ในเอกสารงบการเงินของบริษัท Alizes Marine France ซึ่งส่งให้กับทางการฝรั่งเศสกลับพบว่ามีการรายงานมูลค่าการซื้อขายอยู่แค่ 3.53 ล้านยูโร (143.2 ล้านบาท) เท่านั้น ซึ่งนี่ถือเป็นข้อบ่งชี้ว่าเงินจำนวนกว่า 192 ล้านริงกิตที่ได้มีการจ่ายให้กับบริษัท Alizes Marine France นั้นได้ถูกโอนไปยังบัญชีของบริษัทนอกอาณาเขตแห่งอื่นๆที่ยากต่อการตามเส้นทางทางการเงินแล้ว
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้ยังคงติดตามความไม่โปร่งใสในโครงการจัดหาเรือรบสำหรับปฏิบัติภารกิจในเขตน้ำตื้นหรือที่เรียกกันว่าเรือ LCS ของกองทัพเรือมาเลเซียจำนวนหกลำ คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 9.13 พันล้านริงกิต (72,249.3 ล้านบาท) ซึ่งโครงการดังกล่าวนี้พบว่ามีการทำสัญญากันตั้งแต่ปี 2557 และมีการจ่ายเงินไปแล้วกว่า 6.08 พันล้านริงกิต (48,113.4 ล้านบาท) แต่ปรากฏว่ายังไม่มีเรือลำใดที่ต่อเสร็จแม้แต่ลำเดียว
ล่าสุดเมื่อวันที่ 18 ส.ค. ที่ผ่านมานายราฟิซี รามลี และรองประธาน และอดีต ส.ส.พรรคยุติธรรมของประชาชน หรือพีเคอาร์ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความไม่ชอบมาพากลของโครงการจัดหาเรือรบ LCS ดังกล่าวเพิ่มเติมว่าพบข้อมูลว่ามีเงินจากโครงการ LCS คิดเป็นมูลค่า 192 ล้านริงกิต (1,528.3 ล้านบาท) ถูกโอนให้กับบัญชีของบริษัทนอกอาณาเขตจำนวนหลายบัญชี และบัญชีเหล่านี้พบว่าไม่สามารถจะติดตามต่อได้แล้ว
ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวนั้นมาจากการสืบสวนภายในของบริษัทบูสเตดเฮฟวี่อินดัสตรีคอร์ปอเรชั่น หรือ Boustead Heavy Industries Corporation Bhd (BHIC) ที่ตรวจสอบพบว่ามีเงินในโครงการ LCS นั้นถูกดึงออกไป
โดยทางด้านของนายราฟิซีได้กล่าวอ้างถึงการสืบสวนดังกล่าวนี้ว่าพบว่าหนึ่งในบริษัทนอกอาณาเขตที่มีส่วนรับเงินจำนวน 192 ล้านริงกิตนี้ก็คือบริษัทที่ชื่อว่า Alizes Marine Ltd (อลิซมารีน) ซึ่งพบว่ามีการจ่ายเงินให้กับบริษัทนี้เป็นจำนวนหลายครั้ง สำหรับการขนส่งซึ่งไม่เคยมีอยู่จริงแต่ประการใด
และเป็นที่น่าสนใจก็คือว่าชื่อของบริษัท Alizes Marine Ltd นั้นเคยถูกกล่าวถึงในเอกสารปานามาเปเปอร์สและในเอกสารพาราไดซ์เปเปอร์ส โดยทั้งสองเอกสารนั้นได้เปิดโปงว่าบริษัทนอกอาณาเขตต่างๆได้มีการซุกซ่อนเงินจากกิจกรรมที่ผิดกฎหมายทั่วโลกอย่างไรบ้าง
นายราฟิซี รามลี อดีต ส.ส.พรรคพีเคอาร์กล่าวหาว่าอดีตนายกรัฐมนตรีนาจีบ ราซัค มีส่วนต้องรับผิดชอบกับความไม่โปร่งใสในโครงการต่อเรือรบ LCS (อ้างอิงวิดีโอจาก Kini TV)
“หลังจากที่มีการตรวจสอบใบแจ้งรายการส่งของกับซัพพลายเออร์บางราย ทีมสอบสวนก็ได้พบข้อมูลว่ามีการชำระเงินปลอมๆ แต่ไม่มีการส่งของ คิดเป็นมูลค่ากว่า 23.37 ล้านริงกิต (186 ล้านบาท) ซึ่งใบแจ้งรายการการส่งของดังกล่าวนั้นพบว่ามีการส่งไปให้กับผู้รับสัญญารายย่อยที่ทำหน้าที่ให้บริการด้านเทคนิคให้กับโครงการ LCS รายหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ไม่พบว่าเอกชนรายนี้มีตัวตนจริงแต่อย่างใด และเมื่อมีการติดตามซัพพลายเออร์ที่เกี่ยวข้อง ก็ไม่พบว่าบริษัทนั้นมีตัวตนจริงด้วยเช่นกัน เนื่องจากว่าที่อยู่ของบริษัทหลายแห่งที่ระบุนั้นพบว่าไม่ถูกต้อง และจากการตรวจสอบก็พบว่าเงินนั้นได้ถูกโอนไปยังบัญชีอื่นแล้ว”นายราฟิซีกล่าวในแถลงการณ์
