ตามรายงานระบุว่านับตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา ประเทศในคาบสมุทรบอลข่านอย่าง บอสเนีย บัลแกเรีย และเซอร์เบีย เป็นประเทศที่ไม่ได้ดำเนินการตามมาตรการคว่ำบาตรของสหภาพยุโรปหรืออียู ในขณะที่ประเทศอย่างมาซิโดเนียเหนือและมอนเตเนโกรได้ดำเนินการมอบสัญชาติประเทศของตัวเองให้กับชาวรัสเซียที่มาลงทุนในประเทศ แม้ว่าจะได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากอียูก็ตาม
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้ขอเสนอกรณีการหมุนเวียนของกระแสเงินสดที่ผิดกฎหมาย หลังจากที่สงครามรัสเซียและยูเครนได้ปะทุขึ้น
โดยเมื่อวันที่ 24 ก.ค.ที่ผ่านมา หน่วยงานเอกชนชื่อว่าองค์กรว่าด้วยความร่วมมือในระดับโลกเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติหรือว่า GI-TOC ได้มีการเผยแพร่บทความ ให้เฝ้าระวังในประเทศที่มีการใช้หลักนิติธรรมค่อนข้างต่ำ,ประเทศที่มีกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติและประเทศที่มีเศรษฐกิจสีเทา ในภูมิภาคบอลข่านตะวันตก ควบคู่ไปกับปัญหาสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่กำลังคุกรุ่นขณะนี้ ส่งผลทำให้ประเทศเหล่านี้ได้มีการอนุญาตให้มีการหมุนเวียนเงินสดที่ผิดกฎหมาย (IFFs) จากรัสเซียพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ และเงินที่ไม่ถูกต้องเหล่านี้ยังกลายเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจในกระบวนการต่างๆในประเทศเหล่านี้ด้วยเช่นกัน
“ตําแหน่งทางภูมิศาสตร์เชิงกลยุทธ์ของคาบสมุทรบอลข่านซึ่งทําหน้าที่เป็นประตูเชื่อมระหว่างเอเชียและยุโรปตะวันตกควบคู่ไปกับระบบนิเวศของรัฐเหล่านี้,สถาบันต่างๆในประเทศที่มีจุดอ่อน และอาชญากรรมที่มีการจัดการอย่างเป็นระเบียบการเกิดขึ้นของเศรษฐกิจเงาที่อาละวาดทําให้ภูมิภาคนี้มีความอ่อนไหวต่อการหมุนเวียนของเงินสดที่ผิดกฎหมายเป็นพิเศษ” นางวานย่า ปีโตรวาผู้เขียนรายงานให้สัมภาษณ์
“ข้อเท็จจริงที่ประจักษ์ให้เห็นก็คือประเทศเหล่านี้ถูกเอาเปรียบด้วยผู้เล่นหลักๆอย่างเช่นรัสเซีย,จีน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพื่อสร้างอิทธิพลต่อการตัดสินใจของตลาดและสถาบันหลักๆในประเทศเหล่านี้” นางปีโตรว่ากล่าว
ผู้เขียนบทความกล่าวต่อไปด้วยว่าทางทำเนียบเครมลินได้ใช้ประโยชน์เพื่อให้ถึงระบบการเงินในโลกตะวันตก โดยแสวงหาผลประโยชน์จากช่องว่างที่ไร้การกำกับดูแลเงินสดหมุนเวียนที่ผิดกฎหมาย และอันตรายเหล่านี้ก็ดูจะพุ่งสูงยิ่งขึ้นนับตั้งแต่สงครามยูเครน-รัสเซียเกิดขึ้น
เซอร์เบียเป็นหนึ่งในประเทศในภูมิภาคบอลข่านที่มีจุดยืนสนับสนุนรัสเซีย (อ้างอิงวิดีโอจากบีบีซี)
นางปีโตรว่ากล่าวว่ามีการประเมินว่ากระแสเงินสดที่ผิดกฎหมายคิดเป็นมูลค่ากว่า 1-1.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯในแต่ละปี คิดเป็น 3-5 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมหรือจีดีพีในทุกประเทศทั่วโลก อย่างไรก็ตามเปอร์เซ็นต์ของกระแสเงินสดที่ผิดกฎหมายในภูมิภาคบอลข่านตะวันตกนั้นอยู่ที่ 6 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีในภูมิภาค
