นายสุดราจาดเองก็ถูกกล่าวหาว่ารับเงินสินบนเป็นจำนวนกว่า 800 ล้านรูเปียห์อินโดนีเซีย (1,984,255 บาท) เพื่อแลกกับการที่ศาลฎีกาจะมีคำพิพากษาที่เป็นคุณกับนายอีวาน ดวี คุสุมะ สุจันโต (Ivan Dwi Kusuma Sujanto) และนายเฮอร์ยันโตะ ทานากะ (Heryanto Tanaka) นักธุรกิจสองรายที่เกี่ยวข้องกับคดีแพ่งและเป็นคู่ความกับสหกรณ์ Intidana
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้ขอเสนอความไม่โปร่งใสในวงการตุลาการของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้มีรายงานข่าวจากสำนักข่าวในต่างประเทศหลายแห่งรายงานตรงกันว่าการจับกุมนายสุดราจาด ดิมยาติ (Sudrajad Dimyati) ผู้พิพากษาศาลฎีกาของอินโดนีเซีย โดยหน่วยงานคณะกรรมการขจัดการทุจริตคอร์รัปชั่นหรือ KPK ในข้อหาว่ามีการรับสินบนนั้นถือว่าเป็นการเปิดโปงความล้มเหลวของระบบศาลอินโดนีเซียอย่างยิ่ง ในแง่ของการควบคุมและตรวจสอบภายในเพื่อจะขจัดการทุจริตในวงการตุลาการด้วยกันเอง
นายสุดราจาด ดิมยาติ ผู้พิพากษาที่ถูกกล่าวหาว่ารับสินบน (อ้างอิงวิดีโอจาก tvOneNews)
สำหรับนายสุดราจาดนั้นตกเป็นผู้ต้องสงสัยเมื่อวันที่ 23 ก.ย. ที่ผ่านมา ว่าเขานั้นได้รับสินบนอันเกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีแพ่งคดีหนึ่ง ซึ่งอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของศาลฎีกา โดยนอกเหนือจากนายสุดราจาดแล้ว ก็ปรากฏว่ามีบุคคลอีกจำนวนเก้ารายที่พบว่ากระทำผิดด้วยเช่นกัน ซึ่งการเปิดโปงดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นหลังจากที่เจ้าหน้าที่ KPK ได้มีการบุกเข้าตรวจค้นในสถานที่หลายแห่งทั้งในกรุงจาการ์ตาเซอมารังซึ่งอยู่บนเกาะชวาตอนกลาง
โดยผู้ต้องหาทั้งเก้ารายนี้ก็ได้แก่นายเอลลี่ ไตร ปันเกสตู (Elly Tri Pangestu) ผู้ทำหน้าที่เป็นเสมียนศาล และพนักงานจํานวนหนึ่งที่ทำหน้าที่ในสํานักงานทะเบียนของศาลชั้นต้น และนักธุรกิจอีกจำนวนสองรายที่ยื่นอุทธรณ์คดีต่อศาลแพ่งและพาณิชย์ในเซมารังในคดีที่เกี่ยวข้องกับการให้กู้ยืมสหกรณ์ KSP Intidana และทนายความอีกสองคนของนักธุรกิจเหล่านี้
ทั้งนี้หลังจากวันที่ 23 ก.ย.ได้ไม่นาน นายสุดราจาดได้มอบตัวต่อสำนักงาน KPK ซึ่งก่อนหน้าการมอบตัวนายสุดราจาดได้มีการไปพบกับประธานศาลฎีกา ซึ่งทางประธานศาลฎีกาได้มีการขอให้นายสุดราจาดให้ความร่วมมือกับผู้ที่ทำหน้าที่สอบสวน ทำให้ในตอนนี้นายสุดราจาดอยู่ในความควบคุมตัวของ KPK
นายสุดราจาดเองก็ถูกกล่าวหาว่ารับเงินสินบนเป็นจำนวนกว่า 800 ล้านรูเปียห์อินโดนีเซีย (1,984,255 บาท) เพื่อแลกกับการที่ศาลฎีกาจะมีคำพิพากษาที่เป็นคุณกับนายอีวาน ดวี คุสุมะ สุจันโต (Ivan Dwi Kusuma Sujanto) และนายเฮอร์ยันโตะ ทานากะ (Heryanto Tanaka) นักธุรกิจสองรายที่เกี่ยวข้องกับคดีแพ่งและเป็นคู่ความกับสหกรณ์ Intidana
