แต่ปรากฏว่ารัสเซียกลับสามารถหาช่องทางใหม่ในการที่จะจัดหาและเข้าถึงไมโครชิปจากตะวันตกได้ โดยมีรายงานว่าชิ้นส่วนประกอบหลายรายการนั้นถูกจัดซื้อจากผู้จัดจำหน่ายในทวีปเอเชีย อาทิ ฮ่องกง ซึ่งหน้าหน้าที่เป็นเสมือนกับประตูสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จะส่งตรงไปยังกองทัพรัสเซีย หรือบริษัทที่ทำหน้าที่ประหนึ่งเป็นตัวแทนของกองทัพรัสเซียเป็นต้น
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สัปดาห์นี้ยังคงอยู่กันที่ประเด็นสงครามระหว่างยูเครนกับรัสเซีย ซึ่งขณะนี้ก้าวเข้าสู่เดือนที่แปดแล้วนับตั้งแต่วันที่ 24 ก.พ. ที่รัสเซียได้ตัดสินใจยกทัพบุกเข้าไปในยูเครนโดยอ้างว่าเป็นปฏิบัติการณพิเศษทางการทหาร
โดยเมื่อประมาณวันที่ 13 ก.พ.ที่ผ่านมานั้น เว็บไซต์ข่าว Investment Monitor ซึ่งเป็นเว็บไซต์ข่าวเชิงลึกจากสกอตแลนด์ได้มีการเผยแพร่รายงานจากสหประชาชาติฉบับหนึ่งระบุว่าบริษัทหลายแห่งจากตะวันตกนั้นอาจมีส่วนช่วยเหลือกองทัพรัสเซียในด้านการจัดหาชิ้นส่วนอุปกรณ์ทางการทหารเพื่อมาใช้ในการสู้รบในยูเครนในช่วงเวลาที่ผ่านมา มีรายละเอียดดังนี้
มีรายงานว่ากองทัพรัสเซียนั้นแท้จริงแล้ว ต้องพึ่งพาอุปกรณ์ อาทิ ไมโครชิปจากต่างประเทศในทุกๆอย่าง นับตั้งแต่วิทยุทางการทหาร ไปจนถึงโดรนและอาวุธปล่อยนำวิถีระยะไกล ซึ่งรายงานดังกล่าวนี้นั้นมาจากการสรุปร่วมกันของทั้งกลุ่มองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรได้แก่ Statewatch NGO, Economic Security Council of Ukraine และ B4Ukraine โดยรายงานเหล่านี้ได้ถูกส่งไปยังคณะกรรมการสอบสวนอิสระนานาชาติของสหประชาชาติว่าด้วยกรณียูเครน
ในข้อมูลเอกสารที่รวบรวมมานั้นได้มีการอ้างถึงหลักฐานเป็นจำนวนมากที่ระบุว่ามีบริษัทข้ามชาติจากตะวันตกจำนวนหลายแห่งได้ให้การช่วยเหลือรัสเซียในการรุกรานยูเครน โดยบริษัทที่ว่านี้นั้นก็มีทั้งบริษัทสัญชาติเนเธอร์แลนด์,บริษัทัญชาติสหรัฐอเมริกา,บริษัทสัญชาติฝรั่งเศส และบริษัทสัญชาติเยอรมนี และยังมีการระบุชื่อบริษัทอย่างเช่นบริษัท Texas Instruments และบริษัท TotalEnergies เป็นต้น
@บริษัทต่างชาติเข้าไปมีส่วนช่วยรัสเซียในการผลิตอาวุธได้อย่างไร
นับตั้งแต่เริ่มการรุกรานเมื่อเดือน ก.พ. 2565 กองทัพยูเครนนั้นสามารถที่จะกู้คืนยุทโธปกรณ์รัสเซียที่ยังคงสภาพเดิมหรือว่าได้รับความเสียหายเล็กน้อยเอาไว้ได้เป็นจำนวนนับหลายพันรายการด้วยกัน
โดยเมื่อมีการนำเอาอาวุธเหล่านี้มาถอดประกอบ พบว่ามีระบบอาวุธอย่างน้อย 27 รายการนับตั้งแต่จรวดร่อนไปจนถึงระบบต่อต้านอากาศยาน ซึ่งการทำงานส่วนมากของระบบอาวุธเหล่านี้นั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพึ่งพาชิ้นส่วนจากตะวันตก
ทั้งนี้จากข้อมูลการวิจัยของสถาบันสถาบันรอยัลยูไนเต็ดเซอร์วิส (Royal United Services Institute) หรือ RUSI ของสหราชอาณาจักรนั้นระบุว่าประมาณสองในสามของชิ้นส่วนที่ผลิตจากประเทศตะวันตกเหล่านี้มาจากบริษัทในประเทศสหรัฐอเมริกา
