ประเด็นที่สำคัญก็คือว่าชุดพีพีอีที่ถูกซื้อนั้นถูกเปรียบเทียบกับการชุดซื้อชุดพีพีอีในช่วงเวลาของการระบาดของไวรัสนิปาห์ ที่เมืองโคชิโคเดะเมื่อปี 2561 โดยในช่วงเวลาดังกล่าวมีการจัดซื้อชุดพีพีอีคิดราคาต่อชุดอยู่ที่ 550 รูปี (245.07 บาท)เท่านั้น แต่ปรากฏว่าชุดพีพีอีที่ถูกซื้อผ่าน KMSCL กลับมีราคาอยู่ที่ 1,550 รูปี (690.64 บาท) และนอกจากนี้ยังพบว่าในการจัดซื้อจำนวนมากมีการให้เงินกว่า 90 ล้านรูปี (40,101,768 บาท) ล่วงหน้าให้กับผู้ที่จัดจำหน่าย
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้ขอนำเสนอกรณีความไม่โปร่งใสการจัดซื้อชุดป้องกันการติดเชื้อหรือว่าชุดพีพีอี ที่เกิดขึ้น ณ รัฐเกรละ ประเทศอินเดีย ในช่วงต้นของการระบาดของไวรัสโควิด-19
รัฐเกรละ ประเทศอินเดีย
โดยสำนักข่าว Manorama Online ซึ่งเป็นสำนักข่าวท้องถิ่นของรัฐเกรละของประเทศอินเดียได้รายงานข่าวเมื่อวันที่ 18 ธ.ค.ที่ผ่านมาว่ากรณีการจัดซื้อเวชภัณฑ์สำหรับหน่วยงานสาธารณสุขในรัฐเกรละในช่วงแรกเริ่มของการระบาดของไวรัสโควิด-19 นั้นกำลังมีประเด็นเกี่ยวข้องกับการทุจริต โดยผู้ทุจริตได้ใช้สถานการณ์ของการระบาดนี้เพื่อประโยชน์ของตัวเอง ในขณะที่ประชาชนกำลังเดือดร้อน
ซึ่งจากข้อมูลเชิงลึกในเอกสารการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจ Kerala Medical Services Corporation Limited หรือ KMSCL ได้เปิดโปงให้เห็นถึงความผิดปกติที่แฝงมากับการจัดซื้อดังกล่าว เริ่มตั้งแต่อีเมลที่ระบุวันที่ 30 พ.ย.ที่ผ่านมา ที่มีการเผยแพร่อย่างกว้างขวางงในพนักงานของรัฐวิสาหกิจ KMSCL โดยหัวข้ออีเมลว่า Nellum Pathirum Thirichariyuka หรือแปลตรงตัวว่าการแยกเมล็ดออกจากแกลบ และสาระสำคัญของอีเมลนั้นพบว่าผู้จัดการทั่วไปของรัฐวิสาหกิจที่เพิ่งจะถูกแต่งตั้งใหม่นั้นได้รับคำแนะนำผิดๆ จากกลุ่มคนที่มีส่วนในการทุจริต
โดยเชื่อกันว่า มีบางคนที่เกี่ยวกับการแพร่กระจายของอีเมลดังกล่าวนั้นก่อนหน้านี้พบว่าถูกโยกย้ายตำแหน่งไป หลังจากที่มี อดีตรัฐมนตรีสาธารณสุขประจำรัฐเกรละได้ลาออกจากตำแหน่ง
@ช่วงเวลาฉวยโอกาส
ที่ผ่านมานั้นรัฐวิสาหกิจ KMSCL ได้ใช้เงินไปกว่า 1.6 หมื่นล้านรูปี (7,129,203,200 บาท) เพื่อจะดำเนินการจัดซื้อเวชภัณฑ์ และสิ่งของจำเป็น อาทิ ผลิตภัณฑ์สุขาภิบาล นับตั้งแต่เดือน มี.ค. 2563 และการจัดซื้อดังกล่าวนั้นก็ต้องมีการดำเนินการด้วยวิธีพิเศษเพื่อหลีกเลี่ยงคววามล่าช้าตามระบบราชการ
โดยรัฐบาลท้องถิ่นได้มีการประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติเพื่อที่จะจัดซื้ออุปกรณ์ดังกล่าว และผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นผ่านการใช้รัฐวิสาหกิจ KMSCL ในนามของความฉุกเฉินว่าด้วยสถานการณ์โควิด-19 อย่างไรก็ตามเงินที่ถูกใช้กลับมีการนำไปให้ประโยชน์กับบริษัทยาบางแห่ง
