กลุ่มผู้สื่อข่าวที่ชื่อว่า Distributed Denial of Secrets ซึ่งเป็นองค์กรสื่อมวลชนที่ทำหน้าที่รายงานข่าวเกี่ยวกับความโปร่งใสและข้อมูลได้มีการเปิดเผยเอกสารเกี่ยวกับการโอนเงินชุดหนึ่งซึ่งเป็นการโอนเงินระหว่างธนาคาร ANZ กับธนาคารที่อยู่ภายใต้การดูแลของกองทัพเมียนมาชื่อว่าธนาคาร Innwa ซึ่งช่วงเวลาการโอนเงินนั้นเกิดขึ้นนับตั้งแต่หลังการรัฐประหารเป็นต้นมา
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้ขอเสนอข่าวความไม่โปร่งใสในกรณีที่สถาบันการเงินระดับโลกได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางการเงินซึ่งนำไปสู่เผด็จการทหารเมียนมา
โดยเมื่อวันที่ 22 พ.ย.ที่ผ่านมา ธนาคารออสเตรเลียและนิวซีแลนด์หรือว่าธนาคาร ANZ นั้นได้ออกมาประกาศว่าภายในต้นปี 2566 พวกเขาจะถอนกิจการทั้งหมดออกจากประเทศเมียนมา โดยได้ให้เหตุผลว่าเป็นเพราะว่าพวกเขาประสบกับความยากลำบากในการดำเนินกิจการในเมียนมา
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 14 พ.ย.ที่ผ่านมา สำนักข่าว ABC ได้รายงานข่าวว่าก่อนหน้าที่ธนาคาร ANZ จะออกมาประกาศถอนกิจการนั้น ได้มีรายงานข่าวชิ้นสำคัญเกี่ยวกับกรณีของธนาคาร ANZ ระบุว่า
รัฐบาลออสเตรเลียนั้นกำลังถูกกดดันอย่างหนึกว่าจะต้องมีการคว่ำบาตรเผด็จการทหารเมียนมา และกลุ่มนักกิจกรรมก็ได้มีการเรียกร้องให้ธนาคาร ANZ นั้นพิจารณาเกี่ยวกับการทำข้อตกลงต่างๆในเมียนมา
ทั้งนี้การเรียกร้องดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นหลังจากที่มีกรณีปรากฎเป็นข่าวว่าเผด็จการทหารเมียนมาได้มีปฏิบัติการทิ้งระเบิดใส่พื้นที่ในเขตพลเรือนหลายแห่ง จนเป็นเหตุทำให้เมื่อวันที่ 10 พ.ย.ผ่านมา ทางแอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลได้มีการเรียกร้องให้บริษัทที่เกี่ยวข้องนั้นหยุดขนส่งน้ำมันเครื่องบินให้กับกองทัพอากาศของเมียนมา
@ข้อมูลเส้นทางการเงินที่รั่วไหลจนทำไปสู่การเรียกร้องให้ทางรัฐบาลออสเตรเลียได้มีการคว่ำบาตร
หลังจากการเรียกร้องของแอมเนสตี้ ล่าสุดเมื่อประมาณสองสัปดาห์ที่ผ่านมา กลุ่มผู้สื่อข่าวที่ชื่อว่า Distributed Denial of Secrets ซึ่งเป็นองค์กรสื่อมวลชนที่ทำหน้าที่รายงานข่าวเกี่ยวกับความโปร่งใสและข้อมูลได้มีการเปิดเผยเอกสารเกี่ยวกับการโอนเงินชุดหนึ่งซึ่งเป็นการโอนเงินระหว่างธนาคาร ANZ กับธนาคารที่อยู่ภายใต้การดูแลของกองทัพเมียนมาชื่อว่าธนาคาร Innwa ซึ่งช่วงเวลาการโอนเงินนั้นเกิดขึ้นนับตั้งแต่หลังการรัฐประหารเป็นต้นมา
โดยธนาคาร Innwa นั้นมีเจ้าของคือรัฐวิสาหกิจ Myanmar Economic Corporation หรือตัวย่อว่า MEC ซึ่งรัฐวิสาหกิจแห่งนี้เป็นบริษัทข้ามชาติที่ถูกสหรัฐอเมริกา,สหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรปคว่ำบาตรเมื่อปลายปี 2564
ขณะที่สำนักข่าว ABC สืบทราบข้อมูลว่าการทำธุรกรรมกันระหว่างธนาคาร ANZ และธนาคาร Innwa นั้นกระทำกันในรูปแบบของเงินจ๊าตของเมียนมามากกว่าที่จะเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งการกระทำดังกล่าวนั้นไม่เป็นการละเมิดต่อมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ อีกทั้งออสเตรเลียก็ยังไม่ได้ดำเนินมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อเมียนมาแต่อย่างใด
“ANZ ไม่ได้ละเมิดมาตรการคว่ำบาตรของออสเตรเลียหรือว่ามาตรการคว่ำบาตรนานาชาติแต่อย่างใด ดังนั้นการเสนออะไรใดๆอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้” โฆษกของธนาคาร ANZ กล่าว
