อย่างไรก็ตามในเงินจำนวน 406 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ดังกล่าวนั้น พบว่ามีเงินจำนวน 75 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (2,845.5 ล้านบาท) ที่ไปสู่บริษัทหลายแห่งที่ไม่สามารถระบุนามได้ ซึ่งเหตุผลการไม่ระบุนามบริษัทที่ได้รับการจัดซื้อจัดจ้างจากสหประชาชาติเหล่านี้ ก็มีทั้งเหตุผล อาทิเรื่องของการรักษาความปลอดภัย เหตุผลด้านความเป็นส่วนบุคคลเป็นต้น
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้ยังคงอยู่กันในประเด็นเรื่องเงินบริจาคของสหประชาชาติหรือ UN ที่ถูกนำไปใช้จ่ายในประเทศซีเรียอย่างไม่เหมาะสม
โดยสำนักข่าวเครือข่ายผู้สื่อข่าวองค์กรอาชญากรรมและการทุจริต (OCCRP) ได้มีการรายงานข่าวว่าพบข้อมูลว่าว่าสหประชาชาติได้มีการจ่ายเงินคิดเป็นจำนวนนับสิบล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้กับบริษัทสัญชาติซีเรียหลายแห่ง ซึ่งมีประวัติการค้ากำไรกับสงคราม,การละเมิดสิทธิมนุษยชน และยังเป็นบริษัทที่ถูกคว่ำบาตรเนื่องจากว่ามีความเชื่อมโยงไปถึงระบอบเผด็จการของนายบาชาร์ อัล-อัสซาด
ทั้งนี้ในรายงานระบุว่าการจ่ายเงินนั้นให้กับบริษัทนั้นโดยมากแล้วจะเกิดขึ้นระหว่างปี 2562-2563 ซึ่งจำนวนเงินที่สหประชาชาติจ่ายไปนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 137 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 5,197.78 ล้านบาท
โดยตัวอย่างของบริษัทที่ถูกว่าจ้างจากสหประชาชาตินั้นก็มีบริษัทอาทิ บริษัทชื่อว่า Foz ซึ่งถูกทางการสหรัฐอเมริกาคว่ำบาตรไปในปี 2562 โดยระบุว่าบริษัทนี้นั้นมีส่วนในการใช้ประโยชน์จากความโหดร้ายของการสู้รบในประเทศซีเรียเพื่อแสวงหาผลกำไร และสนับสนุนการสังหารหมู่โดยระบอบเผด็จการของนายอัสซาด
ทั้งนี้ ผลการศึกษาที่ถูกเผยแพร่เมื่อวันที่ 25 ต.ค.ที่ผ่านมา ภายใต้โครงการพัฒนากฎหมายของประเทศซีเรีย (SLDP) ในกรุงลอนดอนและโครงการหอสังเกตการณ์เครือข่ายการเมืองและเศรษฐกิจ (OPEN) ซึ่งได้วิเคราะห์เส้นทางการเงินของสหประชาชาติกับกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้นระบุว่า ในช่วงปี 2562-2563 สหประชาชาติได้ใช้เงินไปกว่า 406 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (15,403.64 ล้านบาท) เพื่อจะนำไปซื้อสินค้าอุปโภคและการบริการหลายรายการ อาทิ อาหาร,ที่อยู่,เวชภัณฑ์,การฝึกฝนการรักษาความปลอดภัย,บริการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือว่าไอที,เคมีภัณฑ์ และอุปกรณ์สำนักงานต่างๆ
อย่างไรก็ตามในเงินจำนวน 406 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ดังกล่าวนั้น พบว่ามีเงินจำนวน 75 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (2,845.5 ล้านบาท) ที่ไปสู่บริษัทหลายแห่งที่ไม่สามารถระบุนามได้ ซึ่งเหตุผลการไม่ระบุนามบริษัทที่ได้รับการจัดซื้อจัดจ้างจากสหประชาชาติเหล่านี้ ก็มีทั้งเหตุผล อาทิเรื่องของการรักษาความปลอดภัย เหตุผลด้านความเป็นส่วนบุคคลเป็นต้น
