อย่างไรก็ตามในการสัมภาษณ์กับนิตยสารไทมส์ครั้งหนึ่ง นายมาร์ติน เลอร์เนอร์ อดีตภัณฑารักษ์ด้านศิลปะเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของพิพิธภัณฑ์ได้ออกมายอมรับว่าเขานั้นได้พึ่งพาสิ่งที่เรียกว่าเป็น “เจตนาดีและความซื่อสัตย์” ของผู้ขายงานโบราณวัตถุอย่างเช่นนายแลตซ์ฟอร์ดเพียงอย่างเดียวเท่านั้นแทนที่จะมีกระบวนการค้นคว้าถึงต้นกำเนิดของโบราณวัตถุชิ้นนั้นอย่างแท้จริง
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้ขอนำเสนอประเด็นความไม่โปร่งใส กับการจัดการพิพิธภัณฑ์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกา หรือที่รู้จักกันในชื่อพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิแทนของนิวยอร์ก (New York’s Metropolitan Museum of Art หรือ MET)
โดยสมาคมผู้สื่อข่าวสืบสวนสอบสวนนานาชาติ (ICIJ) ได้มีการเปิดเผยข้อมูลว่าพิพิธภัณฑ์แห่งนี้นั้นกำลังเผชิญกับประเด็นข้อสงสัยต่างๆจนนำไปสู่การตรวจสอบจากทางเจ้าหน้าที่ตำรวจแหละเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบเกี่ยวกับสืบสวนขบวนการลักลอบขนงานศิลปะระดับนานาชาติมากขึ้นเรื่อยๆ
นับตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมานั้นมีรายงานข่าวว่าสํานักงานอัยการเขตแมนฮัตตันได้มีการออกหมายยึดทรัพย์เป็นจำนวน 9หมายด้วยกัน เพื่อที่จะเข้ายึดงานโบราณวัตถุจากพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ซึ่งข้อมูลที่ทาง ICIJ ได้รวบรวมและเผยแพร่ร่วมกันกับเว็บไซต์ข่าว Finance Uncovered พบว่าหมายยึดทรัพย์จำนวน 6 จาก 9 หมายนั้นเป็นหมายที่ออกเมื่อปี 2564 เพียงปีเดียว และมีการยึดทรัพย์ครอบคลุมไปแล้วทั้งสิ้นมากกว่า 30 ชิ้นงานโบราณวัตถุ
สำหรับการเข้ายึดครั้งใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นเมื่อช่วงเดือน ก.ค.ที่ผ่านมานี้ เมื่อเจ้าหน้าที่จากทั้งหน่วยงานท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่รัฐบาลกลางได้เข้ายึดงานโบราณวัตถุที่ถูกขโมยได้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 21 ชิ้น คิดเป็นมูลค่างานศิลปะรวมกว่า 11 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (403.4 ล้านบาท) ซึ่งโบราณวัตถุที่ถูกตรวจยึดมาได้นั้นก็มีทั้งชิ้นส่วนหินอ่อนของส่วนหัวของเทพีอธีนา เทพธิดากรีก ซึ่งมีอายุอยู่ที่ประมาณ 200 ปีก่อนคริสตศักราช และรูปปั้นคู่ของพี่น้องชาวกรีกในตํานานได้แก่แคสทอร์และพอลลักซ์ ซึ่งมีอายุของรูปปั้นย้อนไปถึงสมัยจักรวรรดิโรมัน
โบราณวัตถุที่ถูกจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ MET (อ้างอิงวิดีโอจาก Art Trip)
นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าเมื่อวันที่ 30 ส.ค.ที่ผ่านมา ผู้พิพากษายังได้มีการเซ็นอนุมัติหมายยึดอีกรายการหนึ่งซึ่งระบุถึงรายการที่ยึดคือคอลเลกชันงานศิลปะอันมีค่ามากมาย อาทิ รูปปั้นของเทพในศาสนาฮินดูจากศตวรรษที่ 6 เป็นต้น ซึ่งโบราณวัตถุดังกล่าวนั้นยังคงอยู่บนแคตตาล็อกดิจิทัลของพิพิธภัณฑ์ ณ เวลานี้
อย่างไรก็ดี การเข้าตรวจยึดทั้งสองครั้งล่าสุดยังไม่เคยมีการรายงานออกมาก่อน
“ตัวเลขขอกโบราณวัตถุนั้นกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว” นายเทส เดวิส ผู้อํานวยการบริหารของแนวร่วมโบราณวัตถุ ซึ่งเป็นองค์กรซึ่งเป็นรณรงค์ต่อต้านการค้าสิ่งประดิษฐ์ทางวัฒนธรรมกล่าวถึงโบราณวัตถุที่ทางพิพิธภัณฑ์ได้ส่งไปให้กับเจ้าหน้าที่ทางการสหรัฐฯ หรือว่าส่งคืนให้กับประเทศต้นทาง และกล่าวต่อถึงบริบทนี้ว่านี่หมายถึงการที่คุณนั้นสามารถจะตกเป็นข่าวได้หลายครั้งเกี่ยวกับการครอบครองทรัพย์สินที่ถูกขโมยมา และไม่ต้องรับผลกระทบที่ตามมาใดๆเลย
ขณะที่ทางด้านของนายเคนเน็ธ ไวน์ โฆษกของพิพิธภัณฑ์กล่าวว่าพิพิธภัณฑ์นั้นได้ดำเนินการอย่างมุ่งมั่นและมีความรับผิดชอบในการที่จะรวบรวมโบราณวัตถุต่างๆ และพิพิธภัณฑ์ก็มีภาระผูกพันทั้งในการวิจัย บันทึกความเป็นเจ้าของผลงาน และต้องดำเนินการอย่างโปร่งใสทุกอย่างเกี่ยวกับโบราณวัตถุเหล่านี้ ส่วนกรณีการเข้าตรวจยึดเมื่อเดือน ก.ค.ที่ผ่านมานั้น ขอเรียนว่าพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้ให้ความสนับสนุนต่อการสอบสวนของทั้งอัยการเขต และสนับสนุนเกี่ยวกับการส่งคืนชิ้นส่วนต่างๆกลับสู่ประเทศต้นทาง
@ต้นกำเนิดของโบราณวัตถุอันน่าสงสัย
มีรายงานข่าวว่ามีหลายพิพิธภัณฑ์ ณ เวลานี้นั้นกำลังเผชิญกับแรงกดดันที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อให้ส่งคืนโบราณวัตถุที่มีต้นทางไม่ชัดเจนกลับคืนสู่ประเทศที่ถือว่าเป็นต้นกำเนิดของโบราณวัตถุที่ว่านี้จริงๆ แต่อย่างไรก็ตามหน่วยงานที่ดำเนินการสืบสวนนั้นค่อนข้างที่จะให้ความสนใจต่อพิพิธภัณฑ์ MET แห่งนี้ และหลังจากที่เริ่มจะมีการทำข่าวของสื่อมวลชน ก็ทำให้เห่าบรรดาผู้เชี่ยวชาญตั้งข้อสงสัยกันว่าพิพิธภัณฑ์นี้นั้นอาจจะผูกบีบให้ดำเนินการบางอย่างมากกว่าแนวปฏิบัติที่ตัวเองควรจะทำ ส่งผลทำให้พิพิธภัณฑ์สามารถครอบครองชุดโบราณวัตถุได้เป็นจำนวนมาก
รายงานจาก ICIJ เมื่อปี 2564 ที่ผ่านมาพบว่าโบราณวัตถุจากเอเชียหลายรายการของพิพิธภัณฑ์ MET ซึ่งรวมไปถึงชุดโบราณวัตถุจากกัมพูชานั้นแท้จริงแล้วถูกส่งผ่านไปยังมือของนายดักลาส แลตช์ฟอร์ด นักค้าโบราณวัตถุชาวอังกฤษ ขณะที่สำนักข่าวนิวยอร์กไทม์ได้รายงานเมื่อเร็วๆนี้ว่ารัฐบาลกัมพูชานั้นได้เรียกร้องไปยังสหรัฐฯให้กดดันพิพิธภัณฑ์ MET คืนโบราณวัตถุที่มีความเกี่ยวข้องกับนายแลตซ์ฟอร์ดเป็นจำนวนนับสิบรายการ
