ทางหน่วยงาน ED ได้มีการตรวจสอบเกี่ยวกับข้อกล่าวหาที่ว่าเงินที่ได้มาจากสินบนการคัดเลือกบุคลากรประจำโรงเรียนนั้นอาจถูกนำไปลงทุนกับธุรกิจในประเทศไทย โดยได้มีการสอบปากคำนายพาร์ธาในเรื่องนี้ไปแล้ว แต่ว่าเขายังคงปฏิเสธ ซึ่งทางนายพาร์ธากล่าวว่าเขาและนางอาร์พิตาได้เดินทางไปทั้งสิงคโปร์,กรุงเทพ เมื่อนานมาแล้ว และตอนนั้นยังได้เดินทางไปรัฐกัว (รัฐชายฝั่งทางตอนใต้ของอินเดีย) ด้วยเช่นกัน
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้ขอนำเสนอประเด็นความไม่โปร่งใสของอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของรัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย
โดยสำนักข่าวฮินดูสถานไทมส์ของอินเดียรายงานข่าวว่านายพาร์ธา แชตเตอร์จี (Partha Chatterjee)อดีตรัฐมนตรีฯและผู้เป็นลูกเขยได้แก่นายกัลยาณมิตร ภัทรจริยา (Kalyanmoy Bhattacharya) ทั้งสองคนนั้นมีความเกี่ยวข้องกับการจัดตั้งบริษัทเปลือกหอยจำนวนหนึ่งเพื่อดำเนินการจัดการเงินที่ได้มาโดยมิชอบ เพื่อจะนำเงินดังกล่าวนั้นไปซื้อทรัพย์สินในเมืองโกลกาตาและในเมืองต่างๆในแถบรัฐเบงกอลตะวันตก
โดยเจ้าหน้าที่หน่วยงานดูแลด้านกฎหมายเศรษฐกิจของอินเดียหรือที่เรียกว่า Enforcement Directorate (ED) ได้มีการส่งสำนวนคำฟ้องถึงพฤติกรรมของการทุจริตจำนวน 172 หน้าไปยังศาลถนนแบงค์แชลประจำเมืองโกลกัตตาเมื่อวันที่ 19 ก.ย.ที่ผ่านมา
หญิงรายหนึ่งก่อเหตุปารองเท้าใส่นายพาร์ธาเนื่องจากไม่พอใจข้อหาทุจริต (อ้างอิงวิดีโอจากฮินดูสถานไทมส์)
“ความเชื่อมโยงของสมาชิกครอบครัวของนายพาร์ธากับบริษัทปลอมๆซึ่งไม่มีการดำเนินธุรกิจใดๆเลยนั้นถูกตรวจพบ เนื่องจากว่ามีการตรวจสอบงบดุลและบันทึกคำแถลงการณ์ของผู้อำนวยการบริษัท โดยบริษัทจำนวนหลายแห่งนั้นถูกตรวจพสอบพบว่าก่อตั้งมาด้วยวัตถุประสงค์เดียวเท่านั้นก็คือการจัดการการปกปิดแหล่งต้นกำเนิดของรายได้อันน่าสงสัยและนำเงินเหล่านี้ไปซื้ออสังหาริมทรัพย์ในนามของบริษัท” ข้อมูลจากสำเนาของสำนวนคำฟ้องระบุ
ทางด้านของหน่วยงาน ED ได้ให้การต่อศาลว่าหน่วยงานได้มีการติดตามที่มาของทั้งเงินสด,อัญมณี และอสังหาริมทรัพย์ต่างๆที่คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 1,031 ล้านรูปี หรือ 475,949,912 บาท ซึ่งมีความเชื่อมโยงไปถึงทั้งอดีตรัฐมนตรีฯและเพื่อนของเขาอีกคนชื่อว่านางอาร์พิตา มูเคอร์จี (Arpita Mukherjee) โดยพบรายละเอียดเกี่ยวกับบัญชีธนาคารจำนวน 35 บัญชี,อสังหาริมทรัพย์จำนวน 40 แห่ง กรมธรรม์ประกันภัย 31 กรมธรรม์ และบริษัทเปลือกหอยอีก 201 แห่ง