หลังจากที่รัสเซียบุกยูเครนในเดือน ก.พ.ปีที่แล้ว ก็ได้เกิดการคว่ำบาตรเป็นจำนวนหลายครั้งจากทางประเทศตะวันตก รวมไปถึงการอายัดทรัพย์สินคิดเป็นมูลค่ากว่า 3.15 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (10.686 ล้านล้านบาท) ซึ่งเป็นเงินทุนสำรองในธนาคารกลางของรัสเซีย
วิธีที่เหล่าบรรดาผู้มีอิทธิพลของรัสเซียใช้เพื่อหลีกเลี่ยงการคว่ำบาตรมักจะเป็นการฟอกเงินผ่านการซื้ออสังหาริมทรัพย์ และทรัพย์สินทางธุรกิจ การให้ผู้เชี่ยวชาญเดบัญชีธนาคารแทน การดำเนินการทำธุรกรรมผ่านสถันการเงิน การโยกย้ายเงินทุนและสร้างโครงสร้างบริษัทขึ้นมาเพื่อสนับสนุนทั้งทางตรงและทางอ้อม การใช้โครงสร้างอันซับซ้อนเพื่อหลีกเลี่ยงจากการระบุตัวตนเจ้าของผลประโยชน์ที่แท้จริง และการใช้เขตอำนาจศาลที่ 3 การใช้ข้อมูลทางการค้าปลอมเพื่ออำนวยความสะดวกในการส่งสินค้าที่มีความละเอียดอ่อนไปยังรัสเซีย
หรือก็คือรัสเซียสามารถหลีกเลี่ยงจากมาตรการคว่ำบาตรของตะวันตกไปได้ด้วยการใช้คาบสมุทรบอลข่านนั่นเอง
ตามรายงานระบุว่านับตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา ประเทศในคาบสมุทรบอลข่านอย่าง บอสเนีย บัลแกเรีย และเซอร์เบีย เป็นประเทศที่ไม่ได้ดำเนินการตามมาตรการคว่ำบาตรของสหภาพยุโรปหรืออียู ในขณะที่ประเทศอย่างมาซิโดเนียเหนือและมอนเตเนโกรได้ดำเนินการมอบสัญชาติประเทศของตัวเองให้กับชาวรัสเซียที่มาลงทุนในประเทศ แม้ว่าจะได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากอียูก็ตาม
ส่วนประเทศแอลเบเนีย แม้ว่าจะยังไม่เดินหน้าโครงการ “นิรโทษกรรมทางการเงิน” ซึ่งอนุญาตให้บุคคลไม่ว่าจะพลเมืองแอลเบเนียหรือว่าชาวต่างชาติสามารถจะฝากเงินที่ไม่ระบุที่มาที่ไปที่มามูลค่ามากกว่า 2 ล้านยูโร (74,880,445 บาท) เข้าสู่ระบบธนาคารของแอลเบเนียได้ แต่ทางการแอลเบเนียก็ยังไม่มีการยกเลิกความคิดนี้เช่นกัน
โดยพบว่ามีการลักลอบขนทั้งคน,อาวุธและเงินสด เพื่ออํานวยความสะดวกในกิจกรรมที่ผิดกฎหมายตั้งแต่เริ่มสงครามในยูเครน เงินสดที่ลักลอบนําเข้าส่วนใหญ่ซ่อนอยู่ในรถยนต์หรือซ่อนอยู่ในผลิตภัณฑ์ที่ถูกกฎหมายในรถบรรทุกขนส่งหรือตู้คอนเทนเนอร์
ตามรายงานระบุว่าหลังจากที่สงครามในปี 2565 เริ่มได้ไม่นาน พบว่ามีผู้ลี้ภัยชาวยูเครนได้มีการพกพาเอาเงินสดที่ไม่สามารถระบุที่ไปที่มาได้เข้าสู่ยุโรป อาทิ พบกรณีที่ภรรยาของอดีต สส.ยูเครนรายหนึ่งถูกจับที่จุดข้ามพรมแดนสำหรับผู้ลี้ภัย ในขณะที่เธอกำลังพยายามเข้าสู่ประเทศ โดยในตัวเธอพบว่ามีเงินกว่า 28 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (949,872,000 บาท) และเงินอีกกว่า 1.3 ล้านยูโร (48,672,289 บาท)
อีกกรณีหนึ่งพบว่ามีอดีตหัวหน้ากองกำลังความมั่นคงของยูเครน ซึ่งถูกกล่าวหาว่ามีพฤติกรรมสมคบคิดกับฝ่ายรัสเซีย ถูกควบคุมตัวที่บริเวณชายแดนระหว่างประเทศเซอร์เบียและมาซีโดเนียเหนือ ซึ่งในตัวเขาพบเงินกว่า 6 แสนยูโร (22,464,133 บาท) เงินดอลลาร์อีกจำนวนมาก รวมไปถึงเพชรและมรกตซึ่งยังไม่ทราบมูลค่า
นอกจากนี้ยังพบกรณีการใช้ช่องทางแอบแฝงเพื่อโอนเงินที่ผิดกฎหมายไปยังแอลเบเนียด้วยเช่นกัน
โดยเป็นการยากที่จะแยกกระแสการหนุมเวียนของเงินสดออกจากกัน เพราะมันจะถูกทำให้ผสมรวมไปกับผลกำไรในธุรกิจที่ใช้เงินสดจำนวนมาก อาทิ ร้านอาหาร บาร์ ร้านเสริมสวย ปั๊มน้ำมัน ที่จอดรถส่วนตัว และบริษัทแท็กซี่ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสถานที่ที่ใช้เพื่อการฟอกเงินผิดกฎหมาย