ทั้งนี้มีผู้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์พิพิธภัณฑ์ MET หลายราย โดยระบุว่านโยบายคืนโบราณวัตถุของพิพิธภัณฑ์นั้นดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่ไร้เหตุผลเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่ามีการบีบบังคับให้หลายประเทศซึ่งอ้างความครอบครองสิทธิในโบราณวัตถุต้องไปหาหลักฐานที่ระบุมาว่าโบราณวัตถุชิ้นดังกล่าวนั้นถูกขโมยมาหรือว่าถูกส่งออกอย่างผิดกฎหมายจริง ซึ่งดูแล้วนี่เป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยในการจะหาหลักฐานที่ว่านี้มาได้
ยกตัวอย่างเช่นพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เคยเรียกร้องไปยังกัมพูชาว่าให้หาหลักฐานว่าโบราณวัตถุซึ่งมีความเชื่อมโยงอยู่กับนายแลตซ์ฟอร์ดนั้นถูกขโมยมาเป็นต้น
ทั้งนี้แม้จะมีรายงานว่าโบราณวัตถุเขมรจำนวนมากนั้นได้มาในช่วงยุคสมัยแห่งการปล้มสะดมโบราณวัตถุ และโบราณวัตถุบางรายการที่ว่ามานั้นก็ทั้งถูกขายหรือว่าถูกบริจาคให้กับพิพิธภัณฑ์ โดยผู้ที่ขายก็คือพ่อค้างานศิลปะซึ่งถูกฟ้องร้องและถูกตัดสินว่ามีความผิด
อย่างไรก็ตามในการสัมภาษณ์กับนิตยสารไทมส์ครั้งหนึ่ง นายมาร์ติน เลอร์เนอร์ อดีตภัณฑารักษ์ด้านศิลปะเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของพิพิธภัณฑ์ได้ออกมายอมรับว่าเขานั้นได้พึ่งพาสิ่งที่เรียกว่าเป็น “เจตนาดีและความซื่อสัตย์” ของผู้ขายงานโบราณวัตถุอย่างเช่นนายแลตซ์ฟอร์ดเพียงอย่างเดียวเท่านั้นแทนที่จะมีกระบวนการค้นคว้าถึงต้นกำเนิดของโบราณวัตถุชิ้นนั้นอย่างแท้จริง
โบราณวัตถุของกัมพูชาที่คาดว่าถูกขโมยมา ถูกจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ MET (อ้างอิงวิดีโอจาก Khmer Times)
โดยในฐานะที่ว่าเป็นสถาบันสาธารณะที่มีความสำคัญ พิพิธภัณฑ์ MET นั้นจึงอาศัยชื่อเสียงดังกล่าวมาเพื่อความอยู่รอดของตัวเอง อาทิ ชื่อเสียงที่ว่านี้นำมาซึ่งการบริจาคเงินและนำมาซึ่งการจัดสรรกองทุนสาธารณะจากทางการนครนิวยอร์กเข้าสู่พิพิธภัณฑ์ MET
ทว่าเมื่อมีข่าวอื้อฉาวเรื่องโบราณวัตถุ มีทั้งการตรวจสอบและจับกุมที่เพิ่มมากขึ้นโดยเจ้าหน้าที่ของทางรัฐบาล สิ่งนี้ก็ส่งผลกระทบในแง่ลบให้กับชื่อเสียงของพิพิธภัณฑ์ MET เป็นอย่างยิ่ง