โดยหนึ่งในกรณีที่น่าสนใจก็คือจรวดร่อนของรัสเซียที่ชื่อว่า 9M727 ซึ่งทางรัสเซียได้กล่าวอ้างว่าเป็นอาวุธที่มีความก้าวหน้าสูงสุด มีขีดความสามารถในการบินในระดับต่ำเพื่อหลบหลีกเรดาร์และเข้าโจมตีเป้าหมายที่อยู่ห่างเป็นร้อยกิโลเมตรได้นั้น ก็ปรากฏว่าจรวดดังกล่าวมีชิ้นส่วนซึ่งผลิตจากต่างประเทศจำนวน 31 รายการ ซึ่งผลิตจากบริษัทในประเทศสหรัฐฯ,และในประเทศเยอรมนี
จรวดร่อน 9M727 หรือที่รู้จักในอีกชื่อว่าอิสกันดาร์
ทั้งนี้ในช่วงเวลาที่ผ่านมา บริษัท Texas Instruments ของสหรัฐฯได้เคยออกมาปฏิเสธแล้ว เช่นเดียวกับบริษัททางด้านกลาโหมอื่นๆ โดยบริษัทได้ออกแถลงการณ์อ้างว่าบริษัทนั้นได้ดำเนินการตามกฎหมายของทุกๆประเทศที่บริษัทได้ดำเนินกิจการ และชิ้นส่วนที่ถูกพบในอาวุธรัสเซียนั้นแท้จริงแล้วก็เป็นชิ้นส่วนสำหรับผลิตภัณฑ์เพื่อใช้งานในด้านเชิงพาณิชย์
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมามีไมโครชิปสัญชาติตะวันตกจำนวนมากกว่า 80 รายการ ซึ่งทั้งหมดนั้นถูกระบุว่าสำหรับใช้งานในเชิงพาณิชย์ ถูกขึ้นทะเบียนควบคุมจากทางการสหรัฐฯ นับตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา หลังจากเหตุการณ์ที่รัสเซียเข้าบุกยึดแหลมไครเมีย
หรือก็คือหมายความว่า แม้จะอ้างว่าเป็นชิปเพื่อใช้งานในกิจการเชิงพาณิชย์ แต่ว่าการส่งออกไปยังรัสเซียนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการออกใบอนุญาตให้เหมาะสม โดยบริษัทที่ทำหน้าที่การส่งออกชิปมีพันธกรณีที่จะต้องดำเนินการในเรื่องของการตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่าชิปเหล่านี้จะไม่ถูกนำไปใช้ในกิจการกองทัพรัสเซีย หรือถูกนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการทหารแต่อย่างใด
โดยหลังจากเหตุการณ์การเข้ารุกรานยูเครน ทางกรุงวอชิงตันก็ได้มีการออกมาตรการณ์คว่ำบาตรฉบับใหม่ ที่รวมไปถึงการห้ามขายชิปที่มีความละเอียดอ่อนไปยังประเทศรัสเซีย ซึ่งประเทศอื่นๆที่ผลิตชิปในทวีปยุโรป ประเทศญี่ปุ่น และไต้หวันต่างก็ยึดเอามาตรการคว่ำบาตรเหล่านี้ตามรอยสหรัฐฯด้วยเช่นกัน
แต่ปรากฏว่ารัสเซียกลับสามารถหาช่องทางใหม่ในการที่จะจัดหาและเข้าถึงไมโครชิปจากตะวันตกได้ โดยมีรายงานว่าชิ้นส่วนประกอบหลายรายการนั้นถูกจัดซื้อจากผู้จัดจำหน่ายในทวีปเอเชีย อาทิ ฮ่องกง ซึ่งหน้าหน้าที่เป็นเสมือนกับประตูสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จะส่งตรงไปยังกองทัพรัสเซีย หรือบริษัทที่ทำหน้าที่ประหนึ่งเป็นตัวแทนของกองทัพรัสเซียเป็นต้น
โดยย้อนไปเมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา ทางรัฐบาลสหรัฐฯได้มีการออกประกาศว่ามีบริษัทนายหน้าสัญชาติรัสเซียจำนวนหลายแห่งนั้นได้ดำเนินการจัดซื้อชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ให้กับกองทัพรัสเซียคิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 600,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 22.9 ล้านบาท ซึ่งชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวนี้นั้นพบว่าถูกผลิตจากบริษัท Texas Instruments ก่อนที่จะถูกส่งตรงไปยังผู้จัดจำหน่ายในฮ่องกง
