สำหรับผลของการตรวจค้นของเจ้าหน้าที่เบื้องต้นนั้น ทางอัยการระบุว่าเจ้าหน้าที่สามารถจะกู้คืนเงินได้จำนวน 600,000 ยูโร (21,929,693 บาท) และยึดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือได้หลายรายการ ซึ่งอุปกรณ์ทั้งหมดเหล่านี้จะถูกตรวจสอบและถูกวิเคราะห์อย่างละเอียดภายใต้กระบวนการสืบสวน
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สัปดาห์นี้ยังอยู่กันที่ประเด็นความไม่โปร่งใสในเรื่องการจัดฟุตบอลโลก 2022 ที่ประเทศกาตาร์
มีรายงานข่าวจากสำนักข่าว Politico เมื่อวันที่ 9 พ.ย.ที่ผ่านมาว่ามีสมาชิกรัฐสภายุโรประดับสูงถูกแบนจากทางพรรคเพื่อไม่ให้เข้าร่วมกิจกรรม หลังจากที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้สอบสวนเกี่ยวกับกิจกรรมการล็อบบี้อันผิดกฎหมายซึ่งดำเนินการโดยประเทศกาตาร์ โดยการสอบสวนดังกล่าวนี้นั้นอาจจะกลายเป็นวิกฤตครั้งใหญ่ของสิ่งที่เรียกว่าสภายุโรปซึ่งเป็นหัวใจหลักของสหภาพยุโรปหรือว่าอียูก็เป็นได้
ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจเบลเยียมได้ดำเนินการตรวจค้นบ้าน 16 หลัง รวมไปถึงกักบริเวณบุคคลต้องสงสัยอีกจำนวน 4 รายเมื่อวันที่ 9 ธ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งภารกิจของเจ้าหน้าที่ตำรวจเบลเยียมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการไต่สวน ที่ทางอัยการระบุว่าเพื่อดำเนินการตรวจสอบต่อพฤติกรรมที่เข้าข่ายเป็นองค์กรอาชญากรรม การทุจริต และการฟอกเงิน
ข่าวการจับกุมสมาชิกรัฐสภายุโรป (อ้างอิงวิดีโอจาก France24)
โดยหนึ่งในสมาชิกรัฐสภายุโรประดับสูงที่ถูกกักบริเวณก็คือนางอีวา ไคลี (Eva Kaili)รองประธานรัฐสภายุโรปจากพรรคสังคมนิยมกรีกหรือ Pasok ซึ่งเธอถูกแบนไม่ให้เข้าร่วมกลุ่มสังคมนิยมและประชาธิปไตยหรือที่เรียกกันกว่ากลุ่มเอสแอนด์ดี (Socialists and Democrats) ในรัฐสภายุโรป โดยทางผู้บริหารระดับสูงในอียูได้มีการทวีตข้อความเมื่อวันที่ 9 ธ.ค.ว่าคำสั่งแบนเธอนั้นจะมีผลทันทีเพื่อเป็นท่าทีตอบสนองต่อการที่มีการสืบสวน ณ เวลานี้
และมีรายงานว่านางไคลียังได้ถูกขับออกจากพรรค Pasok ในกรีซด้วยเช่นกัน
ยิ่งไปกว่านั้นการเข้าตรวจค้นของเจ้าหน้าที่ตำรวจเบลเยี่ยมดังกล่าวยังทำให้เกิดประเด็นข้อครหาในกลุ่มเอสแอนด์ดีในรัฐสภายุโรปด้วย ซึ่งที่ผ่านมานั้นก็มีการวิจารณ์กันอยู่แล้วว่ากลุ่มนี้มีจุดยืนที่อ่อนมากในแง่ของการที่ประเทศกาตาร์ได้สิทธิ์ให้จัดมหกรรมฟุตบอลโลก
โดยหลังจากการตรวจค้น ทางเว็บไซต์กลุ่มเอสแอนด์ดีก็ได้ทำแถลงการณ์ออกมาสั้นๆบนเว็บไซต์ระบุว่าสืบเนื่องจากที่มีการรายงานข่าวบนหน้าสื่อว่าทางการเบลเยียมได้สืบสวนข้อกล่าวหาการทุจริต ซึ่งสื่อแรกที่รายงานการสืบสวนนี้ได้แก่สำนักข่าว Le Soir และสำนักข่าว Knack
ทางกลุ่มสังคมนิยมและประชาธิปไตยของรัฐสภายุโรปของแถลงดังต่อไปนี้
