การเปิดโปงรายงานข้อมูลการสืบสวนของคณะกรรมการยังได้แสดงให้เห็นว่าบริษัทอู่ต่อเรือบูสเตดนั้นได้ยื่นเรื่องเข้าสมัครให้ไปอยู่ในแผนงานของสำนักงานวางแผนเศรษฐกิจมาเลเซีย (Economic Planning Unit: EPU) เพื่อที่จะดำเนินการต่อเรือทั้งหกลำ โดยมีการระบุในจดหมายขอเข้าสมัครว่าได้มีการหารือกับนายนาจิบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ณ เวลานั้นไปแล้วในช่วงเดือน ต.ค. 2550
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ยังคงติดตามกรณีการทุจริตการจัดซื้อเรือรบสำหรับปฏิบัติภารกิจในเขตน้ำตื้นหรือที่เรียกกันว่าเรือ LCS ของกองทัพเรือมาเลเซียเพื่อให้สอดคล้องกับข่าวการจำคุกนายนาจิบ ราซัค อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศมาเลเซีย หลังจากที่ก่อนหน้านี้สำนักข่าวอิศราได้นำเสนอเกี่ยวกับปัญหาความล่าช้าในการก่อสร้าง การเซ็นสัญญาสั่งต่อชั้นเรือซึ่งไม่ตรงกับความต้องการของกองทัพเรือและปัญหาเรื่องการใช้บริษัทเปลือกหอยซึ่งติดตามเส้นทางการเงินได้ยากเป็นปลายทางรับเงินสำหรับโครงการไปแล้ว
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.ลับปานามาเปเปอร์สรับโอน 1.5 พัน ล.โครงการเรือรบมาเลเซีย 7.2 หมื่นล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ทร.มาเลเซียเซ็นสัญญาต่อเรือรบ 6 ลำ 7.2 หมื่น ล.เกือบสิบปี ยังไม่ส่งมอบ
โดยในสัปดาห์นี้ได้มีการรายงานผลความคืบหน้าของคณะกรรมการของรัฐสภามาเลเซียหรือ PAC ในเกี่ยวกับกรณีการสืบสวนโครงการจัดซื้อเรือรบ LCS คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 9.13 พันล้านริงกิต (72,249.3 ล้านบาท) ดังกล่าว
รายงานฉบับแรกนั้นมาจากรายงานของคณะคณะกรรมการสอบสวนพิเศษด้านการจัดซื้อจัดจ้าง ธรรมาภิบาล และการเงิน ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยคณะรัฐมนตรีจากพรรคแนวร่วมแห่งความหวังหรือ Pakatan Harapan ซึ่งคณะกรรมการนี้ถูกจัดตั้งในปี 2561 เพื่อให้มีการตรวจสอบการจัดซื้อเรือ LCS จำนวนหกลำ ซึ่งรายงานดังกล่าวนั้นถูกเปิดโปงต่อสาธารณชนครั้งแรกภายใต้การตัดสินใจของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 ส.ค.ที่ผ่านมา
รายงานฉบับถัดมาก็คือรายงานการบัญชีทางนิติวิทยาศาสตร์ ของกลุ่มบริษัทบูสเตด หรือ Sdn Bhd for Boustead Heavy Industries Corporation Bhd (BHIC) โดยรายงานนี้นั้นมาจากมาจากการสืบสวนของบริษัทสืบสวนทางบัญชี Alliance IFA ที่ดำเนินการสืบสวนในปี 2563 และเพิ่งจะมีการเปิดเผยเมื่อวันที่ 22 ส.ค.ที่ผ่านมา
โดยบริษัทอู่ต่อเรือบูสเตดหรือ Boustead Naval Shipyard Sdn Bhd ซึ่งเป็นบริษัทภายใต้กลุ่มบริษัทบูสเตดเฮฟวี่อินดัสตรีส์คอร์ปอเรชั่น นั้นก็เป็นผู้ได้รับสัญญาจากการเจรจาโดยตรง มีการเซ็นสัญญากันในปี 2557 และจนถึงปัจจุบันนั้นรัฐบาลมาเลเซียก็ได้มีการจ่ายเงินลงไปกับโครงการนี้แล้วถึง 6.08 พันล้านริงกิต (48,113.4 ล้านบาท) หรือคิดเป็น 66.65 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าสัญญาเต็ม แต่ก็ยังไม่มีการส่งมอบเรือแม้แต่ลำเดียวทั้งๆที่ตามกำหนดเวลาแล้วเรือลำที่ห้าจะต้องมีการส่งมอบให้ในเดือน ส.ค. 2565 หรือก็คือเดือนนี้นั่นเอง
