ที่ผ่านมานั้นประชาชนมักจะเข้ารับการตรวจหาเชื้อ โดยไม่ตั้งคำถามถึงแรงจูงใจและไม่ตั้งคำถามว่านโยบายโควิดเป็นศูนย์นั้นมีประสิทธิภาพมากแค่ไหน แต่ ณ ตอนนี้เมื่อเป็นที่ประจักษ์แล้วว่านโยบายโควิดเป็นศูนย์ไม่ได้ไปตอบสนองต่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนเวียดนาม แต่กลับไปตอบสนองต่อความมั่งคั่งของเจ้าหน้าที่รัฐและบุคคลระดับสูงแทน แน่นอนว่าพวกเขาต้องโกรธแค้น
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้จะขอนำเสนอรายละเอียดเชิงลึกเกี่ยวกับประเด็นการทุจริตที่เป็นกล่าวถึงไปทั่โลก เกี่ยวกับการทุจริตในประเทศเพื่อนบ้านของประเทศไทย อย่างประเทศเวียดนาม โดยสำนักข่าวเอบีซีของประเทศออสเตรเลียนั้นได้มีการเผยแพร่รายละเอียดเชิงลึกดังนี้
ครั้งหนึ่งนั้นประเทศเวียดนามเคยได้รับเสียงชื่นชมว่าเป็นประเทศที่สามารถจัดการสถานการณ์โควิดที่ยอดเยี่ยมเป็นอันดับต้นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือว่าอาเซียนในช่วงวันแรกๆของการระบาด
แต่อย่างไรก็ตาม วิกฤติสุขภาพที่เกิดขึ้นภายใต้ระบอบประเทศซึ่งมีการปกครองแค่เพียงพรรคคอมมิวนิสต์พรรคเดียวนั้นก็ส่งผลทำให้เกิดโอกาสที่เจ้าหน้าที่พรรคผู้ทุจริตนั้นจะสามารถแสวงหาความมั่งคั่งให้กับตัวเองได้
โดยประเด็นการทุจริตที่ปรากฏเป็นข่าวนั้นก็คือการจัดหาชุดตรวจคิดที่มีราคาสูงเกินจริง จนเมื่อเรืองปรากฏออกมา ก็ทำให้บุคคลระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์รายหนึ่งต้องถูกขับออกจากพรรคเพราะว่ากระทำผิด ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่ว่านี้ก็คือนายเหวียน แถ่ง ลอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขที่ต้องถูกปลดจากตำแหน่งและถูกจับกุมในข้อหาว่าหัวพันกับคดีทุจริตหลายล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ข่าวการปลดนายนายเหวียน แถ่ง ลอง กรณีชุดตรวจโควิด (อ้างอิงวิดีโอจาก Video AloBacsi)
อนึ่งนายลองนั้นถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงคนล่าสุดจากเจ้าหน้าที่พรรคจำนวนหลายคนที่ถูกจับกุมภายใต้โครงการต่อต้านทุจริตของประเทศเวียดนามที่กำลังดำเนินการ ณ เวลานี้ ภายใต้ชื่อโครงการปราบทุจริตว่า “โครงการเตาหลอม อันโชติช่วง” (blazing furnace)
โดยก่อนหน้านี้พบว่านายโจวหง็อกอันห์ นายกเทศมนตรีกรุงฮานอย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก็ถูกไล่ออกจากพรรคและถูกจับกุมด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ทั้งสองคนนั้นถูกสอบสวนด้วยข้อหาคล้ายๆกันก็คือว่าใช้อำนาจในทางที่มิชอบ เชื่อมโยงไปถึงการดำเนินการเกี่ยวกับชุดตรวจโควิด แต่อย่างไรก็ตามการทุจริตของทั้งสองคนนั้นไม่ใช่เพียงกรณีเดียวในประเทศเวียดนาม เพราะยังมีคดีทุจริตอื่นๆอีกมากอันเกี่ยวข้องกับโควิด-19