“เรารู้สึกตกใจกับข้อกล่าวหาเรื่องการทุจริตในสถาบันในยุโรป กลุ่มเอสแอนด์ดีจะไม่ทนต่อการทุจริต เราเป็นกลุ่มแรกๆที่สนับสนุนให้มีการสอบสวนอย่างละเอียดและการเปิดเผยข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา โดยเราจะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่กับหน่วยงานสืบสวนทั้งหมด ดังนั้นด้วยเจตนารมณ์นี้ เราจะไม่ขอแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณะเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมที่กำลังดำเนินอยู่
สืบเนื่องจากความร้ายแรงของข้อกล่าวหา ดังนั้นจนกว่าที่เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจจะให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและความชัดเจน เราขอเรียกร้องให้มีการระงับการดำเนินงานใดๆที่เกี่ยวข้องกับประเทศที่ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอารเบียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการเปิดเสรีวีซ่าและการเยือนตามแผนที่วางไว้ก่อนหน้านี้”
สำหรับผลของการตรวจค้นของเจ้าหน้าที่เบื้องต้นนั้น ทางอัยการระบุว่าเจ้าหน้าที่สามารถจะกู้คืนเงินได้จำนวน 600,000 ยูโร (21,929,693 บาท) และยึดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือได้หลายรายการ ซึ่งอุปกรณ์ทั้งหมดเหล่านี้จะถูกตรวจสอบและถูกวิเคราะห์อย่างละเอียดภายใต้กระบวนการสืบสวน
โดยสำนักอัยการเบลเยียมได้กล่าวในแถลงการณ์ว่าการการเข้าตรวจค้นดังกล่าวนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการสอบสวนที่ขยายวงขึ้น ซึ่งจะมุ่งเน้นไปที่ผู้ช่วยรัฐสภาเป็นหลัก
ขณะที่สื่ออย่าง สำนักข่าว Le Soir และสำนักข่าว Knack ได้รายงานข่าวว่าผู้ที่ถูกควบคุมตัวคงอื่นนอกเหนือจากนางไคลีนั้นรวมถึงนายลูก้า วิเซนตินี เลขาธิการสมาพันธ์สหภาพแรงงานระหว่างประเทศ และนายเพียร์ อันโตนิโอ ปานเซรี อดีตสมาชิกรัฐสภายุโรปในกลุ่มเอสแอนด์ดี ที่มาจากประเทศอิตาลี และยังเป็นอดีตประธานคณะอนุกรรมการด้านมนุษย์ของรัฐสภายุโรป
สำหรับตัวของนางไคลีนั้นเป็นหนึ่งในรองประธานรัฐสภาจำนวน 14 คน ที่เพิ่งจะเรียกประเทศกาตาร์ว่าเป็นผู้นำในด้านสิทธิแรงงาน หลังจากที่เธอเพิ่งจะพบปะกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานของประเทศกาตาร์ ท่ามกลางความกังวลของนานาประเทศเกี่ยวกับประเด็นเรื่องสภาพของแรงงานข้ามชาติที่ทำหน้าที่ในการก่อสร้างสนามแข่งขันกีฬา แต่นางไคลีก็ไม่ได้ให้ความเห็นในกรณีนี้แต่อย่างใด
อนึ่งประเทศกาตาร์เป็นประเทศที่ถูกครหาเป็นอย่างมากในหลายประเด็นในฐานะเจ้าภาพการจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 ซึ่งประเด็นครหาก็มีทั้งนโยบายที่ถดถอยต่อกลุ่ม LGBTQ+ และกลุ่มแรงงานข้ามชาติ
นางอีวา ไคลี รองประธานรัฐสภายุโรป กล่าวชื่นชมกาตาร์ในประเด็นเรื่องสิทธิแรงงาน (อ้างอิงวิดีโอจาก AFP)
