ปรากฏข้อมูลว่านายบูร์ลา เป็นคู่ค้าทางธุรกิจกับสามีของนางฟอน เดอร์ เลเยน นี่จึงทำให้หลายคนตั้งข้อสงสัยว่าจะเป็นการเอื้อให้เกิดการทุจริตหรือที่เรียกกันว่าไฟเซอร์เกต (Pfizergate) เกิดขึ้นหรือไม่ ซึ่งการทุจริตดังกล่าวนั้นถ้าเป็นเรื่องจริงก็จะถือเป็นการทุจริตครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์สหภาพยุโรป
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้ขอนำเสนอกรณีข้อขัดแย้งระหว่างบริษัทไฟเซอร์กับประเทศในกลุ่มสมาชิกสหภาพยุโรปหรือว่าอียู
โดยมีรายงานข่าวจากสำนักข่าวในต่างประเทศตั้งแต่เมื่อวันที่ 6 ธ.ค.ที่ผ่านมา ระบุว่าประเทศฮังการีกลายเป็นอีกประเทศในสหภาพยุโรปนอกจากประเทศโปแลนด์ที่ถูกบริษัทไฟเซอร์ฟ้องร้องทางแพ่งในข้อกล่าวหาที่ว่าปฏิเสธที่จะรับและจ่ายเงินค่าวัคซีนโควิด-19 ตามที่ได้ตกลงกันเอาไว้
นายโซลตัน โควัคส์ โฆษกรัฐบาลฮังการีกล่าวผ่านทวิตเตอร์ว่าเกี่ยวกับกรณีการใส่ร้ายประเทศฮังการีอย่างต่อเนื่องโดย @pfizer (ไฟเซอร์) ใน @EU_Commission (คณะกรรมาธิการยุโรป) การจัดซื้อวัคซีนจากไฟเซอร์เต็มไปด้วยข้อสงสัยเรื่องการทุจริต และเห็นได้ชัดว่าวัคซีนเหล่านี้ถูกสั่งซื้อและบังคับให้ใช้ในประเทศสมาชิกในปริมาณมากโดยไม่จำเป็น
โดยประเทศโปแลนด์และประเทศฮังการีได้ตั้งเป้าโจมตีคณะกรรมาธิการยุโรปที่จัดหาวัคซีนเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาของการระบาดใหญ่ ซึ่งผู้สังเกตุการณ์กล่าวว่าการจัดหาวัคซีนที่ว่านี้อาจจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของข้อพิพาททางกฎหมายเกี่ยวกับโครงการจัดหาวัคซีนที่คาดว่าจะมีมากขึ้นจากประเทศสมาชิกในอนาคต
ข่าวไฟเซอร์ฟ้องประเทศโปแลนด์ (อ้างอิงวิดีโอจาก Rise & Shine)
สํานักงานอัยการยุโรปได้เคยออกมายืนยันแล้วเมื่อเดือน ต.ค.2565 ระบุว่าสำนักงานอัยการฯกำลังสอบสวนอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการจัดซื้อวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในอียู ขณะที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของโรมาเนียหรือที่มีตัวย่อว่า DNA ก็ได้ออกมากล่าวเมื่อวันที่ 6 ธ.ค.เช่นกันว่า DNA ได้ดำเนินการสืบสวนนาย Florin Citu อดีตนายกรัฐมนตรีโรมาเนียในข้อกล่าวหาว่าเขาได้ใช้อำนาจที่มีตำแหน่งโดยมิชอบเพื่อดำเนินการจัดซื้อวัคซีนในช่วงการระบาดใหญ่
เมื่อวันที่ 5 ธ.ค.ที่ผ่านมา ที่ศาลชั้นต้นในกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียมมีการนัดไต่สวนครั้งแรก โดยมีฝ่ายจำเลยคือประเทศโปแลนด์ และฝ่ายโจทก์คือบริษัทไฟเซอร์และบริษัทไบออนเทค โดยในรายงานข่าวสำนักข่าว Politico Europe ระบุว่าทั้งสองฝ่ายตกลงจะเลื่อนวันขึ้นศาลออกไปเป็นวันที่ 30 ม.ค.2567
ขณะที่นางคาทาร์ซีนา โซจกา อดีตรัฐมนตรีสาธารณสุข(10 ส.ค.2566- 27 พ.ย.2566) ได้เคยออกมากล่าวเมื่อเดือน พ.ย.ที่ผ่านมาว่าเธอหวังว่าจะบรรลุข้อตกลงกับบริษัทยาไฟเซอร์ได้
บริษัทไฟเซอร์ได้เคยออกมาประกาศเมื่อเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา บอกว่าจะฟ้องประเทศโปแลนด์เพราะไม่ยอมรับและไม่จ่ายเงินค่าวัคซีนโควิด-19 จำนวนกว่า 60 ล้านโดส ซึ่งวัคซีนจำนวนนี้มีกำหนดจะไปถึงประเทศโปแลนด์เมื่อปลายปี 2565 โดยวัคซีนเหล่านี้มีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 1.2 พันล้านยูโร (46,099,375,560 บาท)
