คำตัดสินของศาลสูงกรุงพริทอเรียเกิดขึ้น หลังจากที่ก่อนหน้านี้ HJI ได้ยื่นคำร้องต่อศาลสูงเพื่อจะขอตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับสัญญา ซึ่ง HJI อ้างว่ารัฐบาลมีข้อปฏิบัติที่กำหนดในรัฐธรรมนูญว่าจะต้องดำเนินการด้วยความโปร่งใส และนอกจากนี้ HJI ต้องการที่จะตรวจสอบด้วยว่าเงื่อนไขของสัญญาถูกต้องตามกฎหมายและมีความคุ้มค่าหรือไม่
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สัปดาห์นี้ขอนำเสนอกรณีความไม่โปร่งใสเรื่องการจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในประเทศแอฟริกาใต้
เมื่อวันที่ 17 ส.ค.ที่ผ่านมา ศาลสูงแอฟริกาใต้ออกคำสั่งให้กระทรวงสาธารณสุขของประเทศได้ส่งสำเนาเกี่ยวกับสัญญาการจัดซื้อวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของประเทศทั้งหมด,รายละเอียดการเจรจา และข้อตกลงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยให้กระทรวงฯส่งสำเนาข้อมูลเหล่านี้ให้กับองค์กรพัฒนาเอกชนแห่งหนึ่งชื่อว่า Health Justice Initiative หรือ HJI
คำตัดสินของศาลสูงกรุงพริทอเรียเกิดขึ้น หลังจากที่ก่อนหน้านี้ HJI ได้ยื่นคำร้องต่อศาลสูงเพื่อจะขอตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับสัญญา ซึ่ง HJI อ้างว่ารัฐบาลมีข้อปฏิบัติที่กำหนดในรัฐธรรมนูญว่าจะต้องดำเนินการด้วยความโปร่งใส และนอกจากนี้ HJI ต้องการที่จะตรวจสอบด้วยว่าเงื่อนไขของสัญญาถูกต้องตามกฎหมายและมีความคุ้มค่าหรือไม่
กระทรวงฯ มีเวลาทั้งสิ้น 10 วันที่จะส่งสำเนาทั้งหมดเกี่ยวกับสัญญาจัดหาวัคซีนโควิด-19,บันทึกความเข้าใจและข้อตกลงทั้งหมด และข้อตกลงที่เกี่ยวข้องกับบริษัทยาจำนวนหลายแห่งและกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาวัคซีนไปให้กับ HJI
บริษัทยาและผู้ผลิตวัคซีนที่ถูกกล่าวถึงมานั้นรวมถึงบริษัทไฟเซอร์, แจนส์เซ่น/ จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน, สถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย, บริษัทยาสามัญท้องถิ่น แอสเพน, ซิโนแวคของจีน รวมถึงทีมเฉพาะกิจการเข้าถึงวัคซีนของสหภาพแอฟริกา (AU AVATT) และโครงการโคแวกซ์ขององค์การอนามัยโลกหรือ WHO
นายแอนโธนี มิลลาร์ ผู้พิพากษากล่าวว่าสัญญาเหล่านี้อยู่ในความสนใจของสาธารณชน เนื่องจากมีการฉีดวัคซีนจำนวนกว่า 30 ล้านโดส ใช้งบประมาณกว่า 530 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (18,852,365,000 บาท) ในช่วงปี 2564 แค่เพียงปีเดียว
แอฟริกาใต้ฉีดวัคซีนป้องกันโควิดโดสแรก โดยเป็นวัคซีนของบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า เมื่อเดือน มิ.ย.2563 (อ้างอิงวิดีโอจากบลูมเบิร์ก)
@ราคาที่สูงเกินจริง และเงื่อนไขที่ค่อนข้างเป็นภาระมาก
“นี่คือชัยชนะครั้งใหญ่สําหรับความโปร่งใสและความรับผิดชอบ” HJI กล่าวในแถลงการณ์เมื่อวันที่ 17 ส.ค. และในแถลงการณ์ยังได้ระบุต่อไปด้วยว่าสัญญาการจัดหาวัคซีนดังกล่าวเกี่ยวข้องกับเงินสาธารณะจำนวนมาก และกระบวนการทำสัญญานี้พบว่ามีข้อกล่าวหาว่ารัฐบาลได้จัดหาวัคซีนในราคาที่แตกต่างกันและในราคาที่สูงเกินจริง อีกทั้งข้อตกลงดังกล่าวอาจจะมีเงื่อนไขที่มีความไม่เท่าเทียม เงื่อนไขที่เป็นภาระ มีการระบุข้อสัญญาการชดใช้ค่าเสียหายที่เป็นวงกว้าง ข้อจำกัดในเรื่องการส่งออกวัคซีนและข้อสัญญาที่ระบุรายละเอียดว่าไม่สามารถคืนเงินได้
