บอร์ดอีอีซี อนุมัติเงียบ เห็นชอบหลักการแก้สัญญาไฮสปีด 3 สนามบิน 5 ประการ เร่งดัน ครม. อนุมัติต่อ ภายในต.ค.นี้ ก่อนลงนามสัญญาใหม่สิ้นปี ปลดล็อก NTP ส่งมอบซี.พี. ต้นปีหน้า ส่วน MRO ดึงมาทำเอง ถอด ‘การบินไทย’ ออก หลังพ้นความเป็นรัฐวิสาหกิจตั้งแต่ปี 63
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า วันที่ 13 ตุลาคม 2567 นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) นโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 4/2567 เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2567 ที่มีนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน มีมติเห็นชอบหลักการการแก้ไขปัญหาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา) โดยการปรับปรุงสัญญาร่วมลงทุนเพื่อผลักดันให้โครงการ สามารถเดินหน้าต่อไปได้ บนพื้นฐานที่ภาครัฐไม่เสียประโยชน์ และภาคเอกชนไม่ได้ประโยชน์เกินสมควร โดยจะเสนอการแก้ไขสัญญาต่อ ครม. เพื่อพิจารณาใน 5 ประเด็น ประกอบด้วย
1.วิธีชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุน (Public Investment Cost : PIC) จากเดิม จ่ายเมื่อเอกชนเปิดเดินรถไฟความเร็วสูงฯ แล้ว รัฐจะแบ่งจ่ายเป็นเวลา 10 ปี ปีละเท่าๆ กัน รวมเป็นจำนวน 149,650 ล้านบาท เปลี่ยนเป็น จ่ายเป็นงวด ตามความก้าวหน้าของงานก่อสร้างที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท. ) ตรวจรับ วงเงินไม่เกิน 120,000 ล้านบาท โดยเอกชนต้องวางหลักประกันเพิ่มเติมจากสัญญาเดิม รวมเป็นจำนวน 160,000 ล้านบาท (สำหรับค่างานโยธาและค่าระบบรถไฟฟ้า) เพื่อรับประกันว่าจะก่อสร้างและเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูงฯ ได้ภายใน 5 ปี ทั้งนี้ กรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างจะทยอยตกเป็นของภาครัฐ (รฟท.) ทันทีตามงวดของการจ่ายเงิน
2. กำหนดการชำระค่าสิทธิให้ร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (ARL) โดยให้เอกชนแบ่งชำระค่าสิทธิจำนวน 10,671.09 ล้านบาท เป็น 7 งวด เป็นรายปี จำนวนเท่า ๆ กัน โดยต้องชำระงวดแรก ณ วันที่ลงนามแก้ไขสัญญา ในการนี้ เอกชนจะต้องวางหนังสือค้ำประกันที่ออกโดยธนาคาร ในมูลค่าเท่ากับค่าสิทธิ ARL รวมถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเงินอื่นที่ รฟท. ต้องรับภาระ
3.กำหนดส่วนแบ่งผลประโยชน์ตอบแทน (Revenue Sharing) เพิ่มเติม หากในอนาคตอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของโครงการฯ ลดลงอย่างมีนัยสําคัญ และเป็นผลให้เอกชนได้ผลประโยชน์ตอบแทน (IRR) เพิ่มขึ้นเกิน 5.52% รฟท.มีสิทธิเรียกให้เอกชนชําระส่วนแบ่งผลประโยชน์เพิ่มได้ ตามจำนวนที่จะตกลงกันต่อไป
4.การยกเว้นเงื่อนไขการออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) โดยให้คู่สัญญาจัดทำบันทึกข้อตกลงยกเว้นเงื่อนไข NTP ที่ยังไม่สำเร็จ เพื่อให้ รฟท. สามารถออก NTP ได้ทันทีเมื่อลงนามสัญญาที่แก้ไขตามหลักการทั้งหมดนี้
