มีรายงานด้วยว่าผู้จัดการด้านลูกสัมพันธ์รายหนึ่งจากธนาคารนอร์เดียในประเทศเอสโตเนียนั้นได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับตัวแทนของกลุ่มบริษัทที่เป็นของนายยูริ บูต็อก อดีตพันโทของกองทัพบกสหภาพโซเวียต และต่อมาเขาก็ได้มาเป็นหัวหน้าสาขาเอสโตเนียของธนาคารกลางรัสเซียอยู่ครั้งหนึ่งด้วยเช่นกัน ... อย่างไรก็ตามพบว่านายบูต๊อกคนนี้มีการถอนเงินจากบัญชีธนาคารที่เอสโตเนียเป็นมูลค่าสูงมากกว่าจำนวนเงินเดือนที่พึงมี ณ เวลานั้น ...สรุปข้อมูลจากรายงานได้ว่ากลุ่มบริษัทของนายบูต๊อกจำนวนหลายแห่งนั้นสามารถจะเอาเงินออกจากธนาคารนอร์เดียในเอสโตเนียไปได้กว่า 947 ล้านยูโร (35,019 ล้านบาท) ทั้งๆที่กลุ่มบริษัทที่ว่านี้นั้นไม่มีลูกจ้าง,ไม่ได้จ่ายภาษี และไม่มีแม้กระทั่งตัวตนของที่ทำการจริงๆอยู่เลย
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้ขอเสนอประเด็นเรื่องความไม่โปร่งใสในระบบทางการเงินของทวีปยุโรปกันอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากพบว่าธนาคารผู้ทรงอิทธิพลในกลุ่มประเทศรัฐบอลติกนั้นแท้จริงแล้วอาจจะมีส่วนในการฟอกเงินกับกลุ่มผู้มีอำนาจอันไม่โปร่งใสในประเทศรัสเซียและในที่อื่นๆ
โดยประเด็นดังกล่าวนั้นสืบเนื่องมาจากรณีที่ในปี 2559 ธนาคารนอร์เดียของฟินแลนด์และธนาคารดีเอ็นบีของประเทศนอร์เวย์ได้ประกาศควบรวมกิจารกับธนาคารสาขาย่อยในประเทศเอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย เพื่อที่จะก่อตั้งกิจการธนาคารลูมิเนอร์ ซึ่งธนาคารนี้ได้กลายเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสามในกลุ่มประเทศบอลติก โดยมีลูกค้ามากกว่าล้านคน
แต่อย่างไรก็ตามสำนักข่าวองค์กรสื่อมวลชนที่ไม่แสวงหาผลกำไรต่อต้านคอร์รัปชันหรือ The Organized Crime and Corruption Reporting Project (OCCRP) และหนังสือพิมพ์ Berlingske ของประเทศเดนมาร์กได้เปิดเผยว่ามีกรณีการฟอกเงินเป็นจำนวนมากภายในการดำเนินงานในกลุ่มธนาคารของประเทศรัฐบอลติกที่ชื่อว่าธนาคาร Danske ซึ่งธนาคารดังกล่าวนี้ก็อยู่ในแผนของการควบรวมกิจการดีเอ็นบีและนอร์เดียด้วยเช่นกัน แต่ทว่าแผนการควบรวมกิจการธนาคาร Danske นั้นก็ได้ถูกละทิ้งไปเนื่องจากประเด็นเรื่องอื้อฉาวต่างๆที่เกิดขึ้น
ขณะที่นายแคสเปอร์ ฟอน คอสกูล อดีตผู้บริหารธนาคารนอร์เดียในช่วงที่มีข่าวเรื่องของการควบรวม นั้นถูกกดดันอย่างหนักจากสื่อในประเทศฟินแลนด์ จนทำให้ต้องออกมาปฏิเสธแล้วว่าธนาคารของเขานั้นไม่ได้มีส่วนร่วมเกี่ยวกับปัญหาใดๆกับธนาคารสาขาในกลุ่มประเทศบอลติกแต่อย่างใด
“ไม่เคยมีข้อสงสัยเกี่ยวกับประเด็นเรื่องการฟอกเงินที่มีต่อธนาคารลูมิเนอร์ อีกทั้งจำนวนธุรกรรมระหว่างประเทศในธนาคารนั้นก็ถือว่ามีน้อยมาก” นายคอสกูลกล่าวกับหนังสือพิมพ์เฮลซิงกิ ซาโนแมต (Helsingin Sanomat) ในช่วงเดือน ต.ค. 2561
