สิ่งของที่ถูกยึดได้นั้นมีหนังสือเดินทางประเทศอื่นซึ่งอยู่นอกเหนือจากประเทศเจ้าของสัญชาติของผู้ต้องสงสัย ซึ่งตำรวจสิงคโปร์เชื่อว่าประเทศผู้ออกหนังสือเดินทางเหล่านี้ได้แก่ประเทศวานูอาตู,เซนต์คิตส์และเนวิส,กัมพูชาและโดมินิกา โดยในปัจจุบันมีหลายประเทศเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เป็นพลเมืองด้วยวิธีการที่สั้นกว่าประเทศอื่นมาก ด้วยการเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจเข้าไปลงทุนในประเทศนั้นๆ ซึ่งประเทศที่มีช่องทางพิเศษในการออกสัญชาติเหล่านี้ก็ได้แก่ประเทศตุรเคีย,เซนต์คิตส์และเนวิส และโดมินิกาเป็นต้น
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้ขอนำเสนอรายงานเกี่ยวกับขบวนการฟอกเงินที่มีการใช้หนังสือเดินทางในหลายประเทศ
โดยสำนักข่าวเอบีซีของออสเตรเลียได้รายงานข่าวกรณีที่มีชาวต่างชาติจำนวนสิบรายถูกจับกุมได้ที่ประเทศสิงคโปร์เมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมา พร้อมกับเงินอีกเป็นจำนวนนับพันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ซึ่งชาวต่างชาติที่ว่านี้ก็พบว่ามาจากหลายประเทศ อาทิ จีน วานูอาตู ไซปรัส ตุรเคีย และกัมพูชา
อย่างไรก็ตามพบข้อมูลเพิ่มเติมว่าผู้ต้องหาทั้งหมดพกหนังสือเดินทางที่ออกโดยประเทศอื่นๆ
คำถามสำคัญก็คือว่าเงินจำนวนนับพันล้านดอลลาร์ฯ ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการฟอกเงินนั้นมาจากไหน และพวกเขาเหล่านี้ได้รับหนังสือเดินทางด้วยวิธีไหน
@การเข้าจับกุมนั้นเกี่ยวกับอะไร
ย้อนไปเมื่อวันที่ 8 ส.ค. เจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวน 400 คนทั่วประเทศสิงคโปร์ได้เข้าตรวจค้นทั่วทั้งเกาะ และต่อมาในวันที่ 15 ก็ได้มีการเข้าจู่โจมโดยพร้อมกัน ในสถานที่เก้าแห่งเป็นอย่างน้อย สามารถยึดทรัพย์สินได้มากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (25,926,335,290 บาท) ทรัพย์สินที่ว่านี้รวมไปถึงอสังหาริมทรัพย์ 94 แห่ง บัญชีธนาคารหลายบัญชีมูลค่า 110 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (2,851,896,881) รถยนต์หลายคันมูลค่า 23 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (596,305,711 บาท) กระเป๋าถือและนาฬิกาสุดหรูหลายร้อยเรือนเครื่องประดับและทองคําแท่งสองแท่ง
ชาวต่างชาติที่ถูกจับกุมมีอายุระหว่าง 31 ถึง 44 ปี รวมถึงชาวไซปรัสอายุ 40 ปีที่กระโดดออกมาจากระเบียงชั้นสองของบังกะโลของเขาและถูกพบว่าซ่อนตัวอยู่ในท่อระบายน้ำ
เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ให้ข้อมูลอีกว่ามีบุคคลผู้เกี่ยวข้องจำนวน 12 รายได้ช่วยเหลือการสืบสวน และอีกแปดรายถูกออกหมายจับ
รถยนต์ที่ถูกตำรวจสิงคโปร์ยึดได้
แถลงการณ์ของตํารวจระบุว่า กลุ่มนี้ถูกสงสัยว่าฟอกเงินจากอาชญากรรมในต่างประเทศ รวมถึง "การฉ้อโกงและการพนันออนไลน์" และถูกตั้งข้อหาในความผิดต่างๆ รวมถึงการฟอกเงิน การปลอมแปลงเอกสาร และการต่อต้านการจับกุม
โดยผู้ถูกจับกุมบางคนพบว่าพกหนังสือเดินทางเอาไว้ถึงสองประเทศหรือมากกว่า
ทางด้านของนายเดวิด ชิว ผู้อํานวยการฝ่ายกิจการพาณิชย์ของกองกําลังตํารวจกล่าวว่าสิงคโปร์จะไม่ทนต่อการที่ประเทศถูกใช้เป็นที่หลบภัยสําหรับอาชญากรหรือครอบครัวของพวกเขาและจะไม่ทนต่อการที่ประเทศกลายเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในด้านการธนาคารสำหรับคนกลุ่มนี้