5. การป้องกันปัญหาในอนาคตที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสถานะทางการเงินของโครงการฯ โดยปรับปรุงข้อสัญญาในส่วนของเหตุสุดวิสัยและเหตุผ่อนผัน ให้สอดคล้องกับสัญญาร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนในโครงการอื่น
@ชงครม.แก้สัญญาภายใน ต.ค.นี้
นอกจากนี้ ที่ประชุม กพอ. มีมติให้ สกพอ. ดำเนินการ โดยคาดนำเสนอหลักการแก้ไขปัญหาโครงการฯ ใน 5 ประเด็นดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในเดือนต.ค. 2567 เพื่อพิจารณาเห็นชอบการทบทวนมติ ครม. เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2561 และให้คู่สัญญาร่วมกันเจรจาร่างสัญญาแก้ไข และเสนอต่อคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการฯ พิจารณา ก่อนนำส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณา จากนั้น ให้ นำเสนอ กพอ. และ ครม. อีกครั้ง เพื่อให้ ครม. เห็นชอบการแก้ไขสัญญา คาดว่าจะลงนามในสัญญาฉบับแก้ไขได้ภายในเดือนธ.ค. 2567 และออก NTP ให้เริ่มงานได้ไม่เกินเดือนม.ค. 2568
จุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
@อนุมัติถอน ‘การบินไทย’ พ้น MRO อู่ตะเภา อีอีซี ทำเอง
นอกจากนี้ ที่ประชุม กพอ. ยังเห็นชอบการปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา จากการที่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI พ้นจากสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ ตั้งแต่ปี 2563 ทำให้ไม่สามารถเป็นหน่วยงานเจ้าของโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (Maintenance Repair and Overhaul : MRO) ที่สนามบินอู่ตะเภาได้ และ สกพอ. เห็นว่าโครงการดังกล่าวมีความจำเป็นต่อการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และการยกระดับขีดความสามารถในการให้บริการซ่อมบำรุงอากาศยานของประเทศไทย ตลอดจนเพิ่มศักยภาพของช่างอากาศยานให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และจำเป็นต้องขับเคลื่อนการดำเนินโครงการต่อไปให้เหมาะสมตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
กพอ.จึงมีมติเห็นชอบการปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินโครงการ โดยให้ยกเลิกการเป็นโครงการร่วมลงทุนตามที่ ครม. อนุมัติไว้ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2561 และให้ สกพอ. ดำเนินการจัดหาผู้เช่าที่ดินราชพัสดุในเขตส่งเสริม : เมืองการบินภาคตะวันออก (EECa) เพื่อดำเนินกิจกรรมศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน ตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 และ ระเบียบคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข การเช่าที่ดินราชพัสดุที่ประกาศเป็นเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. 2562 ต่อไป โดย สกพอ. จะนำเสนอให้ ครม. รับทราบมติ กพอ. ดังกล่าว และพิจารณายกเลิกมติ ครม. วันที่ 30 ตุลาคม 2561 ในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