“เป็นเวลาหลายเดือนที่เจ้าหน้าที่สืบสวนจากสํานักงานตํารวจฝ่ายคดีแห่งสหพันธรัฐเบลเยียมสงสัยว่ากาตาร์มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจทางเศรษฐกิจและการเมืองของรัฐสภายุโรป (EP)” แถลงการณ์จากสำนักอัยการระบุ
แถลงการณ์ยังได้กล่าวหาอีกว่าประเทศกาตาร์ได้เข้าหาเจ้าหน้าที่ทางการซึ่งมีตำแหน่งทางการเมืองในระดับสูงหรือมีตำแหน่งในทางยุทธศาสตร์ ซึ่งทางกาตาร์จะได้มีการส่งเงินเป็นจำนวนมากและของขวัญที่มีมูลค่าสูงไปให้กับบุคคลเหล่านี้
ทางด้านของนายอัลแบร์โต อเลมันโน ศาสตราจารย์ด้านกฎหมายที่สถาบันการศึกษาด้านธุรกิจในปารีสหรือ HEC Paris และยังเป็นนักกิจกรรมในด้านความโปร่งใสกล่าวว่านี่เป็นเรื่องอื้อฉาวด้านความซื่อสัตย์ที่น่าตกใจที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหภาพยุโรป และมันยังเป็นการเปิดโปงถึงการไม่มีระบบจริยธรรมที่เพียงพอของสหภาพยุโรป เพื่อที่จะบังคับใช้กับการเลือกตั้ง ตลอดจนไม่มีกลไกใดๆเลยที่จะบังคับใช้เพื่อควบคุมการล็อบบี้จากต่างประเทศ
ทั้งนี้จากการที่ประเทศกาตาร์เป็นประเทศที่ผลิตก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ของโลก ส่งผลให้นักการเมืองตะวันตกต้องหาทางทำให้ประเทศนี้มีความพอใจ เพราะในเวลานี้ประเทศตะวันตกต้องหาแหล่งพลังานทางเลือกอื่นๆ อันเนื่องจากผลกระทบจากสงครามระหว่างยูเครนและรัสเซีย
ขณะที่เจ้าหน้าที่สืบสวนจากเบลเยียมกำลังตรวจสอบอยู่ว่า ณ เวลานี้ กาตาร์พยายามที่จะเข้าไปมีอิทธิพลต่อสมาชิกรัฐสภายุโรปในลักษณะที่ไกลเกินไปกว่าคำว่า “ล็อบบี้” หรือไม่
และล่าสุดเมื่อวันที่ 10 ธ.ค.ที่ผ่านมา นางโรเบอร์ตา เมตโซลา ประธานรัฐสภายุโรป ได้ออกมากล่าวว่าทางรัฐสภานั้นพร้อมที่จะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่กับหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายและกระบวนการตุลาการที่เกี่ยวข้อง
“เราจะทําทุกวิถีทางเพื่อช่วยเหลือกระบวนการยุติธรรม” เธอทวีต
ทางด้านของ POLITICO ก็ได้พยายามจะติดต่อไปยังรัฐบาลกาตาร์เพื่อขอความเห็นเช่นกัน แต่ก็ไม่ได้รับการติดต่อกลับมาแต่อย่างใด
เรียบเรียงจาก:https://www.politico.eu/article/belgium-police-raid-gulf-lobbying-eu-parliament/
- ส่องคดีทุจริตโลก: สารพัดปัญหาสิทธิคนงานเย็บเสื้อบอลโลก 2022 ค่าแรงต่ำสุดแค่วันละ 80 บ.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ธ.ยักษ์ใหญ่ออสเตรเลีย เอี่ยวเส้นทางการเงินทหารเมียนมา ก่อนถอนกิจการต้นปี 66
- ส่องคดีทุจริตโลก: จากข้อหาสินบนถึงละเมิดสิทธิมนุษยชน ข้อพิรุธ กาตาร์จัดบอลโลก 2022
- ส่องคดีทุจริตโลก: อดีต ทอ.แฉ นายกฯมาเลเซียเอี่ยวจัดซื้อ บ.รบ-โดรนหมื่น ล.ไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง บ.ทหารรับจ้างแว็กเนอร์ เอี่ยวสัญญาเหมืองทองไม่โปร่งใส รบ.ซูดาน
