ในรายงานได้ระบุต่อว่าอีริคสันได้มีการตัดสินใจที่ถือว่าเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อในช่วงปี 2557 เมื่อกลุ่ม ISIS ได้ดำเนินการเข้ายึดพื้นที่เมื่อสังหารตัวประกันในอิรัก ทางด้านของลูกจ้างบริษัทจำนวน 2 รายของบริษัทได้เสนอให้ผู้บริหารระดับสูงได้หยุดปฏิบัติการทั้งในเมืองโมซุลและในที่อื่นๆของอิรัก แต่อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารระดับสูงที่ดูแลภูมิภาคนั้นปฏิเสธคำแนะนำดังกล่าว และระบุว่าการออกจากพื้นที่จะ “เป็นการทำลายธุรกิจของเรา”
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้ขอเสนอประเด็นความไม่โปร่งใสของบริษัทโทรคมนาคมชื่อดังของประเทศสวีเดนที่ชื่อว่าอีริคสัน กับข้อกล่าวหาว่าบริษัทนี้อาจมีส่วนเป็นเส้นทางการเงินให้กลุ่มก่อการร้ายรัฐอิสลามหรือว่ากลุ่ม ISIS
เว็บไซต์สมาคมผู้สื่อข่าวสืบสวนสอบสวนนานาชาติ หรือ ICIJ ได้รายงานข่าวซึ่งอ้างอิงจากการรวบรวมเอกสารว่าบริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่อย่างอีริคสันนั้นได้มีการดำเนินการเพื่อคำขออนุมัติจากกลุ่มรัฐอิสลามเพื่อที่จะทำงานภายใต้พื้นที่และในเมืองที่ถูกครอบครองของกลุ่ม ISIS และพบข้อมูลว่าบริษัทนั้นยังได้มีการจ่ายเงินเพื่อแลกกับการขนอุปกรณ์เข้าไปยังพื้นที่ควบคุมของกลุ่ม ISIS ด้วยเช่นกัน
รายงานได้เปิดโปงว่าบริษัทอีริคสันนั้นได้มีการจ่ายเงินอันน่าสงสัยคิดเป็นมูลค่านับหลายสิบล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงระยะเวลาเกือบตลอด 10 ปี เพื่อแลกกับการที่บริษัทนั้นจะยังคงธุรกิจในประเทศอิรัก มีการสนับสนุนการเงินสำหรับการให้สินบน,มีการเดินทางไปพบกับบุคลากรด้านความมั่นคง และจ่ายเงินให้กับคนกลางเพื่อจะนำไปถึงผู้บริหารองค์กร และมีความเป็นไปได้ว่าเงินนั้นจะไปตกที่ผู้ก่อการร้าย
ข้อมูลจากการสอบสวนภายในได้บรรยายเอาไว้ถึงรูปแบบการให้สินบนว่ามีความกว้างขวางมาก อีกทั้งบริษัทที่ดำเนินการดูแลเรื่องการจ่ายเงินนั้นก็มีความอ่อนแอ จนไม่สามารถจะกำกับดูแลการชำระเงินจำนวนหลายล้านดอลลาร์ได้ ขณะที่ทางอีริคสันได้ดำเนินการเพื่อที่จะขยายเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในประเทศที่ถือได้ว่ามีการทุจริตมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นในช่วงปี 2554-2562
โดยธุรกิจของบริษัทอีริคสันในประเทศอิรักนั้นถือว่าต้องอาศัยทั้งเส้นสายทางการเมืองและผู้รับเหมาเป็นอย่างยิ่ง และพบว่ามีการทำสัญญาหลอกลวงอันเกี่ยวข้องหลายประการเช่นการทำใบเสร็จที่มีมูลค่าสูงเงินจริง การปลอมแปลงเอกสารงบการเงิน และการจ่ายเงินให้กับทางที่ปรึกษา ด้วยรายละเอียดงานที่ค่อนข้างจะน่าตกใจ ซึ่งในกรณีการจ่ายเงินครั้งหนึ่ง พบว่ามีสมาชิกผู้ทรงอำนาจของกลุ่มครอบครัวเคิร์ดที่ขื่อว่าบาร์ซานิสได้รับเงินไปทั้งสิ้นกว่า 1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (39,220,800 บาท) โดยเงินดังกล่าวนั้นเป็นค่าใช้จ่ายทำให้การให้บาร์ซานีให้อำนวยความสะดวกแก่ประธานของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ
โดยการทุจริตส่วนมากนั้นเกิดขึ้นหลังจากที่อีริคสันได้กลายเป็นตัวละครสำคัญในช่วงเวลาที่มีการขับเคี่ยวกันระหว่างตะวันตกและจีนในด้านโทรคมนาคม ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2556 บริษัทนี้ได้ยอมรับและมีการร่วมมือกับทางการสหรัฐอเมริกาในการสืบสวนข้อครหาเรื่องการให้สินบน แต่เป็นในประเทศอื่น และการสอบสวนของทางสหรัฐฯก็ไม่ได้ระบุถึงรายละเอียดการให้สินบนที่ประเทศอิรักแต่อย่างใด และการสอบสวนดังกล่าวก็นำไปสู่การที่บริษัทได้จ่ายเงินเพื่อยุติคดีการให้สินบนคิดเป็นมูลค่ากว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (32,684,000,000 บาท) กับทางกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯและสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ
เว็บไซต์ ICIJ ได้มีการแบ่งข้อมูลเอกสารกับสำนักข่าววอชิงตันโพสต์,สำนักข่าวเอสวีทีในประเทศสวีเดน และสื่ออีกจำนวน 28 แห่ง ใน 22 ประเทศ ในโครงการรายชื่ออีริคสัน และ ICIJ กับสื่อที่ทำงานร่วมกันก็ได้ระบุความถูกต้องของข้อมูลบันทึก เอกสารต่างๆ รวมไปถึงใช้เวลาอีกหลายเดือนตรวจสอบเอกสารอื่นๆ และสัมภาษณ์อดีตลูกจ้างบริษัท,เจ้าหน้าที่รัฐบาล,บุคคลในแวดวงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งที่ประเทศอิรัก,กรุงลอนดอน,กรุงวอชิงตัว,ประเทศจอร์แดน,ประเทศเลบานอนและที่อื่นๆ
การสอบสวนของ ICIJ (อ้างอิงวิดีโอจาก ICIJ)
ในข้อมูลเอกสารที่รั่วไหลดังนั้นยังได้รวมไปถึงเอกสารจำนวน 73 หน้า จากทั้งหมดที่มีอยู่ 79 หน้าที่ระบุถึงการทำธุรกิจของอีริคสันที่อิรัก ซึ่งมีพยานยืนยันจำนวน 28 ปาก และการสัมภาษณ์ทางอีเมลอีกว่า 22.5 ล้านฉบับ ทาง ICIJ และสื่อที่ทำงานร่วมกันจึงได้มีการส่งอีเมลสอบถามคำถามไปยังบริษัทอีริคสันเกี่ยวกับการตรวจสอบในทางลับของบริษัทที่ได้มีการดำเนินการ ซึ่งแทนที่จะมีคำตอบกลับมา บริษัทอีริคสันก็ได้มีการทำแถลงการณ์เมื่อวันที่ 15 ก.พ. ยอมรับว่าบริษัทรับรู้ว่ามี “การประพฤติมิชอบที่เกี่ยวข้องกับการทุจริต” ในประเทศอิรัก และอาจจะมีความเป็นไปได้ว่าบริษัทเคยจ่ายเงินให้กับกลุ่ม ISIS
โดยนายบอร์เจ เอคโฮล์ม ผู้บริหารบริษัทอีริคสันได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อแห่งหนึ่งที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเอกสารที่รั่วไหล ซึ่งเขาได้กล่าวว่าบริษัทอีริคสันอาจจะมีการจ่ายเงินที่ผิดกฎหมาย แต่บริษัทก็กำลังดำเนินการเพื่อจะระบุตัวตนของผู้รับผลประโยชน์รายสุดท้าย
“บางครั้งเราก็ไม่สามารถระบุได้ว่าเงินจะไปที่ไหน แต่เราจะเห็นว่ามันหายไป”นายเอคโฮล์มให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์สวีเดน
บริษัทอีริคสันได้ระบุว่าบริษัทมีความมุ่งมั่นมากในเรื่องของการดำเนินการอย่างโปร่งใส ในรายการเปิดโปงครั้งล่าสุด แต่ว่าบริษัทก็ไม่ได้ระบุถึงการสอบสวนภายในตามที่ได้มีการระบุในเอกสารที่รั่วไหลแต่อย่างใด
ทั้งนี้ในเอกสารบันทึกนั้นแสดงข้อมูลว่านอกเหนือจากประเทศอิรัก บริษัทได้มีการดำเนินการตรวจสอบการกระทำความผิดในประเทศเลบานอน,สเปน,โปรตุเกส และอียิปต์ นอกจากนี้ในเอกสารรายชื่อของบริษัทที่ถูกตรวจสอบว่ามีความเป็นไปได้ว่าจะมีการให้สินบน,ฟอกเงิน และยักยอกเงิน ซึ่งการดำเนินการเหล่านี้นั้นถูกกระทำโดยลูกจ้างของบริษัทอีริคสันทั้งในประเทศแองโกลา,อาเซอร์ไบจาน,บาห์เรน,บราซิล,จีน,โครเอเชีย,ลิเบีย,โมร็อกโก สหรัฐอเมริกา และแอฟริกาใต้ ซึ่งประเด็นการสอบสวนดังกล่าวนั้นยังไม่เคยถูกเปิดเผยที่ไหนมาก่อนเลย
