จากการสืบข้อมูลพบว่าบริษัทของ ELP ส่วนหนึ่งนั้นมีผู้รับผลประโยชน์ในทางลับเชื่อมไปถึงกลุ่มบุคคลใกล้ชิดกับประธานาธิบดีปูติน ซึ่งบุคคลใกล้ชิดที่ว่านี้ก็คือสองพี่น้อง นายอาร์คาดี และ นายบอริส โรเทนเบิร์ก ซึ่งในปี 2563 ที่ผ่านมาทางคณะกรรมการวุฒิสภาของสหรัฐฯได้มีมติให้ดำเนินการสืบกับสองที่น้องเช่นกันในข้อหาว่าว่าสองพี่น้องได้ใช้โครงข่ายบริษัทเปลือกหอยทั่วโลก หลบเลี่ยงมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ที่ดำเนินต่อรัสเซียในฐานความผิดเรื่องการเข้ายึดครองแหลมไครเมียในปี 2557
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้ขอเสนอประเด็นโอลิการ์ช (มหาเศรษฐีผู้ทรงอิทธิพล) ของประเทศรัสเซียนั้นได้มีการใช้บริษัทเปลือกหอยในสหราชอาณาจักรเพื่อจะหลบเลี่ยงมาตรการคว่ำบาตรจากตะวันตก
โดยนายอาร์คาดี และ นายบอริส โรเทนเบิร์ก คู่เล่นกีฬายูโดของนายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ก็เป็นโอลิการ์ชอีกสองรายที่ใช้บริการบริษัทเปลือกหอยนี้ ซึ่งมีข้อกำหนดที่สำคัญว่าไม่จำเป็นต้องระบุตัวตนเจ้าของบริษัทที่แท้จริงก็ได้
ทำให้ทางด้านของรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักรนั้นต้องออกมาแสดงความกังวลเกี่ยวกับการมีอยู่ของบริษัทเปลือกหอยดังกล่าว ซึ่งหนึ่งในบริษัทเหล่านี้มีชื่อว่าบริษัท English Limited Partnerships (ห้างหุ้นส่วนจํากัดอังกฤษ) หรือว่าบริษัท ELP ที่ถูกพบว่าแท้จริงแล้วบริษัทนี้นั้นถูกใช้บริการโดยกลุ่มอาชญากรต่างๆ
โดยการทำข่าวเชิงสืบสวนร่วมกันระหว่างสำนักข่าวบีบีซี และเว็บไซต์ข่าว Finance Uncovered นั้นได้ตรวจสอบจนพบหลักฐานว่าบริษัท ELP นั้นมีความเชื่อมโยงไปถึงกิจกรรมต่างๆในด้านการฉ้อโกล,การก่อการร้าย และการฟอกเงิน
ทั้งนี้ในช่วงระหว่างปี 2559-2560 พบว่ารัฐบาลสหราชอาณาจักรได้มีการออกมาตรการภายใต้กฎหมายว่าด้วยความโปร่งใสฉบับใหม่ที่บังคับให้เกือบทุกบริษัทในสหราชอาณาจักรนั้นต้องระบุตัวตนของเจ้าของบริษัทที่แท้จริง แต่อย่างไรก็ตามบริษัท ELP นั้นกลับไม่อยู่ภายใต้ข้อบังคับของกฎหมายที่ว่ามานี้
นายอาร์คาดี โรเทนเบิร์ก กับประธานาธิบดีปูติน
และหลังจากนั้นเป็นต้นมาก็มีบริษัทที่มีลักษณะเป็นเครือข่ายของ ELP ปรากฏขึ้นมาอีกเป็นจำนวนนับ 4,500 แห่ง ซึ่งทางด้านของสำนักข่าวบีบีซีและ Finance Uncovered ได้มีการวิเคราะห์เอกสารที่รั่วไหลรวมไปถึงบันทึกบริษัทเป็นจำนวนนับพันฉบับเพื่อตรวจสอบเกี่ยวกับเส้นทางว่าบริษัท ELPนั้นสามารถจะหลบหลีกกฎหมายว่าด้วยการฟอกเงินของสหราชอาณาจักรที่บังคับให้ระบุตัวตนที่แท้จริงของเจ้าของหรือว่าผู้ควบคุมบริษัทไปได้อย่างไร