เครื่องเพชร และนาฬิกาของกลุ่มผู้ต้องสงสัยว่าจะมีความผิดฐานฟอกเงิน
@สิงคโปร์ควรจะสะอาดใช่หรือไม่
นายแคลนซี มัวร์ ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติออสเตรเลียหรือ Transparency International Australia chief ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอบีซีว่าแม้ว่าสิงคโปร์จะมีชื่อเสียงในการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด แต่ก็เป็นสถานที่ที่น่าดึงดูดสำหรับการตั้งหน้าร้านสําหรับกลุ่มผู้ฟอกเงิน
“ประเทศสิงคโปร์มอบโอกาสให้กับอาชญากร และโจรต่างๆ ด้วยเหตุผลที่ว่าสิงคโปร์เป็นหนึ่งในเขตอำนาจศาลที่เก็บความลับทางการเงินได้ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ส่งผลทำให้กลายเป็นแหล่งเก็บเงินและรายได้จากอาชญากรรมที่ผิดกฎหมาย” นายมัวร์กล่าว
โดยสิงคโปร์เป็นที่ตั้งของสถาบันการเงินระดับภูมิภาคหลายแห่ง มีภาษีนิติบุคคลที่ต่ำมาก และผู้คนสามารถจะก่อตั้งโครงสร้างบริษัทได้ แค่การคลิกเมาส์เท่านั้น
"ตัวอย่างเช่น เรารู้ว่าแก๊งอาชญากรรมและระบอบเผด็จการจำนวนหลายแห่ง เช่นรัฐบาลทหารเมียนมาใช้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางทางการเงินในฟอกเงินสกปรกของพวกเขา” นายมัวร์กล่าว
@ผู้ต้องสงสัยเหล่านี้มาจากไหน
ในบรรดาชายเก้าคนและผู้หญิงหนึ่งคนที่ถูกจับกุมพบว่าเป็นพลเมืองจีนสามคน พลเมืองกัมพูชาสามคน พลเมืองวานูอาตูหนึ่งคน เป็นพลเมืองตุรเคียหนึ่งคนและไซปรัสสองคน
โดยสิ่งของที่ถูกยึดได้นั้นมีหนังสือเดินทางประเทศอื่นซึ่งอยู่นอกเหนือจากประเทศเจ้าของสัญชาติของผู้ต้องสงสัย ซึ่งตำรวจสิงคโปร์เชื่อว่าประเทศผู้ออกหนังสือเดินทางเหล่านี้ได้แก่ประเทศวานูอาตู,เซนต์คิตส์และเนวิส,กัมพูชาและโดมินิกา โดยในปัจจุบันมีหลายประเทศเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เป็นพลเมืองด้วยวิธีการที่สั้นกว่าประเทศอื่นมาก ด้วยการเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจเข้าไปลงทุนในประเทศนั้นๆ ซึ่งประเทศที่มีช่องทางพิเศษในการออกสัญชาติเหล่านี้ก็ได้แก่ประเทศตุรเคีย,เซนต์คิตส์และเนวิส และโดมินิกาเป็นต้น
เมื่อปี 2565 ที่ผ่านมา สหภาพยุโรปหรืออียูได้มีการระงับข้อตกลงยกเว้นวีซ่าของประเทศวานูอาตู อันเกี่ยวกับโครงการ “หนังสือเดินทางทองคำ” หลังจากที่มีความกังวลว่าอียูอาจจะขาดการตรวจสอบ และวิเคราะห์สถานะของเจ้าของวีซ่า ทำให้เกิดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยและเสี่ยงในการฟอกเงิน
โครงการหนังสือเดินทางทองคำนี้คิดเป็นรายได้ให้กับประเทศวานูอาตูถึงกว่าหนึ่งในสามของรายได้ทั้งหมด ซึ่งในปี 2563 ที่ผ่านมา วานูอาตูได้เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจสามารถซื้อสัญชาติวานูอาตูได้ในราคา 130,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (4,570,800 บาท)
ส่วนประเทศไซปรัสเองก็ยกเลิกโครงการลงทุนในหนังสือเดินทางในปี 2563 หลังจากที่สำนักข่าวอัลจาซีรารายงานว่าโครงการนี้ถูกใช้ประโยชน์โดยอาชญากร
ทั้งนี้หลังจากเหตุจับกุมในสิงคโปร์ สำนักข่าวไซปรัสเมล์ได้รายงานข่าวว่านางไอรีน ชาราลิมบิดู สส.ไซปรัส ได้ขอฟังการบรรยายสรุปฉบับเต็มจากกระทรวงมหาดไทยในประเทศ