สำหรับข้อกล่าวหาที่อยู่ในสำนวนคำฟ้องนั้นยังได้ระบุถึงพฤติกรรมการกระทำความผิดพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินหรือ PMLA โดยมีผู้กระทำความผิดได้แก่ลูกจ้างและผู้อำนวยการบริษัทเปลือกหอยจำนวนหกแห่งด้วยกัน ซึ่งรวมไปถึงนางอาร์พิตา มูเคอร์จี,นายมาโนช เชน หรืออีกชื่อหนึ่งคือนายมาโนช กุมาร คาโธเทีย (Manoj Jain และManoj Kumar Kathotia) และนายคามาล กุมาร ภูโทเรีย (Kamal Kumar Bhutoria) โดยสองคนหลังนั้น ทางหน่วยงาน ED ระบุพฤติการณ์ว่าทำหน้าที่เป็นคนกลางในการดำเนินการ ยังมีนายคิชาน กุมาร เดราซารี (Kishan Kumar Derasari) ที่ทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชี
หน่วยงาน ED ซึ่งได้เคยตั้งข้อหานายพาร์ธาและนางอาร์พิตาที่ถุกจับกุมตัวเมื่อวันที่ 23 ก.ค.ที่ผ่านมานั้นอาจจะมีการกันนางอาร์พิตาเอาไว้เป็นพยานถ้าหากเธอให้ความร่วมมือภายใต้เงื่อนไขซึ่งทางหน่วยงานยังไม่สามารถระบุให้สาธารณะได้รับทราบได้ ซึ่งทั้งสองคนนั้นปัจจุบันถูกควบคุมตัวและอยู่ภายใต้อำนาจของศาลแล้ว
ย้อนไปเมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา นายอภิจิตต์ กางโกปาธยา (Abhijit Gangopadhyay) ผู้พิพากษาศาลฎีกาเมืองโกลกาตาได้มีการออกคำสั่งให้หน่วยงานสํานักงานสอบสวนกลางหรือ CBI ซึ่งเป็นหน่วยงานเทียบเท่ากับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดำเนินการตรวจสอบการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ซึ่งพบว่ามีทั้งที่เป็นและไม่ได้เป็นครูสอนหนังสือจำนวนนับร้อยกว่าราย
โดยทั้งหมดนั้นถูกว่าจ้างโดยคณะกรรมการบริการโรงเรียนเบงกอลตะวันตกและคณะกรรมการการศึกษาระดับมัธยมศึกษาของรัฐเบงกอลตะวันตก ซึ่งมีข้อกล่าวหาว่าการแต่งตั้งบุคลากรทั้งที่เป็นครูและไม่ได้เป็นครูสอนหนังสือดังกล่าวนั้นพบว่าแต่ละคนจะมีการจ่ายสินบนกันอยู่ที่ประมาณรายละ 5 แสน-1.5 ล้านรูปี (230,819- 692,458 บาท) แลกกับการได้รับการบรรจุ หลังจากที่พวกเขาสอบตกเกณฑ์การประเมินคัดเลือกบุคลากรของทางราชการ ซึ่งข้อมูลตามคำร้องที่ยื่นต่อศาลนั้นระบุว่าช่วงเวลาของการจ่ายสินบนพบว่ากินเวลานานหลายปีตั้งแต่ปี 2557-2564
ขณะที่หน่วยงาน ED ซึ่งได้ทำหน้าที่ตรวจสอบคู่ขนานกันไปนั้นก็ได้มีการตั้งข้อกล่าวหากับบริษัทเปลือกจำนวนหกแห่ง โดยมีการกล่าวหาว่านายพาร์ธา แชตเตอร์จีนั้นเป็นผู้บริหารบริษัทดังกล่าวนี้ ซึ่งบริษัทที่ว่านั้นก็มีได้แก่บริษัท Echhay Entertainment Pvt Ltd, บริษัท Ananta Texfab Pvt Ltd, บริษัท Symbiosis Merchant Pvt Ltd, บริษัท Sentry Engineering Pvt Ltd, บริษัท Viewmore Highrise Pvt Ltd และ บริษัท Apa Utility Services