การจัดซื้อวัคซีนของประเทศโปแลนด์นั้นเป็นส่วนหนึ่งของโครงการจัดซื้อวัคซีนของคณะกรรมาธิการยุโรปที่ได้ทำข้อตกลงขนาดใหญ่กับบริษัทไฟเซอร์ในปี 2564 ซึ่งระบุว่าจะดำเนินการจัดส่งวัคซีนจำนวนกว่า 1.1 พันล้านโดสไปยังประเทศในยุโรป อย่างไรก็ตามเมื่อเวลาผ่านไป พบว่าบางประเทศกลับถูกประเมินความต้องการวัคซีนในประเทศนั้นๆสูงเกินความจริงไปมาก
ในกรณีของประเทศโปแลนด์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในขณะนั้น ซึ่งก็คือนายอดัม นีดเซียลสกี้ (26 ส.ค.2563- 11 ส.ค.2566) ออกมาประกาศเมื่อเดือน เม.ย. 2565 ว่าประเทศโปแลนด์มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องยุติการจัดซื้อวัคซีนจำนวนกว่า 60 ล้านโดสด้วยเหตุผลเรื่องแรงกดดันทางการเงินอันเกิดจากสงครามรัสเซียและยูเครน ที่ประเทศโปแลนด์นั้นประสบกับภาระทางการเงินเพราะต้องเข้าไปช่วยเหลือผู้ลี้ภัยจากยูเครน
โดยรวมแล้วมีเก้าประเทศจากยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกที่ส่งเสียงแสดงความไม่พอใจเกี่ยวกับกรณีวัคซีนส่วนเกินที่มากเกินความต้องการของตัวเอง ทำให้คณะกรรมาธิการยุโรปต้องเจรจาใหม่ในรายละเอียดเงื่อนไขเบื้องต้นในข้อตกลงกับบริษัทไฟเซอร์ แต่โปแลนด์ก็ไม่ได้มีการเซ็นลงนามในข้อตกลงฉบับแก้ไขนี้ ซึ่งนายนีดเชียลสกี้ออกมาโจมตีเนื้อหาข้อตกลงฉบับแก้ไขว่ามีความอุกอาจเป็นอย่างยิ่ง
ตามข้อมูลจากสำนักข่าว Politico เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. พบว่าไฟเซอร์ร่วมกับบริษัทพันธมิตรอย่างไบออนเทคยังได้ดำเนินการฟ้องร้องกับประเทศฮังการีในเดือน ม.ค.ที่ผ่านมาด้วยเช่นกัน อ้างอิงข้อมูลจากเอกสารของศาล
กรณีประเทศฮังการีมีความคล้ายคลึงกับโปแลนด์ตรงที่ว่าฮังการีกล่าวโทษสงครามยูเครนอันเป็นเหตุทำให้ไม่จ่ายเงินสำหรับวัคซีนโควิด-19 ที่ได้มีการสั่งเอาไว้ และฮังการีก็ได้แสดงเจตจำนงดังกล่าวไปยังบริษัทไฟเซอร์ที่สหรัฐอเมริกาในช่วงเดือน พ.ค.2565
สำหรับรายการของวัคซีนที่ฮังการีพบว่าเป็นวัคซีนจำนวน 3 ล้านโดส มูลค่า 60 ล้านยูโร (2,304,968,778 บาท)
อนึ่งรัฐบาลฮังการีมีการวิพากษ์วิจารณ์โครงการจัดหาวัคซีนร่วมของอียูมาอย่างยาวนาน และออกจากโครงการนี้ไปเมื่อเดือน พ.ค.2564 โดยฮังการีอ้างว่ามีปริมาณวัคซีนสำรองมากพอแล้วและกำลังมีการก่อสร้างโรงงานวัคซีนขนาดใหญ่ของตัวเอง แต่ในที่สุดโรงงานนี้ก็ไม่ได้ถูกสร้างขึ้น
ทว่าหกเดือนหลังจากที่ฮังการีถอนตัว นายวิกเตอร์ ออร์บัน นายกรัฐมนตรีกลับเปลี่ยนใจและลงนามใหม่อีกครั้ง ในเดือน พ.ย.2564 โดยเลขาธิการด้านสื่อของนายออร์บันในตอนนั้นกล่าวว่าฮังการีได้สั่งซื้อวัคซีนไปกว่า 9.5 ล้านโดส มูลค่า 195 ล้านยูโร (7,491,148,528 บาท)
กรณีการพิพาททางกฎหมายกับบริษัทไฟเซอร์ยังส่งผลกระทบต่อประเทศโปแลนด์ เพราะทำให้ตอนนี้โปแลนด์ไม่ได้รับวัคซีนที่อัพเกรดแล้วจากบริษัทไฟเซอร์ ขณะที่ชาวโปแลนด์จำนวนกว่า38 ล้านคนต้องพึ่งพาเฉพาะวัคซีนโนวาแวกซ์จากแคนาดาเท่านั้น โดยไม่นานมานี้รัฐบาลโปแลนด์ได้ประกาศว่าจะสั่งวัคซีนโนวาแวกซ์ที่มีการดัดแปลงแล้วจำนวน 1 ล้านโดสเพื่อรับมือกับโควิดโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย XBB.1.5 ที่แพร่ระบาดไปทั่วโลก โดยวัคซีนจะใช้ในกลุ่มประชากรที่มีอายุมากกว่า 12 ปีขึ้นไป