“การที่ต่างชาติตีตราประเทศของเรา อันเป็นผลมาจากพฤติกรรมละเมิดที่อยู่เบื้องหลังโครงการหนังสือเดินทางทองคำควรได้รับการจัดการทันที โดยรัฐมนตรีและผู้มีอำนาจ เพื่อที่จะให้หนังสือเดินทางของพวกเขา (ผู้ต้องสงสัย) ถูกเพิกถอน” นางชาราลิมบิดูกล่าว
ส่วนสำนักข่าวพนมเปญโพสต์ได้รายงานข่าวว่าผู้ต้องสงสัยสามคนได้รับสัญชาติกัมพูชา ผ่านกระบวนการแปลงสัญชาติในปี 2561 และ 2562
ผู้ต้องสงสัยหลายรายพบว่ามีหนังสือเดินทางมากกว่าหนึ่งประเทศ ซึ่งออกโดยโครงการหนังสือเดินทางทองคำ
@ทำไมทําไมผู้ต้องสงสัยอาจมีหนังสือเดินทางเพิ่มเติมอีก
นายมัวร์กล่าวว่าการได้รับสัญชาติเพิ่มเติมเป็นประโยชน์สําหรับผู้ฟอกเงินอย่างแน่นอน
“การเป็นพลเมืองประเทศนั้นๆสามารถทำให้ผู้ฟอกเงินจัดตั้งโครงสร้างบริษัท และซื้ออสังหาริมทรัพย์ ลงทุนในประทเศใหม่ได้ง่ายขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงจากการตรวจจับและกฎระเบียบต่างๆ” นายมัวร์กล่าวและกล่าวต่อไปว่าหลายประเทศตั้งโครงการหนังสือเดินทางและวีซ่าทองคำขึ้นเพื่อดึงดูดการลงทุนและธุรกิจ
โดยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่รัฐและนักธุรกิจที่ทุจริตได้เข้าซื้อหนังสือเดินทางทองคำและวีซ่าเอาไว้เป็นจำนวนหลายราย เพื่อช่วยปกปิดทรัพย์สินและตัวตนของพวกเขา
นายมัวร์กล่าวอีกว่ากรณีอื้อฉาวเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงมุมอับ ซึ่งไม่มีการลงทุนและการโยกย้ายถิ่นฐานเกิดขึ้นจริง โดยนับตั้งแต่การรุกรานยูเครน พบข้อมูลว่าชาวรัสเซียกำลังสร้างตัวตนใหม่ โดยให้บุคคลจำนวนมากได้หนังสือเดินทางผ่านช่องทางนี้
ขณะที่องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติออสเตรเลียได้ถกเถียงกันมานานหลายปีแล้วว่า กรณีการโยกย้ายการลงทุนอย่างรวดเร็วนั้นเต็มไปด้วยความเสี่ยงจากการทุจริตและก่อให้เกิดการฟอกเงิน
“ในออสเตรเลียและบางส่วนของยุโรป โครงการวีซ่าทองคําซึ่งเป็นที่ถกเถียง ได้ถูกยกเลิกไปในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงของการฟอกเงินและความมีธรรมาภิบาลของโครงการ” นายมัวร์กล่าวทิ้งท้าย
เรียบเรียงเนื้อหาและอ้างอิงรูปภาพจาก: https://www.abc.net.au/news/2023-08-25/singapore-money-laundering-case-citizenships-passports/102767474
อ่านประกอบ:
- ส่องคดีทุจริตโลก:ชี้เป็น ปย.ต่อประชาชน-ศาลสูงสั่ง สธ.แอฟริกาใต้ เปิดทุกสัญญาวัคซีนโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก:คนใกล้ชิด รมว.กห.ยูเครน เอี่ยวจัดซื้อชุดทหารฤดูหนาวด้อยคุณภาพ พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ตร.ออสซี่สั่งสอบ ปมสินบนนักการเมืองนาอูรู แลกสัญญาศูนย์กักกันหมื่นล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉเส้นเงินผิด กม.ผ่านภูมิภาคบอลข่านตะวันตก หลังสงครามรัสเซีย-ยูเครนปะทุ
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตอั๊งยี่จากมาเก๊า สู่นักธุรกิจทุนจีนสีเทา เจ้าของคาสิโนที่เมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ที่ปรึกษาออสซี่ใช้ความลับ รบ.ให้คำแนะนำเอื้อเอกชนยักษ์ใหญ่เลี่ยงภาษี