โดยนักธุรกิจทั้งสองรายดังกล่าวนี้เคยเป็นสมาชิกของสหกรณ์มาก่อน ก่อนที่จะมีการฟ้องร้องกับศาลเพื่อยื่นขอให้สหกรณ์ล้มละลายในช่วงปีนี้ เนื่องจากว่าสหกรณ์นั้นไม่สามารถจ่ายเงินปันผลคืนให้กับสมาชิกสหกรณ์ได้ ซึ่งปัจจุบันนั้นเงินปันผลที่สหกรณ์ยังค้างอยู่มีมูลค่ามากกว่า 1 ล้านล้านรูเปียห์ฯ (2,480.3 ล้านบาท) ซึ่งทั้งสองนั้นแพ้คดีไปแล้วในศาลแพ่งเซอมารังชั้นต้นแต่ชนะคดีในศาลอุทธรณ์
สำหรับข้อกล่าวหาเรื่องการให้สินบนนั้นมีการระบุกันว่านายอีวานและนายเฮอร์ยันโตะได้มีการให้เงินแก่เสมียนศาลและพนักงานของศาลคิดเป็นเงินดอลลาร์อยู่ที่ 141,266 ดอลลาร์สหรัฐฯ (5,321,207 บาท) เพื่อจ่ายเป็นเงินสินบน ซึ่งบางส่วนของเงินส่วนนี้นั้นถูกส่งไปถึงนายสุดราจาดด้วย
ทนายความของนักธุรกิจยอมรับว่ามีการให้สินบนจริง
KPK ยังได้พบข้อบ่งชี้ในหลายประการที่ระบุว่านายสุดราจาดและผู้ต้องสงสัยรายอื่นๆนั้นอาจจะมีความเชื่อมโยงไปถึงคดีอื่นๆด้วย
“เราสงสัยว่าเจ้าหน้าที่ศาลนั้นจะมีการรับเงินจากบุคคลอื่นที่มีคดีในชั้นศาลฎีกาด้วย ทีมของเรากำลังมีการสืบสวนอยู่” นายอเล็กซานเดอร์ มาร์วาตา (Alexander Marwata) รองประธาน KPK กล่าวเมื่อวันที่ 24 ก.ย.ที่ผ่านมา
ขณะที่นายซาห์รูล ราเบน (Zahrul Rabain) หัวหน้าคณะตรวจสอบของศาลฎีกา กล่าวว่าเขาพร้อมที่จะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่กับทาง KPK
ทั้งนี้กระบวนการสอบสวนของคณะกรรมการจากทางฝั่งตุลาการนั้นจะมีการเลือกผู้พิพากษาศาลฎีกามาเพื่อดำเนินการสอบสวนกรณีการละเมิดจริยธรรม และออกคำแนะนำให้มีการลงโทษสำหรับผู้พิพากษาที่ละเมิดนจริยธรรม ซึ่งการดำเนินการของคณะกรรมการฯต่อนายสุดราจาดและนายเอลลี่ดังกล่าวนี้นั้นจะเป็นการดำเนินการแยกออกจากการทำงานของ KPK
โดยนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่นายสุดราจาดถูกลกล่าวหาว่ามีพฤติกรรมการทุจริต เนื่องจากในช่วงที่นายสุดราจาดนั้นเป็นผู้พิพากษาศาลสูงอยู่ที่เมืองปอนเตียนักในช่วงปี 2556 ซึ่งเป็นเวลาที่มีการคัดเลือกผู้พิพากษาศาลฎีกา ก็มีการกล่าวหาว่านายสุดราจาดนั้นพยายามที่จะให้สินบนกับ ส.ส.รายหนึ่งที่เป็นคณะกรรมการกิจการกฎหมาย
สำหรับข้อกล่าวหาเรื่องการให้สินบนในครั้งนั้นมาจากการที่ผู้สื่อข่าวจับได้ว่านายสุดราจาดกำลังยื่นซองจดหมายให้กับ ส.ส.ในระหว่างที่อยู่ในห้องน้ำ ซึ่งการยื่นซองจดหมายนั้นเกิดขึ้นได้ไม่นานหลังจากที่ ส.ส.ได้รับคำสัมภาษณ์ของนายสุดราจาดเพื่อใช้ในการพิจารณาเลื่อนขั้นผู้พิพากษา
นายสุดราจาดซึ่งยังคงบริสุทธิ์อยู่จนถึงทุกวันนี้ได้กล่าวอ้างว่าการพบปะนั้นเป็นการขอภูมิหลังเกี่ยวกับผู้สมัครคัดเลือกคนอื่นๆเท่านั้น ซึ่งในครั้งนั้นการคัดเลือกของนายสุดราจาดก็ถูกปฏิเสธจากทางคณะกรรมการไป และในเวลาต่อมาคณะกรรมการของฝ่ายตุลาการที่ดำเนินการสอบสวนด้านจริยธรรมก็ประกาศว่าเขาไม่มีความผิด