ในเอกสารคำฟ้องระบุว่านางอาร์พิตาซึ่งประกอบอาชีพเป็นนักแสดงระดับรอง (ช่วงเวลาการแสดงไม่เยอะ) นั้นมีความรู้จักมักคุ้นกับนายพาร์ธา โดยเธอได้เข้าไปทำหน้าที่เป็นกรรมการให้กับบริษัทเปลือกจำนวนทั้งหกแห่งที่ว่ามานี้ ส่วนบริษัทอื่นๆนั้นก็กำลังถูกตรวจสอบจากทางหน่วยงาน ED เช่นกัน
“นายพาร์ธา แชตเตอร์จีระบุว่าเขาไม่ได้ทำหน้าที่เป็นทั้งกรรมการ,เจ้าของ,หุ้นส่วน และก็ไม่ได้มีตำแหน่งในบริษัทเหล่านี้เลย นอกเหนือจากบริษัทที่ชื่อว่า Apa Utility Services ซึ่งบริษัทนี้ก็ไม่เคยมีการดำเนินกิจการแต่อย่างใด” เอกสารคำฟ้องระบุ ซึ่งจากข้อมูลในเอกสารนั้นพบว่าทั้งนายพาร์ธาและนางอาร์พิตาถูกตั้งข้อหาว่าทำผิดตามมาตราที่ 3,4 และมาตราที่ 70 ของพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
โดยมาตราที่ 3 ของ พ.ร.บ.ฯระบุไว้เกี่ยวกับความผิดฐานฟอกเงิน,มาตราที่ 70 เกี่ยวกับอาชญากรรมที่กระทำโดยบริษัทหรือลูกจ้างของบริษัทนั้นๆ และมาตราที่ 4 ระบุเกี่ยวกับการลงโทษในฐานความผิดการฟอกเงิน ซึ่งมีโทษจำคุกตั้งแต่ 3-7 ปี และยังต้องระวางโทษปรับอีก 5 แสนรูปี
ทางเจ้าหน้าที่ ED ได้กล่าวอีกว่าในส่วนของการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงนั้นพบว่ามีผู้กระทำความผิดในหลายวาระและในหลายราย อาทิ การมีส่วนร่วมของสมาชิกของครอบครัวของนายพาร์ธา ไปจนถึงบทบาทของบริษัทเปลือกหอย และคาดว่าจำนวนผู้ที่กระทำความผิดนั้นจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ท่ามกลางกระบวนการสอบสวนที่กำลังดำเนินไป
@ความเกี่ยวข้องกับบุคคลในครอบครัว
มีรายงานว่าหนึ่งในหกบริษัทเปลือกหอยที่ถูกตั้งข้อหาโดยหน่วยงาน ED ชื่อว่าบริษัท Ananta Texfab Pvt Ltd นั้นถูกตรวจสอบพบว่าเป็นหนึ่งในบริษัทที่ถูกควบคุมโดยนายพาร์ธาและสมาชิกในครอบครัวของเขา ซึ่งในสำเนาคำฟ้องระบุว่านายพาร์ธาแกล้งทำเป็นไม่รับรู้และละเลยว่าทั้งภรรยา,ลูกสาวและลูกเขยของเขานั้นเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท Ananta Texfab Pvt Ltd ดังกล่าว
ในบันทึกการให้ปากคำของหน่วยงาน ED มีการสอบถามนายพาร์ธาย้ำๆกันว่าภรรยาของเขาซึ่งก็คือนางบับลี แชตเตอร์จี (Babli Chatterjee) ซึ่งเสียชีวิตไปในปี 2560,ลูกสาวของเขาซึ่งคือนางโซอินี (Sohini) และลูกเขยซึ่งคือนายกัลยาณมิตร ภัทรจริยา ทั้งหมดเหล่านี้มีหุ้นอยู่ในบริษัทเปลือกหอยที่ถูกระบุถึงบ้างหรือไม่ และนอกจากนี้ยังมีการสอบถามนายพาร์ธาด้วยเกี่ยวกับกรณีการจัดตั้งมูลนิธิบับลี แชตเตอร์จี เพราะเนื่องจากว่ามูลนิธิบับลีนั้นมีส่วนเข้าไปก่อสร้างโรงเรียนนานาชาติ BCM ในพื้นที่หมู่เดบร้าในเขตมิดนาโปร์ตะวันตก โดยอ้างว่าการก่อสร้างโรงเรียนนานาชาตินั้นก็เพื่อเป็นการระลึกถึงนางบับลี อย่างไรก็ตามการก่อสร้างดังกล่าวพบว่ามีการใช้งบที่สูงมาก