อย่างไรก็ตาม OCCRP ได้รวบรวมรายงานตรวจสอบที่ไม่เคยเปิดเผยจำนวนสองรายงานที่เปิดโปงว่ามีเงินนับหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ถูกฟอกผ่านธนาคารนอร์เดียและดีเอ็นบีด้วยเช่นกัน ก่อนที่จะมีการควบรวมกิจการ ซึ่งรายงานที่ว่ามานี้นั้นมีการสรุปข้อมูลในเดือน พ.ค. 2562 ผ่านการทำงานของทีมงานผู้ตรวจสอบภายในและบริษัทที่ปรึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ชื่อว่าบริษัท อัลมาเรซ แอนด์ มาร์ซาล (Alvarez & Marsal)
โดยรายงานที่ว่านี้ครอบคลุมไปถึงการทำธุรกรรมเป็นระยะเวลากว่าสิบปีในธนาคารจำนวนหกแห่งที่ถูกควบรวม คิดเป็นมูลค่าธุรกรรมรวมกว่า 1.6 ล้านล้านยูโร หรือประมาณเกือบ 60 ล้านล้านบาท
สำหรับการตรวจสอบพบว่ามีการโอนเงินอย่างน้อย 3.9 พันล้านยูโร (144,220 ล้านบาท) ที่มีความเสี่ยงว่าอาจเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทางการเงิน,การโอนเงินโดยไม่สามารถอธิบายถึงที่มาของเงินได้ และการโอนเงินที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเปลือกหอยต่างๆ
ส่วนการทำธุรกรรมอีกว่า 1.73 หมื่นล้านยูโร (639,745 ล้านบาท) นั้น ณ เวลานี้ก็กำลังถูกตรวจสอบเช่นเดียวกัน
โดยรายงานของผู้สอบบัญชีนั้นระบุว่ามีลูกค้ามากว่าหลายสิบรายของธนาคารนอร์เดียและธนาคารดีเอ็นบีนั้นแท้จริงแล้วเป็นผู้ที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นผู้ฟอกเงินและกลุ่มโอลิการ์ช (มหาเศรษฐีผู้มีอำนาจ) ชาวรัสเซีย
สำหรับรายละเอียดธุรกรรมอันน่าสงสัยและมีปัญหามีดังต่อไปนี้
นายเอิร์กกี ราซูเก (Erkki Raasuke) อดีตผู้จัดการผู้บริหารหรือซีอีโอกลุ่มธนาคารลูมิเนอร์เป็นผู้สั่งให้มีการตรวจสอบภายในกลุ่มธนาคารหลังจากปรากฏว่ามีข้อสงสัยเรื่องการฟอกเงินในธนาคารดันสเก
@ลูกค้าของธนาคารดีเอ็นที่ผู้ที่ถูกติดสินบนด้วยเงินจาก FSB
ย้อนไปเมื่อเดือน มิ.ย. 2559 มีรายงานว่านายนิกิตา เบลิคห์ นักการเมืองฝ่ายค้านของรัสเซียนั้นถูกจับกุมในภัตตาคารแห่งหนึ่งในกรุงมอสโก โดยในการจับกุมได้มีการวางเงินจำนวนกว่า 150,000 ยูโร (5,546,926 บาท) ไว้บนโต๊ะอาหารเบื้องหน้าเขา
ทั้งนี้เงินจำนวน 150,000 ยูโรดังกล่าวนั้นแท้จริงแล้วเป็นส่วนหนึ่งของเงินก้อนใหญ่กว่าจำนวน 400,000 ยูโร (14 ล้านบาท) ซึ่งมีการกล่าวหากันว่านายเบลิคห์นั้นได้รับเงินจำนวนดังกล่าวนี้ด้วยว่าเป็นเงินสินบนจากผู้ว่าการรัฐคนหนึ่งในประเทศรัสเซีย ซึ่งนายเบลิคห์ก็ได้ให้การปฏิเสธ โดยอ้างว่าเงินดังกล่าวนั้นแท้จริงแล้วมีไว้สำหรับโครงการในท้องถิ่นจำนวนหลายโครงการ แต่ในที่สุด ศาลรัสเซียก็ได้พิพากษาจำคุกนายเบลิคห์เป็นเวลาแปดปี หลังจากที่ชายที่เขาพบในร้านอาหารที่ถูกจับกุมนั้นได้ให้การปรักปรำตัวนายเบลิคห์เอง
