บริษัท ABM จ่ายเงินให้กับบริษัท Neumer รวมกว่า 91 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (2,074,792,720 บาท).....ในเวลาต่อมาบริษัท Neumer ก็ไปจ่ายเงินกว่า 50 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (1,140,564,960 บาท) เพื่อจะจัดซื้อชุด PPE โดยข้อมูลจากเอกสารพบว่าปลายทางของเงินที่บริษัท Neumer จ่ายไป ส่วนมากตกไปอยู่ที่บริษัทที่จดทะเบียนในฮ่องกงชื่อว่าบริษัท Eric Beare Associates
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) สัปดาห์นี้ของอยู่กันที่ประเด็นเรื่องความไม่โปร่งใสของการจัดซื้อเวชภัณฑ์ในช่วงที่มีการระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยสำนักข่าว The Guardian ของสหราชอาณาจักรได้รายงานข่าวกรณีที่ประเทศออสเตรเลียพบว่ามีหน้ากากอนามัยเหลือและไม่สามารถใช้งานได้กว่า 46 ล้านชิ้น
โดยที่ไปที่มาของหน้ากากดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากมีการมอบสัญญากว่า 100 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (2,282,681,000 บาท) ให้กับบริษัทซื้อขายออนไลน์รายหนึ่งที่มีประวัติคลุมเครือ แล้วบริษัทแห่งนี้ก็ไปจัดซื้อเวชภัณฑ์มาอีกทีจากบริษัทที่จดทะเบียนในเขตอำนาจศาลที่มีอัตราภาษีต่ำอย่างเกาะไซปรัส
ความเป็นไปเป็นมาเรื่องนี้เริ่มต้นเมื่อกระทรวงสาธารณสุขออสเตรเลียได้มอบสัญญาเมื่อเดือน เม.ย.และ มิ.ย.2563 ให้กับบริษัทชื่อว่า Australian Business Mobiles NSW หรือตัวย่อว่าบริษัท ABM ซึ่งบริษัทนี้เป็นบริษัทขนาดเล็กมีประสบการณ์ในการขายสินค้าอาทิหม้อทอด,หุ่นยนต์ดูดฝุ่น,เครื่องนอน และปืนนวดไฟฟ้า
จากนั้นบริษัท ABM ก็ได้มีการทำสัญญาต่อเพื่อจะจัดหาชุดป้องกันการติดเชื้อหรือชุด PPE จากสองบริษัทที่จดทะเบียนในไซปรัส โดยบริษัทเหล่านี้มีเจ้าของคือพี่น้องฝาแฝดได้แก่นายริคกี้ และ อีวาน นอยมันน์ และบริษัทในไซปรัสก็สามารถหาเงินได้อีกกว่า 40 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (913,067,200 บาท) จากสัญญานี้ตามข้อมูลเอกสารที่สำนักข่าวการ์เดียนได้รับมา
ข้อมูลบริษัท บริษัท ABM บนเว็บไซต์ linkedin
และไม่นานมานี้ผู้ที่แจ้งเบาะแสเกี่ยวกับข้อตกลงก็ได้มีการตั้งคำถามเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ด้านภาษีของออสเตรเลียเกี่ยวกับข้อตกลงการจัดซื้อดังกล่าว
ตามข้อมูลเอกสารซึ่งรวมถึงรายละเอียดสัญญาระหว่างรัฐบาลออสเตรเลียกับบริษัท ABM และบริษัทจัดหาเวชภัณฑ์อื่นๆ พบว่าบริษัท ABM ได้รับเงินเพื่อจัดหาหน้ากากอนามัยกว่า 50 ล้านชิ้น และชุดกาวน์สำหรับกักตัวอีก 4 ล้านชุด อย่างไรก็ตามสัญญาทั้งสองฉบับจากกระทรวงสาธารณสุขออสเตรเลียพบว่ามีการเจาะจงตัวเลือกผู้เข้าประกวดราคา
ต่อมาพบว่าหน้ากากเกือบ 46 ล้านชิ้นไม่สามารถใช้งานได้ เพราะว่าบริษัทผู้ผลิตหน้ากากจำนวน 5 จาก 7 รายที่จัดส่งหน้ากากมาให้บริษัท ABM นั้นไม่ผ่านกฎระเบียบด้านคุณภาพ และการจัดส่งหน้ากากไปยังคลังเวชภัณฑ์ก็พบว่ามีการผสมหน้ากากเป็นล็อตๆกัน ส่งผลทำให้ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าหน้ากากใดบ้างในคลังที่เป็นไปตามข้อกำหนด
โดยพบว่ามีหน้ากากสองชุดที่เกี่ยวข้องกับสัญญานี้ถูกพบว่ามีข้อบกพร่อง ทำให้ในเดือน มี.ค. 2565 มีการออกคำเตือนว่าไม่ให้ใช้หน้ากากเหล่านี้ในสถานพยาบาลและในโรงพยาบาลอื่นๆ
