‘รถไฟ’ รอ ‘อัยการสูงสุด’ ส่งความเห็นกรณีบัตรส่งเสริมของ ซี.พี. จำเป็นต้องได้หรือไม่ หวังบีบไทม์ไลน์ส่งมอบ NTP นับหนึ่งไฮสปีด 3 สนามบินในเดือน ม.ค.นี้ หลังลือ BOI ไม่ต่อบัตรส่งเสริมการลงทุนแล้ว พร้อมมอบงานเพิ่มสร้างโครงสร้างร่วมบางซื่อ - ดอนเมือง ให้ซี.พี.รับไปทำ หลังประเมินถ้าทำเองเสียเวลาแก้สัญญา แต่ต้องควักงบให้ 9 พันล้าน วางเป้าเปิดใช้เลื่อนไปปี 71-72
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า วันที่ 22 มกราคม 2567 แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. มูลค่าโครงการ 224,544 ล้านบาท ที่มี บจ.เอเชีย เอรา วัน (ซี.พี.) เป็นผู้รับสัมปทานโครงการในระยะเวลา 50 ปี
หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และ รฟท. มีความเห็นที่จะส่งมอบหนังสือให้เริ่มงาน (Notice to proceed: NTP) ภายในเดือน ม.ค. 2567 นี้ ล่าสุด ทราบมาว่าทางกลุ่มซี.พี.ได้ยื่นขอขยายเวลาบัตรส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) แล้ว หลังจากที่บัตรส่งเสริมการลงทุนที่ได้รับอนุมัติจะหมดอายุลงในวันนี้ (22 ม.ค. 67) ซึ่งตามเงื่อนไขในการออก NTP จะต้องให้ซี.พี.รับบัตรส่งเสริมการลงทุนก่อน โดยที่ผ่านมา ซี.พี.ได้ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนแล้ว 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 2 จะสิ้นสุด วันที่ 22 ม.ค. 2567 นี้
@BOI ไม่ต่อบัตรส่งเสริมการลงทุนให้ ซี.พี.
อย่างไรก็ตาม ได้รับทราบข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการว่า หลังจากที่กลุ่มซี.พี.ได้ยื่นขอขยายระยะเวลา ครั้งที่ 3 โดยไปสิ้นสุด 22 พ.ค.2567 นั้น ทาง BOI ไม่อนุญาตให้ขยาย จะมีผลทำให้สิทธิประโยชน์ที่ซี.พี.จะได้รับจากหายไป
ทั้งนี้ ทาง รฟท. ยังไม่ได้ตัดสินใจว่า จะส่งมอบ NTP ให้ซี.พี.เลยหรือไม่ เพราะอีกทางหนึ่งก็อยู่ระหว่างรอทางสำนักงานอัยการสูงสุดตอบกลับกรณีที่ได้ทำหนังสือถามไปว่า ตัว NTP สามารถส่งมอบให้ซี.พี.ได้โดยที่ไม่ต้องให้เอกชนได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI หรือไม่ หากอัยการสูงสุดตอบกลับมาว่า ไม่จำเป็นต้องรอบัตส่งเสริมการลงทุน ทาง รฟท.ก็จะนัดประชุมภายในและหารือกับ สกพอ. เพื่อนัดหมายเวลาที่จะส่งมอบ NTP ให้ ซี.พี.เริ่มก่อสร้างต่อไป แต่หากผลลัพธ์ออกมาเป็นต้องให้เอกชนได้รับการส่งเสริมการลงทุนด้วย รฟท.ก็จะต้องรอต่อไป
แหล่งข่าวจาก รฟท. กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ตามกฎหมายด้านการส่งเสริมการลงทุน เอกชนมีสิทธิ์ขอขยายเวลาได้ 3 ครั้งๆ ละ 4 เดือน ซึ่งขอขยายมา 2 ครั้งแล้ว โดย ซี.พี.อ้างว่ายังส่งเอกสารเพิ่มเติมไม่ได้เนื่องจาก อยู่ในกระบวนการแก้ไขสัญญาซึ่งทาง BOI เคยตอบมาแล้วว่า หากกระบวนการแก้ไขสัญญาไม่ได้กระทบสิทธิ์ของเอกชน สามารถกรอกข้อมูลมาให้ก่อนได้ เพราะถือเป็นการอนุมัติหลักการ และยังสอบถาม มาที่ รฟท.เพื่อความชัดเจน ซึ่งรฟท.ยืนยันว่า การแก้ไขสัญญาไม่ได้กระทบสิทธิ์ของเอกชนหรือทำให้ทำให้หลักการของสัญญามีการเปลี่ยนแปลง