ย้อนไปเมื่อปี 2564 กระทรวงสาธารณสุขของแอฟริกาใต้ได้แสดงความไม่พอใจเกี่ยวกับเงื่อนไขของบริษัทไฟเซอร์ที่ระบุถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการไม่สามารถเรียกเงินคืนได้ เพื่อแลกเปลี่ยนกับการได้รับวัคซีน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในตอนนั้นซึ่งก็คือนายซเวลี มคิเซ กล่าวกับรัฐสภาว่าบริษัทไฟเซอร์ได้เรียกร้องให้รัฐบาลเป็นผู้ชดใช้ค่าเสียหายถ้าหากมีกรณีที่ประชาชนได้ฟ้องร้องอันสืบเนื่องจากผลข้างเคียงของวัคซีน และบริษัทไฟเซอร์ยังได้เรียกร้องให้รัฐบาลวางทรัพย์สินของรัฐเพื่อใช้เป็นหลักประกัน ตามที่ได้มีการรายงานข่าวโดยสำนักข่าว Bureau of Investigative Journalism
หลังจากที่สาธารณชนได้แสดงความไม่พอใจ บริษัทไฟเซอร์ก็ยอมถอนเงื่อนไขการใช้ทรัพย์สินของรัฐเป็นหลักประกัน แต่ก็เชื่อกันว่าบริษัทยังคงเงื่อนไขเรื่องการให้รัฐบาลเป็นผู้ชดเชยค่าเสียหายจากการฟ้องร้องในประเด็นเรื่องผลข้างเคียงเอาไว้ในหลายประเทศ
อันที่จริงแล้วในช่วงที่เกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นที่ทราบกันดีว่ามีโครงการโคแว็กซ์ของ WHO ซึ่งเป็นโครงการที่ต้องการจะให้ทั่วโลกสามารถเข้าถึงวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 ได้ โดยโครงการนี้จะมีรายละเอียดการชดเชยสำหรับผู้ที่จัดหาวัคซีนโดยการจองล่วงหน้า (Advance Market Commitment; AMC) ที่ระบุว่าบุคคลผู้ซึ่งได้รับการฉีดวัคซีนในประเทศที่ยากจน แล้วต้องเผชิญกับผลข้างเคียงจากวัคซีนจะเข้าข่ายเป็นผู้ที่ได้รับการชดเชย
ประเทศแอฟริกาใต้และประเทศอื่นๆซึ่งมีรายได้ต่ำและรายได้ปานกลาง เป็นประเทศที่ไม่สามารถจะจัดหาวัคซีนได้เป็นระยะเวลาหลายเดือน หลังจากที่ประเทศตะวันตกสามารถจัดหาวัคซีนได้แล้ว โดยเป็นเพราะว่าพวกเขาต้องพึ่งพาโครงการโคแว็กซ์ ส่วนโครงการโคแว็กซ์เองก็ได้สั่งวัคซีนหลักๆมาจากสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดียหรือ SII
อย่างไรก็ตามรัฐบาลอินเดียสั่งห้ามไม่ให้ SII ส่งออกวัคซีนโควิด-19 ในเดือน เม.ย. 2564 ในช่วงที่อินเดียต้องเผชิญกับการระบาดครั้งใหญ่
ความล้มเหลวของข้อตกลงโคแว็กซ์-SII ส่งผลทำให้แอฟริกาใต้ต้องแย่งชิงการจัดหาวัคซีนโดยตรงจากบริษัทยาต่างๆ ทำให้มีการจ่ายเงินอันน่าสงสัยว่าจะจ่ายให้กับบางสิ่งที่แพงเป็นพิเศษเพื่อแลกกับวัคซีนเหล่านี้
ขณะที่ HJI กล่าวว่าพบข้อสังเกตว่ามีรายงานการทุจริตเพิ่มขึ้นในภาคการดูแลสุขภาพ และกล่าวเสริมว่า “เราไม่สามารถมีระบบสุขที่ปกคลุมไปด้วยความลับได้ การจัดซื้อจะต้องได้รับการตรวจสอบ เนื่องจากว่ามันเกี่ยวข้องกับบริษัทยาข้ามชาติที่มีอำนาจในอุตสาหกรรมยา”