นางอาร์พิตา มูเคอร์จี
โดยในสำเนาคำฟ้องระบุว่าการก่อสร้างโรงเรียนนานาชาติดังกล่าวนั้นต้องใช้งบประมาณไปทั้งสิ้น 150 ล้านรูปี (69,245,865 บาท) ทั้งในด้านของการซื้อที่ดิน,จ่ายเงินค่าวัสดุก่อสร้าง,และจ่ายเงินเดือนจ้างคนงานให้ดำเนินการก่อสร้างโรงเรียน ซึ่งค่าใช้จ่ายทั้งหมดนั้นพบว่ามีการจ่ายเงินเป็นเงินสด โดยผู้จ่ายเงินก็คือนายกัลยาณมิตร ลูกเขยของนายพาร์ธา ซึ่งลูกเขยของนายพาร์ธาคนนี้ก็ไปจ้างลุงของเขาให้มาคุมงานก่อสร้างต่ออีกทีหนึ่ง
การสืบสวนของหน่วยงาน ED ยังพบว่าหุ้นของบริษัท Ananta Texfab นั้นก็ถูกโอนไปยังนายกัลยาณมิตร,นางบับลี แชตเตอร์จี และนางโซฮินี แชตเตอร์จีด้วยเช่นกัน ขณะที่นางอาร์พิตา แชตเตอร์จี ได้ให้ปากคำกับหน่วยงาน ED ระบุว่าหลังจากที่นางบับลีเสียชีวิต,นายมาโนช เชนได้มาขอให้เธอเป็นผู้ถือหุ้นแทนนางบับลีในบริษัท Ananta Texfab เนื่องจากว่านางโซฮินี แชตเตอร์จีนั้นใช้ชีวิตอยู่ในต่างประเทศในช่วงที่นางบับลีเพิ่งจะเสียชีวิต
“นายมาโนชว่าเป็นผู้ช่วยที่เชื่อถือได้ของนายพาร์ธา แชตเตอร์จี”นางอาร์พิตากล่าวถึงนายมาโนช
ขณะที่ในสำเนาคำฟ้องระบุว่าในระหว่างการสอบสวน นายกฤษณะ จันทรา อธิการี (Krishana Chandra Adhikary) ลุงของนายกัลยาณมิตรซึ่งมีธุรกิจฟาร์มสัตว์ และมีรายได้อย่างน้อยเดือนละ 2-3 หมื่นรูปี (9,200-13,000 บาท) ก็ยังได้รับข้อเสนอจากผู้เป็นหลานชายให้จัดตั้งบริษัทอีกแห่งชื่อว่า Botanix Agrotech Pvt. Ltd เพื่อให้ดำเนินธุรกิจ
ทางนายกฤษณะ จันทรา ให้ปากคำกับ ED ว่าผู้เป็นหลานนั้นได้ตัดสินใจลงทุนด้วยเงิน 1 แสนรูปี (46,163 บาท) ในบริษัท และเขาจะคอยดูแลเรื่องกิจการการเงินต่างๆของบริษัท ขณะที่ตัวนายกฤษณะ จันทราจะได้รับเงินตอบแทนอยู่ที่ 50,000 รูปี (23,081 บาท) ต่อเดือน
นายกฤษณะ จันซากล่าวต่อไปว่าตัวเขายังเป็นหุ้นส่วนกับบริษัทอื่นๆได้แก่บริษัท Adhikary Traders, บริษัท SKP Enterprises Pvt Ltd, บริษัท Improline Constructions Pvt. Ltd และบริษัท HEI Wealth Creation Realtors Pvt. Ltd ซึ่งบริษัททั้งหมดนั้น ก็มีผู้ก่อตั้งคือนายกัลยาณมิตร ผู้เป็นหลานชายนั่นเอง
“บริษัททั้งหมดนี้ถูกควบคุมโดนนายกัลยาณมิตร และตัวนายกฤษณะ จันทราเองก็ไม่ได้มีความรู้เกี่ยวกับบริษัทเหล่านี้เลย” สำนำฟ้องระบุ
ยิ่งไปกว่านั้นนายกฤษณะ จันทรา ยังได้ระบุตัวเองว่าเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารของโรงเรียนนานาชาติ BCM ขณะที่นายกัลยาณมิตรนั่งเป้นประธานและยังเป็นผู้จัดการมรดกของมูลนิธิบับลี แชตเตอร์จี ซึ่งมูลนิธิดังกล่าวนั้นถูกระบุว่าเป็นกองทุนทรัสต์เพื่อการกุศล