เว็บไซต์รัฐวิสาหกิจ KMSCL
@ราคาของชุดพีพีอีที่ถูกตรวจสอบ
ทั้งนี้ในช่วงแรกเริ่มของการระบาด พบว่ามีกรณีข้อกล่าวว่าราคาชุดพีพีอีที่รัฐบาลท้องถิ่นได้ซื้อมานั้นมีราคาที่สุงเกินไป ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวนายเอ็มเค มูเนียร์ รองหัวหน้าพรรคฝ่ายค้านและเลขาธิการสันนิบาตมุสลิมได้นำเอาประเด็นนี้ไปกล่าวหาในที่ประชุมสมัชชาแห่งรัฐ
ประเด็นที่สำคัญก็คือว่าชุดพีพีอีที่ถูกซื้อนั้นถูกเปรียบเทียบกับการชุดซื้อชุดพีพีอีในช่วงเวลาของการระบาดของไวรัสนิปาห์ ที่เมืองโคชิโคเดะเมื่อปี 2561 โดยในช่วงเวลาดังกล่าวมีการจัดซื้อชุดพีพีอีคิดราคาต่อชุดอยู่ที่ 550 รูปี (245.07 บาท)เท่านั้น แต่ปรากฏว่าชุดพีพีอีที่ถูกซื้อผ่าน KMSCL กลับมีราคาอยู่ที่ 1,550 รูปี (690.64 บาท) และนอกจากนี้ยังพบว่าในการจัดซื้อจำนวนมากมีการให้เงินกว่า 90 ล้านรูปี (40,101,768 บาท) ล่วงหน้าให้กับผู้ที่จัดจำหน่าย
อีกทั้งการจัดซื้อมูลค่ารวม 1.6 หมื่นล้านรูปีดังกล่าวเป็นการจัดซื้อในภาวะฉุกเฉินจึงมีการผ่อนปรนเงื่อนไขหลายประการ รวมไปถึงการจัดซื้อที่เกิดขึ้นโดยไม่มีการประกาศเชิญชวนผู้เข้าประกวดราคาด้วยเช่นกัน
สำหรับช่วงเวลาของการจัดซื้อพบว่าหลังจากเดือน มี.ค. 2563 มีคำสั่งซื้อมูลค่าหลายสิบล้านรูปีออกมาจากทาง เลขาธิการใหญ่ด้านสาธารณสุขของรัฐ โดยภายในไม่กี่วันหลังจากที่วิกฤติโควิดรุนแรงขึ้น ก็มีคำสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นได้แก่ผลฟอกขาว,เครื่องช่วยหายใจคิดเป็นมูลค่าต่อเครื่องที่ 1.5 ล้านรูปี (6,683,628 บาท) และชุดตรวจโควิด
หลังจากนั้นทางรัฐวิสาหกิจก็ได้มีการขอจัดสรรเงินจากรัฐบาลท้องถิ่นอีกกว่า 3.01 พันล้านรูปี (1,341,181,352 บาท) เพื่อจะดำเนินการจัดซื้อชุดพีพีอี และเงินอีกจำนวน 3.06 พันล้านรูปี (1,363,460,112 บาท) สำหรับจัดซื้อเครื่องช่วยหายใจและอุปกรณ์ตรวจจับโควิด ซึ่งทางรัฐบาลท้องถิ่นก็ได้อนุมัติคำของบประมาณดังกล่าวของทางรัฐวิสาหกิจ
@ผลิตภัณฑ์จากมาเลเซียมาถึงรัฐเกรละผ่านทางประเทศอังกฤษ
พบข้อมูลเพิ่มเติมว่าในช่วงเวลาระหว่างเดือน มี.ค.-พ.ค. มีการหารือกันในรัฐสภาเพื่อที่จะนำเข้าถุงมือเนื่องจากความต้องการฉุกเฉินเพื่อที่จะใช้ถุงมือทางการแพทย์ เนื่องจากเป็นเวชภัณฑ์ที่จำเป็นในการควบคุมโควิด-19 โดยคำสั่งซื้อคิดเป็นมูลค่ากว่า 10 ล้านรูปี (4,455,752 บาท) ก็ได้ถูกส่งไปยังผู้จัดหารายหนึ่งที่เมืองคาซาคูตตัมในวันที่ 31 พ.ค. และแน่นอนว่าไม่มีการเชิญผู้ร่วมประกวดราคารายอื่นอีกเช่นกัน
โดยเมื่อลงลึกในรายละเอียดการจัดซื้อพบว่า ถุงมือของบริษัท Vinyl Nitrile ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับคำสั่งจัดซื้อนั้นมีเส้นทางของถุงมือมาตั้งแต่ การซื้อที่ประเทศมาเลเซีย แล้วจึงถูกส่งไปยังประเทศอังกฤษเพื่อจะใช้ในโรงพยาบาล อย่างไรก็ตามเมื่อประเทศอังกฤษปฏิเสธที่จะรับถุงมือดังกล่าว ก็มีการนำเข้าถุงมือที่ว่านี้มายังรัฐเกรละ