โดยชายที่ให้การปรักปรำนายเบลิคห์นั้นมีชื่อว่านายจูรี ซัดไฮเมอร์ (Juri Sudheimer) ผู้ถือสัญชาติเยอรมนี ซึ่งในปี 2564 ที่ผ่านมา นายซัดไฮเมอร์ได้รับสารภาพต่อเจ้าหน้าที่ของสวิตเซอร์แลนด์ระหว่างการสอบสวนคดีฉ้อโกงแท้จริงแล้วเงินที่เขาได้ให้ต่อนายเบลิคห์นั้นเป็นเงินที่มาจากเจ้าหน้าที่คนหนึ่งของหน่วยงานข่าวกรองความมั่นคงของประเทศรัสเซียหรือที่เรียกว่า FSB
“เจ้าหน้าที่ FSB คนนั้นบังคับให้ผมให้เงินแก่นายเบลิคห์ ซึ่งเงินสินบนดังกล่าวนั้นมันไม่ใช่เงินของผม แต่เป็นเงินของ FSB” นายซัดไฮเมอร์กล่าว
ขณะที่ผู้สื่อข่าวซึ่งได้ไปขอสัมภาษณ์กับนายซัดไฮเมอร์ เขาได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่าคำว่า “เงินของ FSB” นั้นได้ถูกนำออกไปจากบริบทของการสอบสวนของทางการรัสเซียอย่างสิ้นเชิง แต่ทว่านายซัดไฮเมอร์ก็ไม่ได้ให้รายละเอียดต่อไปว่าคำนี้ถูกนำออกไปจากการสอบสวนได้อย่างไร และในเวลาต่อในสำนักงานของนายซัดไฮเมอร์ก็ได้ออกแถลงการณ์ว่าการดำเนินการสืบสวนทุกอย่างนั้นถูกดำเนินการภายใต้กฎหมายและขั้นตอนของสหพันรัฐรัสเซีย
นายนิกิตา เบลิคห์นักการเมืองฝ่ายค้านรัสเซียถูกจับในข้อหาว่ารับเงินสินบนจากผู้ว่าการรัฐแห่งหนึ่งในรัสเซีย แต่ในภายหลังมีผู้ให้การว่าเงินนี้มาจาก FSB
ประเด็นที่น่าสนใจก็คือว่าจากการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีของธนาคารลูมิเนอร์นั้นพบว่าบริษัทแห่งหนึ่งของนายซัดไฮเมอร์ที่ชื่อว่า SCT Lubricants นั้นเป็นลูกค้าของธนาคารดีเอ็นบีในประเทศลิทัวเนียด้วยเช่นกัน และแน่นอนว่ารัสเซียก็ไม่ใช่แหล่งลูกค้าเพียงแห่งเดียวของนายซัดไฮเมอร์ เนื่องจากข้อมูลจากผู้สอบบัญชีนั้นพบว่าบริษัท SCT Lubricants ยังได้ใช้บัญชีของธนาคารดีเอ็นบีเพื่อทำธุรกิจกับรัฐวิสาหกิจน้ำมันแห่งหนึ่งของรัฐบาลเบลารุสที่ชื่อว่านาฟตัน
สำหรับรัฐวิสาหกิจนาฟตันนั้นถูกคว่ำบาตรจากทางสหรัฐฯตั้งแต่เดือน ส.ค. 2554 หลังจากที่นายอเล็กซานเดอร์ ลูกาเชนโก ประธานาธิบดีเบลารุสได้ออกคำสั่งให้ปราบปรามผู้ที่คัดค้านผลการเลือกตั้งอันเป็นที่กังขาอย่างโหดเหี้ยม
โดยข้อมูลจากผู้สอบบัญชีนั้นพบว่าบริษัท SCT Lubricants ได้ทำธุรกรรมกว่า 9.93 ล้านยูโร (367 ล้านบาท) ผ่านบัญชีของธนาคารดีเอ็นบี ลิทัวเนียนับตั้งแต่ช่วงปี 2554 ไปจนถึงเดือน ก.ย. 2560
ส่วนทางด้านของนายดิมิทรี อิกนาตอฟ ผู้บริหารของบริษัท SCT Lubricants ได้กล่าวว่ามาตรการคว่ำบาตรของสหภาพยุโรปหรือว่าอียูนั้นเพิ่งจะมีผลบังคับเมื่อเดือนนี้ ดังนั้นบริษัทจึงไม่ได้มีการละเมิดต่อกฎหมายแต่อย่างใด ในเรื่องของการทำธุรกรรมกับรัฐวิสาหกิจนาฟตันแต่อย่างใด
บริษัทยังได้กล่าวต่อไปด้วยว่าบริษัทได้ดำเนินการแค่ซื้อวัตถุดิบ (ไม่ระบุว่าคืออะไร) กับรัฐวิสาหกิจนาฟตันเท่านั้น ซึ่งนั่นสอดคล้องกับข้อกำหนดเรื่องการคว่ำบาตรที่กำหนดโดยประเทศลิทัวเนีย,อียู,สหประชาชาติ และสหรัฐอเมริกา