ธนาคาร ANZ ในเมียนมา (อ้างอิงวิดีโอจาก Eleven Broadcasting)
อย่างไรก็ตาม นางจัสติน่า กุดโซวสกา ผู้อำนวยการด้านฝ่ายนโยบายการเงินที่ผิดกฎหมายที่หน่วยงาน The Sentry ในสหรัฐอเมริกาได้กล่าวว่านี่ไม่ใช่สิ่งที่ดูดีสำหรับธนาคาร ANZ เลย
“สถาบันทางการเงินที่ยังคงทำธุรกิจกับหน่วยงานที่ถูกคว่ำบาตรจากทั้งสหรัฐฯ สหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรป โดยเฉพาะสถาบันทางการเงินที่มีความเชื่อมโยงกับระบอบเผด็จการทหารที่มีความโหดร้าย มีพฤติกรรมการทารุณกรรมกับประชาชนของตัวเองนั้น นี่อาจจะนำมาซึ่งการตั้งประเด็นคำถามกับธนาคารอื่นๆที่เข้ามาร่วมกิจการได้” เธอกล่าว
นางกุดโซวสกากล่าวต่อไปว่านี่คือเหตุผลที่ทำให้ธนาคารข้ามประเทศหลายแห่งปฏิบัติตามมาตรการคว่ำบาตรจากสหรัฐฯ สหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรป แม้ว่าจะไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ก็ตาม และธนาคารโดยทั่วไปแล้วก็เลือกที่จะละทิ้งความเสี่ยงว่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับเผด็จการทหารเมียนมา แม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม เพราะความเสี่ยงที่ตามมาภายหลังนั้นก็อาจจะค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่มากขึ้นกรณีที่ต้องทำธุรกิจกับประเทศที่มีความเสี่ยงสูง
โดยธุรกรรมทางการเงินที่ถูกตรวจสอบพบในขณะนี้ก็คือว่ามีการโอนเงินจำนวน 5,000 ดอลลลาร์สหรัฐฯ (178,450 บาท) โดยโอนผ่านบริษัท AIA ในฮ่องกง และโอนผ่านบริษัท Edotco ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติมาเลเซียที่ปล่อยเช่าสัญญาณโทรคนาคมให้กับบริษัทที่ชื่อว่า Mytel ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรัฐวิสาหกิจ MEC และเงินจำนวนนี้ก็ถูกแบ่งจ่ายไปเข้าบัญชีธนาคาร Innwa ในเมียนมา
“ยังเป็นเรื่องที่ไม่สามารถอธิบายได้ว่าทำไมธนาคาร ANZ ถึงได้ยังคงทำธุรกิจต่อไปได้แบบปกติในเมียนมา เพราะว่าการโอนเงินไปยังธนาคารของกองทัพที่ถูกคว่ำบาตรนั้นก็เท่ากับว่าเป็นการสนับสนุนอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ” นางยาดานาร์ เมือง (Yadanar Maung)นักกิจกรรมจากกลุ่ม Justice For Myanmar กล่าวและกล่าวต่อไปว่าถ้าหากไม่สามารถหยุดยั้งเส้นทางการเงินจากธนาคารสาขาในเมียนมามุ่งตรงไปสู่ธนาคารของกองทัพได้ หนทางเดียวก็คือต้องออกจากเมียนมา
ขณะที่ ANZ ได้ออกแถลงการณ์ยืนยันว่าธนาคารนั้นปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ต่างๆและยังคงติดตามสถานการณ์ในเมียนมาอย่างใกล้ชิดและสิ่งที่ธนาคารยังคงให้ความสำคัญก็คือความปลอดภัยและสวัสดิภาพของพนักงาน
“เราไม่สามารถจะแสดงความเห็นในกรณีที่เจาะจงไปถึงการทำธุรกรรมทางการเงินครั้งใดครั้งหนึ่งได้ ธนาคาร ANZ นั้นมีกระบวนการที่เข้มแข็งเพื่อทำให้แน่ใจได้ว่าทุกิจกรรมที่ได้ดำเนินการนั้นสอดคล้องกับกฎระเบียบที่บังคับใช้ โดยกระบวนการเหล่านี้ถือว่าสอดคล้องกับคำแนะนำของคณะทํางานเฉพาะกิจด้านการเงิน (Financial Action Taskforce)” แถลงการณ์ธนาคาร ANZ ระบุ