@นัดหารือภายในสัปดาห์นี้/เป้าเปิดขยับไปปี 71-72
ดังนั้น ภายในสัปดาห์นี้ คณะทำงานที่มีรฟท. สกพอ.และที่ปรึกษา จะหารือร่วมกัน เพื่อประเมินการดำเนินการจากนี้ พร้อมทั้งคงต้องรอทาง ซี.พี.แจ้งมาอย่างเป็นทางการเรื่อง BOI ไม่ขยายเวลาแล้วจะจะทำอย่างไรต่อ รวมถึงรอคำตอบจากอัยการสูงสุด โดยคาดว่าจะไม่นาน เพราะรฟท.ได้ชี้แจงอัยการสูงสุดแล้วถึงความเร่งด่วน
“ประเด็น ตอนนี้อยู่ที่ คำตอบของอัยการ หากเห็นว่า การออก NTP สามารถตัดเงื่อนไขส่งเสริมการลงทุนออกได้ ถือเป็นการแก้ปัญหาสำคัญโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินและจะทำให้เริ่มต้นก่อสร้างได้เสียที ซึ่งจะทำให้จัดแผนก่อสร้างมีความชัดเจน รวมไปถึงสามารถแก้ปัญหาผลกระทบต่อการก่อสร้างสนามบินอู่ตะเภาที่ ต้องวางแผนร่วมกันในการก่อสร้างอุโมงค์รถไฟความเร็วสูง ลอดใต้รันเวย์ 2 ซึ่งขณะนี้ กองทัพเรือ เปิดประมูลก่อสร้าวรันเวย์ที่2 สนามบินอู่ตะเภาแล้ว และคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในเดือนต.ค. 2567” แหล่งข่าวจาก รฟท.กล่าวตอนหนึ่ง
ส่วนกรณีขอบัตรส่งเสริมการลงทุนจาก BOI แหล่งข่าวจาก รฟท.มองว่า ซี.พี.ยังมีสิทธิ์ ขอใหม่ได้ แต่ต้องกลับไปเริ่มต้นขั้นตอนใหม่ทั้งหมด หรืออีกทางหนึ่งคือ สละสิทธิ์ BOI แล้วไปขอสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกอบการกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ ตามประเภทที่กำหนดไว้ในกฎหมาย พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 2560ก็ได้ ต้องดูว่าทาง ซี.พี.จะเลือกแนวทางใด ซึ่งสิทธิประโยชน์จาก อีอีซี จะเจรจาเป็นรายโครงการและได้รับสิทธิประโยชน์ไม่น้อยกว่า BOI
ผู้สื่อข่าวถามว่า ตอนนี้เป้าหมายในการส่งมอบ NTP ยังอยู่ในเดือน ม.ค. 2567 หรือไม่ แหล่งข่าวจากรฟท.กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับว่าทางสำนักงานอัยการสูงสุดจะตอบทาง รฟท.เมื่อไหร่ ถ้าใช้เวลานานก็คงต้องว่ากันตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดเห็นสมควร แล้วต้องขึ้นอยู่กับคำตอบของอัยการสูงสุดด้วยว่าจะเป็นอย่างไร หากเห็นควรให้รอการส่งเสริมการลงทุน การส่งมอบ NTP ก็จะขยับออกไปอีก ซึ่งยังไม่ได้มีการประเมิน
@ ‘รถไฟ’ เปลี่ยนใจให้ ซี.พี.สร้างบางซื่อ - ดอนเมือง
