พล.อ.จ. เหลากล่าวว่าความไม่โปร่งใสที่ว่านี้ก็คือในกระบวนการประกวดราคานั้นพบว่ามีการเลือกผู้ชนะไว้ก่อนแล้ว ซึ่งแม้ว่าจะมีการเปิดให้มีการประกวดราคาแบบสาธารณะเพื่อดึงเอาผู้เข้าประกวดราคาจากต่างประเทศเข้ามา แต่ก็เป็นการแสร้งทำไปอย่างนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการปฏิรูปที่ถูกเสนอโดยรัฐบาลพรรคปากาตัน ฮาราปัน ซึ่งหมดอำนาจไปก่อนหน้านี้ในช่วงเดือน ก.พ. 2563
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้ขอนำเสนอกรณีความไม่โปร่งใสเกี่ยวกับการจัดซื้อเครื่องบินรบ และโดรนของกองทัพอากาศมาเลเซีย
โดยสำนักข่าวซาราวัครีพอร์ท รายงานข่าวว่าพลอากาศจัตวา (พล.อ.จ.) ดะเต เหลา กอง เฉิง (Date Lau Kong Cheng) ถือว่าเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับกระบวนการจัดซื้อในครั้งนี้ดีที่สุด เนื่องจากว่าเขานั้นเป็นอดีตนายทหารอากาศมาเลเซียผู้มีประสบการณ์ในการเป็นนักบินเครื่องบินขับไล่มาอย่างยาวนาน ซึ่งในช่วงเวลาที่ผ่านมาเขาได้ออกมาเปิดโปงว่าเขาเคยยื่นเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อดังกล่าวไปถึงรัฐบาลที่ครองอำนาจในช่วงปี 2563 แล้ว ทว่าคำร้องเรียนของเขากลับถูกเพิกเฉย
ทั้งนี้ ข้อกล่าวหาของ พล.อ.จ.เหลา อาจถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งหลักฐานที่พิสูจน์ว่ากลุ่มพันธมิตรพรรคการเมืองผสมที่รวมตัวโค่นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในช่วงปี 2563 และเข้าสู่การบริหารประเทศนั้นอาจมีพฤติกรรมการทุจริตเพื่อจะหาเงินเข้าสู่กระเป๋าตัวเอง
สำหรับคำให้การของ พล.อ.จ.เหลาที่ให้กับสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมาเลเซียหรือว่า MACC ซึ่งซาราวัครีพอร์ทได้นำมาเสนอส่วนหนึ่งนั้นระบุว่า พล.อ.จ.เหลาได้การกล่าวหาว่าการจัดซื้อจัดจ้างครั้งนีมีการตัดสินใจที่ไม่รับผิดชอบ มีการกระทำที่ทุจริต และการใช้อำนาจในทางที่ผิด ส่งผลทำให้เกิดการกีดกันไม่ให้ประเทศได้รับระบบป้องกันประเทศที่มีประสิทธิภาพและมีราคาที่ดีที่สุด
ทั้งนี้รายละเอียดการจัดซื้อที่ไม่โปร่งใสดังกล่าวนั้นก็คือกระบวนการเปิดให้มีการประกวดราคาจากผู้เสนอราคานานาชาติเพื่อจะให้มีการเสนอราคากับระบบทางด้านกลาโหมจำนวนสองระบบด้วยกันได้แก่ 1.การจัดซื้อระบบอากาศยานไร้คนขับ และ 2. การจัดซื้อเครื่องบินรบ ซึ่งผลของการประกวดราคาระบุว่ากระทรวงกลาโหมได้ตัดสินใจจัดซื้อโดรนรุ่น Anka UAS ซึ่งผลิตจากบริษัท Turkish Aerospace ของตุรกี และตัดสินใจจัดซื้อเครื่องบินรบรุ่น FA-50 FLIT-LCA ซึ่งผลิตจาก Korea Aerospace Industries (KAI) ประเทศเกาหลีใต้
โดรนรุ่น Anka UAS ซึ่งผลิตจากบริษัท Turkish Aerospace ของตุรกี (อ้างอิงวิดีโอจาก:MilliSavunmaSanayii)
พล.อ.จ. เหลากล่าวว่าความไม่โปร่งใสที่ว่านี้ก็คือในกระบวนการประกวดราคานั้นพบว่ามีการเลือกผู้ชนะไว้ก่อนแล้ว ซึ่งแม้ว่าจะมีการเปิดให้มีการประกวดราคาแบบสาธารณะเพื่อดึงเอาผู้เข้าประกวดราคาจากต่างประเทศเข้ามา แต่ก็เป็นการแสร้งทำไปอย่างนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการปฏิรูปที่ถูกเสนอโดยรัฐบาลพรรคปากาตัน ฮาราปัน ซึ่งหมดอำนาจไปก่อนหน้านี้ในช่วงเดือน ก.พ. 2563