ก็พบข้อมูลว่าบริษัท ELPนั้นมีกิจกรรมการให้บริการอย่างถูกต้องในด้านการดำเนินงานที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์,การลงทุน และในด้านเงินบำนาญ จึงเป็นเหตุทำให้บริษัทนี้มีข้อได้เปรียบทางภาษี อาทิ การจำกัดความเสี่ยงในการลงทุนของนักลงทุนได้
โดยสิ่งที่ทำให้ ELP ไม่เหมือนกับบริษัทอื่นก็คือว่าบริษัทนี้ไม่มีนิติบุคคลที่เป็นตัวแทนทางกฎหมายแยกออกไปอีก ซึ่งทางด้านของรัฐบาลระบุว่านี่หมายความว่าบริษัทนี้ไม่สามารถจะครอบครองสินทรัพย์,ไม่มีเจ้าของผลประโยชน์,และไม่สามารถเปิดบัญชีธนาคารได้ด้วยตัวเอง
อย่างไรก็ตามจากการทำข่าวสืบสวนพบว่ามีเอกสารที่ระบุตัวตนของเจ้าของผลประโยชน์ที่แท้จริงของบริษัท ELPอยู่ และก็พบหลักฐานเกี่ยวกับการเปิดบัญชีของบริษัทเพื่ออำนวยความสะดวกในด้านของอาชญากรรมทางการเงิน
โดยนายเกรแฮม บาร์โรว์ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงินกล่าวว่าพฤติกรรมดังกล่าวนั้นมีความเสี่ยงต่อการใช้เงินที่ผิดประเภทเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่าพวกเขานั้นมีความจำเป็นที่จะต้องเปิดเผยข้อมูลเพียงเล็กน้อยให้สาธารณชนทราบเท่านั้น
สำหรับข้อมูลการสืบสวนมีรายละเอียดสำคัญดังต่อไปนี้
-ข้อมูลเอกสารที่รั่วไหล แสดงให้เห็นว่าบริษัท ELPนั้นดำเนินกิจการในฐานะผู้ให้บริการทางเลือก เพื่อจะหลบเลี่ยงความโปร่งใส
-มีบริษัทจำนวนห้าแห่งถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อรับผิดชอบบริษัทของ ELP อีกจำนวน 1,500 แห่ง ซึ่งในจำนวนกว่าร้อยแห่งนั้นพบว่าใช้ที่ตั้งเป็นร้านอาการเม็กซิกันกลางกรุงลอนดอน
-มีการใช้ชื่อนักปั้นเซรามิกสัญชาติสวิสวัย 71 ปี ในเอกสารต่างๆเพื่อที่จะปกปิดเกี่ยวกับเจ้าของที่แท้จริงของบริษัทที่ถูกจัดตั้งในสหราชอาณาจักร โดยลายของนักปั้นคนดังกล่าวนั้นถูกใช้ในเอกสารของบริษัทที่ถูกจัดตั้งโดย ELPs กว่า 160 แห่ง
-เจ้าหน้าที่สำนักสอบสวนกลางของสหรัฐอเมริกาหรือว่าเอฟบีไอได้สืบสวนเกี่ยวกับเหตุการณ์การวางระเบิดการวิ่งมาราธอนที่เมืองบอสตัน ได้ไปสืบทราบข้อมูลจนพบว่าที่อยู่ของบริษัท ELP ที่ได้มีการจดทะเบียนนั้นพบว่าเป็นร้านตัดผมในเมืองบริสตอล ประเทศอังกฤษ
จำนวนบริษัทในกลุ่ม ELP ที่เพิ่มขึ้นนับแต่ปี 2553
ทั้งนี้ในระยะเวลาห้าปีหลังจากที่กฎหมายว่าด้วยความโปร่งใสฉบับใหม่ของสหราชอาณาจักรถูกบังคับใช้พบว่ามีมากกว่า 4,500 บริษัทซึ่งเป็นของบริษัท ELP ถูกจัดตั้งขึ้น และในช่วงห้าปีก่อนจะถึงปี 2560 ก็พบว่ามีการจัดตั้งบริษัทอีกจำนวน 2,950 แห่ง
โดยจากการสืบข้อมูลพบว่าบริษัทของ ELP ส่วนหนึ่งนั้นมีผู้รับผลประโยชน์ในทางลับเชื่อมไปถึงกลุ่มบุคคลใกล้ชิดกับประธานาธิบดีปูติน ซึ่งบุคคลใกล้ชิดที่ว่านี้ก็คือสองพี่น้อง นายอาร์คาดี และ นายบอริส โรเทนเบิร์ก ซึ่งในปี 2563 ที่ผ่านมาทางคณะกรรมการวุฒิสภาของสหรัฐฯได้มีมติให้ดำเนินการสืบกับสองที่น้องเช่นกันในข้อหาว่าว่าสองพี่น้องได้ใช้โครงข่ายบริษัทเปลือกหอยทั่วโลก หลบเลี่ยงมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ที่ดำเนินต่อรัสเซียในฐานความผิดเรื่องการเข้ายึดครองแหลมไครเมียในปี 2557