ความคืบหน้าล่าสุดเกี่ยวกับการดำเนินคดีดังกล่าวก็คือว่าเมื่อวันที่ 16 ส.ค.ที่ผ่านมานั้น มีการตัดสินว่า พล.ร.ท. อาหมัด รามลี โมห์ด นอร์ อดีตกรรมการผู้จัดการบริษัทไม่มีความผิดจากการทำข้อตกลงดังกล่าว หลังจากที่ก่อนหน้านี้นั้นอดีตทหารเรือในวัย78 ปีรายนี้นั้นถูกกล่าวหาว่าได้มีการอนุมัติการชำระเงินมูลค่ารวมกว่า 21 ล้านริงกิต (169.29 ล้านบาท) ไปให้กับบริษัทอื่นอีกจำนวนสามแห่ง โดยไม่ผ่านความเห็นชอบของบอร์ดบริษัทอู่ต่อเรือบูสเตด
ขณะที่ทางด้านของนายอิสมาอิล ซาบรี ยาโคบ นายกรัฐมนตรีมาเลเซียก็ได้ให้คำมั่นสัญญาว่ากระบวนการสืบสวนในประเด็นนี้จะดำเนินการด้วยความโปร่งใส และจะไม่มีการปกป้องผู้กระทำความผิด
อย่างไรก็ตามเอกสารที่ถูกเปิดโปงออกมาพบว่ามีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงไปถึงนายนาจิบ ราซัค อดีตนายกรัฐมนตรีที่ตอนนี้อยู่ในเรือนจำ และนายอาหมัด ซาฮิด ฮามิดี ประธานพรรคอัมโน
นายนาจิบ ราซัค อดีตนายกรัฐมนตรี (คนกลาง)และนายอาหมัด ซาฮิด ฮามิดี ประธานพรรคอัมโน (คนขวา) ซึ่งเคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมที่ถูกระบุว่ามีส่วนในการตัดสินใจในโครงการ LCS
@ความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงไปถึงนายนาจิบ และนายอาหมัด ซาฮิด
สำหรับนายอาหมัด ซาฮิด นั้นพบว่าก่อนหน้านี้เขาเคยปฏิเสธความเกี่ยวข้องกับโครงการ LCS ไปแล้ว โดยระบุว่าเขาไม่ได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในช่วงที่มีการมอบสัญญาโครงการนี้
นายอาหมัด ซาฮิดได้เคยให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 6 ส.ค.ที่ผ่านมา ระบุว่าไม่เป็นเหตุเป็นผลเลยที่จะเชื่อมโยงเขาเข้าถึงความล้มเหลวของโครงการ LCS เพราะเขาไม่ได้เป็นรัฐมนตรีกลาโหมในช่วงที่มีการมอบสัญญาโครงการนี้ ซึ่งเขาอนั้นเป็นรัฐมนนช่วงเดือน เม.น. 2562-พ.ค. 2566
อย่างไรก็ตามในเอกสารรายงานจากคณะกรรมการสอบสวนพิเศษว่าด้วยธรรมาภิบาล การจัดซื้อจัดจ้าง และการเงิน กลับระบุไปในอีกทางหนึ่ง
โดยในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นบริษัทอู่ต่อเรือบูสเตดนั้นมีอยู่ภายใต้การบริหารจัดการโดย พล.ร.ท.อาหมัด รามลี ที่เกษียณอายุราชการไปแล้ว โดยอดีตนายทหารคนนี้ได้มีการเขียนจดหมายลงวันที่ 8 ก.ค. 2553 ถึงนายอาหมัด ซาฮิด ขอให้มีการออกหนังสือแสดงเจตจํานงจากรัฐบาลอันเกี่ยวกับโครงการเรือรบ LCS
การสอบสวนโครงการ LCS (อ้างอิงวิดีโอจาก The Star)
ทั้งนี้ที่ด้านบนของจดหมายนั้นจะเห็นคำว่า SUB perolehan, sila laksanakan หรือแปลได้ว่า “ภายใต้เลขาธิการกองจัดซื้อจัดจ้างโปรดดําเนินการ” ตามด้วยลายเซ็นและตราประทับชื่อของนายอาหมัด ซาฮิด
