เอกสารที่รั่วไหลออกมายังได้ระบุด้วยว่าในช่วงปี 2549 นั้น ทาง ARIFA รับทราบอยู่แล้วเกี่ยวกับความไม่โปร่งใสของนายคาร์โดเอน และมีการส่งคำแจ้งเตือนไปยังนายคาร์โดเอนว่าสำนักกฎหมายตั้งใจที่จะตัดความสัมพันธ์และการให้บริการจดทะเบียนบริษัทต่างๆลง ซึ่งนี่รวมถึงการให้บริการด้านผู้อำนวยการบริษัทให้กับบริษัทแห่งหนึ่งของนายคาร์โดเอนที่จดทะเบียนในประเทศปานามา ชื่อว่าบริษัท Farkit Trading Corp
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สัปดาห์นี้ขอนำเสนอประเด็นความไม่โปร่งใสเรื่องบริษัทนอกอาณาเขต ซึ่งกลายเป็นแหล่งความมั่งคั่งให้กับผู้ถูกออกหมายจับจากตำรวจสากลนานนับสิบปี
โดยเว็บไซต์เครือข่ายผู้สื่อข่าวสืบสวนสอบสวนนานาชาติ หรือ ICIJ (International Consortium of Investigative Journalists) ได้รายงานข่าวระบุว่าเมื่อเดือน มี.ค. 2549 นายคาร์ลอส คาร์โดเอน (Carlos Cardoen) นั้นถูกบรรจุให้ไปอยู่ในบัญชีรายชื่อผู้ต้องหาที่เป็นที่ต้องการตัวโดยตำรวจสากลมากที่สุด เป็นระยะเวลานานมากกว่าทศวรรษ
ย้อนไปเมื่อปี 2536 คณะลูกขุนใหญ่จากศาลในเมืองไมอามี่ รัฐฟลอริดา ได้มีการลงมติฟ้องร้องมหาเศรษฐีชาวชิลีรายนี้ด้วยข้อหาว่าว่ามีส่วนในการนำเข้าโลหะที่ชื่อว่าเซอร์โคเนียมโดยผิดกฎหมาย จากประเทศสหรัฐอเมริกา เพือที่จะนำเอาเซอร์โคเนียมไปทำระเบิดคลัสเตอร์แล้วก็ขายระเบิดคลัสเตอร์ที่ว่ามานี้ให้กับนายซัดดัม ฮุสเซน เผด็จการผู้ปกครองประเทศอิรัก
จนเป็นเหตุทำให้หลังจากนั้นตำรวจสากลและหน่วยงานผู้บังคับใช้กฎหมายต้องมีการออกหมายแดง ซึ่งเป็นหมายแจ้งเตือนขั้นสูงสุดที่เรียกร้องให้หน่วยงานผู้บังคับใช้กฎหมายทั่วโลกนั้นดำเนินการจับกุมนายคาร์โดเอนทันทีถ้าหากเขาเข้าไปยังพื้นที่ภายใต้อำนาจทางกฎหมายของหน่วยงานนั้นๆ แล้วจึงดำเนินการส่งตัวนายคาร์โดเอนกลับมารับการดำเนินคดีที่สหรัฐฯ
มีรายงานด้วยว่านอกจากนายซัดดัมแล้ว บริษัทของนายคาร์โดเอนยังได้ดำเนินการผลิตอาวุธให้กับกองทัพชิลีในช่วงเวลาที่นายเอากุสโต ปิโนเช ผู้นำเผด็จการปกครองประเทศชิลีอยู่ ในช่วงประมาณคริสตทศวรรษที่ 90
อย่างไรก็ตามแม้ว่านายคาร์โดเอนจะมีปัญหาทางกฎหมายมากมาย แต่นั่นก็ไม่ได้หยุดยั้งบริษัทกฎหมายที่ชื่อว่า Fàbrega & Fàbrega ซึ่งเป็นสำนักกฎหมายรายใหญ่สัญชาติปานามาดำเนินการช่วยเหลือนายคาร์โดเอนในด้านของการให้บริการนอกอาณาเขต อาทิการจัดตั้งสำนักงานบริษัทนอกอาณาเขตต่างๆให้กับนายคาร์โดเอนเป็นระยะเวลานานหลายปีหลังจากที่มีหมายแดงออกมาเป็นต้น
ในข้อมูลเอกสารที่รั่วไหลยังได้ระบุด้วยว่ามีบริษัทกฎหมายอีกแห่งที่ชื่อว่า ARIFA ได้ดำเนินการจัดตั้งบริษัทเปลือกหอยเป็นจำนวนหลายแห่ง และจัดตั้งมูลนิธิผลประโยชน์ส่วนบุคคลเพื่อเอื้อผลประโยชน์ในนามของนายคาร์โดเอน และสำนักกฎหมายนี้ยังได้ดำเนินการจัดหาผู้อำนวยการบริษัทเพื่อจะทำให้ความเป็นผู้รับผลประโยชน์และความผูกพันที่มีต่อบริษัทเปลือกหอยของนายคาร์โดเอนนั้นเป็นความลับมากขึ้นไปอีก
ข้อมูลเอกสารที่รั่วไหลออกมาเมื่อไม่นานมานี้ระบุรายละเอียดถึงการที่เจรจาในเชิงลับระหว่างนายคาร์โดเอนกับสำนักกฎหมาย ระบุว่านายคาร์โดเอนจะมอบผลประโยชน์ให้กับสำนักกฎหมายได้อย่างไรบ้าง โดยหลังจากที่นายคาร์โดเอนได้มีการไปพบปะกับสำนักกฎหมายเป็นระยะเวลาหลายสิบครั้ง ทนายความคนหนึ่งของสำนักกฎหมายก็ได้ออกคำแนะนำว่าไม่ควรจะทำงานร่วมกับนายคาร์โดเอน อย่างไรก็ตามในปี 2549 สำนักกฎหมายก็ได้ละเลยคำแนะนำดังกล่าว และตัดสินใจที่จะทำงานกับนายคาร์โดเอนต่อไป
