พอนางชาริบูได้รับรู้ว่ามีการจ่ายเงิน 114 ล้านยูโร (5,521,818,000 บาท ตามอัตราแลกเปลี่ยนปี 2549) ไปยังบริษัท Perimekar ซึ่งเป็นบริษัทในกำกับดูแลของนายบากินดา นางชาริบูก็ได้บินไปที่กรุงกัวลาลัมเปอร์เพื่อจะกดดันนายบากินดาให้จ่ายเงินเธอคิดเป็นจำนวน 500,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,529,371 บาท ตามอัตราแลกเปลี่ยนปี 2549) โดยเธออ้างว่าเงินจำนวนนี้นั้นเป็นเงินที่นายบากินดายังติดค้างเธอสำหรับการดำเนินงานเกี่ยวกับข้อตกลงเรือดำน้ำดังกล่าว
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้ขอเสนอกรณีอันเกี่ยวข้องกับคดีสินบนเรือดำน้ำของประเทศมาเลเซีย ที่ถูกนำเสนอโดยสื่อหลายแห่งมีรายละเอียดดังนี้
เมื่อประมาณวันที่ 27 เม.ย.ที่ผ่านมานั้นมีกลุ่มบริษัทด้านความมั่นคงเทลส์ (Thales) ได้ออกมายืนยันกับสื่อว่าบริษัทนั้นกำลังถูกตรวจสอบอย่างเป็นทางการ จากกรณีที่บริษัทนั้นอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการให้สินบนในกระบวนการขายเรือดำน้ำให้กับประเทศมาเลเซียในปี 2545
บริษัทเทลส์กล่าวต่อด้วยในอีเมลที่ส่งให้กับสำนักข่าวรอยเตอร์สว่าบริษัทนั้นได้คัดค้านต่อข้อกล่าวหาอย่างเต็มที่และได้มีการส่งเรื่องไปยังศาลอุทธรณ์กรุงปารีสแล้วเพื่อขอให้ยุติการสอบสวนข้อกล่าวหาการให้สินบน
ส่วนสำนักข่าวฝรั่งเศส Le Parisien และสำนักข่าว AFP ก็ได้รายงานในวันที่ 27 เม.ย.เช่นเดียวกับว่าผู้พิพากษาฝรั่งเศสนั้นได้มีคำสั่งให้สืบสวนบริษัทเทลส์อย่างเป็นทางการ โดยมีผลของคำสั่งนับตั้งแต่วันที่ 18 ม.ค.เป็นต้นไป ซึ่งวันที่ 18 ม.ค.ดังกล่าวนั้นคือเก้าวันก่อนที่จะมีการยุติการสอบสวนกรณีสินบนที่กินระยะเวลาตั้งแต่เดือน มี.ค. 2553
โดยข้อกล่าวหานั้นมีความเกี่ยวข้องกับสัญญาแบบปิดผนึกของบริษัทเทลส์ และบริษัทต่อเรือรบของประเทศฝรั่งเศสที่ชื่อว่า DCN International หรือ DCNI ต่อกรณีการขายเรือดำน้ำจำนวนสามลำให้กับมาเลเซียในปี 2545 ซึ่งทางด้านของอัยการด้านคดีการเงินของประเทศฝรั่งเศสได้ตอบกลับมายังสำนักข่าวรอยเตอร์สว่าบริษัทเทลส์เอเชียนั้นถูกนำเข้าสู่กระบวนสอบสวนอย่างเป็นทางการด้วยข้อกล่าวหาที่ว่าบริษัทได้ดำเนินการอย่างซับซ้อนเพื่อทำให้เกิดการทุจริตอย่างแข็งขันของเจ้าหน้าที่รัฐบาลในต่างประเทศ และบริษัท DCNI นั้นก็ถูกนำเข้าสู่กระบวนการสืบสวนในกรณีการทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐในต่างแดนเช่นกัน
“เรือดำน้ำนั้นถูกขายให้กับมาเลเซียในปี 2545 โดย DCN International หรือ DCNI ซึ่ง ณ เวลานั้น DCNI ถูกควบคุมโดยรัฐ 100 เปอร์เซ็นต์ และ DCNI ขอขัดค้านข้อกล่าวหาใดๆที่กล่าวหาว่าบริษัทนั้นมีส่วนเกี่ยวกับการกระทำความผิดอันเกี่ยวข้องกับสัญญาประเทศมาเลเซีย” บริษัท DCNI กล่าวผ่านแถลงการณ์ซึ่งถูกส่งโดยบริษัทฝรั่งเศส Naval Group มาให้กับสำนักข่าวรอยเตอร์ส