อนึ่งในรายงานของ PAC ก่อนหน้านี้นั้นมีการเปิดเผยจากนายกูน่า อรูลาลัน เดวิด รองเลขาธิการคณะกรรมการสอบสวนคดีพิเศษ ระบุว่ามาเลเซียนั้นได้แสดงความตกลงและต้องการที่จะเรือ LCS ในแบบซิกม่าจากประเทศเนเธอร์แลนด์ไปแล้ว และทางกระทรวงกลาโหม ก็ได้เห็นชอบต่อความต้องการของกองทัพเรือในเวลานั้น
โดยข้อความตอนหนึ่งที่ตัดตอนมาจากการดำเนินการของ PAC ลงวันที่ 1 ธ.ค. 2563 นั้นระบุว่านายกูน่า อรูลาลัน ได้กล่าวว่าคณะกรรมการฯนั้นได้พบว่าเมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2554 นายอาหมัด ซาฮิด ได้แสดงความตกลงที่จะให้มีการจัดหาแบบเรือแบบซิกม่า และจะติดตั้งระบบอำนวยการรบ TACTICOS ซึ่งผลิตจากกลุ่มบริษัท Thales จากประเทศฝรั่งเศส
“แต่ว่าในปีเดียวกัน ในวันที่ 11 ก.ค. 2554 นายอาหมัด ซาฮิด ก็ได้เซ็นสัญญาตกลงอีกครั้ง โดยในรายละเอียดของสัญญานั้นเป็นการตกลงที่จะเลือกแบบเรือโกวินด์จากฝรั่งเศส และในวันที่ 26 ก.ย. 2554 ก็ได้มีการเซ็นสัญญาอีกฉบับเพื่อให้มีการเปลี่ยนแบบอำนวยการรบจากเดิม ไปเป็นแบบอำนวยการรบ SETIS ซึ่งก็ยังมาจากฝรั่งเศส” รายงานระบุ
ทางด้านของนายกูน่า อรูลาลัน ได้กล่าวกับคณะกรรมการรัฐสภาด้วยว่าระบบอำนวยการรบ SETIS นั้นยังได้อยู่ในคำแนะนำของบริษัทอู่ต่อเรือบูสเตดด้วยเช่นกัน ซึ่งจากกรณีการเปลี่ยนแปลงทั้งแบบเรือและระบบอำนวยการรบนั้น เป็นสิ่งทีทางกองทัพเรือไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอเป็นอย่างยิ่ง แต่ว่ากองทัพเรือก็ต้องถูกบีบบังคับให้ยอมรับการตัดสินใจของทางผู้บริหารระดับสูงของกระทรวง
และหลังจากนายอาหมัด ซาฮิด พ้นจากการดำรงตำแหน่ง นายนาจิบ ราซัค ก็เข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมต่อมา ซึ่งแน่นอนว่านี่ทำให้อดีตนายกรัฐมนตรีเข้าไปมีส่วนเชื่อมโยงกับกรณีความไม่โปร่งใสนี้
การเปิดโปงรายงานข้อมูลการสืบสวนของคณะกรรมการยังได้แสดงให้เห็นว่าบริษัทอู่ต่อเรือบูสเตดนั้นได้ยื่นเรื่องเข้าสมัครให้ไปอยู่ในแผนงานของสำนักงานวางแผนเศรษฐกิจมาเลเซีย (Economic Planning Unit: EPU) เพื่อที่จะดำเนินการต่อเรือทั้งหกลำ โดยมีการระบุในจดหมายขอเข้าสมัครว่าได้มีการหารือกับนายนาจิบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ณ เวลานั้นไปแล้วในช่วงเดือน ต.ค. 2550
ส่วนทาง EPU ก็ได้ตอบกลับจดหมายว่าไม่มีสิ่งใดที่จะเป็นอุปสรรคในการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจะเริ่มเจรจากับบริษัทอู่ต่อเรือบูสเตด ในประเด็นเรื่องการจัดซื้อเรือ
ต่อมาเมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2551 นายนาจิบในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมก็ได้ร้องขอให้กระทรวงการคลังให้ความเห็นชอบต่อหนังสือแสดงเจตจำนงของบริษัทอู่ต่อเรือบูสเตด
คณะกรรมการสืบสวนยังได้ตั้งข้อสังเกตุเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่ตามมาภายหลังระหว่างบริษัทอู่ต่อเรือบูสเตดและตัวนายนาจิบที่ได้เข้าไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในช่วงปี 2552 ซึ่งจะมีความเกี่ยวข้องร่วมกันทั้งในโครงการ LCS และโครงการเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งอีกโครงการหนึ่ง
