ทั้งนี้ในช่วงเวลาดังกล่าว ทางการได้มีการเสนอให้ยกเว้นการเปิดโปงเป็นระยะเวลา 3 ปี ให้กับเจ้าของบริษัทที่เข้าข่ายว่าจะมีความเสี่ยงกับพฤติกรมฉ้อโกง,การลักพาตัว, แบล็กเมล์, การกรรโชกทรัพย์หรือการล่วงละเมิดหากชื่อของพวกเขาได้รับการเผยแพร่ นั่นจึงหมายความว่าผู้เยาวนั้นจะมีแนวโน้มที่จะถูกละเลยจากการตรวจสอบภายใต้ระเบียบเหล่านี้ไปได้ ทำให้ปรากฏข้อมูลว่ามีบริษัทจำนวนประมาณ 290 แห่งนั้นมีเจ้าของบริษัทอยู่ที่ช่วงอายุประมาณ 18-19 ปี หรือก็คือหมายความว่าในช่วงเวลาที่มีการเข้ามาครอบครองบริษัทนั้นเจ้าของบริษัทเหล่านี้ยังเป็นผู้เยาว์อยู่เลย
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้ขอนำเสนอกรณีการเปิดโปงที่มีชื่อว่า OpenLux ของประเทศลักเซมเบิร์ก ซึ่งเป็นการรายงานข้อพิรุธเกี่ยวกับกลุ่มชาวต่างชาติที่มีส่วนถือครองบริษัทอยู่ในประเทศลักเซมเบิร์ก ซึ่งล่าสุดพบข้อมูลว่ามีเด็กและผู้เยาว์หลายคนกลายเป็นผู้มีส่วนได้รับผลประโยชน์จากบริษัทเหล่านี้เป็นมูลค่าที่สูง
โดยสำนักข่าวโครงการรายงานอาชญากรรมและการทุจริตคอรัปชั่น” หรือ OCCRP ซึ่งเป็นองค์กรสื่อมวลชนที่ไม่แสวงหาผลกำไรต่อต้านคอร์รัปชัน ได้รายงานข่าวเมื่อวันที่ 8 ก.พ.ที่ผ่านมา ว่าพบข้อมูลว่ามีเด็กอายุต่ำสุดที่ 1 ปี สัญชาติมองโกลเลีย ได้เป็นเจ้าของส่วนหนึ่งในบริษัทถ่านหินรายใหญ่ในทะเลทรายโกบี, พบข้อมูลว่ามีเด็กอายุ 11 ปี สัญชาติอาเซอร์ไบจัน เป็นผู้ที่มีส่วนในการได้รับผลประโยชน์จากสัญญารัฐที่ทำร่วมกันระหว่างประเทศเติร์กเมริสถานและประเทศจีน,และพบข้อมูลว่ามีวัยรุนหญิงชาวรัสเซียรายหนึ่งมีรายหนึ่งมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการลงทุนในระบบบำนาญของประเทศแคนาดาและรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งข้อมูลการลงทุนดังกล่าวนั้นพบว่าเป็นหนึ่งในรายการทรัพย์สินนับพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ของวัยรุ่นรัสเซียคนดังกล่าว
ทั้งนี้ข้อมูลการรายงานเบื้องต้นนั้นเป็นส่วนหนึ่งการเปิดโปงของโครงการที่มีชื่อว่า OpenLux ที่สืบสวนและรายงานข้อมูลว่ามีผู้เยาว์เกือบ 300 คน เข้าไปควบคุมการถือหุ้นบริษัทอย่างมีนัยสำคัญในช่วงปี 2563 ที่ผ่านมา
อนึ่ง แม้ว่าการให้เด็กเข้าไปมีส่วนในการถือครองบริษัทนั้นจะไม่เป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายในประเทศลักเซมเบิร์ก แต่ก็มีการเรียกร้องไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าควรต้องยกระดับธงแดงเพื่อจับตาและเฝ้าระวังเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกับกรณีที่พบว่าญาติของผู้เยาว์เหล่านี้นั้นเป็นถึงกลุ่มคณะผู้ปกครองประเทศ,อาชญากร,บุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับแวดวงการเมืองในระดับสูง ซึ่งจากข้อมูลนั้นพบว่ามีเด็กเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 มีอายุน้อยกว่าบริษัทที่พวกเขาได้มีส่วนเป็นเจ้าของเสียอีก
