มีรายงานด้วยว่าเรือยอชต์จำนวนที่ชื่อว่าเรือ Galactica Super Nova, เรือ Le Grand Bleu, เรือ Scheherazade และเรือ SY A นั้นนอกจะมีการเปลี่ยนสถานที่ลงทะเบียนเรือ,เปลี่ยนธงชาติเรือแล้ว เรือเหล่านี้ยังมีการเปลี่ยนประเภทการจะทะเบียนเรือเสียใหม่ โดยระบุว่าเป็นเรือสำหรับใช้พักอาศัย แทนที่จะเป็นเรือยอชต์หรือเรือที่ใช้เพื่อความหรูหรา
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้ขอนำเสนอข่าวเกี่ยวกับทรัพย์สินของเหล่าบรรดาโอลิการ์ชหรือมหาเศรษฐีผู้ทรงอิทธิพลในประเทศรัสเซีย ที่พยายามจะดำเนินการโยกย้ายทรัพย์สินเพื่อให้รอดพ้นจากมาตรการคว่ำบาตรของทางประเทศตะวันตกหลังจากเหตุการณ์ที่กองทัพรัสเซียได้เข้ารุกรานประเทศยูเครนเมื่อเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา
โดยสำนักข่าวฟอร์บส์ของสหรัฐอเมริกาได้รายงานข่าวว่าเป็นเวลานานกว่าเจ็ดเดือนแล้วหลังจากการรุกราน ส่งผลทำให้ทางการของประเทศต่างๆในตะวันตกได้ดำเนินการคว่ำบาตรเหล่าบรรดาโอลิการ์ชาวรัสเซีย โดยมุ่งเน้นไปที่การทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูงรวมไปถึงเรือประเภทซุปเปอร์ยอชต์อันแสนหรูหรา ซึ่งการคว่ำบาตินั้นมีด้วยกันหลายประการตั้งแต่การยึดทรัพย์ทันทีไปจนถึงการไม่ออกประกันเรือให้เพื่อทำให้เรือนั้นไม่สามารถแล่นออกสู่น่านน้ำได้อย่างถูกกฎหมาย
อย่างไรก็ตามมีรายงานว่ามีโอลิการ์ชและมหาเศรษฐีชาวรัสเซียจำนวนหลายรายสามารถจะหลบเล็ดรอดมาตรการคว่ำบาตรที่ว่านี้ไปได้ด้วยการนำเรือยอชต์ไปจดทะเบียนยังประเทศที่ไม่ได้มีการคว่ำบาตรต่อประเทศรัสเซีย
โดยสาเหตุของการเปลี่ยนประเทศที่จดทะเบียนเรือยอชต์นั้นก็มีด้วยกันหลายเหตุผล อาทิ เพราะว่ามหาเศรษฐีกลุ่มนี้นั้นไม่สามารถจะจัดหาประกันภัยในประเทศต้นทางของเรือที่พวกเขาจดทะเบียนได้อีกต่อไป หรืออาจเป็นเพราะว่าพวกเขาพยายามหาทางที่จะทำให้เรือยังคงสามารถแล่นอยู่ในน่านน้ำได้โดยถูกกฎหมายแม้ว่าจะยังคงมีมาตรการคว่ำบาตรก็ตาม
ทางสำนักข่าว Forbes จึงได้มีการรวบรวมเรือยอชต์ของเหล่าโอลิการ์ชที่ได้หลบเลี่ยงการคว่ำบาตร ซึ่งตอนนี้สามารถรวบรวมข้อมูลมาได้ 6 ลำ โดยเรือเหล่านี้เพิ่งจะเปลี่ยนสัญชาติจดทะเบียนหรือเพิ่งจะเปลี่ยนธงประจำเรือ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
มีรายงานว่าเรือยอชต์ลำหนึ่งนั้นเป็นของมหาเศรษฐีเจ้าของธุรกิจเหล็ก โดยตัวเรือซึ่งชื่อว่า Nord นั้นมีมูลค่าอยู่ที่ 521 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (19,695.3 ล้านบาท) มีขนาดความยาวกว่า 465 ฟุต โดยเรือลำนี้นั้นมีการเปลี่ยนธงชาติจากธงชาติหมู่เกาะเคย์แมน ไปเป็นธงรัสเซีย ส่วนเรืออีกสามลำพบว่ามีการเปลี่ยนธงชาติจากหมู่เกาะเคย์แมนไปเป็นธงชาติมาเลเซียและธงชาติเซียร์ราลีโอน,เรืออีกลำถูกเปลี่ยนจากเบอร์มิวดาไปเป็นธงประเทศปาเลา และเรืออีกลำเปลี่ยนธงจากไอล์ออฟเมนไปเป็นธงของประเทศเซียร์ราลีโอน