ผู้สอบบัญชีได้ตรวจสอบข้อมูลพบด้วยว่าในระหว่างปี 2551 ถึงปี 2561 นั้น มีเงินกว่า 2.7พันล้านยูโร (99,844 ล้านบาท) ไหลผ่านบัญชีธนาคารดีเอ็นบีของบริษัท SCT Lubricants ซึ่งในเงินจำนวนดังกล่าวนั้น ทางผู้สอบบัญชีได้ปักธงแดงเอาไว้ว่ามีธุรกรรมการเงินจำนวนกว่า 217 ล้านยูโร (8,024 ล้านบาท) ที่มีความเสี่ยงว่าจะเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการฟอกเงิน ซึ่งเงินจำนวนกว่า 217 ยูโรที่ว่านี้นั้นพบว่ามีที่มาจากทั้งกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (CIS) ภายใต้การนำของรัสเซีย และมาจากดินแดนภาษีต่ำต่างๆ
ธุรกรรมอันไม่โปร่งใสดังกล่าวนี้ยังได้รวมไปถึงธุรกรรมการโอนเงินจำนวนกว่า 47 ครั้งคิดเป็นมูลค่ากว่า 16.19 ล้านยูโร (598 ล้านบาท) และ 25.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (911 ล้านบาท) ระหว่างบัญชีธนาคารดีเอ็นบีและบริษัทเปลือกหอยจำนวนกว่าสี่แห่งอันได้แก่บริษัท St. Anne Limited, Yispi Trading Inc, Efi Partners S.A และบริษัท Yispi Efi Partners LLP,และธุรกรรมที่บริษัท SCT Lubricants ได้จ่ายเงินให้กับบริษัทที่ชื่อว่า Yispi Trading จำนวนกว่า 6.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (225 ล้านบาท) ระหว่างปี 2560-2561
เส้นทางการเงินของบริษัท บริษัท SCT Lubricants ไปยังบริษัทเปลือกหอยต่างๆ
สรุปก็คือมีการเคลื่อนไหว การโอนเงินกันไปมาระหว่างบริษัทเหล่านี้รวมกว่า 32.36 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (1,245 ล้านบาท)
แต่ผู้สอบบัญชีกลับไม่พบคำอธิบายที่สมเหตุสมผลสำหรับการที่บริษัท SCT Lubricants ได้ดำเนินธุรกิจกับบริษัททั้งหมดเหล่านี้ ซึ่งทั้งหมดนั้นล้วนแล้วแต่มีบัญชีอยู่ในธนาคารสวิสทซึ่งถือว่าขึ้นชื่อในเรื่องของแหล่งความลับทางการเงินของสวิตเซอร์แลนด์
@การคว่ำบาตรและรายงานอันน่าสงสัย
ข้อมูลจากรายงานสอบบัญชียังพบว่ามีลูกค้าของธนาคารนอร์เดียในประเทศลัตเวียจำนวนหลายราย ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นโอลิการ์ชชาวรัสเซีย ที่ถูกทางประเทศยูเครนคว่ำบาตรหลังเหตุการณ์รัสเซียยึดแหลมไครเมียในปี 2557
โดยลูกค้าที่ว่านี้ก็มีอาทินายอเล็กซี่ มอร์ดาชอฟ (Alexey Mordashov) ประธานและและผู้ถือหุ้นหลักในบริษัทเซเวอร์สตัล (Severstal) ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในด้านเหล็กกล้าและการทำเหมืองและนายดมิทรี เมซปิน มหาเศรษฐีชาวเบลารุส-รัสเซีย ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทเคมีภัณฑ์ที่ชื่อว่าอูราลเคม โดยทั้งสองรายนั้นได้ถูกคว่ำบาตรจากสหรัฐฯและอียูด้วยเช่นกันหลังจากที่ประเทศรัสเซียได้รุกรานยูเครน