อย่างไรก็ตามเมื่อติดต่อไปยังหน่วยงานด้านกำกับดูแลด้านสุขภาพของประเทศอังกฤษ ก็พบว่าหน่วยงานนั้นไม่รับรู้เลยว่าประเทศอังกฤษมีการสั่งซื้อถุงมือทางการแพทย์มาจากประเทศมาเลเซีย ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่าที่ผ่านมานั้นมีกรณีของการเก็บถุงมือทางการแพทย์ที่ด้อยคุณภาพเอาไว้ และถุงมือที่ด้วยคุณภาพที่ถูกเก็บเอาไว้เพื่อจะนำไปทำลายนั้นอาจจะถูกนำเข้าไปยังรัฐเกรละก็เป็นไปได้
และถ้าหากเป็นเช่นนั้นจริงก็หมายความว่ามีกระบวนการฉ้อโกงครั้งใหญ่เกิดขึ้นในการจัดซื้อถุงมือทางการแพทย์ที่ว่ามานี้
ตัวอย่างถุงมือการแพทย์ที่ไม่ได้คุณภาพ
ประเด็นข้อพิรุธถัดมาก็คือว่ารัฐบาลท้องถิ่นจะได้มีการออกคำสั่งในวันที่ 27 พ.ค.กำหนดราคาสูงสุดสำหรับคำสั่งนำเข้าถุงมือว่าจะอยู่ที่ 5.75 รูปี (2.56) ต่อชิ้น แต่ปรากฏข้อมูลในคำสั่งซื้อถุงมือนำเข้าว่ามีราคาถุงมือต่อชิ้นอยู่ที่ 12.15 รูปี (5.41 บาท) ต่อชิ้น และเนื่องจากข้อตกลงการจัดซื้อระบุว่าต้องมีการจ่ายเงินครึ่งหนึ่งก่อน ก็หมายความว่า รัฐบาลท้องถิ่นได้จ่ายเงินล่วงหน้าตามข้อตกลงคิดเป็นมูลค่ากล่า 60.07 ล้านรูปี (26,765,702 บาท) ให้กับทางบริษัท
ต่อมาในวันที่ 16 มิ.ย. มีการจัดส่งถุงมือเป็นจำนวนกว่า 2 ล้านชิ้น ทั้งๆที่ทางบริษัทผู้จัดหารับปากว่าจะจัดหาถุงมือให้ได้กว่า 6 ล้านชิ้นภายในวันที่ 28 มิ.ย. และในที่สุดยอดรวมของถุงมือทางการแพทย์ที่ได้มีการจัดส่งโดยบริษัทนั้นก็อยู่ที่ 2.16 ล้านชิ้นเท่านั้น
และเมื่อรัฐเกรละต้องประสบกับปัญหาการขาดแคลนถุงมือทางการแพทย์อีกครั้งหนึ่ง ทางรัฐวิสาหกิจจึงได้ตัดสินใจสั่งซื้อถุงมือกับตลาดภายในประเทศอินเดียแทน ส่วนผลจากการสั่งซื้อถุงมือทางการแพทย์ที่ต้องนำเข้าดังกล่าวนั้น พบว่ามีถุงมือมากกครึ่งหนึ่งในคำสั่งซื้อที่ไม่ได้ถูกส่งมาให้กับรัฐเกรละ
ซึ่งพอหลังจากที่พรรคแนวร่วมฝ่ายซ้ายเพื่อประชาธิปไตย หรือ LDF ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 ก็ได้มีการส่งให้ยุติการนำเข้าถุงมือทางการแพทย์ต่อไปในทันที และยังได้แสดงความไม่พอใจอย่างยิ่งต่อเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินการจัดซื้อ แต่ถึงกระนั้นทางรัฐบาลก็ยังอนุญาตให้มีการนำเข้าถุงมือตามคำสั่งซื้อที่ยังเหลืออีกจำนวน 5.84 ล้านชิ้น โดยไม่มีการลงบันทึกแต่อย่างใด และถุงมือเหล่านี้นั้นในที่สุดก็ถูกทิ้งเอาไว้ในโกดังของทางรัฐวิสาหกิจ
นางพยาบาลรายหนึ่งให้สัมภาษณ์ในประเด็นอุปกรณ์การแพทย์ที่ไม่ได้คุณภาพ (อ้างอิงวิดีโอจาก CRUX)
@อุปกรณ์การแพทย์คุณภาพต่ำ