รายงานได้อธิบาบต่อไปว่ากระแสเงินสดที่มีความไม่ถูกต้องอีกรูปแบบหนึ่งนั้นมักจะมาในรูปแบบของการฉ้อโกงน้ำมันเชื้อเพลิง และการหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรโดยการประกาศลดปริมาณของผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิง นี่ทำใหเกิดพฤติกรรมการขายน้ำมันเถื่อนให้กับชาวประมงในแม่น้ำดานูบ ตามมาด้วยเทรนด์ล่าสุดก็ตือการซื้อน้ำมันในราคาที่ต่ำในระเทศฮังการี แล้วนำเอาน้ำมันไปขายซ้ำในราคาที่แพงกว่าในประเทศเซอร์เบีย
สหภาพยุโรปล้มเหลวในการบังคับให้ประเทศในกลุ่มบอลข่านปฏิบัติตามมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย (อ้างอิงวิดีจากฮินดูสถาน ไทม์ส)
นางปีโตรวากล่าวต่อไปว่านโยบายด้านการตลาดของอียูก็คือนโยบายว่าด้วยภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นศูนย์ สำหรับใบแจ้งหนี้ที่เกิดขึ้นระหว่างคนกลางด้วยกัน นี่ส่งผลทำให้การทุจริตด้านภาษีมูลค่าเพิ่มพุ่งสูงขึ้นมาก โดยในเดือน ธ.ค. 2565 สํานักงานอัยการยุโรป (EPPO) ได้มีการเปิดเผยเหตุการณ์ที่น่าเชื่อกันว่าเป็นการฉ้อโกงภาษีมูลค่าเพิ่มครั้งใหญ่ที่สุดในอียู คิดเป็นมูลค่าความเสียหายต่อผู้เสียภาษีในอียูถึง 2.2 พันล้านยูโร (82,368,489,720 บาท) ซึ่งประเทศที่ได้รับความเสียหายก็รวมไปถึง บัลแกเรียและโครเอเชีย รวมถึงประเทศที่สาม เช่น แอลเบเนียและเซอร์เบีย
“โดยทั่วไปแล้ว การขายใบแจ้งหนี้อันเป็นเท็จ ยังคงเป็นช่องทางหลักที่ทำให้เกิดการไหลเวียนของเงินสดที่ผิดกฎหมายทั้งในขาเข้าและออกภูมิภาคบอลข่านตะวันตก การขายใบแจ้งหนี้ปลอมนี้ยังรวมไปถึงการปลอมแปลงธุรกรรมปลอมๆ ซึ่งหมายความว่าไม่มีการทำธุรกิจใดๆเกิดขึ้นเลย” นางปีโตรวากล่าว
รายงานนี้ได้เรียกร้องให้ยุโรปดำเนินการอย่างเข้มข้นเพื่อแบ่งแยกเงินที่มาจากเศรษฐกิจของรัสเซีย,ดำเนินการสร้างโครงข่ายเพื่อตรวจสอบและคว่ำบาตรการลงทุนในเชิงยุทธศาสตร์ของรัสเซียที่เข้าไปลงทุนในภูมิภาคบอลข่าน และทำให้มั่นใจว่าประเทศในคาบสมุทรบอลข่านจะต้องอยู่ภายการบังคับใช้อำนาจของหน่วยงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (AMLA) ที่เพิ่งจะมีการปรับรูปแบบหน่วยงานไปไม่นานนี้ รวมไปถึงเรียกร้องให้เพิ่มการประสานงานให้มากขึ้นไปอีกกับหน่วยงานอาทิ FinCEN (เครือข่ายสืบสวนอาชญากรรมทางการเงินของสหรัฐอเมริกา) และสถาบันข่าวกรองทางการเงินในแต่ละประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตอั๊งยี่จากมาเก๊า สู่นักธุรกิจทุนจีนสีเทา เจ้าของคาสิโนที่เมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ที่ปรึกษาออสซี่ใช้ความลับ รบ.ให้คำแนะนำเอื้อเอกชนยักษ์ใหญ่เลี่ยงภาษี
- ส่องคดีทุจริตโลก:ส.ส.ดังจอร์เจีย อ้างข้อผิดพลาด-ไร้เจตนาซุกอพาร์ทเมนท์หรู ณ ดูไบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: ทหารรับจ้างแวกเนอร์ยึดแอฟริกากลาง หนุนเผด็จการ แลกผลประโยชน์นับแสนล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:อาวุธสวีเดน ถูกอินเดียส่งออกให้ทัพเมียนมา ใช้ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปงเอกชนสวิส ตั้ง บ.ย่อย หลบคว่ำบาตร แอบขายน้ำมันรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมปัญหาการใช้กฎหมายใหม่แคนาดา รับมือโอลิการ์ชลงทุนสินทรัพย์มหาศาล