ทางหน่วยงานผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินมูลค่าเรือเพื่อความโปร่งใส VesselsValue และรัฐบาลอิตาลีได้มีการประเมินมูลค่าเรือเหล่านี้พบว่าเรือทั้งหกลำนั้นมีมูลค่าอยู่ที่ 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (68,045.4 ล้านบาท)
โดยทางด้านของตัวแทนของมหาเศรษฐีจำนวน 5 จาก 6 ราย ที่พบว่าเป็นเจ้าของเรือซุปเปอร์ยอชต์เหล่านี้ยังไม่ได้ตอบคำถามของสำนักข่าวแต่อย่างใด ขณะที่นายอเล็กซานเดอร์ ไบริคคิน หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ของนายอันเดรย์ เมลนิเชนโก มหาเศรษฐีชาวรัสเซียอีกรายก็ได้ให้สัมภาษณ์กับ Forbes ว่าเรือที่ชื่อว่า SY A นั้นเป็นทรัพย์สินที่อยู่ในการจัดการของกองทุนทรัสต์ซึ่งมีความเป็นอิสระ และนายเมลนิเชนโกก็ไม่ได้มีส่วนในกองทรัสต์ดังกล่าว
เรือซุปเปอร์ยอชต์อีกลำซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ Scheherazade ซึ่งมีเจ้าของคือนายเอดูอาร์ด คูดินาตอฟ มหาเศรษฐีด้านก๊าซและน้ำมันชาวรัสเซียอีกรายหนึ่ง โดยเชื่อกันว่านายคูดินาตอฟคนนี้เป็นผู้ครองกรรมสิทธิ์ในเรือดังกล่าวแทนนายวลาดิเมียน์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ซึ่งเรือ Scheherazade นั้นถือว่าเป็นเรือยอชต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และยังมีลานจอดเฮลิคอปเตอร์อยู่บนเรือ อย่างไรก็ตามเรือลำนี้ถูกอายัดโดยรัฐบาลอิตาลีเมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา
เรือ Scheherazade ซึ่งมีเจ้าของคือนายเอดูอาร์ด คูดินาตอฟ โดยเรือลำนี้ถือว่าเป็นเรือยอชต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
มีรายงานด้วยว่าเรือยอชต์จำนวนที่ชื่อว่าเรือ Galactica Super Nova, เรือ Le Grand Bleu, เรือ Scheherazade และเรือ SY A นั้นนอกจะมีการเปลี่ยนสถานที่ลงทะเบียนเรือ,เปลี่ยนธงชาติเรือแล้ว เรือเหล่านี้ยังมีการเปลี่ยนประเภทการจะทะเบียนเรือเสียใหม่ โดยระบุว่าเป็นเรือสำหรับใช้พักอาศัย แทนที่จะเป็นเรือยอชต์หรือเรือที่ใช้เพื่อความหรูหรา
“ยังไม่ชัดเจนว่าทำไมเรือยอชต์เหล่านี้ถึงถูกจดทะเบียนว่าเป็นเรือที่พักอาศัย เพราะว่าตามเงื่อนไขแล้วเรือเหล่านี้จำเป็นต้องปลดระวางและไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้เสียก่อน ซึ่งในกรณีนี้มีรายละเอียดที่เข้าข่ายให้จะทะเบียนเรือว่าเป็นเรือที่พักอาศัยในประเทศต่างๆที่น้อยมาก” นายเบนจามิน มอลต์บี หุ้นส่วนผู้บริหารสำนักกฎหมาย Keystone ซึ่งเป็นสำนักกฎหมายในกรุงลอนดอนที่มุ่งเน้นไปยังด้านเรือซุปเปอร์ยอชต์กล่าว