มีรายงานด้วยว่าผู้จัดการด้านลูกสัมพันธ์รายหนึ่งจากธนาคารนอร์เดียในประเทศเอสโตเนียนั้นได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับตัวแทนของกลุ่มบริษัทที่เป็นของนายยูริ บูต็อก อดีตพันโทของกองทัพบกสหภาพโซเวียต และต่อมาเขาก็ได้มาเป็นหัวหน้าสาขาเอสโตเนียของธนาคารกลางรัสเซียอยู่ครั้งหนึ่งด้วยเช่นกัน ในช่วงที่ยังเป็นสหภาพอยู่ อย่างไรก็ตามพบว่านายบูต๊อกคนนี้มีการถอนเงินจากบัญชีธนาคารที่เอสโตเนียเป็นมูลค่าสูงมากกว่าจำนวนเงินเดือนที่พึงมี ณ เวลานั้น
สรุปข้อมูลจากรายงานได้ว่ากลุ่มบริษัทของนายบูต๊อกจำนวนหลายแห่งนั้นสามารถจะเอาเงินออกจากธนาคารนอ์เดียในเอสโตเนียไปได้กว่า 947 ล้านยูโร (35,019 ล้านบาท) ทั้งๆที่กลุ่มบริษัทที่ว่านี้นั้นไม่มีลูกจ้าง,ไม่ได้จ่ายภาษี และไม่มีแม้กระทั่งตัวตนของที่ทำการจริงๆอยู่เลย
โดยหลังจากที่ผู้สอบบัญชีได้ตรวจสอบพบเจอประเด็นนี้ ทางธนาคารลูมิเนอร์ เอสโตเนีย ก็ได้มีการยื่นรายงานอันน่าสงสัยหรือที่เรียกว่า SAR กับหน่วยงานกํากับดูแลทางการเงินของประเทศ แต่ทว่าในตอนนั้นผู้จัดการฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์คนดังกล่าว ซึ่งไม่ได้มีการระบุชื่อหรือว่าเพศสภาพ ก็ได้ออกจากธนาคารไปแล้ว
ส่วนทางด้านของหน่วยงานกำกับดูแลทางการเงินของเอสโตเนียก็ได้มีการทำแถลงข่าวส่งไปยังสื่อมวลชนในช่วงเดือน ส.ค. 2564 ระบุถึงการตรวจสอบกรณีนี้ว่าได้มีการกำหนดให้ธนาคารปรับปรุงระบบเพื่อป้องกันการฟอกเงินแล้ว
ส่วนรายงาน SAR อีกฉบับ ที่คราวนี้ถูกกรอกมาจากธนาคารดอยซ์แบงก์ส่งไปถึงหน่วยงานกํากับดูแลของสหรัฐฯ ซึ่งรายงานดังกล่าวนั้นได้ปักธงบริษัทอีกแห่งของนายบูต๊อกที่มีชื่อว่าบริษัท Cosmoflop OÜ โดยระบุข้อมูลอ้างอิงจากเอกสารเครือข่ายการปราบปรามอาชญากรรมทางการเงิน ซึ่งในเวลาต่อมาเอกสารนี้ก็ถูกนำไปเผยแพร่โดยสำนักข่าว BuzzFeed News ร่วมกับเครือข่ายผู้สื่อข่าวสอบสืบสวนนานาชาติหรือว่า ICIJ ที่รู้จักกันในชื่อ FinCEN Files
โดยธนาคารดอยซ์แบงก์ที่ทำธุรกรรมการโอนเงินกับบัญชีของธนาคารนอร์เดียนั้นได้ตั้งประเด็นข้อกังวลเกี่ยวกับการที่บริษัท Cosmoflop ได้ดำเนินการโอนเงินกว่า 21.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (750 ล้านบาท) โดยซอยย่อยการโอนเงินดังกล่าวออกเป็นจำนวนทั้งสิ้น 161 ครั้งไปยังบริษัทหลายแห่ง ซึ่งธนาคารดอยซ์แบงก์กล่าวว่าได้มีการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมไปแล้ว แต่ปรากฎว่าทางธนาคารนอร์เดียไม่ได้ให้คำตอบแต่อย่างใด
ยิ่งไปกว่านั้น จากข้อมูลการตรวจสอบภายในของธนาคารลูมิเนอร์ พบว่าทางหน่วยงานต่างๆก็ได้มีการขอข้อมูลจากธนาคารนอร์เดียจำนวนกว่า 35 ครั้ง เกี่ยวกับปฏิบัติการณ์ทางการเงินของนายบูต๊อก ทำให้ธนาคารได้มีการดำเนินการสอบสวนจนพบสัญญาณความไม่ชอบมาพากลกว่า 840 รายการที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรม จึงได้มีการส่งรายงาน SAR จำนวน 18 ฉบับไปให้กับหน่วยข่าวกรองทางการเงินเอสโตเนียหรือว่า FIU