หน่วยงาน ED ได้ตรวจสอบพบด้วยว่ามีการซื้ออสังหาริมทรัพย์หลายแห่งภายใต้ชื่อของนายกฤษณะ จันทรา,ผู้เป็นภรรยาของนายกฤษณะ จันทรา และภายใต้ชื่อบริษัท Botanix Agrotech ให้กับทางโรงเรียน ซึ่งในสำเนาคำฟ้องระบุว่าที่ไปที่มาของเงินที่ถูกนำไปใช้ในการซื้ออสังหาริมทรัพย์นั้นก็มาจากสินบนการสมัครเข้าเป็นบุคลากรครูนั่นเอง
โรงเรียนนานาชาติ BCM
“คำแถลงการณ์ของกรรมการบริษัทปลอมๆและตัวแทนของบริษัทได้แก่นายมาโนช เชน และนายคามาล กุมาร ภูโทเรีย เป็นข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนว่าบริษัทอย่าง Ananta Texfab Pvt Ltd นั้นถูกจัดตั้งขึ้นมาภายใต้คำแนะนำของนายพาร์ธา แชตเตอร์จี ซึ่งเขานั้นได้ดำเนินการใช้คนกลางเพื่อให้เป็นกรรมการบริษัทเปลือกหอยแบบปลอมๆเพื่อที่จะซุกซ่อนเงินซึ่งมาจากกิจกรรมที่ผิดกฎหมายของเขาเอาไว้ โดยคนกลางเหล่านี้นั้นระบุชัดเจนว่าพวกเขาไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่จะปฏิเสธการดำเนินการที่ผิดกฎหมายซึ่งมาจากนายพาร์ธา แชตเตอร์จีได้ เนื่องจากว่านายพาร์ธานั้นเป็นรัฐมนตรีที่มีอำนาจและมีอิทธิพลในรัฐบาลของรัฐเบงกอลตะวันตก” เอกสารสำเนาคำฟ้องระบุ
ในเอกสารสำเนาคำฟ้องได้ระบุต่อไปด้วยว่าบริษัทย่อยอีกแห่งของบริษัท Ananta Texfab ชื่อว่าบริษัท Viewmore Highrise Pvt Ltd นั้นก็เป็นอีกบริษัทที่ถูกใช้เพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์และทรัพย์สินอื่นๆที่มีมูลค่าสูงด้วยเช่นกัน
@บริษัทเหล่านี้ดำเนินกิจการกันอย่างไร
หน่วยงาน ED ระบุว่านายพาร์ธาได้มีการจัดตั้งบริษัทเปลือกหอยไว้เป็นจำนวนมากเพื่อจะดำเนินการฟอกเงินสินบนจากผู้สมัครบุคลากรในโรงเรียนของรัฐที่ไม่ผ่านเกณฑ์คัดเลือก โดยในสำเนาคำฟ้องระบุว่ามีการว่าจ้างผู้ที่ยากจนและคนไม่มีงานทำให้เข้ามาเป็นกรรมการบริษัทเปลือกหอยจำนวนหลายแห่ง ซึ่งพวกเขาเหล่านี้จะได้เงินเดือนไปประมาณ 5,000-15,000 รูปี (2,300-6,900 บาท) แต่กรรมการบริษัทบางคนให้การกับหน่วยงาน ED ว่าพวกเขาไม่เคยได้รับค่าตอบแทนใดๆเลย
ยกตัวอย่างเช่นนายสเนฮามอย ดัตตา (Snehamoy Dutta) กรรมการบริษัท Echhay Entertainment ตั้งแต่ปี 2557-2562 และกรรมการบริษัท Symbiosis Merchants ตั้งแต่ปี 2554-2562 ตามข้อมูลบันทึกจดทะเบียนบริษัท ก็ได้กล่าวในบันทึกของหน่วยงาน ED ว่าเขาถูกร้องขอจากนายพาร์ธาให้เข้ามาเป็นกรรมการบริษัทจำนวนสองแห่ง
ทว่าบทบาทของเขาในบริษัท Symbiosis Merchants ก็มีแค่การเซ็นเอกสารงบดุลและเอกสารอื่น ๆ ตามแต่ที่นายพาร์ธาจะสั่งมาเท่านั้น ซึ่งกรณีนี้ก็ยังรวมไปถึงกรณีการซื้อสำนักงานบริษัทแห่งหนึ่งใกล้กับห้างสรรพสินค้าทางตอนใต้ของเมืองโกลกัตตาด้วยเช่นกัน