สำหรับการเปลี่ยนธงบนเรือก็ไม่ได้หมายความว่าเรือเหล่านั้นจะสามารถแล่นไปยังประเทศที่อื่นๆได้ อย่างกรณีเรือยอชต์สองลำได้แก่เรือ Scheherazade และเรือ SY A พบว่าเรือทั้งสองลำนี้นั้นถูกบังคับให้อยู่ที่ท่าเรือในอิตาลีเป็นระยะเวลานานหลายเดือน หลังจากที่สหภาพยุโรปหรือว่าอียูได้มีมาตรการคว่ำบาตรแก่เจ้าของเรือ ซึ่งแตกต่างจากเรือที่ชื่อว่า Pacific ของนายลีโอนิด มิเคลสัน ที่สามารถอยู่ในประเทศตุรกี สถานที่ยอดนิยมของเรือยอชต์จากรัสเซียได้ เพราะว่าประเทศตุรกีไม่ได้มีมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซียที่เข้มข้นแต่อย่างใด
ในขณะที่เรือชื่อว่า Le Grand Bleu ของนายยูจีน ชวิดเลอร์ที่มีการเปลี่ยนธงใหม่เป็นธงรัสเซียนั้นก็มีรายงานว่าถูกพบเห็นที่เปอร์โตริโกเมื่อวันที่ 20 ก.ย.ที่ผ่านมา, เรือ Galactica Super Nova ของนายวากิต อเล็กเปรอฟ พบว่ามีการปิดเครื่องติดตามตัวขณะอยู่นอกชายฝั่งประเทศมอนเตเนโกรเมื่อเดือนต้นเดือน มี.ค. และก็ไม่มีใครทราบตำแหน่งปัจจุบันของเรือ ณ เวลานี้แต่อย่างใด, ส่วนเรือ Nord ของนายอเล็กซี่ มอร์ดาชอฟ ณ เวลานี้พบว่าออกจากท่าเรือในวลาดิวอสตอคในเดือน มี.ค. และกำลังมุ่งหน้าไปยังฮ่องกง
สำหรับเรือที่เพิ่งจะมีการเปลี่ยนธงไปไม่นานมานี้นั้นพบว่าเป็นเรือที่เคยจดทะเบียนในดินแดนภาษีต่ำ ซึ่งการจดทะเบียนในดินแดนภาษีต่ำนั้นจะทำให้ได้ในเรื่องของสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี และประโยชน์อื่นๆเช่นการปกปิดตัวตนของเจ้าของเรือที่แท้จริง
โดยเรือทั้งหกลำนั้นถูกพบว่าเคยจดทะเบียนทั้งในเบอร์มิวดา,หมู่เกาะเคย์แมน และในไอล์ออฟเมนมาก่อน ซึ่งทั้งสามพื้นที่การปกครองนั้นถือได้ว่าเป็นสถานที่ยอดนิยมในการนำเรือไปจดทะเบียน เพราะว่าเป็นพื้นที่ซึ่งมีทั้งเสถียรภาพทางการเมือง,ไม่มีภาษี และเรือที่จดทะเบียนในพื้นที่เหล่านี้ยังจะเป็นสมาชิกในกลุ่มธงแดง (Red Ensign Group) ซึ่งจะได้รับความคุ้มครองจากราชนาวีอังกฤษ
ทั้งนี้พื้นที่การปกครองดังกล่าวนั้นถือว่าเป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร ซึ่งสหราชอาณาจักรนั้นก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ได้ดำเนินการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เหล่าเจ้าของเรือต้องเปลี่ยนธงและสัญชาติที่จดทะเบียนของเรือ
โดยเรือยอชต์ของนายอันเดรย์ เมลนิเชนโกที่ชื่อว่า MY A และเรื่อชื่อว่าเรือ SY A ที่จดทะเบียนในไอล์ออฟเมนนั้นก็ได้มีการเปลี่ยนสถานที่จดทะเบียนในช่วงเดือน มี.ค.ท่านมาเช่นกัน แต่ว่าในเดือนเดียวกันนั้นเอง ทางการอิตาลีก็ได้สั่งการให้มีการอายัดเรือ MY A ส่วนเรือ SY A พบว่ามีการเปลี่ยนธงไปเป็นธงของประเทศเซียร์ราลีโอน ซึ่งจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าเนือ S YA ขนาด 390 ฟุต มูลค่ากว่า 230 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (8,694.6 ล้านบาท) นั้นไปอยู่ที่ไหน ณ เวลานี้ เพราะว่าเรือ S YA ได้มีการปิดเครื่องบอกตำแหน่งไปตั้งแต่เดือน มี.ค. แล้วเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงจากการติดตาม
และล่าสุดก็มีการพบเห็นเรือ S YA อยู่ที่รัฐราส อัล ไคมาห์ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในช่วงเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา
สำหรับความพยายามเปลี่ยนธงเรือที่ถูกอายัด อาทิ เรือ S YA ของนายเมลนิเชนโกนำมาซึ่งคำถามสำคัญก็คือว่าทำไมเจ้าของเรือถึงเสี่ยงที่จะไปมีปัญหา ถ้าหากว่าเขาไม่สามารถเข้าถึงหรือไม่สามารถเคลื่อนย้ายเรือได้ ซึ่งสิ่งที่คาดว่าน่าจะเป็นคำตอบของคำถามนี้ก็คือว่าเรือยอชต์นั้นอาจจะสามารถเดินทางได้อย่างถูกกฎหมายอีกครั้งหนึ่งภายใต้ธงผืนใหม่ ถ้าหากมีการยกเลิกการคว่ำบาตรและปล่อยเรือจากการอายัด
โดยมีรายงานว่าเมื่อเดือน ก.ย.ที่ผ่านมานายเมลนิเชนโกได้มีการยื่นเรื่องไปถึงศาลทั่วไปของสหภาพยุโรป เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรที่มีต่อเขาด้วยเช่นกัน
“เจ้าของเรือเหล่านี้ดูจะมีการจดทะเบียนเรือใหม่โดยทันทีหลังจากที่มีแจ้งการยกเลิกการจะทะเบียนฉบับเก่าไป”นายมอลต์บีกล่าว
เส้นทางการซุกซ่อนเรือยอชต์ของโอลิการ์ชให้พ้นจากมาตรการคว่ำบาตร (อ้างอิงวิดีโอจาก eSuperYachtNews)
อีกทฤษฎีหนึ่งก็คือว่ามาตรการคว่ำบาตรของตะวันตกนั้นทำให้เป็นเรื่องยากสำหรับการจัดหาประกันภัยที่จำเป็นสำหรับเรือยอชต์ เพื่อจะนำไปใช้ในการจดทะเบียนในพื้นที่การปกครองที่เหมาะสมที่สุด
โดยข้อมูลจากแหล่งข่าวที่มีความคุ้นเคยกับเรื่องเหล่านี้ให้ข้อมูลว่าเหล่าบรรดาโอลิการ์ชของรัสเซียนั้นกำลังเผชิญกับแรงกดดันที่มาจากการคว่ำบาตร ส่งผลทำให้พวกเขามีปัญหาในการชำระหนี้ ซึ่งบ่อยครั้งแล้วเรือยอชต์มักจะถูกนำไปใช้เป็นหลักประกันสำหรับผู้ใช้กู้ชาวตะวันตกถ้าหากไม่สามารถชำระหนี้ได้
นี่จึงหมายความว่าเหล่าโอลิการ์ชจะต้องมีการเปลี่ยนและโยกย้ายธนาคารไปยังธนาคารสัญชาติรัสเซีย และดำเนินการจัดหากรมธรรม์ประกันภัยสำหรับเรือฉบับใหม่ เพราะว่าบริษัทสัญชาติตะวันตกนั้นคงไม่อยากที่จะทำธุรกิจร่วมกับชาวรัสเซียที่ถูกคว่ำบาตรอย่างแน่นอน
ยกตัวอย่างเช่นกรณีของนายดมิทรี พัมพ์ยานสกี้ มหาเศรษฐีเจ้าของธุรกิจเหล็กกล้า ซึ่งเป็นเจ้าของเรือยอชต์ขนาด 236 ฟุตที่ชื่อว่า Axioma จดทะเบียนในประเทศมอลต้า เรือลำดับกล่าวนี้ก็ถูกอายัดที่ช่องแคบยิบรอลตาร์ ในเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา หลังจากที่บริษัทประกันเจพีมอร์แกน ได้มีคำร้องระบุว่านายพิมพ์ยานสกี้นั้นผิดนัดชำระหนี้เงินกู้ 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (756.6 ล้านบาท)ในนามของบริษัทที่เขาเป็นเจ้าของ ซึ่งบริษัทนี้ใช้เรือยอชต์เป็นหลักประกัน