สำหรับบริษัทต่างๆของ ELP นั้นพบว่าหนึ่งในบริษัทเคยจัดซื้องานศิลปะเป็นมูลค่าหลายล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึงบริษัทที่ว่านี้ก็มีชื่อว่า Sinara Company LP ถูกจัดตั้งขึ้นในเดือน ม.ค. 2560 และระบุว่ามีที่ตั้งเพื่อประกอบธุรกิจอยู่ในย่านออกซ์ฟอร์ด เซอร์คัส กลางกรุงลอนดอน ส่วนประเทภธุรกิจนั้นระบุว่าทำธุรกิจด้านการท่องเที่ยวและบริการจองตั๋ว
โดยในช่วงระหว่างเดือน ก.ค. 2560- มิ.ย. 2561 พบว่าบริษัทนี้มีการโอนเงินผ่านธนาคารไป 14 ครั้ง ยอดการโอนเท่ากันหมดอยู่ที่ 9,500 ดอลลาร์สหรัฐฯ (339,644 บาท) คิดเป็นยอดเงินรวมกว่า 133,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (4,755,016 บาท) ส่วนบัญชีปลายทางของผู้ที่รับโอนเงิน นั้นพบว่าเป็นที่ปรึกษาด้านศิลปะรายหนึ่ง ซึ่งทางด้านของวุฒิสภาได้ระบุว่าที่ปรึกษาด้านศิลปะคนดังกล่าวมีส่วนดำเนินการซื้อขายให้กับพี่น้องโรเทนเบิร์ก
ทั้งนี้ตามกฎหมายของสหราชอาณาจักรนั้นไม่ได้มีข้อบังคับว่าจะต้องเปิดเผยว่าใครอยู่เบื้องหลังบริษัท Sinara กันแน่ แต่อย่างไรก็ตามบริษัท Sinara นั้นก็ยุบกิจการไปเมื่อปี 2562 ที่ผ่านมา
“เป็นเรื่องสุดอื้อฉาวที่คนอย่างพี่น้องโรเทนเบิร์กที่ถูกคว่ำบาตรในสหรัฐฯ สามารถใช้โครงสร้างการจัดตั้งบริษัทของอังกฤษเพื่อนำเงินออกจากรัสเซีย เพื่อมาใช้ตามต้องการได้”นางเดม มาร์กาเร็ต ฮอดจ์ ส.ส.พรรคแรงงานอังกฤษ และเป็นประธานคณะกรรมการเกี่ยวกับภาษีและการทุจริตกล่าว
ทางสำนักข่าวบีบีซีได้พยายามติดต่อพี่น้องโรเทนเบิร์กเช่นกัน แต่ก็ไม่ได้รับการติดต่อกลับมาแต่อย่างใด แต่จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่าบริษัทที่มีลักษณะเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.) ส่วนใหญ่นั้นถูกจัดตั้งขึ้นจากสิ่งที่เรียกกันว่า “ผู้นำเสนอ” ซึ่งจะเป็นผู้ที่จัดหาที่อยู่สำหรับจดทะเบียน
โดยจากการสืบสวนพบว่าบริษัทจำนวนกว่า 4,500 แห่งของ ELP ที่ถูกจัดตั้งนับตั้งแต่ปี 2560 นั้น หนึ่งในสี่ของบริษัทเหล่านี้ถูกจัดตั้งขึ้นโดยบริษัทที่จดทะเบียนในสหราชอาณาจักรจำนวนห้าแห่ง
สำหรับบริษัทในสหราชอาณาจักรที่ว่ามานี้ เมื่อสืบย้อนข้อมูลบันทึกของบริษัทก็พบว่าบริษัทเหล่านี้เคยให้บริการเปิดบริษัทนิรนามในสหราชอาณาจักร ให้กับลูกค้าที่มาจากประเทศในแถบยุโรปตะวันออก และประเทศที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต และบริษัทที่ถูกจัดตั้งขึ้นมานั้นก็พบว่าบางบริษัทมีความเชื่อมโยงกับอาชญากรรมทางการเงินและการฟอกเงิน