- ส่องคดีทุจริตโลก:'เพนตากอน'ถลุงงบหลายแสน ล.ไร้ประสิทธิภาพ-เอื้อปย.เอกชนช่วงสงครามอัฟกาฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก: ผู้แทน WHO ซีเรีย ถูกสอบใช้งบจัดปาร์ตี้ รร.หรู,สั่งเต้นสู้โควิดระบาด
- ส่องคดีทุจริตโลก:แค่เปลี่ยนธงก็รอด วิธีการโอลิการ์ชรัสเซีย นำเรือยอชต์หนีคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก: สอบผู้พิพากษาศาลฎีกาอินโดฯ ส่อรับสินบน 1.9 ล. เอื้อ ปย.คดีสหกรณ์
- ส่องคดีทุจริตโลก: สอบอดีต รมว.ศธ.รัฐเบงกอลใต้ตั้ง บ.เปลือกหอยฟอกเงินสินบนจ้างครู ร้อย ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อ บ.นอกอาณาเขตเอื้อ ปย.อดีตพ่อค้าอาวุธให้ 'ซัดดัม' นานเกือบ 30 ปี
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการญี่ปุ่นสั่งสอบ ปมคนสนิท กก.โอลิมปิกตั้ง บ.ที่ปรึกษารับเงินเอกชน
- ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อพิพิธภัณฑ์ศิลปะนิวยอร์ก ถูก จนท.ยึดโบราณวัตถุผิด กม.นับสิบชิ้น
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยข้อมูล 'นาจิบ'-ปธ.พรรคอัมโนเอี่ยวโครงการเรือรบฉาว 7.2 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.ลับปานามาเปเปอร์สรับโอน 1.5 พัน ล.โครงการเรือรบมาเลเซีย 7.2 หมื่นล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ทร.มาเลเซียเซ็นสัญญาต่อเรือรบ 6 ลำ 7.2 หมื่น ล.เกือบสิบปี ยังไม่ส่งมอบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เผยเครือข่าย บ.เปลือกหอยอังกฤษ เอื้อผลประโยชน์คนใกล้ชิด ปธน.ปูติน
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉขบวนการถ่ายน้ำมันรัสเซียนอกชายฝั่งอังกฤษ ส่งรายได้หนุนสงครามยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอย 'บ.อิสราเอล' ส่งออกสปายแวร์เพกาซัส ให้ รบ.ตปท.สอดแนมประชาชน
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง 'อูเบอร์ไฟล์'แฉเอกชนล็อบบี้โอลิการ์ชแลกทำธุรกิจแท็กซี่รัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: สตง.อังกฤษสอบนโยบาย 'บอริส จอห์นสัน' ส่อย้อมแมวสร้าง รพ. 40 แห่ง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเส้นทางฟอสเฟตซีเรีย สู่โรงงานปุ๋ยยุโรป ส่งรายได้เข้าโอลิการ์ชรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: จนท.องค์การเภสัชอินเดียรับสินบน แลกอนุมัติยกเลิกทดลองอินซูลินระยะ 3
- ส่องคดีทุจริตโลก: ธนาคารเครือยักษ์ใหญ่รัฐบอลติก เอี่ยวฟอกเงินหมื่น ล.โอลิการ์ชรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: ปลด รมต.สธ.เวียดนาม เซ่นปมขายชุดตรวจโควิดแพง 45% เอกชนฟันกำไร 709 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:นักธุรกิจจีนเอี่ยวคดีสินบน อดีตที่ปรึกษาฮุนเซน ถือหุ้นสโมสรเบอร์มิงแฮม