นายสเนฮามอย ดัตตาได้ให้การกับอธิบดีกรมสรรพากรด้วยเช่นกันว่าเขานั้นรับรู้ว่ามีเงินที่อธิบายไม่ได้คิดเป็นจำนวน 25,740,000 รูปี (11,882,590 บาท) เข้ามายังบริษัท Symbiosis Merchant ในช่วงระหว่างปี 2555-2556 ด้วยเช่นกัน ซึ่งในรายละเอียดระบุว่าเป็นหุ้นแบบพรีเมี่ยมของบริษัท
@ข้อมูลจากนักบัญชี
ทางด้านของนายคิชาน กุมาร เดราซารี ผู้สอบบัญชี ให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่หน่วยงาน ED ระบุว่าในเดือน พ.ย. 2563 เขานั้นถูกร้องขอจากนักบัญชีชื่อว่านายมันตู จาฉา (Mantu Jha) ให้เป็นฝ่ายบัญชี เพื่อที่จะได้ดำเนินการเป็นผู้สอบบัญชีให้กับทั้งบริษัท Echhay Entertainment, บริษัท Symbiosis Merchant, และบริษัท Sentry Engineering
ในสำเนาคำฟ้องระบุด้วยว่านายคิชานนั้นทำงานเป็นผู้สอบบัญชีในช่วงปี 2562-2563 และต่อมาก็ในปี 2563-2564 โดยเมื่อหน่วยงาน ED ได้สอบถามเกี่ยวกับการโอนเงินอันน่าสงสัยจำนวนสามครั้งมายังบัญชีของบริษัท Echhay Entertainment คิดเป็นจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น 20 ล้านรูปี (9,232,782 บาท) นายคิชานกล่าวว่าเขาได้ไปถามนายมันตูให้ระบุถึงรายละเอียด แต่ว่าก็ไม่สามารถจะติดต่อนายมันตีได้แต่อย่างใด
โดยคำให้การของนายคิชานนั้นลงวันที่ 7 ก.ย. ที่ผ่านมา
@ความเชื่อมโยงกับประเทศไทย
กลับมาที่นายสเนฮามอย ดัตตา ซึ่งตอนนี้เป็นอดีตกรรมการบริษัท Symbiosis Merchants ไปแล้ว ก็ได้ให้ปากคำกับหน่วยงาน ED ว่าในช่วงระหว่างปี 2557-2558 เขาได้ร่วมเดินทางไปกับนายพาร์ธา แชตเตอร์จี และนางอาร์พิตา มูเคอร์จี ไปยัง จ.ภูเก็ต ประเทศไทย ซึ่งในเวลานั้นนายพาร์ธายังคงดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีอยู่ โดยการเดินทางดังกล่าวนั้นเป็นไปตามคำเชิญของหน่วยงานแห่งหนึ่งในประเทศไทย แต่ว่าตัวนายสเนฮามอยต้องแบกรับค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด
ทางหน่วยงาน ED ได้มีการตรวจสอบเกี่ยวกับข้อกล่าวหาที่ว่าเงินที่ได้มาจากสินบนการคัดเลือกบุคลากรประจำโรงเรียนนั้นอาจถูกนำไปลงทุนกับธุรกิจในประเทศไทย โดยได้มีการสอบปากคำนายพาร์ธาในเรื่องนี้ไปแล้ว แต่ว่าเขายังคงปฏิเสธ ซึ่งทางนายพาร์ธากล่าวว่าเขาและนางอาร์พิตาได้เดินทางไปทั้งสิงคโปร์,กรุงเทพ เมื่อนานมาแล้ว และตอนนั้นยังได้เดินทางไปรัฐกัว (รัฐชายฝั่งทางตอนใต้ของอินเดีย) ด้วยเช่นกัน
นายพาร์ธาอ้างว่าเขาเดินทางไปมาแล้วหลายที่กับเพื่อนร่วมงานของเขาในช่วงปีที่ผ่านมา ทำให้เขาจำทุกๆรายละเอียดไม่ได้ ซึ่งหน่วยงาน ED ระบุว่าภายใต้เงื่อนไขของการไม่เปิดเผยตัวตน นายพาร์ธาได้ให้การยืนยันว่าเขาไม่ได้มีธุรกิจในประเทศไทยอย่างแน่นอน