นายราฟิซีกล่าวต่อไปว่ารูปแบบการปฏิบัติการณ์เพื่อดึงเงินออกไปนั้น มีความคล้ายคลึงกับกรณีการทุจริตเงินจากกองทุน 1MDB (กองทุนเพื่อการพัฒนามาเลเซีย) โดยรูปแบบนั้นจะมีการดำเนินการกันทั่วโลก มีการตั้งบริษัทปลอมๆจำนวนหลายแห่ง ด้วยชื่อที่คล้ายคลึงกันกับบริษัทที่มีตัวตนอยู่จริง ซึ่งบริษัทหนึ่งนั้นจะส่งใบแจ้งหนี้มา แต่ว่าคำแนะนำในการจ่ายเงินกลับมีการระบุให้ไปจ่ายที่อีกบริษัทหนึ่ง ที่มีชื่อเหมือนกันมาก แต่ว่าเป็นคนละบริษัทกัน
@ไม่มีใบอนุญาตสำหรับการจัดหาอุปกรณ์อะไหล่ในด้านความมั่นคง
นายราฟิซีได้ตั้งข้อสังเกตอีกว่าบริษัท Alizes Marine นั้นถูกแต่งตั้งให้เป็นผู้รับเหมารายย่อยเพื่อจะจัดหาอะไหล่ให้กับโครงการ LCS จากคำแนะนำของบริษัทรับเหมารายย่อยสัญชาติฝรั่งเศสอีกรายที่ชื่อว่า DCNS
โดยบริษัท DCNS นั้นเป็นบริษัทผู้รับเหมาด้านเทคนิคให้กับโครงการ LCS ซึ่งหน้าที่ของบริษัทก็จะเป็นการออกแบบและดำเนินการเรื่องข้อกำหนดทางเทคนิคให้กับเรือรบชั้นโกวินด์ ที่เป็นแบบเรือในโครงการ LCS โดย Alizes Marine Ltd นี้ถูกเสนอให้เป็นบริษัทซัพพลายเออร์สัญชาติฝรั่งเศสภายใต้ชื่อว่า Alizes Marine France
นายราฟิซีกล่าวต่อไปว่าในกระบวนการจัดการโครงการ LCS พบว่ามีการแจ้งว่าบริษัท Alizes Marine France นั้นมีใบอนุญาตส่งออกทั่วโลก ที่จะทำให้บริษัทได้รับสิทธิประโยชน์ในด้านของการจัดหาอะไหล่สำหรับยุทโธปกรณ์ อย่างไรก็ตามตรวจสอบพบในภายหลังว่าข้อมูลเรื่องใบอนุญาตส่งออกทั่วโลกนั้นเป็นข้อมูลที่ผิดพลาด บริษัทไม่ได้มีใบอนุญาตส่งออกแต่อย่างใด ซึ่งตัวตนของบริษัทจริงๆก็มีแค่ว่าเป็นบริษัทนอกอาณาเขตเท่านั้น และไม่ได้มีการดำเนินงานใดๆของบริษัทเกิดขึ้นเลย
บริษัท DCNS โฆษณาเรือรบแบบโกวินด์ในช่วงปี 2560 (อ้างอิงวิดีโอจาก DefenseWeb TV)
“แม้ว่าโครงการ LCS จะได้รับใบแจ้งหนี้ที่ดูเหมือนว่าจะมาจากบริษัท Alizes Marine France แต่ปรากฎว่าการจ่ายเงินนั้นกลับตรงไปยังบัญชีที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีผู้ที่เป็นเจ้าของบัญชีในสิงคโปร์คือ Alizes Marine Ltd” นายริฟิซีกล่าว
รองประธานพรรคพีเคอาร์กล่าวต่อไปว่าบริษัท DCNS นั้นพบว่าใช้ชื่อ Alizes Marine ให้เป็นบริษัทฉากหน้าเพื่อรับผลประโยชน์จากการจัดหาชิ้นส่วนอะไหล่ภายใต้ข้อตกลงซึ่งมีการจัดเตรียมกันที่ประเทศมาเลเซีย ซึ่งจากกระบวนการสอบสวนภายในนั้นแสดงให้เห็นเด่นชัดว่าบริษัท DCNS เข้าไปมีส่วนร่วมอย่างชัดเจนในรูปแบบของการยักยอกเงินในโครงการต่อเรือ LCS นี้
“การสืบสวนยังพบด้วยว่าบริษัท DCNS และบริษัทอื่นๆจากฝรั่งเศสยังเข้าไปมีส่วนร่วมในการรับเงินซึ่งโอนมาจากโครงการ LCS ซึ่งการกระทำดังกล่าวนั้นถือว่าผิดกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน” นายราฟิซีกล่าว
เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการสอบสวนยังได้มีการเปรียบเทียบข้อมูลทางการเงินระหว่างเงินที่ต้องใช้จ่ายในโครงการ LCS เพื่อที่จะนำไปซื้ออะไหล่กับบริษัท Alizes Marine Ltd โดยเทียบกับมูลค่าการซื้อขายซึ่งถูกรายงานในงบการเงินของ Alizes Marine France ในช่วงระหว่างปี 2554-2558