จากการตรวจสอบอุปกรณ์ที่ซื้อมาโดยหน่วยงานสาธารณสุขในช่วงที่มีการล็อกดาวน์นั้นพบว่ามากกว่าครึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีคุณภาพต่ำ ยกตัวอย่างเช่นพยาบาลรายหนึ่งในโรงพยาบาลใน อ.มนันทวดี พบว่าเจอกำไลข้อเท้าสีเงินนชุดพีพีอี และยังพบกรณีคราบเลือดและเศษผมมจำนวนมากที่ถูกจัดส่งไปยังโนงพยาบาลมหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลในอำเภอหลายแห่ง แต่ถึงกระนั้นทางรัฐวิสาหกิจ KMSCL ก็ยังมีการสั่งผลิตภัณฑ์จากเอกชนรายเดิมอยู่ดี
และยังพบว่ามีกรณีที่มีการจัดส่งอุปกรณ์ที่ถูกซื้อไปให้กับโรงพยาบาลอำเภอโดยไม่ได้ใช้กระบวนการตรวจสอบทางระบบไฟฟ้า ส่งผลทำให้มีอุปกรณ์อาทิ ถังออกซิเจน ตู้เย็นถูกนำไปทิ้งไว้ในโรงพยาบาลและไม่ได้ใช้ประโยชน์แต่อย่างใด
@กระบวนการทำลายเอกสาร
หนึ่งในเหตุการณ์ที่น่าตกใจก็คือกระบวนการจัดซื้อในนามของ KMSCL ในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 นั้นพบว่าถูกกระทำผ่านคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คส่วนตัวของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐวิสาหกิจ และไม่ปรากฏในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของรัฐวิสาหกิจแต่อย่างใด
ซึ่งจากการสืบสวนเบื้องต้นพบว่ามีไฟล์อิเล็กทรอนิกส์กว่า 3,000 ไฟล์ได้ถูกทำลายไป ขณะที่เจ้าหน้าที่ซึ่งรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดซื้อนั้นก็ถูกโยกย้ายไปยังหน่วยงานอื่นเช่นกัน
จึงทำให้ ณ เวลานี้ ทางฝ่ายรัฐบาลต้องมีการนำเอาฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเข้ามาตรวจสอบถึงกิจกรรมอันไม่ถูกต้อง ควบคู่ไปกับการว่าจ้างหน่วยงานภายนอก เพื่อจะกู้ไฟล์ที่ถูกทำลายดังกล่าว เพื่อที่จะหาว่ามีประเด็นทุจริตที่เกี่ยวข้องในไฟล์ที่ว่านี้หรือไม่
อ่านประกอบ :
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.ญี่ปุ่น ออกคำสั่ง จนท.ท้องถิ่นกรอกตัวเลขสัญญาก่อสร้างสูงเกินจริง
- ส่องคดีทุจริตโลก:'รบ.อังกฤษ-ไฟเซอร์'ทำสัญญาคาดแถบดำอนุญาโตตุลาการ จัดหาวัคซีน 189 ล.โดส
- ส่องคดีทุจริตโลก:จับนักธุรกิจเซเชลส์ฟอกเงิน1.6 พัน ล. โยงเครือข่าย บ.นอกอาณาเขต
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'อัยการสวิส'สั่งปรับ 2.5 ร้อย ล. บ.พลังงาน เอี่ยวปมสินบนแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกสารแพนโดราแฉ ราชวงศ์ UAE เอี่ยว บ.ออฟชอร์ให้บริการลูกค้าผิด กม.เพียบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.อังกฤษพัวพันจ้าง ส.ส.ชนะสัญญาโควิด 5.8 พันล.แต่ไม่มีอุปกรณ์
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉ สธ.อังกฤษมอบสัญญาวีไอพีให้ บ.ห้องแล็บตรวจ PCR โควิดพลาด 43,000 ราย
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม'หัวเว่ย'ทำสัญญาลับ บ.ออฟชอร์ โยงอดีต ผอ.โทรคมนาคม'เซอร์เบีย'