โดยย้อนไปเมื่อประมาณปี 2562 ประเทศลักเซมเบิร์กได้มีการเผยแพร่รายงานการลงทะเบียนของ “เจ้าของผลประโยชน์สูงสุด” โดยรายงานดังกล่าวนั้นได้เปิดโปงว่าในบรรดาบริษัทต่างๆที่อาจจถูกถือครองโดยตัวแทนหรือนอมินีนั้น ใครเป็นผู้ที่จะรับประโยชน์ในท้ายที่สุด ซึ่งรายงานดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นครั้งแรกที่มีการเปิดโปงว่าใครเป็นผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากระบบความลับทางการเงินของประเทศ
ทั้งนี้ในช่วงเวลาดังกล่าว ทางการได้มีการเสนอให้ยกเว้นการเปิดโปงเป็นระยะเวลา 3 ปี ให้กับเจ้าของบริษัทที่เข้าข่ายว่าจะมีความเสี่ยงกับพฤติกรมฉ้อโกง,การลักพาตัว, แบล็กเมล์, การกรรโชกทรัพย์หรือการล่วงละเมิดหากชื่อของพวกเขาได้รับการเผยแพร่ นั่นจึงหมายความว่าผู้เยาวนั้นจะมีแนวโน้มที่จะถูกละเลยจากการตรวจสอบภายใต้ระเบียบเหล่านี้ไปได้ ทำให้ปรากฏข้อมูลว่ามีบริษัทจำนวนประมาณ 290 แห่งนั้นมีเจ้าของบริษัทอยู่ที่ช่วงอายุประมาณ 18-19 ปี หรือก็คือหมายความว่าในช่วงเวลาที่มีการเข้ามาครอบครองบริษัทนั้นเจ้าของบริษัทเหล่านี้ยังเป็นผู้เยาว์อยู่เลย
ทว่าในช่วงที่มีการเผยแพร่การเปิดโปงของโครงการ OpenLux ทางการประเทศลักเซมเบิร์กกลับออกมาโจมตีการสืบสวนในโครงการนี้ และปฏิเสธถึงข้อกล่าวหาว่ามีความบกพร่องในกระบวนการป้องกันการฟอกเงินที่อาจจะเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามในเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา ทางกระทรวงยุติธรรมของลักเซมเบิร์กได้ออกมาให้ข่าวว่ากระทรวงจะมีการร่างกฎหมายเพื่อให้สามารถลงโทษต่อผู้ที่มีพฤติกรรมการฟอกเงินหรือว่าหนีภาษีได้
กระทรวงยุติธรรมได้ระบุต่อไปอีกว่ากระทรวงมีความตั้งใจที่จะดำเนินการตรวจสอบผู้เยาว์ทุกคนที่ถูกระบุรายชื่ออยู่ในเอกสารบริคนสนธิ และจะเผยแพร่ผลการตรวจสอบออกมาภายในปี 2564 และขอยืนยันว่ามีหลายประเทศที่อนุญาตให้ผู้เยาว์นั้นมีส่วนเป็นเจ้าของกิจการได้ ซึ่งประเทศเหล่านี้ก็ดำเนินการตรวจสอบผู้เยาว์ไม่ต่างจากผู้ใหญ่เช่นเดียวกับทางลักเซมเบิร์ก
ทั้งนี้สำนักข่าว OCCRP ได้รายงานข้อมูลต่อไปถึงผู้เยาว์จากประเทศที่มีข้อพิรุธในด้านการถือครองบริษัทมีรายละเอียดตามรายประเทศดังต่อไปนี้
@ประเทศอาเซอร์ไบจาน
มีรายงานข่าวว่าตระกูลมัมมาดอฟนั้นถือว่ามีอภิสิทธิ์พิเศษสูงสุดของประเทศที่ถูกสงวนไว้ให้กับกลุ่มชนชั้นสูงที่น่ำรวยที่สุดในประเทศอาเซอร์ไบจาน โดยนายเบย์ลาร์ มัมมาโดฟ,ภรรยา และลูกอีก 3 คนนั้นพบว่าเป็นผู้ถือสัญชาติมอลตา ซึ่งที่มาของหนังสือเดินทางดังกล่าวนั้นก็มาจากโครงการวีซ่าทองคำของประเทศมอลตา ที่กำหนดไว้ว่าผู้ขอหนังสือเดินทางดังกล่าวจะต้องมีกิจการการลงทุนในประเทศไม่น้อยกว่า 800,0000 ยูโร (29,705,097 บาท) ก็สามารถขอสัญชาติได้แล้ว
ขณะที่สื่อในอาเซอร์ไบจานก็รายงานว่านายมัมมาโดฟเป็นนักธุรกิจชื่อดังแต่ไม่ได้ระบุชื่อธุรกิจของเขาแต่อย่างใด