ทั้งนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นพบว่าผู้รับเหมารายย่อยในโครงการ LCS นั้นต้องจ่ายเงินให้กับ Alizes Marine France (ตามข้อมูลในใบแจ้งหนี้พบว่าถูกจ่ายให้กับบัญชีของ Alizes Marine Ltd) คิดเป็นมูลค่า 43.69 ล้านยูโร (955.2 ล้านบาท) เพื่อที่จะจัดซื้อชิ้นส่วนอะไหล่
ทว่าในทางกลับกัน ในเอกสารงบการเงินของบริษัท Alizes Marine France ซึ่งส่งให้กับทางการฝรั่งเศสกลับพบว่ามีการรายงานมูลค่าการซื้อขายอยู่แค่ 3.53 ล้านยูโร (143.2 ล้านบาท) เท่านั้น ซึ่งนี่ถือเป็นข้อบ่งชี้ว่าเงินจำนวนกว่า 192 ล้านริงกิตที่ได้มีการจ่ายให้กับบริษัท Alizes Marine France นั้นได้ถูกโอนไปยังบัญชีของบริษัทนอกอาณาเขตแห่งอื่นๆที่ยากต่อการตามเส้นทางทางการเงินแล้ว
ไทม์ไลน์ของผู้มีอำนาจในช่วงที่โครงการต่อเรือรบ LCS ได้ดำเนินการ
“หากปฏิบัติการณ์นี้เกี่ยวข้องกับบริษัทนอกอาณาเขตจำนวนหลายแห่ง ซึ่งถูกกล่าวหาว่ามีความเกี่ยวข้องกับ DCNS และถ้าหากมีข้อบ่งชี้หรือมีบันทึกว่าบริษัท DCNS ได้มีการจ่ายเงินสินบนไปยังบริษัทที่มีความเชื่อมโยงกับอดีตนายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค ในช่วงเวลาเดียวกันกับที่มีกรณีทุจริตเรือดำน้ำสกอร์เปียนก่อนหน้านี้ (อ่านข่าวประกอบด้านล่าง) ดังนั้นก็เป็นที่แน่นอนว่าประชาชนจะเรียกร้องให้มีการสอบสวนต่อไปว่าใครคือตัวผู้บังการที่แท้จริง ที่มีอำนาจในการปกป้องไม่ให้ดำเนินการกับ DCNS”นายราฟิซีกล่าวและเน้นย้ำว่าเรื่องนี้นั้นก็คงมีแค่นายนาจิบ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอีกสองรายได้แก่นายดาตุก เสรี อาห์หมัด ซาฮิด ฮามิดี (Datuk Seri Ahmad Zahid Hamidi) และ ดาตุก เสรี ฮิชามุดดิน ฮุสซิน (Datuk Seri Hishamuddin Hussin) เท่านั้นที่จะตอบคำถามเหล่านี้ได้ดีที่สุด
เรียบเรียงจาก:https://www.theedgemarkets.com/article/rafizi-offshore-firm-siphoned-rm192-mil-lcs-project-modus-operandi-same-1mdb
- ส่องคดีทุจริตโลก:ทร.มาเลเซียเซ็นสัญญาต่อเรือรบ 6 ลำ 7.2 หมื่น ล.เกือบสิบปี ยังไม่ส่งมอบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เผยเครือข่าย บ.เปลือกหอยอังกฤษ เอื้อผลประโยชน์คนใกล้ชิด ปธน.ปูติน
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉขบวนการถ่ายน้ำมันรัสเซียนอกชายฝั่งอังกฤษ ส่งรายได้หนุนสงครามยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอย 'บ.อิสราเอล' ส่งออกสปายแวร์เพกาซัส ให้ รบ.ตปท.สอดแนมประชาชน
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง 'อูเบอร์ไฟล์'แฉเอกชนล็อบบี้โอลิการ์ชแลกทำธุรกิจแท็กซี่รัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: สตง.อังกฤษสอบนโยบาย 'บอริส จอห์นสัน' ส่อย้อมแมวสร้าง รพ. 40 แห่ง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเส้นทางฟอสเฟตซีเรีย สู่โรงงานปุ๋ยยุโรป ส่งรายได้เข้าโอลิการ์ชรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: จนท.องค์การเภสัชอินเดียรับสินบน แลกอนุมัติยกเลิกทดลองอินซูลินระยะ 3