“MRO อู่ตะเภา บนพื้นที่ 210 ไร่ โดย เมื่อครม.เห็นชอบ ยกเลิกมติครม. ปี 61 อีอีซีจะนำพื้นที่มาเปิดหาเอกชนเข้ามาเช่าพื้นที่ประกอบการโครงการ MRO ซึ่งมีหลักเกณฑ์ ระเบียบ อัตราค่าเช่ากำหนดไว้แล้ว และเนื่องจากเป็นเรื่องที่มีผู้ประกอบการน้อยราย จะใช้วิธีเปิดให้ผู้สนใจให้เข้ามายื่นข้อเสนอ ซึ่งทราบว่าการบินไทยมีความสนใจ MRO และจะเป็นหนึ่งในผู้ที่จะได้รับการเชิญเช้าร่วมยื่นข้อเสนอ โดยตั้งเป้าว่าจะสรุปผลในเดือนธ.ค.2567 เพื่อให้เริ่มงานในต้นปี 2568” นายจุฬากล่าวปิดท้าย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมคณะกรรมการ กพอ.เมื่อวันที่ 11 ต.ค. 2567 เป็นการประชุมครั้งแรก หลังจากที่มีการเปลี่ยนคณะรัฐมนตรี (ครม.) ใหม่ โดยเดิมทีมีนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน แต่เนื่องจากนายภูมิธรรมเปลี่ยนไปกำกับหน่วยงานความมั่นคง ทำให้นายพิชัยได้รับมอบหมายให้เป็นประธานแทน
และการประชุมที่ผ่านมา ไม่ได้มีการแจ้งกำหนดการในวาระงานปกติ ซึ่งตามปกติแล้ว การประชุมคณะกรรมการ กพอ.จะมีการแจ้งกำหนดการล่วงหน้าให้สื่อมวลชนทราบก่อนทุกครั้ง
อ่านประกอบ
- ผ่าแผน-เงื่อนไขการเงิน ‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ เลขาอีอีซียืนเป้าต้นปี 68 เริ่มสร้าง
- ‘อีอีซี’ รอครม.ใหม่ กำหนดทิศทาง ‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ ห่วง ซี.พี.เปลี่ยนเงื่อนไขเจรจา
- ลุ้นบอร์ดอีอีซี เห็นชอบแก้สัญญา ไฮสปีด 3 สนามบิน
- ‘เศรษฐา’ ชี้ ก.ค. 67 ปัญหาไฮสปีด 3 สนามบินต้องจบ - เลขาอีอีซีเปิดทางประมูลใหม่
- ‘บอร์ดอีอีซี’ ยกเงื่อนไขใหม่ ‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ ไปพิจารณารอบหน้า
- ‘คกก.กำกับไฮสปีด 3 สนามบิน’ รับข้อเสนอตาม รฟท.ลุ้นรายงานบอร์ดอีอีซี
- รับทราบแนวทางแก้ไฮสปีด 3 สนามบิน ตัด BOI-บีบวางแบงค์การันตี-ฟื้น’สร้างไปจ่ายไป’
- ก่อนเส้นตาย BOI ซี.พี.ยื่น 3 ข้อเสนอไฮสปีดเลื่อนถึงมิ.ย. 67 จับตาจุดเปลี่ยนหรือจุดจบ?
- ‘สุริยะ’ เผยเอง ‘ซี.พี.’ รับงานโครงสร้างร่วมไฮสปีด ‘บางซื่อ-ดอนเมือง’ แล้ว
- ‘อีอีซี’ศึกษาปั้น ‘TOD พัทยา-แปดริ้ว’ รับไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน
- ไฮสปีด 3 สนามบิน รอ 22 พ.ค. 67 'เลขาอีอีซี' มองพ้นเดตไลน์ รฟท.ส่งมอบ NTP ได้เลย
- ประธานอนุ กมธ.ฯอ้างไฮสปีด 3 สนามบิน ‘กลุ่ม ซี.พ.’ไม่ได้ BOI 22 พ.ค.ส่อเลิกสัญญา
- ซี.พี.ยื่นข้อเสนอไฮสปีด สร้างโครงสร้างร่วมแลกหักกลบ ’หนี้แอร์พอร์ตลิ้งค์’ หมื่นล้าน
- บอร์ดกำกับ ‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ นัดกลางเดือน ก.พ.นี้ หารือเงื่อนไขส่งมอบ NTP
- คงเงื่อนไขรอสิทธิ์ BOI ‘รถไฟ’ ยังไม่เคาะสร้าง ไฮสปีด 3 สนามบิน
- ‘รถไฟ’ รอ ‘อัยการฯ’ ตีความส่งเสริมลงทุน บีบ'ซี.พี.'รับ NTP สร้างไฮสปีด 3 สนามบิน
- ‘อีอีซี-คมนาคม-รฟท.’ สางเงื่อนไขไฮสปีด 3 สนามบิน บีบซี.พี.เริ่มสร้าง ม.ค. 67
- ‘รถไฟ’ วางเป้านับหนึ่งสร้างไฮสปีด 3 สนามบิน ไตรมาส 1 ปี 2567
- ซี.พี.ส่อไม่รับทำโครงสร้างร่วม ‘ไฮสปีดไทยจีน-3สนามบิน’ คาดงบบาน 2 หมื่นล้าน
- อีอีซีตั้งเป้า ม.ค. 67 เคลียร์แก้สัญญาไฮสปีด 3 สนามบิน - ลุ้น NTP อู่ตะเภาสิ้นปี 66 นี้
- ‘รถไฟ’ขีดเส้นปี 66 ปัญหาไฮสปีด 3 สนามบินต้องจบ
- ส่องการบ้าน ‘คมนาคม’ เสิร์ฟสารพัดบิ๊กโปรเจ็กต์ วัดฝีมือ ‘สุริยะ’ เข็นลงทุน 3.6 แสนล.
