รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้ดำเนินการมอบสัญญาเหล่านี้คิดเป็นมูลค่าถึง 203 ล้านปอนด์ (8,862,371,578 บาท) ให้กับบริษัทที่ชื่อว่า PPE Medpro โดยบริษัทนี้นั้นพบข้อมูลว่านางมิเชล โมเน่ สมาชิกสภาขุนนาง (เทียบได้กับ สว.) และสมาชิกพรรคอนุรักษ์นิยม พร้อมด้วยนายดั๊ก บาร์โรว์แมน สามีของนางโมเน่ เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สัปดาห์นี้ยังคงเกาะติดประเด็นความไม่โปร่งใสการจัดซื้อชุดป้องกันการติดเชื้อหรือชุด PPE ของรัฐบาลออสเตรเลียในช่วงการระบาดของโควิด-19
โดยในช่วงเดือน เม.ย.และ มิ.ย. 2563 กระทรวงสาธารณสุขออสเตรเลียได้มอบสัญญาการจัดหาชุด PPE มูลค่า 100 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (2,282,681,000 บาท) ให้กับบริษัทชื่อว่า Australian Business Mobiles NSW หรือตัวย่อว่าบริษัท ABM
แต่ปรากฏว่าบริษัท ABM กลับไปจ้างช่วงบริษัทสองแห่งในไซปรัสชื่อว่าบริษัท Neumer Trading และบริษัท Neumer Holdings คิดเป็นมูลค่า 91 ล้านดอลลาร์ฯ (2,074,792,720 บาท)
ต่อมาบริษัท Neumer ทั้งสองแห่งจ่ายเงินกว่า 50 ล้านดอลลาร์ฯ (1,140,564,960 บาท) เพื่อจ้างช่วงอีกทอดหนึ่งกับบริษัทหลายแห่ง ซึ่งรวมถึงบริษัท Eric Beare Associates ที่จดทะเบียนในฮ่องกง และบริษัทนี้เองก็ไปซื้อหน้ากากและชุดกาวน์สำหรับแพทย์มาจากโรงงานหลายแห่งในประเทศจีนแล้วส่งต่อให้กับบริษัท ABM ซึ่งได้ส่งต่อเวชภัณฑ์เหล่านี้ให้รัฐบาลออสเตรเลีย
แต่ปรากฏว่าหน้ากากจำนวนมากกลับไม่สามารถใช้งานได้
ทางสำนักข่าวการ์เดียนของอังกฤษได้รายงานข่าวเพิ่มเติมกรณีนี้ปรากฏข้อมูลว่าบริษัทเหล่านี้มีส่วนในการจัดหาชุด PPE ให้กับสหราชอาณาจักรในช่วงการระบาดของโควิดด้วยเช่นกัน
รายละเอียดมีดังต่อไปนี้
มีรายงานข่าวว่าบริษัท Neumer และบริษัท Eric Beare Associates ยังไปทำหน้าที่เป็นคนกลางในการจัดหาหน้ากากอนามัยและชุดกาวน์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสองสัญญาการจัดหาชุด PPE สุดอื้อฉาวที่สหราชอาณาจักร โดยสัญญาดังทั้งสองนั้นทำขึ้นเมื่อเดือน พ.ค.และมิ.ย. 2563
รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้ดำเนินการมอบสัญญาเหล่านี้คิดเป็นมูลค่าถึง 203 ล้านปอนด์ (8,862,371,578 บาท) ให้กับบริษัทที่ชื่อว่า PPE Medpro โดยบริษัทนี้นั้นพบข้อมูลว่านางมิเชล โมเน่ สมาชิกสภาขุนนาง (เทียบได้กับ สว.) และสมาชิกพรรคอนุรักษ์นิยม พร้อมด้วยนายดั๊ก บาร์โรว์แมน สามีของนางโมเน่ เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน
สำนักข่าวการ์เดียนได้เคยเปิดโปงไปแล้วว่าบริษัทผู้ซึ่งเป็นพันธมิตรในการจัดหาเวชภัณฑ์ให้กับบริษัท PPE Medpro ในกรุงลอนดอน แท้จริงแล้วก็คือบริษัท , Loudwater Trade and Finance โดยบริษัทนี้เคยจ่ายเงินให้กับหนึ่งในบริษัท Neumer เพื่อให้แนะนำบริษัท Eric Beare Associates