ส่วนทางด้านของ OpenLux ได้รายงานข้อมูลอ้างอิงจากการสืบสวนของ OCCRP พบว่าภรรยาและลูกของนายมัมมาโดฟนั้นเป็นเจ้าของบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศลักเซมเบิร์กมีที่ชื่อว่า Canley Finance S.A ซึ่งบริษัทนี้มีทั้งการลงทุนสะสมและมีสัญญารัฐทั่วโลกนับตั้งแต่ที่มีการจัดตั้งในปี 2551 โดยในปี 2563 พบข้อมูลว่าผู้เป็นภรรยาและบุตรทั้ง 3 คนก็ได้เข้ามาเป็นเจ้าของบริษัทแห่งนี้ และถ้าหากนับเวลาย้อนไปถึงช่วงปี 2551 จะพบว่าบุตรทั้ง 3 คนที่เข้ามาเป็นเจ้าของกิจการในช่วงที่มีการจัดตั้งบริษัทนั้นจะมีช่วงอายุอยู่ที่ 17 ปี,9 ปี และ 3 เดือน (ประเทศลักเซมเบิร์กไม่ได้อนุมัติการเปิดเผยข้อมูลประวัติการเข้าถือครองบริษัท ทำให้ไม่สามารถรับรู้ได้เลยว่ามีเด็กเข้ามาครอบครองกิจการในช่วงเวลาตั้งแต่ที่มีการเริ่มก่อตั้งบริษัทหรือไม่)
อย่างไรก็ตามแม้ว่านานมัมโมดอฟจะไม่ได้ถูกระบุชื่อเป็นผู้อำนวยการหรือว่าผู้ถือหุ้นของบริษัทนี้ แต่ก็ปรากฏข้อมูลในเอกสารงบการเงินว่าเงินกู้เริ่มกิจการบริษัทว่าเขาเคยให้เงินกู้เริ่มต้นกับบริษัทเป็นจำนวนกว่า 21,000 ยูโร (779,758 บาท) เพื่อเริ่มกิจการบริษัท
ต่อมาในปี 2555 ก็ปรากฏข้อมูลในเอกสารงบการเงินของบริษัท Canley Finance ว่าบริษัทได้มีการซื้อหุ้นเป็นมูลค่ากว่า 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (196,284,000 บาท) ซึ่งเป็นหุ้นของธนาคาร Unibank ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดของประเทศอาเซอร์ไบจาน และในช่วงเวลาดังกล่าวพบว่าบุตรที่อายุน้อยที่สุดจำนวน 2 คนของนายมัมมาโดฟน่าจะมีอายุอยู่ที่ 4 ปี และ 14 ปี
บริษัท Canley Finance ยังพบว่าเป็นเจ้าของบริษัทในมอลตาที่ชื่อว่า Lenstor Enterprises Ltd ซึ่งบริษัทแห่งนี้ก็ถูกบริหารโดยนายมัมมาโดฟ ขณะที่นายคามาล ฮาจิเยฟ ผู้ซึ่งเป็นลูกเขยของนายมัมมาโดฟ และยังเป็นลูกชายของสมาชิกรัฐสภาที่มีความสนิทกับประธานาธิบดีอาเซอร์ไบจาน นั้นก็พบว่าเคยเป็นผู้อำนวยการบริษัทแห่งนี้ ซึ่งในช่วงที่บริษัท Lenstor Enterprises Ltd ถูกก่อตั้งขึ้นมาในปี 2551 ก็พบว่าบริษัทนี้ได้ชนะสัญญาเกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติกับรัฐบาลเติร์กเมนิสถานคิดเป็นมูลค่ากว่า 43 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (1,406,702,000 บาท), นายมัมมาโดฟยังได้มีบริษัทสัญชาติอังกฤษอีกแห่งที่ชื่อว่า Lenstor Trading LLP ซึ่งในช่วงก่อตั้งมีการระบุวัตถุประสงค์ของบริษัทว่าดำเนินกิจการการค้าเกี่ยวกับพลังงาน,ปิโตรเคมีและภาคส่วนอื่น ๆ โดยลูกค้าหลักๆของบริษัทนี้ก็รวมไปถึงรัฐวิสาหกิจในเติร์กเมนิสถานและจีน,บริษัทผู้ผลิตรถพยาบาลและผู้จัดหารายใหญ่ที่สุดในรัฐโอกลาโฮมา สหรัฐอเมริกา