- ‘บิ๊กตู่’ ยกคณะดูงาน ไฮสปีดไทยจีน กทม.-โคราช ปักธงปี 2570 ได้นั่งแน่
- ครม.รับทราบผลงานไฮสปีดไทยจีน เฟส 1 ถึงโคราช เสร็จปี 69
- ครม.รับทราบความคืบหน้าไฮสปีด'ไทย-จีน'-จ่อถก 3 ชาติเชื่อมเส้นทาง'หนองคาย-เวียงจันทน์'
- เปิด 2 หลักการ'รบ.บิ๊กตู่'อุ้ม'ซีพี'ลุย'ไฮสปีด3สนามบิน' ชงรื้อสัญญาเยียวยา‘เหตุสุดวิสัย’
- ครม.เห็นชอบประกาศเก็บค่าโดยสารสายสีเหลือง - รับทราบแก้สัญญาไฮสปีด 3 สนามบิน
- ไฮสปีด 3 สนามบิน ขยับส่งมอบ NTP เป็นในปี 66 สร้าง ‘บางซื่อ-ดอนเมือง’ ยังจบไม่ลง
- ไฮสปีด 3 สนามบินส่อส่งมอบ NTP ไม่ทัน มิ.ย. 66 ฝ่าทางตันบางซื่อ-ดอนเมือง 9 พ.ค.66
- เลขาฯอีอีซี พร้อมส่ง NTP ไฮสปีด 3 สนามบิน มิ.ย.66 ลุ้นซี.พี.ได้ BOI ทันกำหนด
- ‘รถไฟ-อีอีซี’ ขีดเส้น 31 มี.ค.66 เคลียร์เงื่อนไข ‘สร้างไป-จ่ายไป’ ไฮสปีดแสนล้าน
- ‘สุพัฒนพงษ์’ รับแก้สัญญา ‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ ไม่เสร็จในรัฐบาลนี้
- บอร์ดอีอีซี ไม่รับข้อเสนอ ซี.พี.จ่ายไปสร้างไปแสนล้าน ‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’
- ปักธง มิ.ย. 66 สร้าง ‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ ‘ซี.พี.’ ดึงเกมรอข้อเสนอ ‘บีโอไอ’
- ยื้อ ‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ จ่อขอลดสเปกโครงสร้างร่วม ‘รถไฟไทย-จีน’ 9.2 พันล้าน
- ย้อนปัญหา‘ไฮสปีดเทรน 3 สนามบิน’ 2.24 แสนล. วัดฝีมือคณะทำงาน 'ปลัดคลัง' สางปมเงื่อน?
- ‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ ยังนิ่ง ‘สุพัฒนพงษ์’ ลุ้น พ.ย. 65 คณะทำงานเริ่มคุยปม 4 ข้อเสนอ
- เปิดพื้นที่ ‘ลำรางมักกะสัน’ ชนวนยื้อส่งมอบ ‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ รบ.บิ๊กตู่ วาดไว้สะดุด
- สแกนความคืบหน้า'ไฮสปีด 3 สนามบิน'สางปัญหาล่าช้า ขีดเส้น ต.ค.65 เริ่มก่อสร้าง
- ชง ‘อนุอีอีซี’ เคาะแก้สัญญาไฮสปีด 3 สนามบิน เล็งจบใน ต.ค. 65 ปักหมุดเปิดปี 70
- ครม.ไฟเขียวจัดสรรงบกลาง จ่ายเวนคืนที่ดิน ‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ เพิ่มอีก 568 ล้าน
- ครม.ไฟเขียวเพิ่มงบเวนคืนฯ 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' เป็น 5.7 พันล้าน
- ไฟเขียวงบ 4.1 พันล้าน! รื้อย้ายสาธารณูปโภคแนว ‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’
- เซ็นเเล้ว! สัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คาดเปิดบริการปี 66
- ครม.เห็นชอบร่างพรฎ.เวนคืนที่ดิน5จว. สร้างไฮสปีดเทรนเชื่อม3สนามบิน