เมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมานั้น พบว่ามีอย่างน้อยสองครั้ง ที่มีเรือสัญชาติอังกฤษ พร้อมด้วยลูกเรือแล่นออกจากท่าเรือในพื้นที่ใกล้กับเมือง เพื่อไปช่วยเหลือให้มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันจากรัสเซีย ระหว่างเรือบรรทุกน้ำมันด้วยกัน โดยหลังจากที่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันกันแล้ว เรือบรรทุกน้ำมันจำนวนสองลำซึ่งบรรทุกน้ำมันปริมาณรวมกว่า 165,000 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 165 ล้านปอนด์ (7,298.2 ล้านบาท) ก็มุ่งหน้าไปยังอ่าวเปอร์เซียและประเทศสิงคโปร์ต่อไป
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้ขอนำเสนอประเด็นเรื่องการใช้เรือจากประเทศอังกฤษเพื่อจะแอบช่วยเหลือการขนส่งน้ำมันจากประเทศรัสเซียเพื่อจะนำไปขายต่อยังต่างประเทศ เพื่อจะนำรายได้จากการขายน้ำมันดังกล่าวนี้มาจุนเจือการทำสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนให้ดำเนินต่อไป
โดยสำนักข่าว The Independent ของประเทศอังกฤษได้รายงานข่าวว่าเรื่องนี้นั้นเกิดขึ้นเมืองแห่งหนึ่งที่ชื่อว่าเซาท์โวลด์ ซึ่งเป็นเมืองชายหาดอันเงียบสงบตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษ และเมืองนี้ยังเป็นเป็นเพียงไม่กี่แห่งที่ทางการอังกฤษได้อนุญาตให้มีการดำเนินกิจการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันระหว่างเรือสินค้าได้
อย่างไรก็ตามมีรายงานจากองค์กรสิทธิมนุษยชน Global Witness และสำนักข่าว The Independent ที่ระบุว่าเมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมานั้น พบว่ามีอย่างน้อยสองครั้ง ที่มีเรือสัญชาติอังกฤษ พร้อมด้วยลูกเรือแล่นออกจากท่าเรือในพื้นที่ใกล้กับเมือง เพื่อไปช่วยเหลือให้มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันจากรัสเซีย ระหว่างเรือบรรทุกน้ำมันด้วยกัน โดยหลังจากที่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันกันแล้ว เรือบรรทุกน้ำมันจำนวนสองลำซึ่งบรรทุกน้ำมันปริมาณรวมกว่า 165,000 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 165 ล้านปอนด์ (7,298.2 ล้านบาท) ก็มุ่งหน้าไปยังอ่าวเปอร์เซียและประเทศสิงคโปร์ต่อไป
เมืองเซาท์โวลด์ เมืองริมชายหาดประเทศอังกฤษ
ทั้งนี้มีรายงานว่ากระบวนการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันดังกล่าวถือว่าเป็นหนึ่งเครือข่ายระหว่างประเทศที่ช่วยทำให้ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินของรัสเซีย ยังคงมีรายได้จากการขายน้ำมันให้กับทวีปเอเชีย หลังจากที่ผู้ซื้อจากยุโรปลดกำลังการซื้อน้ำมันลงเพราะสงครามที่เกิดขึ้น
โดยการค้าระหว่างประเทศจีนและประเทศอินเดียกับประเทศรัสเซียนั้นพบว่ามีความเฟื่องฟูในระดับที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งรายได้จากการขายน้ำมันมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯเหล่านี้ได้ส่งตรงไปถึงทำเนียบประธานาธิบดีเครมลิน และกลายเป็นทุนสำหรับสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนที่นองเลือดและกำลังยืดเยื้ออยู่ ณ เวลานี้