ย้อนไปเมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา นายถึง อันห์ดุง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของเวียดนามก็ถูกกล่าวหาว่าได้รับสินบนเช่นกัน ในช่วงเวลาที่มีการดำเนินการจัดเที่ยวบินเพื่อจะรับชาวเวียดนามที่อยู่ต่างประเทศกลับมายังเวียดนาม
สิ่งที่น่าสนใจก็คือว่า การแก้ปัญหาเรื่องชุดตรวจโควิดจะต้องทำอย่างไร และโครงการต่อต้านทุจริตนั้นจะสามารถทำให้สาธารณชนกลับมาไว้ใจการดำเนินงานของรัฐบาลได้หรือไม่
@ข้อกล่าวหาเรื่องการโก่งราคาและการดำเนินการเพื่อหาผลกำไร
สำหรับโครงการชุดตรวจโควิดดังกล่าวนั้นพบว่ามีมูลค่าโครงการอยู่ที่ 240 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (5,868.5 ล้านบาท) แต่อย่างไรก็ตามโครงการนี้มีข้อกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ในกระทรวงสาธารณสุขนั้นรับเงินสินบนแลกกับการจัดส่งชุดตรวจโควิดที่ถูกผลิตโดยบริษัทเวียด เอ (Viet A) ไปยังโรงพยาบาลจำนวนหลายแห่ง โดยมีรายงานว่าราคาของชุดตรวจที่ว่านี้แพงเกินกว่าราคาจริงถึง 45 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งราคาต่อหนึ่งชุดนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 28 ดอลลาร์ฯ (684.66 บาท)
ในเวลาต่อมาทางประธานของบริษัทเวียด เอ ได้ออกมารับสารภาพว่าเขาได้มีการจ่ายเงินสินบนไปทั้งสิ้น 47 ล้านดอลลาร์ฯ (1,149.2 ล้านบาท) เพื่อจะแลกกับการที่จะสามารถขายชุดตรวจในราคาที่แพงเกินจริงได้ โดยบริษัทนั้นสามารถทำกำไรไปได้ 29 ล้านดอลลาร์ฯ (709.11 ล้านบาท)
อนึ่ง การพัฒนาชุดตรวจโควิดของประเทศเวียดนามที่ถือว่าเป็นชุดตรวจแบบพีซีอาร์ชุดแรกๆนั้น เป็นโครงการที่ดำเนินการร่วมกันระหว่างบริษัทเวียด เอ เทคโนโลยี และสถาบันการแพทย์ทหาร โดยรัฐบาลเวียดนามก็ได้เอาโครงการนี้ไปประชาสัมพันธ์อ้างว่าเป็นความภาคภูมิใจของประเทศเวียดนาม
หนึ่งเดือนถัดมาหลังจากที่มีการประกาศโครงการ ก็มีการอ้างว่าชุดตรวจนั้นประสบความสำเร็จ และเริ่มมีการใช้ชุดตรวจที่ว่านี้ในช่วงเดือน มี.ค. 2563 ซึ่งในช่วงแรกที่ชุดตรวจนี้ได้ถูกนำไปใช้งาน ก็มีการมองกันว่านี่คือสาเหตุทำคัญที่ทำให้ประเทศเวียดนามสามารถควบคุมการระบาดของโควิดได้เป็นผลสำเร็จในช่วงต้นของการระบาด
โดยผู้อำนวยการบริษัท ณ เวลานั้น ซึ่งก็คือนายฟาน ก๊วก เวียด ได้ออกมากล่าวว่ามีมากกว่าสิบประเทศ รวมไปถึงประเทศออสเตรเลียได้ให้ความสนใจในการซื้อชุดตรวจที่ว่ามานี้ (ไม่พบว่ามีประเทศไทยอยู่ในรายชื่อ) และบริษัทเวียด เอ ในเวลาต่อว่าก็ได้รับเหรียญรางวัลจากประธานาธิบดีเวียดนาม
ในช่วงเดือน เม.ย. 2563 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเวียดนามก็ได้ออกมากล่าวอ้างว่าชุดตรวจโควิดของบริษัทเวียด เอ นั้นได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลกหรือ WHO แล้ว
อย่างไรก็ตาม คำกล่าวอ้างนี้ถือว่าเป็นเท็จ เพราะในเวลาต่อมา WHO ก็ได้ออกรายงานตอนหนึ่งระบุว่าชุดตรวจที่ว่านี้นั้น “ไม่ผ่านหลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของ WHO”