ย้อนไปเมื่อเดือน ก.ย. 2564 หรือหนึ่งปีที่ผ่านมา มีรายงานว่าทางการได้ยึดโบราณวัตุได้อีกสามชิ้นจากพิพิธภัณฑ์ MET ซึ่งทั้งหมดนั้นเคยเป็นของนายไมเคิล สไตน์ฮาร์ดท์ มหาเศรษฐีผู้บริจาค ซึ่งกระบวนการเข้าตรวจยึดนั้นเป็นส่วนหนึ่งข้อตกลงผัดผ่อนการฟ้องคดีอาญาที่ทำขึ้นระหว่างนายสไตน์ฮาร์ดท์และอัยการเขตแมนฮัตตัน โดยสำนักงานอัยการนั้นต้องการให้มีการริบทรัพย์สินมูลค่ากว่า 70 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (2,566.6 ล้านบาท) ซึ่งเป็นโบราณวัตถุที่พบว่าถูกขโมยมา และบางรายการก็ถูกพบว่าถูกยืมไปใช้จัดแสดงโดยพิพิธภัณฑ์
ข้อตกลงนี้ยังได้ห้ามไม่ให้นายสไตน์ฮาร์ดท์ดำเนินการสะสมโบราณวัตถุตลอดชีวิต ขณะที่แกลลอรี่แสดงโบราณวัตถุกรีกในพิพิธภัณฑ์ MET นั้นก็ถูกพบว่าตั้งชื่อตามนายสไตน์ฮาร์ดท์และภรรยา ส่วนทางด้านของพิพิธภัณฑ์ MET ก็ไม่ได้แสดงความเห็นแต่อย่างใดต่อกรณีการยึดทรัพย์นายสไตน์ฮาร์ดท์ และก็ไม่ได้โพสต์อะไรที่เป็นสาธารณะเกี่ยวกับการเข้ายึด เช่นเดียวกับโฆษกของทางพิพิธภัณฑ์ที่ไม่ยอมจะตอบคำถามใดๆเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างพิพิธภัณฑ์กับนายสไตน์ฮาร์ดท์ด้วยเช่นกัน
@เรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับการลักลอบนำเข้าวัตถุสมัยอียิปต์โบราณ
ในรายงานเกี่ยวกับความไม่โปร่งใสของการนำเข้าโบราณวัตถุอีกรายการ ระบุว่าเมื่อปี 2562 อัยการได้มีการออกคำสั่งยึดโลงศพทองคำขนาดใหญ่จากพิพิธภัณฑ์ ซึ่งจากการตรวจสอบนั้นพบว่าทางพิพิธภัณฑ์ได้มีการซื้อโบราณวัตถุมาจากผู้ค้าวัตถุโบราณที่มีพฤติกรรมปลอมแปลงเนื้อหาของเอกสารที่ระบุต้นต้นทางของโบราณวัตถุชิ้นนั้น
เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานในนครนิวยอร์กยังได้มีการตรวจสอบพบว่าแท้จริงแล้วโบราณวัตถุชิ้นดังกล่าวถูกขโมยมาจากอียิปต์ แล้วภัณฑารักษ์ของพิพิธภัณฑ์ก็ไปซื้อโบราณวัตถุมาอีกทีหนึ่ง แล้วสั่งให้มีการขนส่งโบราณวัตถุนี้เข้ามายังสหรัฐฯ
จนเป็นเหตุทำให้ทางอัยการนั้นได้มีการการปักธงแดงสำหรับแหล่งที่มาต้นทางของโบราณวัตถุชิ้นนี้ไปแล้ว
ขณะที่ทางด้านของพิพิธภัณฑ์ก็ได้มีการตอบคำถามที่สงสัยเกี่ยวกับโลงศพทองคำโดยพิพิธภัณฑ์อ้างว่าตัวเองก็ตกเป็นเหยื่อขององค์กรอาชญากรรมระหว่างประเทศ ที่มีพฤติกรรมหลอกลวงลูกจ้างของพิพิธภัณฑ์ โดยที่ผ่านมานั้นพิพิธภัณฑ์ได้มีการเสริมสร้างมาตรการในการจัดหาคอลเลกชันของตัวเองอยู่แล้วเพื่อที่จะทำให้มีข้อกำหนดที่เข้มงวดมากขึ้นในการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร และมีการออกแบบแนวทางภายในองค์กรเพิ่มเติมสำหรับการวิจัยไปถึงที่มาของการได้โบราณวัตถุชิ้นนั้น อาทิ การตรวจสอบเอกสาร และการติดต่อไปถึงประเทศต้นทางหลายๆประเทศ