ต่อมาในปี 2560 บริษัท Canley Finance ก็ได้พุ่งเป้าไปที่การดำเนินกิจการในสหรัฐอเมริกา โดยได้เข้าไปเป็นเจ้าของถึง 2 ใน 3 ของบริษัท Buta Investment Group ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำเกี่ยวกับกิจการต้อนรับในรัฐฟลอริดา และบริษัทยังได้ลงเงินในบริษัท Buta คิดเป็นมูลค่ากว่า 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (130,856,000 บาท) โดยพบว่าบริษัทนั้นมีลูกค้าคือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของอาเซอร์ไบจานเป็นลูกค้าด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้แม้ว่าการที่บุตรของนายมัมมาโดฟซึ่งเคยและบางคน ณ เวลานี้ก็ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ได้เข้าไปถือครองกิจการของบริษัท Canley Finance โดยไม่ปรากฏนามของนายมัมมาโดฟจะไม่ใช่เรื่องที่ผิดกฎหมาย แต่ก็ทำให้เกิดคำถามว่ามีการใช้ชื่อของพวกเขาเพื่ออำพรางตัวตนของเจ้าของที่แท้จริงหรือไม่
รายงานข่าวการโครงการ OpenLux (อ้างอิงวิดีโอจาก Euronews)
@ประเทศเม็กซิโก
นายมิเกล ซาราโกซา ฟูเอนเตส ผู้ก่อตั้งบริษัทข้ามชาติด้านก๊าซธรรมชาติของเม็กซิโกที่ชื่อว่าเซต้านั้นเป็นที่รับรู้กันว่าเป็นบุคคลที่ไม่ชอบออกสื่อมากนัก แต่อย่างไรก็ตามเรื่องราวในครอบครัวของเขากลับกลายเป็นที่สนใจของสังคม เพราะเมื่อปี 2557 นางอีแวนเจลิน่า โลเปซ กุซแมน ภรรยาวัย 60 ปี และยังเป็นแม่ของลูกอีกจำนวน 11 คน ได้ยื่นขอหย่านายฟูเอนเตส ด้วเหตุผลที่ว่าสามีเธอนั้นคบชู้กับลูกจ้างที่ชื่อว่านางเอลซา เอสเธอร์ คาร์ริลโล อันชอนโดและมีบุตรคนที่ 12 ในช่วงปี 2546
โดยในเวลาต่อมานายซาราโกซาได้โอนทรัพย์สินหลายล้านดอลลาร์ อสังหาริมทรัพย์ เครื่องบินส่วนตัว ผลงานศิลปะและเครื่องบินให้กับครอบครัวของนางคาร์ริลโลและลูกสาวลับๆของเขา
ทั้งนี้ผลของการหย่านั้น ศาลหย่าร้างที่รัฐเท็กซัส สหรัฐฯ ซึ่งเป็นรัฐที่นายซาราโกซาและนางโลเปซได้แต่งงานกัน ได้มีคำตัดสินเข้าข้างนางโลเปซ โดยมีคำสั่งในนายซาราโกซาแบ่งทรัพย์สินและธุรกิจก้อนสำคัญให้กับนางโลเปซ แต่ทว่าหลังจากการต่อสู่ในชั้นศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาที่ประเทศเม็กซิโก ก็ปรากฎว่านายซาราโกซาไม่ได้เชื่อฟังคำสั่งศาลดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม มีประเด็นทางสาธารณะก็คือว่าสำนักข่าว OCCRP นั้นได้ตรวจสอบพบว่ามีบริษัทของนายซาราโกซาแห่งหนึ่งที่เข้าข่ายว่าจะต้องถูกยึดทรัพย์ซึ่งก็คือบริษัท Texas Gas & Oil ซึ่งตั้งอยู่ในหมู่เกาะบาฮามาส โดยบริษัทแห่งนี้ปัจจุบันมีเจ้าของคือลูกสาววัยรุ่นของนายซาราโกซาและนางคาร์ริลโล โดยข้อมูลจากเอกสารการยื่นฟ้องร้องต่อศาลพบว่า บริษัทที่เป็นซัพพลายเออร์ให้กับบริษัท Zeta Gas del Pacifico ซึ่งอยู่ในเครือบริษัทเซต้านั้นได้มีการโอนเงินเป็นจำนวนกว่าหลายล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้กับนายซาราโกซาและครอบครัวที่ 2 ของเขาเพื่อการใช้จ่ายส่วนตัวต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามปรากฎว่าในปี 2564 ที่ผ่านมา บริษัทซัพพลายเออร์รายนี้นั้นได้แพ้คดีที่ต่อสู้มาเป็นระยะเวลา 2 ปี ในบาฮามาส ซึ่งในรายละเอียดของคดีนั้นก็คือทางบริษัทซัพพลายเออร์รายนี้ต้องการจะเก็บบันทึกด้านการเสียภาษีเป็นความลับเอาไว้ หลังจากที่ทางการเม็กซิโกได้มีการเรียกร้องขอข้อมูลเอกสารต่างๆอันเกี่ยวข้องกับยอดขายของบริษัทซัพพลายเออร์ที่ได้ดำเนินธุรกิจกับบริษัทในเครือเซต้า
