‘เศรษฐา’ ลุยดูอีอีซี กำชับ ‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ ปัญหาทุกอย่างต้องจบในเดือน ก.ค.นี้ ‘เลขาจุฬา’ รายงานปัญหา เตรียมเสนอเห็นชอบในหลักการแก้สัญญาเดือน ก.ค.นี้ ก่อนเข้ากระบวนการแก้ไขสัญญา-ตรวจบรู๊ฟโดยอัยการฯ ชงครม.ปลายปีนี้ปิดจบ เริ่มสร้าง ม.ค. 68 พร้อมเปิดทางเคสเลวร้ายประมูลหาเอกชนรายใหม่ ‘นายกฯ’ ห่วงกระทบสนามบินอู่ตะเภา
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า วันที่ 23 มิถุนายน 2567 ณ สนามบินอู่ตะเภา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี หารือประเด็นปัญหาและการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ เพื่อรองรับการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศาภาคตะวันออก (EEC) พร้อมติดตามพื้นที่ก่อสร้างโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก โดยมีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นางมนพร เจริญศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง พลเรือเอก อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ นายไตรภพ วงศ์ไตรรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง นายธวัชชัย ศรีทอง ผู้ว่าราชการชลบุรี นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ นายกเมืองพัทยา และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม
นายเศรษฐาเริ่มต้นว่า ที่มาวันนี้เพื่อติดตามเรื่องของสนามบินอู่ตะเภา การพัฒนา EEC รวมถึงรถไฟความเร็วสูง ที่ถือว่าเป็นเมกะโปรเจกต์ของรัฐบาลนี้ ซึ่งมีการทำกันมาหลายรัฐบาลแล้ว โดยรัฐบาลนี้ตระหนักถึงความสำคัญเรื่องการเชื่อมโยง และเป็นที่ทราบกันดีว่ามีความล่าช้าอยู่บ้าง เพราะฉะนั้นในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดมีความสำคัญอย่างยิ่ง
@จี้ไฮสปีดต้องได้ข้อสรุป หวั่นกระทบสนามบินอู่ตะเภา
"การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นหัวใจของการพัฒนาในเขตเศรษฐกิจ เชื่อว่าฝ่ายเอกชนและผู้ที่เกี่ยวข้องเรื่องสนามบินตามความเข้าใจของอย่างที่บอกมีความพร้อมและทำตามข้อตกลงแล้ว แต่ว่าถ้าเกิดเรื่องของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินยังมีความล่าช้าอยู่ ตรงนี้จะสร้างความมั่นใจให้เอกชนอย่างไรเพราะทราบว่าการมาร่วมทุนตรงนี้จะเกิดจริงหรือไม่ หากเกิดล่าช้าและไม่เกิด ทำไปมันก็ไม่ต่อภาพไม่ครบการลงทุน ทำต่อไปก็ไม่คุ้ม มันก็เป็นการอีหลัก อีเหลื่อ หากสถานการณ์เป็นไปแบบนี้ ตรงนี้ อยากให้ความกระจ่าง" นายเศรษฐาระบุ
@ทวนประเด็นไฮสปีดติดหล่ม
เลขาธิการอีอีซีตอบนายกรัฐมนตรีว่า ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกันของทั้ง 2 โครงการคือการออกแบบทางลอดรถไฟความเร็วสูงบริเวณใต้สนามบินอู่ตะเภาที่จะต้อทำเป็นสถานีรถไฟความเร็วสูง ที่ปัจจุบันยังไม่ได้ข้อสรุป อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ที่เอกชนจะเริ่มทำอาคารผู้โดยสารก่อนทำรันเวย์ที่ 2 ก่อนก็ได้ กำลังเจรจากัน
