เลขาอีอีซี วางเป้าหมายต้นปี 68 เริ่มสร้างไฮสปีด 3 สนามบิน เผยเงื่อนไขรัฐเอาทรัพย์สินมาใช้ได้ ต้องได้รับโอนงานจากเอกชนก่อน ปิดซ้ำรอย‘โฮปเวลล์’ พร้อมเพิ่มความชัวร์วางหลักประกันสัญญาไม่พอ บวกเพิ่มแบงก์การันตีอีก 1.7 แสนล้าน
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า วันที่ 16 กันยายน 2567 นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี เปิดเผยว่า อีอีซีวางเป้าหมายที่จะเริ่มก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินภายในต้นปี 2568 นี้ โดยจะใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี ทดสอบระบบประมาณ 1 ปี เปิดให้บริการปี 2572
ส่วนเรื่องการเจรจาแก้ไขสัญญาตกลงในหลักการได้หมดแล้ว มีความชัดเจนเรื่องหนังสือค้ำประกันเพิ่มเติม รายละเอียดการแบ่งจ่าย หลักๆ จะเป็นการจ่ายตามงวดงานที่แล้วเสร็จและมีการตรวจรับงาน ที่สำคัญคือ จะโอนทรัพย์สินแต่ละงวดงานที่เสร็จเป็นของรัฐทันที โดยเอกชนยังคงดูแล บำรุงรักษาและบริหารตามระยะเวลาสัญญา 50 ปี
“กรณีการจ่ายอุดหนุนค่างานโยธา วงเงินประมาณ 1.2 แสนล้านบาท เร็วขึ้น ทางกระทรวงการคลังรับรู้แล้ว ซึ่งจะประหยัดค่าดอกเบี้ยลงด้วย ซึ่งระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี เฉลี่ยรัฐจ่ายคืนปีละ 3 หมื่นล้านบาท” นายจุฬากล่าว
จุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)
@ทรัพย์สินต้องโอนให้รัฐก่อน ปิดซ้ำรอยโฮปเวลล์
ด้านนายธาริศร์ อิสสระยั่งยืน รองเลขาธิการอีอีซี สายงานโครงสร้างพื้นฐาน กล่าวว่า ตามสัญญาเดิม เงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการ (PIC) คิดเป็นมูลค่าปัจจุบันไม่น้อยกว่า 119,425 ล้านบาท ซึ่งคิดมาจากมูลค่างานก่อสร้าง (งานโยธา + งานระบบราง) กำหนดจ่ายค่าร่วมลงทุนในปีที่ 6 - ปีที่ 15 หรือเมื่อก่อสร้างโครงการเสร็จเปิดเดินรถแล้ว โดยทยอยจ่ายเป็นเวลา 10 ปี ปีละเท่าๆ กัน คิดเป็นวงเงินรวมที่รัฐต้องจ่าย คือ 150,000 ล้านบาท (การทยอยจ่าย 10 ปี ทำให้มีดอกเบี้ยที่รัฐต้องรับภาระอีกประมาณ 30,000 ล้านบาท)
นอกจากนี้ เงื่อนไขในสัญญายังเขียนอีกว่า กรณีที่รัฐจะนำทรัพย์สินที่เอกชนสร้างมาใช้ได้ต้องโอนก่อน ดังนั้นหากมีการก่อสร้างไปแล้วเกิดปัญหาขึ้น ระหว่างทาง ทรัพย์สินที่ก่อสร้างไว้ยังเป็นสิทธิ์ของเอกชน รัฐหรือ รฟท.ไม่สามารถเข้าใช้ประโยชน์ได้ ต้องฟ้องศาลเพื่อจ่ายค่าโครงสร้างที่เอกชนสร้างไว้ เรียกว่า เงื่อนไขเดียวกับโฮปเวลล์ที่เอกชนเกิดเลิกทำ แล้ว รฟท.ไม่สามารถนำโครงสร้างเสาตอม่อมาใช้ประโยชน์ได้ เพราะเอกชนไม่ได้มีการโอนกันทรัพย์สินให้ รฟท.
@เปิดหลักประกันสัญญา ซี.พี.ต้องวาง 1.64 แสนล.