บริษัท ABM เข้ามามีบทบาทเป็นครั้งแรกหลังจากที่มีกรณีการนำเสนอข้อเสนอ (ซึ่งไม่อาจจะตรวจสอบความน่าเชื่อถือได้) ส่งไปยังสำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขซึ่งตอนนั้นก็คือนายเกร็ก ฮันต์ โดยรายละเอียดข้อเสนอดังกล่าวเสนอว่าจะจัดหาชุด PPE ให้ได้ในช่วงต้นปี 2563 และเป็นที่เข้าใจได้ว่านายฮันต์ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประเมินข้อเสนอหรือว่าการตัดสินใจสั่งซื้อแต่อย่างใด
โฆษกส่วนตัวของนายฮันต์กล่าวว่ามีข้อเสนอมากมายถูกส่งไปยังสำนักงานรัฐมนตรีในช่วงการระบาดครั้งใหญ่และมันเป็นระเบียบมาตรฐานอยู่แล้วที่จะต้องส่งข้อเสนอเหล่านี้เข้าสู่กระบวนการประเมินและตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างเหมาะสม (ว่าข้อเสนอที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์จะเป็นจริงได้มากน้อยแค่ไหน)
และตอนนี้ก็เป็นที่เข้าใจกันได้ว่ารัฐบาลออสเตรเลียชุดปัจจุบันยังไม่ได้เริ่มกระบวนการใดๆเพื่อขอคืนเงินหรือขอหน้ากากทดแทน แต่กำลังสำรวจแนวทางอยู่ว่ารัฐบาลจะสามารถทำได้หรือไม่
สำหรับประวัติของสองพี่น้องนอยมันน์พบว่าทั้งคู่เป็นเจ้าของบริษัทนำเข้าสินค้าในนครซิดนีย์ชื่อว่าบริษัท Intertrading Australia ทว่าบริษัท ABM กลับเซ็นสัญญาจัดหาชุด PPE กับบริษัทสองแห่งในไซปรัสแทน โดยบริษัทที่ไซปรัสนั้นชื่อว่าบริษัท Neumer Trading และบริษัท Neumer Holdings ซึ่งชื่อของบริษัทสองแห่งดังกล่าวเห็นได้ชัดว่าถูกตั้งตามชื่อของสองพี่น้องนอยมันน์
โดยบริษัท ABM จ่ายเงินให้กับบริษัท Neumer รวมกว่า 91 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (2,074,792,720 บาท) จากเงินทั้งหมด 100 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย ที่บริษัท ABM ได้รับมาจากทางรัฐบาลออสเตรเลียในสัญญาเมื่อเดือน เม.ย.และ มิ.ย.2563 ในเวลาต่อมาบริษัท Neumer ก็ไปจ่ายเงินกว่า 50 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (1,140,564,960 บาท) เพื่อจะจัดซื้อชุด PPE โดยข้อมูลจากเอกสารพบว่าปลายทางของเงินที่บริษัท Neumer จ่ายไป ส่วนมากตกไปอยู่ที่บริษัทที่จดทะเบียนในฮ่องกงชื่อว่าบริษัท Eric Beare Associates และบริษัทในฮ่องกงนี้ก็ไปซื้อหน้ากากและชุดกาวน์มาจากโรงงานหลายแห่งในประเทศจีน
หน้าเว็บไซต์บริษัท Eric Beare Associates ซึ่งตัวบริษัทอยู่ที่ฮ่องกง
ตามข้อมูลเอกสารพบว่าบริษัท Neumer สองแห่งในไซปรัสจ่ายเงินไปให้กับบริษัท Eric Beare Associates กว่า 19 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (433,770,570 บาท) สำหรับชุดกาวน์จำนวน 4 ล้านชุด ซึ่งรัฐบาลออสเตรเลียระบุว่าชุดกาวน์เหล่านี้ผ่านเกณฑ์ จ่ายเงินให้บริษัท Eric Beare Associates ไปอีก 27.6 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (630,108,828 บาท) เพื่อซื้อหน้ากากจำนวน 42.5 ล้านชิ้น และจ่ายเงินให้กับบริษัทอื่นๆไปอีก 3.8 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (86,754,114 บาท) เพื่อจะซื้อหน้ากากจำนวนที่เหลืออีก 7.5 ล้านชิ้น
ดังนั้นเมื่อสรุปตัวเลข บริษัท Neumer สองแห่งในไซปรับได้เงินจากบริษัท ABM ไปกว่า 91 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย แต่ใช้เงินไปซื้อชุด PPE แค่ 50 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย ทำให้มีเงินซึ่งต้นทางมาจากสัญญาของรัฐบาลออสเตรเลียเข้าบัญชีบริษัทในไซปรัสกว่า 41ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย
ส่วนเงินจำนวน 41 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลียที่บริษัท Neumer ได้นี้จะไปไหน ก็ไม่อาจจะทราบได้เพราะกฎหมายเรื่องความลับทางการค้าของเกาะไซปรัส
อนึ่งสำนักข่าวการ์เดียนไม่ได้มีการระบุว่าในกรณีนี้มีผู้ที่กระทำความผิดแต่อย่างใด ขณะที่โฆษกส่วนตัวของนายริคกี้ นอยมันน์หนึ่งในเจ้าของบริษัทสองแห่งที่ไซปรัสกล่าวว่า “บริษัทได้ปฏิบัติตามหน้าที่และปฏิเสธว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำความผิดใดๆ โดยการทำธุรกรรมทั้งหมดได้รับการจัดทําเอกสารอย่างถูกต้องและเป็นมืออาชีพโดยสอดคล้องกับเขตอํานาจศาลท้องถิ่น”
ส่วนนายอีวาน นอยมันน์ บริษัท ABM และ Eric Beare Associates ปฏิเสธที่จะตอบคำถามของสำนักข่าว
อ่านประกอบ:
- ส่องคดีทุจริตโลก: สธ.มาเลย์ซื้อเครื่องช่วยหายใจช่วงโควิดมีปัญหาเกือบหมด-เอาผิดใครไม่ได้
- ส่องคดีทุจริตโลก: นักธุรกิจบำบัดน้ำเสียจ่ายสินบน จนท.รัฐฮาวาย แลกผูกขาดสัญญานานนับปี
- ส่องคดีทุจริตโลก: ศาลสิงคโปร์ไม่ให้ประกันจีนเทา เหตุมีพาสปอร์ต ตปท.เพียบ หวั่นหลบหนี
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตนายกฯจอร์แดนถือสัญชาติโดมินิกาหลังพ้นตำแหน่ง ทนายยันทำเรื่องถูกต้อง
- ส่องคดีทุจริตโลก:นักธุรกิจจีนเทาขายน้ำวิเศษอ้างนาซารับรอง จ่ายสินบนนักการทูต แลกทำงาน UN
- ส่องคดีทุจริตโลก:สว.สหรัฐฯ ถูกสอบรับสินบน แลกอนุมัติงบช่วยเหลือทางทหาร รบ.อียิปต์หมื่นล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: กห.เดนมาร์กจัดซื้อปืนใหญ่ 8.9 พัน ล.ไม่โปร่งใส แลกบ.อิสราเอลถอนฟ้องคดี
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉทุนจีนสีเทา ถูกจับข้อหาฟอกเงินที่สิงคโปร์ ซื้ออสังหาฯ พันล. ณ ลอนดอน
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉเอกชนอิสราเอล ส่งยุทธภัณฑ์ลอตใหญ่ให้เมียนมา หลังรัฐประหาร
- ส่องคดีทุจริตโลก: จนท.ยูเครนจับอดีตผู้สนับสนุน ปธน.เซเลนสกี โยงทุจริต-ฟอกเงินนับ พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:โครงการพาสปอร์ตทองคำ โยงผู้ต้องสงสัย คดีฟอกเงิน 2.5 หมื่น ล.ที่สิงคโปร์
- ส่องคดีทุจริตโลก:ชี้เป็น ปย.ต่อประชาชน-ศาลสูงสั่ง สธ.แอฟริกาใต้ เปิดทุกสัญญาวัคซีนโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก:คนใกล้ชิด รมว.กห.ยูเครน เอี่ยวจัดซื้อชุดทหารฤดูหนาวด้อยคุณภาพ พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ตร.ออสซี่สั่งสอบ ปมสินบนนักการเมืองนาอูรู แลกสัญญาศูนย์กักกันหมื่นล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉเส้นเงินผิด กม.ผ่านภูมิภาคบอลข่านตะวันตก หลังสงครามรัสเซีย-ยูเครนปะทุ
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตอั๊งยี่จากมาเก๊า สู่นักธุรกิจทุนจีนสีเทา เจ้าของคาสิโนที่เมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ที่ปรึกษาออสซี่ใช้ความลับ รบ.ให้คำแนะนำเอื้อเอกชนยักษ์ใหญ่เลี่ยงภาษี
- ส่องคดีทุจริตโลก:ส.ส.ดังจอร์เจีย อ้างข้อผิดพลาด-ไร้เจตนาซุกอพาร์ทเมนท์หรู ณ ดูไบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: ทหารรับจ้างแวกเนอร์ยึดแอฟริกากลาง หนุนเผด็จการ แลกผลประโยชน์นับแสนล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:อาวุธสวีเดน ถูกอินเดียส่งออกให้ทัพเมียนมา ใช้ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปงเอกชนสวิส ตั้ง บ.ย่อย หลบคว่ำบาตร แอบขายน้ำมันรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมปัญหาการใช้กฎหมายใหม่แคนาดา รับมือโอลิการ์ชลงทุนสินทรัพย์มหาศาล