ในปีถัดมาหลังจากนั้นนายสุดราจาดก็ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการของรัฐสภา และถูกคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกาในคดีแพ่ง
“ประวัติความเป็นมาของนายสุดราจาดนั้นแสดงให้เห็นว่าในกระบวนการคัดเลือกผู้สมัครผู้พิพากษาให้มาเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกานั้นไม่ได้มีความซื้อสัตย์สุจริตแต่อย่างใด” แถลงการณ์ของภาคประชาสังคมเพื่อเฝ้าระวังการทุจริตของอินโดนีเซียหรือ ICW ระบุ
ยิ่งไปกว่านั้นในปีที่ผ่านมา ยังพบว่านายสุดราจาดได้เป็นผู้ประเมินผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกาด้วยเช่นกัน
จึงเป็นเหตุทำให้การจับกุมนายสุดราจาด นำมาซื่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์และการเฝ้าจับตาการทุจริตที่เกิดขึ้นในแวดวงตุลาการของอินโดนีเซียและยังมีการเรียกร้องให้มีการตรวจสอบการทำหน้าที่ของศาลฎีกาอย่างเข้มงวดมากขึ้น ซึ่งข้อเสนอที่ให้มีบุคคลภายนอกเข้ามาตรวจสอบศาลดังกล่าวนั้นมักจะถูกคัดค้านโดยคณะกรรมการของตุลาการมาโดยตลอด
ทาง ICW ได้ระบุอีกว่าจากเหตุการณ์ดังกล่าวนั้นก็มีความเป็นไปได้ว่าจะมีผู้พิพากษาและพนักงานที่ทำงานในศาลอีกหลายคนที่มีพฤติกรรมการทุจริตแต่ว่ายังไม่ถูกระบุตัวตนจากหน่วยงานผู้บังคับใช้กฎหมาย
ICW ได้อ้างข้อมูลจาก KPK ระบุว่าพบว่ามีผู้พิพากษาอย่างน้อย 21 รายที่พบว่ามีส่วนเกี่ยวกับคดีทุจริตจนถึงวันนี้ ซึ่งหนึ่งในคดีที่เป็นที่ฉาวโฉ่ที่สุดก็คือกรณีที่นายนูรฮาดี อับดูรัคมัน (Nurhadi Abdurrachman) เลขานุการศาลฎีกาถูกพบว่ามีความผิดเมื่อปีที่ผ่านมา จากการรับเงินสินบนที่เกี่ยวข้องกับคดีสามคดีที่ถูกส่งมายังศาลฎีกาในช่วงระหว่างปี 2554-2559
ทาง KPK ได้มีการออกหมายจับนายนูรฮาดี โดยระบุว่าเป็นบุคคลที่เป็นที่ต้องการตัวในระดับสูงสุดเอาไว้ตั้งแต่เมื่อเดือน ก.พ. 2563 แต่ว่าเขาก็ยังหลบหนีจากการจับกุมได้เรื่อยมาจนกระทั่งถึงเดือน มิ.ย. 2564 นำมาซึ่งคำถามที่ว่ามีกลุ่มใดที่ดำเนินการช่วยเหลือ คุ้มครองนายนูรฮาดีให้รอดพ้นจากหน่วยงานผู้บังคับใช้กฎหมายหรือไม่
ขณะที่นายบินเซียด คาดาฟี (Binziad Kadafi) หนึ่งในคณะกรรมการตุลาการกล่าวเมื่อวันที่ 23 ก.ย. ว่าทางสำนักงานศาลจะดำเนินการตรวจสอบให้เข้มข้นมากขึ้นโดยร่วมมือกับ KPK แลคณะกรรมการการกํากับดูแลของศาลฎีกา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกรณีทุจริตขึ้นมาอีกทั้งในกลุ่มผู้พิพากษาและในกลุ่มลูกจ้างของศาลเป็นกรณีพิเศษ เพราะว่าการดูแลตรวจสอบลูกจ้างของศาลนั้นก็เป็นอำนาจของคณะกรรมการการกำกับดูแลฯ
