สำนักอัยการระบุถึงข้อบกพร่องอันร้ายแรงจำนวนหลายครั้งของกระบวนการตรวจสอบภายในของบริษัทเหล่านี้นับตั้งแต่ปี 2549 ไปจนถึงต้นปี 2555 ซึ่งทั้งสามบริษัทย่อยของบริษัท SBM อันได้แก่บริษัท SBM Holding Inc. SA ,บริษัท Single Buoy Moorings Inc และบริษัท SBM Production Contractors Inc นั้นได้มีการดำเนินการเพื่อที่จะจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการทางการเงินของกลุ่ม SBM Offshore แต่อย่างไรก็ตามทั้งสามบริษัทกลับล้มเหลวในการป้องกันไม่ให้เกิดกรณีการจ่ายสินบนในประเทศแถบแอฟริกาดังกล่าว
ส่องคดีทุจริตโลก สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในสัปดาห์นี้ขอนำเสนอกรณีความไม่โปร่งใสเกี่ยวกับอุตสาหกรรมพลังงานในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
โดยเมื่อประมาณวันที่ 23 พ.ย.ที่ผ่านมา เว็บไซต์ www.upstreamonline.com ซึ่งรายงานข่าวเกี่ยวกับแวดวงพลังงานได้รายงานข่าวว่าหน่วยงานอัยการของประเทศสวิสเซอร์แลนด์นั้นได้มีการออกคำสั่งให้บริษัทย่อยจำนวนสามแห่งของบริษัท SBM ซึ่งเป็นบริษัทด้านการขุดเจาะพลังงานสัญชาติเนเธอร์แลนด์ต้องจ่ายเงินค่าปรับคิดเป็นมูลค่ากว่า 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หลังจากที่บริษัทไม่สมารถที่จะดำเนินมาตรการของหน่วยงานที่เหมาะสมในการป้องกันไม่ให้เกิดกรณีการจ่ายสินบนให้กับเจ้าหน้าที่รัฐทั้งในประเทศแองโกลา,ประเทศอิเควทอเรียลกินีและประเทศไนจีเรีย
ซึ่งทางด้านของสำนักงานอัยการสูงสุดของสวิตเซอร์แลนด์ได้มีการสั่งให้ทั้ง 3 บริษัทดังกล่าวนั้นจ่ายเงินเป็นจำนวนกว่า 7 ล้านฟรังก์สวิสหรือประมาณ 7.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (255,899,600 บาท) ซึ่งเงินจำนวนนี้นั้นรวมไปถึงค่าปรับสูงสุดคิดเป็นจำนวน 4.2 ล้านฟรังก์สวิส (152,846,178) แล้ว
@ข้อบกพร่องอันร้ายแรงหลายประการ
ข้อมูลจากสำนักอัยการระบุถึงข้อบกพร่องอันร้ายแรงจำนวนหลายครั้งของกระบวนการตรวจสอบภายในของบริษัทเหล่านี้นับตั้งแต่ปี 2549 ไปจนถึงต้นปี 2555 ซึ่งทั้งสามบริษัทย่อยของบริษัท SBM อันได้แก่บริษัท SBM Holding Inc. SA ,บริษัท Single Buoy Moorings Inc และบริษัท SBM Production Contractors Inc นั้นได้มีการดำเนินการเพื่อที่จะจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการทางการเงินของกลุ่ม SBM Offshore แต่อย่างไรก็ตามทั้งสามบริษัทกลับล้มเหลวในการป้องกันไม่ให้เกิดกรณีการจ่ายสินบนในประเทศแถบแอฟริกาดังกล่าว
จึงเป็นเหตุให้ทางสำนักอัยการได้มีคำสั่งลงโทษทั้งสามบริษัทในวันที่ 18 พ.ย.