ยิ่งไปกว่านั้นมีการเปิดโปงเมื่อช่วงต้นปี 2565 ว่าบริษัทเวียด เอ นั้นได้มีการนำเข้าชุดตรวจราคาถูกจากประเทศจีนจำนวนกว่า 3 ล้านชุด ในช่วงระหว่างเดือน ก.ย.-ธ.ค. 2564 และก็ส่งต่อชุดตรวจดังกล่าว โดยอ้างว่าเป็นชุดตรวจที่ทำในประเทศเวียดนาม
@อะไรคือโครงการเตาหลอมอันโชติช่วง
ต้องยอมรับว่าในประวัติศาสตร์พรรคคอมมิวนิสต์ที่ผ่านมานั้น ไม่เคยมีครั้งไหนเลยที่จะปรากฎกรณีการทุจริตของเจ้าหน้าที่จำนวนมากเทียบเท่ากับในครั้งนี้ ซึ่งพบว่ามีเจ้าหน้าที่จำนวนระดับสูงจำนวนหลายรายนั้นถูกจับและถูกดำเนินคดีในข้อหาการทุจริต
โดยนายไห่ หง เหงียน นักวิจัยที่ศูนย์นโยบายฟิวเจอร์สที่มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ได้กล่าวว่าพบว่ามีเจ้าหน้าที่จำนวนนับร้อยราย รวมไปถึงสมาชิกพรรคโปลิตบูโร เจ้าหน้าที่คณะกรรมการกลางอีกจำนวนรวมนับสิบรายนั้นถูกจับและถูกดำเนินคดีในช่วงปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้โครงการการปราบทุจริตดังกล่าวจนนำไปสู่การจับกุมนั้นอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของนายเหงียน ฟู้ จ่อง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม ซึ่งเขาได้ดำเนินโครงการเตาเผาที่ว่านี้มาตั้งแต่ปี 2559 แล้ว ในฐานะว่าจะเป็นโครงการปราบทุจริตครั้งใหญ่ของประเทศ
“เขาใช้ภาพของไม้แห้งและเตาเผา ซึ่งเมื่อเราเอาไม้ใส่ไปในเตาเผา มันก็จะถูกเผาจนมอดไหม้ นี่คือการแสดงให้เห็นภาพว่าเมื่อทั้งสังคมได้ร่วมกันขับเคลื่อนการปราบการทุจริต พวกเขาสามารถชนะได้” นายเหงียนกล่าวและกล่าวต่อไปว่านี่ถือเป็นสัญลักษณ์ของความมุ่งมั่นของพรรค เพื่อที่จะรับรองว่าพรรคนั้นเห็นว่าการทุจริตเป็นภัยคุกคามต่อความอยู่รอดของการปกครองในเวียดนาม
ผลกระทบของโควิดสายพันธุ์โอไมครอนต่อประเทศเวียดนาม (อ้างอิงวิดีโอจาก Duong Global Business Consulting Group)
“นี่คือเหตุผลว่าทำไมทางพรรคถึงต้องดำเนินการลงโทษผู้ที่กระทำการทุจริต ประชาชนนั้นเห็นว่ารัฐบาลเป็นผู้มีอำนาจ และก็เป็นผู้รับประโยชน์จากความทุกข์ยากของประชาชน นี่เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้” นายเหงียนกล่าว
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์กล่าวต่อไปว่าในระบบประเทศซึ่งมีรัฐบาลเพียงแค่พรรคเดียวอันไม่มีกลไกที่เป็นอิสระ,กระบวนการตรวจสอบถ่วงดุล,และการทำงานของสื่อมวลชน ผนวกกับการใช้มาตรการฉุกเฉินทางด้านสุขภาพด้วยแล้ว นี่ทำให้เกิดสภาวะที่เอื้อเป็นอย่างยิ่งต่อการทุจริต
ส่วนนายเหงียน คัค เกียง นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวิกตอเรียในกรุงเวลลิงตันกล่าวว่ากรณีการทุจริตของบริษัทเวียด เอ นั้น ถือว่าเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของกรณีการทุจริตที่รัฐมีส่วนร่วม