บริษัท DCNI ได้ระบุต่อไปด้วยว่ารัฐวิสาหกิจแห่งนี้นั้นเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Naval Group ที่ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2546 และบริษัทนั้นก็ไม่ได้เกี่ยวกับคดีนี้แต่อย่างใด
อนึ่ง ในประเทศฝรั่งเศสนั้น การเข้าสู่กระบวนการสืบสวนอย่างเป็นทางการมีความหมายว่าพบว่ามีหลักฐานอันเกี่ยวข้องหรือว่ามีความร้ายแรง จนทำให้เชื้อได้ว่าผู้ที่ถูกสืบสวนนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับอาชญากรรม แต่อย่างไรก็ตามการเข้าสู่กระบวนการสืบสวนนั้นไม่ได้หมายความว่าจะต้องเข้าสู่การพิจารณาคดีเสมอไป
เรือดำน้ำสกอร์ปีนของมาเลเซีย (อ้างอิงวิดีโอจาก Defence Daily)
@ช่วงเวลาและความเป็นไปเป็นมาของเหตุการณ์
ขณะที่เว็บไซต์ https://corruption-tracker.org ที่สรุปเกี่ยวกับช่วงเวลาของคดีการทุจริตตั้งแต่เริ่มการประกวดราคานั้นระบุรายละเอียดไว้ดังนี้
ปี 2534 ประเทศมาเลเซียออกประกาศเชิญชวนให้เข้าร่วมการประกวดราคาในโครงการด้านการทหารขนาดใหญ่หลายรายการรวมไปถึงการจัดซื้อรถถัง,เครื่องบินไอพ่น และระบบของกองทัพเรือ
ปี 2545 มาเลเซียได้ตกลงที่จะจัดซื้อเรือดำน้ำสกอร์ปีนจำนวนสองลำคิดเป็นมูลค่า 1 พันล้านยูโร (39,180,800,000 บาท ตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 1 ม.ค. 2545) จากบริษัทต่อเรือที่ชื่อว่า Direction des Constructions Navales (ชื่อตัวตัวย่อ DCN ซึ่งในเวลาต่อมาจะเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท Naval Group),และจากบริษัท Navantia ของประเทศสเปน
โดยกลุ่มกิจการร่วมค้า Armaris อันเป็นการร่วมค้ากันระหว่าง DCN และ บริษัทเทลส์ได้เป็นคู่สัญญาหลักในการขายเรือดำน้ำครั้งนี้ ขณะที่บริษัท Navantia จะรับหน้าที่เป็นผู้ออกแบบและจะเป็นคู่ค้าที่ทำหน้างานด้านรับเหมาทางอุตสาหกรรม
ปี 2544 บริษัทเทลส์ได้มีการปรับเปลี่ยนสัดส่วนการลงทุนในกิจการร่วมค้า Armaris เพื่อที่จะเข้าถึงการถือหุ้นของบริษัท DCN ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมาพบว่าบริษัทเทลส์ได้เข้าไปถือหุ้นในบริษัท DCN คิดเป็นจำนวนกว่า 35 เปอร์เซ็นต์
@ช่วงเวลาของการสืบสวน
ปี 2549 มีข้อกล่าวหาเรื่องการทุจริตปรากฏขึ้นมา หลังจากการฆาตกรรมนางอัลตันตูยา ชาริบู ล่ามและบางแบบชาวมองโกเลีย โดยผู้ก่อเหตุคือตำรวจหน่วยพิเศษของมาเลเซียชื่อว่านายอัสศิลาห์ หะดีริดาน และ นายศิรุลอัซฮัร โอมาร์ ซึ่งทั้งสองคนนั้นพบว่าเป็นอดีตบอร์ดีการ์ดให้กับนายนาจิบ ราซัค อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของมาเลเซียในช่วงเวลาที่เกิดเหตุฆาตกรรม
ทั้งนี้นางชาริบูนั้นพบว่าเป็นแฟนสาวของนายอับดุลราซัค บากินดา คนสนิทของนายราซัค และนายบากินดายังเป็นนักธุรกิจคนสำคัญในการเจรจาทำให้ข้อตกลงเรือดำน้ำนี้เกิดขึ้น