ต่อมาในเดือน ส.ค. เรือ Axioma ก็ถูกประมูลขายด้วยราคาทั้งสิ้น 37.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (1,418.6 ล้านบาท) ขณะที่ทางหน่วยงาน VesselsValue ได้มีการประเมินมูลค่าเรือลำดังกล่าวเอาไว้ว่าอาจจะอยู่ที่ 42 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (1,588.8 ล้านบาท) ซึ่งทางด้านของนายพัมพ์ยานสกี้ก็ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวนี้
ทั้งนี้ในกระบวนการเปลี่ยนสัญชาติเรือ มีรายงานว่าประเทศมาเลเซียกำลังกลายเป็นสถานที่ยอดนิยมที่สุดในการเปลี่ยนที่จดทะเบียนเรือยอชต์สำหรับกลุ่มโอลิการ์ช เพราะว่าเมื่อไม่กี่ปีมานี้นั้นเกาะลังกาวีของมาเลเซียเรื่องจะมีชื่อเสียงขึ้นมา ใน ฐานะพื้นที่ปลอดภาษี
ทั้งนี้ข้อมูลการติดตามเรือจาก VesselFinder พบว่ามีเรือซุปเปอร์ยอชต์ขนาดความยาวมากกว่า 78 ฟุตจำนวน 13 ลำหรือมากกว่านั้นถูกจดทะเบียนที่มาเลเซีย โดยเรือ 3 ลำจากจำนวน 13 ลำดังกล่าวนี้พบว่าเป็นเรือที่มีเจ้าของได้แก่นายวิโนด เซการ์ มหาเศรษฐีด้านธุรกิจยางในประเทศมาเลเซีย โดยเขาเป็นเจ้าของเรือลำหนึ่งชื่อว่า Petra Tara และเรืออีกสองลำนั้นพบว่ามีเจ้าของเป็นโอลิการ์ชรัสเซียได้แก่นายอนาโตลี โลมาคิน เป็นเจ้าของเรือยอชต์ที่ชื่อว่า Sea & Us มีความยาว 205 ฟุต มีมูลค่า 59 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (2,231.97 ล้านบาท) และนายวิตาลี มุตโก อดีตรองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย พบว่าเป็นเจ้าของเรือยอชต์ชื่อว่า Vector มีความยาวทั้งสิ้น 87 ฟุต และมีมูลค่า 32 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (1,210.5 ล้านบาท)
โดยเรือ Sea & Us นั้นพบว่ามีการเปลี่ยนธงจากหมู่เกาะมาร์แชลมาเป็นประเทศมาเลเซียในช่วงหลังจากเดือน มิ.ย. ซึ่งคาดกันว่าการเปลี่ยนธงนั้นมีเหตุผลมาจากความต้องการที่จะเลี่ยงการคว่ำบาตรที่อาจจะเข้มข้นขึ้นในอนาคต ขณะที่ตัวแทนของนายโลมาคินก็ปฏิเสธจะตอบคำถามที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้นับตั้งแต่เดือน มี.ค.เป็นต้นมา ทั้งทางสหภาพยุโรป,สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกาต่างก็มีการอายัด,ยึดทรัพย์หรือห้ามเคลื่อนย้ายเรือยอชต์ไปแล้วอย่างน้อย 15 ลำซึ่งเป็นของโอลิการ์ชที่ถูกคว่ำบาตรจำนวน 13 ราย โดยคิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 3.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (124,773 ล้านบาท)
แต่ทางด้านของนายมอลต์บีกล่าวว่าสำหรับในสหราชอาณาจักรและในสหภาพยุโรปนั้นก็ยังมีปัญหาเกี่ยวกับการยึดทรัพย์ที่แตกต่างจากในสหรัฐฯ เนื่องจาก ณ เวลานี้ ไม่มีมาตรการอะไรที่จะสามารถป้องกันการเปลี่ยนธงประจำเรือยอชต์ได้เลย โดยเจ้าของเรือยอชต์นั้นจะสามารถเปลี่ยนธงประจำเรือได้ตลอดเวลาเพียงแค่ว่าจ่ายค่าธรรมเนียมสำหรับการลงทะเบียนและการทำแบบสำรวจที่จำเป็นเท่านั้น การดำเนินการเปลี่ยนที่ลงทะเบียนเรือก็สามารถจะดำเนินการไปได้แล้ว