จนกระทั่งปี 2553 บริษัท ARIFA ก็ได้ตัดสินใจที่จะยุติความสัมพันธ์ทุกอย่างกับทุกบริษัทนอกอาณาเขตของนายคาร์โดเอน ทำให้นายคาร์โดเอนต้องไปหานักกฎหมายสัญชาติปานามาอีกคนชื่อว่านายโรลันโด แคนดาเนโด ซึ่งนายแคนดาเนโดคนนี้ก็ทำหน้าที่เป็นผู้จดทะเบียนธุรกิจต่างๆให้กับนายคาร์โดเอนต่อไป
อย่างไรก็ตามเมื่อ ICIJ ได้มีการเปิดโปงเอกสารแพนโดร่า หรือแพนโดร่า เปเปอร์ส ในปี 2564 เพื่อนำเสนอว่าเหล่าบรรดามหาเศรษฐีนั้นมีวิธีการเก็บความมั่งคั่งของตัวเองผ่านผู้ให้บริการนอกอาณาเขตอย่างไร
ก็พบบันทึกเกี่ยวกับบริษัท ARIFA เป็นจำนวนมากกว่า 86,000 รายการ และยังพบเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับบริษัทให้บริการนอกอาณาเขตอีกแห่งชื่อว่า Amicorp ซึงในส่วนของการทำงานเพื่อให้ได้เอกสารดังกล่าวมานั้น ทาง ICIJ ได้มีการร่วมมือกับสื่อในประเทศอื่นๆในแถบละตินอเมริกา อาทิ Convoca จากประเทศเปรู, La Nación and El DiarioAr จากประเทศอาร์เจนตินา, และ CIPER and LaBot จากประเทศชิลี
สำหรับชุดข้อมูลเกี่ยวกับ ARIFA นั้นพบว่ามีช่วงเวลาตั้งแต่ต้นปี 2533 เป็นต้นมาจนถึงปี 2556 โดยรายละเอียดชุดข้อมูลประกอบไปด้วยสัญญา,ข้อตกลงทางการเงิน,และความเห็นทางกฎหมายต่างๆ
เอกสารที่รั่วไหลออกมายังได้ระบุด้วยว่าในช่วงปี 2549 นั้น ทาง ARIFA รับทราบอยู่แล้วเกี่ยวกับความไม่โปร่งใสของนายคาร์โดเอน และมีการส่งคำแจ้งเตือนไปยังนายคาร์โดเอนว่าสำนักกฎหมายตั้งใจที่จะตัดความสัมพันธ์และการให้บริการจดทะเบียนบริษัทต่างๆลง ซึ่งนี่รวมถึงการให้บริการด้านผู้อำนวยการบริษัทให้กับบริษัทแห่งหนึ่งของนายคาร์โดเอนที่จดทะเบียนในประเทศปานามา ชื่อว่าบริษัท Farkit Trading Corp
โดยสาเหตุที่ ARIFA ต้องการจะตัดความสัมพันธ์นั้นก็มีคำอธิบายระบุว่าสำนักกฎหมายแห่งนี้รับทราบเรื่องที่ว่านายคาร์โดเอนมีส่วนเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการค้าอาวุธ หรือมีส่วนร่วมในการผลิตและจำหน่ายอาวุธที่จะถูกนำไปใช้ในสงคราม
นายคาร์ลอส คาร์โดเอนกับนายซัดดัม ฮุสเซน
อย่างไรก็ตามตัวแทนของนายคาร์โดเอนได้พยายามที่จะล็อบบี้ไม่ให้สำนักกฎหมายตัดสินใจตัดความสัมพันธ์ดังกล่าว โดยบันทึกเอกสารระบุว่าสามเดือนหลังจากนั้น (ปี 2549) ผู้บริหารคนหนึ่งของบริษัทที่ชื่อว่า Empresas Cardoen ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทในเครือของนายคาร์โดเอนที่ทำธุรกิจหลายอย่างรวมไปถึงการทำเหมืองและการทำโรงบ่งไวน์ได้แจ้งกลับไปยังสำนักกฎหมายว่านายคาร์โดเอนนั้นออกจากอุตสาหกรรมผลิตอาวุธไปแล้วเป็นระยะเวลานานกว่าสิบปี และผู้บริหารอีกรายของบริษัทนี้ก็ได้ชี้แจงว่ามีสำนักกฎหมายอีกแห่งที่ค่อนข้างจะมีชื่อเสียงในประเทศชิลี ซึ่งมีหุ้นส่วนบริษัทเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมของชิลีในเวลานั้น ได้ดำเนินการสู้คดีให้กับนายคาร์โดเอน ต่อข้อกล่าวหาในประเทศสหรัฐฯ
ขณะที่หนึ่งในทนายความของบริษัท ARIFA ที่ชื่อว่านายเลอรอย วัตสัน ก็ได้พยายามที่จะเตือนบริษัท ARIFA ให้ยึดมั่นในการตัดสินใจดั้งเดิมที่จะตัดความสัมพันธ์กับนายคาร์โดเอนเอาไว้ ซึ่งในเอกสารระบุว่า “บริษัทควรที่จะลาออกจากทุกตำแหน่งที่เกี่ยวข้องเพียงฝ่ายเดียว”