ส่วนเงินที่เหลือจากจำนวนนี้นั้นพบว่าไปยังบริษัทจำนวน 100 อันดับแรกที่เป็นซัพพลายเออร์ของสหประชาชาติในประเทศซีเรีย ทว่ามีรายงานว่ามีเงินอีกจำนวน 137 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯมุ่งตรงไปยังบริษัทที่มีความเสี่ยงสูงหรือว่าสูงมาก ในการที่จะเป็นผู้ค้ากำไรจากสงคราม,ผู้ถูกคว่ำบาตร และเป็นพันธมิตรกับเผด็จการ
รายงานเกี่ยวกับซัพพลายเออร์ร้อยอันดับของสหประชาชาติในซีเรีย (อ่านฉบับเต็มได้ Storage Google)
ขณะที่ผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว OCCRP ร่วมกับพันมิตรสำนักข่าวสืบสวนของประเทศซีเรียที่ชื่อว่า Syrian Investigative Reporting For Accountability Journalism (SIRAJ) ได้มีการทำข่าวเชิงลึกหลังจากที่สามารถเข้าถึงรายงานดังกล่าวได้เป็นคนแรกๆ ก็ได้มีการวิเคราะห์ฐานข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างของสหประชาชาติ ก็พบว่ามีการเบิกจ่ายที่เป็นปัญหาตั้งแต่ก่อนปี 2562 แล้ว
โดยหนึ่งในกรณีการจัดซื้อที่เป็นปัญหานั้นพบว่า เป็นกรณีที่เงินทุนของสหประชาชาติกว่า 1.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (53.116 ล้านบาท) นั้นถูกมอบให้กับกองทุนทรัสต์เพื่อการพัฒนาของซีเรีย ซึ่งกองทุนดังกล่าวนั้นมาจากมูลนิธิซึ่งก่อตั้งโดยนางอัสมา อัล-อัสซาด สตรีหมายเลขหนึ่งของซีเรีย ซึ่งรายงานจากหน่วยงานตรวจสอบการใช้เงินของสหประชาชาติหรือ U.N. Financial Tracker Service พบว่าการเบิกจ่ายนั้นเกิดขึ้นในปี 2558 และในปี 2560 โดยวัตถุประสงค์ของการเบิกจ่ายเงินให้มูลนิธินั้นระบุว่าเพื่อนำไปใช้จ่ายเป็นที่หลบภัยฉุกเฉิน และสิ่งของอื่นๆซึ่งไม่ใช่อาหาร
ทางด้านของนายคาร์สตัน วีแลนด์ (Carsten Wieland) ปรึกษานโยบายชาวเยอรมันและผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในความขัดแย้งในซีเรียแสดงความกังวลเกี่ยวกับการค้นพบข้อมูลดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง เพราะนี่หมายความว่าทางสหประชาชาติไม่มีกระบวนการตรวจสอบที่เพียงพอว่าองค์กรที่รับเงินจากสหประชาชาตินั้นมาจากไหน และเป็นเครื่องมือของใครหรือไม่
ขณะที่นายฟรานเซสโก กัลเทียรี่ (Francesco Galtieri) เจ้าหน้าที่อาวุโสของสหประชาชาติในดามัสกัสกล่าวว่าสหประชาชาตินั้นยึดมั่นในหลักการด้านมนุษยธรรมของมนุษยชาติ ความเป็นกลาง ความเป็นอิสระอย่างเคร่งครัด โดยในช่วงสองปีที่ผ่านมานี้นั้นกระบวนการตรวจสอบภายในของสหประชาชาติมีความแข็งแกร่งขึ้นมาก และสหประชาชาติก็พร้อมจะถอนตัวหากพบว่าซัพพลายเออร์หรือคู่ค้าของสหประชาชาติมีลักษณะต้องห้าม
@การเติบโตของกลุ่มผู้ที่แสวงหาผลกำไรจากสงคราม
ทั้งนี้รัฐบาลซีเรียนั้นถือว่าเป็นผู้ครอบงำภาคส่วนเศรษฐกิจของประเทศมานานนับหลายทศวรรษ โดยมีกลุ่มพันธมิตรและเครือญาติของนายอัสซาดเข้าไปควบคุมภาคส่วนที่สำคัญต่างๆ อาทิ โทรคมนาคม,โครงสร้างพื้นฐาน และอสังหาริมทรัพย์
โดยนับตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา ซีเรียได้เกิดสงครามกลางเมือง ทำให้เผด็จการซีเรียนั้นต้องพึ่งพากล่มผู้แสวงหาผลกำไรจากสงคราม และการใช้บริษัทตัวแทนให้มากขึ้น เพื่อจะรับมือกับการคว่ำบาตรและควบคุมการไหลมาของแหล่งสกุลเงินจากต่างประเทศ และในช่วงเวลาเดียวกัน ซีเรียก็เป็นประเทศที่รับความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมรายใหญ่ที่สุดของโลกด้วยเช่นกัน ซึ่งทางนักวิจัยกล่าววว่านับตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา มีเงินช่วยเหลือกว่า 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (1.5158 ล้านล้านบาท) หลั่งไหลเข้ามาในซีเรีย ซี่งกว่าครึ่งของเงินดังกล่าวมาจากเงินจาคผ่านสหประชาชาติ