- ส่องคดีทุจริตโลก:องค์กรผู้บริโภคแฉ'บ.ไฟเซอร์'ทำสัญญาวัคซีนโควิดเอาเปรียบ-หวังกำไรเกินควร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเครือข่ายนักธุรกิจ-การเมืองอินเดีย ใช้ บ.ออฟชอร์ฟอกสินบน ฮ.อกัสตา
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกสารแพนโดราเผยเศรษฐีจีนเอี่ยวสินบน ใช้ บ.ออฟชอร์ซื้อเหล็กออสเตรเลีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:สหรัฐฯสอบ บ.มอร์แกน สแตนลีย์ เอี่ยวช่วยอดีต รมต.เวเนซุเอลาฟอกเงินน้ำมัน
- ส่องคดีทุจริตโลก:'บ.อเมซอน'ส่อเอี่ยวให้สินบนในอินเดีย หลังพบค่าธรรมเนียม กม.นับหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดบทวิเคราะห์ บ.บริติชอเมริกันโทแบคโค ส่อจ่ายเงินผิด กม.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก: สหรัฐฯสอบ บ.ขายระบบจรวดมิสไซล์เอี่ยวราชวงศ์กาตาร์ทำผิด กม.สินบน
- ส่องคดีทุจริตโลก: ฟิลิปปินส์ ซื้อเวชภัณฑ์โควิด 5.6 พัน ล.จาก บ.นักโทษหนีคดี 'ไต้หวัน'
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.เปลือกสิงคโปร์ ออกใบแจ้งหนี้พันล. ส่งวัคซีนโควาซินให้บราซิล
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม'สภาวิจัยอินเดีย'ออกใบรับรอง 2 ห้องแล็บเอี่ยวตรวจโควิดเท็จ
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมรัฐวิสาหกิจบรูไนทำสัญญาพลังงานเอี่ยว บ.เอกชนหนุนเผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก:รมช.สธ.อังกฤษเปลี่ยนมือถือใหม่ ก่อนถูกสอบสัญญาโควิด 3 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:'เดวิด คาเมรอน' ส่อเอี่ยวล็อบบี้ รบ.อังกฤษทำสัญญา บ.พันธุกรรม 40 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม บ.ยักษ์ใหญ่ขายเครื่องมือแพทย์แพง สู่ข้อครหาสินบน รพ.จีน
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'บราซิล'จัดซื้อวัคซีนโควาซิน หมื่นล.ส่อโยง บ.คนกลางปริศนาที่ดูไบ
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ออสเตรเลีย'อ้างความมั่นคงเครือจักรภพ ปิดข้อมูลสัญญาแอสตร้าฯหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ข้อพิรุธ'บราซิล'สั่งระงับสัญญาวัคซีนโควาซินหมื่น ล.หลังถูกรัฐสภาสอบสวน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ย้อนรอย ขรก.ญี่ปุ่นฆ่าตัวตายโยงปมเมีย'ชินโซ อาเบะ'ซื้อที่ราคาถูก
- ส่องคดีทุจริตโลก: 2 บ.เทคโนฯแคนาดาเอี่ยวจัดหาระบบล้วงข้อมูลมือถือให้เผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.รัฐปัญจาบจัดซื้อชุดโควิดแพงกว่าตลาด-สธ.ขอให้ข้อมูลในชั้นศาล
- ส่องคดีทุจริตโลก : สธ.เยอรมนี เจอข้อครหา 'ศูนย์ทดสอบทิพย์' ยักยอกเงินค่าตรวจเชื้อโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.ฮังการีทำสัญญาซื้อวัคซีนซิโนฟาร์ม 5.7พัน ล.ผ่าน บ.ทุนจดทะเบียน 3 แสน