ชื่อบริษัทนายหน้าผู้จัดการบริษัทในกลุ่ม ELP กว่า 4,500 แห่ง
ในบันทึกบริษัทยังแสดงให้เห็นว่าหนึ่งในบริษัทที่ดูจะมีความมั่งคั่งมากที่สุดซึ่งก็คือบริษัท LAS นั้นถูกบริหารโดยนางเอเลน่า ดอฟซิค นักบัญชีเชื้อสายแองโกล - รัสเซีย และนางอิเนตา อุตินาเน นักธุรกิจหุ้นส่วนสัญชาติลัตเวีย
โดยนักธุรกิจหญิงทั้งสองรายนั้นพบว่าสามารถหาเงินจาก LAS ได้เป็นจำนวนนับล้านปอนด์ จากการไปจัดตั้งและบริหารบริษัทนิรนามสัญชาติอังกฤษเป็นจำนวนนับร้อยแห่งให้กับลูกค้าที่มาจากยุโรปตะวันออกและเอเชียกลาง
มีรายงานด้วยว่าบริษัทจำนวนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับบริษัท LAS นั้นพบว่าในภายหลังไปเกี่ยวข้องกับกิจกรรมอาชญากรรม ซึ่งหนึ่งในบริษัทที่ว่านี้ก็คือบริษัท Always Efficient LLP ซึ่งบริษัทนี้ถูกจดเบียนโดยใช้ที่อยู่ที่ทางบริษัท LAS จัดหามาให้ โดยบริษัท Always Efficient LLP แห่งนี้พบว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการตลาดการแลกเปลี่ยนบิตคอยน์ภาษารัสเซียที่ใหญ่ที่สุด แต่อย่างไรก็ตามตลาดแลกเปลี่ยนนั้นถูกยกเลิกไปในปี 2560 หลังจากที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯพบว่าตลาดแห่งนี้ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวกับการฟอกเงิน
และในปี 2564 ที่ผ่านมา เว็บไซต์ fazze.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ติดต่ออย่างเป็นทางการของบริษัท LAS ก็ถูกกล่าวหาว่ามีการประสานงานกับทางรัสเซียเพื่อจะเผยแพร่ข้อมูลที่บิดเบือนเกี่ยวกับัคซีนป้องกันโควิด-19 อาทิ ระบุว่าวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้านั้นจะเปลี่ยนผู้รับวัคซีนให้กลายเป็นลิงชิงแปมซี
ขณะที่ทางบริษัท LAS ก็ได้ชี้แจงกับบีบีซีว่าบริษัทนั้นได้ยุติการให้บริการกับบริษัท Always Efficient LLP ไปแล้วตั้งแต่ปี 2560 เนื่องจากว่าได้มีการละเมิดเงื่อนไขและข้อตกลงของบริษัท
ส่วนกรณีเว็บไซต์ fazze.com ทาง LAS กล่าวว่านี่อาจจะเป็นการใช้ที่อยู่ซึ่งบริษัทจัดหามาให้โดยไม่ได้รับอนุญาต เนื่องจากบริษัทนั้นไม่ได้มีการเก็บรายละเอียดที่แน่นอนเอาไว้ในฐานข้อมูล
มีรายงานด้วยว่าก่อนหน้านี้บริษัท LAS เคยมีส่วนรับผิดชอบในการดำเนินการกลุ่มบริษัทในสหราชอาณาจักรอีกแห่งที่ชื่อว่า Scottish Limited Partnerships (ห้างหุ้นส่วนจํากัดสก็อตแลนด์) หรือ SLP ซึ่งกลุ่มบริษัทก็จะคล้ายกับ ELP เพียงแต่ว่าตั้งอยู่ในประเทศสก๊อตแลนด์