ทั้งนี้เมื่อเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา คณะทํางานเฉพาะกิจด้านการเงินได้จัดอันดับให้เมียนมาขึ้นบัญชีดำฐานะที่มีเส้นทางการเงินเกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายและการฟอกเงิน ควบคู่กับอิหร่านและเกาหลีเหนือ และยังมีการเรียกร้องด้วยว่าการดำเนินการทางธุรกรรมใดๆในเมียนมานั้นควรจะต้องตรวจสอบให้ละเอียดถี่ถ้วนเสียก่อน ซึ่งประเทศที่ดำเนินกิจการเกี่ยวข้องกับการเงินในเมียนมานั้นควรจะต้องตรวจสอบให้แน่ชัดว่าเส้นทางการเงินจะถูกนำไปใช้ช่วยเหลือในภารกิจด้านมนุษยธรรมอย่างแท้จริง ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่ไม่ควรจะหยุดชะงัก
นางเมืองกล่าวอีกว่ากรณีธุรกรรมจากธนาคาร ANZ นั้นเป็นข้อบ่งชี้ว่านี่ถือความล้มเหลวของรัฐบาลออสเตรเลียในการคว่ำบาตรรัฐบาลทหารและบริษัทข้ามชาติที่เกี่ยวข้อง
ขณะที่ก่อนหน้านี้นางเพนนี หว่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของออสเตรเลียกล่าวว่าการคว่ำบาตรรัฐบาลทหารเมียนมานั้นกำลังอยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณา
“ออสเตรเลียยังคงดำเนินมาตรการไม่ค้าขายอาวุธกับเมียนมามาอย่างยาวนาน และสนับสนุนการเรียกร้องให้ทั่วโลกคว่ำบาตรเรื่องการค้าอาวุธกับรัฐบาลทหารเมียนมา” โฆษกกระทรวงการต่างประเทศและการค้ากล่าวและกล่าวต่อด้วยว่าเรากําลังทํางานทวิภาคี พหุภาคี และกับพันธมิตรที่มีใจเดียวกันเพื่อส่งเสริมให้ประเทศเหล่ายุติการจัดหาอาวุธ การสนับสนุนในทางปฏิบัติ และการทําให้เมียนมาสามารถยุติปฏิบัติการได้
ทั้งนี้มีรายงานด้วยว่าธนาคาร ANZ นั้นเคยถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักเนื่องจากว่าธนาคารนี้ปฏิเสธที่จะลงนามในจดหมายแถลงการณ์ประนามความรุนแรงที่เกิดขึ้นในเมียนมาหลังจากการรัฐประหาร
โดยนายตุน-ออง ชเว (Dr. Tun-Aung Shwe) ตัวแทนของรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติของเมียนมาในออสเตรเลีย (รัฐบาลพลัดถิ่นที่ถูกก่อตั้งโดยนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ผู้นำการประท้วง และหัวหน้ากลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆในเมียนมา) กล่าวว่านี่เป็นภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกสำหรับธุรกิจต่างชาติ ดังนั้นเจ้าหน้าที่ ANZ ต้องพิจารณาอย่างจริงจังเพื่อระงับกระบวนการที่ธนาคารใดๆจะไปเกี่ยวกับรัฐบาลทหารเมียนมาหรือว่าหุ้นส่วนร่วมทางธุรกิจ
“มีสองทางเลือกก็คือว่าถอนการลงทุนทั้งหมดออกไปเลย หรือไม่ก็ธุรกิจที่มีความรับผิดชอบนั้นสามารถอยู่เพื่อดำเนินกิจการต่อได้ แต่ต้องตัดสัมพันธ์ที่มีทั้งหมดกับกองทัพ เพื่อจะได้เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและประชาชนเมียนมาอย่างแท้จริง”นายชเวกล่าวและย้ำว่าในบางกรณีนั้นก็อาจจะเป็นปัญหาได้เช่นกันว่าถ้าหากว่าบางบริษัทได้ตัดสินใจจะถอนกิจการออกจากเมียนมาไป แต่ว่าทรัพย์สินที่พวกเขาได้ทิ้งไว้กลับตกไปอยู่ในมือของกองทัพ ซึ่งนี่จะเป็นปัจจัยทำให้กองทัพสามารถกระชับอำนาจในการปกครองประเทศได้ยิ่งขึ้นไปอีก
ข่าวการทิ้งระเบิดในรัฐคะฉิ่น (อ้างอิงวิดีโอจากอัลจาซีรา)
และล่าสุดจากเสียงวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าวก็ส่งผลทำให้ธนาคาร ANZ ได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 22 พ.ย.ที่ผ่านมา ระบุว่าธนาคารได้พิจารณาถอนกิจการออกจากประเทศเมียนมา โดยจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในต้นเดือน2566 ซึ่งที่ผ่านมานั้นธนาคารแห่งนี้มีแค่สำนักงานเล็กๆพร้อมกับทีมงานแค่จำนวนไม่มากดำเนินกิจการในประเทศเมียนมา และจากปัญหาเกี่ยวกับความยุ่งยากในการดำเนินกิจการ ทางธนาคารจึงได้ตัดสินใจถอนการดำเนินกิจการในเมียนมาในช่วงต้นปี 2566