- ส่องคดีทุจริตโลก: สอบผู้พิพากษาศาลฎีกาอินโดฯ ส่อรับสินบน 1.9 ล. เอื้อ ปย.คดีสหกรณ์
- ส่องคดีทุจริตโลก: สอบอดีต รมว.ศธ.รัฐเบงกอลใต้ตั้ง บ.เปลือกหอยฟอกเงินสินบนจ้างครู ร้อย ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อ บ.นอกอาณาเขตเอื้อ ปย.อดีตพ่อค้าอาวุธให้ 'ซัดดัม' นานเกือบ 30 ปี
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการญี่ปุ่นสั่งสอบ ปมคนสนิท กก.โอลิมปิกตั้ง บ.ที่ปรึกษารับเงินเอกชน
- ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อพิพิธภัณฑ์ศิลปะนิวยอร์ก ถูก จนท.ยึดโบราณวัตถุผิด กม.นับสิบชิ้น
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยข้อมูล 'นาจิบ'-ปธ.พรรคอัมโนเอี่ยวโครงการเรือรบฉาว 7.2 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.ลับปานามาเปเปอร์สรับโอน 1.5 พัน ล.โครงการเรือรบมาเลเซีย 7.2 หมื่นล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ทร.มาเลเซียเซ็นสัญญาต่อเรือรบ 6 ลำ 7.2 หมื่น ล.เกือบสิบปี ยังไม่ส่งมอบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เผยเครือข่าย บ.เปลือกหอยอังกฤษ เอื้อผลประโยชน์คนใกล้ชิด ปธน.ปูติน
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉขบวนการถ่ายน้ำมันรัสเซียนอกชายฝั่งอังกฤษ ส่งรายได้หนุนสงครามยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอย 'บ.อิสราเอล' ส่งออกสปายแวร์เพกาซัส ให้ รบ.ตปท.สอดแนมประชาชน
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง 'อูเบอร์ไฟล์'แฉเอกชนล็อบบี้โอลิการ์ชแลกทำธุรกิจแท็กซี่รัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: สตง.อังกฤษสอบนโยบาย 'บอริส จอห์นสัน' ส่อย้อมแมวสร้าง รพ. 40 แห่ง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเส้นทางฟอสเฟตซีเรีย สู่โรงงานปุ๋ยยุโรป ส่งรายได้เข้าโอลิการ์ชรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: จนท.องค์การเภสัชอินเดียรับสินบน แลกอนุมัติยกเลิกทดลองอินซูลินระยะ 3
- ส่องคดีทุจริตโลก: ธนาคารเครือยักษ์ใหญ่รัฐบอลติก เอี่ยวฟอกเงินหมื่น ล.โอลิการ์ชรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: ปลด รมต.สธ.เวียดนาม เซ่นปมขายชุดตรวจโควิดแพง 45% เอกชนฟันกำไร 709 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:นักธุรกิจจีนเอี่ยวคดีสินบน อดีตที่ปรึกษาฮุนเซน ถือหุ้นสโมสรเบอร์มิงแฮม