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเส้นทางการเงินคดีให้สินบนนายพลจีน สู่คฤหาสน์พันล้าน ณ แวนคูเวอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงข้อพิรุธธุรกรรม เชื่อมโยงทอง 3 ตันประเทศกินี ส่อถูกฟอกในอังกฤษ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ย้อมแมวจรวด,โดรน-กินส่วนต่างวิทยุ 3 พันล. ต้นเหตุรัสเซียติดหล่มในยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดข้อพิรุธเอกชนไร้ประสบการณ์ ชนะสัญญาชุด PPE รบ.ออสเตรเลีย หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอยสินบนเรือดำน้ำมาเลเซีย พัน ล.! ฝรั่งเศสสั่งสอบ บ.ต่อเรือรบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'รมต.สเปน'โดนสอบ ใช้ช่องพิเศษอนุมัติสัญญาโควิดเอื้อ บ.พวกพ้อง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมคอรัปชั่นในกองทัพรัสเซีย-งบปี 65 รวม 2 ล้าน ล.ไม่รู้ไปไหนบ้าง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเครือข่ายขโมยเงินสนับสนุนอาหารอียู 694 ล. นำไปซื้อแฟลต-กระเป๋าหรู
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ไมโครซอฟท์'ถูกอดีตลูกจ้างแฉ-พนง.รวมหัว บ.คู่ค้า,จนท.รัฐ ทุจริตหลาย ปท.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเครือข่าย บ.เปลือกนอกหนุนเผด็จการซีเรีย-หลบมาตรการคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง บ.กฎหมายยักษ์ใหญ่ รับงานช่วยโอลิการ์ชรัสเซียรอดมาตรการคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง 'ดูไบ' แหล่งกบดานเศรษฐีหนีคดี หลังโลกตามอายัดเงินจากรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อีริคสัน' ส่อเอี่ยวจ่ายเงินให้กลุ่ม ISIS แลกทำธุรกิจใน 'โมซุล'
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเครือข่ายธนาคารดันสเก เอสโตเนีย ไฉนเป็นเส้นทางฟอกเงิน 5.1 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อังกฤษ' ยกเลิกวีซ่านักลงทุน หวั่นเปิดช่องฟอกเงิน โต้ 'วิกฤติยูเครน'
- ส่องคดีทุจริตโลก: อายุน้อยร้อย ล.-เมื่อเด็กเป็นเจ้าของ บ.ในลักเซมเบิร์กเกือบ 300 แห่ง
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อังกฤษ'ยึดทรัพย์ทุจริต'อาเซอร์ไบจาน' แสน ล.โยงฟอกเงินผ่าน'เอสโตเนีย'
- ส่องคดีทุจริตโลก:'คูเวต'เร่งสอบ ปมจัดซื้อเครื่องบินไต้ฝุ่น 2.9 แสน ล.แพง
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อัยการเบอร์ลิน'สอบผู้บริหารพรรคกรีนส์-รมต.อนุมัติโบนัสโควิดไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.อิสราเอล จ่อตั้ง กก.สอบปมสินบนเรือดำน้ำเยอรมนี หลังเรื่องแดงปี 59
- ส่องคดีทุจริตโลก:'เพนตากอน'ถลุงงบหลายแสน ล.ไร้ประสิทธิภาพ-เอื้อปย.เอกชนช่วงสงครามอัฟกาฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโก' ปธน.เบลารุส บุคคลคอร์รัปชันแห่งปี 64