สำหรับโครงสร้างของบริษัท Zeta Gas del Pacifico นั้นถูกตรวจสอบพบว่าลูกสาววัย 17 ปีของนายซาราโกซาเข้ามาเป็นเจ้าของกิจการผ่านทางการใช้บริษัทโฮลดิ้ง (บริษัทที่ประกอบกิจการจากการเข้าไปถือหุ้นในบริษัทอื่น)สัญชาติลักเซมเบิร์กจำนวน 2 แห่งได้แก่บริษัท Belgrave S.A. และบริษัท Vaurigard S.A. ซึ่งทั้ง 2 บริษัทก็ถูกควบคุมโดยบริษัทในตระกูลซาราโกซาอีกทีหนึ่ง แต่เมื่อปี 2562 เมื่อทางประเทศลักเซมเบิร์กได้มีการเปิดโปงผู้รับผลประโยชน์สูงสุดให้สาธารณชนได้รับทราบ ก็พบว่าลูกสาวของนายซาราโกซานั้นเป็นผู้รับผลประโยชน์จากทั้ง 2 บริษัทแต่เพียงผู้เดียว คิดเป็นมูลค่าของผลประโยชน์รวมทั้งสิ้นกว่า 73 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (2,388,122,000 บาท)
รายงานข่าวได้ระบุต่อไปว่าผลประโยชน์มูลค่าดังกล่าวนั้นมาจากการที่ทั้ง 2 บริษัทได้เข้าไปมีหุ้นอยู่ในบริษัทอีกจำนวน 12 แห่งที่ตั้งอยู่ในประเทศเปรู,กัวเตมาลา,สเปน,เนเธอร์แลนด์,บาฮามาส และเบลีซ ซึ่งบริษัท 8 ใน 12 แห่งนั้นพบว่าเธอเป็นเจ้าของบริษัทโดยตรงด้วยเช่นกัน
โดยบริษัท 12 แห่งเหล่านี้แม้ว่าบางแห่งจะเป็นบริษัทย่อยในเครือเซต้า แต่ก็ไม่พบความชัดเจนว่าบริษัทที่เหลือรวมไปถึงบริษัทที่ลักเซมเบิร์กนั้นได้เคยส่งรายงานแจ้งไปยังหน่วยงานด้านภาษีของประเทศเม็กซิโกหรือไม่
ขณะที่ศาลเท็กซัสก็ได้เคยมีคำพิพากษาไปแล้วว่าบริษัทโฮลดิ้งสัญชาติลักเซมเบิร์กนั้นและบริษัท Texas Gas & Oil นั้นเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างในเครือของบริษัทเซต้า และยิ่งไปกว่านั้นยังมีรายงานด้วยว่า บริษัทสัญชาติกัวเตมาลาจำนวน 2 แห่งที่มีเจ้าของก็คือบริษัท Belgrave S.A. และบริษัท Vaurigard S.A. และยังใช้ที่อยู่เดียวกันกับหนึ่งในเครือของบริษัทซีต้า ก็ได้ถูกลงโทษจากทางการกัวเตมาลาในข้อหาว่าเลี่ยงภาษีด้วยเช่นกัน
@ประเทศรัสเซีย
มีรายงานว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ตัวตนของเจ้าของบริษัทสัญชาติลักเซมเบิร์กที่มีชื่อว่า Felicity International S.A. นั้นเป็นความลับอย่างยิ่ง จนแม้แต่หน่วยงานของประเทศฝรั่งเศสก็ยังไม่สามารถจะสืบทราบข้อมูลในส่วนนี้ได้ ซึ่งในช่วงปี 2557 พบว่ามีการสอบสวนกรณีการฉ้อโกงคิดเป็นมูลค่าหลายล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยผู้สืบสวนก็ได้มีการทำเรื่องทางด้านเอกสารเพื่อขอข้อมูลกับทางหมู่เกาะบริติชเวอร์จินเพื่อจะขอข้อมูลอันเกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นและผู้ก่อตั้งบริษัท Felicity International S.A.