อย่างไรก็ดี ในช่วงเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ทางการได้มีการยึดวัตถุโบราณเพิ่มเติมอีกห้ารายการจากคอลเลกชันอียิปต์ของพิพิธภัณฑ์ ซึ่งเหตุการดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นหลังจากเหตุการอื้อฉาวที่อดีตผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ถูกจับกุมในฝรั่งเศสในข้อหาว่าสมรู้ร่วมคิดกับการลักลอบขนโบราณวัตถุ
ย้อนไปเมื่อเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา ก็มีเหตุการณ์ที่อัยการเขตแมนฮัตตันได้ออกหมายยึดทรัพย์อีกสองหมายเพื่อจะยึดโบราณวัตถุอีกสองชิ้นจากพิพิธภัณฑ์ MET ที่ถูกกล่าวหาว่าถูกขโมยมาเช่นกัน ซึ่งทั้งสองชิ้นนี้ก็ได้แก่รูปปั้นของผู้หญิงที่ถูกคลุมด้วยผ้าคลุมหน้าซึ่งมาจากลิเบียและประติมากรรมสําริดจากอียิปต์ที่แสดงภาพร่างคุกเข่าที่ของผู้ที่คาดว่าน่าจะเป็นผู้ปกครองหรือนักบวช
ทั้งนี้ทางการสหรัฐฯได้พยายามที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องเหล่านี้เช่นกัน โดยได้มีการแต่งตั้งให้นายแมทธิว บ็อกดานอส เป็นผู้นำทีมพนักงานสอบสวนที่รับผิดชอบในการเข้าตรวจยึด ซึ่งเขายังเป็นผู้ช่วยอัยการเขตในแมนฮัตตัน และมีประวัติการรับราชการทหารในกองทัพสหรัฐฯ ในบทบาทหน้าที่เพื่อตามทวงคืนโบราณวัตถุที่ถูกปลันไปจากพิพิธภัณฑ์ที่ประเทศอิรัก ซึ่งทีมของเขานั้นได้มีการทำงานร่วมกับกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของสหรัฐฯ เพื่อที่จะดำเนินการสืบสวนขบวนการค้าโบราณวัตถุ
ขณะที่นายบ็อกดาเนสก็ได้ให้สัมภาษณ์สื่อว่าการเข้าตรวจยึดเมื่อเดือน ก.ค.ที่ผ่านมีนั้นมีความเชื่อมโยงไปถึงรูปปั้นจำนวนหนึ่งที่ถูกเคลื่อนย้ายโดยเครือข่ายระดับสูงของนักค้าโบราณวัตถุจำนวนสองรายด้วยกันได้แก่นายจิอาโคโม เมดิชิ และนายเกียนฟรังโก เบคชินา ซึ่งทั้งสองรายนี้นั้นถูกตัดสินแล้วว่ามีความผิดฐานค้าโบราณวัตถุ และนอกจากนี้ก็ยังเกี่ยวโยงไปถึงนายปาสเควล คาเมรา นักค้าวัตถุโบราณอีกรายที่เคยมีคดีอยู่ในศาลนิวยอร์กในข้อหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้าวัตถุของอิตาลีโดยผิดกฎหมาย แต่ว่าเขานั้นเสียชีวิตไปในปี 2538
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการเข้าตรวจยึดเป็นจำนวนหลายครั้ง ก็ยังไม่เคยมีการตั้งข้อหาว่าพิพิธภัณฑ์ MET ว่ามีความผิดฐานมีส่วนเกี่ยวข้องมาก่อนแต่อย่างใด
อนึ่งคอลเล็กชันวัตถุโบราณของพิพิธภัณฑ์ MET นั้นถือได้ว่าเป็นคอลเล็กชันที่มีโบราณวัตถุเป็นจำนวนมากที่สุดในโลก และแน่นอนว่าสิ่งที่ตามมาก็คือความรับผิดชอบที่มากขึ้น สำหรับกรณีการป้องกันการครอบครองงานที่ถูกปล้นมา ซึ่งนี่ถือว่าเป็นเรื่องปกติที่พึงกระทำกันอยู่แล้ว โดยพิพิธภัณฑ์จะต้องมีบันทึกต้นกำเนิดที่มาของวัตถุนั้นแม้ว่าจะเป็นวัตถุที่ครอบครองมาเป็นระยะเวลาหลายสิบปีแล้วก็ตาม