@ค่าใช้จ่ายที่เริ่มจะสูงเกินไป
รายงานที่มีการเปิดโปงนั้นยังได้กล่าวถึงข้อสังเกตว่าค่าใช้จ่ายโดยประมาณของการต่อเรือหกลำที่ระบุไว้ว่าอยู่ที่ 9 พันล้านริงกิต(72,553.1 ล้านบาท) นั้นแท้จริงแล้วอาจจะพุ่งขึ้นไปสูงถึง 1.145 หมื่นล้านริงกิต (92,303.7 ล้านบาท) ในช่วงประมาณกลางปี 2562
อนึ่งภายใต้ระเบียบการอนุมัติโครงการที่อยู่ในแผน EPU ในช่วงเบื้องต้นนั้นได้กำหนดเพดานวงเงินของโครงการเอาไว้ว่าจะต้องอยู่ที่ 9 พันล้านริงกิต
อย่างไรก็ตามในวันที่ 11 ธ.ค. 2557 กระทรวงการคลังได้มีการอนุมัติคำขอร้องของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสำหรับต้นทุนดอกเบี้ยเงินกู้คิดเป็นมูลค่า 128.6 ล้านริงกิต (1,036.7 ล้านบาท) ซึ่งเป็นการจ่ายร่วมกันในอัตราส่วน 50 ต่อ 50 ระหว่างรัฐบาลและบริษัทอู่ต่อเรือบูสเตด ส่งผลทำให้มูลค่าของโครงการ LCS นั้นพุ่งไปอยู่ที่ 9.128 พันล้านริงกิต (73,584.9 ล้านบาท)
ต่อมาก็มีการอนุมัติการจ่ายเงินอีกรายการจากกระทรวงการคลัง หลังจากที่มีการเจรจากันโดยตรงเพื่อจะให้มีการจัดซื้อระบบสนับสนุนด้านโลจิสติกส์แบบบูรณาการหรือ ILS คิดเป็นมูลค่ารวม 600 ล้านริงกิต (4,836.8 ล้านบาท) โดยจ่ายให้กับบริษัทอู่ต่อเรือบูสเตด ส่งผลทำให้ต้นทุนโครงการต่อเรือพุ่งขึ้นไปอีก โดยไปอยู่ที่ 9.7286 พันล้านริงกิต (78,426.7 ล้านบาท)
คณะกรรมการได้มีการเน้นย้ำด้วยว่าในวันที่ 16 ก.ค. 2562 บริษัทอู่ต่อเรือบูสเตดได้มีการขอเพิ่มต้นทุนสำหรับโครงการอีก 1.416 พันล้านริงกิต (11,415 ล้านบาท) โดยอ้างถึงต้นทุนทางตรง 58.41 ล้านริงกิต (470 ล้านบาท) และต้นทุนทางอ้อม 1.358 ล้านริงกิต (10,947,461 บาท) ในส่วนของการเปลี่ยนอุปกรณ์ทั้งหมดและตารางในการใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้
ส่งผลทำให้ต้นทุนโครงการโดยรวมนั้นประมาณการณ์อยู่ที่ 1.1145 หมื่นล้านตามที่ได้เรียนไปแล้ว
พล.ร.ท. อาหมัด รามลี โมห์ด นอร์ อดีตกรรมการผู้จัดการบริษัทอู่ต่อเรือบูสเตดถูกตัดสินว่าไม่มีความผิด (อ้างอิงวิดีโอจาก The Star)
@ความสูญเสียที่เกิดขึ้นซึ่งมาจากทั้งการจัดการที่ผิดพลาดและความผิดปกติ
รายงานการบัญชีทางนิติวิทยาศาสตร์ที่ถูกเปิดโปงเกี่ยวกับโครงการ LCS นั้นระบุถึงกรณีที่กลุ่มบริษัทบูสเตดอาจจะต้องเผชิญกับความสูญเสียถึง 890 ล้านริงกิต (7,174.6 ล้านบาท)
โดยข้อมูลในรายงานได้ระบุถึงความสูญเสียโดยรวมถึง 23.368 ล้านริงกิต (188,380.1 ล้านบาท) อันเนื่องมาจากการจ่ายเงินให้กับ “บริการปลอมๆ” โดยจ่ายให้กับบริษัทจำนวนสามแห่งซึ่งระบุว่าดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งกับโครงการ LCS ในช่วงการจ่ายเงินระหว่างปี 2554-2555