สำหรับตัวเลขปริมาณน้ำมันจากรัสเซียที่มีการเปลี่ยนถ่ายนอกชายฝั่งของประเทศอังกฤษ ณ เวลานี้ยังไม่เป็นที่ประจักษ์ชัดเจน แต่อย่างไรก็ตามกระบวนการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันดังกล่าวนี้ถือว่าไม่เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย และก็ไม่มีกระบวนการใดจะมาหยุดยั้งให้บริษัทสัญชาติอังกฤษดำเนินการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันนี้แต่อย่างใด ซึ่งนี่ถือเป็นข้อบ่งชี้ว่ามีช่องโหว่ขนาดยักษ์ในกระบวนการคว่ำบาตรรัสเซียของชาติตะวันตก
เรือสินค้าขนาดใหญ่ที่สามารถมองเห็นได้จากชายฝั่งเมืองเซาท์โวลด์
ทั้งนี้ย้อนไปเมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมากลุ่มประเทศจี 7 ได้มีความพยายามจะปรับวงเงินที่สามารถจะจ่ายได้เพื่อที่จะซื้อน้ำมันของรัสเซีย ด้วยความหวังว่าการกำหนดวงเงินนี้จะยับยั้งการไหลเวียนของเงินสดที่ตรงไปสู่เครมลิน ผลก็คือว่านับตั้งแต่ที่มีการรุกรานยูเครนเป็นต้นมา ทำให้ราคาน้ำมันนั้นพุ่งกระชากสูงขึ้นอย่างรุนแรง
อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญหลายคนได้ออกมาเตือนว่าถ้าหากไม่มีกระบวนการปราบปรามที่ครอบคลุมไปถึงทั้งเรือและบริษัทสัญชาติยุโรปที่ดำเนินการช่วยเหลือในด้านการขนย้ายน้ำมันจากรัสเซีย ความพยายามจะจำกัดเส้นทางการเงินที่ว่านี้ก็ดูจะไร้ผลต่อไป
ทั้งนี้วงการขนส่งระดับโลกนั้นถือได้ว่าเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีความคลุมเครือ ,ไม่โปร่งใส และก็เป็นอุตสาหกรรมที่มีความรับผิดชอบน้อยที่สุดในโลก ซึ่งนี้ส่งผลทำให้เกิดอุปสรรคสำคัญต่อมาตรการของประเทศตะวันตกที่ดำเนินการลงโทษประธานาธิบดีปูติน ซึ่งตามนิยามแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมขนส่งนี้นั้นไปอยู่ในจุดที่ไม่ว่าจะประเทศใดก็ตามบนโลก ไม่อาจจะไปมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมได้
โดย Global Witness ได้ระบุถึงกิจกรรมของเรือสัญชาติอังกฤษที่กระทำนอกน่านน้ำอังกฤษว่าเรือบรรทุกน้ำมันที่ร่วมขบวนการจำนวนสองลำนั้นพบว่าเป็นเรือที่มีเจ้าของก็คือบริษัทสัญชาติเยอรมนี เรือลำหนึ่งถูกจดทะเบียนว่าในประเทศไลบีเรีย และเรืออีกสองลำพบว่ามีบริษัทที่ดำเนินการเป็นบริษัทสัญชาติกรีกและสัญชาติมอลตา ซึ่งเรือลำที่สามนั้นถูกพบว่าจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการเชิงพาณิชย์ในประเทศโมนาโก
อย่างเราก็ตามชื่อของเจ้าของที่แท้จริงของเรือเหล่านี้กลับถูกปกปิดชื่อเป็นความลับโดยซ่อนอยู่ภายชื่อบริษัทเปลือกหอย ทำให้เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลยที่จะระบุตัวตนของเจ้าของเรือได้อย่างแน่ชัด ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าการการสร้างความลับของตัวเจ้าของเรือขนน้ำมันที่แท้จริงนั้นก็เนื่องจากว่ากลัวว่าจะเสื่อมเสียชื่อเสียงเพราะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับทางรัสเซีย เพราะว่าบริษัทต่างๆนั้นก็ต้องคำนึงถึงภาพลักษณ์ของตัวเองเช่นกัน แม้ว่าน้ำมันจากรัสเซียจะทำให้กำไรของบริษัทเหล่านี้เพิ่มพูนขึ้นก็ตาม