“ถ้าหากเรามองดูรูปแบบการทุจริตไม่ว่าจะเป็นที่ผ่านมา หรือว่าครั้งนี้ จะเห็นได้ชัดเจนเลยว่าลูกจ้างของศาลที่ไม่ใช่ผู้พิพากษาหรือว่าเสมียนนั้นเป็นเสมือนต้นทางของการทุจริต” นายคาดาฟีกล่าว
- ส่องคดีทุจริตโลก: สอบอดีต รมว.ศธ.รัฐเบงกอลใต้ตั้ง บ.เปลือกหอยฟอกเงินสินบนจ้างครู ร้อย ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อ บ.นอกอาณาเขตเอื้อ ปย.อดีตพ่อค้าอาวุธให้ 'ซัดดัม' นานเกือบ 30 ปี
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการญี่ปุ่นสั่งสอบ ปมคนสนิท กก.โอลิมปิกตั้ง บ.ที่ปรึกษารับเงินเอกชน
- ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อพิพิธภัณฑ์ศิลปะนิวยอร์ก ถูก จนท.ยึดโบราณวัตถุผิด กม.นับสิบชิ้น
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยข้อมูล 'นาจิบ'-ปธ.พรรคอัมโนเอี่ยวโครงการเรือรบฉาว 7.2 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.ลับปานามาเปเปอร์สรับโอน 1.5 พัน ล.โครงการเรือรบมาเลเซีย 7.2 หมื่นล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ทร.มาเลเซียเซ็นสัญญาต่อเรือรบ 6 ลำ 7.2 หมื่น ล.เกือบสิบปี ยังไม่ส่งมอบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เผยเครือข่าย บ.เปลือกหอยอังกฤษ เอื้อผลประโยชน์คนใกล้ชิด ปธน.ปูติน
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉขบวนการถ่ายน้ำมันรัสเซียนอกชายฝั่งอังกฤษ ส่งรายได้หนุนสงครามยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอย 'บ.อิสราเอล' ส่งออกสปายแวร์เพกาซัส ให้ รบ.ตปท.สอดแนมประชาชน
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง 'อูเบอร์ไฟล์'แฉเอกชนล็อบบี้โอลิการ์ชแลกทำธุรกิจแท็กซี่รัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: สตง.อังกฤษสอบนโยบาย 'บอริส จอห์นสัน' ส่อย้อมแมวสร้าง รพ. 40 แห่ง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเส้นทางฟอสเฟตซีเรีย สู่โรงงานปุ๋ยยุโรป ส่งรายได้เข้าโอลิการ์ชรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: จนท.องค์การเภสัชอินเดียรับสินบน แลกอนุมัติยกเลิกทดลองอินซูลินระยะ 3
- ส่องคดีทุจริตโลก: ธนาคารเครือยักษ์ใหญ่รัฐบอลติก เอี่ยวฟอกเงินหมื่น ล.โอลิการ์ชรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: ปลด รมต.สธ.เวียดนาม เซ่นปมขายชุดตรวจโควิดแพง 45% เอกชนฟันกำไร 709 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:นักธุรกิจจีนเอี่ยวคดีสินบน อดีตที่ปรึกษาฮุนเซน ถือหุ้นสโมสรเบอร์มิงแฮม