ยิ่งไปกว่านั้นรายงานยังได้ระบุถึงใบแจ้งหนี้สำหรับการให้บริการการประเมินผลทางเทคนิค ซึ่งการบริการที่ว่านี้ไม่มีอยู่จริงแต่อย่างใด แต่จุดประสงค์ของใบแจ้งหนี้นั้นก็เพื่อต้องการการฟอกเงินออกไปและมีการระบุชื่อบริษัทอลิซมารีน (Alizes Marine) เป็นผู้ดำเนินการให้บริการประเมิน ซึ่งมีการต้องสงสัยกันว่าเงินที่ระบุว่าจะไปให้กับบริษัทอลิซมารีนนั้นแท้จริงแล้วถูกส่งไปให้กับบริษัทอีกแห่งที่จดทะเบียนในเมืองลาบวน
อีกกรณีที่น่าสงสัยก็คือว่ามีบริษัทอีกแห่งที่ชื่อว่า Contraves Electrodynamics Sdn Bhd ถูกระบุว่าบริษัทนี้นั้นได้รับสัญญาเป็นจำนวนหลายสัญญาเพื่อก่อสร้างศูนย์เทคโนโลยีแบบบูรณาการบูสเตด (Boustead Integrated Technology Centre) คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 305 ล้านริงกิต (2,458.7 ล้านบาท)
อย่างไรก็ตามรายละเอียดเรื่องการก่อสร้างศูนย์เทคโนโลยีดังกล่าวนี้นั้นแท้จริงแล้วถูกระบุลงไปแล้วในรายละเอียดของสัญญาอีกฉบับซึ่งทางบริษัทอู่ต่อเรือบูสเตดมอบให้กับบริษัท Contraves Advanced Devices Sdn Bhd เพื่อให้บริษัทนี้ดำเนินการจัดหา ระบบอำนวยการรบคิดเป็นมูลค่ารวมทั้งหมด 898 ล้านริงกิต (7,239.1 ล้านบาท)
@ผู้หญิงซึ่งมีความเชื่อมโยงไปถึงบริษัทหลายแห่งที่ถูกใช้เพื่อฟอกเงิน
อีกประเด็นที่รายงานสืบสวนได้เน้นย้ำว่ามีความน่าสงสัยก็คือการมีส่วนร่วมของสุภาพสตรีที่ชื่อว่านางไซนาบ โมห์ด ซัลเลห์
นางไซนาบเป็นผู้อำนวยการบริษัทชื่อว่า Sousmarin Armada Sdn Bhd ซึ่งบริษัทนี้เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในมาเลเซีย และพบว่าได้รับเงินไปถึง 8.26 ล้านริงกิต (66,587,651 บาท) จากค่าใช้จ่ายในด้านบริการประเมินผลทางเทคนิคในโครงการ LCS ซึ่งรายงานระบุว่ามีค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมด 23.368 ล้านริงกิต (188.3 ล้านบาท) และนางไซนาบคนนี้ยังพบว่าเป็นคนเดียวกับที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทอลิซมารีนและอีกสองบริษัทที่ถูกชื่อว่าอลิซมารีนเหมือนกัน แต่ว่าอยู่ในประเทศมอลตา และจดทะเบียนอยู่ที่เมืองลาบวนในมาเลเซีย
ผลของการตรวจสอบบัญชียังพบว่านางไซนาบนั้นเป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการของบริษัทอีกแห่งชื่อว่า Intralogistics Limited ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นบริษัทแม่ของอลิซมารีนลาบวน ด้วยเช่นกัน
ขณะที่นายราฟิซี รามลี รองประธาน และอดีต ส.ส.พรรคยุติธรรมของประชาชนได้กล่าวผ่านเฟซบุ๊คเมื่อวันที่ 18 ส.ค.ที่ผ่านมาว่าในประเด็นที่ว่ามีการระบุว่า Alizes Marine France นั้นควรจะเป็นซัพพลายเออร์ผู้จัดหาชิ้นส่วนอะไหล่ให้กับโครงการ LCS
อย่างไรก็ตามจากข้อมูลทางบัญชีพบว่าบริษัท Alizes Marine France ซึ่งรับเงินค่าอะไหล่ไปนั้นก็ไม่ใช่บริษัทที่จดทะเบียนในฝรั่งเศสแต่อย่างใด แต่ว่ากลับมีบัญชีชื่อว่า Alizes Marine Limited อยู่ในประเทศสิงคโปร์
พอมาถึงวันที่ 22 ส.ค.ที่ผ่านมา นายราฟิซีได้กล่าวเพิ่มเติมว่านายอับดุลลาทิฟ อาห์หมัด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีของมาเลเซียคนปัจจุบันนั้นก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตโครงการ LCS เนื่องจากว่าเขามีความเชื่อมโยงกับบริษัทนอกอาณาเขตอีกจำนวนสองแห่งซึ่งในชื่อว่า Alizes Marine Limited และ Alizes Marine Labuan ด้วยเช่นกัน