@ฝรั่งเศสมีส่วนช่วยในการเติมน้ำมันกองทัพอากาศรัสเซียอย่างไร
มีรายงานว่าแหล่งก๊าซ Termokartovoye ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศรัสเซียกำลังเป็นที่ได้รับตความสนใจในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมานี้ โดยแหล่งก๊าซดังกล่าวนั้นมีเจ้าของร่วมกันคือบริษัทฝรั่งเศสยักษ์ใหญ่ที่ชื่อว่า TotalEnergies และบริษัทก๊าซธรรมชาติสัญชาติรัสเซียที่ชื่อว่า Novatek โดยในแต่ละเดือนนั้นแหล่งก๊าซแห่งนี้จะผลิตกก๊าซธรรมชาติเหลวปริมาณมากกว่า 60,000 ตัน
ประเด็นก็คือว่าก๊าซธรรมชาติเหลวดังกล่าวนั้นถูกขนส่งขึ้นบนรถไฟมุ่งตรงไปยังโรงกลั่นของรัฐวิสาหกิจแก๊สพรอม (Gazprom Neft) ในเมืองออมสค์ ริมชายแดนประเทศคาซัคสถาน ซึ่งในเมืองแห่งนี้ ก๊าซธรรมชาติจะถูกกลั่นจนกลายเป็นผลิตภัณฑ์อาทิน้ำมันปิโตรเลียม,น้ำมันดีเซล และน้ำมันสำหรับเครื่องบินเจ็ท โดยรายงานสืบสวนจากกลุ่ม Global Witness ซึ่งเป็นองค์การนานาชาติว่าด้วยเรื่องสิ่งแวดล้อมระบุว่าแท้จริงแล้วแหล่งก๊าซดังกล่าวนั้นเป็นกลไกสำคัญในการจัดหาน้ำมันสำหรับเครื่องบินรบของกองทัพอากาศรัสเซีย
บริษัท TotalEnergies ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนส่งน้ำมันสำหรับเครื่องบินรบรัสเซีย (อ้างอิงวิดีโอจาก Tiny Hand)
โดยนับตั้งแต่วันที่ 24 ก.พ.เป็นต้นมา มีการขนส่งน้ำมันเครื่องบินรบมากกว่าร้อยเที่ยวจากโรงกลั่นในเมืองออมสค์ไปยังฐานทัพกองทัพอากาศรัสเซียซึ่งตั้งอยู่ริมพรมแดนยูเครน และหนึ่งในเครื่องบินรบเหล่านี้ก็คือเครื่องบินขับไล่-ทิ้งระเบิดรุ่น SU-34 ซึ่งได้รับการเติมน้ำมันจากโรงกลั่นเมืองออมสค์แค่ไม่กี่วันก่อนจะเริ่มการรุกราน ขณะที่นักบินของเครื่องบินรบดังกล่าวก็ถูกกล่าวหาจากทางรัฐบาลยูเครนว่ามีส่วนในการละเมิดสิทธิมนุษยชนเนื่องจากว่าทิ้งระเบิดโดยไม่เลือกในพื้นที่พลเรือน
ขณะที่ทางบริษัท TotalEnergies ก็ได้ออกมาแก้ต่างถึงเหตุผลที่บริษัทไม่ยอมย้ายออกจากรัสเซียหลังจากที่มีเหตุรุกราน ขณะที่บริษัทคู่แข่งของบริษัท TotalEnergies อย่างเช่นบริษัท BP กลับตัดสินใจย้ายออกจากรัสเซียไปแล้ว
โดยบริษัท TotalEnergies นั้นอ้างว่าด้วยมาตรการคว่ำบาตรในปัจจุบันทำให้เป็นการยากที่บริษัทจะสามารถขายหุ้นของบริษัทให้กับผู้ซื้อที่ไม่ใช่ชาวรัสเซียได้ อีกทั้งการถอนตัวเพียงฝ่ายเดียวนั้นก็ไม่เป็นที่รับประกันได้ว่าจะไม่เกิดกรณีของการโยกย้ายทรัพย์สินซึ่งจะเป็นคุณต่อทางฝั่งของรัสเซียได้เช่นกัน
บริษัท TotalEnergies ยังได้โต้แย้งต่อไปโดยอ้างว่าบริษัทร่วมค้าซึ่งก็คือบริษัท Novatek นั้นไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปฏิบัติการณ์ทางการทหารในยูเครนแต่อย่างใด