ส่วนนายฟรานซิสโก ฮาเวียร์ อิลลาเนส ทนายความจากบริษัทในเครือจากประเทศชิลีก็ได้เตือน ARIFA เช่นกันว่านายคาร์โดเอนนั้นเป็นบุคคลที่มีความเสี่ยงเรื่องชื่อเสียงเป็นอย่างยิ่ง และไม่ใช่เรื่องที่ดีเลยที่บริษัทจะไประบุว่านายคาร์โดเอนนั้นเป็นลูกค้าของบริษัท
อย่างไรก็ตาม คำเตือนดังกล่าวนี้ก็ถูกละเลย เนื่องจากในช่วงเดือน มิ.ย. 2549 สำนักกฎหมายได้แจ้งกลับไปยังตัวแทนของนายคาร์โดเอนว่าบริษัทได้มีการทบทวนการตัดสินใจเกี่ยวกับการตัดความสัมพันธ์อีกครั้งหนึ่ง โดยระบุว่า “สืบเนื่องจากที่ได้รับแจ้งข้อมูลมาเมื่อไม่กี่วันก่อน” ซึ่งรายละเอียดของคำว่าข้อมูลดังกล่าวนั้นได้อ้างอิงถึงข้อมูลอีกชุดหนึ่งที่ไม่ปรากฎอยู่ในเอกสารซึ่งรั่วไหลแต่อย่างใด ทว่ามีการระบุกันว่าข้อมูลชุดนี้นั้นเกี่ยวกับประเด็นพิพาททางกฎหมายของนายคาร์โดเอนในสหรัฐฯ
ในช่วงเวลาไม่กี่เดือนหลังจากนั้น ARIFA ก็ได้มีการสร้างบริษัทเปลือกหอยให้กับนายคาร์โดเอนจำนวนสองแห่ง และจัดตั้งมูลนิธิเพื่อผลประโยชน์ส่วนบุคคลขึ้นมา ซึ่งรายละเอียดของมูลนิธิที่ว่ามานี้ก็คล้ายกับกองทุนทรัสต์ ที่จะได้รับการปกป้องมากว่าที่บริษัทเปลือกหอยโดยทั่วไปจะสามารถดำเนินการให้ได้
ทั้งนี้เมื่อมีการสอบถามคำถามไปยังตัวแทนของบริษัท Empresas Cardoen ทางตัวแทนบริษัทก็ระบุว่าบริษัทของนายคาร์โดเอนในปานามานั้นมีโครงสร้างที่เก่าแก่ จัดตั้งขึ้นมาหลังจากที่มีหมายแดงในปี 2536 ซึ่งทำให้การดำเนินการทางการเงินต่างๆของนายคาร์โดเอนนั้นมีความยากลำบากมากยิ่งขึ้น
ขณะที่ทาง ARIFA ก็ได้มีการตอบคำถามของผู้สื่อข่าวกลับมาเช่นกัน ระบุว่าบริษัทนั้นได้ประเมินความเสี่ยงแล้วหลายปัจจัย เมื่อจะต้องตรวจสอบลูกค้า ซึ่งการตรวจสอบนั้นรวมไปถึงความสัมพันธ์ของลูกค้ากับบุคคลทางการเมือง และธุรกิจของพวกเขา
โดย ARIFA ได้มีการอ้างถึงบันทึกสาธารณะ ระบุว่าในปี 2549 ได้มีการตรวจสอบธุรกิจของนายคาร์โดเอน ก็ไม่พบว่าเข้าข่ายว่ามีความเสี่ยงสูงแต่อย่างใด อีกทั้งเจ้าหน้าที่ รวมไปถึงผู้ถือหุ้นของบริษัทนอกอาณาเขตก็ยังไม่เคยต้องข้อหาว่ามีพฤติกรรมอาชญากรรม อาทิ การฟอกเงิน และการสนับสนุนการก่อการร้ายด้วยเช่นกัน เพราะถ้าหากพบ ทาง ARIFA ก็จะต้องมีการรายงานข้อมูลไปให้กับทางการได้รับทราบ
@ไม่มีใครที่เป็นเทวดาบนโลกใบนี้
สำหรับประวัติของ ARIFA นั้นพบว่าเป็นบริษัทสัญชาติเปรูที่มีความเป็นไปเป็นมาอย่างยาวนาน โดยสำนักกฎหมายแห่งนี้ถูกก่อตั้งในปี 2475 หรือในปีเดียวกับที่ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง โดยผู้ก่อตั้งคนหนึ่งของสำนักกฎหมายนั้นก็คือนายฮาร์โมดิโอ อาเรียส มาดริด ที่หลังจากก่อตั้งไม่นานเขาก็ลาออกเพื่อจะไปเป็นประธานาธิบดีของปานามา ขณะที่ผู้ก่อตั้งและผู้ร่วมค้ากับบริษัทในภายหลังนั้นก็พบว่ามีตำแหน่งระดับสูงมากในแวดวงราชการ
ทั้งนี้เป็นเวลาเกือบศตวรรษแล้วที่ปานามานั้นมีชื่อเสียงสำหรับชาวต่างชาติหากต้องการจะดำเนินการจัดตั้งบริษัทเปลือก การให้บริการบริษัทนอกอาณาเขตซึ่งสำหรับบริษัท ARIFA นั้นก็ได้มีการระบุบนเว็บไซต์ของบริษัทว่าพันธมิตรของบริษัทได้มีการร่างกฎหมายที่จะนำมาซึ่งการให้บริการนอกอาณาเขตอันเป็นสิ่งที่มีความต้องการสูงที่สุดสำหรับลูกค้า