แต่แม้จะมีสัญญาณของความไม่โปร่งในปรากฏออกมา แต่ธนาคารนอร์เดียก็ยังให้บริการกับนายบูต๊อกต่อไปอีกเป็นระยะเวลาถึงห้าปีด้วยกัน ซึ่งในช่วงปลายปี 2560 ก็เป็นช่วงเวลาที่นายบูต๊อกได้เริ่มที่จะผ่องถ่ายทรัพย์สินที่อยู่ในธนาคารออกไป และหลังจากที่มีการควบรวมกิจการจนกลายเป็นกลุ่มธนาคารลูมิเนอร์ บัญชีธนาคารบัญชีสุดท้ายของนายบูต๊อกก็ได้ปิดตัวลงไปในเดือน มี.ค. 2561
อนึ่งผู้สื่อข่าวได้พยายามติดต่อขอสัมภาษณ์นายบูต๊อกทางโทรศัพท์ แต่นายบูต๊อกก็ได้กล่าวเพียงแต่ว่าธนาคารลูมิเนอร์ได้ปิดบัญชีของเขาแล้วแม้ว่าเขาจะพยายามขอยื่นอุทธรณ์ก็ตาม แต่ก็ไม่เป็นผลแต่อย่างใด ซึ่งเมื่อผู้สื่อข่าวได้พยายามถามเกี่ยวกับรายละเอียดเพิ่มเติมนายบูต๊อกก็ได้วางสายโทรศัพท์ทันที
ส่วนธนาคารนอร์เดียก็ปฏิเสธจะให้ความเห็นเกี่ยวลูกค้ารายใดรายหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง โดยยืนยันว่าธนาคารนั้นมีหลักการชัดเจนและในการที่จะไม่เป็นแพลตฟอร์มของการฟอกเงินแต่อย่างใด
ผู้ตรวจสอบบัญชีภายในของลูมิเนอร์ยังได้มีการเปิดเผยเกี่ยวกับความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างผู้จัดการฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์อีกรายหนึ่งของธนาคารนอร์เดียเอสโตเนียกับบุคคลที่ชื่อว่านายเอริค ลิดเม็ตส์
โดยนายลิดเม็ตส์คนนี้พบว่าเคยเป็นเป็นหัวหน้าแผนกธนาคารระหว่างประเทศที่ธนาคาร Danske ของเอสโตเนีย แต่อย่างไรก็ตามธนาคารนี้กำลังถูกสอบสวนว่ามีส่วนเกี่ยวกับธุรกรรมต้องลงสัยมูลค่ากว่า 2.41 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (8,490,912 ล้านบาท) ซึ่งเจ้าหน้าที่สอบสวนเชื่อว่านายลิดเม็ตส์นั้นน่าจะมีส่วนในการจัดตั้งระบบที่ฟอกเงิน โดยนายลิดเม็ตส์นั้นถูกไล่ออกจากธนาคารในปี 2553
ผู้สอบบัญชีนั้นพบว่าผู้จัดการฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ของธนาคารนอร์เดียได้เคยทำงานกับนายลิดเม็ตส์ในสถาบันสินเชื่อที่อื่นมาก่อนหน้านี้ ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าสถาบันสินเชื่อที่ว่านี้ก็คือธนาคาร Danske นั่นเอง
มีรายงานด้วยว่ามีครั้งหนึ่งที่นายธนาคารนอร์เดียได้เคยให้บริการนายลิดเม็ตส์ ในฐานะที่ว่าเขาเป็นสมาชิกกรรมการของบริษัทอสังหาริมทรัพย์แห่งหนึ่งชื่อว่า Paavli Estate OÜ ซึ่งบริษัทแห่งนี้ก็เป็นลูกค้าของธนาคารนอร์เดียอีกนั่นเอง ทว่าจากการตรวจสอบลงลึกในรายละเอียดพบว่าบริษัท Paavli Estate OÜ นั้นแท้จริงแล้วมีเจ้าของคือนักธุรกิจชาวรัสเซียจำนวนสองคน ที่ธนาคารของพวกเขานั้นต้องปิดตัวลงในปี 2558 ด้วยข้อสงสัยว่าธนาคารแห่งนี้นั้นอาจจะเกี่ยวข้องกับการฟอกเงินก็เป็นได้
