“ความสามารถของอิสราเอลในการอนุมัติหรือปฏิเสธการเข้าถึงอาวุธทางไซเบอร์ของบริษัท NSO Group นั้นถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายของประเทศอิสราเอล ในการที่จะเข้าไปมีอิทธิพลเหนือประเทศเหล่านี้ ซึ่งรวมไปถึงประเทศอินเดีย เพื่อจุดประสงค์ที่ว่าจะเป็นแปลงจุดยืนของรัฐบาลของประเทศเหล่านี้ในประเด็นสำคัญต่างๆ”
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สัปดาห์นี้ขอนำเสนอประเด็นที่เข้ากับบรรยากาศของการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ผ่านมา กับการใช้สปายแวร์เพกาซัสเพื่อสอดแนมมบุคคลที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล
โดยเมื่อวันที่ 18 ก.ค. ที่ผ่านมาสำนักข่าว The Wire ของประเทศอินเดียได้มีการลงบทความเกี่ยวกับการใช้สปายแวร์เพกาซัสเพื่อสอดแนนประชาชนเอาไว้ในประเทศต่างๆ ซึ่งสำนักข่าวอิศราได้นำเอาบทความดังกล่าวมานำเสนอมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
นับเป็นเวลาหลายปีแล้ว ที่มีความกังวลเกี่ยวกับการใช้ซอฟแวร์เพกาซัสของบริษัท NSO Group ของประเทศอิสราเอลแต่อย่างไรก็ตาม ประเด็นเรื่องการใช้อาวุธทางไซเบอร์ในระดับการทหารดังกล่าวนี้ก็เพิ่งจะมาปะทุเมื่อปีที่ผ่านมานี้เอง เมื่อมีการนำเสนอข่าวร่วมกันในระดับโลกที่ชื่อว่าเพกาซัสโปรเจคท์ นำโดยองค์กรสื่อที่มีชื่อว่า Forbidden Stories ร่วมมือกับองค์กรสื่อมวลชนอีก 16 แห่ง
โดยการนำเสนอดังกล่าวทำให้มีปฏิกริยาออกมาจากประเทศส่วนใหญ่ที่มีความเกี่ยวข้องหรือว่าได้รับผลกระทบจากสปายแวร์เพกาซัส ขณะที่บริษัท NSO Group ก็ได้ออกมาปฏิเสธถึงข้อกล่าวหาการใช้ซอฟแวร์นี้อย่างไม่ถูกต้องและระบุต่อไปว่าบริษัทนั้นมีการมอบใบอนุญาตการใช้ซอฟแวร์ดังกล่าวให้กับเฉพาะรัฐบาลต่างๆเท่านั้น
ขณะที่ทาง The Wire ได้มีการติดตามผลกระทบทางการเมืองของการใช้เพกาซัสตลอดช่วงปีที่ผ่านมามีรายละเอียดดังนี้
@สหรัฐอเมริกา ผู้ริเริ่มการใช้เพกาซัส
ที่ผ่านมานั้น บริษัทอิสราเอลได้ออกมาเน้นย้ำว่าไม่มีการติดตามสมาร์ทโฟนที่อยู่ในสหรัฐฯ แต่อย่างไรก็ตาม ก็มีการเปิดโปงรายชื่อของ 50,000 รายชื่อของบุคคลที่มีความเป็นไปได้ว่าน่าจะเป็นเป้าหมายของเพกาซัส
โดยบุคคลที่ปรากฏในรายชื่อนั้นก็มีอาทิ นายโรเบิร์ต มัลลีย์ ทีมงานด้านอิหร่านของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ,นักการทูตประจำสหประชาชาติและฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลประเทศรวันดาจำนวนหนึ่ง ที่ตอนนี้กำลังลี้ภัยอยู่,ชาวอเมริกันอีกจำนวนนับสิบรายพร้อมด้วยเบอร์โทรศัพท์ในต่างประเทศ ซึ่งชาวอเมริกันดังกล่าวนี้พบว่ามีทั้งผู้ที่เป็นสื่อมวลชน และเจ้าหน้าที่ทางการทูตต่างๆก็ปรากฎอยู่ในรายชื่อด้วยเช่นกัน
และหลังจากที่มีการเปิดโปงดังกล่าวก็มีการเรียกร้องจากทางฝั่งพรรคเดโมแครตให้ดำเนินการคว่ำบาตรต่อบริษัท NSO Group ในข้อหาว่าละเมิดสิทธิมนุษยชน