โดยบริษัท Felicity International S.A. นั้นพบว่าถูกก่อตั้งโดยบริษัทสัญชาตินอกอาณาเขตจำนวน 2 แห่ง หนึ่งในนั้นคือบริษัทที่ตั้งอยู่ในหมู่เกาะบริติชเวอร์จินและอีกแห่งตั้งอยู่ในประเทศปานามา แต่ทว่าบริษัททั้ง 2 แห่งก็เลิกกิจการไปแล้วในปี 2554 ส่งผลทำให้การสืบสวนนั้นไปต่อไม่ได้
ต่อมาพอถึงปี 2562 ในช่วงเวลาที่ประเทศลักเซมเบิร์กได้เริ่มออกมาตรการกำหนดให้บริษัทได้จดทะเบียนระบุผู้ได้รับผลประโยชน์ของบริษัท ก็ปรากฏว่าว่าบริษัท Felicity International S.A. ได้ระบุชื่อ 3 พี่น้องชาวบัลแกเรียเป็นผู้รับผลประโยชน์ของบริษัท โดยผู้ที่มีอายุน้องสุดในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นมีอายุอยู่ที่ 15 ปี
สำนักข่าว OCCRP ซึ่งทำข่าวร่วมกับสำนักข่าว Bivol ได้มีการระบุตัวตนของ 3 พี่น้องคนดังกล่าวว่าแท้จริงแล้วคือลูกของนายเซอร์เก อาโดนิเยฟ นักธุรกิจด้านโทรคมนาคมชาวรัสเซีย ซึ่งได้รับสัญชาติบัลแกเรียผ่านโครงการหนังสือเดินทางทองคำในช่วงปี 2551 ก่อนที่หนังสือเดินทางดังกล่างจะถูกเพิกถอนไปในเดือน พ.ค. 2561 หลังจากที่ทางการได้ยืนยันว่ามีการค้นพบประวัติอาชญากรรมที่ระบุว่าในช่วงปี 2541 นายอาโดนิเยฟถูกตัดสินจากทางการสหรัฐฯว่ามีความผิดฐานฉ้อโกงรัฐบาลคาซัคสถานในการขายน้ำตาลจากคิวบาที่เป็นของปลอม คิดเป็นจำนวนเงินกว่า 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (130,856,000 บาท) ต่อมาในปี 2542 นายอาโดนิเยฟก็ถูกส่งตัวกลับไปยังประเทศรัสเซีย ซึ่หลังจากนั้นเขาก็ได้ก่อตั้งอาณาจักรธุรกิจโทรคมนาคมควบคู่ไปกับการได้รับการสนับสนุนทางด้านการเงินจากบุคลากรระดับสูงที่เกี่ยวข้องกับทำเนียบประธานาธิบดีเครมลิน และรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง
อย่างไรก็ตามในช่วงปี 2543 สำนักข่าวลอสแองเลลิสไทม์ของสหรัฐฯได้รายงานข่าวว่าสำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐฯหรือว่าเอฟบีไอได้ตั้งข้อสงสัยว่านายอาโดนิเยฟนั้นอยู่เบื้องหลังจากขนส่งโคเคนจากโคลอมเบียจำนวนกว่า 1.1 ตันที่ถูกยึดได้ ณ พรมแดนรัสเซียและฟินแลนด์ในช่วงปี 2536
รายงานข่าวว่านายเซอร์เก อาโดนิเยฟ นักธุรกิจด้านโทรคมนาคมชาวรัสเซีย อาจมีส่วนเกี่ยวกับการลักลอบขนย้ายโคเคน
มีรายงานต่อไปด้วยว่าบริษัท Felicity International S.A. นั้นถูกจัดตั้งขึ้นในช่วงปีเดียวกันกับว่านายอาโดนิเยฟถูกส่งตัวกลับไปยังรัสเซีย ซึ่งก็คือในปี 2542 และในปีนั้นบุตรทั้ง 3 ของนายอาโดนิเยฟยังไม่ถือกำเนิดเลยด้วยซ้ำ
ขณะที่ข้อมูลบัญชีรายปีของบริษัทก็พบว่า ลูกๆของนายอาโดนิเยฟนั้นเป็นเจ้าของวิลล่ามูลค่ากล่า 25 ล้านยูโร (928,284,285 บาท) ตั้งอยู่ ณ หาดโกตดาซูร์ (French Riviera) ประเทศฝรั่งเศส