@กรณีเคลเลอร์
กรณีเคลเลอร์นั้นเป็นกรณีล่าสุดที่เข้าสู่การดำเนินการของสำนักอัยการฯและนำไปสู่การพิพากษาของศาลอาญากลางของประเทศสวิสเมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2563 ซึ่งกรณีนี้นั้นเกี่ยวข้องกับนายดิดิเยร์ เคลเลอร์ อดีตผู้บริหารจากบริษัท SBM Offshore group และบริษัท SBM Holding Inc. SA ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนในขั้นตอนการติดสินบนเจ้าหน้าที่รัฐบาลประเทศแองโกลา
นายดิดิเยร์ เคลเลอร์ อดีตผู้บริหารจากบริษัท SBM Offshore group และบริษัท SBM Holding Inc. SA
@การดำเนินการที่สวิตเซอร์แลนด์
ทั้งนี้ทางสำนักอัยการสวิสได้สมัครใจที่จะดำเนินคดีและลงโทษบริษัทเหล่านี้ซึ่งมีความผิดทุจริตข้ามพรมแดนจากทางประเทศสวิตเซอร์แลนด์เอง แม้ว่าข้อกล่าวหาบางส่วนนั้นจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับในต่างประเทศแล้วก็ตาม
โดยข้อมูลจากการสอบสวนนั้นพบว่าในช่วงตั้งแต่ปี 2549 ถึงต้นปี 2555 มีกรณีการจ่ายสินบนเป็นเงินทั้งสิ้น 22 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (740,080,000 บาท) และมีเงินเกือบ 1 ล้านยูโร (37,977,205 บาท) ซึ่งได้มีการจ่ายให้กับเจ้าหน้าที่ทั้งในประเทศแองโกลา,ประเทศอิเควทอเรียลกินีและประเทศไนจีเรีย
@สัญญาหลอกลวง
“เส้นทางการเงินทั้งหมดนั้นมาจากบัญชีของบริษัท SBM Holding Inc. SA และในเวลาต่อมาก็มีคนกลางซึ่งดำเนินการในนามของบริษัทเปลือกนำเงินเหล่านี้ไปซุกซ่อนโดยใช้ช่องทางสัญญาลวงกับทั้งสามบริษัทเพื่อปกปิดเส้นทางการเงิน” สำนักอัยการระบุ
สำนักอัยการระบุต่อไปว่าพฤติกรรมซึ่งผิดกฎหมายเหล่านี้นั้นถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของระบบที่จัดตั้งขึ้นเพื่อจะดำเนินการจ่ายสินบนให้กับเจ้าหน้าที่รัฐในต่างประเทศ และเป้าหมายนั้นก็เพื่อที่จะทำให้กลุ่มบริษัท SBM Offshore ได้สัญญาจากทางรัฐบาล
@การไม่มีมาตรการต่อต้านการทุจริต
สำนักอัยการรายงานด้วยว่าในช่วงเวลาที่เกิดการกระทำอันทุจริตขึ้นภายในทั้งสามบริษัทและในภายในกลุ่มบริษัท SBM Offshore นั้นแสดงให้เห็นว่าช่วงเวลาที่มีกระบวนการสอบสวน,การประเมินความเสี่ยงด้านการทุจริต,มาตรการและกระบวนการป้องกันการทุจริตและการควบคุมการกระทำของคนกลางนั้นเป็นสิ่งที่ไม่เคยมีอยู่เลยหรือไม่ก็มีไม่เพียงพอที่จะป้องกันการทุจริตให้เกิดขึ้น
โดยผลของความล้มเหลวดังกล่าวนั้นดูจะเป็นเรื่องร้ายแรงมาก เพราะว่าตัวคนกลางที่ถูกใช้โดยบริษัททั้งสามนั้นควรที่จะทำหน้าที่ให้บริการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมน้ำมันและพลังงาน กลับกลายเป็นว่าเป็นตัวเชื่อมโยงกับสัญญาอันเกี่ยวข้องกับรัฐวิสาหกิจของแต่ละแห่งและนำไปสู่แนวโน้มการเกิดทุจริตในแต่ละประเทศนั้นๆ