ส่วนปัญหาของรถไฟความเร็วสูง จริงๆมีการลงในสัญญาไปตั้งแต่ปี 2562 และต้องก่อสร้างตั้งแต่ปี 2564 แต่เนื่องจากเกิดสถานการณืการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้เอกชนคือ บจ.เอเชีย เอราวัน (ซี.พี.) ประสบปัญหาทางการเงินอย่างหนัก หาคนทำงานไม่ได้ และเป็นเหตุผลที่ทำให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ออกหนังสือให้เริ่มงาน (Notice to Proceed: NTP) ไม่ได้
โดยเงื่อนไขที่จะทำให้ออกหนังสือ NTP ได้นั้นประกอบด้วย 1.รฟท.ต้องส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างให้ ซึ่งเงื่อนไขนี้โอเคแล้ว 2. ส่งมอบพื้นที่พัฒนาโครงการบริเวณมักกะสัน ข้อนี้ก็ไม่มีปัญหา และ 3. เอกชนต้องได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ข้อนี้ ยังไม่สามารถจัดการได้ และที่ผ่านมาทางเอกชนได้ทำหนังสือชี้แจงถึงเหตุผลที่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ โดยอ้างเหตุผล 2 ข้อคือ ผลกระทบจากโควิด และสงครามรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งจาก 2 ข้อนี้ทำให้สมมติฐานในการดำเนินโครงการเปลี่ยนแปลงไป
กล่าวคือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงขึ้น, ค่าก่อสร้างแพงขึ้น และรายได้ค่าโดยสารที่น่าจะได้รับเปลี่ยนไปจากการศึกษาเมื่อปี 2562 เนื่องจากช่วงโควิดทำให้เกิดวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ท้ายที่สุด ทำให้สถาบันทางการเงินที่ขอกู้ไว้ ไม่อนุมัติเงินกู้ให้ ทำให้อีอีซีและรฟท.ต้องใช้หลักการเจรจากับเอกชนตามหลักการร่วมลงทุนแบบ PPP เพื่อประคองให้โครงการไปต่อได้
นายจุฬากล่าวต่อว่า ปัจจุบัน ทางอีอีซีจะนำเสนอแนวทางในการแก้ปัญหานี้ให้กับคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (บอร์ดอีอีซี) พิจารณา แล้วไปสู่ที่ประชุมครม.ต่อไป โดยจะเสนอในหลักการก่อนในเดือน ก.ค. 2567 ว่าจะแก้อะไรบ้าง เมื่อเห็นชอบแล้ว จะเอาสัญญาที่แก้ไปสู่กระบวนการอัยการสูงสุดพิจารณา แล้วกลับมาที่บอร์ดอีอีซีอีกครั้ง ก่อนจะเสนอ ครม.อนุมัติการแก้ไขสัญญา ซึ่งคาดว่ากระบวนการนี้จะจบลงในช่วงปลายปี 2567 เริ่มก่อสร้าง ม.ค. 2568 จะแล้วเสร็จประมาณปี 2570-2571
เมื่อฟังจบ นายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า คำถามต่อมาคือระหว่างนี้คนที่ทำสนามบินอู่ตะเภา จะเดินหน้าต่อหรือเปล่าและความเสี่ยงมันก็มีว่าหากจบไม่ได้หรือหากกระบวนการยุติธรรม ไม่สามารถหาข้อยุติได้ ตัวบทสัญญามันจะทำอย่างไรต่อไป
นายจุฬา ชี้แจงว่า ถ้าหากไปไม่ได้จริงๆ งานที่เกี่ยวกับอุโมงค์ลอดใต้สนามบิน ก็จะหารือกัน เพื่อหาแนวทางในการดำเนินการต่อไป กล่าวคือ อาจจะให้เอกชนรายใหม่มาทำโครงการรถไฟความเร็วสูงแทน เพราะอย่างไรก็ตาม สนามบินอู่ตะเภาต้องมีรถไฟความเร็วสูง