โปแลนด์ยังประสบกับปัญหาอีกประการก็คือว่าระบบการลงทะเบียนที่เปิดในสัปดาห์ที่ผ่านมา อาจจะสร้างความสับสนให้กับประชาชนได้เนื่องจากพวกเขาได้รับการเสนอให้ใช้วัคซีนผสมผสานกันระหว่างวัคซีนโนวาแวกซ์ตัวที่ดัดแปลงเพื่อรับมือกับสายพันธุ์ใหม่ และวัคซีนแบบเดิมของบริษัทไฟเซอร์และบริษัทโมเดอร์นาที่ยังคงค้างสต็อกอยู่และมีความจำเป็นต้องใช้ให้หมด
นอกจากนี้ยังมีข้อขัดแย้งกับบริษัทไฟเซอร์อีกกรณีหนึ่งก็คือว่ายาแพกซ์โลวิดของบริษัทไฟเซอร์ซึ่งเคยถูกใช้รักษาโควิด-19 นั้นตอนนี้ก็ไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลโปแลนด์แล้วด้วยเช่นกัน โดยราคายาแพกซ์โลวิดต่อคอร์สในโปแลนด์นั้นอยู่ที่ 1,200 ยูโร (46,099 บาท)
ที่ประเทศเบลเยียมเองก็มีข้อครหาทางกฎหมาย เมื่อนายเฟรเดริก บัลดัน นักล็อบบี้ยิสต์ได้ดำเนินการฟ้องร้องทางคดีอาญาต่อนางเออร์ซูลา ฟอน เดอร์ เลเยน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป โดยคำฟ้องกล่าวหาว่าเธอมีส่วนในการเป็นนายหน้าในสัญญาวัคซีน 1.1 พันล้านโดสดังกล่าว โดยการฟ้องในครั้งนี้พรรคการเมืองขนาดเล็กของเบลเยียมได้แก่พรรค Vivant และ ส.ส.ของพรรคอีกจำนวนสามคนก็ได้ร่วมกระบวนการฟ้องคดีด้วยเช่นกัน
นางเออร์ซูลา ฟอน เดอร์ เลเยน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรปกล่าวยืนยันเมื่อปี 2564 ว่าไฟเซอร์จะหาวัคซีนได้ทันตามกำหนดการ (อ้างอิงวิดีโอจาก The Telegraph)
ในขณะเดียวกันสำนักข่าวนิวยอร์กไทม์สจากสหรัฐฯ ก็ได้ฟ้องร้องคณะกรรมาธิการยุโรป ในข้อกล่าวหาว่าคณะกรรมาธิการยุโรปปฏิเสธจะเปิดเผยข้อความที่นางฟอน เดอร์ เลเยนได้กล่าวอ้างถึงเมื่อเดือน เม.ย.2564 ในบทความดังกล่าวประธานคณะกรรมาธิการยุโรปได้กล่าวว่าเธอได้หารือเกี่ยวกับความพยายามจัดซื้อวัคซีนและมีการแลกเปลี่ยนข้อความกันกับนายอัลเบิร์ต บูร์ลา ซีอีโอของไฟเซอร์
โดยก่อนหน้านี้นางเอมิลี่ โอ ไรลี่ ผู้ตรวจการยุโรปก็เป็นคนที่ออกมาเรียกร้องหลายครั้งให้นางฟอน เดอร์ เลเยนเปิดเผยรายละเอียดเช่นเดียวกัน แต่เธอก็ยังปฏิเสธ
ทั้งนี้ปรากฏข้อมูลว่านายบูร์ลา เป็นคู่ค้าทางธุรกิจกับสามีของนางฟอน เดอร์ เลเยน นี่จึงทำให้หลายคนตั้งข้อสงสัยว่าจะเป็นการเอื้อให้เกิดการทุจริตหรือที่เรียกกันว่าไฟเซอร์เกต (Pfizergate) เกิดขึ้นหรือไม่ ซึ่งการทุจริตดังกล่าวนั้นถ้าเป็นเรื่องจริงก็จะถือเป็นการทุจริตครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์สหภาพยุโรป
เรียบเรียงจาก:https://balkaninsight.com/2023/12/06/poland-and-hungary-blame-eu-as-pfizer-sues-over-vaccine-deliveries/,https://www.politico.eu/article/pfizer-biontech-sues-hungary-pandemic-court-cases-mount-covid-19/,https://europeanconservative.com/articles/news/pfizer-sues-hungary-poland-over-unused-vaccines/?print-posts=print
อ่านประกอบ:
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกชนเดินเรือใกล้ชิดอดีตนายกฯตุรเคีย ส่งของให้อิสราเอลช่วงวิกฤตกาซ่า
- ส่องคดีทุจริตโลก:จนท.สอบสวนธนาคารเวียดนามรับสินบน เอื้อ ปย.นักธุรกิจอสังหาฯยักยอกแสนล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:บ.ไซปรัสเอี่ยวสัญญาชุด PPE สุดฉาว 8.8 พัน ล.โยงนักการเมืองดังที่อังกฤษ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกชนชนะสัญญาพันล.จ้าง 2บ.ไซปรัส จัดหาหน้ากากด้อยคุณภาพให้ สธ.ออสซี่
- ส่องคดีทุจริตโลก: สธ.มาเลย์ซื้อเครื่องช่วยหายใจช่วงโควิดมีปัญหาเกือบหมด-เอาผิดใครไม่ได้
- ส่องคดีทุจริตโลก: นักธุรกิจบำบัดน้ำเสียจ่ายสินบน จนท.รัฐฮาวาย แลกผูกขาดสัญญานานนับปี
- ส่องคดีทุจริตโลก: ศาลสิงคโปร์ไม่ให้ประกันจีนเทา เหตุมีพาสปอร์ต ตปท.เพียบ หวั่นหลบหนี
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตนายกฯจอร์แดนถือสัญชาติโดมินิกาหลังพ้นตำแหน่ง ทนายยันทำเรื่องถูกต้อง
- ส่องคดีทุจริตโลก:นักธุรกิจจีนเทาขายน้ำวิเศษอ้างนาซารับรอง จ่ายสินบนนักการทูต แลกทำงาน UN
- ส่องคดีทุจริตโลก:สว.สหรัฐฯ ถูกสอบรับสินบน แลกอนุมัติงบช่วยเหลือทางทหาร รบ.อียิปต์หมื่นล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: กห.เดนมาร์กจัดซื้อปืนใหญ่ 8.9 พัน ล.ไม่โปร่งใส แลกบ.อิสราเอลถอนฟ้องคดี
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉทุนจีนสีเทา ถูกจับข้อหาฟอกเงินที่สิงคโปร์ ซื้ออสังหาฯ พันล. ณ ลอนดอน
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉเอกชนอิสราเอล ส่งยุทธภัณฑ์ลอตใหญ่ให้เมียนมา หลังรัฐประหาร
- ส่องคดีทุจริตโลก: จนท.ยูเครนจับอดีตผู้สนับสนุน ปธน.เซเลนสกี โยงทุจริต-ฟอกเงินนับ พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:โครงการพาสปอร์ตทองคำ โยงผู้ต้องสงสัย คดีฟอกเงิน 2.5 หมื่น ล.ที่สิงคโปร์
- ส่องคดีทุจริตโลก:ชี้เป็น ปย.ต่อประชาชน-ศาลสูงสั่ง สธ.แอฟริกาใต้ เปิดทุกสัญญาวัคซีนโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก:คนใกล้ชิด รมว.กห.ยูเครน เอี่ยวจัดซื้อชุดทหารฤดูหนาวด้อยคุณภาพ พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ตร.ออสซี่สั่งสอบ ปมสินบนนักการเมืองนาอูรู แลกสัญญาศูนย์กักกันหมื่นล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉเส้นเงินผิด กม.ผ่านภูมิภาคบอลข่านตะวันตก หลังสงครามรัสเซีย-ยูเครนปะทุ
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตอั๊งยี่จากมาเก๊า สู่นักธุรกิจทุนจีนสีเทา เจ้าของคาสิโนที่เมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ที่ปรึกษาออสซี่ใช้ความลับ รบ.ให้คำแนะนำเอื้อเอกชนยักษ์ใหญ่เลี่ยงภาษี
- ส่องคดีทุจริตโลก:ส.ส.ดังจอร์เจีย อ้างข้อผิดพลาด-ไร้เจตนาซุกอพาร์ทเมนท์หรู ณ ดูไบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: ทหารรับจ้างแวกเนอร์ยึดแอฟริกากลาง หนุนเผด็จการ แลกผลประโยชน์นับแสนล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:อาวุธสวีเดน ถูกอินเดียส่งออกให้ทัพเมียนมา ใช้ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปงเอกชนสวิส ตั้ง บ.ย่อย หลบคว่ำบาตร แอบขายน้ำมันรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมปัญหาการใช้กฎหมายใหม่แคนาดา รับมือโอลิการ์ชลงทุนสินทรัพย์มหาศาล