แต่อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนการขึ้นบัญชีดำบริษัทของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ต่อบริษัท NSO Group นั้นก็เป็นสิ่งที่ยากลำบากเป็นอย่างยิ่ง โดยเมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2554 มีรายงานว่าทางกระทรวงพาณิชย์ได้กระทำในสิ่งที่เรียกว่าเป็นตรงข้ามกับผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ซึ่งกรณีดังกล่าวนั้นทางสำนักข่าวนิวยอร์กไทม์ได้รายงานข่าวว่าเป็นการละเมิดซึ่งสมคบคิดกับประเทศอิสราเอล และถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่ส่งผลต่อประธานาธิบดีสหรัฐฯที่ตัดสินใจเรื่องระงับการละเมิดในไซเบอร์แวร์ทั่วโลก
โดยพบว่ารัฐบาลของประเทศอิสราเอลนั้นได้มาหารัฐบาลที่กรุงวอชิงตันเพื่อให้มีการตัดสินใจย้อนกลับในเรื่องมาตรการควบคุมดังกล่าวนี้ ซึ่งสื่อในสหรัฐฯ ได้รายงานว่าบริษัท NSO Group นั้นได้ดำเนินนโยบายการล็อบบี้ครั้งใหญ่ เพื่อไม่ให้เกิดการขึ้นบัญชีดำบริษัทเกิดขึ้น
แต่อย่างไรก็ตามการเจรจาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการล็อบบี้นั้นพบว่ายังไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งความคืบหน้าล่าสุดพบว่าเมื่อวันที่ 10 ก.ค.ที่ผ่านมา บริษัทความมั่นคงสัญชาติอเมริกันชื่อว่า L3Harris ได้ยุติการเจรจากับบริษัท NSO Group ในการจัดหาอุปกรณ์สำหรับการแฮ็ค เนื่องจากว่าทางทีมงานบริหารของประธานาธิบดีไบเดนนั้นมีความกังวลในเรื่องของประเด็นทางด้านข่าวกรองและความมั่นคง
ฝรั่งเศสดำเนินการสอบสวนกรณีการใช้ซอฟแวร์เพกาซัสกับประธานาธิบดีฝรั่งเศส (อ้างอิงวิดีโอจาก CRUX)
@อิสราเอล ใจกลางของปัญหา
สำหรับอิสราเอลนั้น ประสบการณ์ทางด้านการแฮ็คทางไซเบอร์ของบริษัท NSO Group ถือว่าเป็นเครื่องมือทางการทูตที่ทรงพลังยิ่งสำหรับอดีตรัฐบาลของนายเบนจามิน เนทันยาฮู ในการที่จะเข้าถึงประเทศต่างๆ ซึ่งรวมไปถึงกลุ่มพันธมิตรในอาหรับและรัฐบาลของนายนเรนทรา โมดี ของประเทศอินเดีย
ย้อนไปเมื่อ ก.ค. ปีที่ผ่านมา สำนักข่าวฮาเรตซ์ของประเทศอิสราเอลได้มีการติดตามการเดินทางทางการทูตของนายเนทันยาฮู ซึ่งพบข้อมูลสำคัญว่าภารกิจทางการทูตนายเนทันยาฮูนั้นสอดคล้องกับการแพร่กระจายของซอฟแวร์ของบริษัท NSO Group ในประเทศต่างๆ และหกเดือนต่อมาสำนักข่าวนิวยอร์กไทม์ได้อ้างว่า “ความสามารถของอิสราเอลในการอนุมัติหรือปฏิเสธการเข้าถึงอาวุธทางไซเบอร์ของบริษัท NSO Group นั้นถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายของประเทศอิสราเอล ในการที่จะเข้าไปมีอิทธิพลเหนือประเทศเหล่านี้ ซึ่งรวมไปถึงประเทศอินเดีย เพื่อจุดประสงค์ที่ว่าจะเป็นแปลงจุดยืนของรัฐบาลของประเทศเหล่านี้ในประเด็นสำคัญต่างๆ”
ทั้งนี้หลังจากที่มีการเปิดโปงเพกาซัสโปรเจคท์ รัฐบาลอิสราเอลก็ต้องเผชิญกับผลกระทบทางการทูตอย่างรุนแรงโดยทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่มีการรายงานว่ามีผู้นำรัฐบาลจำนวนหนึ่งนั้นถูกแฮ็คโทรศัพท์ด้วยซอฟแวร์ของบริษัท NSO Group