โดยจากบันทึกพบว่าบริษัท Felicity International S.A. ซื้ออสังหาริมทรัพย์แห่งนี้ในปี 2549 ซึ่งในช่วงเวลานั้น 3 พี่น้องมีอายุแค่เพียง 9, 3 และ 2 ปี ต่อมาในปี 2558 บริษัทก็ได้ซื้อฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์คิดเป็นมูลค่ากว่า 450,733 ยูโร (16,736,334) ซึ่งในปัจจุบันฐานข้อมูลชุดนี้ก็เป็นหนึ่งในทรัพย์สินของลูกๆของนายอาโดนิเยฟ
@ประเทศอิตาลี
นายดาเนียล ลอเรนซาโน โปรดิวเซอร์หรือผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชาวอิตาลีต้องเผชิญกับข้อครหาและการรตรวจสอบมาอย่างยาวนานเนื่องจากว่าเขาได้เคยไปมีส่วนร่วมกับนายซิลวิโอ แบร์ลุสโคนี อดีตนายกรัฐมนตรีอิตาลี และนักธุรกิจ ซึ่งนายลอเรนซาโนนั้นถูกตรวจสอบพบว่าเขามีส่วนเข้าไปจัดการเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิในการออกอากาศในประเทศสหรัฐฯ สำหรับอดีตนายกรัฐมนตรีนับตั้งแต่ช่วงปี 2523 เป็นต้นมา
ขณะที่อัยการจากเมืองมิลานก็ได้ดำเนินการสอบสวนส่วนนายลอเรนซาโนนั้นอาจจะมีส่วนร่วมในการจัดการในกรณีที่นายแบร์ลุสโคนีนั้นมีพฤติกรรมการฉ้อโกงภาษีทั่วโลก ต่อมาในช่วงปี 2555 นายลอเรนซาโนก็ถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 3 ปี 8 เดือน ขณะที่นายแบร์ลุสโคนีถูกตัดสินเป็นเวลา 4 ปี ในข้อหาว่าเขามีส่วนร่วมในการฉ้อโกง โดยในท้ายที่สุดแล้วทั้ง 2 คนก็ไม่มีใครต้องไปติดคุกที่เรือนจำแต่อย่างใด เนื่องจากโทษจำคุกถูกเปลี่ยนเป็นการบริการชุมชนแทน
นายซิลวิโอ แบร์ลุสโคนี อดีตนายกรัฐมนตรีอิตาลี ถูกตัดสินโทษจำคุก 4 ปี ในช่วงปี 2555 (อ้างอิงวิดีโอจาก CNN)
โดยในช่วงปี 2537 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่นายแบร์ลุสโคนีได้เริ่มต้นอาชีพทางการเมือง ก็พบว่ามีการก่อตั้งบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่ชื่อว่า Najis Real Estate S.A. บนหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน และต่อมาบริษัทนี้ก็ย้ายไปยังประเทศลักเซมเบิร์กในปี 2546 พร้อมกับการถือครองอสังหาริมทรัพย์ในประเทศโมรอคโกมูลค่ากว่า 3.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (117,770,400 บาท)
ขณะที่นายสเตฟาโน มาร์ตินาซโซ นักบัญชีนิติเวชที่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาในทางคดีก็ได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว OCCRP ว่าเขาจำได้ว่าผู้บริหารของบริษัทแบร์ลุสโคนี โฮลดิ้ง นั้นเคยให้การว่าแม้แต่ผู้บริหารระดับสูงของกลุ่มบริษัทก็ยังมีความกังวลเพราะต้องจ่ายเงินค่าธรรมเนียมให้กับนายลอเรนซาโนคิดเป็นมูลค่าประมาณ 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (654,280,000 บาท) ในช่วงระหว่างปี 2537-2546
อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีความชัดเจนว่าใครเป็นผู้ถือครองบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่ว่านี้ในปัจจุบัน แต่ว่าในปี 2562 มีการประกาศว่าเจ้าของบริษัทนั้นก็คือกองทรัสต์ของครอบครัวที่ถูกจัดตั้งขึ้นโดยนายลอเรนซาโนเพื่อลูกสาวทั้ง 2 คนของเขา ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวลูกสาวทั้ง 2 คนนั้นยังอยู่ในช่วงอายุวัยรุ่น แต่เมื่อย้อนไปในช่วงเวลาที่มีการย้ายบริษัทมายังประเทศลักเซมเบิร์ก พบว่าลูกสาวคนหนึ่งของนายลอเรนซาโนยังไม่เกิดเลยด้วยซ้ำและอีกคนก็มีอายุแค่ประมาณครึ่งปี ซึ่งกองทรัสต์ที่ว่ามานี้ก็เป็นเหมือนกับช่องทางโดยทั่วไปที่ผู้ปกครองจะส่งมอบทรัพย์สินให้กับลูกๆของพวกเขาเพื่อจะหลีกเลี่ยงภาษีและปัญหาความล่าช้าที่เกิดขึ้นกับการจัดการกองมรดก โดยกองทรัสต์มักจะถูกจัดการโดยกลุ่มบุคคลที่ 3 ในนามของผู้รับผลประโยชน์
โดยปัจจุบันนั้นพบว่าบริษัท Najis Real Estate S.A. มีการถือครอบทรัพย์สินกว่า 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (65,428,000 บาท) และหนี้อีกกว่า 10.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (353,311,200 บาท)
และก็ยังไม่มีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนว่าทรัพย์สินของบริษัทนั้นเกี่ยวกับกรณีการหลบเลี่ยงภาษีของนายแบร์ลุสโคนีแต่อย่างใด แต่ทางผู้ดำเนินการสอบสวนก็ได้ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับตัวตนของหน่วยงานแล้วในช่วงเวลาที่เกี่ยวข้องและมีความเป็นไปได้ว่าจะมีการยกธงแดงเกิดขึ้น ซึ่งในช่วงเวลาที่มีการย้ายบริษัทมายังประเทศลักเซมเบิร์กนั้น พบข้อมูลว่าบริษัทนั้นอยู่ภายใต้การจัดการของนายฟิลิปโป ดอลฟัส แห่งโวลเคอร์สเบิร์ก ขุนนางสวิส ผู้ซึ่งถูกฟ้องแยกต่างหากในปี 2562 ณ ศาลในเมืองมิลานในข้อหาว่าเลี่ยงภาษีและฉ้อโกง
อ่านประกอบ:
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อังกฤษ'ยึดทรัพย์ทุจริต'อาเซอร์ไบจาน' แสน ล.โยงฟอกเงินผ่าน'เอสโตเนีย'
- ส่องคดีทุจริตโลก:'คูเวต'เร่งสอบ ปมจัดซื้อเครื่องบินไต้ฝุ่น 2.9 แสน ล.แพง
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อัยการเบอร์ลิน'สอบผู้บริหารพรรคกรีนส์-รมต.อนุมัติโบนัสโควิดไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.อิสราเอล จ่อตั้ง กก.สอบปมสินบนเรือดำน้ำเยอรมนี หลังเรื่องแดงปี 59
- ส่องคดีทุจริตโลก:'เพนตากอน'ถลุงงบหลายแสน ล.ไร้ประสิทธิภาพ-เอื้อปย.เอกชนช่วงสงครามอัฟกาฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโก' ปธน.เบลารุส บุคคลคอร์รัปชันแห่งปี 64