โดยรัฐบาลปานามานั้นได้มีการแก้ไขกฎหมายและข้อบังคับต่างๆใหม่ เพื่อที่จะทำให้มีความโปร่งใสมากขึ้นในด้านของอุตสาหกรรมการให้บริการนอกอาณาเขต ซึ่งการเปลี่ยนแปลงด้านกฎหมายและข้อบังคับดังกล่าวนั้นเป็นการดำเนินการให้สอดคล้องกับมาตรฐานความเป็นสากลที่เริ่มจะมีความเข้มงวดในด้านความลับทางการเงินมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้สนับสนุนกฎหมายบางคนกล่าวว่ากฎหมายนี้ยังใช้ไม่ได้
สำหรับบริษัท Farkit Trading Corp นั้นพบว่าก่อตั้งขึ้นในปี 2528 ซึ่งในช่วงเวลานั้นกฎหมายของปานามายังอนุญาตให้มีการปกปิดตัวตนที่แท้จริงของเจ้าของบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศปานามาได้ ซึ่งตามจดหมายที่ ARIFA ได้ชี้แจงกับ ICIJ ได้อ้างถึงบันทึกบริษัทระบุว่าในช่วงเวลาดังกล่าว ARIFA ไม่ได้มีความเชื่อมโยงกับทั้งนายคาร์โดเอนหรือบริษัท Farkit Trading Corp ในช่วงที่มีการจัดตั้งบริษัทแต่อย่างใด
แต่ว่าในปีถัดมา ก็พบว่าบริษัท Farkit Trading Corp ได้ดำเนินการซื้อที่ดินในประเทศชิลี ซึ่งที่ดินที่ว่านี้นั้นได้ถูกโอนมายังบริษัทโฮลดิ้งอีกแห่งที่เชื่อมโยงกับนายคาร์โดเอน
โดยในช่วงเวลาที่บริษัท Farkit Trading Corp ถูกก่อตั้งขึ้นนั้น บริษัทค้าอาวุธของนายคาร์โดเอนที่ชื่อว่า Industrias Cardoen ได้ดำเนินการค้าอาวุธให้กับกองทัพของรัฐบาลปิโนเชต์ในชิลี และบริษัทแห่งนี้ยังได้มีการลูกจ้างบริษัทเพิ่มจำนวนกว่า 800 คน ซึ่งมาจากทั้งละตินอเมริกาและยุโรป
สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของบริษัทของนายคาร์โดเอนก็ได้แก่ระเบิดคลัสเตอร์ ที่มีศักยภาพในการระเบิดกลางอากาศเพื่อกระจายวัตถุระเบิดขนาดเล็กออกมาครอบคลุมอาณาบริเวณกว้างเท่ากับสนามฟุตบอลจำนวนหลายสนาม ซึ่งบริษัทของนายคาร์โดเอนนั้นได้เคยขายระเบิดดังกล่าวให้กับอิรักในช่วงปี 2523 ในช่วงสงครามระหว่างอิรักและอิหร่าน โดยบริษัทของนายคาร์โดเอนสามารถขายระเบิดที่ว่านี้คิดเป็นมูลค่ารวมมากกว่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 4 พันกว่าล้านบาท ตามอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงเวลาดังกล่าว
ส่วนนายคาร์โดเอนนั้นพบว่าจบการศึกษาในระดับชั้นปริญญาเอกในสาขาวิศวกรรมโลหะจากมหาวิทยาลัยยูทาห์ โดยเขาได้เคยจดสิทธิบัตรระเบิดคลัสเตอร์ที่มีลักษณะปลอดภัยและมีความเรียบง่ายมากกว่าในสหรัฐฯ ในช่วงปี 2531ซึ่งระเบิดชนิดดังกล่าวนั้นก็ได้ถูกแบนไม่ให้ใช้ในช่วงปี 2551 ภายใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยอาวุธยุทโธปกรณ์คลัสเตอร์ แต่อย่างไรก็ตามชาติมหาอำนาจทั้งรัสเซีย,จีนและสหรัฐฯ ก็ไม่ได้เซ็นเข้าร่วมอนุสัญญานี้แต่อย่างใด
ข้อมูลจากคำฟ้องในสหรัฐฯระบุว่านายคาร์โดเอนนั้นสมรู้ร่วมคิดกับบริษัทสัญชาติอเมริกันอีกแห่ง ดำเนินการส่งออกโลหะเซอร์โคเนียมอย่างผิดกฎหมายจำนวนกว่า 130 ตัน ไปยังประเทศชิลี และใช้โลหะเพื่อทำระเบิดคลัสเตอร์กว่า 24,000 ขายให้กับซัดดัม ฮุสเซน เพื่อให้ทำสงครามกับอิหร่าน ซึ่งในข้อกล่าวหาดังกล่าวนี้นั้นนายคาร์โดเอนกล่าวว่าตัวเขานั้นถูกทำให้เป็นแพะรับบาปหลังจากที่เกิดเหตุอิรักรุกรานคูเวตในเดือน ส.ค. 2533