โดยหลังจากที่มีรายงานโปรเจคท์เพกาซัส ทางกระทรวงกลาโหมอิสราเอลก็เริ่มที่จะมีการทบทวนนโยบายการส่งออกซอฟแวร์ อุปกรณ์ทางไซเบอร์ของตัวเองทันที เช่นเดียวกับทางสภาความมั่นคงแห่งชาติอิสราเอลที่ได้มีการตั้งทีมงานระหว่างกระทรวงขึ้นมาเพื่อจะควบคุมความเสียหายทางการทูต
สำหรับกรณีผู้นำประเทศรายสำคัญนั้นก็มีอาทิ ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส ที่ปรากฎว่าอยู่ในรายชื่อของเบอร์โทรศัพท์รั่วไหลออกมา ซึ่งจากกรณีดังกล่าวนี้รัฐบาลอิสราเอลก็ต้องมีการดำเนินการด้วยวิธีการพิเศษเพื่อจะยุติข้อพิพาทกับทางกรุงปารีส หลังจากที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศสได้ขอคำชี้แจงโดยตรงไปถึงนายกรัฐมนตรีอิสราเอล
ในเวลาต่อมาหน่วยงานความมั่นคงของประเทศฝรั่งเศสก็ได้มีการสืบพบต้นตอของสปายแวร์เพกาซัสบนสมาร์ทโฟนของรัฐมนตรีคนปัจจุบันของฝรั่งเศสอีกจำนวนห้ารายด้วยกัน ทำให้ในเดือน ต.ค. 2564 สำนักข่าว Axios ของสหรัฐฯได้มีการรายงานข่าวว่าอิสราเอลได้ยื่นข้อเสนอว่าจะมีการแบนการแฮ็คเบอร์โทรศัพท์มือถือสัญชาติฝรั่งเศสซึ่งอยู่ในข้อตกลงใดๆก็ตามระหว่างบริษัทประเทศอิสราเอลและประเทศที่สาม
มีรายงานด้วยว่าประเด็นเรื่องความอื้อฉาวเพกาซัสนั้นยังเกิดขึ้นกับการเมืองภายในของประเทศอิสราเอล โดยสื่อได้อ้างว่าตำรวจอิสราเอลได้ดำเนินการแฮ็คมือถือประชาชนสัญชาติอิสราเอลจำนวน 26 ราย ซึ่งในจำนวนนี้รวมไปถึงลูกชายของนายเนทันยาฮูด้วย โดยนายเนทันยาฮูได้ใช้รายงานข่าวดังกล่าวนี้มาอ้างเพื่อชะลอการดำเนินคดีทุจริตที่มีขึ้นต่อเขา
พอมาถึงช่วงเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา ก็มีการสอบสวนอย่างเป็นทางการพบว่าอิสราเอลได้ใช้เพกาซัสกับประชาชนสัญชาติอิสราเอลจริง แต่ว่าไม่พบหลักฐานการอนุญาตให้ใช้งานอย่างผิดกฎหมาย
อนึ่งการเปิดโปงเรื่องเพกาซัสนั้นทำให้ทางการสหรัฐฯได้มีการขึ้นบัญชีดำกับบริษัท NSO Group ไปเมื่อเดือน พ.ย. ปีที่ผ่านมา และประมาณหนึ่งสัปดาห์หลังจากที่ NSO Group ถูกแบน ทางรัฐบาลกรุงเทลอาวีฟได้ประกาศลดรายชื่อประเทศผู้ซื้ออุปกรณ์เทคโนโลยีไซเบอร์ชั้นสูงจากอิสราเอลลง จากเดิมที่มี 102 ประเทศ ก็เหลืออยู่แค่ 32 ประเทศเท่านั้น
โดยประเทศอย่างเม็กซิโก,โมร็อกโก,ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทั้งหมดนี้ต่างก็พบว่าเคยเป็นลูกค้าให้กับบริษัท NSO Group ด้วยเช่นกัน
แต่ถึงแม้ว่าจะมีการแบนการใช้เพกาซัสไปแล้วแต่ว่าหลังจากการรุกรานยูเครนของประเทศรัสเซียนั้น ก็ทำให้ทางการสหรัฐฯต้องหันเหความสนใจไปที่ประเด็นดังกล่าวมากขึ้น และลดประเด็นที่จะต้องดำเนินการเกี่ยวกับบริษัท NSO Group กับกิจกรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันตกลงไป
โดยก่อนการเยือนภูมิภาคตะวันออกกลาง ของประธานาธิบดีไบเดน มีความเห็นมาจากสื่อมวลชนที่ระบุว่าว่าทางวอชิงตันอยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ว่าจะทำอย่างไรเกี่ยวกับข้อกังวลที่เพิ่มมากขึ้นของการใช้เพกาซัส ในการหารือระหว่างประเทศอิสราเอลและประเทศซาอุดิอาระเบีย เนื่องจากว่าทางสาธารณชนอเมริกันนั้นมีความต้องการอย่างยิ่งที่จะให้มีการลดราคาน้ำมันในประเทศ นี่จึงเป็นเหตุทำให้รัฐบาลสหรัฐฯ ต้องสานสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นกับรัฐบาลของซาอุดิอาระเบียเอาไว้ และรัฐบาลสหรัฐฯนั้นก็ต้องการที่จะมีความสัมพันธ์อันดีต่ออิสราเอลด้วยเช่นกัน ซึ่งนี่ทำให้ประเด็นเกี่ยวกับสปายแวร์เพกาซัสนั้นถูกลดความสำคัญลงไป
@ซาอุดิอาระเบีย เมื่อผู้กระทำความผิดถูกโอบอุ้ม
การเยือนซาอุดิอาระเบียของประธานาธิบดีไบเดนนั้น แน่นอนว่าต้องมีการพูดถึงกรณีการฆาตกรรมนายจามาล คาช็อกกี ชาวซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเข้ามาตั้งถิ่นฐานอย่างถาวรและถูกต้องตามกฏหมายของสหรัฐฯ และยังเป็นคอลัมนิสต์ให้กับสำนักข่าววอชิงตันโพสต์
โดยหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ ได้ยืนยันชัดเจนว่ามกุฎราชกุมารโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน เป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อการฆาตกรรมดังกล่าวนี้ ซึ่งทางด้านของเพกาซัสโปรเจคท์ได้ยืนยันข้อมูลว่าโทรศัพท์ของคู่หมั้นของนายคาช็อกกีนั้นถูกเจาะด้วยสปายแวร์เพกาซัสก่อนที่นายคาช็อกกีจะถูกฆาตกรรมที่สถานทูตของซาอุดิอาระเบียในเมืองอิสตันบูล
ทั้งนี้ประธานาธิบดีสหรัฐฯได้อ้างว่าตัวเขาได้บอกเจ้าชายซัลมานไปแล้วว่าจะมีการรับผิดชอบเป็นการส่วนตัวต่อกรณีการฆาตกรรม ขณะที่ทางด้านของนายอาเดล อัล-จูบีร์ รัฐมนตรีช่วยว่าการของซาอุดิอาระเบียกล่าวว่านี่แค่เหตุสะอีกทางการทูตจากเรื่องในอดีตเท่านั้น
แนะนำสปายแวร์เพกาซัส (แนะนำวิดีโอจาก CRUX )
@ทวีปยุโรป กับความหวังว่าจะมีผู้รับผิดชอบ
ย้อนไปเมื่อปี 2564 ที่ผ่านมา มีเอกสารระบุว่ารัฐบาลประเทศโปแลนด์และประเทศฮังการีใช้สปายแวร์เพกาซัสดำเนินการกับผู้เห็นต่างทางการเมืองและนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม ขณะที่รัฐบาลเยอรมนีก็ได้มีการยืนยันกับคณะกรรมการของรัฐสภาว่ามีการซื้อเพกาซัสซอฟแวร์มาตั้งแต่ปี2562 จริง
และเมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา กลุ่มนักวิจัย Citizen Lab ก็ได้มีการเปิดโปงว่ามีนักการเมือง,นักกฎหมายและนักวิชาการชาวคาตาลัน ประเทศสเปนอย่างน้อย 60 ราย ตกเป็นเป้าของสปายแวร์เพกาซัส ซึ่งหลักฐานก็ชี้ไปยังผู้ที่ใช้งานซึ่งก็คือรัฐบาลของประเทศสเปน หนึ่งในลูกค้าของบริษัท NSO Group
นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าอย่างน้อยสี่ประเทศในทวีปยุโรปที่ยอมรับว่าผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงของรัฐบาลหรือว่านักการเมืองตกเป็นเป้าโจมตีของเพกาซัสด้วยเช่นกัน
ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในรัฐสภายุโรปเพื่อเรียกร้องให้มีการกำกับดูแลการใช้สปายแวร์ที่ว่านี้ นับตังแต่เดือน ก.ย. 2564 ที่มีการพูดถึงการดำเนินการกับบริษัท NSO Group และต่อมาก็เดือน ต.ค. 2564 ที่มีการมอบรางวัล Daphne Caruana Prize เป็นครั้งแรกให้กับกลุ่มผู้สื่อข่าวที่ทำงานเผยแพร่เพกาซัสโปรเจคท์