“อย่างไรก็ตาม นายพาร์ธากล่าวต่อไปว่าเขาไม่มั่นใจว่านางอาร์พิตาจะถือครองทรัพย์สินบางอย่างในประเทศไทยไว้หรือไม่” เอกสารคำฟ้องระบุ
- ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อ บ.นอกอาณาเขตเอื้อ ปย.อดีตพ่อค้าอาวุธให้ 'ซัดดัม' นานเกือบ 30 ปี
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการญี่ปุ่นสั่งสอบ ปมคนสนิท กก.โอลิมปิกตั้ง บ.ที่ปรึกษารับเงินเอกชน
- ส่องคดีทุจริตโลก: เมื่อพิพิธภัณฑ์ศิลปะนิวยอร์ก ถูก จนท.ยึดโบราณวัตถุผิด กม.นับสิบชิ้น
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยข้อมูล 'นาจิบ'-ปธ.พรรคอัมโนเอี่ยวโครงการเรือรบฉาว 7.2 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.ลับปานามาเปเปอร์สรับโอน 1.5 พัน ล.โครงการเรือรบมาเลเซีย 7.2 หมื่นล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ทร.มาเลเซียเซ็นสัญญาต่อเรือรบ 6 ลำ 7.2 หมื่น ล.เกือบสิบปี ยังไม่ส่งมอบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เผยเครือข่าย บ.เปลือกหอยอังกฤษ เอื้อผลประโยชน์คนใกล้ชิด ปธน.ปูติน
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉขบวนการถ่ายน้ำมันรัสเซียนอกชายฝั่งอังกฤษ ส่งรายได้หนุนสงครามยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอย 'บ.อิสราเอล' ส่งออกสปายแวร์เพกาซัส ให้ รบ.ตปท.สอดแนมประชาชน
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง 'อูเบอร์ไฟล์'แฉเอกชนล็อบบี้โอลิการ์ชแลกทำธุรกิจแท็กซี่รัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: สตง.อังกฤษสอบนโยบาย 'บอริส จอห์นสัน' ส่อย้อมแมวสร้าง รพ. 40 แห่ง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเส้นทางฟอสเฟตซีเรีย สู่โรงงานปุ๋ยยุโรป ส่งรายได้เข้าโอลิการ์ชรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: จนท.องค์การเภสัชอินเดียรับสินบน แลกอนุมัติยกเลิกทดลองอินซูลินระยะ 3
- ส่องคดีทุจริตโลก: ธนาคารเครือยักษ์ใหญ่รัฐบอลติก เอี่ยวฟอกเงินหมื่น ล.โอลิการ์ชรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: ปลด รมต.สธ.เวียดนาม เซ่นปมขายชุดตรวจโควิดแพง 45% เอกชนฟันกำไร 709 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:นักธุรกิจจีนเอี่ยวคดีสินบน อดีตที่ปรึกษาฮุนเซน ถือหุ้นสโมสรเบอร์มิงแฮม