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเส้นทางการเงินคดีให้สินบนนายพลจีน สู่คฤหาสน์พันล้าน ณ แวนคูเวอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงข้อพิรุธธุรกรรม เชื่อมโยงทอง 3 ตันประเทศกินี ส่อถูกฟอกในอังกฤษ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ย้อมแมวจรวด,โดรน-กินส่วนต่างวิทยุ 3 พันล. ต้นเหตุรัสเซียติดหล่มในยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดข้อพิรุธเอกชนไร้ประสบการณ์ ชนะสัญญาชุด PPE รบ.ออสเตรเลีย หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอยสินบนเรือดำน้ำมาเลเซีย พัน ล.! ฝรั่งเศสสั่งสอบ บ.ต่อเรือรบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'รมต.สเปน'โดนสอบ ใช้ช่องพิเศษอนุมัติสัญญาโควิดเอื้อ บ.พวกพ้อง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมคอรัปชั่นในกองทัพรัสเซีย-งบปี 65 รวม 2 ล้าน ล.ไม่รู้ไปไหนบ้าง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเครือข่ายขโมยเงินสนับสนุนอาหารอียู 694 ล. นำไปซื้อแฟลต-กระเป๋าหรู
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ไมโครซอฟท์'ถูกอดีตลูกจ้างแฉ-พนง.รวมหัว บ.คู่ค้า,จนท.รัฐ ทุจริตหลาย ปท.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเครือข่าย บ.เปลือกนอกหนุนเผด็จการซีเรีย-หลบมาตรการคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง บ.กฎหมายยักษ์ใหญ่ รับงานช่วยโอลิการ์ชรัสเซียรอดมาตรการคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง 'ดูไบ' แหล่งกบดานเศรษฐีหนีคดี หลังโลกตามอายัดเงินจากรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อีริคสัน' ส่อเอี่ยวจ่ายเงินให้กลุ่ม ISIS แลกทำธุรกิจใน 'โมซุล'
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเครือข่ายธนาคารดันสเก เอสโตเนีย ไฉนเป็นเส้นทางฟอกเงิน 5.1 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อังกฤษ' ยกเลิกวีซ่านักลงทุน หวั่นเปิดช่องฟอกเงิน โต้ 'วิกฤติยูเครน'
- ส่องคดีทุจริตโลก: อายุน้อยร้อย ล.-เมื่อเด็กเป็นเจ้าของ บ.ในลักเซมเบิร์กเกือบ 300 แห่ง
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อังกฤษ'ยึดทรัพย์ทุจริต'อาเซอร์ไบจาน' แสน ล.โยงฟอกเงินผ่าน'เอสโตเนีย'
- ส่องคดีทุจริตโลก:'คูเวต'เร่งสอบ ปมจัดซื้อเครื่องบินไต้ฝุ่น 2.9 แสน ล.แพง
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อัยการเบอร์ลิน'สอบผู้บริหารพรรคกรีนส์-รมต.อนุมัติโบนัสโควิดไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.อิสราเอล จ่อตั้ง กก.สอบปมสินบนเรือดำน้ำเยอรมนี หลังเรื่องแดงปี 59
- ส่องคดีทุจริตโลก:'เพนตากอน'ถลุงงบหลายแสน ล.ไร้ประสิทธิภาพ-เอื้อปย.เอกชนช่วงสงครามอัฟกาฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโก' ปธน.เบลารุส บุคคลคอร์รัปชันแห่งปี 64