โดยนายอับดุล ลาทิฟฟ์ เองก็เคยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมในช่วงก่อนการเลือกตั้งปี 2556
นายราฟิซียังได้อ้างถึงหน้า 96 ของรายงานนิติวิทยาศาสตร์ทางบัญชี ซึ่งในหน้านี้นั้นพบว่ามีการคาดดำไว้หลายจุด แต่อย่างไรก็ตาม มีถ้อยคำระบุว่าภรรยาของนายอับดุล ลาทิฟฟ์ก็คือนางไซนาบ (ไม่ระบุนามสกุล ชื่ออื่นๆตามมา)
และหลังจากการเปิดโปงก็ทำให้เกิดความสับสนตามมาเนื่องจากว่าในสังคมออนไลน์ของมาเลเซียได้ไปกล่าวหาผู้หญิงอีกคนหนึ่งที่ชื่อว่าเอ็มดีม ไซนาบ โมห์ด ซัลเลห์ ซึ่งเธอดำรงตำแหน่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของบริษัท Dialog ซึ่งเป็นบริษัทว่าด้วยน้ำมันและแก๊ส
ขณะที่นายอับดุล ลาทิฟฟ์ก็ได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาแล้วโดยระบุว่านางไซนาบ โมห์ด ซัลเลห์ ที่ถูกระบุในข่าวนั้นไม่ใช่ภรรยาเขา และไม่ได้ระบุรายละเอียดอะไรเพิ่มเติมอีก
เรียบเรียงจาก:https://www.channelnewsasia.com/asia/lcs-littoral-combat-ship-malaysia-navy-declassified-reports-forensic-audit-investigation-committee-2899851,https://asiatimes.com/2022/08/najib-era-ship-scandal-resurfaces-to-sink-umno/
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.ลับปานามาเปเปอร์สรับโอน 1.5 พัน ล.โครงการเรือรบมาเลเซีย 7.2 หมื่นล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ทร.มาเลเซียเซ็นสัญญาต่อเรือรบ 6 ลำ 7.2 หมื่น ล.เกือบสิบปี ยังไม่ส่งมอบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เผยเครือข่าย บ.เปลือกหอยอังกฤษ เอื้อผลประโยชน์คนใกล้ชิด ปธน.ปูติน
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉขบวนการถ่ายน้ำมันรัสเซียนอกชายฝั่งอังกฤษ ส่งรายได้หนุนสงครามยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอย 'บ.อิสราเอล' ส่งออกสปายแวร์เพกาซัส ให้ รบ.ตปท.สอดแนมประชาชน
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง 'อูเบอร์ไฟล์'แฉเอกชนล็อบบี้โอลิการ์ชแลกทำธุรกิจแท็กซี่รัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: สตง.อังกฤษสอบนโยบาย 'บอริส จอห์นสัน' ส่อย้อมแมวสร้าง รพ. 40 แห่ง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเส้นทางฟอสเฟตซีเรีย สู่โรงงานปุ๋ยยุโรป ส่งรายได้เข้าโอลิการ์ชรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: จนท.องค์การเภสัชอินเดียรับสินบน แลกอนุมัติยกเลิกทดลองอินซูลินระยะ 3
- ส่องคดีทุจริตโลก: ธนาคารเครือยักษ์ใหญ่รัฐบอลติก เอี่ยวฟอกเงินหมื่น ล.โอลิการ์ชรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: ปลด รมต.สธ.เวียดนาม เซ่นปมขายชุดตรวจโควิดแพง 45% เอกชนฟันกำไร 709 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:นักธุรกิจจีนเอี่ยวคดีสินบน อดีตที่ปรึกษาฮุนเซน ถือหุ้นสโมสรเบอร์มิงแฮม