โดยสถานการณ์ในเมียนมาในปัจจุบัน มีรายงานข่าวว่าหลังจากที่สถาบันทางการเงินจากตะวันตกเริ่มทยอยโดดเดี่ยวเมียนมา ทางเมียนมาก็หันไปพึ่งพาธนาคารจากรัสเซียมากขึ้นเรื่อยๆ
เรียบเรียงจาก:https://www.abc.net.au/news/2022-11-04/myanmar-australia-anz-amnesty-jet-fuel-sanctions/101617706, https://www.abc.net.au/news/2022-11-22/anz-pulling-out-of-myanmar-military-junta/101683180
- ส่องคดีทุจริตโลก: จากข้อหาสินบนถึงละเมิดสิทธิมนุษยชน ข้อพิรุธ กาตาร์จัดบอลโลก 2022
- ส่องคดีทุจริตโลก: อดีต ทอ.แฉ นายกฯมาเลเซียเอี่ยวจัดซื้อ บ.รบ-โดรนหมื่น ล.ไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง บ.ทหารรับจ้างแว็กเนอร์ เอี่ยวสัญญาเหมืองทองไม่โปร่งใส รบ.ซูดาน
- ส่องคดีทุจริตโลก:'เพนตากอน'ถลุงงบหลายแสน ล.ไร้ประสิทธิภาพ-เอื้อปย.เอกชนช่วงสงครามอัฟกาฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก: ผู้แทน WHO ซีเรีย ถูกสอบใช้งบจัดปาร์ตี้ รร.หรู,สั่งเต้นสู้โควิดระบาด
- ส่องคดีทุจริตโลก:แค่เปลี่ยนธงก็รอด วิธีการโอลิการ์ชรัสเซีย นำเรือยอชต์หนีคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก: สอบผู้พิพากษาศาลฎีกาอินโดฯ ส่อรับสินบน 1.9 ล. เอื้อ ปย.คดีสหกรณ์
- ส่องคดีทุจริตโลก: สอบอดีต รมว.ศธ.รัฐเบงกอลใต้ตั้ง บ.เปลือกหอยฟอกเงินสินบนจ้างครู ร้อย ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อ บ.นอกอาณาเขตเอื้อ ปย.อดีตพ่อค้าอาวุธให้ 'ซัดดัม' นานเกือบ 30 ปี
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการญี่ปุ่นสั่งสอบ ปมคนสนิท กก.โอลิมปิกตั้ง บ.ที่ปรึกษารับเงินเอกชน
- ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อพิพิธภัณฑ์ศิลปะนิวยอร์ก ถูก จนท.ยึดโบราณวัตถุผิด กม.นับสิบชิ้น
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยข้อมูล 'นาจิบ'-ปธ.พรรคอัมโนเอี่ยวโครงการเรือรบฉาว 7.2 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.ลับปานามาเปเปอร์สรับโอน 1.5 พัน ล.โครงการเรือรบมาเลเซีย 7.2 หมื่นล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ทร.มาเลเซียเซ็นสัญญาต่อเรือรบ 6 ลำ 7.2 หมื่น ล.เกือบสิบปี ยังไม่ส่งมอบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เผยเครือข่าย บ.เปลือกหอยอังกฤษ เอื้อผลประโยชน์คนใกล้ชิด ปธน.ปูติน
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉขบวนการถ่ายน้ำมันรัสเซียนอกชายฝั่งอังกฤษ ส่งรายได้หนุนสงครามยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอย 'บ.อิสราเอล' ส่งออกสปายแวร์เพกาซัส ให้ รบ.ตปท.สอดแนมประชาชน
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง 'อูเบอร์ไฟล์'แฉเอกชนล็อบบี้โอลิการ์ชแลกทำธุรกิจแท็กซี่รัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: สตง.อังกฤษสอบนโยบาย 'บอริส จอห์นสัน' ส่อย้อมแมวสร้าง รพ. 40 แห่ง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเส้นทางฟอสเฟตซีเรีย สู่โรงงานปุ๋ยยุโรป ส่งรายได้เข้าโอลิการ์ชรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: จนท.องค์การเภสัชอินเดียรับสินบน แลกอนุมัติยกเลิกทดลองอินซูลินระยะ 3