“พวกเขามีบริษัทเอกชน สมรู้ร่วมคิดกับหน่วยงานของรัฐในระดับสูง และเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อที่จะร่วมกันจัดการนโยบายของรัฐ ซึ่งก็คือนโยบายการทำให้โควิดเป็นศูนย์” นายเกียงกล่าวและกล่าวต่อว่าหลังจากนั้นพวกเขาก็ดำเนินการผูกขาดการจัดหาชุดตรวจโควิดให้กับประเทศที่มีประชากรกว่า 100 ล้านคน ซึ่งนี่ถือว่ามีขนาดใหญ่มากจริงๆ
นายเกียงกล่าวต่อว่าเจ้าหน้าที่รัฐบาลนั้นถูกกล่าวหาว่าใช้อำนาจโดยมิชอบเพื่อสร้างความมั่งคั่งให้กับตัวเองและผู้อื่น โดยการใช้วิธีสร้างโครงการขนาดใหญ่ของการโก่งราคาและการทุจริต
โดยข้อกล่าวหาเรื่องการทุจริตนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ร้ายแรงอย่างยิ่ง ในช่วงวิกฤตด้านสาธารณสุข เนื่องจากว่าผู้คนในภาวะโรคระบาดนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการต้องพึ่งพารัฐบาลมากขึ้นเพื่อจะปกป้องสุขภาพของพวกเขา
นายเกียงกล่าวต่อถึงกรณีการทุจริตในเรื่องของการจัดหาเที่ยวบินเพื่อจะเดินทางกลับประเทศว่า มีข้อมูลว่ามีชาวเวียดนามหลายคนที่อยู่ในต่างประเทศ ซึ่งพวกเขาเหล่านี้เป็นแรงงานข้ามชาติ ที่ต้องการจะเดินทางกลับมายังเวียดนาม ด้วยเหตุผลว่าทั้งเสียรายได้จากโรคระบาดหรือไม่ก็สมาชิกในครอบครัวของพวกเขานั้นป่วยหนัก
“แต่ว่าเมื่อพวกเขาต้องการจะขึ้นเครื่องบินเพื่อกลับไปเวียดนาม พวกเขากลับต้องจ่ายเงินด้วยราคาที่สูงเกินจริงเป็นอย่างยิ่งเพื่อจะกลับบ้าน และเพราะเหตุผลนี้ทำให้พวกเขาหลายคนไม่สามารถจะกลับบ้านได้ ในช่วงเวลาที่ถือว่าฉุกเฉินสำหรับชีวิตของเขา” นายเกียงกล่าวและกล่าวต่อว่ากรณีนี้สร้างความเสียหายอย่างยิ่งและบั่นทอนความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อรัฐบาล
ส่วนกรณีเรื่องอื้อฉาวของบริษัทเวียด เอ นั้นก็มีลักษณะที่คล้ายๆกันเช่นกันเพราะว่าที่ผ่านมานั้นประชาชนก็มีความเชื่อมั่นกับแนวทางโควิดเป็นศูนย์เป็นอย่างมาก
“ที่ผ่านมานั้นประชาชนมักจะเข้ารับการตรวจหาเชื้อ โดยไม่ตั้งคำถามถึงแรงจูงใจและไม่ตั้งคำถามว่านโยบายโควิดเป็นศูนย์นั้นมีประสิทธิภาพมากแค่ไหน แต่ ณ ตอนนี้เมื่อเป็นที่ประจักษ์แล้วว่านโยบายโควิดเป็นศูนย์ไม่ได้ไปตอบสนองต่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนเวียดนาม แต่กลับไปตอบสนองต่อความมั่งคั่งของเจ้าหน้าที่รัฐและบุคคลระดับสูงแทน แน่นอนว่าพวกเขาต้องโกรธแค้น” นายเกียงกล่าว
@หาใครสักคนมาเพื่อกล่าวโทษ
แน่นอนการจับกุมของเจ้าหน้าที่ระดับสูงนั้น สิ่งที่ตามมาก็ต้องมีการขึ้นศาลแต่อย่างไรก็ตามอำนาจตุลาการในประเทศเวียดนามนั้นไม่ใช่อำนาจที่ถูกแบ่งแยกออกมาจากทางรัฐบาลแต่อย่างใด
ทางด้านนายเหงียน ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์นั้นกล่าวว่าการลงโทษอย่างรวดเร็วกับผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ามีพฤติกรรมทุจริตนั้นถือว่าเป็นหนทางที่รัฐบาลจะดำเนินการเพื่อแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลต้องการจัดการปัญหาการทุจริตอย่างจริงจัง