มีรายงานว่าเวชภัณฑ์ได้แก่ชุดกาวน์ซึ่งถูกจัดหาโดยบริษัท PPE Medpro เป็นจำนวนอย่างน้อยในหนึ่งสัญญานั้นถูกปฎิเสธจากทางกระทรวงสาธารณสุขและการดูแลสังคมของสหราชอาณาจักรหรือ DHSC
ทาง DHSC ยังได้ฟ้องร้องบริษัท PPE Medpro โดยเรียกค่าเสียหายเป็นเงินกว่า 122 ล้านปอนด์ (5,329,548,010 บาท)ด้วยเช่นกัน จากกรณีนี้ ในข้อหาที่ว่าชุดกาวน์ของบริษัทไม่มีความปลอดภัย ส่วนบริษัท PPE Medpro ก็แก้ต่างว่าชุดกาวน์มีความเหมาะสมกับวัตถุประสงค์แล้ว
หน้าเว็บบริษัท PPE Medpro
ข้อตกลงดังกล่าวทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมืองในสหราชอาณาจักร โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่เดอะการ์เดียนได้รายงานในเดือน พ.ย.2565 ระบุว่าจากข้อมูลเอกสารธนาคารพบว่านายบาร์โรว์แมนได้เงินไปอย่างน้อยกว่า 65 ล้านปอนด์ (2,841,249,092 บาท) ซึ่งมาจากกำไรของบริษัท PPE Medpro แล้วต่อมานายบาร์โรว์แมนก็ได้โอนเงินกว่า 29 ล้านปอนด์ (1,268,102,978 บาท) ไปยังกองทุนหรือทรัสต์นอกชายฝั่งสำหรับนางโมเน่และลูกชายคนโตของเธอ
ในช่วงเวลานั้นนางโมเน่และนายบาร์โรว์แมนได้ชี้แจงผ่านทนายความของพวกเขา ปฏิเสธข้อกล่าวหา และยืนยันว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัท โดยทนายความของนางโมเน่กล่าวว่ามี "สาเหตุหลายประการที่ทําให้ลูกความของเราไม่สามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาเหล่านี้ได้” ส่วนทนายความของนายบาร์โรว์แมนกล่าวว่าการสืบสวนอย่างต่อเนื่องทำให้ลูกความของเขาพูดอะไรได้ค่อนข้างจำกัด และกล่าวเสริมว่า "มีความไม่ถูกต้องอย่างมากในการกล่าวถึง 'ข้อเท็จจริง' ที่ถูกกล่าวหาและมีข้อเท็จจริงจำนวนหนึ่งที่ผิดอย่างสมบูรณ์"
ขณะที่โฆษกของบริษัท PPE Medpro ที่อ้างว่าพวกเขาได้รับอนุญาตให้พูดในนามของนางโมเน่และนายบาร์โรว์แมน ได้กล่าวว่าสัญญาที่ออสเตรเลียนั้นไม่มีความเกี่ยวโยงใดๆเลยกับที่สหราชอาณาจักร โดยบริษัท PPE Medpro ได้ "ประสบความสําเร็จ" ตามคําสั่งในการจัดหาหน้ากากอนามัย 210 ล้านชิ้นให้กับหน่วยงานบริการสุขภาพแห่งชาติของสหราชอาณาจักร (NHS) ซึ่งการจัดหาเป็นการทำงานร่วมกับกับพันธมิตรกลุ่มบริษัทได้แก่บริษัท Eric Beare Associates and Loudwater Trade & Finance
นายดักลาส บอโรว์แมน และนางมิเชล โมเน่ ผู้เป็นภรรยาและเป็นสมาชิกสภาขุนนางอังกฤษ (อ้างอิงรูปภาพจาก https://www.thescottishsun.co.uk/fabulous/3725134/michelle-mone-engaged-proposal-fiance-doug-barrowman-wedding/)
โฆษกบริษัท PPE Medpro กล่าวเสริมด้วยว่าบริษัท Neumer ไม่เป็นที่รู้จักของบริษัท PPE Medpro ในช่วงเวลาที่มีการทำสัญญาและไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มที่จัดหาชุด PPE ให้กับรัฐบาลสหราชอาณาจักร