แต่ว่าลูกจ้างของธนาคารนอร์เดียก็ไม่เคยรายงานในประเด็นเรื่องของการขัดกันแห่งผลประโยชน์ในเรื่องของการทำงานกับนายลิดเม็ตส์แต่อย่างใด ซึ่งอันที่จริงแล้วนายธนาคารที่ให้บริการกับนายลิดเม็ตส์คนดังกล่าวนั้นออกจากกลุ่มธนาคารลูมิเนอร์ก่อนที่จะมีการสอบสวนเกิดขึ้นด้วยซ้ำ
ขณะที่ตัวนายลิดเม็ตส์เองก็ไม่ได้ตอบคำถามของผู้สื่อข่าวแต่อย่างใด
ที่ทำการบริษัทลูมิเนอร์ในเอสโตเนีย
@ความพยายามจะกันโอลิการ์ชออกไป
มีรายงานพบว่ามีความเสี่ยงว่าจะมีการฟอกเงินคิดเป็นมูลค่าที่สูงมากในประเทศลัตเวีย เนื่องจากว่าในการตรวจสอบกรณีความเสี่ยงสูงเรื่องการฟอกเงินจำนวนกว่า 30 รายการ พบว่ามีการส่งรายงาน SAR จำนวนกว่า 22 ฉบับไปให้กับหน่วยงานตรวจสอบทางการเงินต่างๆในรัฐบอลติก และแน่นอนว่ารายงาน 15 ฉบับอยู่ในประเทศลัตเวีย
โดยพบข้อมูลว่ามีลูกค้าที่มีความเสี่ยงสูงมากกว่า 100 ราย ครอบคลุมธุรกรรมทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าเหล่านี้รวมกว่า 7.7 พันล้านยูโร (284,742 ล้านบาท) ซึ่งทางด้านของผู้สอบบัญชีก็ได้ปักธงเพื่อให้มีการสอบสวนเพิ่มเติมในกรณีดังกล่าวนี้ด้วยเช่นกัน
และในเวลาต่อมีก็มีรายงานว่ากลุ่มลูมิเนอร์ได้มีการยุติการให้บริการลูกค้าที่น่าสงสัยไปอย่างน้อยกว่า 17 ราย
สำหรับลูกค้าที่ถูกยุติการให้บริการในเดือน พ.ค. 2562 นั้น ทางผู้สอบบัญชีได้ตรวจสอบพบว่าแท้จริงแล้วคือโอลิการ์ชรัสเซียที่ถูกคว่ำบาตรโดยยูเครนที่ชื่อว่านายมอร์ดาชอฟและนายเมซปินนั่นเอง
ลูมิเนอร์ยังได้ยุติการให้บริการกับลูกค้าที่ดูน่าจะเป็นปัญหาอีกสองรายซึ่งมีบัญชีอยู่ในลัตเวีย โดยรายแรกได้แก่บริษัทรถไฟจากเติร์กเมนิสถานที่ชื่อว่า KELK เนื่องจากปัญหาที่ว่าผู้บริหารบริษัทนี้นั้นถูกหมายจับจากหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศ และอีกบริษัทที่ถูกยุติการให้บริการก็ได้แก่บริษัทขนส่งสินค้าสัญชาติรัสเซียที่ชื่อว่า Alpa Centrum เนื่องด้วยข้อสงสัยว่าบริษัทแห่งนี้มีส่วนเกี่ยวกับการช่วยหลบเลี่ยงมาตรการคว่ำบาตร
โดยข้อมูลจากการตรวจสอบภายในพบว่าในปี 2561 Alpa Centrum ได้ทำหน้าที่เป็นคนกลางเพื่อธุรกรรมทางการเงินระหว่างบริษัทในประเทศยูเครนกับบริษัทผู้ผลิตก๊าซในรัสเซียที่ชื่อว่า Novatek ซึ่งหลังจากนี้เป็นเวลาสี่ปี ทางการสหรัฐฯได้มีการคว่ำบาตรบริษัทดังกล่าวเนื่องมาจากเหตุการณ์รัสเซียบุกยูเครน
โดยทั้งสองบริษัทนี้ก็ปฏิเสธที่จะตอบคำถามใดๆกับทางผู้สื่อข่าว
- ส่องคดีทุจริตโลก: ปลด รมต.สธ.เวียดนาม เซ่นปมขายชุดตรวจโควิดแพง 45% เอกชนฟันกำไร 709 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:นักธุรกิจจีนเอี่ยวคดีสินบน อดีตที่ปรึกษาฮุนเซน ถือหุ้นสโมสรเบอร์มิงแฮม
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเส้นทางการเงินคดีให้สินบนนายพลจีน สู่คฤหาสน์พันล้าน ณ แวนคูเวอร์