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเส้นทางการเงินคดีให้สินบนนายพลจีน สู่คฤหาสน์พันล้าน ณ แวนคูเวอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงข้อพิรุธธุรกรรม เชื่อมโยงทอง 3 ตันประเทศกินี ส่อถูกฟอกในอังกฤษ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ย้อมแมวจรวด,โดรน-กินส่วนต่างวิทยุ 3 พันล. ต้นเหตุรัสเซียติดหล่มในยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดข้อพิรุธเอกชนไร้ประสบการณ์ ชนะสัญญาชุด PPE รบ.ออสเตรเลีย หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอยสินบนเรือดำน้ำมาเลเซีย พัน ล.! ฝรั่งเศสสั่งสอบ บ.ต่อเรือรบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'รมต.สเปน'โดนสอบ ใช้ช่องพิเศษอนุมัติสัญญาโควิดเอื้อ บ.พวกพ้อง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมคอรัปชั่นในกองทัพรัสเซีย-งบปี 65 รวม 2 ล้าน ล.ไม่รู้ไปไหนบ้าง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเครือข่ายขโมยเงินสนับสนุนอาหารอียู 694 ล. นำไปซื้อแฟลต-กระเป๋าหรู
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ไมโครซอฟท์'ถูกอดีตลูกจ้างแฉ-พนง.รวมหัว บ.คู่ค้า,จนท.รัฐ ทุจริตหลาย ปท.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเครือข่าย บ.เปลือกนอกหนุนเผด็จการซีเรีย-หลบมาตรการคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง บ.กฎหมายยักษ์ใหญ่ รับงานช่วยโอลิการ์ชรัสเซียรอดมาตรการคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง 'ดูไบ' แหล่งกบดานเศรษฐีหนีคดี หลังโลกตามอายัดเงินจากรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อีริคสัน' ส่อเอี่ยวจ่ายเงินให้กลุ่ม ISIS แลกทำธุรกิจใน 'โมซุล'
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเครือข่ายธนาคารดันสเก เอสโตเนีย ไฉนเป็นเส้นทางฟอกเงิน 5.1 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อังกฤษ' ยกเลิกวีซ่านักลงทุน หวั่นเปิดช่องฟอกเงิน โต้ 'วิกฤติยูเครน'
- ส่องคดีทุจริตโลก: อายุน้อยร้อย ล.-เมื่อเด็กเป็นเจ้าของ บ.ในลักเซมเบิร์กเกือบ 300 แห่ง
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อังกฤษ'ยึดทรัพย์ทุจริต'อาเซอร์ไบจาน' แสน ล.โยงฟอกเงินผ่าน'เอสโตเนีย'
- ส่องคดีทุจริตโลก:'คูเวต'เร่งสอบ ปมจัดซื้อเครื่องบินไต้ฝุ่น 2.9 แสน ล.แพง
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อัยการเบอร์ลิน'สอบผู้บริหารพรรคกรีนส์-รมต.อนุมัติโบนัสโควิดไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.อิสราเอล จ่อตั้ง กก.สอบปมสินบนเรือดำน้ำเยอรมนี หลังเรื่องแดงปี 59
- ส่องคดีทุจริตโลก:'เพนตากอน'ถลุงงบหลายแสน ล.ไร้ประสิทธิภาพ-เอื้อปย.เอกชนช่วงสงครามอัฟกาฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโก' ปธน.เบลารุส บุคคลคอร์รัปชันแห่งปี 64