โดยการทำข่าวสืบสวนของสำนักข่าว Bellingcat นั้นพบว่าบริษัท LAS เองก็เป็นบริษัทนายหน้าที่ได้รับผลประโยชน์สูงสุดในการบริหารจัดการบริษัทในกลุ่ม SLP ดังกล่าวนี้ ในช่วงระหว่างปี 2558-2560 ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวบริษัท LAS ไม่ได้มีการเปิดเผยว่าใครที่เป็นเจ้าของบริษัทที่แท้จริงกันแน่ แต่ก็มีรายงานว่าบริษัทในกลุ่ม SLP นั้นเข้าไปมีส่วนเกี่ยวกับการฟอกเงินข้ามชาติครั้งใหญ่ ส่งผลทำให้รัฐบาลสหราชอาณาจักรต้องเปลี่ยนกฎหมายว่าพวกเขาต้องมีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ที่เป็นผู้ควบคุมบริษัทที่แท้จริง
และแน่นอนว่าหลังจากการบังคับใช้กฎหมาย ผู้ที่ลงทะเบียนในกลุ่ม SLP ก็ลดลงกว่าครึ่งหนึ่ง ทำให้บริษัท LAS เปลี่ยนมาให้ความสนใจกับกลุ่มบริษัท ELP แทน
นอกจากนี้ยังมีเอกสารบริษัท LAS ระบุว่าในวันที่ 18 พ.ค. 2560 บริษัทได้มีการส่งอีเมลไปหาลูกค้าในหัวข้ออีเมลว่าเสนอบริการทางเลือกอื่นๆ โดยบริษัทนั้นได้เสนอให้มีการใช้งานบริษัทในกลุ่ม ELP แทนที่กลุ่มบริษัท SLP
โดยเอกสารดังกล่าวนั้นถูกเปิดโปงในเอกสารแพนโดร่า ซึ่งถูกรวบรวมโดยสมาคมนักข่าวสืบสวนระหว่างประเทศหรือ ICIJ
สำหรับบริษัทอื่นๆในกลุ่ม ELP ที่พบว่ามีส่วนเกี่ยวกับอาชญากรรมนั้นก็มีอาทิ บริษัท Donnea Business LP ที่ถูกพบว่ามีพฤติกรรมเลี่ยงภาษีในประเทศยูเครน และ Cosalima Trade LP ซึ่งมีเจ้าของคือนักธุรกิจชาวรัสเซีย ที่เป็นที่ต้องการตัวของทางการรัสเซียในข้อหาว่ามีส่วนฉ้อโกงคิดเป็นมูลค่า 5 ล้านปอนด์ (215,807,831 บาท)
ขณะที่นางเอเลน่า ดอฟซิค ผู้บริหารบริษัท LAS กล่าวว่า “เรารับทราบว่าหลายปีก่อนนั้นเรามีการกรอกเอกสารลงทะเบียนให้กับบางบริษัทซึ่งท้ายที่สุดแล้วถูกกล่าวหาว่ามีส่วนในกิจกรรมที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ว่าข้อมูลเรื่องการผิดกฎหมายดังกล่าวนั้นไม่ได้มาถึงเราเลย ในช่วงเวลาก่อนที่จะมีการลงทะเบียนบริษัท
เราไม่เคยมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางธุรกิจใดๆของลูกค้าเก่าของเรา และเราทำแค่ช่วยเหลือลูกค้าของเราในแค่ส่วนของกระบวนการจัดตั้งบริษัท การให้บริการฟอร์เวิร์ดเมล และการยื่นฟ้องตามกฎหมายเท่านั้น เราไม่เคยสนับสนุนการฉ้อโกงหรือกิจกรรมที่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด ซึ่งถ้าหากลูกค้าของเรานั้นมีการรายงานว่ามีส่วนเกี่ยวกับการทำผิดกฎหมาย ก็จะมีการยกเลิกการให้บริการ โดยมีผลในทันที” นางดอฟซิคกล่าว
โดยทั้งบริษัท Cosalima Trade และบริษัท Donnea Business LP ต่างก็มีที่อยู่จดทะเบียนซึ่งถูกจัดหาให้จากบริษัท LAS โดยบริษัท Cosalima Trade นั้นพบว่ามีที่อยู่ตั้งอยู่บนชั้นสองของร้านอาหารเม็กซิกันในกรุงลอนดอน ณ ที่ตั้ง Second floor ชั้น 6 Marketplace กรุงลอนดอน
@ชั้นสองเหนือร้านอาการเม็กซิโกในกรุงลอนดอน
มีรายงานว่าที่ตั้งแห่งนี้เป็นที่อยู่ของบริษัทกว่า 800 แห่ง และยังเป็นที่ตั้งที่ถูกใช้มากที่สุดโดยบริษัทซึ่งอยู่ในกลุ่ม ELP ซึ่งในช่วงห้าปีที่ผ่านมา พบว่ามีมากกว่า 240 บริษัทในกลุ่ม ELP ได้มีลงทะเบียนบริษัทที่นี่