ขณะที่แถลงการณ์ของบริษัท TotalEnergies ระบุว่าก๊าซธรรมชาติทุกหน่วยที่มาจากแหล่างก๊าซ Termokarstovoye นั้นถูกขายให้กับบริษัท Novatek แต่ว่าบริษัทไม่มีข้อมูลว่า Novatek ได้ขายก๊าซนั้นไปให้ใครต่อและก็ไม่มีอำนาจจะไปควบคุมบริษัท Novatek ด้วยเพราะถือว่าเป็นคนละบริษัทกัน
เรียบเรียงจาก:https://www.investmentmonitor.ai/special-focus/ukraine-crisis/western-companies-accused-assisting-russia-army-military
- ส่องคดีทุจริตโลก:แค่เปลี่ยนธงก็รอด วิธีการโอลิการ์ชรัสเซีย นำเรือยอชต์หนีคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก: สอบผู้พิพากษาศาลฎีกาอินโดฯ ส่อรับสินบน 1.9 ล. เอื้อ ปย.คดีสหกรณ์
- ส่องคดีทุจริตโลก: สอบอดีต รมว.ศธ.รัฐเบงกอลใต้ตั้ง บ.เปลือกหอยฟอกเงินสินบนจ้างครู ร้อย ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อ บ.นอกอาณาเขตเอื้อ ปย.อดีตพ่อค้าอาวุธให้ 'ซัดดัม' นานเกือบ 30 ปี
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการญี่ปุ่นสั่งสอบ ปมคนสนิท กก.โอลิมปิกตั้ง บ.ที่ปรึกษารับเงินเอกชน
- ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อพิพิธภัณฑ์ศิลปะนิวยอร์ก ถูก จนท.ยึดโบราณวัตถุผิด กม.นับสิบชิ้น
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยข้อมูล 'นาจิบ'-ปธ.พรรคอัมโนเอี่ยวโครงการเรือรบฉาว 7.2 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.ลับปานามาเปเปอร์สรับโอน 1.5 พัน ล.โครงการเรือรบมาเลเซีย 7.2 หมื่นล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ทร.มาเลเซียเซ็นสัญญาต่อเรือรบ 6 ลำ 7.2 หมื่น ล.เกือบสิบปี ยังไม่ส่งมอบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เผยเครือข่าย บ.เปลือกหอยอังกฤษ เอื้อผลประโยชน์คนใกล้ชิด ปธน.ปูติน
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉขบวนการถ่ายน้ำมันรัสเซียนอกชายฝั่งอังกฤษ ส่งรายได้หนุนสงครามยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอย 'บ.อิสราเอล' ส่งออกสปายแวร์เพกาซัส ให้ รบ.ตปท.สอดแนมประชาชน
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง 'อูเบอร์ไฟล์'แฉเอกชนล็อบบี้โอลิการ์ชแลกทำธุรกิจแท็กซี่รัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: สตง.อังกฤษสอบนโยบาย 'บอริส จอห์นสัน' ส่อย้อมแมวสร้าง รพ. 40 แห่ง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเส้นทางฟอสเฟตซีเรีย สู่โรงงานปุ๋ยยุโรป ส่งรายได้เข้าโอลิการ์ชรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: จนท.องค์การเภสัชอินเดียรับสินบน แลกอนุมัติยกเลิกทดลองอินซูลินระยะ 3
- ส่องคดีทุจริตโลก: ธนาคารเครือยักษ์ใหญ่รัฐบอลติก เอี่ยวฟอกเงินหมื่น ล.โอลิการ์ชรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: ปลด รมต.สธ.เวียดนาม เซ่นปมขายชุดตรวจโควิดแพง 45% เอกชนฟันกำไร 709 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:นักธุรกิจจีนเอี่ยวคดีสินบน อดีตที่ปรึกษาฮุนเซน ถือหุ้นสโมสรเบอร์มิงแฮม