นายบ็อกดาเนสกล่าวต่อด้วยว่าสำนักงานของเขาไม่ได้ดำเนินการสืบสวนพิพิธภัณฑ์ MET แต่อย่างไรก็ตามก็มีการนำเอาชิ้นส่วนโบราณวัตถุที่สำคัญๆหลายรายการเข้าสู่กระบวนการสืบสวนเพื่อที่จะเจาะจงไปยังผู้ค้าโบราณวัตถุที่ต้องสงสัย ซึ่งในห้าปีที่ปฏิบัติการณ์ของเขาได้ดำเนินไป หน่วยงานของเขานั้นเริ่มที่จะเห็นภาพรวมของโครงข่ายในระดันานาชาติมากขึ้นแล้ว และก็ได้รับข้อมูลมาจากแหล่งข่าวมากขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งในอนาคตเขาคาดว่าน่าจะมีการตรวจยึดได้มากกว่านี้อีก
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยข้อมูล 'นาจิบ'-ปธ.พรรคอัมโนเอี่ยวโครงการเรือรบฉาว 7.2 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.ลับปานามาเปเปอร์สรับโอน 1.5 พัน ล.โครงการเรือรบมาเลเซีย 7.2 หมื่นล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ทร.มาเลเซียเซ็นสัญญาต่อเรือรบ 6 ลำ 7.2 หมื่น ล.เกือบสิบปี ยังไม่ส่งมอบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เผยเครือข่าย บ.เปลือกหอยอังกฤษ เอื้อผลประโยชน์คนใกล้ชิด ปธน.ปูติน
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉขบวนการถ่ายน้ำมันรัสเซียนอกชายฝั่งอังกฤษ ส่งรายได้หนุนสงครามยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอย 'บ.อิสราเอล' ส่งออกสปายแวร์เพกาซัส ให้ รบ.ตปท.สอดแนมประชาชน
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง 'อูเบอร์ไฟล์'แฉเอกชนล็อบบี้โอลิการ์ชแลกทำธุรกิจแท็กซี่รัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: สตง.อังกฤษสอบนโยบาย 'บอริส จอห์นสัน' ส่อย้อมแมวสร้าง รพ. 40 แห่ง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเส้นทางฟอสเฟตซีเรีย สู่โรงงานปุ๋ยยุโรป ส่งรายได้เข้าโอลิการ์ชรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: จนท.องค์การเภสัชอินเดียรับสินบน แลกอนุมัติยกเลิกทดลองอินซูลินระยะ 3
- ส่องคดีทุจริตโลก: ธนาคารเครือยักษ์ใหญ่รัฐบอลติก เอี่ยวฟอกเงินหมื่น ล.โอลิการ์ชรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: ปลด รมต.สธ.เวียดนาม เซ่นปมขายชุดตรวจโควิดแพง 45% เอกชนฟันกำไร 709 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:นักธุรกิจจีนเอี่ยวคดีสินบน อดีตที่ปรึกษาฮุนเซน ถือหุ้นสโมสรเบอร์มิงแฮม