งานศึกษาของ SLDP และ OPEN นั้นพบว่ามีหลายคนในที่อยู่ในวงในของระบอบเผด็จการนั้นได้รับผลประโยชน์จากการหลั่งไหลของเงินดังกล่าว ยกตัวเช่นบริษัทที่ชื่อว่า Desert Falcon LLC ซึ่งดำเนินการโดยนายฟาดี อาเหม็ด (Fadi Ahmad) ผู้บัญชาการกองทัพที่สนับสนุนระบอบเผด็จการ ก็ได้รับเงินไปกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (37.895 ล้านบาท) ในช่วงปี 2562-2563 จากหน่วยงานยูนิเซฟแลหน่วยงานสำหรับผู้ลี้ภัยสงครามชาวปาเลสไตน์ที่ชื่อว่า UNRWA โดยเงินดังกล่าวนั้นอยู่ในหัวข้อเบิกจ่ายที่ชื่อว่าเครื่องแต่งการ,เครื่องนุ่งห่ม,อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสำนักงาน และชิ้นส่วนสำหรับอุตสาหกรรม
อย่างไรก็ตาม ในปี 2552 นายอาเหม็ดนั้นเคยมีชื่อว่าฟาดิ ซัคร์ (Fadi Saqr) โดยเขามีบทบาทในการเข้าไปเป็นผู้บัญชาการกองทหารรักษาการณ์กองกำลังป้องกันประเทศที่สนับสนุนรัฐบาลในดามัสกัส ในปีถัดมา กองทหารอาสาสมัครของเขาเข้ามามีส่วนร่วมในการสังหารหมู่ผู้คนหลายสิบคนในเขตทาดามอน เมืองหลวงของซีเรีย
ส่วนผู้ร่วมเป็นเจ้าของบริษัท Desert Falcon อีกรายที่ชื่อว่านายบิลาย อัล-นาอาล (Bilal Al-Naal) นั้นพบว่าเป็นสมาชิกรัฐสภาซีเรียมาตั้งแต่ปี 2563 โดยนายนาอาลคนนี้ยังเป็นเจ้าของบริษัทอีกแห่งที่ชื่อว่า Al-Naal LLC ซึ่งบริษัทนี้ได้รับเงินทุนไปกว่า 1.2 ล้านดอลลาร์ (45.474 ล้านบาท) ซึ่งเงินนี้มาจากแหล่งที่มารวมถึง UNICEF และ UNRWA โดยสั่งจ่ายในหัวข้อเบิกจ่ายว่าเป็นประเภทเครื่องนุ่งห่ม,วัสดุซึ่งทำมาจากกระดาษ,และเครื่องมือทางการแพทย์
ส่วนบริษัทอื่นๆนั้นพบว่าบริษัทที่ชื่อว่า Jupiter for Investments SA ก็ได้รับเงินไปกว่าครึ่งล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จาก UNICEF เพื่อให้นำไปใช้จ่ายในด้านการบริการจัดการและการดูแลระบบ ทั้งนี้บริษัท Jupiter นั้นพบว่ามีเจ้าของบริษัทคือครอบครัวของนายโมฮัมหมัด ฮัมโช (Mohammad Hamsho) ซึ่งเป็นพันธมิตรรายสำคัญของระบอบเผด็จการ
อย่างไรก็ตาม นายฮัมโชพร้อมด้วยบุคคลที่เกี่ยวข้องอีกสี่รายนั้นถูกคว่ำบาตร โดยนายฮัมโชถูกคว่ำบาตรจากสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปหรืออียูในข้อหาว่าเอาซากปรักหักพังจากสงครามไปขาย และยังทำหน้าที่เป็นนายหน้าให้กับนายมาเฮอร์ น้องชายของนายอัสซาด ซึ่งนายมาเฮอร์นั้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการยานเกราะที่สี่ ซึ่งถือว่าเป็นหน่วยรบชั้นยอดของกองทัพซีเรีย
ส่วนบริษัทอีกแห่งชื่อว่า Cham Wings ซึ่งเป็นบริษัทสายการบินของประเทศซีเรียนั้นพบว่าถูกคว่ำบาตรจากสหรัฐฯด้วยเช่นกัน ทว่าบริษัทนี้รับเงินเป็นจำนวนกว่าครึ่งล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากโครงการอาหารโลกหรือ World Food Program โดยผลการศึกษาระบุว่าสายการบินแห่งนี้รวมไปถึงเจ้าของสายการบินถูกคว่ำบาตรจากอียูด้วยข้อหาที่ว่ามีส่วนทำให้วิกฤติผู้ลี้ภัยชายแดนเบลารุสนั้นทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงปี 2564-2565 แต่การคว่ำบาตรเพิ่งจะถูกยกเลิกไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา
บริษัทของซีเรียที่รับเงินจากสหประชาชาติ
มีรายงานงานข่าวเพิ่มเติมอีกเช่นกันว่าพบว่ามีบริษัทอื่นๆอีกที่รับเงินจากสหประชาชาติและมีความเชื่อมโยงไปถึงครอบครัวของนายอัสซาดและเครือญาติ ซึ่งหนึ่งในเครือญาติที่ว่ามานี้ก็รวมไปถึงนายรามี่ มัคฮ์ลูฟ (Rami Makhlouf) แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากว่าในช่วงสองปีที่ผ่านมาเขามีความขัดแย้งกับทางการซีเรีย ก็เลยต้องโทษกักขังและถูกยึดทรัพย์เป็นจำนวนหลายรายการ
@รายงาน
ทั้งนี้การไหลเข้ามาของเงินสกุลต่างประเทศซึ่งมาจากเงินบริจาคเพื่อมนุษยธรรมนั้นกำลังกลายเป็นสิ่งที่เป็นคุณสำหรับรัฐบาลซีเรียที่พยายามอย่างยิ่งนการหาเงินเหล่านี้ หลังจากที่ถูกคว่ำบาตรจากนานาชาติ,ปัญหาการล่มสลายของภาคเศรษฐกิจและวิกฤติการเงินในประเทศเพื่อนบ้านอย่างเลบานอน
ขณะที่นายคาราม ชาร์ (Karaam Shar) ผู้ร่วมเขียนงานวิจัยอีกรายได้กล่าวว่าหน่วยงานของสหประชาชาติที่ใช้เงินในประเทศซีเรียนั้นจะถูกกำหนดจากทางรัฐบาลให้ต้องแลกเปลี่ยนเงินในอัตราแลกเปลี่ยนทางการ ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนนี้ถือว่าต่ำกว่าอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดมืดมาก โดยในช่วงปี 2563 ที่ผ่านมา พบว่าสหประชาชาติได้มีการแลกเปลี่ยนเงินด้วยอัตราแลกเปลี่ยนทางการมูลค่าทั้งสิ้น 340 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (12,884.3 ล้านบาท) ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าวต่ำกว่าอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดมืดอยู่ที่ 50 เปอร์เซ็นต์ในปปี 2563
นายชาร์กล่าวว่าส่วนต่างของอัตราแลกเปลี่ยนนี้ทำให้มีค่าเงินส่วนต่างที่ได้อยู่ที่ 170 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (6,442.15 ล้านบาท) ซึ่งมาจากการบริจาค และก็ไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่ารัฐบาลเอาเงินส่วนต่างนี้ไปไหนกันแน่
ขณะที่ผลการศึกษาจาก SLDP และ OPEN ได้วิเคราะห์การใช้เงินจัดซื้อจัดจ้างกว่า 294 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (11,141.13 ล้านบาท) ของสหประชาชาติ ซึ่งเงินจำนวนนี้ถูกส่งไปยังซัพพลายเออร์จำนวนร้อยอันดับแรกในประเทศซีเรียในช่วงปี 2562-2563 โดยซัพพลายเออร์นี้นั้นรวมไปถึงบริษัทเอกชนและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนั้นมาจากบันทึกทางธุรกิจของทางการซีเรียเอง
โดยทาง SLDP ได้ทำงานร่วมมือกับฮิวแมนต์ไรวอชท์ จัดประเภทของซัพพลายเออร์ เป็นความเสี่ยงไว้อยู่ที่สี่ระดับความเสี่ยง (ดูภาพประกอบ)
สำหรับบริษัทที่มีความเสี่ยงสูงมากนั้นจะเป็นบริษัทที่การเชื่อมโยงกับเหตุละเมิดสิทธิมนุษยชน กลุ่มทหารรับจ้าง บริษัททหารเอกชน กลุ่มที่มีส่วนในการบ่อนทำลายทรัพย์สินพลเรือน กลุ่มพัฒนาที่ดินอันส่งผลทำให้เกิดการบังคับให้มีการพลัดถิ่นของประชากร และกลุ่มผู้สนับสนุนกองทัพซีเรียนับตั้งแต่ปี 2554 ที่ผ่านมา