การสอบสวนเกี่ยวกับการกระความผิดของบริษัทอีริคสันในประเทศที่เกี่ยวข้องในปี 2562
ในรายงานได้ระบุต่อว่าอีริคสันได้มีการตัดสินใจที่ถือว่าเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อในช่วงปี 2557 เมื่อกลุ่ม ISIS ได้ดำเนินการเข้ายึดพื้นที่เมื่อสังหารตัวประกันในอิรัก ทางด้านของลูกจ้างบริษัทจำนวน 2 รายของบริษัทได้เสนอให้ผู้บริหารระดับสูงได้หยุดปฏิบัติการทั้งในเมืองโมซุลและในที่อื่นๆของอิรัก แต่อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารระดับสูงที่ดูแลภูมิภาคนั้นปฏิเสธคำแนะนำดังกล่าว และระบุว่าการออกจากพื้นที่จะ “เป็นการทำลายธุรกิจของเรา”
ต่อมาไม่นาน 1 เดือนหลังจากนั้นบริษัทอีริคสันก็ได้ถามไปยังบริษัทคู่ค้าท้องถิ่นที่มีชื่อว่า เอเชียเซลล์ คอมมิวนิเคชั่นส์ เพื่อให้บริษัทนี้ดำเนินการ ขอคำอนุญาตจากหน่วยงานท้องถิ่น ISIS เพื่อที่จะดำเนินกิจการต่อไปในเมืองโมซุล อย่างไรก็ตามนี่นำไปสู่การที่กลุ่ม ISIS ได้ลักพาตัวหัวหน้าทีมงานของบริษัทที่รับเหมาจากบริษัทอีริคสันอีกทีหนึ่ง ซึ่งในกรณีดังกล่าวนั้น ทางบริษัทเอเชียเซลล์ไม่ได้ให้ความเห็นในเรื่องนี้แต่อย่างใด แม้จะมีการถามคำถามไปหลายครั้งแล้วก็ตาม
เจ้าหน้าที่สืบสวนของทางบริษัทอีริคสันกล่าวว่าพวกเขานั้นไม่สามารถจะจำแนกความเป็นไปได้ว่าบริษัทได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการให้เงินกับกลุ่มก่อการร้ายผ่านบริษัทผู้รับเหมารายย่อย แม้ว่าพวกเขาไม่สามารถระบุว่าพนักงานของอีริคสันคนใด “เกี่ยวข้องโดยตรง” บ้างก็ตาม
ส่วนแผนกว่าด้วยการปฏิบัติตามระเบียบของบริษัทอีริคสันที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบกิจกรรมของบริษัทต่างชาติ ก็ได้มีการเตรียมเอกสารชั้นความลับร่วมกับบริษัท ซิมป์สัน ทาเชอร์ แอนด์ บาร์ทเล็ต ซึ่งบริษัทนี้เป็นสํานักงานกฎหมายที่มีอํานาจสูงในนครนิวยอร์ก เพื่อที่บริษัทนั้นจะได้เตรียมข้อโต้แย้งกับกรณีที่ทางการสหรัฐฯจะดำเนินการสอบสวนบริษัทในเรื่องการให้สินบน
อนึ่ง การตรวจสอบภายในในเรื่องที่เป็นประเด็นและถูกกล่าวหานั้น โดยมากแล้วมักจะล้มเหลวในการบรรลุถึงข้อสรุปที่เฉพาะเจาะจง และการสืบสวนที่ไม่สมบูรณ์ดังกล่าวนั้นก็จะนำไปสู่ข้อกล่าวหาที่มีลักษณะเปิดโปงออกมา ซึ่งกรณีนี้ก็รวมไปถึงข้อกล่าวหาการจ่ายเงินให้กับกลุ่มก่อการร้าย โดยผู้ที่สืบสวนภายในนั้นไม่ได้มีการสัมภาษณ์กับเจ้าหน้าที่ของบริษัทขนส่งผู้รับงานจากบริษัทอีริคสันให้อุปกรณ์ผ่านพื้นที่ในเขตครอบครองของกลุ่ม ISIS แต่อย่างใด อีกทั้งยังไม่มีการสัมภาษณ์กับผู้รับเหมารายย่อยที่ต้องทำงานในเมืองโมซุลที่เคยเป็นพื้นที่ครอบครองของกลุ่ม ISIS ด้วยเช่นกัน
บริษัทอีริคสันยังได้ปฏิเสธที่จะตอบคำถามของ ICIJ และสื่ออื่นๆที่ทำงานร่วมกัน ในหัวข้อคำถามที่ว่าทำไมผู้บริหารระดับภูมิภาคนั้นถึงได้รับการเลื่อนตำแหน่ง ทั้งๆที่ยังคงมีการสอบสวนเรื่องการทุจริต และทำไมคนงานของบริษัทจึงมีความเสี่ยงจากการดำเนินงานของบริษัทในประเทศอิรัก