มีประเด็นที่น่าสนใจก็คือว่าสามประเทศในทวีปยุโรปที่ดำเนินกิจการขนส่งได้แก่ กรีซ ไซปรัส และมอลตา ได้เพิ่มปริมาณน้ำมันรัสเซียเพิ่มเป็นสองเท่านับตั้งแต่สงครามเริ่มขึ้น ขณะที่บริษัทในเมืองเซาท์โวลด์ ก็ถือว่ามีส่วนเล็กๆในกระบวนการขนส่งเช่นกัน
โดยย้อนไปเมื่อต้นเดือน พ.ค. เรือน้ำมันขนาดใหญ่ที่ชื่อว่าคอนติ เบนเกลา และ เรือมาทิลด้า (Conti Benguela และ Matilda) แล่นออกจากท่าเรือทางตอนเหนือของนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ซึ่งเรือทั้งสองลำนี้นั้นอุดมไปด้วยน้ำมันจากรัสเซีย ก่อนที่เรือจะแล่นไปทางทะเลบอลติก ผ่านประเทศเดนมาร์ก เดินทางไปจนถึงชายฝั่งนอกเมืองซัฟฟอล์ก ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่คลื่นลมสงบ แล้วเรือทั้งสองลำก็ได้ทิ้งสมอลง ซึ่งตามข้อมูลจากบันทึกติดตามพบว่าในช่วงพลบค่ำของวันที่ 13 พ.ค. นั้นพบว่าเรือทั้งสองลำจอดอยู่ใกล้ชิดกันมากในทะเล
ขณะที่ข้อมูลที่กรอกไว้กับยามฝั่งก็ได้อธิบายถึงรายละเอียดของแผนการขั้นต่อไป ระบุว่าพบว่ามีบริษัทสัญชาติอังกฤษแห่งหนึ่งชื่อว่า STS Marine Transfers ได้รับการบรรยายภารกิจจากผู้ประกอบการเดินเรือล่วงหน้าหลายสัปดาห์เพื่อให้ดำเนินภารกิจเปลี่ยนถ่ายน้ำมัน ซึ่งบริษัทได้มีการส่งเรือเล็กออกไปเพื่อเปลี่ยนถ่ายน้ำมันจำนวนกว่า 14,000 ตันออกจากเรือคอนติ เบนเกลา และ เรือมาทิลด้า
โดยเมื่อตกกลางคืน พบว่ามีการส่งเรือคาตามารันชื่อว่าเอนดีเวอร์ ซึ่งเป็นเรือเล็กความเร็วสูงแล่นออกจากท่าเรือที่ไม่ไกลจากชายฝั่งเมืองโลว์สทอฟท์นัก โดยเรือเล็กลำนี้พบว่ามีการส่งมอบเสบียงที่จำเป็นต่างๆ และนำตัวลูกเรือบรรทุกน้ำมันที่ต้องการพักผ่อนมาขึ้นฝั่ง
เรือเอนดีเวอร์ที่ระบุว่าเป็นเรือซึ่งไปพบกับเรือขนส่งน้ำมันจากรัสเซีย
ในสัปดาห์ถัดมา พบว่าเรือคอนติ เบนเกลา ก็ได้มีการ ดำเนินปฏิบัติการณ์ซ้ำเดิมอีกครังหนึ่ง โดยคราวนี้พบว่าเรือลำนี้มีส่วนในการเติมน้ำมันจากรัสเซียให้กับเรือบรรทุกน้ำมันอีกลำหนึ่งซึ่งเป็นเรือจดทะเบียนในประเทศมอลตา ชื่อว่าเรือโนลเด้ (Nolde) ซึ่งเรือลำนี้พบว่าบรรทุกน้ำมันรัสเซียคิดเป็นมูลค่า 80 ล้านปอนด์ (3,538.5 ล้านบาท)
ขณะที่บริษัท วู้ด มารีน (Wood Marine) ซึ่งเป็นบริษัทที่รับผิดชอบดำเนินการเรือคาตามารันเอนดีเวอร์ ได้ออกมากล่าวว่าบริษัทนั้นไม่เคยจัดการลูกเรือหรือว่าเรือของรัสเซียแต่อย่างใด โดยบริษัทได้ระบุว่าพวกเขานั้นไม่มีข้อผูกมัดว่าจะต้องมาตรวจสอบว่าน้ำมันนั้นมีต้นทางมาจากไหน ส่วนทางเจ้าของบริษัทได้กล่าวว่าพวกเขาก็เหมือนกับผู้ที่ให้บริการแท็กซี่บนท้องทะเลเท่านั้น
ทางด้านของบริษัท STS Marine Transfers ก็ได้กล่าวว่าบริษัทนั้นดำเนินกิจการตามกฎหมายและระเบียบการนานาชาติทุกประการรวมไปถึงการคว่ำบาตร และบริษัทก็ไม่ได้มีการต่อสัญญากับเรือสินค้าที่มีต้นทางมาจากรัสเซียแล้ว
โดยจากเหตุการณ์ทั้งหมดที่ว่ามานี้นั้น ทำให้ทางด้านของนายหลุยส์ ก็อดดาร์ด ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำมันที่ Global Witness และเป็นผู้ติดตามความเคลื่อนไหวเรือบรรทุกน้ำมันรัสเซียตั้งแต่เริ่มสงครามได้กล่าวว่าการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันที่เมืองเซาท์โวลด์อาจทำให้เรือบรรทุกน้ำมันนั้นสามารถท่องเที่ยวไปได้เป็นระยะยาวผ่านช่องแคบอังกฤษ เข้าสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เดินทางผ่านคลองสุเอซ เพื่อต่อไปยังประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย
“การใช้เรือจากประเทศในยุโรปเช่นจากกรีซ ไซปรัส และจากมอลตา ถือว่าเป็นการเยอะเย้ยสหภาพยุโรปหรือว่าอียู ที่ได้ดำเนินการคว่ำบาตรเพื่อที่จะหยุดยั้งเครื่องจักรสงครามของประธานาธิบดีปูติน” นายก็อดดาร์ดกล่าว
ทั้งนี้ในช่วงเดือนที่ผ่านมานั้นพบว่าประเทศจีนได้กลายเป็นผู้ซื้อน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของรัสเซีย โดยมีการซื้อน้ำมันไปทั้งสิ้นกว่า 8.4 ล้านบาร์เรล คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 40 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับในช่วงปีที่ผ่านมา ขณะที่อินเดียก็มีการเพิ่มขึ้นของการส่วนออกน้ำมันอย่างมีนัยยะสำคัญเช่นกัน ซึ่งการเพิ่มขึ้นของการส่งออกดังกล่าวนี้ ก็ดูจะเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลยถ้าหากไม่มีความช่วยเหลือทางทะเลจากยุโรป
กลับมาที่เมืองเซาท์โวลด์ หลังจากที่มีการเปิดโปง ก็มีความกังวลอย่างเห็นได้ชัด โดยทางด้านของนายวิล วินเดลล์ นายกเทศมนตรีของเมืองได้กล่าวว่ากรณีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันระหว่างเรือบรรทุกน้ำมันนั้นทำให้เกิดความเสี่ยงอย่างรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ และยังไม่มีสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของเมืองแต่อย่างใด ซึ่งเขาต้องการให้มีการแบนกิจกรรมเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเหล่านี้โดยทันที ก่อนจะมีเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลลงทะเลครั้งใหญ่เกิดขึ้น ซึ่งในอดีตนั้นก็เคยมีเรื่องผิดพลาดที่ว่านี้มาแล้ว
“นี่เป็นกิจกรรมในระดับอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นที่นั่น มีการถ่ายโอนน้ำมันในระดับอุตสาหกรรมเกิดขึ้น โดยไม่มีกฎระเบียบ และไม่มีใครไปตรวจสอบเรื่องเหล่านี้” นายวินเดลล์กล่าว
เรียบเรียงจาก:https://www.independent.co.uk/news/business/russian-oil-sanctions-embargo-uk-suffolk-putin-b2111228.html
- ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอย 'บ.อิสราเอล' ส่งออกสปายแวร์เพกาซัส ให้ รบ.ตปท.สอดแนมประชาชน
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง 'อูเบอร์ไฟล์'แฉเอกชนล็อบบี้โอลิการ์ชแลกทำธุรกิจแท็กซี่รัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: สตง.อังกฤษสอบนโยบาย 'บอริส จอห์นสัน' ส่อย้อมแมวสร้าง รพ. 40 แห่ง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเส้นทางฟอสเฟตซีเรีย สู่โรงงานปุ๋ยยุโรป ส่งรายได้เข้าโอลิการ์ชรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: จนท.องค์การเภสัชอินเดียรับสินบน แลกอนุมัติยกเลิกทดลองอินซูลินระยะ 3