ผลของการประกวดราคานั้นทำให้กระทรวงกลาโหมมอบหมายให้กองทัพอากาศมาเลเซียไปทำสัญญาจัดซื้ออาวุธจำนวนสองฉบับได้แก่ การจัดซื้อโดรนจำนวน 3 ลำ เมื่อปี 2563 คิดเป็นราคาตามมูลค่าสัญญาประมาณ 500 ล้านริงกิต หรือประมาณ 3.884 พันล้านบาท และการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่จำนวน 36 ลำ เมื่อปี 2564 คิดเป็นราคาตามมูลค่าสัญญาประมาณ 8 พันล้านริงกิต หรือประมาณ 62,145 ล้านบาท และรัฐมนตรีกลาโหมในช่วงที่มีการทำสัญญานั้นก็ไม่ใช่ใคร แต่คือนายอิสมาอิล ซาบรี ยาขอบ นายกรัฐมนตรีมาเลเซียคนปัจจุบัน
พล.อ.จ.เหลากล่าวต่อว่ากระบวนการนี้นั้นได้รับการขนานนามว่าสอดคล้องกับกระบวนการต่อต้านทุจริตที่ถูกนำเสนอโดยรัฐบาลปากาตัน ฮาราปัน จึงทำให้ไม่มีบริษัทจากต่างประเทศจำนวนมากเข้าร่วมในการประกวดราคา รวมไปถึงบริษัท China National Aero-Technology Import & Export Corporation (CATIC) ของประเทศจีน ซึ่งบริษัทสัญชาติจีนดังกล่าวนี้ก็มี พล.อ.จ.เลา เป็นตัวแทนอยู่
ทว่าในเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา พล.อ.จ.เลาได้ให้สัมภาษณ์กับซาราวัค รีพอร์ท ระบุว่าเขาเพิ่งได้ข้อสรุปว่าการประกวดราคาแบบเปิดนี้แท้จริงแล้วเป็นการจำอวดครั้งใหญ่ เพื่อหลอกให้สาธารณชนเชื่อถือ ทั้งที่จริงๆแล้วมันเป็นการหลอกลวงและการฉ้อฉล
จึงเป็นเหตุผลสำคัญทำให้มีบริษัทแค่สองแห่งเท่านั้นที่ได้รับโอกาสให้สาธิตยุทธภัณฑ์ของตัวเอง ได้แก่ 1.บริษัทของตุรกีสำหรับโดรนรุ่น Anka UAS และ 2. บริษัทสัญชาติเกาหลีสำหรับเครื่องบินรบรุ่น FA-50 FLIT-LCA ขณะที่ผู้เข้าประกวดราคาที่เหลือนั้นถูกปัดตกหรือถูกละเลยไม่ให้เข้าร่วมในการสาธิต
เครื่องบินรุ่น FA-50 ของไทยที่เป็นกับรุ่นเดียวกับที่มาเลเซียได้สั่งซื้อ (อ้างอิงวิดีโอจาก Thaiarmedforce)
โดยทางด้านของ พล.อ.จ.เหลายืนยันว่าเครื่องบินจากบริษัทที่เขาได้นำเสนอนั้นมีศักยภาพที่เหนือกว่าอย่างเห็นได้ชัดในแง่ของความสามารถที่ตรงตามข้อกำหนดที่จำเป็น อีกทั้งราคาในการจัดซื้อก็ยังมีมูลค่าถูกกว่าประมาณ 1.5 พันล้านริงกิต (11,652 ล้านบาท) หรือก็คือถ้าหากจัดซื้อเครื่องบินที่เขาได้แนะนำ ก็จะทำให้ราคาในโครงการจัดซื้อเครื่องบินรบจำนวน 36 ลำนั้นอยู่ที่ 6.5 พันล้านริงกิต (50,493 ล้านบาท) แทนที่จะเป็น 8 พันล้านริงกิตตามที่เรียนไปเบื้องต้น
“คาดการณ์กันว่าในไม่ช้านี้อาจมีการโยกย้ายเงินอย่างผิดกฎหมายที่ได้มาจากการจัดซื้อครั้งนี้” พล.อ.จ.เหลาระบุในคำร้องต่อ MACC
อนึ่งก่อนหน้านี้ พล.อ.จ.เหลาเคยเขียนจดหมายร้องเรียนไปยังรัฐมนตรีที่มาจากพรรคแนวร่วมแห่งชาติ หรือ Barisan Nasional แล้ว โดยจดหมายนั้นมีเนื้อหาที่เป็นความลับระบุถึงรายละเอียดการจัดประกวดราคาอย่างไม่เป็นธรรมและไม่มีการแข่งขัน ซึ่งนายกรัฐมนตรีอิสมาอิล ยาขอบ,นาย Hishamuddin Hussein รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมคนปัจจุบัน,และนาย Zafrul Aziz รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนปัจจุบันต่างล้วนมีส่วนในกระบวนการที่ไม่สุจริตในครั้งนี้ ทว่าเขาไม่ได้รับการตอบกลับมาแต่อย่างใด เขาจึงได้มีการออกรายงานอีกฉบับไปยังบุคลากรในระดับอาวุโสของกองทัพอากาศและยังได้รายงานไปยัง MACC ด้วย