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.มาเลเซียเสนอตัวแจกวัคซีนซิโนแวค พัวพันข้อครหา 'บริจาคทิพย์'
- ส่องคดีทุจริตโลก:กองทุนนิวซีแลนด์ถือหุ้น 2 พัน ล. 24 เอกชนเอี่ยวเผด็จการทหารเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: ภรรยาคนสนิท 'ฮุน เซน' เข้าถือครอง บ.อังกฤษ เอี่ยวธุรกรรมต้องสงสัย
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.อังกฤษยืนยันไม่เปิดเผยสัญญาวีไอพีโควิด มูลค่า 7.3 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ส.ส.สหรัฐฯสอบเอกชนใช้คอนเนคชั่น 'ทีมทรัมป์' แลกสัญญาผลิตวัคซีนหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ออสเตรเลีย'จ้างเอกชนทำโครงการแจกวัคซีนโควิด ไม่เปิดรายละเอียด
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ราฟาลจ้างคนกลางอินเดียทำโมเดล 30 ล.หลังเซ็นสัญญาเครื่องบินรบ
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเอกชนอินเดียจ่ายเงินทหารเมียนมาแลกสัญญาหมื่น ล.ท่าเรือย่างกุ้ง
- ส่องคดีทุจริตโลก : ย้อนรอยสินบนแอร์บัส ก่อนสายการบินศรีลังกาฟ้องค่าเสียหาย 3.1 หมื่นล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดเส้นทางค้าไม้จาก'เมียนมา'ไป 'ยุโรป' สู่ท่อน้ำเลี้ยง รบ.ทหาร
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ไฟเซอร์ถูกกล่าวหาทำสัญญาขูดรีด ปท.ยากจนแลกส่งวัคซีนโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก: เพนตากอนเสียค่าโง่เครื่องบินลำเลียง 1.6 หมื่น ล.ใช้งานไม่ได้
- ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตเพื่อนบ้าน รมต.สธ.อังกฤษได้สัญญาหลอดแก้วโควิด 1.2 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการอิตาลีสอบคนกลางจัดซื้อชุด PPE จีน รับคอมมิสชันนับ พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมกองทัพเมียนมาใช้เครื่องสายการบินทำภารกิจหลัง รปห.
- ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัทลอนดอนเอี่ยวออกพาสปอร์ตไซปรัสให้ผู้ต้องหา 1MDB
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเอกชนจ่ายสินบนหลายล้านแลกสัญญา ทบ.สหรัฐฯฟื้นฟูประเทศอิรัก
- ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อวัคซีนต้านโควิดผิด กม.ระบาดในตลาดมืดประเทศฟิลิปปินส์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อผู้บริจาคพรรค รบ.อังกฤษ เอี่ยวปมยักยอกรัฐวิสาหกิจน้ำมันรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:ผู้บริหาร บ.ซิโนแวคเคยพัวพันคดีสินบน ก่อนพัฒนาวัคซีนโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'ณาอีร์ โบลโซนารู' ปธน.บราซิล บุคคลทุจริตแห่งปี 63