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเส้นทางการเงินคดีให้สินบนนายพลจีน สู่คฤหาสน์พันล้าน ณ แวนคูเวอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงข้อพิรุธธุรกรรม เชื่อมโยงทอง 3 ตันประเทศกินี ส่อถูกฟอกในอังกฤษ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ย้อมแมวจรวด,โดรน-กินส่วนต่างวิทยุ 3 พันล. ต้นเหตุรัสเซียติดหล่มในยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดข้อพิรุธเอกชนไร้ประสบการณ์ ชนะสัญญาชุด PPE รบ.ออสเตรเลีย หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอยสินบนเรือดำน้ำมาเลเซีย พัน ล.! ฝรั่งเศสสั่งสอบ บ.ต่อเรือรบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'รมต.สเปน'โดนสอบ ใช้ช่องพิเศษอนุมัติสัญญาโควิดเอื้อ บ.พวกพ้อง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมคอรัปชั่นในกองทัพรัสเซีย-งบปี 65 รวม 2 ล้าน ล.ไม่รู้ไปไหนบ้าง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเครือข่ายขโมยเงินสนับสนุนอาหารอียู 694 ล. นำไปซื้อแฟลต-กระเป๋าหรู
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ไมโครซอฟท์'ถูกอดีตลูกจ้างแฉ-พนง.รวมหัว บ.คู่ค้า,จนท.รัฐ ทุจริตหลาย ปท.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเครือข่าย บ.เปลือกนอกหนุนเผด็จการซีเรีย-หลบมาตรการคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง บ.กฎหมายยักษ์ใหญ่ รับงานช่วยโอลิการ์ชรัสเซียรอดมาตรการคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง 'ดูไบ' แหล่งกบดานเศรษฐีหนีคดี หลังโลกตามอายัดเงินจากรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อีริคสัน' ส่อเอี่ยวจ่ายเงินให้กลุ่ม ISIS แลกทำธุรกิจใน 'โมซุล'
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเครือข่ายธนาคารดันสเก เอสโตเนีย ไฉนเป็นเส้นทางฟอกเงิน 5.1 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อังกฤษ' ยกเลิกวีซ่านักลงทุน หวั่นเปิดช่องฟอกเงิน โต้ 'วิกฤติยูเครน'
- ส่องคดีทุจริตโลก: อายุน้อยร้อย ล.-เมื่อเด็กเป็นเจ้าของ บ.ในลักเซมเบิร์กเกือบ 300 แห่ง
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อังกฤษ'ยึดทรัพย์ทุจริต'อาเซอร์ไบจาน' แสน ล.โยงฟอกเงินผ่าน'เอสโตเนีย'
- ส่องคดีทุจริตโลก:'คูเวต'เร่งสอบ ปมจัดซื้อเครื่องบินไต้ฝุ่น 2.9 แสน ล.แพง
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อัยการเบอร์ลิน'สอบผู้บริหารพรรคกรีนส์-รมต.อนุมัติโบนัสโควิดไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.อิสราเอล จ่อตั้ง กก.สอบปมสินบนเรือดำน้ำเยอรมนี หลังเรื่องแดงปี 59
- ส่องคดีทุจริตโลก:'เพนตากอน'ถลุงงบหลายแสน ล.ไร้ประสิทธิภาพ-เอื้อปย.เอกชนช่วงสงครามอัฟกาฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโก' ปธน.เบลารุส บุคคลคอร์รัปชันแห่งปี 64