- ส่องคดีทุจริตโลก:ส.ส.ดังจอร์เจีย อ้างข้อผิดพลาด-ไร้เจตนาซุกอพาร์ทเมนท์หรู ณ ดูไบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: ทหารรับจ้างแวกเนอร์ยึดแอฟริกากลาง หนุนเผด็จการ แลกผลประโยชน์นับแสนล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:อาวุธสวีเดน ถูกอินเดียส่งออกให้ทัพเมียนมา ใช้ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปงเอกชนสวิส ตั้ง บ.ย่อย หลบคว่ำบาตร แอบขายน้ำมันรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมปัญหาการใช้กฎหมายใหม่แคนาดา รับมือโอลิการ์ชลงทุนสินทรัพย์มหาศาล
- ส่องคดีทุจริตโลก: จากปมสินบนโรลซ์รอยส์โยงกรณีอื้อฉาว จัดซื้อ บ.ฝึก ทอ.อินเดียนับหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เส้นทางทองคำ แสน ล.จาก 'รัสเซีย' สู่ UAE หลบมาตรการคว่ำบาตรตะวันตก
- ส่องคดีทุจริตโลก: ยูเอ็นเผย 'สิงคโปร์' ส่งออกชิ้นส่วนให้กองทัพเมียนมา 8 พัน ล. หลัง รปห.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เผยความมั่งคั่งบิ๊ก ทอ.เมียนมา ให้เครือญาติตั้งบริษัทรับงานนับพันล้าน
- ส่องคดีทุจริตโลก:อดีตลูกจ้างฟ้องศาล แฉ บ.แคนาดา จ่ายสินบน แลกสัญญารถเกราะยูเครน พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัทพลังงานเยอรมนี เอี่ยวส่งเชื้อเพลิง เอื้อกองทัพรัสเซีย บุกยูเครน
- ส่องคดีทุจริตโลก: สกอตแลนด์ทำสัญญาจ้างตุรเคีย ต่อเรือ 9 พัน ล. ท้องถิ่นไม่ได้ประโยชน์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกสารหลุดเพนตากอน แฉความสัมพันธ์ รัสเซีย- UAE ช่วยหลบมาตรการคว่ำบาตร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เจาะลึกระบบธนาคารใต้ดินจีน เอี่ยวฟอกเงินพันล้านแก๊งยาเสพติดยุโรป
- ส่องคดีทุจริตโลก: อัยการ EU สั่งสอบ งบฟื้นฟูเมืองหลวงบัลแกเรียไม่โปร่งใส เสียหาย ร้อย ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.เซอร์เบีย ส่อใช้งานนักจารกรรมข้อมูลการเงินอิสราเอลโจมตีฝ่ายตรงข้าม
- ส่องคดีทุจริตโลก: เอกชนใกล้ชิดพรรคการเมือง ได้สัญญาส่งอาหารกองทัพลัตเวีย 8 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการสวิสสั่งฟัน 4 นายธนาคาร เอื้อประโยชน์คนสนิทปูตินฝากเงินนับพัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปง 3 เอกชนเยอรมนี นำเข้าไม้สักผิด กม.จากเมียนมานานนับปี
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉ หน.ทหารรับจ้างวากเนอร์ หลบคว่ำบาตรตะวันตก หารายได้ พัน ล.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก: แฉคอร์รัปชั่นวงการก่อสร้างตุรเคีย ต้นเหตุยอดตายแผ่นดินไหว 4.6 หมื่นศพ
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปม บ.เกลมาโต้ถูกกล่าวหาจ่ายคอมมิชชั่นเอื้อทำสัญญาหลาย รบ.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดโปง บ.พลังงานยักษ์ใหญ่ตะวันตก ทำธุรกิจหนุนเส้นเงินเผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดปมฉาว กห.ยูเครนจัดซื้ออาหารไม่โปร่งใส กระทบความเชื่อมั่นต่างชาติ
- ส่องคดีทุจริตโลก:ขมวดปมอื้อฉาว ATK สะเทือนพรรคคอมฯเวียดนามอย่างไร หลัง ปธน.ลาออก
- ส่องคดีทุจริตโลก: ตามรอยบุหรี่จีนนับล้านมวนสูญหาย หลังเดินทางออกจากโรงงานในโรมาเนีย
- ส่องคดีทุจริตโลก: เปิดโปงเอกชนรับงานบูรณะถนนยูเครนพันล้าน เชื่อมโยงผู้ต้องหาหนีคดี FBI
- ส่องคดีทุจริตโลก: ประมวลข่าวคอร์รัปชันโลกปี 65 จากโอลิการ์ชรัสเซียถึงเอกสารแพนโดรา