ส่วนบริษัทที่มีความเสี่ยงสูงนั้นจะหมายถึงบริษัทที่ได้รับสัญญาจากรัฐบาลซีเรีย หรือมีการผูกขาดเป็นบางภาคส่วน เป็นบริษัทที่มีเจ้าของเป็น ส.ส. หรือเจ้าหน้าที่รัฐบาล ผู้ที่มีส่วนในการในการบริจาคเงินให้กับรัฐบาลซีเรีย หรือว่าเป็นผู้มีส่วนในการปิดกั้นทางเศรษฐกิจของฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามกับรัฐบาลซีเรีย
ทั้งนี้พบว่ามีบริษัทจำนวน 36 เปอร์เซ็นต์ ที่ได้รับเงินจากสหประชาชาติไปนั้นพบว่ามีความเสี่ยงสูงมาก อีก 10 เปอร์เซ็นต์มีความเสี่ยงสูง 30 เปอร์เซ็นต์มีความเสี่ยงปานกลาง และ 23 เปอร์เซ็นต์เป็นบริษัทที่มีความเสี่ยงต่ำ (ดูภาพประกอบ)
- ส่องคดีทุจริตโลก: ผู้แทน WHO ซีเรีย ถูกสอบใช้งบจัดปาร์ตี้ รร.หรู,สั่งเต้นสู้โควิดระบาด
- ส่องคดีทุจริตโลก:แค่เปลี่ยนธงก็รอด วิธีการโอลิการ์ชรัสเซีย นำเรือยอชต์หนีคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก: สอบผู้พิพากษาศาลฎีกาอินโดฯ ส่อรับสินบน 1.9 ล. เอื้อ ปย.คดีสหกรณ์
- ส่องคดีทุจริตโลก: สอบอดีต รมว.ศธ.รัฐเบงกอลใต้ตั้ง บ.เปลือกหอยฟอกเงินสินบนจ้างครู ร้อย ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อ บ.นอกอาณาเขตเอื้อ ปย.อดีตพ่อค้าอาวุธให้ 'ซัดดัม' นานเกือบ 30 ปี
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการญี่ปุ่นสั่งสอบ ปมคนสนิท กก.โอลิมปิกตั้ง บ.ที่ปรึกษารับเงินเอกชน
- ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อพิพิธภัณฑ์ศิลปะนิวยอร์ก ถูก จนท.ยึดโบราณวัตถุผิด กม.นับสิบชิ้น
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยข้อมูล 'นาจิบ'-ปธ.พรรคอัมโนเอี่ยวโครงการเรือรบฉาว 7.2 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.ลับปานามาเปเปอร์สรับโอน 1.5 พัน ล.โครงการเรือรบมาเลเซีย 7.2 หมื่นล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ทร.มาเลเซียเซ็นสัญญาต่อเรือรบ 6 ลำ 7.2 หมื่น ล.เกือบสิบปี ยังไม่ส่งมอบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เผยเครือข่าย บ.เปลือกหอยอังกฤษ เอื้อผลประโยชน์คนใกล้ชิด ปธน.ปูติน
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉขบวนการถ่ายน้ำมันรัสเซียนอกชายฝั่งอังกฤษ ส่งรายได้หนุนสงครามยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอย 'บ.อิสราเอล' ส่งออกสปายแวร์เพกาซัส ให้ รบ.ตปท.สอดแนมประชาชน
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง 'อูเบอร์ไฟล์'แฉเอกชนล็อบบี้โอลิการ์ชแลกทำธุรกิจแท็กซี่รัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: สตง.อังกฤษสอบนโยบาย 'บอริส จอห์นสัน' ส่อย้อมแมวสร้าง รพ. 40 แห่ง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเส้นทางฟอสเฟตซีเรีย สู่โรงงานปุ๋ยยุโรป ส่งรายได้เข้าโอลิการ์ชรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: จนท.องค์การเภสัชอินเดียรับสินบน แลกอนุมัติยกเลิกทดลองอินซูลินระยะ 3
