ข้อกล่าวหาของบริษัทคาโดคาวะระบุว่าผู้บริหารระดับสูงของบริษัทคาโดคาวะจำนวนสองรายซึ่งรวมไปถึงนายโทชิยูกิ โยชิฮาระนั้นต้องสงสัยว่ามีการจ่ายเงินให้กับบริษัทที่ปรึกษาแห่งหนึ่งที่ชื่อว่า Commons 2 คิดเป็นจำนวนทั้งสิ้น 76 ล้านเยน (19,150,568 บาท) ซึ่งบริษัท Commons 2 ที่ว่านี้นั้นก็มีผู้บริหารคือนายคาซึมาสะ ฟุคามิ โดยนายฟุคามิคนนี้นั้นก็คือว่าเป็นคนรู้จักกับนายทาคาฮาชิในวัย 78 ปี ซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่ทรงอิทธิพลในคณะกรรมการจัดงานโอลิมปิก
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้ขอเสนอความไม่โปร่งใสเกี่ยวกับกรณีการให้สินบนกับคณะกรรมการจัดงานแข่งขันกีฬาโอลิมปิกของประเทศญี่ปุ่น
โดยเมื่อวันที่ 6 ก.ย.ที่ผ่านมานั้นอัยการเขตโตเกียวได้มีการออกหมายจับกลุ่มผู้บริหารบริษัทสื่อสิ่งพิมพ์ขนาดที่ชื่อว่าบริษัทคาโดคาวะ ด้วยข้อสงสัยว่ากลุ่มผู้บริหารเหล่านี้อาจมีส่วนร่วมในการให้สินบนนายฮารุยูกิ ทาคาฮาชิ อดีตผู้บริหารคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกที่กรุงโตเกียว เพื่อแลกเปลี่ยนกับการดูแลบริษัทให้เป็นพิเศษ ในฐานะที่บริษัทนั้นเป็นผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการ
ทั้งนี้นั้นนายทาคาฮาชิเองก็ถูกกล่าวหา และถูกจับกุมเมื่อวันที่ 6 ก.ย. ด้วยข้อหาว่าเขาได้รับเงินสินบนจากบริษัทผลิตเสื้อผ้าอีกแห่งที่ชื่อว่าอาโอกิ โฮลดิ้งส์ (Aoki Holdings) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก ซึ่งกรณีการออกหมายจับผู้บริหารบริษัทคาโดคาวะก็เป็นส่วนหนึ่งของการขยายผลการสอบสวนด้วยเช่นกันและในวันเดียวกันนี้ ก็มีรายงานว่าเจ้าหน้าที่อัยการในกรุงโตเกียวได้ดำเนินการเข้าตรวจค้นที่ทำการหลักและยังเป็นบ้านพักของนายสึกุฮิโกะ คาโดคาวะ ประธานผู้บริหารของบริษัทคาโดคาวะ
อนึ่งข้อกล่าวหาของบริษัทคาโดคาวะระบุว่าผู้บริหารระดับสูงของบริษัทคาโดคาวะจำนวนสองรายซึ่งรวมไปถึงนายโทชิยูกิ โยชิฮาระนั้นต้องสงสัยว่ามีการจ่ายเงินให้กับบริษัทที่ปรึกษาแห่งหนึ่งที่ชื่อว่า Commons 2 คิดเป็นจำนวนทั้งสิ้น 76 ล้านเยน (19,150,568 บาท) ซึ่งบริษัท Commons 2 ที่ว่านี้นั้นก็มีผู้บริหารคือนายคาซึมาสะ ฟุคามิ โดยนายฟุคามิคนนี้นั้นก็คือว่าเป็นคนรู้จักกับนายทาคาฮาชิในวัย 78 ปี ซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่ทรงอิทธิพลในคณะกรรมการจัดงานโอลิมปิก
โดยอัยการนั้นกำลังตรวจสอบข้อมูลว่าเป็นไปได้หรือว่าที่นายฟุคามิจะขอให้นายทาคาฮาชิได้ช่วยเหลือบริษัทคาโดคาวะให้ได้รับเลือกเป็นผู้สนับสนุนของการจัดกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก ซึ่งบริษัทคาโดคาวะนั้นถูกระบุว่าเป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการในการจัดกีฬาในเดือน เม.ย. 2562 และบริษัทคาโดคาวะนั้นยังได้รับเลือกจากคณะกรรมการฯให้เป็นผู้เผยแพร่คู่มือบันทึกการแข่งขันกีฬาด้วยเช่นกัน
ขณะที่บริษัทคาโดคาวะนั้นก็ได้มีการระบุถึงเงินที่จ่ายให้นายฟุคามิไปว่าเป็นค่าที่ปรึกษาหลังจากที่บริษัทของเขานั้นเป็นที่ปรึกษาแล้วอย่างเป็นทางการ ส่วนนายสึกุฮิโกะ คาโดคาวะก็ได้บอกกับผู้สื่อข่าวเมื่อวันที่ 5 พ.ย. ยืนยันว่าบริษัทนั้นไม่ได้มีการจ่ายสินบนแต่อย่างใด และตัวเขาก็ไม่เชื่อด้วยเช่นกันว่าเงินนั้นจะถูกโอนไปยังนายทาคาฮาชิ