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงข้อพิรุธธุรกรรม เชื่อมโยงทอง 3 ตันประเทศกินี ส่อถูกฟอกในอังกฤษ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ย้อมแมวจรวด,โดรน-กินส่วนต่างวิทยุ 3 พันล. ต้นเหตุรัสเซียติดหล่มในยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดข้อพิรุธเอกชนไร้ประสบการณ์ ชนะสัญญาชุด PPE รบ.ออสเตรเลีย หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ย้อนรอยสินบนเรือดำน้ำมาเลเซีย พัน ล.! ฝรั่งเศสสั่งสอบ บ.ต่อเรือรบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'รมต.สเปน'โดนสอบ ใช้ช่องพิเศษอนุมัติสัญญาโควิดเอื้อ บ.พวกพ้อง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมคอรัปชั่นในกองทัพรัสเซีย-งบปี 65 รวม 2 ล้าน ล.ไม่รู้ไปไหนบ้าง
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเครือข่ายขโมยเงินสนับสนุนอาหารอียู 694 ล. นำไปซื้อแฟลต-กระเป๋าหรู
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ไมโครซอฟท์'ถูกอดีตลูกจ้างแฉ-พนง.รวมหัว บ.คู่ค้า,จนท.รัฐ ทุจริตหลาย ปท.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เผยเครือข่าย บ.เปลือกนอกหนุนเผด็จการซีเรีย-หลบมาตรการคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง บ.กฎหมายยักษ์ใหญ่ รับงานช่วยโอลิการ์ชรัสเซียรอดมาตรการคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง 'ดูไบ' แหล่งกบดานเศรษฐีหนีคดี หลังโลกตามอายัดเงินจากรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อีริคสัน' ส่อเอี่ยวจ่ายเงินให้กลุ่ม ISIS แลกทำธุรกิจใน 'โมซุล'
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดเครือข่ายธนาคารดันสเก เอสโตเนีย ไฉนเป็นเส้นทางฟอกเงิน 5.1 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อังกฤษ' ยกเลิกวีซ่านักลงทุน หวั่นเปิดช่องฟอกเงิน โต้ 'วิกฤติยูเครน'
- ส่องคดีทุจริตโลก: อายุน้อยร้อย ล.-เมื่อเด็กเป็นเจ้าของ บ.ในลักเซมเบิร์กเกือบ 300 แห่ง
- ส่องคดีทุจริตโลก:'อังกฤษ'ยึดทรัพย์ทุจริต'อาเซอร์ไบจาน' แสน ล.โยงฟอกเงินผ่าน'เอสโตเนีย'
- ส่องคดีทุจริตโลก:'คูเวต'เร่งสอบ ปมจัดซื้อเครื่องบินไต้ฝุ่น 2.9 แสน ล.แพง
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อัยการเบอร์ลิน'สอบผู้บริหารพรรคกรีนส์-รมต.อนุมัติโบนัสโควิดไม่โปร่งใส
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.อิสราเอล จ่อตั้ง กก.สอบปมสินบนเรือดำน้ำเยอรมนี หลังเรื่องแดงปี 59
- ส่องคดีทุจริตโลก:'เพนตากอน'ถลุงงบหลายแสน ล.ไร้ประสิทธิภาพ-เอื้อปย.เอกชนช่วงสงครามอัฟกาฯ
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโก' ปธน.เบลารุส บุคคลคอร์รัปชันแห่งปี 64