@บริษัทต่างๆที่มีสัญญาร่วมกัน
สำนักอัยการรายงานต่อไปด้วยว่าการการตรวจสอบนั้นพบว่าทั้งสามบริษัทที่โดนคำสั่งลงโทษนั้นพบว่าไม่มีที่ทำงานโดยเฉพาะแต่กลับใช้ทั้งสถานที่ตั้ง หน่วยงานและผู้จัดการคนเดียวกัน ซึ่งในกรณีนี้นั้นตามกฎหมายของสวิสอาจจะต้องมีโทษปรับสูงสุดไปถึง 5 ล้านฟรังก์สวิส แต่อย่างไรก็ตามในกรณีของบริษัท SBM Offshore นั้นพบว่ามีการกระทำความผิดไปแล้วตั้งแต่ปี 2555 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รายละเอียดการลงโทษด้วยค่าปรับนั้นมีมูลค่าสูงสุดลดต่ำลงเงินจำนวน 5 ล้านฟรังก์สวิสดังกล่าว
@กรณีสินบนที่ไนจีเรีย
ทั้งนี้จากการตรวจสอบพบว่ายังเหลือการเก็บเงินชดเชยอีกเป็นมูลค่า 2.8 ล้านฟรังก์สวิส (101,804,743 บาท) จากกรณีที่บริษัทนั้นได้จ่ายเงินให้กับเจ้าหน้าที่รัฐในประเทศไนจีเรีย ซึ่งตามกฎหมายสวิสนั้นจะสามารถมีการเรียกร้องค่าชดเชยได้ถ้าหากสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการริบทรัพย์นั้นไม่มีอยู่หรือว่าโยกย้ายไปแล้ว
แต่ทั้งนี้ทางสำนักอัยการกล่าวว่าการเรียกร้องค่าชดเชยกรณีการจ่ายสินบนที่ประเทศไนจีเรียนั้นอาจจะไม่สามารถทำได้ไปพร้อมกับกรณีการเรียกเก็บเงินค่าชดเชยจากประเทศแองโกลาและประเทศอิเควทอเรียลกินี เนื่องจากว่าผลกำไรที่เกี่ยวข้องกับสินบนไนจีเรียนั้นถูกจ่ายรวมไปแล้วจากกรณีที่ก่อนหน้านี้ในช่วงปี 2557 มีการเจรจาเพื่อยุติคดีที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ และในเวลาต่อมาในช่วงปี 2560 ก็มีการจ่ายเงินเพื่อยุติคดีที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
ขบวนการผู้กระทำผิดในประเทศแองโกลา
@กรณีการสืบสวนที่ประเทศบราซิล
นอกเหนือจากกรณีที่แอฟริกา ทางสำนักอัยการก็ได้มีการยุติการสืบสวนข้อสงสัยเรื่องการจ่ายสินบนที่ประเทศบราซิลเพราะว่ามีหลักฐานไม่เพียงพอที่จะโยงไปถึงการให้สินบนเจ้าหน้าที่รัฐ ขณะที่ในประเทศบราซิลทางบริษัท SBM Holding Inc. SA ก็ได้มีการเจรจาเพื่อยุติคดีในปี 2560 เช่นเดียวกัน
โดยทางด้านของนาย Erik Lagendijk ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกํากับดูแลและการปฏิบัติตามกฎระเบียบของ SBM ได้กล่าวว่าทางบริษัทนั้นได้มีการปรับปรุงกฎเกณฑ์และหลักการธรรมาภิบาลให้ตรงกับมาตรฐานแล้ว และการปรับปรุงดังกล่าวนั้นก็เป็นที่รับรู้ของอัยการสวิสเป็นอย่างดี นี่จึงเป็นสาเหตุทำให้มีการยุติการสอบสวนเกิดขึ้น
อ่านประกอบ :
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกสารแพนโดราแฉ ราชวงศ์ UAE เอี่ยว บ.ออฟชอร์ให้บริการลูกค้าผิด กม.เพียบ
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.อังกฤษพัวพันจ้าง ส.ส.ชนะสัญญาโควิด 5.8 พันล.แต่ไม่มีอุปกรณ์