อนึ่งบริษัทคาโดคาวะนั้นถือว่าเป็นสตูดิโอและสำนักพิมพ์ผู้ผลิตภาพยนต์,อนิเมะและมังกะ (หนังสือการ์ตูนญี่ปุ่น) ชื่อดังของประเทศญี่ปุ่น โดยมีผลงานชื่อดัง อาทิ อีวานเกเลี่ยน และนายสึกุฮิโกะ คาโดคาวะนั้นก็ยังทำหน้าที่เป็นผู้กำกับด้วยเช่นกัน
นายสึกุฮิโกะ คาโดคาวะ ประธานผู้บริหารของบริษัทคาโดคาวะให้สัมภาษณ์กับเสื่อเมื่อวันที่ 5 ก.ย.ที่ผ่านมา
ทั้งนี้การจับกุมเมื่อวันที่ 6 ก.ย.เกิดขึ้นหนึ่งวันหลังจากที่อัยการได้ดำเนินการตรวจค้นบริษัทโฆษณาไดโกะ (Daiko Advertising) ในเมืองโอซาก้า ด้วยข้อสงสัยว่าบริษัทนั้นอาจจะมีการให้สินบนในกรณีอื่น แต่ว่ามีความเกี่ยวข้องกัน โดยบริษัทไดโกะที่ว่ามานั้นก็มีความเชื่อกันว่าได้จ่ายเงินไปอีก 26 ล้านเยน (6,639,346 บาท) ให้กับบริษัท Commons 2 ซึ่งอัยการที่ดำเนินการสอบสวนเชื่อว่ามีเงินสินบนมากกว่า 10 ล้านเยนอย่างแน่นอนที่ถูกจ่ายไปถึงนายทาคาฮาชิ
อนึ่งนายทาคาฮาชินั้นเป็นอดีตกรรมการผู้จัดการอาวุโสของบริษัทเดนท์สุ ซึ่งถือเป็นบริษัทโฆษณาที่ใหญ่และมีอิทธิพลมากที่สุดในญี่ปุ่น และบริษัทนี้ก็ถือว่าเป็นกำลังสำคัญในด้านการตลาดขอฝ่ายคณะกรรมการ ในส่วนของการตัดสินใจทำสัญญาการเป็นผู้สนับสนุนการแข่งขันต่างๆ
มีรายงานว่าลูกจ้างของบริษัทเดนท์สุจำนวนมากก็ถูกยืมตัวไปช่วยเหลือหน่วยงานอีกแห่งหนึ่งที่ถูกจัดตั้งขั้นในเดือน ม.ค. 2557 เพื่อช่วยเหลือในเรื่องของการจัดงาน แม้กระทั่งตัวนายทาคาฮาชิก็ถูกดึงตัวไปในช่วงปี 2557 เช่นเดียวกัน ทำให้ทั้งนายทาคาฮาชิและนายฟูคุมินั้นต่างก็มีประวัติเคยทำงานร่วมกับทางเดนท์สุ ซึ่งาทงอัยการเชื่อกันว่าทั้งสองคนนี้นั้นมีอิทธิพลอย่างมากในแง่ขอฝ่ายการตลาดในส่วนของการตัดสินใจเลือกผู้สนับสนุนรายการแข่งขัน
ส่วนทางบริษัทไดโกะนั้นก็ได้กล่าวว่าพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับการสืบสวนเช่นเดียวกัน
สำหรับในกรณีของบริษัทอาโอกิ โฮลดิ้งส์นั้น ประธานของกลุ่มบริษัทได้แก่นายฮิโรโนรี อาโอกิ และผู้บริหารระดับสูงอีกสองรายก็เพิ่งจะถูกจับกุมตัวไปในเดือนนี้ด้วยข้อสงสัยว่าได้จ่ายเงินให้กับนายทาคาฮาชิเป็นจำนวน 51 ล้านเยน (13,023,333 บาท) ซึ่งบริษัทอาโอกินั้นก็ได้เข้ามาเป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการของโตเกียวโอลิมปิกเช่นเดียวกัน และบริษัทนี้ยังได้ถูกรับเลือกให้เป็นผู้ที่จัดส่งเครื่องแบบนักกีฬาให้กับนักกีฬาของทีมชาติญี่ปุ่นใส่ในพิธีเปิดการแข่งขัน โดยผู้บริหารทั้งสามรายนั้นพบว่าถูกตั้งข้อกล่าวหาเมื่อวันที่ 6 ก.ย.ที่ผ่านมา
ทางด้านของนายทาคาฮาชิเองก็ได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมดและยืนยันว่าเงินที่ว่ามานั้นเป็นค่าจ้างสำหรับการให้คำปรึกษา
อนึ่งการจับกุมเมื่อวันที่ 6 ก.ย.นั้นแสดงให้เห็นว่าอัยการได้มีการขยายผลการสอบสวนความไม่โปร่งใสและคาดว่าในสัปดาห์หลังจากนี้จะมีการจับกุมเพิ่มเติมอีก เพราะว่ากรณีการทุจริตนั้นขยายวงไปมากกว่าแค่ในกรุงโตเกียวที่เพิ่งจะมีการจัดโอลิมปิกไปเมื่อปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ก่อนหน้านี้มีรายงานว่าในช่วงสัปดาห์นี้นั้น นายคัตสึฮิโระ อากิโมโตะ นายกเทศมนตรีเมืองซัปโปโร และนายยาสุฮิโระ ยามาชิตะ คณะกรรมการโอลิมปิกญี่ปุ่น จะเดินทางไปยังนั้นจะเดินทางไปยังสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อเข้าพบกับนายโธมัส แบค ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากลหรือ IOC เพื่อเสนอให้มีการเลือกเมืองซัปโปโรให้เป็นสถานที่จัดการแข่งขันโอลิมปิกฤดุหนาวในปี 2573