ข้อกำหนดเดิม เรื่องหลักประกันสัญญา เอกชนจะต้องวางหนังสือค้ำประกันโดยธนาคาร หรือแบงก์การันตี ดังนี้
1. เมื่อมีการลงนามสัญญา บจ.เอเชีย เอราวัน (ซี.พี.) วางหลักประกันสัญญา มูลค่า 2,000 ล้านบาท (ดำเนินการแล้ว)และหลังจากออกหนังสือให้เริ่มงาน (NTP) เริ่มก่อสร้าง เอกชนจะต้องวางหลักประกันสัญญาเพิ่มอีก 2,500 ล้านบาท ทำให้มูลค่าหลักประกันสัญญารวมเป็น 4,500 ล้านบาท
2. หนังสือค้ำประกัน ผู้ถือหุ้น (ดำเนินการแล้ว) ประกอบด้วย บจ.เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง, บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์, บจ.ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรัคชั่น คอร์ปอเรชั่น, บมจ.ช.การช่าง และ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) เพื่อตกลงร่วมรับผิดชอบโครงการไปตลอดอายุสัญญา 50 ปี มูลค่ารวม 160,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ เอกชนจะต้องกู้เงินมาเพื่อลงทุนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน รวมทั้งสิ้น 200,000 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าก่อสร้างงานโยธา งานราง ระบบและค่าดอกเบี้ย 160,000 ล้านบาท และค่าลงทุน พัฒนาพื้นที่มักกะสัน (TOD) ประมาณ 40,000 ล้านบาท
@แบงก์ปล่อยเงินกู้ซี.พี.หวั่นเงื่อนไขรัฐจ่ายอุดหนุนยาว
รองเลขาธิการอีอีซีกล่าวต่อว่า ทั้งนี้ เพื่อให้โครงการมีความคุ้มค่าจึงให้มีการพัฒนาพื้นที่รอบสถานี (TOD) พื้นที่มักกะสัน 140 ไร่ด้วย ซึ่งในการศึกษาเพื่อเชิญชวนนักลงทุน คาดการณ์ผลตอบแทนไว้ที่ 10.5% หลังประมูล ทาง ซี.พี.ประเมินผลตอบแทนได้ที่ 5.5% เพราะมีความเสี่ยงเรื่องจำนวนผู้โดยสารและการกำหนดอัตราค่าโดยสาร ซึ่งทางเอกชนหารือกับแหล่งเงิน และได้ลงนามสัญญากับ รฟท.
ต่อมาเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 และสงครามรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ พฤติกรรมการเดินทางเปลี่ยนไป ค่าก่อสร้างปรับเพิ่มขึ้น ซี.พี.มีการประเมินผลตอบแทนการลงทุนอีกครั้ง พบว่าตัวเลขลดลงเหลือ 2% เพราะความเสี่ยงสูงที่ผู้โดยสารจะไม่เป็นไปตามเป้า ขณะที่ค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้นประมาณ 10-15% และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ก็สูงขึ้น การพัฒนา TOD มีคู่แข่งมากขึ้น
ส่วนทางธนาคารที่เป็นแหล่งเงินกู้โครงการของเอกชน มีความกังวลในความเสี่ยงอย่างมาก และภายใต้เงื่อนไข ค่าลงทุน 2 แสนล้านบาท โดยรัฐจะชำระค่าก่อสร้างให้เอกชนเมื่อก่อสร้างเสร็จแล้ว เอกชนจึงจะมีเงินมาจ่ายหนี้คืนธนาคาร ทำให้ธนาคารกังวล เช่น หากการก่อสร้างมีปัญหา โครงการไม่สำเร็จ หรือแม้กระทั่งก่อสร้างเสร็จแล้วแต่เปิดเดินรถไม่ได้ เงื่อนไขสัญญาปัจจุบันคือ รัฐจะไม่จ่ายคืนค่าก่อสร้างให้เอกชน ธนาคารก็ไม่ได้เงินคืน