ทั้งนี้ในเศษกระดาษที่ถูกใส่ไว้ข้างกับปุ่มอินเตอร์คอมระบุแค่ชื่อบริษัทแห่งเดียวเท่านั้นซึ่งก็คือบริษัทชื่อว่า 1000 Apostilles Ltd ซึ่งมีเจ้าของคือนางอุตินาเน ผู้บริหารอีกรายของบริษัท LAS
ทางด้านของบริษัท LAS กล่าวว่า สัญญาเช่าที่อยู่ 6 Market Place จะหมดลงภายในปีนี้
ส่วนอีกที่อยู่ที่บริษัท LAS ใช้งานก็คือที่อยู่ 1 Straits Parade เมืองบริสตอล
@ที่อยู่ 1 Straits Parade เมืองบริสตอล
ที่อยู่แห่งนี้นั้นเป็ยที่อยู่ของร้านตัดผมสัญชาติตุรกี และเป็นที่อยู่ของคนที่ชื่อว่า อาร์ราน ซึ่งเขาเป็นเจ้าหน้าที่ของบริษัทนายหน้ารับจดทะเบียนอีกแห่ง ซึ่งบริษัทของเขานั้นจดทะเบียให้กับบริษัทอื่นซึงอยู่ในกลุ่ม ELP ไปแล้ว 197 แห่ง
และแน่นอนว่าบริษัทซึ่งถูกจดทะเบียนดังกล่าวนั้นก็ไปมีพฤติกรรมกับเชื่อมโยงกับการให้สินบน,การฉ้อโกง,และอาชญากรรมทางการเงิน
โดยการสืบสวนนั้นพบว่าที่ตั้งแห่งนี้มีบริษัทที่ชื่อว่า Rivelham LP ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทในกลุ่ม ELP ตั้งอยู่ โดยในปี 2556 พบว่าบริษัท Rivelham LP นั้นถูกระบุจากทางเอฟบีไอในสำนวนการสอบสวนคดีวางระเบิดการวิ่งมาราธอนในเมืองบอสตัน
บริษัท Rivelham LP ยังถูกระบุจากธนาคารดอยซ์แบงก์ว่ามีกิจกรรมอันน่าสงสัย และมีการส่งรายงานอันน่าสงสัยดังกล่าวไปให้กับหน่วยงานของรัฐบาลเพื่อตรวจสอบว่าการทำธุรกรรมทางการเงินของบริษัทว่าอาจจะมีส่วนเกี่ยวกับการวางระเบิดหรือไม่
ขณะที่รายงานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมอันน่าสงสัยที่มีการส่งให้กับกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ซึ่งชื่อว่า FinCen Files นั้นแม้จะไม่ระบุว่าใครคือเจ้าของบริษัท Riverham LP แห่งนี้ แต่ในบันทึกก็แสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องกับธุรกรรมการโอนเงินอันน่าสงสัยจำนวน 116 ธุรกรรม คิดเป็นมูลค่ากว่า 7.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (260,989,600 บาท) ระหว่างเดือน ธ.ค. 2555-ม.ค. 2556
ขณะที่บีบีซีได้พยายามติดต่อกับเจ้าของซึ่งก็คือนายอาร์ราน แต่ก็ไม่มีการตอบกลับแต่อย่างใด
ส่วนชื่อของหุ้นส่วนของบริษัทในกลุ่ม ELP นั้นพบว่าแม้จะมีการระบุลงไปในเอกสารซึ่งมีการนำส่งไปถึงหน่วยงาน Companies House (เทียบเท่ากับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า) แต่ชื่อหุ้นส่วนก็ถูกระบุว่าเป็นบริษัทนิรนาม ตั้งอยู่ในประเทศอย่างเช่นเบลีซและเซเชลส์ และแน่นอนว่าผู้ที่เซ็นเอกสารก็ดูเหมือนว่าจะไม่ใช่เจ้าของบริษัทที่แท้จริงแต่น่าจะเป็นตัวแทนหรือว่านอมินีอีกเช่นกัน