- ส่องคดีทุจริตโลก: จากปมสินบนโรลซ์รอยส์โยงกรณีอื้อฉาว จัดซื้อ บ.ฝึก ทอ.อินเดียนับหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เส้นทางทองคำ แสน ล.จาก 'รัสเซีย' สู่ UAE หลบมาตรการคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก: ยูเอ็นเผย 'สิงคโปร์' ส่งออกชิ้นส่วนให้กองทัพเมียนมา 8 พัน ล. หลัง รปห.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เผยความมั่งคั่งบิ๊ก ทอ.เมียนมา ให้เครือญาติตั้งบริษัทรับงานนับพันล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตลูกจ้างฟ้องศาล แฉ บ.แคนาดา จ่ายสินบน แลกสัญญารถเกราะยูเครน พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัทพลังงานเยอรมนี เอี่ยวส่งเชื้อเพลิง เอื้อกองทัพรัสเซีย บุกยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: สกอตแลนด์ทำสัญญาจ้างตุรเคีย ต่อเรือ 9 พัน ล. ท้องถิ่นไม่ได้ประโยชน์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกสารหลุดเพนตากอน แฉความสัมพันธ์ รัสเซีย- UAE ช่วยหลบมาตรการคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เจาะลึกระบบธนาคารใต้ดินจีน เอี่ยวฟอกเงินพันล้านแก๊งยาเสพติดยุโรป
- ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการ EU สั่งสอบ งบฟื้นฟูเมืองหลวงบัลแกเรียไม่โปร่งใส เสียหาย ร้อย ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.เซอร์เบีย ส่อใช้งานนักจารกรรมข้อมูลการเงินอิสราเอลโจมตีฝ่ายตรงข้าม
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกชนใกล้ชิดพรรคการเมือง ได้สัญญาส่งอาหารกองทัพลัตเวีย 8 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการสวิสสั่งฟัน 4 นายธนาคาร เอื้อประโยชน์คนสนิทปูตินฝากเงินนับพัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง 3 เอกชนเยอรมนี นำเข้าไม้สักผิด กม.จากเมียนมานานนับปี
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉ หน.ทหารรับจ้างวากเนอร์ หลบคว่ำบาตรตะวันตก หารายได้ พัน ล.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉคอร์รัปชั่นวงการก่อสร้างตุรเคีย ต้นเหตุยอดตายแผ่นดินไหว 4.6 หมื่นศพ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปม บ.เกลมาโต้ถูกกล่าวหาจ่ายคอมมิชชั่นเอื้อทำสัญญาหลาย รบ.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง บ.พลังงานยักษ์ใหญ่ตะวันตก ทำธุรกิจหนุนเส้นเงินเผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมฉาว กห.ยูเครนจัดซื้ออาหารไม่โปร่งใส กระทบความเชื่อมั่นต่างชาติ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ขมวดปมอื้อฉาว ATK สะเทือนพรรคคอมฯเวียดนามอย่างไร หลัง ปธน.ลาออก
- ส่องคดีทุจริตโลก: ตามรอยบุหรี่จีนนับล้านมวนสูญหาย หลังเดินทางออกจากโรงงานในโรมาเนีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงเอกชนรับงานบูรณะถนนยูเครนพันล้าน เชื่อมโยงผู้ต้องหาหนีคดี FBI
- ส่องคดีทุจริตโลก: ประมวลข่าวคอร์รัปชันโลกปี 65 จากโอลิการ์ชรัสเซียถึงเอกสารแพนโดรา