เมื่อฟังจบ นายเศรษฐากล่าวว่า ขอฝากไว้อย่าให้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการก่อสร้างสนามบินหากรถไฟเชื่อม 3 สนามบินมีปัญหา ตนเชื่อว่าหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับโปรเจกต์นี้ต้องไปพูดคุยกันให้ดี เพราะสนามบินอู่ตะเภามีความสำคัญอย่างยิ่งกลับเมกะโปรเจกต์ของเรา ซึ่งเมื่อวันที่ 22 มิ.ย.ที่ตนได้ลงพื้นที่ไปดูเรื่องพื้นที่สร้างสนามแข่งขัน F1 หากไม่มีสนามบินมันก็ลำบากกับเรื่องการกระตุ้นการท่องเที่ยว ฉะนั้นเรื่องของรถไฟเชื่อม 3 สนามบินเป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ่งประมาณสิ้นเดือนก.ค.เราก็น่าจะข้อสรุปและเป็นข่าวดี
“ในฐานะรัฐบาลอยากให้ไปต่อเพราะถือเป็นจิ๊กซอว์การลงทุนข้ามชาติต่อยอดบริษัทที่จะมาลงทุนในอีอีซี ทำธุรกิจการค้า หรือธุรกรรมการลงทุนต่างๆในภูมิภาคนี้ ถ้าหากขาดไปตัวหนึ่งก็คงลำบาก ซึ่งเราไม่ต้องไปลงรายละเอียดว่าเชื่อม 3 สนามบินต้องไปลิงก์กับสนามบินที่กรุงเทพฯอย่างไร ย้ำว่าอย่าให้เกิดปัญหาไม่เช่นนั้นหากติดกระดุมเม็ดแรกผิดตั้งแต่ต้นก็จะเกิดปัญหาตามมาเป็นมหากาพย์” นายเศรษฐา กล่าว
ด้านนายสุริยะ กล่าวว่า เรื่องรถไฟเชื่อม 3 สนามบินในขณะนี้ได้สั่งให้ รฟท. คุยกับเอกชนคู่สัญญาแล้ว คาดว่าในสิ้นเดือน ก.ค. 2567 นี้ จะสำเร็จ 80%
อ่านประกอบ
- ‘บอร์ดอีอีซี’ ยกเงื่อนไขใหม่ ‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ ไปพิจารณารอบหน้า
- ‘คกก.กำกับไฮสปีด 3 สนามบิน’ รับข้อเสนอตาม รฟท.ลุ้นรายงานบอร์ดอีอีซี
- รับทราบแนวทางแก้ไฮสปีด 3 สนามบิน ตัด BOI-บีบวางแบงค์การันตี-ฟื้น’สร้างไปจ่ายไป’
- ก่อนเส้นตาย BOI ซี.พี.ยื่น 3 ข้อเสนอไฮสปีดเลื่อนถึงมิ.ย. 67 จับตาจุดเปลี่ยนหรือจุดจบ?
- ‘สุริยะ’ เผยเอง ‘ซี.พี.’ รับงานโครงสร้างร่วมไฮสปีด ‘บางซื่อ-ดอนเมือง’ แล้ว
- ‘อีอีซี’ศึกษาปั้น ‘TOD พัทยา-แปดริ้ว’ รับไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน
- ไฮสปีด 3 สนามบิน รอ 22 พ.ค. 67 'เลขาอีอีซี' มองพ้นเดตไลน์ รฟท.ส่งมอบ NTP ได้เลย
- ประธานอนุ กมธ.ฯอ้างไฮสปีด 3 สนามบิน ‘กลุ่ม ซี.พ.’ไม่ได้ BOI 22 พ.ค.ส่อเลิกสัญญา
- ซี.พี.ยื่นข้อเสนอไฮสปีด สร้างโครงสร้างร่วมแลกหักกลบ ’หนี้แอร์พอร์ตลิ้งค์’ หมื่นล้าน
- บอร์ดกำกับ ‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ นัดกลางเดือน ก.พ.นี้ หารือเงื่อนไขส่งมอบ NTP
- คงเงื่อนไขรอสิทธิ์ BOI ‘รถไฟ’ ยังไม่เคาะสร้าง ไฮสปีด 3 สนามบิน
- ‘รถไฟ’ รอ ‘อัยการฯ’ ตีความส่งเสริมลงทุน บีบ'ซี.พี.'รับ NTP สร้างไฮสปีด 3 สนามบิน
- ‘อีอีซี-คมนาคม-รฟท.’ สางเงื่อนไขไฮสปีด 3 สนามบิน บีบซี.พี.เริ่มสร้าง ม.ค. 67
- ‘รถไฟ’ วางเป้านับหนึ่งสร้างไฮสปีด 3 สนามบิน ไตรมาส 1 ปี 2567
- ซี.พี.ส่อไม่รับทำโครงสร้างร่วม ‘ไฮสปีดไทยจีน-3สนามบิน’ คาดงบบาน 2 หมื่นล้าน
- อีอีซีตั้งเป้า ม.ค. 67 เคลียร์แก้สัญญาไฮสปีด 3 สนามบิน - ลุ้น NTP อู่ตะเภาสิ้นปี 66 นี้
- ‘รถไฟ’ขีดเส้นปี 66 ปัญหาไฮสปีด 3 สนามบินต้องจบ
- ส่องการบ้าน ‘คมนาคม’ เสิร์ฟสารพัดบิ๊กโปรเจ็กต์ วัดฝีมือ ‘สุริยะ’ เข็นลงทุน 3.6 แสนล.
