยวฟอกเงินพันล้านแก๊งยาเสพติดยุโรป
- ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการ EU สั่งสอบ งบฟื้นฟูเมืองหลวงบัลแกเรียไม่โปร่งใส เสียหาย ร้อย ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.เซอร์เบีย ส่อใช้งานนักจารกรรมข้อมูลการเงินอิสราเอลโจมตีฝ่ายตรงข้าม
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกชนใกล้ชิดพรรคการเมือง ได้สัญญาส่งอาหารกองทัพลัตเวีย 8 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการสวิสสั่งฟัน 4 นายธนาคาร เอื้อประโยชน์คนสนิทปูตินฝากเงินนับพัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง 3 เอกชนเยอรมนี นำเข้าไม้สักผิด กม.จากเมียนมานานนับปี
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉ หน.ทหารรับจ้างวากเนอร์ หลบคว่ำบาตรตะวันตก หารายได้ พัน ล.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉคอร์รัปชั่นวงการก่อสร้างตุรเคีย ต้นเหตุยอดตายแผ่นดินไหว 4.6 หมื่นศพ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปม บ.เกลมาโต้ถูกกล่าวหาจ่ายคอมมิชชั่นเอื้อทำสัญญาหลาย รบ.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง บ.พลังงานยักษ์ใหญ่ตะวันตก ทำธุรกิจหนุนเส้นเงินเผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมฉาว กห.ยูเครนจัดซื้ออาหารไม่โปร่งใส กระทบความเชื่อมั่นต่างชาติ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ขมวดปมอื้อฉาว ATK สะเทือนพรรคคอมฯเวียดนามอย่างไร หลัง ปธน.ลาออก
- ส่องคดีทุจริตโลก: ตามรอยบุหรี่จีนนับล้านมวนสูญหาย หลังเดินทางออกจากโรงงานในโรมาเนีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงเอกชนรับงานบูรณะถนนยูเครนพันล้าน เชื่อมโยงผู้ต้องหาหนีคดี FBI
- ส่องคดีทุจริตโลก: ประมวลข่าวคอร์รัปชันโลกปี 65 จากโอลิการ์ชรัสเซียถึงเอกสารแพนโดรา