โดยจนถึงบัดนี้ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่ากระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ และสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รู้ข้อมูลมากเท่าใดเกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมายในอิรัก หรือว่าบริษัทอีริคสันนั้นได้มีการเปิดโปงข้อมูลการตรวจสอบภายในทั้งหมดให้กับหน่วยงานรัฐจริงหรือไม่ ซึ่งทางด้านของกระทรวงยุติธรรม,คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์และบริษัทซิมป์สัน ทาเชอร์ ต่างก็ปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นในเรื่องเหล่านี้
ทั้งนี้นายเอคโฮล์มยังได้เคยให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวรอยเตอร์ในช่วงปี 2562 ข้อตกลงเรื่องการยุติคดีนั้นได้จำกัดขีดความสามารถของบริษัทในการที่จะให้ความเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เปิดเผยไปแล้วหรือสิ่งที่ยังไม่ถูกเปิดเผย
นายเอคโฮล์มกล่าวว่าบริษัทเลือกที่จะไม่เปิดเผยการสอบสวนที่อิรักเพราะว่า “ไม่ผ่านเกรฑ์ของบริษัท ในเรื่องของการเปิดเผยข้อมูล”
อย่างไรก็ตามมูลค่าหุ้นของบริษัทอีริคสั้นนั้นพุ่งขึ้นกว่า 4.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (143,809,600,000 บาท) หรือมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ในช่วง 1 วันหลังจากที่นายเอคโฮล์มได้ออกมายอมรับว่าบริษัทนั้นอาจจะได้เคยจ่ายเงินให้กับกลุ่ม ISIS
ขณะที่บริษัทกฎหมายหลายแห่งก็เริ่มที่จะมีการชัดชวนนักลงทุนบริษัทอีริคสันให้ดำเนินการฟ้องร้องบริษัทแล้วในข้อหาว่าบริษัทได้ระงับการเปิดเผข้อมูลสำคัญอันเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการจ่ายเงินให้กลุ่มก่อการร้าย
เรียบเรียงจาก:https://www.icij.org/investigations/ericsson-list/ericsson-leak-isis-iraq-corruption/
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเครือข่ายธนาคารดันสเก เอสโตเนีย ไฉนเป็นเส้นทางฟอกเงิน 5.1 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อังกฤษ' ยกเลิกวีซ่านักลงทุน หวั่นเปิดช่องฟอกเงิน โต้ 'วิกฤติยูเครน'
- ส่องคดีทุจริตโลก: อายุน้อยร้อย ล.-เมื่อเด็กเป็นเจ้าของ บ.ในลักเซมเบิร์กเกือบ 300 แห่ง
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อังกฤษ'ยึดทรัพย์ทุจริต'อาเซอร์ไบจาน' แสน ล.โยงฟอกเงินผ่าน'เอสโตเนีย'
- ส่องคดีทุจริตโลก:'คูเวต'เร่งสอบ ปมจัดซื้อเครื่องบินไต้ฝุ่น 2.9 แสน ล.แพง
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อัยการเบอร์ลิน'สอบผู้บริหารพรรคกรีนส์-รมต.อนุมัติโบนัสโควิดไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.อิสราเอล จ่อตั้ง กก.สอบปมสินบนเรือดำน้ำเยอรมนี หลังเรื่องแดงปี 59
- ส่องคดีทุจริตโลก:'เพนตากอน'ถลุงงบหลายแสน ล.ไร้ประสิทธิภาพ-เอื้อปย.เอกชนช่วงสงครามอัฟกาฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโก' ปธน.เบลารุส บุคคลคอร์รัปชันแห่งปี 64