“ธนาคารอาจจะให้กู้ลดลง ก็จะเป็นภาระที่เอกชนต้องหาเงินมาลงทุนเองมากขึ้น ซึ่งก็จะมีปัญหาอีก ดังนั้น จึงมีการเจรจาเพื่อขอปรับเงื่อนไข จากจ่ายเมื่อก่อสร้างเสร็จและเปิดเดินรถ เป็นจ่ายเร็วขึ้น ซึ่งถือเป็นเงินรัฐต้องจ่ายอยู่แล้ว เอกชนมีเงินหมุนเวียน เพิ่มโอกาสที่ธนาคารจะปล่อยกู้ และทำให้วงเงินรวมที่รัฐต้องจ่ายจาก 1.5 แสนล้านบาทลดลงอีกด้วยจากการประหยัดค่าดอกเบี้ย”
ธาริศร์ อิสสระยั่งยืน รองเลขาธิการอีอีซี สายงานโครงสร้างพื้นฐาน
@รัฐขีดเส้น ซี.พี.ต้องวางแบงก์การันตีเพิ่มรวม 1.7 แสนล้านบาท
รองเลขาธิการอีอีซีกล่าวต่อว่า สำหรับเงื่อนไขใหม่หลังลงนามแก้ไขสัญญาร่วมทุน ซี.พี.จะต้องวางแบงก์การันตีเพิ่มเติม ประกอบด้วย หนังสือค้ำประกันค่าก่อสร้างวงเงินประมาณ 120,000 ล้านบาท (แบ่งเป็นหนังสือค้ำประกัน 5 ใบ ใบละ 24,000 ล้านบาท) บวกกับหนังสือค้ำประกันค่างานระบบเพิ่มอีก 16,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ ค่าก่อสร้างงานโยธาจะแบ่งจ่ายไปตามงวดงาน คือเมื่อสร้างเสร็จ และ รฟท.ตรวจรับงานจึงจะจ่ายคืนค่าก่อสร้าง ในขณะที่เอกชนต้องโอนทรัพย์สินในงวดงานนั้นให้ รฟท. ทันที และเมื่องานก่อสร้างที่แล้วเสร็จ มีมูลค่างานรวมกันถึง 24,000 ล้านบาท รฟท.จะคืนแบงก์การันตีใบแรกให้เอกชน และทำเช่นเดียวกันไปจนก่อสร้างเสร็จ
“ส่วนทรัพย์สินที่เอกชนโอนกรรมสิทธิ์ให้รฟท.นั้น เอกชนจะต้องรับผิดชอบดูแลซ่อมบำรุงตลอดอายุ 50 ปี เป็นการปิดความเสี่ยง หากเกิดกรณีเลิกสัญญากลางทาง ทรัพย์สินที่สร้างไว้แล้วเป็นของ รฟท. และยังมีแบงก์การันตีที่เอกชนวางไว้ที่สามารถนำมาประมูลหาผู้รับเหมา ก่อสร้างต่อได้จนเสร็จ”
นอกจากนี้ เพื่อป้องกันความเสียหายของรัฐ เมื่อก่อสร้างโยธาแล้วเสร็จ รฟท.จะคืนหลักประกันให้เอกชนจำนวน 4 ใบ ใบละ 24,000 ล้านบาท ส่วนใบที่ 5 จะเก็บไว้ก่อนรวมกับหลักประกันค่างาน วงเงิน 16,000 ล้านบาท ไว้จนกว่าจะทดสอบระบบเรียบร้อยและเปิดเดินรถได้สมบูรณ์ ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันกรณีทดสอบระบบไม่ผ่าน เปิดเดินรถไม่ได้ รฟท.ยังมีเงินที่จะหาผู้เดินรถใหม่
หลักประกันค่าก่อสร้างและงานระบบจะคืนให้เอกชนเมื่อเปิดเดินรถเรียบร้อย โดยเอกชนจะต้องนำหลักประกันใหม่ วงเงิน 750 ล้านบาท มาวางแทน เพื่อรับประกันคุณภาพการเดินรถตลอดระยะเวลา 10 ปี
@แอร์พอร์ตลิ้งก์ จ่าย 7 งวด
นายธาริศร์กล่าวต่อไปว่า สำหรับการชำระค่าสิทธิร่วมลงทุนโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (ARL) จำนวน 10,671.09 ล้านบาทตามสัญญาเดิมต้องจ่ายงวดเดียว ต่อมามีการเจรจาแบ่งชำระเป็น 7 งวด โดยงวดที่ 1-6 ชำระงวดละ 10% งวดที่ 7 จะชำระส่วนที่เหลือพร้อมดอกเบี้ย ซึ่งบอร์ดอีอีซีได้เห็นชอบและรายงาน ครม.รับทราบไปก่อนหน้านี้แล้ว
ล่าสุด เงื่อนไขใหม่ ค่าสิทธิ์จำนวน 10,671.09 ล้านบาท ต้องแบ่งจ่าย 7 งวด งวดละเท่าๆ กัน (งวดละ 1,524 ล้านบาท) ซึ่งก่อนหน้านี้ ซี.พี.ชำระไปแล้ว วงเงิน 1,067.10 ล้านบาท ดังนั้น หลังแก้ไขสัญญา ซี.พี.จะต้องจ่ายเพิ่มอีก 456.9 ล้านบาทเพื่อให้ครบงวดแรก และวางหนังสือค้ำประกันที่เหลืออีก 9,147 ล้านบาท โดยวางเป็นหลักประกันไว้ 6 ใบ ใบละประมาณ 1,524 ล้านบาท