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเส้นทางการเงินคดีให้สินบนนายพลจีน สู่คฤหาสน์พันล้าน ณ แวนคูเวอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงข้อพิรุธธุรกรรม เชื่อมโยงทอง 3 ตันประเทศกินี ส่อถูกฟอกในอังกฤษ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ย้อมแมวจรวด,โดรน-กินส่วนต่างวิทยุ 3 พันล. ต้นเหตุรัสเซียติดหล่มในยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดข้อพิรุธเอกชนไร้ประสบการณ์ ชนะสัญญาชุด PPE รบ.ออสเตรเลีย หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอยสินบนเรือดำน้ำมาเลเซีย พัน ล.! ฝรั่งเศสสั่งสอบ บ.ต่อเรือรบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'รมต.สเปน'โดนสอบ ใช้ช่องพิเศษอนุมัติสัญญาโควิดเอื้อ บ.พวกพ้อง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมคอรัปชั่นในกองทัพรัสเซีย-งบปี 65 รวม 2 ล้าน ล.ไม่รู้ไปไหนบ้าง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเครือข่ายขโมยเงินสนับสนุนอาหารอียู 694 ล. นำไปซื้อแฟลต-กระเป๋าหรู
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ไมโครซอฟท์'ถูกอดีตลูกจ้างแฉ-พนง.รวมหัว บ.คู่ค้า,จนท.รัฐ ทุจริตหลาย ปท.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเครือข่าย บ.เปลือกนอกหนุนเผด็จการซีเรีย-หลบมาตรการคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง บ.กฎหมายยักษ์ใหญ่ รับงานช่วยโอลิการ์ชรัสเซียรอดมาตรการคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง 'ดูไบ' แหล่งกบดานเศรษฐีหนีคดี หลังโลกตามอายัดเงินจากรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อีริคสัน' ส่อเอี่ยวจ่ายเงินให้กลุ่ม ISIS แลกทำธุรกิจใน 'โมซุล'
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเครือข่ายธนาคารดันสเก เอสโตเนีย ไฉนเป็นเส้นทางฟอกเงิน 5.1 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อังกฤษ' ยกเลิกวีซ่านักลงทุน หวั่นเปิดช่องฟอกเงิน โต้ 'วิกฤติยูเครน'
- ส่องคดีทุจริตโลก: อายุน้อยร้อย ล.-เมื่อเด็กเป็นเจ้าของ บ.ในลักเซมเบิร์กเกือบ 300 แห่ง
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อังกฤษ'ยึดทรัพย์ทุจริต'อาเซอร์ไบจาน' แสน ล.โยงฟอกเงินผ่าน'เอสโตเนีย'
- ส่องคดีทุจริตโลก:'คูเวต'เร่งสอบ ปมจัดซื้อเครื่องบินไต้ฝุ่น 2.9 แสน ล.แพง
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อัยการเบอร์ลิน'สอบผู้บริหารพรรคกรีนส์-รมต.อนุมัติโบนัสโควิดไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.อิสราเอล จ่อตั้ง กก.สอบปมสินบนเรือดำน้ำเยอรมนี หลังเรื่องแดงปี 59
- ส่องคดีทุจริตโลก:'เพนตากอน'ถลุงงบหลายแสน ล.ไร้ประสิทธิภาพ-เอื้อปย.เอกชนช่วงสงครามอัฟกาฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโก' ปธน.เบลารุส บุคคลคอร์รัปชันแห่งปี 64