“บริษัท PPE Medpro ทราบว่าบริษัท Eric Beare Associates ได้จัดหาชุด PPE ให้กับประเทศอื่น ๆ ในช่วงการระบาดใหญ่ อย่างไรก็ตามเราไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับคู่ค้าหรือข้อตกลงทางการเงินสําหรับสัญญาเหล่านั้น พวกมันเป็นสัญญาที่ไม่เชื่อมโยงกันอย่างสมบูรณ์” โฆษกบริษัท PPE Medpro กล่าว
ขณะที่โฆษกส่วนตัวของนายริคกี้ นอยมันน์ หนึ่งในเจ้าของบริษัท Neumer ปฏิเสธที่จะตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องบันทึกว่าบริษัทได้มีส่วนในการจัดหาเงินทุนให้กับข้อตกลงของบริษัท PPE Medpro
@ผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง
กลับมาที่บริษัท ABM ซึ่งเป็นผู้ชนะการจัดหาชุด PPE ให้กับรัฐบาลออสเตรเลีย พบข้อมูลบนเพจ LinkedIn ของบริษัทระบุว่าบริษัทแห่งนี้โดยทั่วไปจะขายของใช้ในครัวเรือนรวมถึงเครื่องนอน กระเป๋าเดินทางและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สําหรับผู้บริโภค
"เราเชี่ยวชาญในการสร้างสรรค์สินค้าที่ดูหรูหราแต่ราคาไม่แพงที่ทำให้บ้านมีสไตล์และความสะดวกสบาย" บริษัทระบุ
ส่วนสองพี่น้องฝาแฝดนอยมันน์ (นายอีวาน นอยมันน์และนายริคกี้ นอยมันน์) ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทสองแห่งในไซปรัส เคยอธิบายตัวเองว่าเป็นผู้ประกอบการ ก็ไม่ปรากฎว่าเคยมีประสบการณ์ในการจัดหาชุด PPE ในช่วงก่อนเกิดโรคระบาด ส่วนบริษัท Intertrading Australia ซึ่งเป็นบริษัทอีกแห่งที่เป็นของสองพี่น้องนอยมันน์ ที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของนครซิดนีย์ ก็พบข้อมูลว่าบริษัทนี้ส่วนใหญ่ทำธุรกิจนําเข้าอุปกรณ์อาบน้ำ ขนมและสินค้าอุปโภคบริโภค โดยบริษัทระบุบนเว็บไซต์ว่า "คนออสเตรเลียเป็นเจ้าของและดําเนินการ 100%"
หน้าเว็บบริษัท Intertrading Australia
อนึ่งข้อตกลงชุด PPE ดังกล่าวทำให้เกิดคําถามเกี่ยวกับวิธีที่รัฐบาลออสเตรเลียดําเนินการตรวจสอบสถานะอย่างเข้มงวดกับ บริษัทที่ทําสัญญาด้วยและราคาที่ตกลงที่จะจ่ายเมื่อพยายามจัดหาชุด PPE ในช่วงเริ่มต้นการระบาดใหญ่
ในช่วงเวลาที่ผ่านมา รัฐบาลกลางออสเตรเลียได้ระงับการใช้ระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างตามปกติ เพื่อที่จะมอบสัญญาให้กับบริษัท ABM และก็มีบริษัทอื่นๆได้รับสัญญาในลักษณะคล้ายๆกันนี้ด้วยเช่นกัน ภายใต้การยกเว้นว่ากระทำไปเพื่อ “ปกป้องสาธารณสุขของประชาชน”
โดยรัฐบาลออสเตรเลียได้ใช้วิธีการตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจของเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อจะดำเนินการคัดกรองข้อเสนอต่างๆที่อ้างว่ามาจากซัพพลายเออร์เพื่อจัดหาชุด PPE ซึ่งการคัดกรองข้อเสนอจะเกิดก่อนที่จะมีกระบวนการตรวจสอบอย่างละเอียดเกี่ยวกับขัดความสามารถ ประวัติและประสบการณ์ของบริษัท
ในช่วงเวลาที่ ABM ได้รับสัญญาจากรัฐบาลออสเตรเลีย รัฐบาลหลายประเทศทั่วโลกต่างก็พยายามเป็นอย่างยิ่งเพื่อจะเติมเต็มชุด PPE ในคลังเวชภัณฑ์ของตัวเองและบริษัทที่มีของ ซึ่งส่วนมากแหล่งที่มานั้นมาจากประเทศจีน ก็จะมีอำนาจในการเรียกราคาที่สูงได้