- ส่องคดีทุจริตโลก:แฉ สธ.อังกฤษมอบสัญญาวีไอพีให้ บ.ห้องแล็บตรวจ PCR โควิดพลาด 43,000 ราย
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม'หัวเว่ย'ทำสัญญาลับ บ.ออฟชอร์ โยงอดีต ผอ.โทรคมนาคม'เซอร์เบีย'
- ส่องคดีทุจริตโลก:องค์กรผู้บริโภคแฉ'บ.ไฟเซอร์'ทำสัญญาวัคซีนโควิดเอาเปรียบ-หวังกำไรเกินควร
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเครือข่ายนักธุรกิจ-การเมืองอินเดีย ใช้ บ.ออฟชอร์ฟอกสินบน ฮ.อกัสตา
- ส่องคดีทุจริตโลก:เอกสารแพนโดราเผยเศรษฐีจีนเอี่ยวสินบน ใช้ บ.ออฟชอร์ซื้อเหล็กออสเตรเลีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:สหรัฐฯสอบ บ.มอร์แกน สแตนลีย์ เอี่ยวช่วยอดีต รมต.เวเนซุเอลาฟอกเงินน้ำมัน
- ส่องคดีทุจริตโลก:'บ.อเมซอน'ส่อเอี่ยวให้สินบนในอินเดีย หลังพบค่าธรรมเนียม กม.นับหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดบทวิเคราะห์ บ.บริติชอเมริกันโทแบคโค ส่อจ่ายเงินผิด กม.ในแอฟริกา
- ส่องคดีทุจริตโลก: สหรัฐฯสอบ บ.ขายระบบจรวดมิสไซล์เอี่ยวราชวงศ์กาตาร์ทำผิด กม.สินบน
- ส่องคดีทุจริตโลก: ฟิลิปปินส์ ซื้อเวชภัณฑ์โควิด 5.6 พัน ล.จาก บ.นักโทษหนีคดี 'ไต้หวัน'
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.เปลือกสิงคโปร์ ออกใบแจ้งหนี้พันล. ส่งวัคซีนโควาซินให้บราซิล
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม'สภาวิจัยอินเดีย'ออกใบรับรอง 2 ห้องแล็บเอี่ยวตรวจโควิดเท็จ
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมรัฐวิสาหกิจบรูไนทำสัญญาพลังงานเอี่ยว บ.เอกชนหนุนเผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก:รมช.สธ.อังกฤษเปลี่ยนมือถือใหม่ ก่อนถูกสอบสัญญาโควิด 3 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:'เดวิด คาเมรอน' ส่อเอี่ยวล็อบบี้ รบ.อังกฤษทำสัญญา บ.พันธุกรรม 40 ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปม บ.ยักษ์ใหญ่ขายเครื่องมือแพทย์แพง สู่ข้อครหาสินบน รพ.จีน
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'บราซิล'จัดซื้อวัคซีนโควาซิน หมื่นล.ส่อโยง บ.คนกลางปริศนาที่ดูไบ
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ออสเตรเลีย'อ้างความมั่นคงเครือจักรภพ ปิดข้อมูลสัญญาแอสตร้าฯหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:ข้อพิรุธ'บราซิล'สั่งระงับสัญญาวัคซีนโควาซินหมื่น ล.หลังถูกรัฐสภาสอบสวน
- ส่องคดีทุจริตโลก:ย้อนรอย ขรก.ญี่ปุ่นฆ่าตัวตายโยงปมเมีย'ชินโซ อาเบะ'ซื้อที่ราคาถูก
- ส่องคดีทุจริตโลก: 2 บ.เทคโนฯแคนาดาเอี่ยวจัดหาระบบล้วงข้อมูลมือถือให้เผด็จการเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.รัฐปัญจาบจัดซื้อชุดโควิดแพงกว่าตลาด-สธ.ขอให้ข้อมูลในชั้นศาล