ส่วนนายเกียงซึ่งให้ความเห็นไปในทิศทางเดียวกันกล่าวว่าอาจจะมีปัจจัยเรื่องการหาแพะรับบาปเข้ามามีส่วนด้วยเช่นกัน
โดยในช่วงหกเดือนแรกของการระบาดนั้นไม่พบว่าเวียดนามได้มีการรายงานตัวเลขผู้เสียชีวิตจากโรคระบาดแต่อย่างใด และในเวลาต่อมาเวียดนามยังสามาถจะหยุดยั้งการระบาดในระลอกที่สอง ที่เริ่มจากเมืองดานังได้
แต่พอมาถึงกลางปี 2564 เหตุการณ์ก็เปลี่ยนแปลงไป เมื่อเกิดการระบาดอย่างรุนแรงของโควิดสายพันธุ์เดลต้าทั่วเอเชีย ตามมาด้วยโควิดสายพันธุ์โอไมครอน ซึ่งในช่วงสิ้นปี 2563 นั้นพบว่าเวียดนามมีผู้ติดโควิดอยู่แค่ 1,500 ราย โดยประมาณ และไม่มีผู้เสียชีวิต แต่ว่าพอมาถึง ณ ตอนนี้ปรากฏว่าเวียดนามมีผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 10 ล้านราย และมีผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 43,000 ราย
นายเกียงกล่าวว่าจากกรณีจำนวนผู้เสียชีวิตที่พุ่งขึ้นดังกล่าวนั้น ก็มีความเป็นไปได้ที่รัฐบาลจะหาใครสักคนมาเพื่อกล่าวโทษสำหรับความยุ่งเหยิงและปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างนโยบายโควิดเป็นศูนย์ไปสู่นโยบายการอยู่ร่วมกับโควิด
ข่าวการระบาดของโควิดในประเทศเวียดนาม ซึ่งวันเดียวในช่วงเดือน ส.ค. 2564 เวียดนามมีผู้ติดเชื้อรายวันสูงถึง 11,000 ราย และผู้เสียชีวิตใหม่ 737 ราย (อ้างอิงวิดีโอจาก WION)
“ผมคิดว่าการปราบทุจริตที่ว่านี้ถือเป็นหนทางสำหรับรัฐบาลในการแสดงให้ประชาชนเห็นว่ารัฐบาลนั้นยังคงมีความชอบธรรมอยู่” นายเกียงกล่าว
กลับมาที่ นายเหงียนที่แสดงความเห็นว่าเวียดนามนั้นได้พยายามแสดงให้เห็นว่ามีความก้าวหน้าในเรื่องการปราบทุจริตในช่วงสิบปีที่ผ่านมา แต่ความสำเร็จดังกล่าวนั้นก็เป็นสิ่งที่ขาดกลไกที่มีความเป็นอิสระ
ส่วนนายเกียงกล่าวว่าการพยายามแก้ไขปัญหาทุจริตด้วยการปลด,กำจัดไปที่ตัวบุคคลแต่ว่าไม่แก้ไขปัญหาโครงสร้างนั้น “ถือเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำให้วียดนามสามารถเดินหน้าต่อไปได้”
โดยมาตรการต่อต้านการทุจริตของประเทศเวียดนามนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่มีความคู่ขนานและคล้ายคลึงกับโครงการปราบทุจริตภายใต้การดำเนินการของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของประเทศจีนเป็นอย่างยิ่ง
“ในประเทศจีน โครงการปราบทุจริตนั้นได้รับเสียงตอบสนองเป็นอย่างดีในช่วงแรกๆ แต่ว่าในเวลาต่อมาโครงการปราบทุจริตนี้ก็กลายเป็นเครื่องมือที่ถูกนำไปใช้เพื่อกำจัดฝ่ายการเมืองที่อยู่ตรงข้ามกับคุณ และถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือเพื่อจะกระชับอำนาจโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้กำลังตำรวจและกำลังปราบปรามต่างๆ” นายเกียงกล่าว
เรียบเรียงจาก:https://www.abc.net.au/news/2022-06-11/vietnam-covid-corruption-scandal-brings-down-health-minister/101142026
- ส่องคดีทุจริตโลก:นักธุรกิจจีนเอี่ยวคดีสินบน อดีตที่ปรึกษาฮุนเซน ถือหุ้นสโมสรเบอร์มิงแฮม