ที่ผ่านมาสํานักงานตรวจสอบแห่งชาติออสเตรเลียได้ตรวจสอบการจัดซื้อชุด PPE ในปี 2563 และพบว่าสัญญาโดยทั่วไปมีความคุ้มค่ากับเงินและการวางแผนการจัดซื้อจัดจ้างและการกํากับดูแลของกระทรวงมีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตามกรณีปัญหาเรื่องเส้นทางการเงินที่ถูกดำเนินการโดยบริษัทของสองพี่น้องนอยมันน์ที่ไซปรัส ทางด้านของโฆษกของนายริคกี้ นอยมันน์กล่าวว่า “ระบบห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกมีความซับซ้อนและหลายชั้นเนื่องจากการขาดอุปทานในวิกฤตโรคระบาดที่พัฒนาตลอดเวลา นี่เป็นช่วงเวลาที่จําเป็นต้องตัดสินใจอย่างรวดเร็วเพื่อประโยชน์ในการเข้าถึงเวชภัณฑ์เร่งด่วนเพื่อปกป้องเจ้าหน้าที่แนวหน้าของออสเตรเลีย”
โฆษกของนายริคกี้ นอยมันน์กล่าวต่อไปว่าเราปฏิบัติตามภาระหน้าที่ของเรามาโดยตลอดและปฏิเสธว่ามีส่วนในการกระทําผิดใด ๆ เราเป็นองค์กรระดับโลกที่ดําเนินงานในสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ที่ดีที่สุดและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทางธุรกิจของเรา ธุรกรรมทั้งหมดของเราผ่านการจัดทําเอกสารอย่างถูกต้องและเป็นมืออาชีพและสอดคล้องกับเขตอํานาจศาลท้องถิ่น
ส่วนบริษัท ABM, นายอีวาน นอยมันน์ และบริษัท Eric Beare Associates ในฮ่องกงไม่ได้ตอบคำถามของสำนักข่าวแต่อย่างใด
ในโพสต์ LinkedIn ในปี 2563 บริษัท ABM อ้างว่าได้ให้ความสําคัญกับคุณภาพและการปฏิบัติตามข้อกําหนดโดยอธิบายว่า "บริษัทไม่สามารถต่อรองได้" และกล่าวว่าได้ว่าจ้าง "ที่ปรึกษาด้านกฎระเบียบและว่าจ้างแพทย์ที่ซึ่งทำงานตรวจสอบชุด PPE ในนามของเรา"
ขณะที่โฆษกส่วนตัวของนายเกร็ก ฮันต์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในช่วงปี 2563 ได้ออกมากล่าวปกป้องการจัดหาชุด PPE ของรัฐบาลผสมในช่วงเวลานั้น โดยระบุว่ารัฐมนตรีไม่ได้มีความรู้เกี่ยวกับสัญญาและรับรู้ตัวตนของบริษัทและบุคคลต่างๆแต่อย่างใด
ส่วนนายมาร์ค บัทเลอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขคนปัจจุบันกล่าวว่ารัฐบาลได้เริ่มต้นการสอบสวนการจัดซื้อในช่วงโควิด-19 แล้ว ซึ่งก็รวมถึงการจัดซื้อชุด PPE ด้วยเช่นกัน
เรียบเรียงจาก: https://www.theguardian.com/australia-news/2023/nov/08/australian-government-paid-millions-for-unusable-covid-face-masks-from-obscure-online-retailer-ntwnfb,https://www.theguardian.com/world/2023/nov/08/australia-rejected-millions-of-face-masks-provided-by-ppe-medpro-suppliers
อ่านประกอบ:
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกชนชนะสัญญาพันล.จ้าง 2บ.ไซปรัส จัดหาหน้ากากด้อยคุณภาพให้ สธ.ออสซี่
- ส่องคดีทุจริตโลก: สธ.มาเลย์ซื้อเครื่องช่วยหายใจช่วงโควิดมีปัญหาเกือบหมด-เอาผิดใครไม่ได้