- ส่องคดีทุจริตโลก: ธนาคารเครือยักษ์ใหญ่รัฐบอลติก เอี่ยวฟอกเงินหมื่น ล.โอลิการ์ชรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: ปลด รมต.สธ.เวียดนาม เซ่นปมขายชุดตรวจโควิดแพง 45% เอกชนฟันกำไร 709 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:นักธุรกิจจีนเอี่ยวคดีสินบน อดีตที่ปรึกษาฮุนเซน ถือหุ้นสโมสรเบอร์มิงแฮม
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเส้นทางการเงินคดีให้สินบนนายพลจีน สู่คฤหาสน์พันล้าน ณ แวนคูเวอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงข้อพิรุธธุรกรรม เชื่อมโยงทอง 3 ตันประเทศกินี ส่อถูกฟอกในอังกฤษ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ย้อมแมวจรวด,โดรน-กินส่วนต่างวิทยุ 3 พันล. ต้นเหตุรัสเซียติดหล่มในยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดข้อพิรุธเอกชนไร้ประสบการณ์ ชนะสัญญาชุด PPE รบ.ออสเตรเลีย หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอยสินบนเรือดำน้ำมาเลเซีย พัน ล.! ฝรั่งเศสสั่งสอบ บ.ต่อเรือรบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'รมต.สเปน'โดนสอบ ใช้ช่องพิเศษอนุมัติสัญญาโควิดเอื้อ บ.พวกพ้อง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมคอรัปชั่นในกองทัพรัสเซีย-งบปี 65 รวม 2 ล้าน ล.ไม่รู้ไปไหนบ้าง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเครือข่ายขโมยเงินสนับสนุนอาหารอียู 694 ล. นำไปซื้อแฟลต-กระเป๋าหรู
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ไมโครซอฟท์'ถูกอดีตลูกจ้างแฉ-พนง.รวมหัว บ.คู่ค้า,จนท.รัฐ ทุจริตหลาย ปท.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเครือข่าย บ.เปลือกนอกหนุนเผด็จการซีเรีย-หลบมาตรการคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง บ.กฎหมายยักษ์ใหญ่ รับงานช่วยโอลิการ์ชรัสเซียรอดมาตรการคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง 'ดูไบ' แหล่งกบดานเศรษฐีหนีคดี หลังโลกตามอายัดเงินจากรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อีริคสัน' ส่อเอี่ยวจ่ายเงินให้กลุ่ม ISIS แลกทำธุรกิจใน 'โมซุล'
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเครือข่ายธนาคารดันสเก เอสโตเนีย ไฉนเป็นเส้นทางฟอกเงิน 5.1 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อังกฤษ' ยกเลิกวีซ่านักลงทุน หวั่นเปิดช่องฟอกเงิน โต้ 'วิกฤติยูเครน'
- ส่องคดีทุจริตโลก: อายุน้อยร้อย ล.-เมื่อเด็กเป็นเจ้าของ บ.ในลักเซมเบิร์กเกือบ 300 แห่ง
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อังกฤษ'ยึดทรัพย์ทุจริต'อาเซอร์ไบจาน' แสน ล.โยงฟอกเงินผ่าน'เอสโตเนีย'
- ส่องคดีทุจริตโลก:'คูเวต'เร่งสอบ ปมจัดซื้อเครื่องบินไต้ฝุ่น 2.9 แสน ล.แพง
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อัยการเบอร์ลิน'สอบผู้บริหารพรรคกรีนส์-รมต.อนุมัติโบนัสโควิดไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.อิสราเอล จ่อตั้ง กก.สอบปมสินบนเรือดำน้ำเยอรมนี หลังเรื่องแดงปี 59
- ส่องคดีทุจริตโลก:'เพนตากอน'ถลุงงบหลายแสน ล.ไร้ประสิทธิภาพ-เอื้อปย.เอกชนช่วงสงครามอัฟกาฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโก' ปธน.เบลารุส บุคคลคอร์รัปชันแห่งปี 64