ขณะที่ประเด็นโครงสร้างร่วมรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนช่วงบางซื่อ - ดอนเมือง ระยะทางประมาณ 15 กม. แหล่งข่าวจาก รฟท. กล่าวว่า ตอนนี้ รฟท.กลัมามีแนวคิดจะให้ ซี.พี. เป็นผู้ดำเนินการแล้ว หลังจากก่อนหน้านี้ รฟท.จะทำเอง เนื่องจากคณะทำงานประเมินว่า หากให้ รฟท. ทำเองจะต้องไปเสียเวลาแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน ซึ่งจะใช้เวลาอีกพอสมควร แต่หากให้ ซี.พี.เป็นผู้ดำเนินการ คาดว่า จะใช้เวลาเร็วกว่า เนื่องจากในสัญญาที่ลงนามกันไว้ระบุว่า รฟท. สามารถเพิ่มคำสั่งงานเปลี่ยนแปลงให้กับเอกชนได้ โดย รฟท.จะจ่ายเงินเพิ่มเติม 9,000 ล้านบาท รูปแบบคล้ายๆกรณีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากงานปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม (Variation order - VO) ของรถไฟชานเมืองสายสีแดง
ผู้สื่อข่าวจึงถามว่า การกลับมาให้ ซี.พี. เป็นผู้ก่อสร้างโครงสร้างร่วมดังกล่าว ทางเอกชนเสนออะไรมาให้ รฟท.พิจารณาเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนหรือไม่ แหล่งข่าวจาก รฟท. ตอบว่า ทาง ซี.พี.ก็อยากให้ รฟท. จ่ายเงินอุดหนุนโครงการ 118,000 ล้านบาทให้เร็วขึ้น เหมือนที่เคยเสนอมาก่อนหน้านี้ แต่ทาง รฟท.ไม่สามารถให้ได้แน่นอน เพราะคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (บอร์ดอีอีซี) เมื่อปีที่แล้วก็มีมติไม่เห็นชอบเงื่อนไขนี้ไป
อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้ยังไม่มีการคุยกันเป็นกิจลักษณะ ต้องหารือกับ สกพอ. ก่อน
ช่วงท้ายผู้สื่อข่าวถามว่า ตอนนี้เป้าหมายที่จะเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน วางไว้ที่ปีอะไร แหล่งข่าวจาก รฟท.ตอบว่า ตอนนี้วางไว้ที่ปี 2571-2572 ซึ่งยังพอได้อยู่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับโครงสร้างร่วมรถไฟความเร็วสูงทั้ง 2 สายทางคือ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน กับรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน สัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง มีค่าก่อสร้างรวมประมาณ 20,000 ล้านบาท แยกเป็นค่างานโครงสร้างในส่วนของรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 11,000 ล้านบาท โครงสร้างของรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน 9,000 ล้านบาท ซึ่งสัญญา 4-1 ของรถไฟไทย-จีน ตั้งวงเงินดำเนินการไว้แล้ว 4,000 ล้านบาท ดังนั้น รฟท.จะต้องเสนอขอเพิ่มกรอบวงเงินอีกประมาณ 5,000 ล้านบาท เพื่อจ่ายค่าก่อสร้างให้ ซึ่งวงเงินที่เพิ่มยังอยู่ภายใต้กรอบลงทุนโครงการรถไฟไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. ที่มีวงเงินลงทุน 179,413 ล้านบาท
อ่านประกอบ
- ‘อีอีซี-คมนาคม-รฟท.’ สางเงื่อนไขไฮสปีด 3 สนามบิน บีบซี.พี.เริ่มสร้าง ม.ค. 67
- ‘รถไฟ’ วางเป้านับหนึ่งสร้างไฮสปีด 3 สนามบิน ไตรมาส 1 ปี 2567
- ซี.พี.ส่อไม่รับทำโครงสร้างร่วม ‘ไฮสปีดไทยจีน-3สนามบิน’ คาดงบบาน 2 หมื่นล้าน
- อีอีซีตั้งเป้า ม.ค. 67 เคลียร์แก้สัญญาไฮสปีด 3 สนามบิน - ลุ้น NTP อู่ตะเภาสิ้นปี 66 นี้
- ‘รถไฟ’ขีดเส้นปี 66 ปัญหาไฮสปีด 3 สนามบินต้องจบ
- ส่องการบ้าน ‘คมนาคม’ เสิร์ฟสารพัดบิ๊กโปรเจ็กต์ วัดฝีมือ ‘สุริยะ’ เข็นลงทุน 3.6 แสนล.