ในช่วงการระบาดครั้งใหญ่ ปรากฏว่านายมคิเซ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเองก็ถูกบังคับให้ลาออกจากตำแหน่งหลังจากที่ปรากฎข้อมูลว่าครอบครัวของเขาได้รับประโยชน์จากสัญญาว่าด้วยการสื่อสารเกี่ยวกับโควิด-19 ซึ่งทางกระทรวงฯได้มอบสัญญานี้ให้กับบริษัทที่เป็นของเพื่อนสนิทของรัฐมนตรี
รายงานข่าวว่าบริษัทไฟเซอร์และบริษัทโมเดอร์นาไม่สามารถจะถูกฟ้องร้องจากประเด็นวัคซีนโควิดได้ (อ้างอิงวิดีโอจาก CNBC)
@แบบอย่างสำหรับการเจรจาในอนาคต
HJI กล่าวว่าคำตัดสินของศาลจะช่วยสนับสนุน “บทบัญญัติว่าด้วยความโปร่งใสและความรับผิดชอบ" ในการเจรจาข้อตกลงโรคระบาดในปัจจุบัน "ซึ่งมีความน่ากังวลว่าจะมีความพยายามเพื่อลดความโปร่งใสลง
ก่อนหน้านี้ HJI ได้พยายามเข้าถึงสัญญาผ่านพระราชบัญญัติเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร (PAIA) แต่กระทรวงสาธารณสุขปฏิเสธที่จะเปิดเผยข้อมูล โดยอ้างว่ามันเป็นความลับ
คำตัดสินของศาลสูงยังได้รับการยกย่องกลุ่มพันธมิตรวัคซีนของประชาชนหรือ People’s Vaccine Alliance ด้วยเช่นกัน
“บริษัทยาไม่ควรได้รับอนุญาตให้ดําเนินการโดยปราศจากการตรวจสอบจากสาธารณชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการระบาดใหญ่ แต่ในแอฟริกาใต้และอีกหลายประเทศ รัฐบาลถูกบังคับให้ลงนามในข้อกําหนดความลับที่เข้มงวดสําหรับประชากรของพวกเขาในการเข้าถึงวัคซีนและยาช่วยชีวิตต่างๆ” กลุ่มพันธมิตรวัคซีนกล่าวและกล่าวต่อว่า “การตัดสินใจครั้งสําคัญนี้แสดงให้เห็นว่าสาธารณชนสามารถจัดการกับ บริษัท ยาที่ทรงพลังและชนะได้ เราหวังว่าจะได้เห็นกรณีเช่นนี้มากขึ้นทั่วโลก”
ส่วนทางด้านของกระทรวงสาธารณสุขแอฟริกาใต้กล่าวว่าทางกระทรวงจะได้ดำเนินการศึกษาคำพิพากษาและจะตอบสนองรวมไปถึงตัดสินใจในระยะเวลาที่เหมาะสม
เรียบเรียงจาก:https://healthpolicy-watch.news/court-compels-south-africa-to-reveal-covid-19-vaccine-procurement-contracts/
อ่านประกอบ:
- ส่องคดีทุจริตโลก:คนใกล้ชิด รมว.กห.ยูเครน เอี่ยวจัดซื้อชุดทหารฤดูหนาวด้อยคุณภาพ พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ตร.ออสซี่สั่งสอบ ปมสินบนนักการเมืองนาอูรู แลกสัญญาศูนย์กักกันหมื่นล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉเส้นเงินผิด กม.ผ่านภูมิภาคบอลข่านตะวันตก หลังสงครามรัสเซีย-ยูเครนปะทุ
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตอั๊งยี่จากมาเก๊า สู่นักธุรกิจทุนจีนสีเทา เจ้าของคาสิโนที่เมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ที่ปรึกษาออสซี่ใช้ความลับ รบ.ให้คำแนะนำเอื้อเอกชนยักษ์ใหญ่เลี่ยงภาษี
- ส่องคดีทุจริตโลก:ส.ส.ดังจอร์เจีย อ้างข้อผิดพลาด-ไร้เจตนาซุกอพาร์ทเมนท์หรู ณ ดูไบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: ทหารรับจ้างแวกเนอร์ยึดแอฟริกากลาง หนุนเผด็จการ แลกผลประโยชน์นับแสนล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:อาวุธสวีเดน ถูกอินเดียส่งออกให้ทัพเมียนมา ใช้ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปงเอกชนสวิส ตั้ง บ.ย่อย หลบคว่ำบาตร แอบขายน้ำมันรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมปัญหาการใช้กฎหมายใหม่แคนาดา รับมือโอลิการ์ชลงทุนสินทรัพย์มหาศาล