โดยคำฟ้องดังกล่าวส่งผลทำให้เกิดข้อพิพาททางกฎหมายเป็นระยะเวลานานกว่า 30 ปี ซึ่งตัวของนายคาร์โดเอนเองก็ถูกห้ามไม่ให้เดินทางออกนอกประเทศชิลี เนื่องจากว่าข้อกลาวหาทางอาญานั้นยังคงค้างคากันอยู่ และหมายแดงของตำรวจสากลก็ยังคงมีผลบังคับใช้ ซึ่งนี่ก็ทำให้นายคาร์โดเอนต้องกระจายการถือครองธุรกิจของตัวเองไปสู่ธุรกิจทางด้านการท่องเที่ยวและการผลิตไวน์ และในที่สุดเขาก็ทิ้งธุรกิจอาวุธไว้เบื้องหลัง
มีรายงานว่าในช่วงเวลาที่มีปัญหาทางกฎหมาย นายคาร์โดเอนได้เปิดมูลนิธิอีกแห่งในปี 2548 เพื่อจะสนับสนุนสถาบันทางวัฒนธรรมชิลี ซึ่งในช่วงเวลานั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการก็ได้มอบรางวัลให้กับนายคาร์โดเอนชื่อว่ารางวัล Gabriela Mistral Order of Education and Cultural Merit และเสนอชื่อนายคาร์โดเอนให้ได้รับรางวัลโนเบล
โดยนายเซร์คิโอ บิทาร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในช่วงเวลานั้นกล่าวในระหว่างพิธีมอบรางวัลระบุว่า “ผู้คนอาจจะเคยทำเรื่องอะไรบางอย่างมาก่อน ก่อนที่จะไปทำอย่างอื่น เราต้องพิจารณาถึงเรื่องดีๆที่ผู้คนได้ทำให้ มากกว่าจะมาถกเถียงกันว่าคนๆนั้นอาจเคยมีประเด็นที่พัวพันกับเรื่องสงครามและอาวุธ”
และนายบิทาร์ยังกล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า “ยิ่งไปกว่านั้น ไม่มีใครที่เป็นเทวดาบนโลกใบนี้”
@มูลนิธิผลประโยชน์ส่วนบุคคล
ในช่วงเวลา 6 เดือนหลังจากที่สำนักกฎหมาย ARIFA ตัดสินใจจะรักษาความสัมพันธ์กับนายคาร์โดเอนในฐานะลูกค้าต่อไป สำนักกฎหมายแห่งนี้ได้ดำเนินการจัดตั้งมูลนิธิชื่อว่า Fundación Colchagua ซึ่งมูลนิธินี้นั้นเป็นมูลนิธิเพื่อผลประโยชน์ส่วนบุคคล ตั้งชื่อตามจังหวัดในชิลีที่เป็นบ้านเกิดของนายคาร์โดเอน
ทั้งนี้แม้คำว่า ‘มูลนิธิ’ มักจะต้องเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับองค์กรการกุศล,องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร แต่ว่าคำว่ามูลนิธิพื่อผลประโยชน์ส่วนบุคคลในปานามานั้นเป็นหน่วยงานทางการเงินที่สามารถจะให้ความคุ้มครองได้เหนือยิ่งขึ้นไปกว่าบริษัทเปลือกหอยมากนัก
โดยภายใต้กฎหมายของปานามานั้นระบุเอาไว้ว่าทรัพย์สินที่ได้รับการคุ้มครองภายใต้มูลนิธิเพื่อผลประโยชน์ส่วนบุคคลจะไม่สามารถดำเนินการยึดทรัพย์สินนั้นได้ ส่วนทรัพย์สินที่มาจากต่างประเทศทั้งหมดจะได้รับการยกเว้นภาษี ไม่มีข้อกำหนดทางกฎหมายในการเปิดเผยข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่ และไม่มีข้อกำหนดในเรื่องของการเปิดรายชื่อผู้รับผลประโยชน์สูงสุดแต่อย่างใด
ปรากฏข้อมูลว่านายคาร์โดเอนนั้นก็เป็นทั้งผู้รับผลประโยชน์จากมูลนิธิ Fundación Colchagua และยังทำหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์อีกด้วย นี่ส่งผลทำให้เขาเป็น "บุคคลเดียวที่มีสิทธิได้รับทรัพย์สินของมูลนิธิและรายได้ของมูลนิธิ”
ส่วนบุตรทั้งสองของนายคาร์โดเอนนั้นพบว่าถูกแต่งตั้งให้เป็นบอร์ดบริหารของมูลนิธิ ซึ่งข้อมูลจากเอกสารที่รั่วไหลและบันทึกสาธารณะระบุว่าถ้าหากนายคาร์โดเอนเสียชีวิต ผู้รับผลประโยชน์จากมูลนิธิก็จะเป็นบริษัทอีกสองแห่งที่เชื่อมโยงกับนายคาร์โดเอนด้วยเช่นกัน โดยทั้งสองบริษัทที่ว่ามานั้นถูกก่อตั้งโดยสำนักกฎหมาย ARIFA ชื่อว่าบริษัท Totorilla Corp และบริษัท Pantanillo ส่วนผู้รับผลประโยชน์รายที่สามชื่อว่าบริษัท Inversiones Nancagua SA จดทะเบียนในประเทศชิลี