- ส่องคดีทุจริตโลก: นักธุรกิจบำบัดน้ำเสียจ่ายสินบน จนท.รัฐฮาวาย แลกผูกขาดสัญญานานนับปี
- ส่องคดีทุจริตโลก: ศาลสิงคโปร์ไม่ให้ประกันจีนเทา เหตุมีพาสปอร์ต ตปท.เพียบ หวั่นหลบหนี
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตนายกฯจอร์แดนถือสัญชาติโดมินิกาหลังพ้นตำแหน่ง ทนายยันทำเรื่องถูกต้อง
- ส่องคดีทุจริตโลก:นักธุรกิจจีนเทาขายน้ำวิเศษอ้างนาซารับรอง จ่ายสินบนนักการทูต แลกทำงาน UN
- ส่องคดีทุจริตโลก:สว.สหรัฐฯ ถูกสอบรับสินบน แลกอนุมัติงบช่วยเหลือทางทหาร รบ.อียิปต์หมื่นล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: กห.เดนมาร์กจัดซื้อปืนใหญ่ 8.9 พัน ล.ไม่โปร่งใส แลกบ.อิสราเอลถอนฟ้องคดี
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉทุนจีนสีเทา ถูกจับข้อหาฟอกเงินที่สิงคโปร์ ซื้ออสังหาฯ พันล. ณ ลอนดอน
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉเอกชนอิสราเอล ส่งยุทธภัณฑ์ลอตใหญ่ให้เมียนมา หลังรัฐประหาร
- ส่องคดีทุจริตโลก: จนท.ยูเครนจับอดีตผู้สนับสนุน ปธน.เซเลนสกี โยงทุจริต-ฟอกเงินนับ พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:โครงการพาสปอร์ตทองคำ โยงผู้ต้องสงสัย คดีฟอกเงิน 2.5 หมื่น ล.ที่สิงคโปร์
- ส่องคดีทุจริตโลก:ชี้เป็น ปย.ต่อประชาชน-ศาลสูงสั่ง สธ.แอฟริกาใต้ เปิดทุกสัญญาวัคซีนโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก:คนใกล้ชิด รมว.กห.ยูเครน เอี่ยวจัดซื้อชุดทหารฤดูหนาวด้อยคุณภาพ พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ตร.ออสซี่สั่งสอบ ปมสินบนนักการเมืองนาอูรู แลกสัญญาศูนย์กักกันหมื่นล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉเส้นเงินผิด กม.ผ่านภูมิภาคบอลข่านตะวันตก หลังสงครามรัสเซีย-ยูเครนปะทุ
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตอั๊งยี่จากมาเก๊า สู่นักธุรกิจทุนจีนสีเทา เจ้าของคาสิโนที่เมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ที่ปรึกษาออสซี่ใช้ความลับ รบ.ให้คำแนะนำเอื้อเอกชนยักษ์ใหญ่เลี่ยงภาษี
- ส่องคดีทุจริตโลก:ส.ส.ดังจอร์เจีย อ้างข้อผิดพลาด-ไร้เจตนาซุกอพาร์ทเมนท์หรู ณ ดูไบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: ทหารรับจ้างแวกเนอร์ยึดแอฟริกากลาง หนุนเผด็จการ แลกผลประโยชน์นับแสนล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:อาวุธสวีเดน ถูกอินเดียส่งออกให้ทัพเมียนมา ใช้ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปงเอกชนสวิส ตั้ง บ.ย่อย หลบคว่ำบาตร แอบขายน้ำมันรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมปัญหาการใช้กฎหมายใหม่แคนาดา รับมือโอลิการ์ชลงทุนสินทรัพย์มหาศาล