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเส้นทางการเงินคดีให้สินบนนายพลจีน สู่คฤหาสน์พันล้าน ณ แวนคูเวอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงข้อพิรุธธุรกรรม เชื่อมโยงทอง 3 ตันประเทศกินี ส่อถูกฟอกในอังกฤษ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ย้อมแมวจรวด,โดรน-กินส่วนต่างวิทยุ 3 พันล. ต้นเหตุรัสเซียติดหล่มในยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดข้อพิรุธเอกชนไร้ประสบการณ์ ชนะสัญญาชุด PPE รบ.ออสเตรเลีย หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอยสินบนเรือดำน้ำมาเลเซีย พัน ล.! ฝรั่งเศสสั่งสอบ บ.ต่อเรือรบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'รมต.สเปน'โดนสอบ ใช้ช่องพิเศษอนุมัติสัญญาโควิดเอื้อ บ.พวกพ้อง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมคอรัปชั่นในกองทัพรัสเซีย-งบปี 65 รวม 2 ล้าน ล.ไม่รู้ไปไหนบ้าง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเครือข่ายขโมยเงินสนับสนุนอาหารอียู 694 ล. นำไปซื้อแฟลต-กระเป๋าหรู
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ไมโครซอฟท์'ถูกอดีตลูกจ้างแฉ-พนง.รวมหัว บ.คู่ค้า,จนท.รัฐ ทุจริตหลาย ปท.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเครือข่าย บ.เปลือกนอกหนุนเผด็จการซีเรีย-หลบมาตรการคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง บ.กฎหมายยักษ์ใหญ่ รับงานช่วยโอลิการ์ชรัสเซียรอดมาตรการคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง 'ดูไบ' แหล่งกบดานเศรษฐีหนีคดี หลังโลกตามอายัดเงินจากรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อีริคสัน' ส่อเอี่ยวจ่ายเงินให้กลุ่ม ISIS แลกทำธุรกิจใน 'โมซุล'
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเครือข่ายธนาคารดันสเก เอสโตเนีย ไฉนเป็นเส้นทางฟอกเงิน 5.1 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อังกฤษ' ยกเลิกวีซ่านักลงทุน หวั่นเปิดช่องฟอกเงิน โต้ 'วิกฤติยูเครน'
- ส่องคดีทุจริตโลก: อายุน้อยร้อย ล.-เมื่อเด็กเป็นเจ้าของ บ.ในลักเซมเบิร์กเกือบ 300 แห่ง
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อังกฤษ'ยึดทรัพย์ทุจริต'อาเซอร์ไบจาน' แสน ล.โยงฟอกเงินผ่าน'เอสโตเนีย'
- ส่องคดีทุจริตโลก:'คูเวต'เร่งสอบ ปมจัดซื้อเครื่องบินไต้ฝุ่น 2.9 แสน ล.แพง
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อัยการเบอร์ลิน'สอบผู้บริหารพรรคกรีนส์-รมต.อนุมัติโบนัสโควิดไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.อิสราเอล จ่อตั้ง กก.สอบปมสินบนเรือดำน้ำเยอรมนี หลังเรื่องแดงปี 59
- ส่องคดีทุจริตโลก:'เพนตากอน'ถลุงงบหลายแสน ล.ไร้ประสิทธิภาพ-เอื้อปย.เอกชนช่วงสงครามอัฟกาฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโก' ปธน.เบลารุส บุคคลคอร์รัปชันแห่งปี 64