โดยทั้ง 3 บริษัทที่ถูกก่อตั้งขึ้นในเดือน ต.ค. 2564 ที่ผ่านมานั้นมีชื่อได้แก่บริษัทชื่อว่า Trappist, Generous และบริษัท Super Brandy ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าหนึ่งในเจ้าของของทั้งสามบริษัทนี้ได้แก่นายอาลี นาจิบ อิบราฮิม ซึ่งเขาเป็นเจ้าของร่วมของบริษัท Tele Space ซึ่งบริษัทแห่งนี้นั้นได้ใบอนุญาตประกอบกิจการในช่ววงต้นปี 2565 ถือเป็นบริษัทให้บริการโทรคมนาคมใหญ่ที่สุดอันดับสามของซีเรีย
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้ขอเสนอกรณีการใช้บริษัทเปลือกนอก (บริษัทที่มีลักษณะไม่ประกอบกิจการใดๆ แต่ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นผู้ถือหุ้นและบริหารกิจการอื่นๆ) เพื่อหลบเลี่ยงมาตรการคว่ำบาตรที่มีต่อนายบัชชาร์ อัล-อัสซาด ผู้นำเผด็จการของประเทศซีเรีย
โดยสำนักข่าวการ์เดียนของประเทศอังกฤษได้รายงานข่าวว่าพบข้อมูลจากเอกสารว่าผู้นำเผด็จการของซีเรียนั้นได้มีการตั้งบริษัทเปลือกนอกเพื่อที่จะสร้างระบบในการหลบเลี่ยงมาตรการคว่ำบาตรต่างๆ
ทั้งนี้เอกสารซึ่งยังไม่สามารถเปิดเผยต่อสาธารณะได้นั้นได้มีการระบุรายชื่อบริษัทเอาไว้ 3 แห่งด้วยกัน ที่พบว่าบริษัทเหล่านี้ถูกจัดตั้งขึ้นในประเทศซีเรียวันเดียวกัน ด้วยวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนว่าเป็นผู้ที่จะดำเนินงานในการซื้อหุ้นและจัดการกับบริษัทอื่นๆ
อย่างไรก็ตามเมื่อสืบข้อมูลความเชื่อมโยงกัน ก็พบว่าบริษัทเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกับนายอัล-อัสซาด ผ่านเส้นทางของเจ้าของบริษัทเหล่านี้
โดยทั้ง 3 บริษัทที่ถูกก่อตั้งขึ้นในเดือน ต.ค. 2564 ที่ผ่านมานั้นมีชื่อได้แก่บริษัทชื่อว่า Trappist, Generous และบริษัท Super Brandy ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าหนึ่งในเจ้าของของทั้งสามบริษัทนี้ได้แก่นายอาลี นาจิบ อิบราฮิม ซึ่งเขาเป็นเจ้าของร่วมของบริษัท Tele Space ซึ่งบริษัทแห่งนี้นั้นได้ใบอนุญาตประกอบกิจการในช่ววงต้นปี 2565 ถือเป็นบริษัทให้บริการโทรคมนาคมใหญ่ที่สุดอันดับสามของซีเรีย
ส่วนหุ้นส่วนคนอื่นของบริษัท Wafa JSC นั้นได้แก่นายยาซาร์ ฮุสเซน อิบราฮิม ซึ่งพบว่าเป็นที่ปรึกษาของประธานาธิบดีอัสซาด ในด้านเศรษฐกิจและการเงิน และเขาก็ยังเป็นอีกคนที่ถูกมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร
ขณะที่ตัวตนของผู้ที่เป็นเจ้าของบริษัทอีกสองแห่งนั้นได้แก่นางรานา อะหมัด คาลิล วัย 20 ปี และนางริต้า อะหมัด คาลิล วัย 21 ปี โดยทั้งสองนั้นเป็นลูกสาวของนายอะหมัด คาลิล คาลิล ผู้เป็นเจ้าของบริษัท Tele Space อีกครึ่งหนึ่งร่วมกับนายอาลี นาจิบ อิบราฮิม
นายอะหมัด คาลิล คาลิล ยังเป็นเจ้าของร่วมกับบริษัทอีกแห่งหนึ่งชื่อว่า Sanad Protection and Security Services ซึ่งบริษัทนี้นั้นเป็นผู้ที่รับผิดชอบในการคุ้มกันการขนแร่ฟอสเฟตจากตอนกลางของประเทศซีเรียไปยังท่าเรือทาร์ตัสของประเทศรัสเซีย
ส่วนหุ้นส่วนของบริษัท Sanad Protection ซึ่งก็คือนายนัสเซอร์ ดีบ ดีบ ที่เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทอีกแห่งหนึ่งชื่อว่า Ella Services ก็เป็นอีกคนที่ถูกมาตรการคว่ำบาตรไปพร้อมกับนายโคดร์ อาลี ทาเฮอร์ ซึ่งเป็นนักธุรกิจระดับสูงในระบอบการปกครองของนายอัสซาด
เครือข่ายบริษัทเปลือกนอกที่มีความเกื้อหนุนต่อประธานาธิบดีซีเรีย
โดยนายทาเฮอร์นั้นถูกคว่ำบาตรจากทั้งทางสหรัฐฯ จากสหราชอาณาจักร และสหภาพยุโรป ในข้อหาว่ามีส่วนในการให้เงินสนับสนุนแก่การปกครองแบบเผด็จการ รวมไปถึงมีส่วนในการลักลอบและค้ากำไรของการค้ายาคาปาตากอน ซึ่งเป็นยาแอมเฟตามีนที่ผลิตในซีเรีย
ขณะที่ทางด้านของนายเอยาด ฮามิด นักวิจัยอาวุโสของโครงการพัฒนากฎหมายซีเรียในกรุงลอนดอนก็ได้กล่าวว่าจากปัญหาดังกล่าวนั้นแสดงให้เห็นว่ามาตรการคว่ำบาตรต่างๆที่ อยู่ภายใต้ทีมบริหารงานของประธานาธิบดีโจ ไบเด้น นั้นยังคงมีข้อจำกัดอย่างยิ่ง และยังขาดความกระตือรือร้นต่อบุคคลที่ถูกคว่ำบาตรในประเทศซีเรีย