โดยนางชาริบูนั้นได้เคยเจอกับนายบากินดาเป็นครั้งแรกในปี 2547 และได้ช่วยเหลือเขาในเรื่องของการแปลเอกสารต่างๆเรื่อยมา โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับสัญญา อย่างไรก็ตามพอนางชาริบูได้รับรู้ว่ามีการจ่ายเงิน 114 ล้านยูโร (5,521,818,000 บาท ตามอัตราแลกเปลี่ยนปี 2549) ไปยังบริษัท Perimekar ซึ่งเป็นบริษัทในกำกับดูแลของนายบากินดา นางชาริบูก็ได้บินไปที่กรุงกัวลาลัมเปอร์เพื่อจะกดดันนายบากินดาให้จ่ายเงินเธอคิดเป็นจำนวน 500,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,529,371 บาท ตามอัตราแลกเปลี่ยนปี 2549) โดยเธออ้างว่าเงินจำนวนนี้นั้นเป็นเงินที่นายบากินดายังติดค้างเธอสำหรับการดำเนินงานเกี่ยวกับข้อตกลงเรือดำน้ำดังกล่าว
และมีรายงานด้วยว่านางชาริบูนั้นอยู่ภายนอกบ้านของนายบากินดา โดยพยามที่จะข่มขู่และอาจจะแบล็กเมล์เขาในเรื่องการจ่ายเงินดังกล่าว
ต่อมาในวันที่ 19 ต.ค. นางชาริบูก็ถูกลักพาตัวและถูกยิงเสียชีวิตโดยตำรวจหน่วยพิเศษสองนายได้แก่นายอาซิลาห์ หะดีริดาน และ นายศิรุลอัซฮัร โอมาร์ และศพยังได้ถูกกำจัดด้วยการใช้ระเบิดซีโฟร์ ซึ่งระเบิดดังกล่าวนั้นเป็นระเบิดในระดับกองทัพที่จะถูกนำมาใช้งานได้ ก็ต้องผ่านการอนุมัติจากทางกระทรวงกลาโหมก่อน
คดีฆาตกรรมนางอัลตันตูยา ชาริบู ล่ามและนางแบบมองโกเลีย (อ้างอิงวิดีโอจาก Kini TV)
โดยผู้ก่อเหตุฆาตกรรมทั้งสองรายนั้นถูกจับกุมได้ก็เนื่องจากว่าคนขับแท็กซี่ของนางชาริบูนั้นอออกมาโวยว่าไม่ได้รับการจ่ายเงิน หลังจากที่ป้ายทะเบียนรถของเขาถูกนั้นถูกระบุรถของผู้ลักพาตัว
ปี 2551 เจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งสองนายนั้นถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานฆาตกรรมในปี 2551 และถูกพิพากษาให้ประหารชีวิต ซึ่งคำพิพากษาให้ประหารชีวิตนั้นถูกยกไปในชั้นศาลอุทธรณ์ในปี 2557 แต่ก็กลับมาพิพากษาประหารชีวิตอีกครั้งหนึ่งในปี 2558 ซึ่งข้อมูลล่าสุดในปี 2561 พบว่านายอาซิลาห์ยังคงอยู่ในเรือนจำ ขณะที่นายศิรุลอัซฮัรนั้นหนีคดีไปที่ประเทศออสเตรเลียแล้ว ซึ่งทางด้านของประเทศออสเตรเลียก็ปฏิเสธที่จะส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนกลับไปให้กับทางมาเลเซีย ถ้าหากยังไม่มีการยืนยันที่ชัดเจนว่าจะไม่มีการประหารชีวิตตามมาในภายหลัง
ส่วนนายบากินดาเองก็ถูกตั้งข้อหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการฆาตกรรม แต่ก็ถูกตัดสินว่าไม่มีความผิดในภายหลัง
ปี 2552 อย่างไรก็ตาม ในคดีฆาตกรรมดังกล่าวก็นำไปสู่การสืบสวนถึงความเป็นไปได้ของการให้สินบนอันเกี่ยวกับข้อตกลงเรือดำน้ำสกอร์ปีน โดยหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศส Libération ได้ออกมาเผยแพร่เกี่ยวกับข้อกล่าวหาการรับเงินคอมมิสชั่นอันผิดกฎหมายและความเกี่ยวข้องของนายบากินดากับคดีฆาตกรรม
ในบทความหนังสือพิมพ์ยังได้มีการเปิดเผยถึงข้อมูลเอกสารบางอย่างที่ศาลมาเลเซียได้ปฏิเสธจะรับไว้ใช้เป็นหลักฐานซึ่งเป็นการสนับสนุนข้อกล่าวหาที่เกี่ยวข้อง