- ส่องคดีทุจริตโลก: จากปมสินบนโรลซ์รอยส์โยงกรณีอื้อฉาว จัดซื้อ บ.ฝึก ทอ.อินเดียนับหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เส้นทางทองคำ แสน ล.จาก 'รัสเซีย' สู่ UAE หลบมาตรการคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก: ยูเอ็นเผย 'สิงคโปร์' ส่งออกชิ้นส่วนให้กองทัพเมียนมา 8 พัน ล. หลัง รปห.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เผยความมั่งคั่งบิ๊ก ทอ.เมียนมา ให้เครือญาติตั้งบริษัทรับงานนับพันล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตลูกจ้างฟ้องศาล แฉ บ.แคนาดา จ่ายสินบน แลกสัญญารถเกราะยูเครน พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัทพลังงานเยอรมนี เอี่ยวส่งเชื้อเพลิง เอื้อกองทัพรัสเซีย บุกยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: สกอตแลนด์ทำสัญญาจ้างตุรเคีย ต่อเรือ 9 พัน ล. ท้องถิ่นไม่ได้ประโยชน์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกสารหลุดเพนตากอน แฉความสัมพันธ์ รัสเซีย- UAE ช่วยหลบมาตรการคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เจาะลึกระบบธนาคารใต้ดินจีน เอี่ยวฟอกเงินพันล้านแก๊งยาเสพติดยุโรป
- ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการ EU สั่งสอบ งบฟื้นฟูเมืองหลวงบัลแกเรียไม่โปร่งใส เสียหาย ร้อย ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.เซอร์เบีย ส่อใช้งานนักจารกรรมข้อมูลการเงินอิสราเอลโจมตีฝ่ายตรงข้าม
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกชนใกล้ชิดพรรคการเมือง ได้สัญญาส่งอาหารกองทัพลัตเวีย 8 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการสวิสสั่งฟัน 4 นายธนาคาร เอื้อประโยชน์คนสนิทปูตินฝากเงินนับพัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง 3 เอกชนเยอรมนี นำเข้าไม้สักผิด กม.จากเมียนมานานนับปี
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉ หน.ทหารรับจ้างวากเนอร์ หลบคว่ำบาตรตะวันตก หารายได้ พัน ล.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉคอร์รัปชั่นวงการก่อสร้างตุรเคีย ต้นเหตุยอดตายแผ่นดินไหว 4.6 หมื่นศพ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปม บ.เกลมาโต้ถูกกล่าวหาจ่ายคอมมิชชั่นเอื้อทำสัญญาหลาย รบ.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง บ.พลังงานยักษ์ใหญ่ตะวันตก ทำธุรกิจหนุนเส้นเงินเผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมฉาว กห.ยูเครนจัดซื้ออาหารไม่โปร่งใส กระทบความเชื่อมั่นต่างชาติ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ขมวดปมอื้อฉาว ATK สะเทือนพรรคคอมฯเวียดนามอย่างไร หลัง ปธน.ลาออก
- ส่องคดีทุจริตโลก: ตามรอยบุหรี่จีนนับล้านมวนสูญหาย หลังเดินทางออกจากโรงงานในโรมาเนีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงเอกชนรับงานบูรณะถนนยูเครนพันล้าน เชื่อมโยงผู้ต้องหาหนีคดี FBI
- ส่องคดีทุจริตโลก: ประมวลข่าวคอร์รัปชันโลกปี 65 จากโอลิการ์ชรัสเซียถึงเอกสารแพนโดรา