แต่อย่างไรก็ตามแผนการเดินทางดังกล่าวนั้นมีอันต้องยกเลิกไปโดยกะทันหันในวันที่ 5 ก.ย.ที่ผ่านมา เพราะว่า IOC ได้อ้างถึงปัญหาเรื่องของตารางเวลา ขณะที่เจ้าหน้าที่ทางการซัปโปโรออกมาปฏิเสธโดยระบุว่าการสืบสวนเรื่องสินบนนั้นไม่ใช่สาเหตุสำคัญของการยกเลิก
ข่าวการจับกุมนายฮารุยูกิ ทาคาฮาชิ อดีตผู้บริหารคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกที่กรุงโตเกียว (อ้างอิงวิดีโอจาก Nippon TV News)
โดยก่อนสิ้นปี 2565 นี้ ทาง IOC จะต้องเคาะเลือกว่าจะคัดเลือกเมืองใดบ้างที่จะเป็นสถานที่จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ก่อนที่ในเดือน พ.ค. จะมีการคัดเลือกเมืองใดให้เป็นผู้ชนะอีกทีหนึ่ง ซึ่งทางเมืองซัปโปโรก็วางแผนว่าจะใช้เวลาที่เหลือไม่กี่เดือนนี้สร้างแรงสนับสนุนจากสาธารณชนสำหรับการคัดเลือก ซึ่งจากการสำรวจความเห็นในช่วงต้นปีก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่าประชาชนส่วนมากให้การสนับสนุน แต่อย่างไรก็ตาม ข่าวเรื่องการรับสินบนก็ทำให้เกิดปัญหาอย่างยิ่งทั้งกับคณะกรรมการโอลิมปิกในประเทศญี่ปุ่น และคณะกรรมการโอลิมปิกในระดับนานาชาติ
เรียบเรียงจาก:https://www.japantimes.co.jp/news/2022/09/06/national/tokyo-olympics-bribery-kadokawa-arrests/
- ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อพิพิธภัณฑ์ศิลปะนิวยอร์ก ถูก จนท.ยึดโบราณวัตถุผิด กม.นับสิบชิ้น
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยข้อมูล 'นาจิบ'-ปธ.พรรคอัมโนเอี่ยวโครงการเรือรบฉาว 7.2 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.ลับปานามาเปเปอร์สรับโอน 1.5 พัน ล.โครงการเรือรบมาเลเซีย 7.2 หมื่นล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ทร.มาเลเซียเซ็นสัญญาต่อเรือรบ 6 ลำ 7.2 หมื่น ล.เกือบสิบปี ยังไม่ส่งมอบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เผยเครือข่าย บ.เปลือกหอยอังกฤษ เอื้อผลประโยชน์คนใกล้ชิด ปธน.ปูติน
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉขบวนการถ่ายน้ำมันรัสเซียนอกชายฝั่งอังกฤษ ส่งรายได้หนุนสงครามยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอย 'บ.อิสราเอล' ส่งออกสปายแวร์เพกาซัส ให้ รบ.ตปท.สอดแนมประชาชน
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง 'อูเบอร์ไฟล์'แฉเอกชนล็อบบี้โอลิการ์ชแลกทำธุรกิจแท็กซี่รัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: สตง.อังกฤษสอบนโยบาย 'บอริส จอห์นสัน' ส่อย้อมแมวสร้าง รพ. 40 แห่ง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเส้นทางฟอสเฟตซีเรีย สู่โรงงานปุ๋ยยุโรป ส่งรายได้เข้าโอลิการ์ชรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: จนท.องค์การเภสัชอินเดียรับสินบน แลกอนุมัติยกเลิกทดลองอินซูลินระยะ 3