- ส่องคดีทุจริตโลก: ธนาคารเครือยักษ์ใหญ่รัฐบอลติก เอี่ยวฟอกเงินหมื่น ล.โอลิการ์ชรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: ปลด รมต.สธ.เวียดนาม เซ่นปมขายชุดตรวจโควิดแพง 45% เอกชนฟันกำไร 709 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:นักธุรกิจจีนเอี่ยวคดีสินบน อดีตที่ปรึกษาฮุนเซน ถือหุ้นสโมสรเบอร์มิงแฮม
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเส้นทางการเงินคดีให้สินบนนายพลจีน สู่คฤหาสน์พันล้าน ณ แวนคูเวอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงข้อพิรุธธุรกรรม เชื่อมโยงทอง 3 ตันประเทศกินี ส่อถูกฟอกในอังกฤษ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ย้อมแมวจรวด,โดรน-กินส่วนต่างวิทยุ 3 พันล. ต้นเหตุรัสเซียติดหล่มในยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดข้อพิรุธเอกชนไร้ประสบการณ์ ชนะสัญญาชุด PPE รบ.ออสเตรเลีย หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอยสินบนเรือดำน้ำมาเลเซีย พัน ล.! ฝรั่งเศสสั่งสอบ บ.ต่อเรือรบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'รมต.สเปน'โดนสอบ ใช้ช่องพิเศษอนุมัติสัญญาโควิดเอื้อ บ.พวกพ้อง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมคอรัปชั่นในกองทัพรัสเซีย-งบปี 65 รวม 2 ล้าน ล.ไม่รู้ไปไหนบ้าง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเครือข่ายขโมยเงินสนับสนุนอาหารอียู 694 ล. นำไปซื้อแฟลต-กระเป๋าหรู
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ไมโครซอฟท์'ถูกอดีตลูกจ้างแฉ-พนง.รวมหัว บ.คู่ค้า,จนท.รัฐ ทุจริตหลาย ปท.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเครือข่าย บ.เปลือกนอกหนุนเผด็จการซีเรีย-หลบมาตรการคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง บ.กฎหมายยักษ์ใหญ่ รับงานช่วยโอลิการ์ชรัสเซียรอดมาตรการคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง 'ดูไบ' แหล่งกบดานเศรษฐีหนีคดี หลังโลกตามอายัดเงินจากรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อีริคสัน' ส่อเอี่ยวจ่ายเงินให้กลุ่ม ISIS แลกทำธุรกิจใน 'โมซุล'
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเครือข่ายธนาคารดันสเก เอสโตเนีย ไฉนเป็นเส้นทางฟอกเงิน 5.1 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อังกฤษ' ยกเลิกวีซ่านักลงทุน หวั่นเปิดช่องฟอกเงิน โต้ 'วิกฤติยูเครน'
- ส่องคดีทุจริตโลก: อายุน้อยร้อย ล.-เมื่อเด็กเป็นเจ้าของ บ.ในลักเซมเบิร์กเกือบ 300 แห่ง
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อังกฤษ'ยึดทรัพย์ทุจริต'อาเซอร์ไบจาน' แสน ล.โยงฟอกเงินผ่าน'เอสโตเนีย'
- ส่องคดีทุจริตโลก:'คูเวต'เร่งสอบ ปมจัดซื้อเครื่องบินไต้ฝุ่น 2.9 แสน ล.แพง
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อัยการเบอร์ลิน'สอบผู้บริหารพรรคกรีนส์-รมต.อนุมัติโบนัสโควิดไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.อิสราเอล จ่อตั้ง กก.สอบปมสินบนเรือดำน้ำเยอรมนี หลังเรื่องแดงปี 59
- ส่องคดีทุจริตโลก:'เพนตากอน'ถลุงงบหลายแสน ล.ไร้ประสิทธิภาพ-เอื้อปย.เอกชนช่วงสงครามอัฟกาฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโก' ปธน.เบลารุส บุคคลคอร์รัปชันแห่งปี 64