- ส่องคดีทุจริตโลก: ธนาคารเครือยักษ์ใหญ่รัฐบอลติก เอี่ยวฟอกเงินหมื่น ล.โอลิการ์ชรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: ปลด รมต.สธ.เวียดนาม เซ่นปมขายชุดตรวจโควิดแพง 45% เอกชนฟันกำไร 709 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:นักธุรกิจจีนเอี่ยวคดีสินบน อดีตที่ปรึกษาฮุนเซน ถือหุ้นสโมสรเบอร์มิงแฮม
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเส้นทางการเงินคดีให้สินบนนายพลจีน สู่คฤหาสน์พันล้าน ณ แวนคูเวอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงข้อพิรุธธุรกรรม เชื่อมโยงทอง 3 ตันประเทศกินี ส่อถูกฟอกในอังกฤษ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ย้อมแมวจรวด,โดรน-กินส่วนต่างวิทยุ 3 พันล. ต้นเหตุรัสเซียติดหล่มในยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดข้อพิรุธเอกชนไร้ประสบการณ์ ชนะสัญญาชุด PPE รบ.ออสเตรเลีย หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอยสินบนเรือดำน้ำมาเลเซีย พัน ล.! ฝรั่งเศสสั่งสอบ บ.ต่อเรือรบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'รมต.สเปน'โดนสอบ ใช้ช่องพิเศษอนุมัติสัญญาโควิดเอื้อ บ.พวกพ้อง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมคอรัปชั่นในกองทัพรัสเซีย-งบปี 65 รวม 2 ล้าน ล.ไม่รู้ไปไหนบ้าง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเครือข่ายขโมยเงินสนับสนุนอาหารอียู 694 ล. นำไปซื้อแฟลต-กระเป๋าหรู
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ไมโครซอฟท์'ถูกอดีตลูกจ้างแฉ-พนง.รวมหัว บ.คู่ค้า,จนท.รัฐ ทุจริตหลาย ปท.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเครือข่าย บ.เปลือกนอกหนุนเผด็จการซีเรีย-หลบมาตรการคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง บ.กฎหมายยักษ์ใหญ่ รับงานช่วยโอลิการ์ชรัสเซียรอดมาตรการคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง 'ดูไบ' แหล่งกบดานเศรษฐีหนีคดี หลังโลกตามอายัดเงินจากรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อีริคสัน' ส่อเอี่ยวจ่ายเงินให้กลุ่ม ISIS แลกทำธุรกิจใน 'โมซุล'
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเครือข่ายธนาคารดันสเก เอสโตเนีย ไฉนเป็นเส้นทางฟอกเงิน 5.1 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อังกฤษ' ยกเลิกวีซ่านักลงทุน หวั่นเปิดช่องฟอกเงิน โต้ 'วิกฤติยูเครน'
- ส่องคดีทุจริตโลก: อายุน้อยร้อย ล.-เมื่อเด็กเป็นเจ้าของ บ.ในลักเซมเบิร์กเกือบ 300 แห่ง
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อังกฤษ'ยึดทรัพย์ทุจริต'อาเซอร์ไบจาน' แสน ล.โยงฟอกเงินผ่าน'เอสโตเนีย'
- ส่องคดีทุจริตโลก:'คูเวต'เร่งสอบ ปมจัดซื้อเครื่องบินไต้ฝุ่น 2.9 แสน ล.แพง
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อัยการเบอร์ลิน'สอบผู้บริหารพรรคกรีนส์-รมต.อนุมัติโบนัสโควิดไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.อิสราเอล จ่อตั้ง กก.สอบปมสินบนเรือดำน้ำเยอรมนี หลังเรื่องแดงปี 59
- ส่องคดีทุจริตโลก:'เพนตากอน'ถลุงงบหลายแสน ล.ไร้ประสิทธิภาพ-เอื้อปย.เอกชนช่วงสงครามอัฟกาฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโก' ปธน.เบลารุส บุคคลคอร์รัปชันแห่งปี 64