- ‘บิ๊กตู่’ ยกคณะดูงาน ไฮสปีดไทยจีน กทม.-โคราช ปักธงปี 2570 ได้นั่งแน่
- ครม.รับทราบผลงานไฮสปีดไทยจีน เฟส 1 ถึงโคราช เสร็จปี 69
- ครม.รับทราบความคืบหน้าไฮสปีด'ไทย-จีน'-จ่อถก 3 ชาติเชื่อมเส้นทาง'หนองคาย-เวียงจันทน์'
- เปิด 2 หลักการ'รบ.บิ๊กตู่'อุ้ม'ซีพี'ลุย'ไฮสปีด3สนามบิน' ชงรื้อสัญญาเยียวยา‘เหตุสุดวิสัย’
- ครม.เห็นชอบประกาศเก็บค่าโดยสารสายสีเหลือง - รับทราบแก้สัญญาไฮสปีด 3 สนามบิน
- ไฮสปีด 3 สนามบิน ขยับส่งมอบ NTP เป็นในปี 66 สร้าง ‘บางซื่อ-ดอนเมือง’ ยังจบไม่ลง
- ไฮสปีด 3 สนามบินส่อส่งมอบ NTP ไม่ทัน มิ.ย. 66 ฝ่าทางตันบางซื่อ-ดอนเมือง 9 พ.ค.66
- เลขาฯอีอีซี พร้อมส่ง NTP ไฮสปีด 3 สนามบิน มิ.ย.66 ลุ้นซี.พี.ได้ BOI ทันกำหนด
- ‘รถไฟ-อีอีซี’ ขีดเส้น 31 มี.ค.66 เคลียร์เงื่อนไข ‘สร้างไป-จ่ายไป’ ไฮสปีดแสนล้าน
- ‘สุพัฒนพงษ์’ รับแก้สัญญา ‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ ไม่เสร็จในรัฐบาลนี้
- บอร์ดอีอีซี ไม่รับข้อเสนอ ซี.พี.จ่ายไปสร้างไปแสนล้าน ‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’
- ปักธง มิ.ย. 66 สร้าง ‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ ‘ซี.พี.’ ดึงเกมรอข้อเสนอ ‘บีโอไอ’
- ยื้อ ‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ จ่อขอลดสเปกโครงสร้างร่วม ‘รถไฟไทย-จีน’ 9.2 พันล้าน
- ย้อนปัญหา‘ไฮสปีดเทรน 3 สนามบิน’ 2.24 แสนล. วัดฝีมือคณะทำงาน 'ปลัดคลัง' สางปมเงื่อน?
- ‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ ยังนิ่ง ‘สุพัฒนพงษ์’ ลุ้น พ.ย. 65 คณะทำงานเริ่มคุยปม 4 ข้อเสนอ
- เปิดพื้นที่ ‘ลำรางมักกะสัน’ ชนวนยื้อส่งมอบ ‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ รบ.บิ๊กตู่ วาดไว้สะดุด
- สแกนความคืบหน้า'ไฮสปีด 3 สนามบิน'สางปัญหาล่าช้า ขีดเส้น ต.ค.65 เริ่มก่อสร้าง
- ชง ‘อนุอีอีซี’ เคาะแก้สัญญาไฮสปีด 3 สนามบิน เล็งจบใน ต.ค. 65 ปักหมุดเปิดปี 70
- ครม.ไฟเขียวจัดสรรงบกลาง จ่ายเวนคืนที่ดิน ‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’ เพิ่มอีก 568 ล้าน
- ครม.ไฟเขียวเพิ่มงบเวนคืนฯ 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' เป็น 5.7 พันล้าน
- ไฟเขียวงบ 4.1 พันล้าน! รื้อย้ายสาธารณูปโภคแนว ‘ไฮสปีด 3 สนามบิน’
- เซ็นเเล้ว! สัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คาดเปิดบริการปี 66
- ครม.เห็นชอบร่างพรฎ.เวนคืนที่ดิน5จว. สร้างไฮสปีดเทรนเชื่อม3สนามบิน