ขณะที่บนเว็บไซต์ของสำนักกฎหมาย ARIFA ระบุว่าในระหว่างปี 2523-2533 นักกฎหมายจำนวนสองคนของสำนักกฎหมายได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการร่างกฎหมายเกี่ยวกับกองทุนทรัสต์และมูลนิธิผลประโยชน์ส่วนตน ซึ่งกฎหมายดังกล่าวที่มีผลบังคับใช้ในปี 2538 นั้นก็ถูกปรับเปลี่ยนรายละเอียดไปแค่บางอย่าง แต่ว่าก็ยังคงมีผลจนถึงปัจจุบัน
หน้าเว็บไซต์สำนักกฎหมาย ARIFA ระบุว่าได้รับรางวัลสำนักกฎหมายชั้นนำประจำปี 2565 ในประเทศปานามา
ส่วนในเอกสารโปรโมชั่นส่งเสริมการขายของสำนักกฎหมาย ARIFA นั้นระบุถึงบริการปกป้องคุ้มครองลูกค้าด้วยเช่นกัน ภายใต้กลไกของมูลนิธิผลประโยชน์ส่วนบุคคลด้วยเช่นกัน
ในบันทึกได้ระบุต่อไปด้วยว่าในปี 2553 สำนักกฎหมาย ARIFA ได้ยุติการให้บริการกับบริษัทของนายคาร์โดเอนและมูลนิธิ Fundación Colchagua ซึ่งในเอกสารนั้นไม่ได้ให้เหตุผลของการยุติความสัมพันธ์แต่อย่างใด อย่างไรก็ตามมีการรายงานว่าในปี 2552 บริษัททางด้านผลิตภัณฑ์ในครัวเรือนสัญชาติบราซิลชื่อว่า Bombril SA ได้มีการเรียกร้องให้ ARIFA ดำเนินการตรวจสอบภายในกับนายคาร์โดเอนและบริษัท Farkit Trading ของเขาอีกครั้งหนึ่ง
และในปี 2553 เช่นเดียวกัน นายคาร์โดเอนก็ได้ติดต่อกับทนายความสัญชาติปานามาอีกคนชื่อว่านายโรลันโด แคนดาเนโด เพื่อให้นายแคดาเนโดนั้นทำหน้าที่เป็นผู้จดทะเบียนบริษัท,สถาบันการเงินนอกอาณาเขตให้ ซึ่งนายแคนดาเนโดนั้นมักจะถูกใช้ใช้บริการโดยกลุ่มชาวชิลีผู้ร่ำรวย เพื่อที่จะดำเนินการสร้างบริษัทเปลือกหอยในต่างแดนนั่นเอง
ส่วนนายแคนดาเนโดได้มีการชี้แจงกับ ICIJ ว่าบริษัทของเขานั้นได้ดำเนินการตามกฎหมายของประเทศปานามาด้วยมาตรฐานทางกฎหมายสูงสุด แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยหน้าที่ในการรักษาความลับของลูกค้า ทำให้เขาไม่สามารถจะชี้แจงข้อซักถามของ ICIJ ได้ หรือแม้แต่กระทั่งจะยืนยันว่าใครเป็นหรือไม่เป็นลูกค้า เขาก็ไม่สามารถจะทำได้
ต่อมาในปี 2562 นายอันเดรส คาร์โดเอน บุตรชายของนายคาร์ลอส คาร์โดเอน ได้ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นยืนยันว่าพ่อของเขาและสมาชิกครอบครัวคนอื่นๆนั้นไม่มีและไม่เคยมีทุนจดทะเบียนอยู่ในต่างแดนแต่อย่างใด และเมื่อช่วงฤดูร้อน (ประมาณเดือน มิ.ย.)ที่ผ่านมานี้เองนายคาร์ลอส คาร์โดเอนก็ได้ให้สัมภาษณ์สื่อเช่นกันว่าเขาไม่ได้อยู่ในกลุ่มนักธุรกิจที่มีการโยกย้ายทุนออกนอกประเทศแต่อย่างใด
สำหรับนายแคนดาเนโดนั้นยังคงทำหน้าที่เป็นตัวแทนผู้จดทะเบียนให้กับมูลนิธิ Fundación Colchagua จนถึงวันที่ 17 ธ.ค. 2556 ซึ่งในวันนั้นเอง คณะกรรมการมูลนิธิได้ตัดสินใจยุบมูลนิธิ Fundación Colchagua ลง และตัดสินใจย้ายทรัพย์สินยังบริษัทของนายคาร์โดเอนอีกแห่งในปานามา พร้อมกับแต่งตั้งให้นายแคนดาเนโดเป็นตัวแทนผู้ทำหน้าที่จดทะเบียน
สำหรับบริษัท Farkit Trading นั้นยังคงดำเนินกิจการต่อไปอีกเกือบสิบปี ก่อนที่บริษัทจะถูกระงับการดำเนินกิจการลงเนื่องจากว่าไม่ได้ชำระเงินค่าดำเนินธุรกิจในประเทศปานามา ซึ่งข้อมูลจากทะเบียนธุรกิจในปานามาระบุว่านายแคนดาเนโดนั้นยังคงทำหน้าที่เป็นตัวแทนให้กับบริษัทของนายคาร์โดเอนต่อไปอย่างน้อยสามบริษัท