ปี 2553 กลุ่มภาคประชาสังคมมาเลเซียที่ชื่อว่าสุรา รักยัต มาเลเซีย หรือ SUARAM ได้ติดตามการสืบสวนและยื่นข้อร้องเรียนไปถึงศาลฝรั่งเศสในปี 2553 อันเกี่ยวข้องกับกรณีการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ทางการมาเลเซีย
ต่อมาก็ได้มีการเข้าบุกค้นสำนักงานของบริษัท DCNS ในปี 2553 จนนำไปสู่การยึดเอกสารหลายรายการรวมกว่า 133 ชุด ซึ่งเอกสารจำนวนดังกล่าวนั้นในเวลาต่อมาก็ได้ถูกรวบรวมและนำไปอัปโหลดบนอินเทอร์เน็ต โดยหลังสือพิมพ์ Asian Sentinel ในปี 2555
โดยข้อมูลในเอกสารนั้นสนับสนุนข้อกล่าวหาว่ามีการจ่ายเงินที่ผิดกฎหมาย และมีความเชื่อมโยงกันระหว่างกรณีการฆาตกรรมนางชาริบูกับกรณีการจ่ายเงินคอมมิสชั่น นอกจากนี้ยังมีการบรรยานถึงการใช้บริษัทเครือข่าย (รวมถึงบริษัท Perimekar) หลีกเลี่ยงอนุสัญญา OECD (อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนต่างประเทศเจ้าหน้าที่ของรัฐในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศ ) ซึ่งฝรั่งเศสได้ลงนามไปตั้งแต่ปี 2543 และในเอกสารได้อ้างต่อไปอีกว่าบริษัท DCNS นั้นรับรู้เกี่ยวกับตัวจนของผู้รับผลประโยชน์รายสุดท้ายซึ่งก็คือพรรคอัมโน พรรครัฐบาลของมาเลเซีย ณ เวลานั้นนั่นเอง
ในเดือน มี.ค. 2555 หน่วยงานของฝรั่งเศสได้มีการแต่งตั้งผู้พิพากษาเฉพาะเพื่อตรวจสอบคดีนี้ และในปี 2559 ชื่อของนายราซัคและนายบากินดา ก็ได้ถูกเสนอชื่อโดยผู้พิพากษาเฉพาะว่าอาจจะมีส่วนในฐานะเป็นผู้รับสินบน และได้มุ่งเน้นไปยังการสืบสวนนายบากินดาอย่างเป็นทางการในช่วงปี 2560
มีรายงานว่านายเบอร์นาร์ด ไบโอคโค อดีตประธานบริษัทเทลส์ เอเชีย และนายโดมินิค คาสเตลลัน อดีตประธานบริษัท DCNS International ก็ต้องเข้าสู่กระบวนการสอบสวนเนื่องขากเข้าข่ายว่าเป็นผู้จ่ายสินบนเช่นกัน ส่วนทางรัฐบาลมาเลเซีย ณ เวลานั้นก็ปฏิเสธคดีทุจริตเกี่ยวกับข้อตกลงเรือดำน้ำดังกล่าว
อย่างไรก็ตามนายบากินดาได้ยอมรับว่าเขารับเงินเป็นจำนวน 30 ล้านยูโร (1,229,730,000 บาท ตามอัตราแลกเปลี่ยนปี 2555) จริง แต่ว่านั่นเป็นเงินค่าจ้างการบริการล็อบบี้ที่เขาเป็นผู้ดำเนินการ และขอยืนยันว่าไม่มีกรณีการจ่ายเงินให้เจ้าหน้าที่รัฐบาลแต่อย่างใด
เดือน พ.ย. 2561 หนังสือพิมพ์ออนไลน์ของมาเลเซียชื่อว่า The Star ได้ออกมารายงานว่ามีการเริ่มการสืบสวนคดีทุจริตต่อนายนาจิบ ราซัคแล้ว ซึ่งการสืบสวนนั้นเริ่มขึ้นหกเดือนหลังจากที่นายราซัคต้องหลุดออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอันเนื่องมาจากว่าแพ้เลือกตั้ง
โดยในเดือนดังกล่าวนั้นนายราซัคได้ถูกเรียกตัวไปให้ปากคำกับทางคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของมาเลเซีย (MACC)