ทั้งนี้ แพกเกจการเงินที่ ซี.พี.ลงทุนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ประกอบด้วย
1. หลักประกันสัญญา วงเงิน 4,500 ล้านบาท ตลอดสัญญา 50 ปี
2. หนังสือค้ำประกัน ผู้ถือหุ้น วงเงิน 160,000 ล้าน ตลอดสัญญา 50 ปี
3. หนังสือค้ำประกันค่าก่อสร้าง วงเงิน 120,000 ล้านบาท
4. หนังสือค้ำประกันค่างานระบบ วงเงิน 16,000 ล้านบาท
5. หนังสือค้ำประกันคุณภาพเดินรถ วงเงิน 750 ล้านบาท ระยะเวลา 10 ปี
6. หนังสือค้ำประกัน ค่ารถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (ARL) รวมกับชำระงวดที่ 1 ที่เหลือ วงเงิน 9,147 ล้านบาท
อ่านประกอบ
- ‘อีอีซี’ รอครม.ใหม่ กำหนดทิศทาง ‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ ห่วง ซี.พี.เปลี่ยนเงื่อนไขเจรจา
- ลุ้นบอร์ดอีอีซี เห็นชอบแก้สัญญา ไฮสปีด 3 สนามบิน
- ‘เศรษฐา’ ชี้ ก.ค. 67 ปัญหาไฮสปีด 3 สนามบินต้องจบ - เลขาอีอีซีเปิดทางประมูลใหม่
- ‘บอร์ดอีอีซี’ ยกเงื่อนไขใหม่ ‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ ไปพิจารณารอบหน้า
- ‘คกก.กำกับไฮสปีด 3 สนามบิน’ รับข้อเสนอตาม รฟท.ลุ้นรายงานบอร์ดอีอีซี
- รับทราบแนวทางแก้ไฮสปีด 3 สนามบิน ตัด BOI-บีบวางแบงค์การันตี-ฟื้น’สร้างไปจ่ายไป’
- ก่อนเส้นตาย BOI ซี.พี.ยื่น 3 ข้อเสนอไฮสปีดเลื่อนถึงมิ.ย. 67 จับตาจุดเปลี่ยนหรือจุดจบ?
- ‘สุริยะ’ เผยเอง ‘ซี.พี.’ รับงานโครงสร้างร่วมไฮสปีด ‘บางซื่อ-ดอนเมือง’ แล้ว
- ‘อีอีซี’ศึกษาปั้น ‘TOD พัทยา-แปดริ้ว’ รับไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน
- ไฮสปีด 3 สนามบิน รอ 22 พ.ค. 67 'เลขาอีอีซี' มองพ้นเดตไลน์ รฟท.ส่งมอบ NTP ได้เลย
- ประธานอนุ กมธ.ฯอ้างไฮสปีด 3 สนามบิน ‘กลุ่ม ซี.พ.’ไม่ได้ BOI 22 พ.ค.ส่อเลิกสัญญา
- ซี.พี.ยื่นข้อเสนอไฮสปีด สร้างโครงสร้างร่วมแลกหักกลบ ’หนี้แอร์พอร์ตลิ้งค์’ หมื่นล้าน
- บอร์ดกำกับ ‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ นัดกลางเดือน ก.พ.นี้ หารือเงื่อนไขส่งมอบ NTP
- คงเงื่อนไขรอสิทธิ์ BOI ‘รถไฟ’ ยังไม่เคาะสร้าง ไฮสปีด 3 สนามบิน
- ‘รถไฟ’ รอ ‘อัยการฯ’ ตีความส่งเสริมลงทุน บีบ'ซี.พี.'รับ NTP สร้างไฮสปีด 3 สนามบิน
- ‘อีอีซี-คมนาคม-รฟท.’ สางเงื่อนไขไฮสปีด 3 สนามบิน บีบซี.พี.เริ่มสร้าง ม.ค. 67
- ‘รถไฟ’ วางเป้านับหนึ่งสร้างไฮสปีด 3 สนามบิน ไตรมาส 1 ปี 2567
- ซี.พี.ส่อไม่รับทำโครงสร้างร่วม ‘ไฮสปีดไทยจีน-3สนามบิน’ คาดงบบาน 2 หมื่นล้าน
- อีอีซีตั้งเป้า ม.ค. 67 เคลียร์แก้สัญญาไฮสปีด 3 สนามบิน - ลุ้น NTP อู่ตะเภาสิ้นปี 66 นี้
- ‘รถไฟ’ขีดเส้นปี 66 ปัญหาไฮสปีด 3 สนามบินต้องจบ
- ส่องการบ้าน ‘คมนาคม’ เสิร์ฟสารพัดบิ๊กโปรเจ็กต์ วัดฝีมือ ‘สุริยะ’ เข็นลงทุน 3.6 แสนล.