- ส่องคดีทุจริตโลก: จากปมสินบนโรลซ์รอยส์โยงกรณีอื้อฉาว จัดซื้อ บ.ฝึก ทอ.อินเดียนับหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เส้นทางทองคำ แสน ล.จาก 'รัสเซีย' สู่ UAE หลบมาตรการคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก: ยูเอ็นเผย 'สิงคโปร์' ส่งออกชิ้นส่วนให้กองทัพเมียนมา 8 พัน ล. หลัง รปห.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เผยความมั่งคั่งบิ๊ก ทอ.เมียนมา ให้เครือญาติตั้งบริษัทรับงานนับพันล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตลูกจ้างฟ้องศาล แฉ บ.แคนาดา จ่ายสินบน แลกสัญญารถเกราะยูเครน พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัทพลังงานเยอรมนี เอี่ยวส่งเชื้อเพลิง เอื้อกองทัพรัสเซีย บุกยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: สกอตแลนด์ทำสัญญาจ้างตุรเคีย ต่อเรือ 9 พัน ล. ท้องถิ่นไม่ได้ประโยชน์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกสารหลุดเพนตากอน แฉความสัมพันธ์ รัสเซีย- UAE ช่วยหลบมาตรการคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เจาะลึกระบบธนาคารใต้ดินจีน เอี่ยวฟอกเงินพันล้านแก๊งยาเสพติดยุโรป
- ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการ EU สั่งสอบ งบฟื้นฟูเมืองหลวงบัลแกเรียไม่โปร่งใส เสียหาย ร้อย ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.เซอร์เบีย ส่อใช้งานนักจารกรรมข้อมูลการเงินอิสราเอลโจมตีฝ่ายตรงข้าม
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกชนใกล้ชิดพรรคการเมือง ได้สัญญาส่งอาหารกองทัพลัตเวีย 8 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการสวิสสั่งฟัน 4 นายธนาคาร เอื้อประโยชน์คนสนิทปูตินฝากเงินนับพัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง 3 เอกชนเยอรมนี นำเข้าไม้สักผิด กม.จากเมียนมานานนับปี
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉ หน.ทหารรับจ้างวากเนอร์ หลบคว่ำบาตรตะวันตก หารายได้ พัน ล.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉคอร์รัปชั่นวงการก่อสร้างตุรเคีย ต้นเหตุยอดตายแผ่นดินไหว 4.6 หมื่นศพ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปม บ.เกลมาโต้ถูกกล่าวหาจ่ายคอมมิชชั่นเอื้อทำสัญญาหลาย รบ.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง บ.พลังงานยักษ์ใหญ่ตะวันตก ทำธุรกิจหนุนเส้นเงินเผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมฉาว กห.ยูเครนจัดซื้ออาหารไม่โปร่งใส กระทบความเชื่อมั่นต่างชาติ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ขมวดปมอื้อฉาว ATK สะเทือนพรรคคอมฯเวียดนามอย่างไร หลัง ปธน.ลาออก
- ส่องคดีทุจริตโลก: ตามรอยบุหรี่จีนนับล้านมวนสูญหาย หลังเดินทางออกจากโรงงานในโรมาเนีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงเอกชนรับงานบูรณะถนนยูเครนพันล้าน เชื่อมโยงผู้ต้องหาหนีคดี FBI
- ส่องคดีทุจริตโลก: ประมวลข่าวคอร์รัปชันโลกปี 65 จากโอลิการ์ชรัสเซียถึงเอกสารแพนโดรา