และล่าสุดเมื่อวันที่ 29 เม.ย.ที่ผ่านมา หลังจากปรากฎเป็นข่าว นายราซัคก็ได้ออกมาให้ข่าวกับสื่อมวลชน โดยปฏิเสธข้อกล่าวหาความมีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด และระบุว่าตัวเขานั้นไม่ได้มีส่วนในการเจรจาข้อตกลงนี้ ผู้ที่มีส่วนในการเลือกเรือดำน้ำและเจรจาข้อตกลงก็คือนายกรัฐมนตรีคนที่สี่ของมาเลเซีย (มหาธีร์ โมฮัมหมัด)
เรียบเรียงจาก:https://corruption-tracker.org/case/the-malaysian-scorpene-submarine-affair,https://www.freemalaysiatoday.com/category/nation/2022/04/29/ph-era-probe-found-i-was-not-linked-to-submarine-deal-says-najib/,https://www.reuters.com/business/aerospace-defense/thales-says-under-corruption-investigation-over-malaysia-arms-deal-denies-2022-04-27/
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'รมต.สเปน'โดนสอบ ใช้ช่องพิเศษอนุมัติสัญญาโควิดเอื้อ บ.พวกพ้อง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมคอรัปชั่นในกองทัพรัสเซีย-งบปี 65 รวม 2 ล้าน ล.ไม่รู้ไปไหนบ้าง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเครือข่ายขโมยเงินสนับสนุนอาหารอียู 694 ล. นำไปซื้อแฟลต-กระเป๋าหรู
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ไมโครซอฟท์'ถูกอดีตลูกจ้างแฉ-พนง.รวมหัว บ.คู่ค้า,จนท.รัฐ ทุจริตหลาย ปท.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเครือข่าย บ.เปลือกนอกหนุนเผด็จการซีเรีย-หลบมาตรการคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง บ.กฎหมายยักษ์ใหญ่ รับงานช่วยโอลิการ์ชรัสเซียรอดมาตรการคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง 'ดูไบ' แหล่งกบดานเศรษฐีหนีคดี หลังโลกตามอายัดเงินจากรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อีริคสัน' ส่อเอี่ยวจ่ายเงินให้กลุ่ม ISIS แลกทำธุรกิจใน 'โมซุล'
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเครือข่ายธนาคารดันสเก เอสโตเนีย ไฉนเป็นเส้นทางฟอกเงิน 5.1 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อังกฤษ' ยกเลิกวีซ่านักลงทุน หวั่นเปิดช่องฟอกเงิน โต้ 'วิกฤติยูเครน'
- ส่องคดีทุจริตโลก: อายุน้อยร้อย ล.-เมื่อเด็กเป็นเจ้าของ บ.ในลักเซมเบิร์กเกือบ 300 แห่ง
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อังกฤษ'ยึดทรัพย์ทุจริต'อาเซอร์ไบจาน' แสน ล.โยงฟอกเงินผ่าน'เอสโตเนีย'
- ส่องคดีทุจริตโลก:'คูเวต'เร่งสอบ ปมจัดซื้อเครื่องบินไต้ฝุ่น 2.9 แสน ล.แพง
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อัยการเบอร์ลิน'สอบผู้บริหารพรรคกรีนส์-รมต.อนุมัติโบนัสโควิดไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.อิสราเอล จ่อตั้ง กก.สอบปมสินบนเรือดำน้ำเยอรมนี หลังเรื่องแดงปี 59
- ส่องคดีทุจริตโลก:'เพนตากอน'ถลุงงบหลายแสน ล.ไร้ประสิทธิภาพ-เอื้อปย.เอกชนช่วงสงครามอัฟกาฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโก' ปธน.เบลารุส บุคคลคอร์รัปชันแห่งปี 64