อนึ่งมาตรการคว่ำบาตรเฉพาะบุคคลที่ประเทศสหรัฐฯได้ใช้งานนั้นยังเป็นมาตรการเดียวกับที่รัฐบางสหราชอาณาจักรได้ประกาศบังคับใช้ โดยได้มุ่งเน้นไปแค่บุคคลที่ใกล้ชิดกับนายอัสซาด รวมไปถึงนายยาซาร์ ฮุสเซน อิบราฮิม หัวหน้าที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการเงินของนายอัสซาดในช่วงปี 2564 ที่ผ่านมา และนายไฟซัล เมคดัด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของซีเรีย ส่วนสำนักงานควบคุมสินทรัพย์ต่างประเทศของสหรัฐฯ นั้นจะเป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของกระทรวงการคลังนั้นได้เป็นผู้กำหนดมาตรการคว่ำบาตรต่อนายอิบราฮิมและนายทาเฮอร์
ขณะที่ทางด้านของนายปีเตอร์ สตาโน จากกิจการด้านการต่างประเทศของสหภาพยุโรปกล่าวว่ากำลังมีการตรวจสอบในประเด็นดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งที่ผ่านมานั้นทางสหภาพยุโรปได้แสดงให้เห็นมาโดยตลอดว่าได้ตัดสินใจที่จะทบทวนทั้งในด้านของมาตรการคว่ำบาตรใหม่และได้ปรับปรุงรายชื่อของหน่วยงานรวมไปถึงบุคคลที่เป็นเป้าหมายของการคว่ำบาตรมาโดยตลอด
ส่วนคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปนั้นได้กล่าวว่าจะมีการส่งเรื่องที่สำนักข่าวการ์เดียนได้เผยแพร่ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไปเพื่อจะให้ดำเนินการทั้งการประเมินและตรวจสอบเพิ่มเติมในประเด็นเรื่องบริษัทที่เพิ่งตั้งขึ้นมาใหม่
อนึ่งกฎหมายของสหรัฐฯที่มีชื่อว่ากฎหมายซีซาร์ซึ่งถูกตั้งชื่อตามเจ้าหน้าที่หน่วยงานความมั่นคงของซีเรียรายหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้เปิดโปงพฤติกรรมการทรมานภายใต้การปกครองของนายอัสซาดนั้นได้บัญญัติไว้ชัดเจนว่า สามารถจะมีมาตรการคว่ำบาตรชั้นรองแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งได้ ถ้าหากเห็นสมควรว่าหน่วยงานพวกนี้มีความเชื่อมโยงไปถึงกลุ่มผู้ปกครองเผด็จการได้ แม้ว่าหน่วยงานเหล่านี้จะไม่มีส่วนในการกระทำความผิดกฎตาม แต่ทว่ามาตรการคว่ำบาตรชั้นรองนั้นยังไม่เคยถูกนำมาใช้เลย นับตั้งแต่ที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ในช่วงกลางปี 2563
สหรัฐอเมริกาประกาศใช้กฎหมายซีซาร์ (อ้างอิงวิดีโอจากอัลจาซีร่า)
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง บ.กฎหมายยักษ์ใหญ่ รับงานช่วยโอลิการ์ชรัสเซียรอดมาตรการคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง 'ดูไบ' แหล่งกบดานเศรษฐีหนีคดี หลังโลกตามอายัดเงินจากรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อีริคสัน' ส่อเอี่ยวจ่ายเงินให้กลุ่ม ISIS แลกทำธุรกิจใน 'โมซุล'
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเครือข่ายธนาคารดันสเก เอสโตเนีย ไฉนเป็นเส้นทางฟอกเงิน 5.1 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อังกฤษ' ยกเลิกวีซ่านักลงทุน หวั่นเปิดช่องฟอกเงิน โต้ 'วิกฤติยูเครน'
- ส่องคดีทุจริตโลก: อายุน้อยร้อย ล.-เมื่อเด็กเป็นเจ้าของ บ.ในลักเซมเบิร์กเกือบ 300 แห่ง
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อังกฤษ'ยึดทรัพย์ทุจริต'อาเซอร์ไบจาน' แสน ล.โยงฟอกเงินผ่าน'เอสโตเนีย'
- ส่องคดีทุจริตโลก:'คูเวต'เร่งสอบ ปมจัดซื้อเครื่องบินไต้ฝุ่น 2.9 แสน ล.แพง
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อัยการเบอร์ลิน'สอบผู้บริหารพรรคกรีนส์-รมต.อนุมัติโบนัสโควิดไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.อิสราเอล จ่อตั้ง กก.สอบปมสินบนเรือดำน้ำเยอรมนี หลังเรื่องแดงปี 59
- ส่องคดีทุจริตโลก:'เพนตากอน'ถลุงงบหลายแสน ล.ไร้ประสิทธิภาพ-เอื้อปย.เอกชนช่วงสงครามอัฟกาฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโก' ปธน.เบลารุส บุคคลคอร์รัปชันแห่งปี 64