โดยหนึ่งในผู้ที้ลงนามมอบฉันทะของบริษัทนั้นพบว่าเป็นนางรูธ นีดฮาร์ท หญิงวัย 71 ปี จากสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศไซปรัส ซึ่งทำงานเป็นนักปั้นเซรามิค รับทําตุ๊กตาพอร์ซเลนและเครื่องประดับ และบางครั้งก็ทำงานปั้นเพื่อจัดงานวันเกิดให้กับเด็กๆ
อย่างไรก็ตามพบข้อมูลจากบันทึก Company House ว่านับตั้งแต่ปี 2559 เธอได้ลงนามในเอกสารสำหรับบริษัทในกลุ่ม ELP คิดเป็นจำนวนกว่า 160 แห่ง
สำหรับบริษัทนายหน้าที่นางนีดฮาร์ทได้ทำงานอยู่นั้นพบว่าเป็นบริษัทที่มืชื่อว่า IOS ซึ่งแน่นอนว่านางนีดฮาร์ทไม่ได้ตอบกลับคำถามของสำนักข่าวบีบีซีแต่อย่างใด
ส่วนผู้ที่รับมอบฉันทะอีกคนซึ่งถูกนำชื่อไปใช้ในการลงนามบ่อยครั้งมากที่สุด โดยบริษัท LAS พบว่าคือนายอเล็กซานดรู เทร์นา ชายชาวโรมาเนียในวัย 30 กว่าปี ที่อาศัยอยู่ในกรุงลอนดอน นายเทร์นาได้ลงนามในเอกสารของบริษัทในกลุ่ม ELP ซึ่งถูกจดทะเบียนโดยบริษัท LAS กว่า 306 แห่ง ซึ่งบริษัทจำนวน 306 แห่งที่ว่ามานี้พบว่าเป็นบริษัทที่ทาง LAS ได้เตรียมไว้ให้กับลูกค้าของตัวเอง
นายเทร์นาได้กล่าวกับสำนักข่าวบีบีซีว่าความเกี่ยวข้องของเขากับบริษัทเหล่านี้นั้นถูกจัดแจงไว้ผ่านบริษัท LAS International หรือบริษัทอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
“เราไม่เคยไปมีส่วนเกี่ยวกับการควบคุม หรือการบริหารจัดการบริษัทใดก็ตามที่คุณได้กล่าวถึงในจดหมายเลย” นายเทร์นากล่าวกับสำนักข่าวบีบีซี
เรียบเรียงจาก:https://www.bbc.com/news/uk-62410715
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉขบวนการถ่ายน้ำมันรัสเซียนอกชายฝั่งอังกฤษ ส่งรายได้หนุนสงครามยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอย 'บ.อิสราเอล' ส่งออกสปายแวร์เพกาซัส ให้ รบ.ตปท.สอดแนมประชาชน
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง 'อูเบอร์ไฟล์'แฉเอกชนล็อบบี้โอลิการ์ชแลกทำธุรกิจแท็กซี่รัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: สตง.อังกฤษสอบนโยบาย 'บอริส จอห์นสัน' ส่อย้อมแมวสร้าง รพ. 40 แห่ง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเส้นทางฟอสเฟตซีเรีย สู่โรงงานปุ๋ยยุโรป ส่งรายได้เข้าโอลิการ์ชรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: จนท.องค์การเภสัชอินเดียรับสินบน แลกอนุมัติยกเลิกทดลองอินซูลินระยะ 3
- ส่องคดีทุจริตโลก: ธนาคารเครือยักษ์ใหญ่รัฐบอลติก เอี่ยวฟอกเงินหมื่น ล.โอลิการ์ชรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: ปลด รมต.สธ.เวียดนาม เซ่นปมขายชุดตรวจโควิดแพง 45% เอกชนฟันกำไร 709 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:นักธุรกิจจีนเอี่ยวคดีสินบน อดีตที่ปรึกษาฮุนเซน ถือหุ้นสโมสรเบอร์มิงแฮม