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าอียูหรือสหภาพยุโรปนั้นอาจจะไม่มีขอบเขตหรืออำนาจมากพอจะดำเนินการอย่างไร เพราะในช่วงปีที่ผ่านมาก็ยังปรากฎว่าในประเทศฮังการี ยังมีการอ้างกฎหมายในประเทศตัวเองเพื่อให้เพกาซัสสอดแนมประชาชนนับพันของประเทศตัวเองอยู่
ขณะที่ในการให้ปากคำต่อคณะกรรมการ บริษัท NSO Group ก็ได้ชี้แจงว่ามีประเทศสมาชิกอียูอย่างน้อยห้าประเทศได้ใช้ซอฟแวร์เพกาซัส ซึ่งทางบริษัทก็ได้มีการยกเลิกสัญญาไปแล้วอย่างน้อยกับหนึ่งประเทศที่พบว่าละเมิดกติการใช้ใช้เพกาซัสซอฟแวร์
@แอลจีเรีย ‘การดำเนินการที่เป็นศัตรู’
ในเดือน ส.ค. ปีที่ผ่านมา นายรามดาน ลามัมรา รัฐมนตรีต่างประเทศแอลจีเรีย ได้ออกมาประกาศว่าแอลจีเรียได้ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศโมร็อกโก พร้อมทั้งประกาศว่าจะสนับสนุนกลุ่มแบ่งแยกดินแดน โดยนายลามัมรากล่าวหาว่าโมร็อกโกนั้นใช้เพกาซัสกับทางเจ้าหน้าที่ของแอลจีเรีย
“ราชาอาณาจักรโมร็อกโกไม่เคยที่จะหยุดการกระทำที่เป็นศัตรูกับประเทศแอลจีเรีย” นายลามัมรากล่าว
โดยเพกาซัสโปรเจคท์ได้รายงานว่าพบว่ามีเบอร์โทรศัพท์สัญชาติแอลจีเรียกว่า 6,000 หมายเลขนั้นตกเป็นเป้าหมายของลูกค้าของบริษัท NSO Group และที่สำคัญคือมีรายงานว่าโมร็อกโกนั้นยังได้มุ่งเป้าไปที่โทรศัพท์มือถือของประธานาธิบดีฝรั่งเศส
อย่างไรก็ตามรัฐบาลโมร็อกโกได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหานี้แล้ว และได้ดำเนินการฟ้องร้องทั้งองค์กร Forbidden Stories,องค์กรแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล,สื่อเยอรมนีชื่อว่า Süddeutsche Zeitung (ซุดดอยท์เช่ เซตุง) และสื่อสัญชาติสเปนในข้อหาว่าหมิ่นประมาท
เรียบเรียงจาก:https://thewire.in/world/pegasus-row-why-initial-global-outrage-didnt-translate-into-appetite-for-accountability
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง 'อูเบอร์ไฟล์'แฉเอกชนล็อบบี้โอลิการ์ชแลกทำธุรกิจแท็กซี่รัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: สตง.อังกฤษสอบนโยบาย 'บอริส จอห์นสัน' ส่อย้อมแมวสร้าง รพ. 40 แห่ง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเส้นทางฟอสเฟตซีเรีย สู่โรงงานปุ๋ยยุโรป ส่งรายได้เข้าโอลิการ์ชรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: จนท.องค์การเภสัชอินเดียรับสินบน แลกอนุมัติยกเลิกทดลองอินซูลินระยะ 3
- ส่องคดีทุจริตโลก: ธนาคารเครือยักษ์ใหญ่รัฐบอลติก เอี่ยวฟอกเงินหมื่น ล.โอลิการ์ชรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: ปลด รมต.สธ.เวียดนาม เซ่นปมขายชุดตรวจโควิดแพง 45% เอกชนฟันกำไร 709 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:นักธุรกิจจีนเอี่ยวคดีสินบน อดีตที่ปรึกษาฮุนเซน ถือหุ้นสโมสรเบอร์มิงแฮม