- ‘บิ๊กตู่’ ยกคณะดูงาน ไฮสปีดไทยจีน กทม.-โคราช ปักธงปี 2570 ได้นั่งแน่
- ครม.รับทราบผลงานไฮสปีดไทยจีน เฟส 1 ถึงโคราช เสร็จปี 69
- ครม.รับทราบความคืบหน้าไฮสปีด'ไทย-จีน'-จ่อถก 3 ชาติเชื่อมเส้นทาง'หนองคาย-เวียงจันทน์'
- เปิด 2 หลักการ'รบ.บิ๊กตู่'อุ้ม'ซีพี'ลุย'ไฮสปีด3สนามบิน' ชงรื้อสัญญาเยียวยา‘เหตุสุดวิสัย’
- ครม.เห็นชอบประกาศเก็บค่าโดยสารสายสีเหลือง - รับทราบแก้สัญญาไฮสปีด 3 สนามบิน
- ไฮสปีด 3 สนามบิน ขยับส่งมอบ NTP เป็นในปี 66 สร้าง ‘บางซื่อ-ดอนเมือง’ ยังจบไม่ลง
- ไฮสปีด 3 สนามบินส่อส่งมอบ NTP ไม่ทัน มิ.ย. 66 ฝ่าทางตันบางซื่อ-ดอนเมือง 9 พ.ค.66
- เลขาฯอีอีซี พร้อมส่ง NTP ไฮสปีด 3 สนามบิน มิ.ย.66 ลุ้นซี.พี.ได้ BOI ทันกำหนด
- ‘รถไฟ-อีอีซี’ ขีดเส้น 31 มี.ค.66 เคลียร์เงื่อนไข ‘สร้างไป-จ่ายไป’ ไฮสปีดแสนล้าน
- ‘สุพัฒนพงษ์’ รับแก้สัญญา ‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ ไม่เสร็จในรัฐบาลนี้
- บอร์ดอีอีซี ไม่รับข้อเสนอ ซี.พี.จ่ายไปสร้างไปแสนล้าน ‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’
- ปักธง มิ.ย. 66 สร้าง ‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ ‘ซี.พี.’ ดึงเกมรอข้อเสนอ ‘บีโอไอ’
- ยื้อ ‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ จ่อขอลดสเปกโครงสร้างร่วม ‘รถไฟไทย-จีน’ 9.2 พันล้าน
- ย้อนปัญหา‘ไฮสปีดเทรน 3 สนามบิน’ 2.24 แสนล. วัดฝีมือคณะทำงาน 'ปลัดคลัง' สางปมเงื่อน?
- ‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ ยังนิ่ง ‘สุพัฒนพงษ์’ ลุ้น พ.ย. 65 คณะทำงานเริ่มคุยปม 4 ข้อเสนอ
- เปิดพื้นที่ ‘ลำรางมักกะสัน’ ชนวนยื้อส่งมอบ ‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ รบ.บิ๊กตู่ วาดไว้สะดุด
- สแกนความคืบหน้า'ไฮสปีด 3 สนามบิน'สางปัญหาล่าช้า ขีดเส้น ต.ค.65 เริ่มก่อสร้าง
- ชง ‘อนุอีอีซี’ เคาะแก้สัญญาไฮสปีด 3 สนามบิน เล็งจบใน ต.ค. 65 ปักหมุดเปิดปี 70
- ครม.ไฟเขียวจัดสรรงบกลาง จ่ายเวนคืนที่ดิน ‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ เพิ่มอีก 568 ล้าน
- ครม.ไฟเขียวเพิ่มงบเวนคืนฯ 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' เป็น 5.7 พันล้าน
- ไฟเขียวงบ 4.1 พันล้าน! รื้อย้ายสาธารณูปโภคแนว ‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’
- เซ็นเเล้ว! สัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คาดเปิดบริการปี 66
- ครม.เห็นชอบร่างพรฎ.เวนคืนที่ดิน5จว. สร้างไฮสปีดเทรนเชื่อม3สนามบิน