โดยนายคาร์โดเอนนั้นเพิ่งจะมีอายุได้ 80 ปี เมื่อช่วงเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา แต่เขาก็ยังคงต้องต่อสู้ทางกฎหมายเพื่อให้ตำนวจสากลนั้นหมายแดงออกไป ส่วนสหรัฐฯ นั้นก็ไม่เคยจะยื่นคำร้องขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนเลย จนกระทั่งถึงเดือน มี.ค. 2562 หรือก็คือหลังจากการฟ้องร้องผ่านพ้นไปแล้วเป็นระยะเวลากว่า 26 ปีนั่นเอง
นายคาร์ลอส คาร์โดเอนเข้าฟังคำตัดสินของศาลฎีกาต่อกรณีคำร้องขอส่งตัว (อ้างอิงวิดีโอจากซีเอ็นเอ็น ชิลี)
ต่อมาในเดือน มี.ค. 2563 ศาลฎีกาชิลีก็ปฏิเสธคำร้องขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน โดยระบุว่าระยะเวลานั้นผ่านไปนานมากแล้วนับตั้งแต่ที่นายคาร์โดเอนถูกตั้งข้อกล่าวหาอาชญากรรม และนายคาร์โดเอนก็ไม่ได้มีความผิดภายใต้กฎหมายชิลีแต่อย่างใด
ส่วนนายคาร์โดเอนก็ได้ยื่นคำร้องขอไปยังกระทรวงการต่างประเทศชิลีเพื่อให้มอบเอกสิทธิ์คุ้มครองทางการทูต และยังขอให้กระทรวงนั้นเดินเรื่องไปถึงตำรวจสากลเพื่อจะยกหมายแดงออกไป ด้วยข้ออ้างว่าสถานะการเป็นผู้ร้ายที่เป็นที่ต้องการตัวมาเป็นระยะเวลานานนับสิบปีนั้นได้ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของเขาในการเข้าถึงความยุติธรรมและเสรีภาพส่วนบุคคล ซึ่งหลังจากที่นายคาร์โดเอนส่งคำร้องมา ทางกระทรวงการต่างประเทศก็ได้ส่งเรื่องไปยังกรมบัญชีกลางเพื่อจะสอบถามแนวทางปฏิบัติแล้ว
แต่ว่าอธิบดีกรมบัญชีกลางกลับสรุปว่าหากไม่มีกระบวนการทางกฎหมายที่กำหนดไว้ชัดเจนสำหรับประเด็นเรื่องเอกสิทธิ์คุ้มครองทางการทูต ก้ให้เป็นดุลยพินิจของกระทวงการต่างประเทศได้เลย
โดยนี่ทำให้การตัดสินใจค้างอยู่ที่กระทรวงการต่างประเทศ และทำให้เกิดความสับสนในระบบบริหารราชการของชิลีเป็นอย่างยิ่ง
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการญี่ปุ่นสั่งสอบ ปมคนสนิท กก.โอลิมปิกตั้ง บ.ที่ปรึกษารับเงินเอกชน
- ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อพิพิธภัณฑ์ศิลปะนิวยอร์ก ถูก จนท.ยึดโบราณวัตถุผิด กม.นับสิบชิ้น
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยข้อมูล 'นาจิบ'-ปธ.พรรคอัมโนเอี่ยวโครงการเรือรบฉาว 7.2 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.ลับปานามาเปเปอร์สรับโอน 1.5 พัน ล.โครงการเรือรบมาเลเซีย 7.2 หมื่นล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ทร.มาเลเซียเซ็นสัญญาต่อเรือรบ 6 ลำ 7.2 หมื่น ล.เกือบสิบปี ยังไม่ส่งมอบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เผยเครือข่าย บ.เปลือกหอยอังกฤษ เอื้อผลประโยชน์คนใกล้ชิด ปธน.ปูติน
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉขบวนการถ่ายน้ำมันรัสเซียนอกชายฝั่งอังกฤษ ส่งรายได้หนุนสงครามยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอย 'บ.อิสราเอล' ส่งออกสปายแวร์เพกาซัส ให้ รบ.ตปท.สอดแนมประชาชน
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง 'อูเบอร์ไฟล์'แฉเอกชนล็อบบี้โอลิการ์ชแลกทำธุรกิจแท็กซี่รัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: สตง.อังกฤษสอบนโยบาย 'บอริส จอห์นสัน' ส่อย้อมแมวสร้าง รพ. 40 แห่ง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเส้นทางฟอสเฟตซีเรีย สู่โรงงานปุ๋ยยุโรป ส่งรายได้เข้าโอลิการ์ชรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: จนท.องค์การเภสัชอินเดียรับสินบน แลกอนุมัติยกเลิกทดลองอินซูลินระยะ 3