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเส้นทางการเงินคดีให้สินบนนายพลจีน สู่คฤหาสน์พันล้าน ณ แวนคูเวอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงข้อพิรุธธุรกรรม เชื่อมโยงทอง 3 ตันประเทศกินี ส่อถูกฟอกในอังกฤษ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ย้อมแมวจรวด,โดรน-กินส่วนต่างวิทยุ 3 พันล. ต้นเหตุรัสเซียติดหล่มในยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดข้อพิรุธเอกชนไร้ประสบการณ์ ชนะสัญญาชุด PPE รบ.ออสเตรเลีย หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอยสินบนเรือดำน้ำมาเลเซีย พัน ล.! ฝรั่งเศสสั่งสอบ บ.ต่อเรือรบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'รมต.สเปน'โดนสอบ ใช้ช่องพิเศษอนุมัติสัญญาโควิดเอื้อ บ.พวกพ้อง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมคอรัปชั่นในกองทัพรัสเซีย-งบปี 65 รวม 2 ล้าน ล.ไม่รู้ไปไหนบ้าง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเครือข่ายขโมยเงินสนับสนุนอาหารอียู 694 ล. นำไปซื้อแฟลต-กระเป๋าหรู
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ไมโครซอฟท์'ถูกอดีตลูกจ้างแฉ-พนง.รวมหัว บ.คู่ค้า,จนท.รัฐ ทุจริตหลาย ปท.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเครือข่าย บ.เปลือกนอกหนุนเผด็จการซีเรีย-หลบมาตรการคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง บ.กฎหมายยักษ์ใหญ่ รับงานช่วยโอลิการ์ชรัสเซียรอดมาตรการคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง 'ดูไบ' แหล่งกบดานเศรษฐีหนีคดี หลังโลกตามอายัดเงินจากรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อีริคสัน' ส่อเอี่ยวจ่ายเงินให้กลุ่ม ISIS แลกทำธุรกิจใน 'โมซุล'
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเครือข่ายธนาคารดันสเก เอสโตเนีย ไฉนเป็นเส้นทางฟอกเงิน 5.1 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อังกฤษ' ยกเลิกวีซ่านักลงทุน หวั่นเปิดช่องฟอกเงิน โต้ 'วิกฤติยูเครน'
- ส่องคดีทุจริตโลก: อายุน้อยร้อย ล.-เมื่อเด็กเป็นเจ้าของ บ.ในลักเซมเบิร์กเกือบ 300 แห่ง
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อังกฤษ'ยึดทรัพย์ทุจริต'อาเซอร์ไบจาน' แสน ล.โยงฟอกเงินผ่าน'เอสโตเนีย'
- ส่องคดีทุจริตโลก:'คูเวต'เร่งสอบ ปมจัดซื้อเครื่องบินไต้ฝุ่น 2.9 แสน ล.แพง
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อัยการเบอร์ลิน'สอบผู้บริหารพรรคกรีนส์-รมต.อนุมัติโบนัสโควิดไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.อิสราเอล จ่อตั้ง กก.สอบปมสินบนเรือดำน้ำเยอรมนี หลังเรื่องแดงปี 59
- ส่องคดีทุจริตโลก:'เพนตากอน'ถลุงงบหลายแสน ล.ไร้ประสิทธิภาพ-เอื้อปย.เอกชนช่วงสงครามอัฟกาฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโก' ปธน.เบลารุส บุคคลคอร์รัปชันแห่งปี 64