- ส่องคดีทุจริตโลก : สธ.เยอรมนี เจอข้อครหา 'ศูนย์ทดสอบทิพย์' ยักยอกเงินค่าตรวจเชื้อโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก:รบ.ฮังการีทำสัญญาซื้อวัคซีนซิโนฟาร์ม 5.7พัน ล.ผ่าน บ.ทุนจดทะเบียน 3 แสน
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.มาเลเซียเสนอตัวแจกวัคซีนซิโนแวค พัวพันข้อครหา 'บริจาคทิพย์'
- ส่องคดีทุจริตโลก:กองทุนนิวซีแลนด์ถือหุ้น 2 พัน ล. 24 เอกชนเอี่ยวเผด็จการทหารเมียนมา
- ส่องคดีทุจริตโลก: ภรรยาคนสนิท 'ฮุน เซน' เข้าถือครอง บ.อังกฤษ เอี่ยวธุรกรรมต้องสงสัย
- ส่องคดีทุจริตโลก: รบ.อังกฤษยืนยันไม่เปิดเผยสัญญาวีไอพีโควิด มูลค่า 7.3 หมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก: ส.ส.สหรัฐฯสอบเอกชนใช้คอนเนคชั่น 'ทีมทรัมป์' แลกสัญญาผลิตวัคซีนหมื่น ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:'ออสเตรเลีย'จ้างเอกชนทำโครงการแจกวัคซีนโควิด ไม่เปิดรายละเอียด
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ราฟาลจ้างคนกลางอินเดียทำโมเดล 30 ล.หลังเซ็นสัญญาเครื่องบินรบ
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเอกชนอินเดียจ่ายเงินทหารเมียนมาแลกสัญญาหมื่น ล.ท่าเรือย่างกุ้ง
- ส่องคดีทุจริตโลก : ย้อนรอยสินบนแอร์บัส ก่อนสายการบินศรีลังกาฟ้องค่าเสียหาย 3.1 หมื่นล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดเส้นทางค้าไม้จาก'เมียนมา'ไป 'ยุโรป' สู่ท่อน้ำเลี้ยง รบ.ทหาร
- ส่องคดีทุจริตโลก: บ.ไฟเซอร์ถูกกล่าวหาทำสัญญาขูดรีด ปท.ยากจนแลกส่งวัคซีนโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก: เพนตากอนเสียค่าโง่เครื่องบินลำเลียง 1.6 หมื่น ล.ใช้งานไม่ได้
- ส่องคดีทุจริตโลก: อดีตเพื่อนบ้าน รมต.สธ.อังกฤษได้สัญญาหลอดแก้วโควิด 1.2 พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:อัยการอิตาลีสอบคนกลางจัดซื้อชุด PPE จีน รับคอมมิสชันนับ พัน ล.
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมกองทัพเมียนมาใช้เครื่องสายการบินทำภารกิจหลัง รปห.
- ส่องคดีทุจริตโลก: บริษัทลอนดอนเอี่ยวออกพาสปอร์ตไซปรัสให้ผู้ต้องหา 1MDB
- ส่องคดีทุจริตโลก:เปิดปมเอกชนจ่ายสินบนหลายล้านแลกสัญญา ทบ.สหรัฐฯฟื้นฟูประเทศอิรัก
- ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อวัคซีนต้านโควิดผิด กม.ระบาดในตลาดมืดประเทศฟิลิปปินส์
- ส่องคดีทุจริตโลก:เมื่อผู้บริจาคพรรค รบ.อังกฤษ เอี่ยวปมยักยอกรัฐวิสาหกิจน้ำมันรัสเซีย
- ส่องคดีทุจริตโลก:ผู้บริหาร บ.ซิโนแวคเคยพัวพันคดีสินบน ก่อนพัฒนาวัคซีนโควิด
- ส่องคดีทุจริตโลก: 'ณาอีร์ โบลโซนารู' ปธน.บราซิล บุคคลทุจริตแห่งปี 63
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/