- ส่องคดีทุจริตโลก: จากปมสินบนโรลซ์รอยส์โยงกรณีอื้อฉาว จัดซื้อ บ.ฝึก ทอ.อินเดียนับหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เส้นทางทองคำ แสน ล.จาก 'รัสเซีย' สู่ UAE หลบมาตรการคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก: ยูเอ็นเผย 'สิงคโปร์' ส่งออกชิ้นส่วนให้กองทัพเมียนมา 8 พัน ล. หลัง รปห.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เผยความมั่งคั่งบิ๊ก ทอ.เมียนมา ให้เครือญาติตั้งบริษัทรับงานนับพันล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตลูกจ้างฟ้องศาล แฉ บ.แคนาดา จ่ายสินบน แลกสัญญารถเกราะยูเครน พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัทพลังงานเยอรมนี เอี่ยวส่งเชื้อเพลิง เอื้อกองทัพรัสเซีย บุกยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: สกอตแลนด์ทำสัญญาจ้างตุรเคีย ต่อเรือ 9 พัน ล. ท้องถิ่นไม่ได้ประโยชน์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกสารหลุดเพนตากอน แฉความสัมพันธ์ รัสเซีย- UAE ช่วยหลบมาตรการคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เจาะลึกระบบธนาคารใต้ดินจีน เอี่ยวฟอกเงินพันล้านแก๊งยาเสพติดยุโรป
- ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการ EU สั่งสอบ งบฟื้นฟูเมืองหลวงบัลแกเรียไม่โปร่งใส เสียหาย ร้อย ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.เซอร์เบีย ส่อใช้งานนักจารกรรมข้อมูลการเงินอิสราเอลโจมตีฝ่ายตรงข้าม
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกชนใกล้ชิดพรรคการเมือง ได้สัญญาส่งอาหารกองทัพลัตเวีย 8 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการสวิสสั่งฟัน 4 นายธนาคาร เอื้อประโยชน์คนสนิทปูตินฝากเงินนับพัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง 3 เอกชนเยอรมนี นำเข้าไม้สักผิด กม.จากเมียนมานานนับปี
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉ หน.ทหารรับจ้างวากเนอร์ หลบคว่ำบาตรตะวันตก หารายได้ พัน ล.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉคอร์รัปชั่นวงการก่อสร้างตุรเคีย ต้นเหตุยอดตายแผ่นดินไหว 4.6 หมื่นศพ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปม บ.เกลมาโต้ถูกกล่าวหาจ่ายคอมมิชชั่นเอื้อทำสัญญาหลาย รบ.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง บ.พลังงานยักษ์ใหญ่ตะวันตก ทำธุรกิจหนุนเส้นเงินเผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมฉาว กห.ยูเครนจัดซื้ออาหารไม่โปร่งใส กระทบความเชื่อมั่นต่างชาติ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ขมวดปมอื้อฉาว ATK สะเทือนพรรคคอมฯเวียดนามอย่างไร หลัง ปธน.ลาออก
- ส่องคดีทุจริตโลก: ตามรอยบุหรี่จีนนับล้านมวนสูญหาย หลังเดินทางออกจากโรงงานในโรมาเนีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงเอกชนรับงานบูรณะถนนยูเครนพันล้าน เชื่อมโยงผู้ต้องหาหนีคดี FBI
- ส่องคดีทุจริตโลก: ประมวลข่าวคอร์รัปชันโลกปี 65 จากโอลิการ์ชรัสเซียถึงเอกสารแพนโดรา