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเส้นทางการเงินคดีให้สินบนนายพลจีน สู่คฤหาสน์พันล้าน ณ แวนคูเวอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงข้อพิรุธธุรกรรม เชื่อมโยงทอง 3 ตันประเทศกินี ส่อถูกฟอกในอังกฤษ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ย้อมแมวจรวด,โดรน-กินส่วนต่างวิทยุ 3 พันล. ต้นเหตุรัสเซียติดหล่มในยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดข้อพิรุธเอกชนไร้ประสบการณ์ ชนะสัญญาชุด PPE รบ.ออสเตรเลีย หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอยสินบนเรือดำน้ำมาเลเซีย พัน ล.! ฝรั่งเศสสั่งสอบ บ.ต่อเรือรบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'รมต.สเปน'โดนสอบ ใช้ช่องพิเศษอนุมัติสัญญาโควิดเอื้อ บ.พวกพ้อง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมคอรัปชั่นในกองทัพรัสเซีย-งบปี 65 รวม 2 ล้าน ล.ไม่รู้ไปไหนบ้าง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเครือข่ายขโมยเงินสนับสนุนอาหารอียู 694 ล. นำไปซื้อแฟลต-กระเป๋าหรู
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ไมโครซอฟท์'ถูกอดีตลูกจ้างแฉ-พนง.รวมหัว บ.คู่ค้า,จนท.รัฐ ทุจริตหลาย ปท.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเครือข่าย บ.เปลือกนอกหนุนเผด็จการซีเรีย-หลบมาตรการคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง บ.กฎหมายยักษ์ใหญ่ รับงานช่วยโอลิการ์ชรัสเซียรอดมาตรการคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง 'ดูไบ' แหล่งกบดานเศรษฐีหนีคดี หลังโลกตามอายัดเงินจากรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อีริคสัน' ส่อเอี่ยวจ่ายเงินให้กลุ่ม ISIS แลกทำธุรกิจใน 'โมซุล'
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเครือข่ายธนาคารดันสเก เอสโตเนีย ไฉนเป็นเส้นทางฟอกเงิน 5.1 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อังกฤษ' ยกเลิกวีซ่านักลงทุน หวั่นเปิดช่องฟอกเงิน โต้ 'วิกฤติยูเครน'
- ส่องคดีทุจริตโลก: อายุน้อยร้อย ล.-เมื่อเด็กเป็นเจ้าของ บ.ในลักเซมเบิร์กเกือบ 300 แห่ง
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อังกฤษ'ยึดทรัพย์ทุจริต'อาเซอร์ไบจาน' แสน ล.โยงฟอกเงินผ่าน'เอสโตเนีย'
- ส่องคดีทุจริตโลก:'คูเวต'เร่งสอบ ปมจัดซื้อเครื่องบินไต้ฝุ่น 2.9 แสน ล.แพง
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อัยการเบอร์ลิน'สอบผู้บริหารพรรคกรีนส์-รมต.อนุมัติโบนัสโควิดไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.อิสราเอล จ่อตั้ง กก.สอบปมสินบนเรือดำน้ำเยอรมนี หลังเรื่องแดงปี 59
- ส่องคดีทุจริตโลก:'เพนตากอน'ถลุงงบหลายแสน ล.ไร้ประสิทธิภาพ-เอื้อปย.เอกชนช่วงสงครามอัฟกาฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโก' ปธน.เบลารุส บุคคลคอร์รัปชันแห่งปี 64