- ส่องคดีทุจริตโลก: จากปมสินบนโรลซ์รอยส์โยงกรณีอื้อฉาว จัดซื้อ บ.ฝึก ทอ.อินเดียนับหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เส้นทางทองคำ แสน ล.จาก 'รัสเซีย' สู่ UAE หลบมาตรการคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก: ยูเอ็นเผย 'สิงคโปร์' ส่งออกชิ้นส่วนให้กองทัพเมียนมา 8 พัน ล. หลัง รปห.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เผยความมั่งคั่งบิ๊ก ทอ.เมียนมา ให้เครือญาติตั้งบริษัทรับงานนับพันล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตลูกจ้างฟ้องศาล แฉ บ.แคนาดา จ่ายสินบน แลกสัญญารถเกราะยูเครน พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัทพลังงานเยอรมนี เอี่ยวส่งเชื้อเพลิง เอื้อกองทัพรัสเซีย บุกยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: สกอตแลนด์ทำสัญญาจ้างตุรเคีย ต่อเรือ 9 พัน ล. ท้องถิ่นไม่ได้ประโยชน์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกสารหลุดเพนตากอน แฉความสัมพันธ์ รัสเซีย- UAE ช่วยหลบมาตรการคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เจาะลึกระบบธนาคารใต้ดินจีน เอี่ยวฟอกเงินพันล้านแก๊งยาเสพติดยุโรป
- ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการ EU สั่งสอบ งบฟื้นฟูเมืองหลวงบัลแกเรียไม่โปร่งใส เสียหาย ร้อย ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.เซอร์เบีย ส่อใช้งานนักจารกรรมข้อมูลการเงินอิสราเอลโจมตีฝ่ายตรงข้าม
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกชนใกล้ชิดพรรคการเมือง ได้สัญญาส่งอาหารกองทัพลัตเวีย 8 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการสวิสสั่งฟัน 4 นายธนาคาร เอื้อประโยชน์คนสนิทปูตินฝากเงินนับพัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง 3 เอกชนเยอรมนี นำเข้าไม้สักผิด กม.จากเมียนมานานนับปี
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉ หน.ทหารรับจ้างวากเนอร์ หลบคว่ำบาตรตะวันตก หารายได้ พัน ล.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉคอร์รัปชั่นวงการก่อสร้างตุรเคีย ต้นเหตุยอดตายแผ่นดินไหว 4.6 หมื่นศพ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปม บ.เกลมาโต้ถูกกล่าวหาจ่ายคอมมิชชั่นเอื้อทำสัญญาหลาย รบ.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง บ.พลังงานยักษ์ใหญ่ตะวันตก ทำธุรกิจหนุนเส้นเงินเผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมฉาว กห.ยูเครนจัดซื้ออาหารไม่โปร่งใส กระทบความเชื่อมั่นต่างชาติ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ขมวดปมอื้อฉาว ATK สะเทือนพรรคคอมฯเวียดนามอย่างไร หลัง ปธน.ลาออก
- ส่องคดีทุจริตโลก: ตามรอยบุหรี่จีนนับล้านมวนสูญหาย หลังเดินทางออกจากโรงงานในโรมาเนีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงเอกชนรับงานบูรณะถนนยูเครนพันล้าน เชื่อมโยงผู้ต้องหาหนีคดี FBI
- ส่องคดีทุจริตโลก: ประมวลข่าวคอร์รัปชันโลกปี 65 จากโอลิการ์ชรัสเซียถึงเอกสารแพนโดรา