- ส่องคดีทุจริตโลก: ธนาคารเครือยักษ์ใหญ่รัฐบอลติก เอี่ยวฟอกเงินหมื่น ล.โอลิการ์ชรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: ปลด รมต.สธ.เวียดนาม เซ่นปมขายชุดตรวจโควิดแพง 45% เอกชนฟันกำไร 709 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:นักธุรกิจจีนเอี่ยวคดีสินบน อดีตที่ปรึกษาฮุนเซน ถือหุ้นสโมสรเบอร์มิงแฮม
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเส้นทางการเงินคดีให้สินบนนายพลจีน สู่คฤหาสน์พันล้าน ณ แวนคูเวอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงข้อพิรุธธุรกรรม เชื่อมโยงทอง 3 ตันประเทศกินี ส่อถูกฟอกในอังกฤษ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ย้อมแมวจรวด,โดรน-กินส่วนต่างวิทยุ 3 พันล. ต้นเหตุรัสเซียติดหล่มในยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดข้อพิรุธเอกชนไร้ประสบการณ์ ชนะสัญญาชุด PPE รบ.ออสเตรเลีย หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอยสินบนเรือดำน้ำมาเลเซีย พัน ล.! ฝรั่งเศสสั่งสอบ บ.ต่อเรือรบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'รมต.สเปน'โดนสอบ ใช้ช่องพิเศษอนุมัติสัญญาโควิดเอื้อ บ.พวกพ้อง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมคอรัปชั่นในกองทัพรัสเซีย-งบปี 65 รวม 2 ล้าน ล.ไม่รู้ไปไหนบ้าง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเครือข่ายขโมยเงินสนับสนุนอาหารอียู 694 ล. นำไปซื้อแฟลต-กระเป๋าหรู
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ไมโครซอฟท์'ถูกอดีตลูกจ้างแฉ-พนง.รวมหัว บ.คู่ค้า,จนท.รัฐ ทุจริตหลาย ปท.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเครือข่าย บ.เปลือกนอกหนุนเผด็จการซีเรีย-หลบมาตรการคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง บ.กฎหมายยักษ์ใหญ่ รับงานช่วยโอลิการ์ชรัสเซียรอดมาตรการคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง 'ดูไบ' แหล่งกบดานเศรษฐีหนีคดี หลังโลกตามอายัดเงินจากรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อีริคสัน' ส่อเอี่ยวจ่ายเงินให้กลุ่ม ISIS แลกทำธุรกิจใน 'โมซุล'
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเครือข่ายธนาคารดันสเก เอสโตเนีย ไฉนเป็นเส้นทางฟอกเงิน 5.1 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อังกฤษ' ยกเลิกวีซ่านักลงทุน หวั่นเปิดช่องฟอกเงิน โต้ 'วิกฤติยูเครน'
- ส่องคดีทุจริตโลก: อายุน้อยร้อย ล.-เมื่อเด็กเป็นเจ้าของ บ.ในลักเซมเบิร์กเกือบ 300 แห่ง
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อังกฤษ'ยึดทรัพย์ทุจริต'อาเซอร์ไบจาน' แสน ล.โยงฟอกเงินผ่าน'เอสโตเนีย'
- ส่องคดีทุจริตโลก:'คูเวต'เร่งสอบ ปมจัดซื้อเครื่องบินไต้ฝุ่น 2.9 แสน ล.แพง
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อัยการเบอร์ลิน'สอบผู้บริหารพรรคกรีนส์-รมต.อนุมัติโบนัสโควิดไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.อิสราเอล จ่อตั้ง กก.สอบปมสินบนเรือดำน้ำเยอรมนี หลังเรื่องแดงปี 59
- ส่องคดีทุจริตโลก:'เพนตากอน'ถลุงงบหลายแสน ล.ไร้ประสิทธิภาพ-เอื้อปย.เอกชนช่วงสงครามอัฟกาฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโก' ปธน.เบลารุส บุคคลคอร์รัปชันแห่งปี 64