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเส้นทางการเงินคดีให้สินบนนายพลจีน สู่คฤหาสน์พันล้าน ณ แวนคูเวอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงข้อพิรุธธุรกรรม เชื่อมโยงทอง 3 ตันประเทศกินี ส่อถูกฟอกในอังกฤษ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ย้อมแมวจรวด,โดรน-กินส่วนต่างวิทยุ 3 พันล. ต้นเหตุรัสเซียติดหล่มในยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดข้อพิรุธเอกชนไร้ประสบการณ์ ชนะสัญญาชุด PPE รบ.ออสเตรเลีย หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอยสินบนเรือดำน้ำมาเลเซีย พัน ล.! ฝรั่งเศสสั่งสอบ บ.ต่อเรือรบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'รมต.สเปน'โดนสอบ ใช้ช่องพิเศษอนุมัติสัญญาโควิดเอื้อ บ.พวกพ้อง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมคอรัปชั่นในกองทัพรัสเซีย-งบปี 65 รวม 2 ล้าน ล.ไม่รู้ไปไหนบ้าง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเครือข่ายขโมยเงินสนับสนุนอาหารอียู 694 ล. นำไปซื้อแฟลต-กระเป๋าหรู
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ไมโครซอฟท์'ถูกอดีตลูกจ้างแฉ-พนง.รวมหัว บ.คู่ค้า,จนท.รัฐ ทุจริตหลาย ปท.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเครือข่าย บ.เปลือกนอกหนุนเผด็จการซีเรีย-หลบมาตรการคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง บ.กฎหมายยักษ์ใหญ่ รับงานช่วยโอลิการ์ชรัสเซียรอดมาตรการคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง 'ดูไบ' แหล่งกบดานเศรษฐีหนีคดี หลังโลกตามอายัดเงินจากรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อีริคสัน' ส่อเอี่ยวจ่ายเงินให้กลุ่ม ISIS แลกทำธุรกิจใน 'โมซุล'
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเครือข่ายธนาคารดันสเก เอสโตเนีย ไฉนเป็นเส้นทางฟอกเงิน 5.1 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อังกฤษ' ยกเลิกวีซ่านักลงทุน หวั่นเปิดช่องฟอกเงิน โต้ 'วิกฤติยูเครน'
- ส่องคดีทุจริตโลก: อายุน้อยร้อย ล.-เมื่อเด็กเป็นเจ้าของ บ.ในลักเซมเบิร์กเกือบ 300 แห่ง
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อังกฤษ'ยึดทรัพย์ทุจริต'อาเซอร์ไบจาน' แสน ล.โยงฟอกเงินผ่าน'เอสโตเนีย'
- ส่องคดีทุจริตโลก:'คูเวต'เร่งสอบ ปมจัดซื้อเครื่องบินไต้ฝุ่น 2.9 แสน ล.แพง
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อัยการเบอร์ลิน'สอบผู้บริหารพรรคกรีนส์-รมต.อนุมัติโบนัสโควิดไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.อิสราเอล จ่อตั้ง กก.สอบปมสินบนเรือดำน้ำเยอรมนี หลังเรื่องแดงปี 59
- ส่องคดีทุจริตโลก:'เพนตากอน'ถลุงงบหลายแสน ล.ไร้ประสิทธิภาพ-เอื้อปย.เอกชนช่วงสงครามอัฟกาฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโก' ปธน.เบลารุส บุคคลคอร์รัปชันแห่งปี 64