พล.อ.จ.เหลากล่าวต่อกับซาราวัครีพอร์ทว่าการที่ไม่มีรัฐมนตรีคนใดตอบกลับมานั้นเป็นข้อบ่งชี้ว่ามีการสมรู้ร่วมคิดของการฉ้อโกงเกิดขึ้นผ่านสัญญาการป้องกันประเทศ
“ทุกคนมีส่วนร่วม ไม่มีใครกล้าทำแบบนี้เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเบื้องบน พวกเขาโฆษณาว่านี่จะเป็นการประกวดราคาแบบเปิดที่มีความยุติธรรม เป็นมืออาชีพ และโปร่งใส แต่ในทางปฏิบัติ ผู้ชนะนั้นถูกเลือกมาแล้ว”พล.อ.จ.เหลากล่าวแ
เรียบเรียงจาก:https://www.sarawakreport.org/2022/11/ismail-government-slammed-for-sham-open-tender-in-new-multi-billion-defence-controversy/
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง บ.ทหารรับจ้างแว็กเนอร์ เอี่ยวสัญญาเหมืองทองไม่โปร่งใส รบ.ซูดาน
- ส่องคดีทุจริตโลก:'เพนตากอน'ถลุงงบหลายแสน ล.ไร้ประสิทธิภาพ-เอื้อปย.เอกชนช่วงสงครามอัฟกาฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก: ผู้แทน WHO ซีเรีย ถูกสอบใช้งบจัดปาร์ตี้ รร.หรู,สั่งเต้นสู้โควิดระบาด
- ส่องคดีทุจริตโลก:แค่เปลี่ยนธงก็รอด วิธีการโอลิการ์ชรัสเซีย นำเรือยอชต์หนีคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก: สอบผู้พิพากษาศาลฎีกาอินโดฯ ส่อรับสินบน 1.9 ล. เอื้อ ปย.คดีสหกรณ์
- ส่องคดีทุจริตโลก: สอบอดีต รมว.ศธ.รัฐเบงกอลใต้ตั้ง บ.เปลือกหอยฟอกเงินสินบนจ้างครู ร้อย ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อ บ.นอกอาณาเขตเอื้อ ปย.อดีตพ่อค้าอาวุธให้ 'ซัดดัม' นานเกือบ 30 ปี
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการญี่ปุ่นสั่งสอบ ปมคนสนิท กก.โอลิมปิกตั้ง บ.ที่ปรึกษารับเงินเอกชน
- ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อพิพิธภัณฑ์ศิลปะนิวยอร์ก ถูก จนท.ยึดโบราณวัตถุผิด กม.นับสิบชิ้น
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยข้อมูล 'นาจิบ'-ปธ.พรรคอัมโนเอี่ยวโครงการเรือรบฉาว 7.2 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.ลับปานามาเปเปอร์สรับโอน 1.5 พัน ล.โครงการเรือรบมาเลเซีย 7.2 หมื่นล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ทร.มาเลเซียเซ็นสัญญาต่อเรือรบ 6 ลำ 7.2 หมื่น ล.เกือบสิบปี ยังไม่ส่งมอบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เผยเครือข่าย บ.เปลือกหอยอังกฤษ เอื้อผลประโยชน์คนใกล้ชิด ปธน.ปูติน
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉขบวนการถ่ายน้ำมันรัสเซียนอกชายฝั่งอังกฤษ ส่งรายได้หนุนสงครามยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอย 'บ.อิสราเอล' ส่งออกสปายแวร์เพกาซัส ให้ รบ.ตปท.สอดแนมประชาชน
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง 'อูเบอร์ไฟล์'แฉเอกชนล็อบบี้โอลิการ์ชแลกทำธุรกิจแท็กซี่รัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: สตง.อังกฤษสอบนโยบาย 'บอริส จอห์นสัน' ส่อย้อมแมวสร้าง รพ. 40 แห่ง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเส้นทางฟอสเฟตซีเรีย สู่โรงงานปุ๋ยยุโรป ส่งรายได้เข้าโอลิการ์ชรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: จนท.องค์การเภสัชอินเดียรับสินบน แลกอนุมัติยกเลิกทดลองอินซูลินระยะ 3