- ส่องคดีทุจริตโลก: ธนาคารเครือยักษ์ใหญ่รัฐบอลติก เอี่ยวฟอกเงินหมื่น ล.โอลิการ์ชรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: ปลด รมต.สธ.เวียดนาม เซ่นปมขายชุดตรวจโควิดแพง 45% เอกชนฟันกำไร 709 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:นักธุรกิจจีนเอี่ยวคดีสินบน อดีตที่ปรึกษาฮุนเซน ถือหุ้นสโมสรเบอร์มิงแฮม
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเส้นทางการเงินคดีให้สินบนนายพลจีน สู่คฤหาสน์พันล้าน ณ แวนคูเวอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงข้อพิรุธธุรกรรม เชื่อมโยงทอง 3 ตันประเทศกินี ส่อถูกฟอกในอังกฤษ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ย้อมแมวจรวด,โดรน-กินส่วนต่างวิทยุ 3 พันล. ต้นเหตุรัสเซียติดหล่มในยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดข้อพิรุธเอกชนไร้ประสบการณ์ ชนะสัญญาชุด PPE รบ.ออสเตรเลีย หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอยสินบนเรือดำน้ำมาเลเซีย พัน ล.! ฝรั่งเศสสั่งสอบ บ.ต่อเรือรบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'รมต.สเปน'โดนสอบ ใช้ช่องพิเศษอนุมัติสัญญาโควิดเอื้อ บ.พวกพ้อง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมคอรัปชั่นในกองทัพรัสเซีย-งบปี 65 รวม 2 ล้าน ล.ไม่รู้ไปไหนบ้าง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเครือข่ายขโมยเงินสนับสนุนอาหารอียู 694 ล. นำไปซื้อแฟลต-กระเป๋าหรู
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ไมโครซอฟท์'ถูกอดีตลูกจ้างแฉ-พนง.รวมหัว บ.คู่ค้า,จนท.รัฐ ทุจริตหลาย ปท.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเครือข่าย บ.เปลือกนอกหนุนเผด็จการซีเรีย-หลบมาตรการคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง บ.กฎหมายยักษ์ใหญ่ รับงานช่วยโอลิการ์ชรัสเซียรอดมาตรการคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง 'ดูไบ' แหล่งกบดานเศรษฐีหนีคดี หลังโลกตามอายัดเงินจากรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อีริคสัน' ส่อเอี่ยวจ่ายเงินให้กลุ่ม ISIS แลกทำธุรกิจใน 'โมซุล'
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเครือข่ายธนาคารดันสเก เอสโตเนีย ไฉนเป็นเส้นทางฟอกเงิน 5.1 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อังกฤษ' ยกเลิกวีซ่านักลงทุน หวั่นเปิดช่องฟอกเงิน โต้ 'วิกฤติยูเครน'
- ส่องคดีทุจริตโลก: อายุน้อยร้อย ล.-เมื่อเด็กเป็นเจ้าของ บ.ในลักเซมเบิร์กเกือบ 300 แห่ง
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อังกฤษ'ยึดทรัพย์ทุจริต'อาเซอร์ไบจาน' แสน ล.โยงฟอกเงินผ่าน'เอสโตเนีย'
- ส่องคดีทุจริตโลก:'คูเวต'เร่งสอบ ปมจัดซื้อเครื่องบินไต้ฝุ่น 2.9 แสน ล.แพง
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อัยการเบอร์ลิน'สอบผู้บริหารพรรคกรีนส์-รมต.อนุมัติโบนัสโควิดไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.อิสราเอล จ่อตั้ง กก.สอบปมสินบนเรือดำน้ำเยอรมนี หลังเรื่องแดงปี 59
- ส่องคดีทุจริตโลก:'เพนตากอน'ถลุงงบหลายแสน ล.ไร้ประสิทธิภาพ-เอื้อปย.เอกชนช่วงสงครามอัฟกาฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโก' ปธน.เบลารุส บุคคลคอร์รัปชันแห่งปี 64