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเส้นทางการเงินคดีให้สินบนนายพลจีน สู่คฤหาสน์พันล้าน ณ แวนคูเวอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงข้อพิรุธธุรกรรม เชื่อมโยงทอง 3 ตันประเทศกินี ส่อถูกฟอกในอังกฤษ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ย้อมแมวจรวด,โดรน-กินส่วนต่างวิทยุ 3 พันล. ต้นเหตุรัสเซียติดหล่มในยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดข้อพิรุธเอกชนไร้ประสบการณ์ ชนะสัญญาชุด PPE รบ.ออสเตรเลีย หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอยสินบนเรือดำน้ำมาเลเซีย พัน ล.! ฝรั่งเศสสั่งสอบ บ.ต่อเรือรบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'รมต.สเปน'โดนสอบ ใช้ช่องพิเศษอนุมัติสัญญาโควิดเอื้อ บ.พวกพ้อง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมคอรัปชั่นในกองทัพรัสเซีย-งบปี 65 รวม 2 ล้าน ล.ไม่รู้ไปไหนบ้าง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเครือข่ายขโมยเงินสนับสนุนอาหารอียู 694 ล. นำไปซื้อแฟลต-กระเป๋าหรู
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ไมโครซอฟท์'ถูกอดีตลูกจ้างแฉ-พนง.รวมหัว บ.คู่ค้า,จนท.รัฐ ทุจริตหลาย ปท.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเครือข่าย บ.เปลือกนอกหนุนเผด็จการซีเรีย-หลบมาตรการคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง บ.กฎหมายยักษ์ใหญ่ รับงานช่วยโอลิการ์ชรัสเซียรอดมาตรการคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง 'ดูไบ' แหล่งกบดานเศรษฐีหนีคดี หลังโลกตามอายัดเงินจากรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อีริคสัน' ส่อเอี่ยวจ่ายเงินให้กลุ่ม ISIS แลกทำธุรกิจใน 'โมซุล'
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเครือข่ายธนาคารดันสเก เอสโตเนีย ไฉนเป็นเส้นทางฟอกเงิน 5.1 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อังกฤษ' ยกเลิกวีซ่านักลงทุน หวั่นเปิดช่องฟอกเงิน โต้ 'วิกฤติยูเครน'
- ส่องคดีทุจริตโลก: อายุน้อยร้อย ล.-เมื่อเด็กเป็นเจ้าของ บ.ในลักเซมเบิร์กเกือบ 300 แห่ง
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อังกฤษ'ยึดทรัพย์ทุจริต'อาเซอร์ไบจาน' แสน ล.โยงฟอกเงินผ่าน'เอสโตเนีย'
- ส่องคดีทุจริตโลก:'คูเวต'เร่งสอบ ปมจัดซื้อเครื่องบินไต้ฝุ่น 2.9 แสน ล.แพง
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อัยการเบอร์ลิน'สอบผู้บริหารพรรคกรีนส์-รมต.อนุมัติโบนัสโควิดไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.อิสราเอล จ่อตั้ง กก.สอบปมสินบนเรือดำน้ำเยอรมนี หลังเรื่องแดงปี 59
- ส่องคดีทุจริตโลก:'เพนตากอน'ถลุงงบหลายแสน ล.ไร้ประสิทธิภาพ-เอื้อปย.เอกชนช่วงสงครามอัฟกาฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโก' ปธน.เบลารุส บุคคลคอร์รัปชันแห่งปี 64