- ส่องคดีทุจริตโลก: ธนาคารเครือยักษ์ใหญ่รัฐบอลติก เอี่ยวฟอกเงินหมื่น ล.โอลิการ์ชรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: ปลด รมต.สธ.เวียดนาม เซ่นปมขายชุดตรวจโควิดแพง 45% เอกชนฟันกำไร 709 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:นักธุรกิจจีนเอี่ยวคดีสินบน อดีตที่ปรึกษาฮุนเซน ถือหุ้นสโมสรเบอร์มิงแฮม
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเส้นทางการเงินคดีให้สินบนนายพลจีน สู่คฤหาสน์พันล้าน ณ แวนคูเวอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงข้อพิรุธธุรกรรม เชื่อมโยงทอง 3 ตันประเทศกินี ส่อถูกฟอกในอังกฤษ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ย้อมแมวจรวด,โดรน-กินส่วนต่างวิทยุ 3 พันล. ต้นเหตุรัสเซียติดหล่มในยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดข้อพิรุธเอกชนไร้ประสบการณ์ ชนะสัญญาชุด PPE รบ.ออสเตรเลีย หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอยสินบนเรือดำน้ำมาเลเซีย พัน ล.! ฝรั่งเศสสั่งสอบ บ.ต่อเรือรบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'รมต.สเปน'โดนสอบ ใช้ช่องพิเศษอนุมัติสัญญาโควิดเอื้อ บ.พวกพ้อง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมคอรัปชั่นในกองทัพรัสเซีย-งบปี 65 รวม 2 ล้าน ล.ไม่รู้ไปไหนบ้าง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเครือข่ายขโมยเงินสนับสนุนอาหารอียู 694 ล. นำไปซื้อแฟลต-กระเป๋าหรู
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ไมโครซอฟท์'ถูกอดีตลูกจ้างแฉ-พนง.รวมหัว บ.คู่ค้า,จนท.รัฐ ทุจริตหลาย ปท.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเครือข่าย บ.เปลือกนอกหนุนเผด็จการซีเรีย-หลบมาตรการคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง บ.กฎหมายยักษ์ใหญ่ รับงานช่วยโอลิการ์ชรัสเซียรอดมาตรการคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง 'ดูไบ' แหล่งกบดานเศรษฐีหนีคดี หลังโลกตามอายัดเงินจากรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อีริคสัน' ส่อเอี่ยวจ่ายเงินให้กลุ่ม ISIS แลกทำธุรกิจใน 'โมซุล'
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเครือข่ายธนาคารดันสเก เอสโตเนีย ไฉนเป็นเส้นทางฟอกเงิน 5.1 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อังกฤษ' ยกเลิกวีซ่านักลงทุน หวั่นเปิดช่องฟอกเงิน โต้ 'วิกฤติยูเครน'
- ส่องคดีทุจริตโลก: อายุน้อยร้อย ล.-เมื่อเด็กเป็นเจ้าของ บ.ในลักเซมเบิร์กเกือบ 300 แห่ง
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อังกฤษ'ยึดทรัพย์ทุจริต'อาเซอร์ไบจาน' แสน ล.โยงฟอกเงินผ่าน'เอสโตเนีย'
- ส่องคดีทุจริตโลก:'คูเวต'เร่งสอบ ปมจัดซื้อเครื่องบินไต้ฝุ่น 2.9 แสน ล.แพง
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อัยการเบอร์ลิน'สอบผู้บริหารพรรคกรีนส์-รมต.อนุมัติโบนัสโควิดไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.อิสราเอล จ่อตั้ง กก.สอบปมสินบนเรือดำน้ำเยอรมนี หลังเรื่องแดงปี 59
- ส่องคดีทุจริตโลก:'เพนตากอน'ถลุงงบหลายแสน ล.ไร้ประสิทธิภาพ-เอื้อปย.เอกชนช่วงสงครามอัฟกาฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโก' ปธน.เบลารุส บุคคลคอร์รัปชันแห่งปี 64