- ส่องคดีทุจริตโลก: ธนาคารเครือยักษ์ใหญ่รัฐบอลติก เอี่ยวฟอกเงินหมื่น ล.โอลิการ์ชรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: ปลด รมต.สธ.เวียดนาม เซ่นปมขายชุดตรวจโควิดแพง 45% เอกชนฟันกำไร 709 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:นักธุรกิจจีนเอี่ยวคดีสินบน อดีตที่ปรึกษาฮุนเซน ถือหุ้นสโมสรเบอร์มิงแฮม
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเส้นทางการเงินคดีให้สินบนนายพลจีน สู่คฤหาสน์พันล้าน ณ แวนคูเวอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงข้อพิรุธธุรกรรม เชื่อมโยงทอง 3 ตันประเทศกินี ส่อถูกฟอกในอังกฤษ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ย้อมแมวจรวด,โดรน-กินส่วนต่างวิทยุ 3 พันล. ต้นเหตุรัสเซียติดหล่มในยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดข้อพิรุธเอกชนไร้ประสบการณ์ ชนะสัญญาชุด PPE รบ.ออสเตรเลีย หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอยสินบนเรือดำน้ำมาเลเซีย พัน ล.! ฝรั่งเศสสั่งสอบ บ.ต่อเรือรบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'รมต.สเปน'โดนสอบ ใช้ช่องพิเศษอนุมัติสัญญาโควิดเอื้อ บ.พวกพ้อง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมคอรัปชั่นในกองทัพรัสเซีย-งบปี 65 รวม 2 ล้าน ล.ไม่รู้ไปไหนบ้าง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเครือข่ายขโมยเงินสนับสนุนอาหารอียู 694 ล. นำไปซื้อแฟลต-กระเป๋าหรู
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ไมโครซอฟท์'ถูกอดีตลูกจ้างแฉ-พนง.รวมหัว บ.คู่ค้า,จนท.รัฐ ทุจริตหลาย ปท.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเครือข่าย บ.เปลือกนอกหนุนเผด็จการซีเรีย-หลบมาตรการคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง บ.กฎหมายยักษ์ใหญ่ รับงานช่วยโอลิการ์ชรัสเซียรอดมาตรการคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง 'ดูไบ' แหล่งกบดานเศรษฐีหนีคดี หลังโลกตามอายัดเงินจากรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อีริคสัน' ส่อเอี่ยวจ่ายเงินให้กลุ่ม ISIS แลกทำธุรกิจใน 'โมซุล'
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเครือข่ายธนาคารดันสเก เอสโตเนีย ไฉนเป็นเส้นทางฟอกเงิน 5.1 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อังกฤษ' ยกเลิกวีซ่านักลงทุน หวั่นเปิดช่องฟอกเงิน โต้ 'วิกฤติยูเครน'
- ส่องคดีทุจริตโลก: อายุน้อยร้อย ล.-เมื่อเด็กเป็นเจ้าของ บ.ในลักเซมเบิร์กเกือบ 300 แห่ง
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อังกฤษ'ยึดทรัพย์ทุจริต'อาเซอร์ไบจาน' แสน ล.โยงฟอกเงินผ่าน'เอสโตเนีย'
- ส่องคดีทุจริตโลก:'คูเวต'เร่งสอบ ปมจัดซื้อเครื่องบินไต้ฝุ่น 2.9 แสน ล.แพง
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อัยการเบอร์ลิน'สอบผู้บริหารพรรคกรีนส์-รมต.อนุมัติโบนัสโควิดไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.อิสราเอล จ่อตั้ง กก.สอบปมสินบนเรือดำน้ำเยอรมนี หลังเรื่องแดงปี 59
- ส่องคดีทุจริตโลก:'เพนตากอน'ถลุงงบหลายแสน ล.ไร้ประสิทธิภาพ-เอื้อปย.เอกชนช่วงสงครามอัฟกาฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโก' ปธน.เบลารุส บุคคลคอร์รัปชันแห่งปี 64