- ‘บิ๊กตู่’ ยกคณะดูงาน ไฮสปีดไทยจีน กทม.-โคราช ปักธงปี 2570 ได้นั่งแน่
- ครม.รับทราบผลงานไฮสปีดไทยจีน เฟส 1 ถึงโคราช เสร็จปี 69
- ครม.รับทราบความคืบหน้าไฮสปีด'ไทย-จีน'-จ่อถก 3 ชาติเชื่อมเส้นทาง'หนองคาย-เวียงจันทน์'
- เปิด 2 หลักการ'รบ.บิ๊กตู่'อุ้ม'ซีพี'ลุย'ไฮสปีด3สนามบิน' ชงรื้อสัญญาเยียวยา‘เหตุสุดวิสัย’
- ครม.เห็นชอบประกาศเก็บค่าโดยสารสายสีเหลือง - รับทราบแก้สัญญาไฮสปีด 3 สนามบิน
- ไฮสปีด 3 สนามบิน ขยับส่งมอบ NTP เป็นในปี 66 สร้าง ‘บางซื่อ-ดอนเมือง’ ยังจบไม่ลง
- ไฮสปีด 3 สนามบินส่อส่งมอบ NTP ไม่ทัน มิ.ย. 66 ฝ่าทางตันบางซื่อ-ดอนเมือง 9 พ.ค.66
- เลขาฯอีอีซี พร้อมส่ง NTP ไฮสปีด 3 สนามบิน มิ.ย.66 ลุ้นซี.พี.ได้ BOI ทันกำหนด
- ‘รถไฟ-อีอีซี’ ขีดเส้น 31 มี.ค.66 เคลียร์เงื่อนไข ‘สร้างไป-จ่ายไป’ ไฮสปีดแสนล้าน
- ‘สุพัฒนพงษ์’ รับแก้สัญญา ‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ ไม่เสร็จในรัฐบาลนี้
- บอร์ดอีอีซี ไม่รับข้อเสนอ ซี.พี.จ่ายไปสร้างไปแสนล้าน ‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’
- ปักธง มิ.ย. 66 สร้าง ‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ ‘ซี.พี.’ ดึงเกมรอข้อเสนอ ‘บีโอไอ’
- ยื้อ ‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ จ่อขอลดสเปกโครงสร้างร่วม ‘รถไฟไทย-จีน’ 9.2 พันล้าน
- ย้อนปัญหา‘ไฮสปีดเทรน 3 สนามบิน’ 2.24 แสนล. วัดฝีมือคณะทำงาน 'ปลัดคลัง' สางปมเงื่อน?
- ‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ ยังนิ่ง ‘สุพัฒนพงษ์’ ลุ้น พ.ย. 65 คณะทำงานเริ่มคุยปม 4 ข้อเสนอ
- เปิดพื้นที่ ‘ลำรางมักกะสัน’ ชนวนยื้อส่งมอบ ‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ รบ.บิ๊กตู่ วาดไว้สะดุด
- สแกนความคืบหน้า'ไฮสปีด 3 สนามบิน'สางปัญหาล่าช้า ขีดเส้น ต.ค.65 เริ่มก่อสร้าง
- ชง ‘อนุอีอีซี’ เคาะแก้สัญญาไฮสปีด 3 สนามบิน เล็งจบใน ต.ค. 65 ปักหมุดเปิดปี 70
- ครม.ไฟเขียวจัดสรรงบกลาง จ่ายเวนคืนที่ดิน ‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ เพิ่มอีก 568 ล้าน
- ครม.ไฟเขียวเพิ่มงบเวนคืนฯ 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' เป็น 5.7 พันล้าน
- ไฟเขียวงบ 4.1 พันล้าน! รื้อย้ายสาธารณูปโภคแนว ‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’
- เซ็นเเล้ว! สัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คาดเปิดบริการปี 66
- ครม.เห็นชอบร่างพรฎ.เวนคืนที่ดิน5จว. สร้างไฮสปีดเทรนเชื่อม3สนามบิน